อั๊ยยะ ชอบตอนนี้ครับพี่มดพงษ์
ไม่เคยคิดเลยมีเทคนิคนี้ด้วย
ขอบคุณครับ:cool:
ผม...พระ...และ...สาระยุคก่อน
ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย modpong, 8 พฤษภาคม 2010.
หน้า 214 ของ 364
-
-
รอผมด้วยครับคุณอา
ยอมรับตามเงื่อนไขครับ -
-
......
........เอ้า..หนังรอบดึก..มาแล้าจ้า.......
....ที่มา..ที่ไป...แล้วทำ(เอง)..ยังไงละ
........................................................................
...ก่อนอื่นทำความเข้าใจก่อน....ว่า
....หลักการต่างๆ..ตามที่กล่าวต่อไปนี้..มีข้อไม่ควรทำดังนี้
๑. อย่าไปคิดทำ..กับเหรียญ.หลักหมื่น(หรือ หลักพันแก่ๆ)ขึ้นไป..
...เพราะเหรียญหลักดังกล่าว..นอกจากตำหนิทั่วไปแล้ว..เขาจะละเอียด
ขึ้น..และ..จะไปเก็บ..ตำหนิอื่นๆในเหรียญมากขึ้น..แต่งให้เหมือนจริงขึ้น
..ฉะนั้น..มันอาจจะไปตรงกับ..ที่คุณหาพบใหม่..ก็ได้...เพราะเหรียญหลัก
นี้..เขาก็จะปราบพวก..เซียนใหม่ๆ..ขึ้นไป..หรือ..นักเลงพระระดับ..มาตรฐาน
ขึ้นไป........
๒. อย่าไปเลือกเอา...ที่แกะแบบนูนต่ำมาก..ซึ่งส่วนใหญ่..จะเป็นเหรียญ
ที่เก่า..กว่าปี..๒๕๐๐ ขึ้นไป...เช่น..หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม...
...หรือ..หลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง...หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่วนอก..
(..ความจริง..เหรียญเหล่านี้..อยู่เกินหลัก..ที่ตามเกณฑ์..ของเราอยู่แล้ว)
....เพราะ..เมื่อเหรียญสึก..แค่..เหลือสภาพประมาณ ๘๐ เปอร์เซนต์...
..ส่วนที่นูน..ก็แทบจะราบ..กับพื้นเหรียญแล้ว...แถม..ถ้าอยู่ในสภาพ
เดิม..ไม่ทำความสะอาด...ตามส่วนต่อที่นูน..ขึ้นไปกับ..พื้นเหรียญ
...รวมถึง..ขอบเหรียญ..จะมีสนิม..หรือ..ขี้ไคล..มาอุด..มองลำบาก..
..........ตัวอย่างพวกนูนสูงที่เรา จะเลือก...เช่น..เหรียญระฆัง หลวงพ่อ
เกษม ปี ๒๕๑๖ ..เหรียญหลวงพ่อ พรหม วัดช่องแค คือ..ทั้งตัว
หนังสือ อักขระ เส้นยันต์ ทั้งหน้า-หลัง..จะสูง..ยิ่งองค์หลวงพ่อก็
ยิ่งสูงกว่า...ใส่สึก๗๐เปอร์เซนต์..ก็ส่วนต่อจากพิ้นเหรียญ(แนวราบ)..กับ
แนวตั้ง..(ที่เป็นองค์พระ..อักขระ..เส้นยันต์..ตัวหนังสือ)..ก็ยังมอง
เห็นได้..ไม่สึกไปตามเหรียญ..(ถ้าส่อง..แล้วเห็นรอยแต่งให้เนียน..
เหมือนกับ..สึกไปด้วย..ก็ฟันธง..ได้เลย..เก๊แน่นอน..เพราะผิดธรรมชาติ
..ยกเว้นเจ้าของ..เอาเหรียญไปแขวนคอสัตว์..บางอย่าง..ที่ไม่ใช่คน..)
๓. ถ้าเหรียญที่..เราจะเช่า..และเราหาจุดเด็ด..ไว้แล้ว..เกิดสึกเกิน
คือ..เหลือสัก ๕๐-๖๐ เปอร์เซนต์..แบบ..ลูกจ้างก่อสร้างรายวัน..หรือ..จับกัง
ใส่..ก็ไม่ต้องไปสน..เพราะ..ถึงเป็นของจริง..มันก็..ไม่เก๋..หรอกครับ..
...เพราะ..ตำหนิที่เราหาไว้..จะไม่แจ่มชัด..เสี่ยงด้วย....
...แล้ว..ไอ้เลือน..เพื่อจะปิดบังตำหนิต่างๆ..ให้หาไม่ได้..สำหรับ..เหรียญ
รุ่นโบราณ..นี่..วิธีการไม่ยากเลย..เขาทำไว้รับ..ไอ้พวกบ้าคลั่ง..คิดว่าตัว
เอง..เก่งดู..ผิวเหรียญ..ชัวร์..ตายมาเยอะแล้ว..วันหลังจะเล่าให้ฟัง..
.................................................................
...เสริมหน่อย...คือ..การเช่าเหรียญ..ระดับ...หลักพัน..หรือบางองค์
หลักหมื่น..นี่...คุณนึกว่า..จุดเก่งคุณ..จำตำหนิ..รอยหยักขอบตัด
ข้างเหรียญ..หรือ..ที่หูเหรียญ..ชัวร์...แต่..ความจริงคือ...
....คุณต้องไปเจอ..กับ..เหรียญที่เลี่ยมพลาสติกมา..แล้วคนจะ
ขาย..คุณ..เขาขายทั้งอย่างงั้นเลย...คุณไปขอให้เขาแกะออก
...เขาก็ไม่แกะให้..คุณหรอก...ซึ่งมีไม่น้อย..ที่เป็นแบบนี้...
(คุณส่องแล้ว..ตำหนิ..หน้า-หลัง..ตรงหมด..)
..คุณไม่เช่า..เขาก็ไม่สน..เขาไปปล่อยคนอื่น..ก็ได้..คนที่เขา
ดูเป็น..หรือ..พวกหมูชนบังตอ..ก็เยอะ....
....แล้วไอ้แบบนี้..มันมีทั้งจริง..ทั้งหลอก..
..ไอ้หลอก..คือ..เจตนาเลี่ยม..ไว้ดักไอ้พวกดูขอบเหียญ
...จริง...ก็คือ...เขาเลื่ยมมาแต่เดิม..บางทีไอ้คนขายมัน
ก็ขี้เกียจ..เสียเวลาไปแกะ...เพราะคนขายมันเป็น..มัน
ไม่ต้องดูขอบเหรียญ..มันก็รู้ว่า..แท้ไม่แท้...
.....แล้วอย่างนี้..เซียนที่ดูแต่หนังสือพระ..จะทำยังไง..
.........ก็..ง่อย..ไงครับ....
........เอ้ายังไปไม่ถึงไหน..เมื่อยมือแล้ว..ต่อตอนหน้าครับ.......... -
กำลังมันส์เลยครับพี่มด
-
ยอมรับตามเงื่อนไข ครับ
-
กำลังได้ที่เลยครับพี่มด ต่อตอนหน้าครับผม:cool:
-
-
..............
....รอบบ่ายเช่นเคย...เวลาเข้าห้องเรียน..จำนวนนักเรียน..ขยับเพิ่มเป็น ๔๘ คน.
.........ตอนนี้เราเริ่มเข้าส่วนวืชาการ..และ..ทางวิทยาศาสตร์แล้ว..ทุกคน
ต้องเพิ่มสมาธิ..เพื่อจะได้มีความเข้าใจมากขึ้น..อ่านช้าๆ..ค่อยๆทำความเข้าใจ
ไป..ไม่ต้องรีบ..ไม่เข้าใจ..อ่านใหม่อีกรอบ...เป็นเรื่องของยุคนั้น..คล้อยตามไป
ให้ได้.........
.........................................................................
..................................................................................
...เมื่อเริ่ม..มองครั้งแรก..ไม่ว่าพิมพ์ไหน..ของกรุนี้..คือ..พระต้นแบบ..ทั้งนั้น...
..เราจะพบว่า..พระต้นแบบ..เป็น..พระที่สร้างจาก..ผง..หรือ..ที่เราเรียกว่า..พระเนื้อผง..
...และ..พระต้นแบบ..จะเห็นได้ว่า..สีหลัก..คือ..”ขาวหม่น”..บางองค์..อาจจะ..สีจัดขึ้น
ออกเหลือง..หรือ..ออกเหลืองอมน้ำตาล..ไปเลย...เนื้อจัดอยู่ใน..ประเภท..แกร่ง..คือ..
แข็ง..และมีความเหนียว..พอประมาณ(แต่ไม่เท่า..วัดระฆัง..เพราะ..ส่วนผสม..ไม่เหมือนกัน)
..ถ้า..แข็ง..แต่..ไม่เหนียว..คือ..มีความยึดเกาะของมวลสารน้อย..เราเรียกว่า..”เปราะ”...การ
ที่มีเนื้อแกร่ง..ก็เกิดจากมวลสาร..และ..วิธีการ.(.อันนี้ผมเสริมให้นักเรียน..ที่ผมโมเม..ว่าท่าน
ไม่รู้อะไรเลย..ตามการบ้านที่ผมบอก)...ส่วนผสมหลัก..ก็คือ..ปูน..ที่เราได้มาจาก..การ”สตุ”
หรือ..การนำเอาเปลือกหอยมาเผา..จนเกิดเป็นผงสีขาว....ปูนเหล่านี้..เมื่อทำปฎิกริยา..กับ..น้ำ
..อัดตัว..ให้เป็น..รูป..แล้ว..ตากแห้งไว้..ถึงจะแข็งตัวเป็น..รูปได้..แต่มวลสารในตัวมันเอง...
(...โดยปกติ..ก่อนการการใช้งาน..จะต้องหมักปูนไว้ในน้ำ..ค้างคืน...ก่อนใช้)
มีการยึดเกาะกัน..ต่ำ..และตัวมันเอง..ก็ไม่สามารถจะอัดตัวกันได้แน่นมากได้...จึงจำเป็นที่จะ
ต้องหา..ตัวที่ฝรั่งเรียกว่า..additive bonding substance...หรือ..สารที่เพิ่มลงไปให้เกิดการ
การยึดเกาะที่ดีขึ้น..ในการทำพระผง..ยุคโบราณ..เราจะใช้กัน..โดยหลักอยู่..๒ ตัว..(ที่นิยม)...
ที่ผมพูดถึง..นี่ทำพระ..นะครับ..ไม่ใช่..ก่ออิฐ..ทำโบสถ์..ทำเจดีย์..สำหรับของ..วัดระฆัง..ผมจะ
ไม่กล่าวถึง..เพราะ..จะมีสารแบบนี้..หลายตัว..มากกว่า(อัตราส่วนมากกว่า)..ก็เลยทำให้พระ
แกร่งมาก.......
......๒ ตัว..หลักที่ใช้คือ....
............๑.น้ำมันตังอิ๊ว...ซึ่งจริง..คนไทยเรียกซ้ำศัพท์..เพราะ”อิ๊ว”..ภาษาจีน..ก็คือ..น้ำมัน....
หรือ..”น้ำมันตัง”..นั่นเอง..ก็ได้มาจากพืช...ตัวมัน..เมื่อแห้ง..จะแข็งพอสมควร..แต่เหนียวมาก..
แห้งเร็ว..จะเป็นของมาจากเมืองจีน..พระรุ่นก่อนหน้า..ทั้ง..พระกรุวัดพลับ..พระกรุวัดเงิน..ก็ใช้
..เพราะคุณสมบัติ..การยึดเกาะ..กับวัสดุแทบทุกชนิด..ดีมาก..แต่..กลิ่นแรง..และ..อยู่นาน...
เป็น..๕๐ ปี...ถึงจะจาง........แต่ข้อดีคือ..สีใส..และ..จาง...
..........๒. รัก ...เนื่องจาก..รัก..มีการใช้งานกันแพร่หลาย..ในเมืองไทย..อยู่แล้ว...หาง่ายกว่าด้วย
และ..ถูกกว่า..คุณสมบัติคล้ายกัน..แต่ถ้าลำพังตัวมันเอง..เฉยๆ..ถ้าเทียบกับ..น้ำมันตัง...แล้วมัน
จะแห้ง..และ..แข็งตัวช้ากว่า..และข้อเสียคือ..สีที่เข้มกว่า..ถึงแม้จะค่อนข้างใส(รักจีน..รักญี่ปุ่น...
...สีแดง..)....เมื่อผสมไป..จะทำให้เนื้อพระ..เปลี่ยนสี..ถ้าเป็น..รักลูกผสม..คือ..รักไทย(รักสมุก)..
ผสม..รักจีน..ก็ยิ่งเข้ม..เป็นสีน้ำตาล...ส่วนใหญ่..จะนำมาใช้กันในภาคตะวันออก..ที่เราเรียกกัน
ว่า..เนื้อผงคลุกรัก..นั่นแหละครับ.......
....ที่ผมนำมากล่าว..ก็เพื่อต้องการปูพื้นฐาน..เรื่องเนื้อ..และ..รูปแบบการแข็งตัวของมัน..เพราะ
มันมีส่วนเกี่ยวของ..กับ..การทำ................................
..................ส่วนผสมอื่น..ที่เห็น..นักเรียนจะเห็น..ได้ในรูปขยาย..ว่ามีหลายประการ..แต่ถ้าดู..
หลายๆ..องค์ในพระต้นแบบ..จะเห็นว่า..ส่วนผสม..นั้น..จะไม่คงที่..มีมาก..มีน้อย..ไม่เท่ากัน..
ก็เนื่องจาก..การผสม..จะผสมกันทีละมากๆ..เพราะมีพระเป็นจำนวนมาก..ตามที่ว่า..จำนวน
ถึง..๘๔,๐๐๐ องค์..ปริมาตรมหาศาล..เรียกว่า..ต้องใช้ใบพาย..ในการกวนผสม..กันเลย..ใน
แต่ละคราว..คนไม่ใช่เครื่องจักร..จึงเป็นธรรมดา..นักเรียนคงนึกภาพออก.........
......แต่..ผมจะพูดถึง..ส่วนผสม..บางอย่างที่นักเรียน..เห็นได้..แม้ตาเปล่าด้วยซ้ำ..ซึ่งไม่ได้มีมาก
แต่..เด่น..ด้วยขนาด..ของมัน..และมันมีผล..กับ..การทำขอบด้วย.....
........................................ต่อตอนหน้าครับ......................................
-
***เกาะตาม มาติดๆครับคุณอา ***
-
....คืนนี้..ผมไม่เขียน..ที่มา..ที่ไป..เพราะดูแล้ว
ไม่มีคนเข้ามาอ่าน.... -
เริ่มเรียนใหม่ตั้งแต่หน้าแรก ตอนนี้อ่านถึงหน้า20เองครับ -
สวัสดียามดึกครับคุณอา มาตามอ่านบทความย้อนหลังครับ
-
ติดตามครับ แต่จะมาดึกๆ ครับ
-
ยอมรับตามเงื่อนไข ครับ
-
งั้นเช้านี้คงต้องไปรีของเก่าก่อนนะครับอ้ายมด
ร่วมทำบุญตักบาตร เวียนเทียนที่วัดกันนะครับมาฆบูชานี้:cool: -
-
-
สวัสดีวันพระใหญ่ค่ะ คุณลุง และผู้ร่วมศึกษาทุกๆท่านค่ะ เมื่อวานได้แต่แว๊บมาแว๊บไป อ่านแต่ไม่ละเอียดและไม่ได้เม้นท์ วันนี้เลยกลับอ่านซ้ำและให้กำลังใจคุณลุง และผู้เข้าร่วมศึกษาทุกๆท่านด้วยค่ะ :cool:
-
..............
...หวัดดี..พลศิริ..Norr..และ..หลานลินน์....
....นักเรียนปัจจุบัน..มีทั้งหมด ๔๙ คน....ถึงตอนนี้...
..การทำความเข้าใจ..จะยากยิ่งขึ้นอีก..บางคนอาจจะไม่เข้าใจ..
ถ้าไม่คุ้นเคย..แต่ผมก็พยายามอย่างที่สุด..ในการอธิบาย..และเปรียบเปรย
ให้มันง่ายเข้า..หวังว่า..คงจะดีขึ้น..อ่านช้าๆ..แล้วกัน..อ้าน ๒ รอบ..ยิ่งดี..
..........ไอ้สิ่งที่ว่า...มันคือ..เม็ดปูน...ที่เกิดจาก..ผงปูนขาว..เกิดความชื้นขึ้น..จึงทำให้เกิดปฏิกิริยา
..เกิดการยึดเกาะกันขึ้น..ก่อนการ..ผสม...เมื่อเจอ..กับ..น้ำมันตังอิ๊ว..น้ำมันตั้งอิ๊ว..จะถูกดูดซับ..ที่
เม็ดปูนนี้..แต่มันจะ..อยู่แค่ภายนอก..(ภาษาทาง..วิศวกรรม..หรือ..ทางวิทยาศาสตร์..เราเรียก..
ขบวนการนี้ว่า..ADSORBTION..คือ..การดูดซับ..ของเหลว..แค่เพียงผิว..ไม่ใช่ ABSORBTION..
ที่เป็นการดูดซับ..เข้าไป..ภายใน)...และทำให้มันแข็งตัวก่อน..มันจึงไม่ละลาย..ไปผสมกับ..เนื้อ
ปูนทั่วไป..ที่เป็น..ผงที่ละเอียด....ถ้านักเรียนทั้งหลาย..เคยทำงานปูน..เคยเห็นถุงปูนซีเมนต์ที่ไป
ถูก..น้ำฝนบางส่วนเข้า..แล้ว..ข้างในชื้น..มันก็จะเกิด..เม็ดปูนเล็กๆ..แข็งๆ..กระจายปนอยู่กับ..ผง
ปูน..ในถุง..ก็ทำนองเดียวกัน...เวลาแม่ครัว..ทิ้งแป้งจะทำขนมปังไว้..แล้วยังไม่ได้เอามาทำ..ซักที..
พอจะเอามา..ทำเขาก็จะร่อนแป้งในกระชอนตาละเอียด..ก็จะพบ..ลักษณะเช่นนี้..เช่นกัน....
...............เนื่องจากเม็ดปูนเหล่านี้..ไม่รวมตัวกับเนื้อทั่วไป..มันก็จะ..กระจายไปทั่ว..เมื่อมันโผล่..
มาที่ผิว..เราก็จะเห็นมัน..ไม่ว่า..ด้านบน..ด้านข้าง..และ..ขอบ...ซึ่งไอ้เม็ดนี่..เป็นส่วนนึง..ที่สร้าง
ความลำบาก..ในการตัดขอบ..นอกจากส่วนผสมที่แข็งๆ..อื่น...ที่ผมจะกล่าวถึง..ในภายหลัง...
..............สำหรับ..พระต้นแบบ..บางองค์..ไอ้เม็ดนี้..มันไม่โผล่ออกมา..อาจไม่เห็นเลย..ก็มีไม่
น้อย...ของผมเอง..โชคดีที่..มีพระต้นแบบที่..หักครึ่ง..ทำให้ผมได้รู้อะไร..อีกมาก..และ..ก็ได้พบ
เม็ดนี้..แทรกอยู่กลางเนื้อ..แบบที่ไม่โผล่มาทั้ง..หน้าและหลัง..และการหักของพระ..ก็ไม่สามารถ
ทำให้..เกิด..รอยแตก..กับตัวมัน..โผล่ออกมา..มนๆ..ครึ่งใบเลย........
....นอกจากนี้..ผม..ก็ได้..เห็นส่วนผสม..อื่น..ที่..มีสีแตกต่าง..กัน..และ..รูปทรงต่างกัน..เป็นจุดเล็กๆ
เป็นแท่งสั้นๆ..เป็นเหลี่ยม..หลายรูปแบบ...นั่นแสดงให้เห็นว่า..ในเนื้อพระ..มีสว่นผสม..หลากหลาย
................ผมจะไม่กล่าวถึง..เพราะเราไม่ได้มุ่งเน้น..เรื่องนี้..เพียง..แต่ให้รู้ว่า..พระต้นแบบ..นั้นไม่
ใช่..พระที่มีเนื้อเนียนๆ..เฉย......และส่วนที่ผสมอยู่ในเนื้อ..นี่แหละ..ทำให้มีผล..กับ..รูปลักษณ์ภาย
นอก..ที่ปรากฏให้เห็น...ต่อไป..ผมก็มาดูเรื่องผิว...ส่วนที่แตกต่างกัน..ชัดเจน..ก็คือ..ทั้ง..สามด้าน..
........................ด้านบน.........................................
.....สำหรับ..พระที่แทบไม่ได้ผ่านการใช้งานมา...(กรุเก่า..ขี้กรุน้อยๆ)...ผิวนั้น..จะออกค่อนข้างมัน...
....ด้วยตามเหตุผล..ทางวิทยาศาสตร์..และ..ขั้นตอน..การสร้าง..จะตอบปัญหานี้ได้..เพราะ...
............สำหรับ..พระที่ใช้ส่วนผสม..หยอด..หรือ..อัด..ลงในแบบ(..แบบเย็น..ก็คือ..พระผง..หรือ..
พระเนื้อดิน...)..ตั้งแค่ยุคเก่า..มาเรา..จะใช้..แป้ง..โรย..และเกลี่ย..หรือ..ปัด..ไปจนทั่วทุกอณู..ของ
แบบ..เพื่อป้องกัน..การที่เนื้อพระ..ตอนที่ยังไม่แข็งตัว..ไปติดที่พิมพ์..ป้องกันการเสียหาย..กับรูป
พระ..และอีกอย่างที่..สำคัญ..คือ..ทำให้..ถอดพระออกจากพิมพ์..ได้ง่าย......
.......แป้งมัน..จะไปติดกับ..ผิวพระแทน..ทำให้..ส่วนที่เป็นน้ำในส่วนผสม..ที่อยู่ภายนอก..
และ..อีกส่วนที่ถูกแรงอัด..จากการ..เท..หรือ..น้ำหนักตัวของมันเอง..เค้น..ออกมาที่ด้าน
ล่างไม่ออกไป..ถึงผิวแบบ..หรือ..เล็ดลอดออกไปได้..ก็..น้อยมาก...น้ำที่เป็นลักษณะ..
เหมือน..น้ำปูนนี้..ที่ข้นจะประกอบไปด้วยส่วนผสมที่ละเอียดมาก..เมื่อแห้ง..แข็งตัวผิว
ด้านติดกับแบบ..นี้..จึงมีความมัน..(ถ้าปัดเอา...คราบ..หรือ..ฝุ่นผงออก)..กว่าทุกส่วน..
...คราบแป้ง..ที่ช่างใช้..โรยพิมพ์..นั้น..จะปรากฏ..อยู่ด้านนอกสุด..หรือ..บนสุดของผิว..
ซึ่ง..มี..มากน้อย..ในส่วนต่างๆไม่เท่ากัน..ขึ้นกับ..ช่างที่เอาแป้งมาโรย..บางองค์ก็กำลัง
ดี..แทบมองไม่เห็น..แต่..บางองค์..ก็ปรากฎให้เห็น.................
............................ต่อตอนหน้าครับ....................................................
หน้า 214 ของ 364