บุญบงการ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย paang, 4 สิงหาคม 2005.

  1. paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326


    ปกติเราทำบุญกันก็รู้แต่ว่าทำบุญ ทำความดีก็คือ ทำความดี แต่เราอาจจะไม่เคย
    พิจารณาหรือแยกแยะว่าแล้วความดีที่เราทำนั้นเป็นบุญประเภทไหน ทำแล้วผลที่ได้เป็นเช่นไร
    บางท่านอาจจะบอกว่าทำบุญก็ทำด้วยกุศลเจตนาที่อยากจะทำบุญ แต่ไม่ได้หวังผลตอบแทน
    แต่ประการใด ก็จริงครับ แต่ที่ผมพูดถึงการแยกประเภทของบุญเพื่อให้เรารู้ เพราะรู้แล้วไม่
    ได้หวังผลก็ไม่ผิดแต่ประการใด รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม ผมนำเรื่องบุญบงการจากที่อ่านพบ
    ในหนังสือชำแหละกฎแห่งกรรมนั่นเองมาเสนอให้ได้อ่านกันครับ

    บุญบงการ

    บุญเป็นชื่อของความสุข เกิดจากการทำความดี บุญมีมากมายหลายประเภท ดังนี้
    1. บุญประกอบ ในอดีตชาติ บุคคลไม่ทำบุญด้วยตนเอง แต่เป็นลูกมือจัดการทำ
    บุญตามคำขอร้องของผู้ใหญ่ เป็นลูกน้องทำทานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
    ชาตินี้เกิดมาร่วมภพร่วมวงการกับเจ้านายก็จะได้พึ่งใบบุญของเจ้านาย พอสิ้น
    บุญหรือพลัดพรากแยกย้ายกันไป ก็ตกอับยากจนขายทรัพย์สมบัติ ขายของเก่า
    เลี้ยงชีพ
    2. บุญกุศล บุคคลทำบุญด้วยตนเองกับพระภิกษุ ผู้ทรงศีล ผู้ใหญ่ผู้ทรงคุณธรรม
    ทำบุญเพื่อความดีงามของศาสนาหรือจริยธรรม บุคคลผู้ได้รับประโยชน์จากการ
    ทำบุญทำทานของตน
    - ไม่รู้จักมักคุ้นกัน
    - ไม่อยู่ในฐานะเดือดร้อนวุ่นวาย
    - ไม่ต้องระลึกจดจำความดีงามอันนั้นแต่ประการใด
    บุญกุศล มีพลัง มีอานุภาพ ยกระดับ เลื่อนชั้น เลื่อนฐานะสังคมของผู้กระทำบุญ
    กุศล ป้องกันผู้มีบุญมิให้ตกต่ำจากฐานะเดิม บุญกุศลมีลักษณะพิเศษที่เจ้าของบุญ
    สามารถนำออกใช้หรือบริโภคตามจังหวะเวลาที่ต้องการ บุญกุศลเก็บไว้ได้นานโดย
    ไม่เสื่อมคุณภาพแต่ประการใด
    ตามปกติการประกอบบุญกุศล จะต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าเพราะต้องใช้
    เวลา ต้องใช้ความคิด ต้องเสียสละแรงงานหรือความสะดวกบางอย่างบางประการ
    3. บุญจรรยา บุคคลมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ มีเมตตาอารีย์ มีพื้นฐานจิตใจทำความดีเล็กๆ
    น้อยๆทุกโอกาส ทุกเวลา มีความสุขจากการทำความดี มีความสุขจากการช่วยเหลือ
    มนุษย์และสัตว์เลี้ยง
    บุญจรรยาจะให้ความสุขแก่ผู้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลาเป็นความสุข
    ในชีวิตประจำวัน เป็นความสุขที่ฝังแฝงอยู่ในวิญญาณ อยู่ในสายเลือด ไม่ต้อง
    รอเวลา ไม่ต้องรอให้ถึงภพหน้า
    4. บุญคุณ บุคคลผู้มีจิตสงสารผู้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน หวั่นไหวสะเทือน
    ใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น จึงได้ยอมเสียเวลา สละโอกาส แบ่งปันทรัพย์คือ
    วัตถุสิ่งของ แบ่งปันทรัพย์คือปัญญา แบ่งปันทรัพย์ คือ ความรอบรู้ เขาช่วย
    เหลือผู้ที่ตกอยู่ในห้วงทุกข์ ถึงตัวให้พ้นจากความทุกข์ บุญคุณมีความเดือดร้อน
    ของคนอื่นสัตว์อื่นเป็นแดนเกิด คนนั้นสัตว์นั้นจะมีคุณธรรมหรือไม่ ไม่เป็นปัญหา
    สำคัญ คงถือเป็นเรื่องของบุญคุณทั้งสิ้น อานิสงส์ของบุญคุณขึ้นอยู่กับระดับ
    ของจิตใจของเจ้าของหนี้บุญคุณและลูกหนี้บุญคุณ ถ้าผู้กระทำเปิดปิติชุ่มชื่น
    ใจ เมื่อเห็นผู้อื่นพ้นทุกข์จากการกระทำของตน หวังเพียงแค่นั้นก็มีอานิสงส์มาก
    เป็นอานิสงส์เช่นเดียวกับบุญจรรยา ถ้าผู้กระทำรู้สึกเฉยๆ ไม่ดีใจปลื้มใจต่อลูก
    หนี้บุญคุณเมื่อมาทำความดีตอบแทน บุญคุณนั้นก็มีอานิสงส์น้อย ถ้าบุญคุณนั้น
    ผู้กระทำหวังผลมากแล้วไปเจอลูกหนี้ขี้โกง เบี้ยวหนี้ เนรคุณ ไม่ยอมรับรู้บุญคุณ
    ความดีนั้นก็เป็นหมัน ไม่อาจจะงอกงามไพบูลย์ขึ้นมาได้
    5. บุญร่วม ความดีบางประการเป็นงานใหญ่ ไม่สามารถทำให้สำเร็จตามลำพังได้
    ต้องอาศัยความสามัคคีธรรมคือ ร่วมมือร่วมใจจากผู้มีน้ำใจดีอีกหลายคน ความ
    ดีนั้นเป็นสหกรรมวิบากหรือบุญร่วม อานิสงส์จะยิ่งใหญ่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อ
    ผู้ร่วมทำบุญครั้งนั้นมาร่วมวงงานเดียวกัน ร่วมกินร่วมอยู่ด้วยกัน หากต่างคน
    ต่างอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกัน ผลบุญก็จะปรากฎให้ผู้กระทำแต่ละคนได้รับเพียงหนึ่ง
    ในสามของส่วนเฉลี่ยหรือต่ำกว่านั้น
    6. บุญเชิดชู ในกรณีที่คนสองคนหรือมากกว่านั้นเคยทำบุญในอดีตชาติ ต่างเทศะ
    ต่างวาระ แต่ว่าบุญเหล่านั้นเป็นบุญประเภทเดียวกัน เช่น เลี้ยงดูสงเคราะห์เด็ก
    กำพร้า ต่างสำนัก ต่างประเทศกัน ไม่ได้ข้องเกี่ยวกันเลยในภพก่อนชาติก่อน
    มาในชาตินี้ บุคคลทั้งสองได้มาร่วมงาน อยู่กัน ณ สถานที่แห่งเดียวกัน รักใคร่
    ปรองดองกัน ผลบุญของทั้งสองคนที่เคยร่วมประเภทบุญกันมา แม้จะต่างวาระ
    ต่างสถานที่ ก็จะเชิดชูในชีวิตร่วมวงงานหรือร่วมผัวเมียของบุคคลทั้งสองรุ่ง
    โรจน์วัฒนา เพราะผลบุญทั้งสองฝ่ายไม่ขัดแย้งกัน บุญทั้งสองฝ่ายอุ้มชูเกื้อ
    หนุนกัน
    7. บุญชดเชย บุคคลเกิดวิปฎิสาร เดือดเนื้อร้อนใจไม่ผาสุก เพราะคิดว่าได้เคย
    ทำบาป กลั่นแกล้งผู้มีพระคุณ ใส่ร้ายกัลยาณชน จึงได้ทำความดีงามต่อเจ้า
    กรรมนายเวรเหล่านั้น รับใช้อุปัฎฐากช่วยเหลือเจือจุน ทำบุญอุทิศถวายปลด
    เปลื้องบาป ความสำนึกผิดแล้วทำดีชดเชยให้เช่นนี้ แม้จะไม่อาจลบล้างบาป
    กรรมได้ แต่ได้อานิสงส์ทางด้านชดเชย เมื่อเกิดมาภพใหม่ชาติใหม่ ความเสีย
    หายเดือดร้อน ความทุกข์ระทมขมขื่นของเขาจะได้รับความดีงามบางอย่างเป็น
    สิ่งตอบแทนแลกเปลี่ยน เช่น รักผู้หญิง ผู้หญิงสลัดรัก อกหกระทมได้ไม่นาน
    ก็ได้พบรักใหม่ หวานชื่นไม่แพ้รักเก่า หรือเกิดอุบัติเหตุ รถชนขาหัก เข้ารักษา
    ตัวในโรงพยาบาลได้รับเงินค่าเสียหาย ค่าเจ็บป่วยจากบริษัทประกันภัย ได้รู้
    จักมักคุ้นกับพยาบาลผู้รักษาซึ่งเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันในเวลาต่อมา
    8. บุญสมดุลย์ หรือบุญลดบาป มีความหมายคล้ายคลึงกับบุญชดเชย ต่างกัน
    เพียงเล็กน้อย บุญชดเชย เราทำบาป ทำความเดือดร้อนให้กับใคร เราก็ทำบุญ
    บำเรอความสุขให้แก่ผู้นั้น ส่วนบุญสมดุลย์หรือบุญลดบาป เราทำบาปด้วย
    วิธีการอย่างใด เราก็ต้องทำความดี ทำบุญด้วยวิธีตรงกันข้าม เช่น เคยเบียด
    เบียนสัตว์ ทุบตีทำร้ายวัวควาย หมู หมา เมื่อสัตว์นั้นตายไปแล้วหรือจำหน่าย
    จ่ายแจกไปแล้ว เรารู้สึกตัวว่าเราโหดร้าย ไร้เมตตา ทารุณต่อสัตว์ ก็อาจลด
    บาปด้วยการซื้อปู ปลา เต่ามาปล่อย ซื้อนกมาปล่อย บุญสมดุลย์ช่วยลดความ
    แรงของผลกรรม ยามลำบากเดือดร้อน จะเป็นความลำบากเพียงชั่วระยะสั้นๆ
    เจ็บไข้ได้ป่วยก็จะเจอยาดี หมอดี ทำให้หายเร็ว มีหนี้สินก็พบกับเจ้าหนี้ใจดีหรือ
    พบช่องทางหาเงินปลดเปลื้องหนี้สินในระยะเวลาไม่นานนัก บุญสมดุลย์ควร
    เร่งด่วนทำก่อนที่บาปกรรมจะแปรสภาพเป็นวิบาก คือ ผลกรรมตามสนอง
    มิฉะนั้นจะแก้ไขได้ยาก เมื่อผลกรรมข้ามภพข้ามชาติเป็นวิบากมาทำลายล้าง
    ถึงแม้สร้างบุญสมดุลย์ก็แก้ได้ไม่ทันใจ เปรียบเสมือนคนไข้ปล่อยให้ป่วยเรื้อ
    รังย่อมรักษาให้หายช้า
    9. บุญชูชีพ บุคคลบางคนเป็นคนเลวร้ายในสายตาของสังคม เขาก็หาได้พบกับ
    ความวิบัติเหมือนดัง ที่ศัตรูสาปแช่งไม่ เขายังคงอยู่ได้อย่างสบาย ความดีงาม
    ของเขาเป็นชูชีพไม่ให้ล่มจม คนอื่นมองไม่เห็น แต่เทพยดารับรู้ เพราะเขาจง
    รักภักดีต่อชาติ ไม่ยอมขายชาติ บุคคลบางคนเป็นคนกิเลสหนาตัณหาจัด แต่
    เขารักษาสัตย์ยิ่งชีวิต สัจจะจึงเป็นบุญชูชีพที่คอยช่วยเหลือเขาไว้ การทำความ
    ดี รักษาความดี สละผลประโยชน์เพื่อความดี อุทิศชีวิตเพื่อความดีแม้เพียงประ
    การใดประการหนึ่ง ความดีนั้นก็จะเข้มข้นมีพลังแรงขึ้น เป็นบารมีธรรมประดับ
    ชีวิต ถึงแม้จะถูกคนกลั่นแกล้งแต่ก็ไม่มีวันจมธรณี เมื่อเคราะห์ร้ายผ่านไป เขา
    ผู้นั้นก็จะเจริญก้าวหน้าสืบไป
    10. บุญสืบ บุคคลบางคนเป็นคนมีคุณธรรมสูง เป็นผู้มีสติปัญญาอย่างสมบูรณ์
    ระลึกถึงบุญคุณของผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือ เมื่อใดที่ประสบความสุข เขาก็
    จะแบ่งปันความสุขให้แก่ผู้มีบุญคุณ นี่เป็นลักษณะของบุญสืบ ซึ่งมีอานิสงส์
    เป็นรากฐานรองรับโชคลาภอันจะมีมาในโอกาสต่อไป มีลาภผลปรากฎสักครั้ง
    ก็จะบานปลายมีโชคลาภ ความสำเร็จอันใหม่ๆสืบเนื่องกันมาไม่เงียบหายหรือ
    ขาดกุดไปเฉยๆ
     

แชร์หน้านี้