ประสบการณ์ทำสมาธิของผม

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย lerkiat, 6 พฤษภาคม 2013.

  1. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท

    หลายท่าน..เข้ามาอ่าน
    หลายท่าน..เข้ามาเพื่อเรียนรู้
    หลายท่าน..เข้ามาเพื่อแสวงหาความรู้ แสวงหาประสบการณ์จากผู้อื่น
    ไม่ว่า จะเข้ามาด้วยเหตุผลใดก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการศึกษา

    ในการศึกษาพระศาสนานั้น ก็ยืดหลักไตรสิกขา กันทั้งนั้น
    ไตรสิกขา - ศีล สมาธิ ปัญญา

    หลักการศึกษา - ก็ให้ทำควบคู่กันไป ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวท
    ปริยัติ- ก็ศึกษาความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นๆก่อน ทั้งจากตำรา จากอาจารย์ ผู้รู้ หรือแหล่งอื่นใด ก็ถือว่าเป็นปริยัติ

    เมื่อได้ปริยัติแล้ว ก็ลงมือ "ปฏิบัติ" เมื่อปฏิบัติแล้ว ก็ได้ผล "ปฏิเวท"
    ในการปฏิบัติ ก็มีถูกบ้าง ผิดบ้าง ถ้าผิดก็ให้แก้ไข โดยการศึกษาปริยัติเพิ่มเติม ถามครูบาอาจารย์ ถามพระกรรมฐาน เป็นต้น

    ส่วนปฏิเวท นั้น ถ้าใครปฏิบัติได้ถูกทาง ก็จะเกิดปฏิเวท ที่คุ้มค่า ถ้าใครปฏิบัติไม่ถูกทาง ก็หลง ก็ทุกข์ นัั่นแหละ

    ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง ถ่ายทอดความรู้จากหนังสือ จากคัมภีร์ จากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ แล้วนำมาเล่ามาบอก มาถ่ายทอดต่อ ผิดบ้าง ถูกบ้าง ก็ช่วยกันแก้ไขกันไป เพราะในเว็บบอร์ดนี้ ก็มีเอาไว้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่สถานที่เอาไว้มาอวดภูมิอวดรู้กัน...คงไม่ใช่สิ่งดีนัก

    ส่วนการถ่ายทอดประสบการณ์ - ก็หมายถึง ใครเคยทำ เคยฝึกสมาธิอย่างไร วิธีการใด จากสำนักไหน จากครูอาจารย์ท่านใด ก็ให้ถ่ายทอดตามแต่ละคนประสบพบเจอมา ซึ่งก็คงมีทั้งผิดทั้งถูก ใครประสบผลอย่างไร ก็ถ่ายทอดตามนั้น โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำสมาธิของแต่ละ รับรองว่าไม่เหมือนกันทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์แน่ๆ

    ที่สำคัญ - เวลาฝึกทำสมาธิ ก็ให้ศึกษาปริยัติทางด้านสมาธิประกอบกันไปด้วย จะได้ไม่ผิดทาง

    ความจริงนั้น - การทำสมาธินั้น ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ในพระพุทธศาสนาของเราเท่านั้น นอกศาสนาก็มี ฤษี โยคี ในแต่โบราณเขาก็เคยทำกันมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะทำสมาธิด้วยวิธีการใดก็ตาม ท่านว่าไม่มีถูกไม่มีผิด ขั้นตอนอย่างไรไม่สำคัญ สำคัญทีี่ว่า - เมื่อทำสมาธิแล้ว จิตของท่านแน่วแน่ นิ่ง และมีพลัง พร้อมกับการทำงานหรือไม่ นี่สำคัญทีสุด

    ส่วนเมื่อทำสมาธิแล้ว จะได้ "อภิญญา" หรือไม่ ก็ขึ้นกับบุญบารมีของแต่ละคน คนไม่เหมือนกันครับ
     
  2. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ว่าด้วย..สมาธิกับฌาน

    สมาธิ แบ่งได้ 3 ระดับ คือ
    1. ขณิกสมาธิ - สมาธิขั้นต้น ,สมาธิแว็บเดียว จิตตั้งใจได้เพียงครู่เดียว ส่วนใหญ่สมาธิแบบนี้ เป็นสมาธิที่เรามักจะพบได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในการทำงานต่างๆ เราก็ใช้สมาธิขั้นนี้

    2. อุปจารสมาธิ - สมาธิเฉียด หรือสมาธิที่เข้าใกล้ความเป็น "ฌาน"เข้ามาแล้ว แต่ว่ายังไม่ถึงฌาน บางครั้งก็เรียกว่า สมาธิเฉียดฌาน

    หมายเหตุ : สมาธิขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 นี้ สามารถนำไปใช้ต่อในการวิปัสนาได้
    3. อัปนาสมาธิ - เป็นสมาธิเข้าขั้นแน่วแน่ นิ่งได้นาน ถ้าผู้ใดฝึกสมาธิจนเข้าขั้นนี้ได้แล้ว นั่นแสดงว่า เข้าได้ถึงระดับฌานแล้ว ส่วนจะเป็นขั้นฌานไหนนั้น ขึ้นอยู่กับองค์ฌานที่เป็นอยู่ สมาธิขั้นนี้เป็นสมาธิที่ไม่สามารถนำไปสู่วิปัสนาภาวนาได้
    ดังนั้น ในการวิปัสนาภาวนา ถ้าอยู่ในฌานอยู ต้องถอนออกจากฌานก่อน ให้ลดลงไปอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิก่อน นั่นเอง
     
  3. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ในระหว่างการทำสมาธิ
    ก็ต้องเริ่มที่การกำหนด อารมณ์ให้สมาธิ ก็คือ กรรมฐาน ต่างๆ จาก 40 กอง นั่นก่อน
    การเลือกกรรมฐาน ก็ต้องเลือกให้ถูกจริตของตนเอง
    กรรมฐานแต่ละกอง ก้ไม่ได้ทำให้บรรลุฌานได้เท่ากันทุกกอง

    เมื่อกำหนดกรรมฐานแล้ว ก็จะได้อารมณ์กรรมฐาน เช่น
    เราเลือก อานาปานสติ เป็นกรรมฐาน ในการทำสมาธิ "ลมหายใจ"ของเรา นั่นแหละ เรียกว่า อารมณ์กรรมฐาน กล่าวง่ายๆก็คือ อะไรที่เราเอาจิตเราไปจับไว้ ไปเพิ่ง เพื่อให้จิตเรารวมได้ง่าย นั่นแหละ เรียกว่า อารมณ์กรรมฐาน

    เมื่อเราเอาจิตไปกำหนดที่อารมณ์ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า "นิมิต" ขึ้นมา
    นิมิต ก็คือ ภาพที่เกิดขึ้นในใจ ภาพที่ผุดขึ้นใจจิตของเรานั่นเอง
    ซึ่ง นิมิต ก็แบ่งได้ 3 ชนิด ดังนี้
    1. บริกรรมนิมิต
    2. อุคหนิมิต
    3. ปฏิภาคนิมิต

    อารมณ์กรรมฐาน บางชนิด อาจจะไม่ทำให้เกิดนิมิตก็ได้ครับ

    ดังนั้น เคยเห็นบางคนถามว่า "ในการทำสมาธิ จำเป็นต้องเห็นแสงสว่างหรือไม่" ก็บอกว่าไม่จำเป็นครับ นิมิต มันเกิดจากการกระทำของจิตของแต่ละคน บางคนทำสมาธิก็จะพบได้ บางคนทำสมาธิก็ไม่พบ บางทีอาจจะเจอนิมิตภาพแบบอื่นๆ ซึ่งมีมากมาย ฉะนั้นเวลาทำสมาธิ เหมือนเจอหรือพบเห็นภาพใดๆ ก็ไม่ต้องตกใจ และระหว่างที่เห็นภาพ ก็ให้พินิจดู แต่อย่าปรุงแต่ง หรือสร้างภาพหลอกตัวเองเด็ดขาด ไม่งั้นจะ "หลง"ไปได้

    นิมิต บางครั้งก็จริง บางครั้งก็ไม่จริง..
    การเกิดนิมิตต่างๆ ยังไม่ได้บ่งบอกว่า เราทำสมาธิแล้วบรรลุฌานแล้ว
    เพราะนิมิต ไม่ใช่สิ่งที่จะบ่งบอกว่า เราได้ฌานหรือไม่

    การบ่งบอกว่า เราได้ฌานหรือไม่ ต้องพิจารณาที่ "องค์ฌาน" หรือ "อารมณ์ฌาน" มากกว่า
     
  4. babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    ขอถามเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ ท่านมุนโย ท. คือผมสามารถเรียกปิติมาได้ทุกครั้งที่ต้องการ สมมติว่านั่งภาวนาอยู่ แล้ว เหมื่อยก็เรียกปิติมาช่วย ถ้าทำงานหรือดำรงชีวิตประจำวันแล้วเครียด ก็เรียกปิติมา อันนี้ผมทำถูกหรือไม่ อิอิ
    ขอโมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ คุณทำกสินเก่งมาก ถอยลงมาหน่อยแล้วพิจารณากาย ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายเป็นของสกปรก ดูผ้าดิเมื่อก่อนผ้าก็เป็นของหอม เมื่อมาประกอบเข้ากับกายนี้ เป็นอย่างไร พิจารณาไปเรื่อยๆ เอาให้เบื่อในกาย หรือจะเอาป่าช้า 9 ร่วมด้วยก็ได้ เดินไปถนนเจอสาวสวย อยากได้ไหม อยากเป็นเจ้าของไหม พิจารณาไป อิอิ เอาให้เบื่อ ถ้าไม่เบื่อยังไม่จบ ทำต่อไป ค่อยๆไปไม่รีบร้อน เพราะกิเสสมันอยู่กับเราชั่วนาตาปี กี่พบกี่ชาติ ที่เราเป็นเพื่อนกับมัน เราก็สะสมกำลังใจ เพื่อตัดใจจากเพื่อนคนนี้ มันพาเราสุขพาเราเศร้า สุขทุกข์มาเท่าไร พิจารณาไป นี้แนวทางของผมกำลังดำเนินอยู่ ผมก็ยังเลวอยู่มากๆๆ
    ปล.คุณได้สมาธิดีคุณอาจไปเร็วกว่าผม ผมก็โมทนาบุญล่วงหน้า อย่าไปคิดว่าเราเก่งกว่าใคร เด็ดขาด เมื่อไรที่คิดเช่นนี้คุณก็จะหมดดี อย่าไปเปรียบเทียบกับใคร เพราะเหตุปัจจัยแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ให้คิดว่าเราเลวอยู่ยังต้องการทำดี และจะทำดีให้มากๆ จนกว่าชีวิตจะหาไม่ สาธุอิอิ
     
  5. babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    ภาษาที่ผมใช้ง่ายๆ นะครับ ถ้าคุณปฏิบัติถึงจุดหนึ่ง ครูบาอาจารย์ หรือแม้แต่องค์สมเด็จพระจอมไตร ก็จะมาปรากฏ เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณทำต่อไป ปล.ศีลห้าเอาให้ดีนะ เป็นพื้นฐานของคนปกติ พวกศัพท์แสงที่พวกพี่ข้างบนแสดง นั่นถูกต้องดีแล้ว ผมก็เคยเรียนมานักธรรมเอก แต่ไม่ได้ขี้เล็บของคุณเพราะคุณเป็นผู้ทรงฌาณ ถอยลงมานะ พิจาณากาย เห็นชัดดี มีกันทุกคน เห็นกันทุกวัน อิอิ จะเอาทุกขลักษณะเข้าจับก็ได้ เป็นกำลังใจให้ครับ จบกิจแล้วมาสอนผมหน่อย ในฝันนะ อิอิ ปล. คุณเก่งมากๆ
     
  6. phun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +6
    ของเราก็ฝึกเองโดยอ่านจากหนังสือจนดับอารมได้หมดเหลือแต่ปิติมีอยู่วันรู้สึกง่วงมากระหว่างล้มตัวลงนอนรู้สากมีลมพายุออกหูแรงมากสักพักก็สบายตัว ไม่ทราบอาการนี้คืออะไร
     
  7. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    - ประเด็นที่สรุปได้ข้อความ นี้คือ
    1. ฝึกเอง จนดับอารมณ์ได้หมด
    2. มีปิติเกิดขึ้น
    3. ความรู้สึกง่วงมาก
    4. เวลานอนมีลมพายุออกหูแรงมาก

    เหล่านี้คือผลที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นจริงๆ หรือปรุงแต่งขึ้นภายในจิต ก็ยังไม่ทราบ เนื่องจากข้อมูลที่ให้มายังน้อยเกินไป

    - ใช้อะไรเป็นอารมณ์กรรมฐาน ,ดับอารมณ์จนหมด หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า อารมณ์หายไป ไม่รู้สึกตัว ประมาณนี้หรือเปล่า
    - ปิติเกิดขึ้น คือ อย่างไร(ถ้าอธิบายได้ละเอียดอีกนิดว่า รู้สึกอย่างไร ก็จะทำให้ผู้ที่เข้ามาอ่านภายหลัง เข้าใจมากขึ้น)
    - รู้สึกง่วงมาก (หมายความว่า เกิดขึ้นระหว่างทำสมาธิใช่หรือไม่ ให้ศึกษาเรื่องนิวรณ์เพิ่มเติม ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ สำหรับคนที่ยังไม่ได้สมาธิระดับอัปนาสมาธิ)
    - เวลานอน มีลมออกหู คงเป็นปรากฏการณ์ทางกาย ที่แสดงออกหรือเกิดขึ้นหลังจากทำสมาธิหรือเปล่า หรือว่าเกิดลมออกหูเป็นปกติ แบบว่าเป็นประจำด้วยโรคประจำตัว

    การถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการทำสมาธิซึ่งแต่ระคนประสบณ์มา ซึ่งคงไม่เหมือนกัน แต่โดยรวมๆ แล้ว ก็ไม่น่าจะผิดแผกกันมากนัก แต่ในการถ่ายทอดเรื่องสมาธิ ควรเริ่มต้นด้วยการชี้แจงก่อนว่า ใช้วิธีการกรรมฐานแบบใด ใช้อะไรเป็นอารมณ์กรรมฐาน และทำสมาธิด้้วยวิธีการใด พอเป็นข้อมูล ให้คนทีเข้ามาภายหลังได้รับรู้เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อน ถ้าไม่งั้นคนที่เข้ามาอ่านภายหลังจะงงได้
    - แต่ไม่ว่าจะถ่ายทอดประสบณ์แบบใด ล้วนเป็นการทำบุญ ทำกุศลเหมือนกัน ถ้าการถ่ายทอดเป็นไปตามจริง ดังนั้นผู้ที่เข้ามาอ่านที่หลัง ต้องใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการพิจารณาด้วย คือไตร่ตรองให้มาก อย่าเพิ่งเชื่อว่าจริงหรือไม่จริง เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน ,ควรศึกษาปริยัติ และปฏิบัติประกอบไปด้วยเสมอ เมื่อได้ผลประการใด ก็เอามาแชร์กันไว้

    - แต่เรื่องฝึกจากสำนักไหนมากนั้น ,ไม่ควรนำมาถกเถียงว่าสำนักไหนผิด หรือถูก เพราะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย
    - ให้ยึดพระไตรปิฏก ซึ่งพระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ครับ

    คำว่า "ดับอารมณ์" กับคำว่า "อารมณ์หายไป" ไม่ทราบว่าความหมายจะเหมือนกันหรือไม่
    ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าปฏิบัติอานาปานสติ - ยึดเอาลมหายใจ(อานาปาน)เป็นอารมณ์ ก็เพิ่งดูลมหายใจไปเรื่อยๆ เรียกว่า สติ(ระลึกได้ว่ามีลมหายใจตลอด)ไปจับลมหายใจเข้า-ออก รู้กองลม จนสุดท้ายกองลมที่เป็นกระแสจากภายนอก ผ่านจมูก หลอดลม ขั้วปอด ปอด และย้อนออกมาทางเดิม จนออกมาภายนอกเป็นสายต่อเนื่องกัน ทำสมาธิใหม่ ก็จะเห็นกองลมเหล่านี้เป็นสาย รุนแรงเหมือนกระแสน้ำ แต่พอจิตรวมเข้าภวังค์ จนจิตนิ่งแล้ว กองลมเหล่านั้นจะเริ่มแผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่ามีกองลมค้างอยู่ภายในเลย คล้ายๆ จะหยุดหายใจนั่นแหละ เรียกว่า "กายรำงับ" เหมือนมีแต่กายนั่งโด่ๆ อยู่ เหมือนไม่มีกระแสลมหายใจเข้า-ออก(แต่ทางกายภาพแล้ว มันมีลมไหลอยู่ แต่แผ่วเบามาก จนเกือบจับกระแสไม่ได้) -อาการแบบนี้ จะเรียกว่า ดับอารมณ์ หรือ อารมณ์หายไป หรือไม่ ก็แล้วแต่จะเรียก คำว่า "อารมณ์" ที่กล่าวถึงนี้ คือ อารมณ์กรรมฐานที่เรานำมาเพ่ง นะครับ ยังไม่ใช่ "อารมณ์ฌาน" หรือ อาการที่เกิดจากการได้ฌาน ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัตคตา อุเบกขา นะครับ ...ดังนั้นต้องแยกแยะให้ดี เดี๋ยวจะหลงกันไป

    สำหรับ "ปิติ" ที่เกิดขึ้นได้คล่องตัว เรียกมาใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้นี้ ผมยังงงๆ อยู่ว่า ถ้าเรียกปิติมาได้ตลอดนี่ ถือว่าไม่ธรรมดานะครับ
    มันจะมีคำที่มีความหมายที่ใกล้ๆ กันมาก เช่น ปราโมทย์ ปิติ ความสุข คำเหล่านี้ ถ้าไม่พิจารณาให้ดี ก็จะเหลือมล้ำกันได้ง่ายๆ และขณะที่ภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นนั้น ก็ไม่ใช่ที่สภาวะเดียวกันด้วยนะครับ ลองจำแนกให้ดีๆ กว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้น เป็นภาวะใดกันแน่

    .....
    ความรู้สึก "ง่วงมาก" นี่มันก็เกิดได้ 2 กรณี คือ
    1. ความง่วงที่เกิดขึ้นในภาวะปกติ ประจำวันซึ่งเกิดจากการพักผ่อนน้อย กลางคืนนอนไม่หลับ (มารู้สึกง่วงตอนทำงานกลางวัน)ก็เลยมาหลับเอากลางวัน เป็นต้น มันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับกาย หรือเรียกว่า ภาวะทางกายภาพ แก้ได้ด้วยการหลับให้เต็มที่เท่าที่ร่างกายพอ
    2. ความง่วงที่เกิดขึ้นระหว่างการทำสมาธิ- จัดว่าเป็นนิวรณ์ ที่จะทำให้การทำสมาธิของเราไม่สำเร็จ อาจจะเกิดจากการนำจิตไปไว้ในฐานจิตที่ไม่ถูกกับจริตของเรา จิตเลยไม่นิ่ง ไม่เบิกบาน จิตไม่ตื่น (เหมือนคนเรา ไปนอนบ้านคนอื่น มันนอนไม่หลับเหมือนนอนบ้านเราเอง), พูดถึงเรื่องฐานจิต มีมากมายหลายจุด แต่ฐานจิตที่ถูกจริตของเรามากที่สุด คือฐานจิตที่ทำให้จิตเรารวมได้เร็ว เข้าภวังค์ได้เร็ว เป็นหนึ่งได้เร็ว นั่นแหละฐานจิตของเรา ฐานจิตบางคนกว้าง ฐานจิตบางคนแคบ จึงทำให้แต่ละคนเข้าภวังค์ได้รวดเร็วไม่เท่ากัน
    - มีคำแนะนำว่า "การกำจัดความง่วงระหว่างการทำสมาธิ" นั้น ควรชำระร่างกายให้สะอาด ทำร่างกายให้ตื่น สดชื่น ล้างหน้า แปรงฟัน เรียกว่า กำจัดสิ่งสกปรกต่างๆ บนร่างกายให้หมดจด ก่อนนั่งทำสมาธิ ควรเดินยืดเส้นยืดสาย พอให้คลายกล้ามเนื้อได้ก่อน และที่สำคัญ ปรับท่่านั่งให้สบาย ผ่อนคลายที่สุด อย่าเกร็งกล้ามเนื้อ ไม่ว่าส่วนไหน ลองสังเกตดูกระแสลมหายใจด้วยว่า ผ่อนคลาย ติดขัดบ้างไหม ถ้ามันไม่คล่องแสดงว่า ท่านั่งเราไม่ดี ปรับท่านั่งให้ดี(นั่งท่าไหนก็ได้ครับ - เอาสบายว่า แบบนั่งได้นานๆ)หลังจากนั้นก็กำนดจิตไว้ที่ฐานที่เราคิดว่าเป็นฐานจิตที่ถูกกับจริตเราแล้้ว(คนทำสมาธิใหม่ๆ ยังไม่รู้ว่าฐานจิตของตนเองคือตรงไหน ก็แนะนำว่าให้ทำไปเรื่อยๆ ถ้าฐานจิตไหน จิตเราไม่นิ่งนานๆ แสดงว่า ยังไม่ถูกกับจริตเรา หาไปจนกระทั่งพบว่า ฐานจิตที่ทำให้เราเข้าสมาธิได้นานๆ นั่นแหละ จุดที่เป็นฐานจิตของเรานั่นเอง พอเราหาฐานจิตได้แล้ว ลองสังเกตดูว่า เมื่อทำสมาธิครั้งต่อไป จิตเรารวมได้เร็วหรือไม่ ถ้ารวมได้เร็วแสดงว่า เราค้นพบฐานจิตของเราแล้ว นั่นเอง)
    - เมื่อจิต พบฐานที่มั่นคงแล้ว จิตย่อมไม่ฟุ้ง ไม่ซัดส่ายไปมา มันจะนิ่งเร็วมาก ทำเมื่อไหร่รวมเมื่อนั้น และจะเข้าสมาธิได้นาน ถ้าท่านทำสมาธิได้เป็นชั่วโมงๆ 2 - 3 ชั่วโมง นั่นแหละครับ ท่านกำลังเข้าสู่เขตแดนของความเป็น "ฌาน" มากไปเรื่อยๆ หรือเข้าไปเรียบร้อยแล้วก็ได้ แต่ถ้าทำสมาธิแบบจิตไม่รวม คนเรามันจะไม่ทนได้นานขนานนั้นหรอก เดี๋ยวมันก็ดิ้น ขยับเนื้อขยับตัว เกานั้นเกานี่ ไปเรื่อย(นี่คือการแสดงออกทางกายของภาวะที่เข้าสมาธิไม่ได้) ส่วนถ้าใครทำได้แบบนิ่ง ถึง "อัปนาสมาธิ" ได้นั้น ถือว่าเข้าขั้นแล้ว ก็พัฒนาไปเรื่อย ๆ ให้นาน ให้นิ่ง ให้คล่อง -
     
  8. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    - ประเด็นที่สรุปได้ข้อความ นี้คือ
    1. ฝึกเอง จนดับอารมณ์ได้หมด
    2. มีปิติเกิดขึ้น
    3. ความรู้สึกง่วงมาก
    4. เวลานอนมีลมพายุออกหูแรงมาก

    เหล่านี้คือผลที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นจริงๆ หรือปรุงแต่งขึ้นภายในจิต ก็ยังไม่ทราบ เนื่องจากข้อมูลที่ให้มายังน้อยเกินไป

    - ใช้อะไรเป็นอารมณ์กรรมฐาน ,ดับอารมณ์จนหมด หมายความว่าอย่างไร
    - ปิติเกิดขึ้น คือ อย่างไร(ถ้าอธิบายไห้ละเอียดถึงว่า รู้สึกอย่างไร(ทางกาย) ก็จะทำให้ผู้ที่เข้าอ่านภายหลัง เข้าใจมากขึ้น)
    - รู้สึกง่วงมาก (หมายความว่า เกิดขึ้นระหว่างทำสมาธิใช่หรือไม่ ให้ศึกษาเรื่องนิวรณ์เพิ่มเติม ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ สำหรับคนที่ยังไม่ได้สมาธิระดับอัปนาสมาธิ)
    - เวลานอน มีลมออกหู คงเป็นปรากฏการณ์ทางกาย ที่แสดงออกหรือเกิดขึ้นหลังจากทำสมาธิหรือเปล่า หรือว่าเกิดลมออกหูเป็นปกติ แบบว่าเป็นประจำด้วยโรคประจำตัว

    การถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการทำสมาธิซึ่งแต่ระคนประสบณ์มา ซึ่งคงไม่เหมือนกัน แต่โดยรวมๆ แล้ว ก็ไม่น่าจะผิดแผกกันมากนัก แต่ในการถ่ายทอดเรื่องสมาธิ ควรเริ่มต้นด้วยการชี้แจงก่อนว่า ใช้วิธีการกรรมฐานแบบใด ใช้อะไรเป็นอารมณ์กรรมฐาน และทำสมาธิด้้วยวิธีการใด พอเป็นข้อมูล ให้คนทีเข้ามาภายหลังได้รับรู้เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อน ถ้าไม่งั้นคนที่เข้ามาอ่านภายหลังจะงงได้
    - แต่ไม่ว่าจะถ่ายทอดประสบการณ์แบบใด ล้วนเป็นการทำบุญ ทำกุศลเหมือนกัน ถ้าการถ่ายทอดเป็นไปตามจริง ดังนั้นผู้ที่เข้ามาอ่านที่หลัง ต้องใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการพิจารณาด้วย คือไตร่ตรองให้มาก อย่าพึงเชื่อว่าจริงหรือไม่จริง เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน ,ควรศึกษาปริยัติ และปฏิบัติประกอบไปด้วยเสมอ เมื่อได้ผลประการใด ก็เอามาแชร์กันไว้

    - แต่เรื่องฝึกจากสำนักไหนมากนั้น ,ไม่ควรนำมาถกเถียงว่าสำนักไหนผิด หรือถูก เพราะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย
    - ให้ยึดพระไตรปิฏก ซึ่งพระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ครับ
     
  9. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    อ้างถึง -
    ขอถามเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ ท่านมุนโย ท. คือผมสามารถเรียกปิติมาได้ทุกครั้งที่ต้องการ สมมติว่านั่งภาวนาอยู่ แล้ว เหมื่อยก็เรียกปิติมาช่วย ถ้าทำงานวหรือดำรงชีวิตประจำวันแล้วเครียด ก็เรียกปิติมา อันนี้ผมทำถูกหรือไม่ อิอิ
    ...ผู้ปฏิบัติมีความสามารถในการเรียกปิติ มาใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา(ทุกครั้งที่ต้องการ) เช่น เมื่อยก็เรียกปิติมาช่วย , เครียดก็เรียกปิติมาช่วย /จากข้อความตรงนี้ ผมยังงงๆ อยู่ สงสัยว่ามันเกิดขึ้นได้จริงๆ หรือเปล่า เพราะปิติ(ความอิ่มเอิบใจ ,ความแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ฯลฯ) มันเป็นอารมณ์ฌานที่เกิดขึ้นในระดับ "ปฐมฌาน" "ทุติยฌาน" ถ้าหากว่าสามารถเรียกปิติ ให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ นั่นถือว่ายอดเยี่ยมมาก ซึ่งถือว่าไม่ง่ายเหมือนกันนะครับ นั่นหมายความว่า ถ้าเรียกปิติได้ตลอดเวลาแล้ว โดยไม่ต้องเข้าฌาน แสดงว่าท่านได้ทรงฌานตลอดเวลาในกิจกรรมประจำวันเลยทีเดียว ถ้าทำได้แล้ว ตลอดชีวิตนี้คงสบาย ไม่ต้องกลัวเรื่องภาวะเครียด เพราะมีปิติเป็นเครื่องมือกำหราบได้
     
  10. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    อ้างอิงจากถ้อยคำ ข้างบนนี้
    -ขอโมทนากับเจ้าของกระทู้ครับ คุณทำกสินเก่งมาก ถอยลงมาหน่อยแล้วพิจารณากาย ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายเป็นของสกปรก ดูผ้าดิเมื่อก่อนผ้าก็เป็นของหอม เมื่อมาประกอบเข้ากับกายนี้ เป็นอย่างไร พิจารณาไปเรื่อยๆ เอาให้เบื่อในกาย หรือจะเอาป่าช้า 9 ร่วมด้วยก็ได้
    ...ขออนุโมทนา ยินดีในบุญอันเกิดจากการปฏิบัติกรรมฐาน
    - ทำกสินเก่ง / ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่า ตัวเองทำกสิน(กรรมฐาน)แบบใด ระหว่าง อาโลกกสิน หรือ อานาปานสติ(อนุสติ) กันแน่ นี่คือความสงสัย คงเป็นนิวรณ์ จึงไม่เรียกว่า ทำกสินเก่งแน่ๆ
    - ถอยลงมาหน่อยแล้ว พิจารณากาย...../ อันนี้ คงประมาณว่า ทำสมาธิจนได้ระดับฌานใดฌานหนึ่ง แล้วจึงถอยออกมา ใช้พลังของสมาธิที่มีีกำลังแล้วมาพิจารณากาย(ขั้นกายานุปัสนาสติปัฏฐาน) ถ้าทำได้ก็เรียกว่า แยกรูป แยกนาม ก่อน ส่วนทำให้จนเกิดอาการเบื่อในกายตนเองนั้น หรือถึงขั้นพิจารณาว่าเดินไปเห็นสาวๆ แล้วเบื่อหน่ายขึ้นมานั้น คงเป็นระดับ "ญาณ" ใดญาณหนึ่ง ซึ่งก้าวล้ำเข้าไปขอบเขตของ "วิปัสนา" แล้ว(ซึ่งเป็นเรื่องดีมากๆ ถ้าทำได้)
    - การเดินไปบนถนนเจอสาวๆ แล้วถามใจตนเองว่า "อยากไหม" "อยากเป็นเจ้าของไหม" สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ หรือ ภาวะที่เกิดขึ้นนี้ คงเกิดขึ้นในใจเราใช่ไหม ก็คงอยู่ในขั้นของ "จิตานุปัสนาสติปัฏฐาน" แน่ๆ ถ้าเกิดคำถามว่า "อยากไหม" คงเป็นภาวะจิตขั้นแรกในขั้นจิตานุปัสนาสติปัฏฐาน บางท่านอาจจะเรียกว่า "ดูจิต" รู้ภาวะจิตของตนเองว่า "อยากไหม" คำว่า "อยาก" นี้ น่าจะหมายถึง อยากได้หญิงสาวที่เห็นบนถนนมาเป็นของตัว มาเป็นเจ้าของ เพราะเขามีความสวย ความงาม(รูปมากระทบอันดับแรก) ขั้นนี้แค่เดินแล้วพบบนถนน คงไม่ถึงขั้นรู้นิสััยใจคอเป็นแน่ คงแค่เห็นรูปสวยมากระทบ เลย "อยาก" นั่นแสดงว่า จิตของเราเป็น "จิตมีราคะ" ก็รู้ แค่อยากในใจก็ยังไม่เป็นไร ยังเบาๆ แต่ถ้าอยากแล้ว ดึงมาเข้าตัว เอามาใส่ตัวถึงขั้นลงมือฉุดกระชากลาก หรือเกี้ยวพาราสี หรือใช้กลยุทธอื่นใดหว่านล้อม เพื่อนำมาเป็นของตัว นั่นก็ยิ่งยึดถือ ยึดมั่นหนักเข้าไปอีก(มันอันตราย ซึ่งเกิดขึ้นในสังคมเรามากขึ้นทุกวัน ก็พวกข่าวข่มขื่น นั่นแหละครับ)
    - ท่านว่า แค่รู้ว่าจิตเป็นราคะก็ดีระดับหนึ่งแล้ว ส่วนจะดับราคะนี้ด้วยวิธีการใดนั่น ก็คงอยู่ที่บุญวาสนาของแต่ละคน ถ้าสมาธิใครมีพลัง มีสติกำกับตัว มีขันติอดทนในอายตนะที่กำลังออกฤทธิรบกวนสายตาของเราได้ชะงัด คือเรียกว่า ระงับกิเลสได้ทัน ก็อาจจะเดินจากไป หนีไป ไม่ต้องติดตาม แต่ถ้าว่าพลังจิต พลังสมาธิไม่เพียงพอล่ะก็ คงมีเหตุการณ์อื่นๆ ตามมาเป็นพรวนเลย(ปัญหาเกิดขึ้นแน่ๆ)

    - นี่แหละครับ บางที่เมื่อเราฝึกทำสมาธิ ไม่ว่าจะใช้กรรมฐานแบบใด สุดท้ายก็เพื่อ "เพิ่มพลังจิต" ให้เข้มแข็ง เอาไว้ต่อสู้กับอายตนะภายนอกที่มากระทบเรานั่นเอง และสิ่งที่ได้มาแน่ๆจากการทำสมาธิคือ ความสงบ ซึ่งเป็นประโยชน์ระดับ สมถะกรรมฐาน ก็เอาไว้พักผ่อนหย่อนใจเป็นการชั่วคราว ความสงบนี้คงดับกิเลสยังไม่ได้ แค่ข่มระงับไว้ ถ้าพลังจิตอ่อนเมื่อไหร่ กิเลสก็ครอบงำเมื่อนั้น
    - ที่นี้ ผลพวงที่ได้จากการทำสมาธิ คือ นอกจากพลังจิตที่เพิ่มขึ้น ความสงบระงับที่เกิดขึ้น แล้ว ยังมีปรากฏการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นนี้ ที่เรียกว่า อภิญญา นี่แหละ ซึ่งมันตรงกับ ชื่อห้องกระทู้นี้ ที่ว่า อภิญญา XP(ประสบการณ์เกิดอภิญญาของแต่ละคน ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำสมาธิ นั่นแหละครับ)

    - ที่นี้ ขอขยายความ คำว่าเกิดปิติ กันหน่อย(ก่อนจะขยายความ อภิญญา)
    ปีติ เป็นความอิ่มเอิบใจ มีอาการที่เราสังเกตได้ง่ายด้วยกัน เกิดขึ้นระหว่างการทำสมาธิของเรา มีทั้งหมด ๕ ประเภทด้วยกัน คือ

    ๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล (ผมยังไม่เคยประสบ)
    ๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ(ข้อนี้ เกิดขึ้นกับผมบ่อยมากๆ หมายถึงเกิดขึ้นระหว่างการทำสมาธิ น่ะครับ)
    ๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่าน ก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
    ๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี (แบบนี้ ผมยังไม่เคยเจอ เคยประสบแบบชนิดลอยไปไกลหลายกิโล แต่เจอแค่รู้สึกว่าลอยเหนือจากพื้นที่เรานั่งเพียงนิดเดียวนิ เจอบ่อยๆ ครับ)
    ๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่(แบบนี้ ผมเคยประสบแล้ว)

    ทั้งหมดที่จำแนกไว้นี้ ก็ไปศึกษาจากหนังสือ คัมภีร์ หรือแหล่งอื่นๆ แล้วมาเทียบเคียงกับสิ่งที่ประสบด้วยตนเอง แรกๆ ที่ประสบ ไม่มีความรู้ ก็รู้สึกกลัว เช่น มีอาการร่างกายของเราขยายใหญ่มาก เหมือนเราอยู่บนภูเขาแล้วมองมาที่ร่างของเรา มันตัวเล็กมาก จนรู้สึกเหมือนว่าจิตของเราออกจากร่าง แล้วไปอยู่ ณ จุดที่มันสูงแล้วมองที่ตัวเรา นั่นแหละ อีกภาวะหนึ่งที่พบคือ เวลาเรานั่งสมาธิแบบขัติสมาธิชั้นเดียวทั่วไป ตัวตรง จิตเข้าภวังค์แล้ว เหมือนมีตัวลอยๆ จากพื้น ลอยนิดๆ ไม่สูงมาก มันเป็นแค่ภาวะที่เกิดในจิตของเรา คงไม่ใช่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อจริงๆ ว่าร่างกายของเราลอยจากพื้นเหมือนที่เราคนปกติเข้าใจกันแน่ๆ เพราะไม่กล้าลืมตามาดูว่า ร่างกายตัวเองลอยจากพื้นได้จริงหรือเปล่า คงเป็นแค่ภาวะที่เรียกว่า ปิติ นั่นแหละครับ

    - พอพูดถึงเรื่องที่ว่า รู้สึกว่าร่างกายขยายใหญ่ และลอยจากพื้นนั้น อาจจะเกี่ยวเนื่องกับ นิมิต ได้เหมือนกัน เรื่องพวกนี้ต้องอธิบายควบคู่กันไป

    - ในที่นี้ จะพยายามไม่ก้าวล่วงข้ามไปในส่วนของ "วิปัสนา" ถ้ายังไม่จำเป็น เพราะคงเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะเข้าใจ สำหรับคนเข้ามาอ่านใหม่ หรือยังไม่มีประสบการณ์มากนัก

    เอาเป็นว่า เราก็มาฝึกสมาธิกันไป ทำบ่อยๆ ทำทุกวัน แล้วเอาสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างนั้น มาแชร์ มาแบ่งกัน มาคุยทำความเข้าใจกัน โดยประกอบกับปริยัติ ต่างๆ จากคัมภีร์ คำสั่งสอนของอาจารย์ต่างๆ ว่าถ้าเป็นไปตามนั้นตามนี้ มันคือภาวะใดกันแน่

    แต่ที่แน่ๆ คงไม่พ้น วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัตคตา อุเบกขา อภิญญา เหล่านี้แหละครับ
    ใจเย็นๆ ค่อยทำไป ด้วยความเพียง วิริยะครับ
     
  11. ryujadai สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +2
    ขออนุโทนา กับท่านเจ้าของกระทู้ด้วยครับ เป็นกระทู้ที่มีประโยชน์มากกับผม ที่เพิ่งเริ่มฝึกการทำสมาธิ สัมผัสได้ว่าเป็นประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติจริงๆ
    มีทั้งปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวท มาแสดงให้ได้อ่านกัน ขอให้กำลังใจและจะคอยติดตามอ่านเสมอ รวมทั้งถ้ามีโอกาศก็จะมาขอร่วมแลกเปลี่ยนและขอคำแนะนำในการปฏิบัติสมาธิด้วยอีกคนครับ

    ขอแนะนำตัวว่าฝึกสมาธิตามแนวทางวิชาชี่กงเป็นหลัก จึงยังไม่ค่อยมีความรู้ด้านปฏิบัติกรรมฐานมากครับ
    ผมฝึกวิชาชี่กงแบบท่ารำ วันละ1-2 ชั่วโมง(เวลาเช้าหรือเย็น)และฝึกแบบนั่งสมาธินิ่ง 30-90 นาที (เวลาหลังห้าทุ่ม)
    ประสบการณ์ฝึกมีดังนี้ครับ
    1. นั่งสมาธิแบบนิ่ง เริ่มจากกำหนดตามลมหายใจเข้าท้องพองหายใจออกท้องยุบ 15นาทีแรก รู้สึกปวดชาขามาก (ถ้าผมออกจากสมาธิช่วงนี้
    ขาจะเป็นเหน็บชาและขยับไม่ได้ไม่มีแรงเลย ต้องนอนนิ่งๆ 3-5 นาทีจึงจะหาย) แต่เมื่อนั่งผ่านไปมากกว่า30 นาที จะมีความร้อนแผ่ซ่าจากก้นกก
    ไปที่ขาทำให้อาการปวดชาหายไปและนั่งต่อได้โดยไม่ทรมาน จิตจะเริ่มนิ่งบางครั้งมองเห็นแสงสีน้ำเงินเป็นวง เคลื่อนจากหน้าฝากลอยออกไปเป็นจังหวะๆ
    บางครั้งรู้สึกว่าตัวเองค่อยๆเล็กและจมลง
    2. เมื่อถึงจุดนี้ จะดึงจิตกลับมาจับลมหายใจ เปลี่ยนเป็นหายใจเข้าท้องยุบ หายใจออกท้องพอง ค้างลมหายใจไว้ 15-30 วินาทีหรือจนกว่าจะกลั้นไม่ไหว
    จุดนี้พบว่าจะมีพลังความร้อนแผ่ขึ้นมากจากก้นกก ผ่านแผ่นหลัง ขึ้นไปที่ศรีษะ รู้สึกขนหัวลุกแล้วความรุ้สึก ก็หายไป( หูดับ ร่างกายหาย แต่สติยังตั้งอยู่)ช่วงหนึ่ง นานประมาน 5-10 วินาที(ไม่แน่ในเวลา) จากนั้นความรู้สึกทางกายจึงค่อยกลับมา ฝึกแบบนี้ประมาน10 รอบจึงยุติและออกจากการนั่งสมาธิ
    รวมระยะเวลาประมาน 1-1.5 ชั่วโมงครับ

    คำถามคือ การนั่งสมาธิแบบนี้เทียบเคียงกับกรรมฐานรูปแบบใดได้บ้างครับ และท่านที่ฝึกตามรูปแบบปกติ เคย
    พบกับอาการเหล่านี้หรือไม่และเรียกว่าอะไร

    ขอบคุณครับ ริว
     
  12. อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ผมคิดว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่อาจจะดีอยู่แล้วก็ได้ ลองไปทบทวนสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ ว่าแต่ละวัน ทำเก็บเล็กผสมน้อยอะไรไปบ้าง คำว่า "ทรงตัว ไม่ทรงตัว" จริงๆก้เปนอาการของสมาธิอย่างหนึ่ง นั่งแล้ว เหมือนมีแมลงหรือมดมาไต่ แล้วร้สึกคันๆ แต่พอลืมตาดูกลับไม่มีอะไร ก้เปนสมาธิอย่างหนึ่ง มีท้อบ้าง ปฏิบัติแล้วท้อ ก้เปนเวทนาอารมณ์อารมณ์ไปยึดอย่กับความไม่สมหวัง แต่ท้อแล้วเฝ้าดูความท้ออย่างมีสติไปเรื่อยๆ ก้เปนอารมณ์กรรมฐานได้ดีเช่นกันคับ ที่พุดมาทั้งหมดนี้ จะบอกว่า อาการเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ก้เปนอารมณ์ของสมาธิอย่างหนึ่ง กำลังจะปฏิบัติไปได้ดีแล้ว แต่กลับไปคิดว่าปฏิบัติแล้วไม่ได้อะไรเลย

    - ถ้าในภาษาของวิปัสสนา นี่แหละคือสิ่งที่ใช้ได้แล้ว ให้ปฏิบัติต่อไปอย่าทิ้ง ไม่มีอะไรหรอก ที่ปฏิบัติไปแล้วไม่ได้อะไร หรือปฏิบัติไม่ถึงไหน เพียงแต่ปฏิบัติแล้วอาจยังไม่เข้าใจหรือปฏิบัติไปแล้วไม่มั่นใจในแนวทางที่ตนเองปฏิบัติอย่มากกว่า

    - ถ้าเปนในเรื่องของสมาธิ ความตั้งมั่นแน่วแน่ของจิต หากมีความสบายใจและร้จักปล่อยวางใจให้เปน คำว่า "สัมมาสมาธิ" จะเกิดแก่ผู้ปฎิบัติคนนั้นอย่างแน่นอน อาจไม่ต้องไปพูดถึงระดับขั้นของสมาธิ จนฟังดูแล้วเหมือนเปนสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจริงๆแล้วมันเปนเรื่องของจิต และการร้จัก "จิต" สัมมาสมาธิ เกิด กงล้อ แห่งมรรคก้เริ่มหมุน
    ยิ่งถ้ามีสัมมาทิฏฐิด้วยแล้ว ย่อมเปนผู้ที่ปฏิบัติด้วยความไม่ประมาท ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยแนวทางไหน วิธีไหน กรรมฐานกองไหน หรือถือองค์ธรรมะข้อไหนอยู่ ย่อมปฏิบัติด้วยความไม่ประมาทแน่นอนคับ.....เอวัง............
     
  13. babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    เอิ๊กๆ สมาธิของผมผ่านมากอีกแล้วอิอิ มันได้มาจากการฝึกสติ ผลของการฝึกสติที่ดีคือ ต้องสู้กับอารมณ์ ผัสสะ มากระทบและ รีบสลัดออกให้เร็ว ฝึกไปนะอิอิ เอาบ่อยให้ชินๆ สู้ไม่ได้ก็หลบก่อนไปหาปัญญามาสู้กับมันโดยศึกษาคำสอนครูบาอาจารย์ และพระไตรปิฏก เอาให้เข้าใจ แล้วมาสู้กับมันนะอิอิ
     
  14. Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,023

    เรียกปิติมาได้ค่ะ เป็นไปได้ค่ะ สำหรับท่านที่ฝึกมหาสติทั้งหลายเหล่านั้นจะรู้ดี แต่ว่าเรียกตัวไหนละ ถ้าเป็นตัวสุดท้ายท่านจะไม่ต้องหลับนอนทั้งวันทั้งคืนก็ได้น่ะ แต่ไม่ดีน่ะ ร่างกายต้องการหลับแบบปกติบ้างน่ะค่ะ
     
  15. babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    ก็ไม่รู้ซินะ
    เอาแค่ขนพองสยองเกล้าก็พอ แต่บ้างกายสั่นโครงก็มา เห็นชัดมาก จะทำให้เราไม่ประมาทในชีวิต ผมเป็นคนไม่ค่อยง่วงนอนเท่าไหร่ เวลาจะนอนก็กำหนดจิตแล้วจะนอนเลย ตอนใหม่ๆก็ยากอยู่ แต่ตอนนี้นอนหลับง่ายมาก
    ผมยังมีความยากเหาะเหินเดินอากาศได้อยู่เลย เอิ้กๆในฝันมักจะไปประมาณนั่น พยามฝึกเท่าไหร่ก็ไปได้แต่ในความฝัน
    ถ้าใครเหาะเหินเดินอากาศได้กรุณามาสอนวิธีวางอารมณ์ให้ผมหน่อยนะครับ ขอบคุณมากๆครับ หรือว่าจะข้ามไปบุพเพนิวาสานุสติญาณก็ได้
     
  16. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ทำสมาธิได้เป็นปกติ คู่กับฝึกสติ

    ผมทิ้งกระทู้นี้ไปนาน ไม่ได้หายไปไหน ก็เข้ามาอ่านกระทู้คนอื่นบ้าง ตามที่มีเวลา มีอยู่ช่วงหนึ่งเสาร์-อาทิตย์ ลองไปฝึกทำสมาธิที่วัด ตามหลักสูตรๆ หนึ่ง ก็มีการฟังการบรรยาย สลับกับทำสมาธิ เดินจงกรม และมีระเบียบแบบแผนอะไรอีกที่ต้องหลายอย่าง มีรุ่นพี่รุ่นน้อง ทางสมาธิ จิปาถะ มีการขายสินค้า จำพวกเสื้อรุ่น หนังสือ เทปซีดีธรรมะ ช่วยงานพระอาจารย์ ฯลฯ ทำไปทำมา กลับวุ่นวาย ใจไม่ค่อยสงบ ก็เลยเลิก ประกอบกับช่วงหลังไม่มีเวลาไปด้วย ก็เลยหันกลับมาที่บ้าน


    - เน้นทำสมาธิที่บ้าน ช่วงเวลาราว ตี 4 ทุกวัน กลับพบว่า มันดีกว่าที่ไปทำสมาธิที่วัดซะอีก
    - จิตเข้าภวังค์เร็วมาก
    - ตื่นในเวลาที่ใกล้เคียงกันทุกวัน
    - เหน็บชาต่างๆ ที่เคยเป็น ก็ไม่เป็น
    - จิตเข้าสู่ภวังค์ ดำดิ่ง นิ่ง บังคับเข้า-ออก กาย ในระยใกล้ๆ ตัวได้สบายๆ
    - พอทำสมาธิบ่อยๆ มันคล่องตัว เข้าไปเร็ว และสามารถออกตามกำหนดได้ดีขึ้น ฝึกบ่อยๆ ฝึกทุกวัน สม่ำเสมอ จิตมันนิ่งดี

    - พอทำสมาธิมันคล่อง ทำให้จิตของเรา "เร็วขึ้น" มันทันกับสิ่งที่มากระทบ ที่พระท่านเรียกว่า "อารมณ์" พอจิตมันทัน มันก็รู้สึกตัวเร็ว คือว่า สติมันตามมาเลย เช่น เคยเป็นคนโมโหง่ายๆ เกิดเร็ว ฉับพลัน เดี๋ยวนี้เกือบไม่มีเลย มันจะระงับไว้ทันตลอด ความโกรธของคนเรานี้ มันเห็นได้ชัด และเกิดเร็วมาก ถ้าระงับไม่อยู่ อันตราย แต่ถ้าจิตเราเร็ว โกรธที่ว่าเร็วยังไง ก็ระงับทันครับ คนที่เคยหุนหันพลันแล่น จะรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ควบคุมไม่ได้เท่านั้น จิตที่ได้รับการฝึกสมาธิจนคล่อง มันจะมีฤทธิ์เดชคือความเร็วในการจับสิ่งที่เข้ามากระทบได้ทัน จะระงับความโกรธได้ทัน แม้จะไม่ทุกครั้งไป แต่ก็เบาบางลงมาก

    - ส่วนเรื่องความโลภนั้น ก็พอเบาบางลงได้บ้าง แต่บางอย่างมันก็เย้ายวนเกินไป ห้ามได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็ขนาดพระโสดาบัน ยังละไม่ได้ เอาแค่เบาบางลงก็พอ

    - ส่วนความหลง(โมหะ)นั้น มันก็ดูยากนิดนึง แต่ก็ใช่ว่าจะดูไม่ได้ เช่น หลงในรูปร่างหน้าตา รถในบ้าน ในรถ ในตำแหน่ง ในคำเยินยอ ฯลฯ นิ ทั้งๆ ที่รู้ตัว แต่ก็ห้ามใจไม่ค่อยได้ เอาเป็นว่า ให้ลดลงให้เบาบางลงก็พอ

    ส่วนผลของการทำสมาธิ แล้วทำให้เหาะเหิน เดินอากาศได้นั่น ผมยังไม่เคยประสบ และก็คงไม่ขอพูดในที่นี้
     
  17. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    เมื่อฝึึกสมาธิได้คล่อง สติมาเร็ว ก็เอาจิตที่นิ่งและเร็วนี้ไปต่อวิปัสนา

    เมื่อสมาธิคล่อง จิตมีคุณสมบัติคือ "เร็วขึ้น" รู้ทันสิ่งต่างๆ ได้เยอะขึ้น
    ที่นี้ ก็ลองฝึก "เอาจิตมารู้ทันกาย" เช่น รู้ทันลมหายใจเข้า-ออก รู้จังหวะก้าวย่างแต่ละก้าวในชีวิตประจำวัน รู้การขยับตัว รู้ตัวว่านั่ง นอน ยืน เดิน คือรู้อาการของร่างกายว่าแต่ละเวลา กำลังทำอะไร มีท่าอย่างไร เคลื่อนย้ายไปทางไหน อย่างนี้เป็นต้น
    แม้ว่า ระหว่างทีี่ฝึกให้รู้ตัวนั้น จิตมันจะแว็บไปเที่ยวทางอื่นบ้าง ก็ปล่อยมันไป พอระลึกได้ ก็มาตั้งต้นพิจารณาใหม่ ถ้าเราเคยทำสมาธิจนคล่องแล้วนิ การดึงจิตที่มันเตลิดไปเที่ยวกลับมาที่เดิมนั้นทำได้ไม่ยากนัก

    บางคนก็บอกว่า จะทำยังไงให้มีสมาธิเร็ว ก็บอกได้คำว่าว่า "ฝึกบ่อยๆ" ฝึกจนเข้าภวังค์ได้เร็ว ออกภวังค์ได้เร็ว ทำให้ได้ตามกำหนด
    คนที่ฝึกสมาธิใหม่ มันจะมีอาการที่เรียกว่า วิตก วิจารณ์ สลับกันไปมา นานบ้าง สั้นบ้าง โดยเฉพาะวิตกนิ จะติดๆ กันไปเรื่อย แต่พอฝึกนานเข้า วิตกมันจะเกิดแวบเดียว แล้วจะมีวิจารณ์นานขึ้น พอวิจารณ์นานขึ้น ทีนี้จะเริ่มนิ่ง ทรงตัว ทรงตัวนานๆ จะรู้สึกตัวโยกบ้าง ขยายบ้าง เหมือนขนลุก พอเกิดอาการแบบนี้ ไม่ต้องตกใจ ลองเอาจิตเฝ้าดูอาการสักพัก ถ้าไม่มั่นใจ ก็พยายามถอนออกมา ค่อยๆ ลืมตาก่อนก็ได้ ออกมาตั้งสติ คิดไคร่ครวญก่อน หาหนังสือ ตำรา มาอ่านว่าอาการเหล่านี้มันคืออะไร เมื่อได้เวลา ทำอีก ทำให้ชิน ถ้าอาการแบบเก่าเกิดอีก ก็เฝ้าดูอีก ว่ามันจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อจากนี้ พอพิจารณาอาการแบบนี้นานๆ ไป ท่านอาจจะติดมันก็ได้ ซึ่งมันอันตรายเหมือนกัน เพราะเมื่อติดแล้ว มันก็หลง ที่เรียกว่า "หลงในสมาธิ" อยากเข้าสมาธิอยู่ตลอด เข้ามาเมื่อไหร่ ก็อยากเจออาการแบบนี้อยู่เรื่อย ที่ว่าเป็นอันตราย ก็ไม่ใช่อะไรมาก คือจะทำให้เราเนิ่นช้า ไม่ก้าวหน้าไปไหนต่อได้ นั่นเอง

    เวลาเข้าสมาธิ ก็ไม่ต้องไปอยากเห็นนั่น เห็นนิ แต่ถ้ามันเห็น ก็อย่าไปคิดว่ามันเป็นเรื่องแปลกอะไร มันก็เกิดได้ทันนั้น ถ้าน่าดูบ้าง น่ากลัวบ้าง ทั้งหมดที่เกิดขึ้นมันเกิดจากจิตของเราสร้างขึ้นมาเอง ต้องเอาให้ทัน ถ้ากลัวนัก ทนไม่ได้ ก็ให้รีบออกมาก่อน อย่าพิจารณานาน เดี๋ยวจิตเราจะเตลิด แล้วมันจะเป็นภาพติดตา ทำให้เรากลัวไปนาน กล่าวคือ อย่าไปยืดในสิ่งที่เห็นในสมาธิ บางทีท่านก็เรียกว่า นิมิต ซึ่งบ้างก็เป็นเรื่องเป็นราว บ้างก็เป็นแสงระยิบระยับ วับๆแวมๆ เจิดจ้า สว่างโร่ หรือมืดสนิท ลึกเหมือนความรู้สึกตกไปอยู่ก้นเหว ประมาณนั้น

    - สรุปคือ ทำบ่อยๆ ครับ ทำให้ชิน สม่ำเสมอ เดี๋ยวก็เข้าใจ
    ทีนี้ พอทำคล่อง ท่านก็พอจะมีสถานที่ "สำหรับพักใจ" ล่ะ
    เวลาทำงานในชีวิตประจำแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อย พอมีเวลา ก็มานั่งสมาธิ เดี๋ยวก็หายเหนื่อย เพราะจิตมันได้พัก
    - แต่การดำเนินชีวิตประจำวันเรานิ จิตมันไม่ค่อยได้พัก เพราะมันต้องรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอด แต่พอนั่งสมาธิเท่านั้น มันก็เหมือนเราปิด ทวารไปบ้าง แม้จะไม่ทั้งหมด

    - ในการทำสมาธินั้น เสียงที่มากรทะบหูเรานิแหละ ศัตรูตัวร้านกาจ โดยเฉพาะเสียงเข็มนาฬิกาที่เดิน ติ๊กต๊อกๆๆ เราจะได้ยินมันดังมาก เทคนิคง่ายๆ ถอดถ่านออกไปเลย แต่กระนั้นก็มีเสียงอื่นๆ เหมือนกัน เช่น เสียงจิ๊กจกร้อง เสียงจิ้งหรีด เสียงแมลง ก็มี แต่ท่านไม่ต้องกลัว ถ้าจิตมันเข้าสมาธิได้ เข้าภวังค์ได้ เมื่อนั้นแหละ เสียงอะไรก็เถิด ไม่ต้องกลัว ได้ยิน แต่ก็ไม่รู้สึก คือ ไม่มีผลต่อจิตที่นิ่งก็แล้วกัน
     
  18. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    เดินไปสู่วิปัสนา - ก็ต้องผ่าน มหาสติปัฏฐาน 4

    กาย - เวทนา - จิต - ธรรม

    เมื่อไหร่ ทำคล่อง ก็รู้ว่านิ รูปนะ - มีดิน มีน้ำ มีลม มีไฟ
    นิ่ความคิด ความรู้สึก นี่สุข นี่ทุกข์ นี่เฉยๆ นี่เราคิดมาก ฟุ้งซ่านนะ ปรุงเรื่องนั้นผสมเรื่องนี้ - สิ่งเหล่านี้ ก็คือ "นาม" มันเป็ฯความนึกคิดของคนที่ต้องเผชิญ

    ลองสังเกตดูขของตนเองดูนะ ก็คือสังเกตกาย กับสังเกตใจ
    ถ้าเมื่อไหร่ ทำได้ แยกได้ ก็อาจจะได้ "ญาณที่ 1 " เหมือนกัน
     
  19. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ทุกวันนี้ คนเรามันทุกข์กับรูปกับนามนี่แหละ

    ตื่นเช้าขึ้นมา ต้องล้างหน้า แปรงฟัน ก็เพราะมันเน่า มันบูด มาทั้งคืน ก็ต้องล้าง ต้องชำระ

    พอกินข้าว แต่งกาย จะไปทำงาน ก็คิดนั่นคิดนี่่ เป็นห่วงบ้าน ห่วงรถ ห่วงลูก ห่วงชื่อเสียง ห่วงตำแหน่ง กลัวคนนั้นนินทา กลัวคนไม่รักไม่ชอบ ฯลฯ สารพัดครับ

    เห็นไหมล่ะครัวว่า ในแต่ละวัน มันเป็นการทำงานของ รูป กับ นาม ที่มันดำเนินไปของมันแบบนั้น มันไม่คงที่ มันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ลองสังเกตใจของตนดูนะว่า วันหนึ่งๆ มันคิดกี่เรื่องราว และมันเคยคิดจบไหม

    ลองเอาจิตที่เร็ว ทีี่ได้รับการฝึกจากสมาธิ มาสังเกตดู กายของตัวเรา ของความรู้สึก ของความอยากได้ใคร่มี ของเราดูซิ แล้วเราพิจารณาดูว่า อาการเหล่านี้ เขาเรียกว่าอะไร เช่น เอ้..วันนี้ ทำไมเราอยากให้คนชมว่าเราเก่ง เราน่ารัก เราหล่อ มากกว่าทุกวัน อะไรประมาณ แล้วเราก็จะเข้าใจ เอ้..เขาเรียกว่า โลกธรรม 8 นี่ มีสรรเสริญ เอ้..มันคู่กับ นินทานี่ เดี๋ยวเราก็กลัวคนนินทาเราอีก ลองดูนะครับ พอเราฝึกนานๆ เราก็ไม่กลัวเรื่องนินทา และเราก็ไม่อยากให้ใครมายอเราอีก เพราะถ้ามีคนมาเยินยอเราเมื่อไหร่ มันก็มีนินทาเมื่อนั้น ก็ของมันคู่กันน่ะ
     
  20. lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ว่าด้วย ลมเข้า ลมออก กองลม กายรำงับ

    สำหรับคนที่เริ่มทำสมาธิใหม่ๆ อาจจะงง วุ่นวาย ในการแยกแยะระหว่างคำว่า "สมถะกรรมฐาน " กับ "วิปัสนากรรมฐาน" บางท่านอาจต้องมานั่งถกเถียงกันไปว่า "สมถะ" ต้องเป็นแบบนี้ๆๆ "วิปัสนา" ต้องเป็นแบบนี้ๆ บ้างก็ไกลไปถึง "เจโตวิมุติ" "ปัญญาวิมุติ" ทำให้คนที่เริ่มศึกษาใหม่ๆ งงกันไป บางท่านแค่เลือกรรมฐานให้เหมาะกับตนเอง ก็เหนื่อยล่ะ เพราะไม่รู้ว่าตนเอง จริตอะไร ลงมือทำสมาธิ ก็ไม่นิ่ง ไม่เกิด จนบางครั้งก็ท้อ พักยกไป ไม่ทำไปเลยก็มี ฉะนั้นอยากจะให้ผู้ที่เริ่มสนใจด้านสมาธิว่า ไม่ต้องไปคิดมาก ให้ทำง่ายๆ ไปก่อน ให้เริ่มหัดเดิน ล่มบ้างก็ธรรมดา
    กรรมฐานน่ะ มีตั้ง 40 กอง มันเยอะเหมือนกัน บางอย่างก็ต้องอาศัยสถานที่ อาศัยอุปกรณ์ ต้องมีอาจารย์คอยกำกับด้วย บางทีทำให้คนใหม่ไม่สะดวก ยุ่งยาก มัวแต่ค้นหาอยู่นั่น สุดท้าย หาไปหามาแล้วก็ไม่เจอซะงั้น
    อยากแนะนำ ให้ง่ายๆ พิจารณาของหาง่ายๆ ทำง่าย เข้าใจง่าย ทุกคนมีก็คือ ลมหายใจ หรือ อานาปาน นี่แหละ ง่าย และดี สำคัญ และก็ไม่ต้องคุยกับใครว่า ตนเองสายนั้นสายนี่ ไม่ต้อง...แค่ทำไป ไม่ต้องไปถกเถียงกับใครว่า แบบไหนดีแบบไหน เนิ่นช้า เอาความก้าวหน้าของเราเป็ฯหลัก ถ้ามันดีขึ้น ก็ถือว่าก้าวหน้า เร็วบ้าง ช้าบ้าง ก็ขอให้ทำไป

    ลมหายใจของคนเรา มันก็มีกันทุกคน ด้วยความที่มันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกายด้วยซ้ำไป บางครั้งเขาก็เรียกมันว่า "กาย" ไปเลย เพราะว่ามันทำให้ร่างกายเราดำรงอยู่ได้นี่แหละ ดังนั้น ก็มาพิจารณากายของเรา หรือ ลมหายใจของเราก่อนนี่แหละ จะเป็นการเริ่มต้นที่ง่ายดี
    ลมหายใจของคนเรา มันมีจุดที่ให้เราสังเกตที่สำคัญ คือ รูจมูก นี่แหละ เห็นชัดที่สุดคือ มันกระทบที่จมูก กระทบอย่างไร ก็คือ มันเข้า กับออก เราแค่เฝ้าดูว่าลมหายใจมันเข้า มันออก เฝ้าดูให้นานๆ ให้ตลอด อย่าให้คลาด ถ้านับๆ เฝ้าดูอยู่ แล้วจิตมันแวบไปทางอื่น ก็พยายามดึงเข้ามัันกลับมา อาการของจิตคนเรามันก็เป็นแบบนี้กันทั้งนั้น คือ เฝ้าดู จดจ่อ แล้วแวบหนีไป ท่องเที่ยว ถ้าไม่มีสติ มันก็ไม่รู้ตัวว่าจิตมันไปเที่ยวได้ สติคือระลึกให้ได้ว่า ตอนนี้ ขณะนี้จิตมันอยู่ตรงไหน ส่วนไหน เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็ให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้า-ออกเหมือนเดิม ถ้าเราจับจิตไว้ที่ลมเข้า-ออก นานๆ นั่นแหละ มีสติ คือ ระลึกได้ตลอด และสัมปะชัญญะ มันก็เกิดตามมา คือ รู้ตัวทั่วพร้อม คือ รู้ตลอดนั่นเอง รู้อะไร ก็รู้ว่าลมเข้า ลมออก นั่นไง ฝึกคนเข้าออกนี้ ให้คล่อง ให้อยูหมัด ทำให้ชำนาญ ว่าเพิ่งพิจารณาลมส่วนอื่น
    กรณีบางคน ทำแล้ว มันจับจิตไม่ได้ เอามันไม่อยู่ ก็หาอุบาย เช่น ท่องคำหรือบริกรรม เช่น เข้า - พุทธ ออก-โธ หรือ สัมมา อะระหัง อะไรก็ได้ที่หลอกให้จิตเราจับอยู่ที่ลมเข้าออกนานๆ นี่ ก็เรียกว่า อุบาย ได้ทั้งนั้น
    - "ลมหายใจ" ที่เรากำลังเอาเป็นเป้าหมายพิจารณา หรือเพิ่งดูมันให้เนิ่นนานนี่แหละ เขาเรียกว่า "อารมณ์" คือ สิ่งที่เราเอามาเพิ่ง มาพิจารณา
    - วิธีการที่เราหาวิธีทำให้จิตเราอยู่ที่ "อารมณ์" คือ ลมหายใจของเรานานๆ นี้ก็เรียกว่า "อุบาย" นั่นเอง
    (สำหรับ พารากราฟ นี้ เขียนไว้ สำหรับคนใหม่ ที่เพิ่งเริ่มทำสมาธิ ที่ยังจับต้นชนปลายไม่ได้นะครับ ส่วนผู้ทรงฌานแก่กล้าทั้งหลาย เมื่ออ่านก็ผ่านๆไป คนเราจุดที่ยากที่สุดคือ จุดเริ่มต้น นี่แหละ) ถ้าเริ่มเดินได้ ก็ค่อยๆ ขยับให้ลึก ให้ยืนนานต่อไป

    - อย่าเพิ่งไปค้นหา นิมิต หรือ ปิติ สุข เอกัตคตา ว่ามันเป็ฯอย่างไร รอให้มันเกิดขึ้นเองก่อน แล้วค่อยหาที่หลังว่าอาการแบบนี้ มันเป็ฯอย่างไร ตอนนี้ขอแค่ให้ดูลมเข้าออกก่อน ทำทุกวัน หรือทุกโอกาสที่มี ขอเป็ฯกำลังใจสำหรับคนที่มีความตั้งใจ
     

แชร์หน้านี้