ฝึกสติ สมาธิ ภาวนา ตามคำสอนของพระอรหันต์แห่งเมืองสยาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 17 พฤศจิกายน 2009.

  1. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    การฝึกจิตเบื้องต้นนั้นก็คือการฝึกสติ แต่เหตุพระพุทธเจ้า ตรัสรับสั่งไว้มากมายหลายกองนั้น เพราะนิสัยของคนเรานั้นแตกต่างกัน แม้แต่นั่งพิจารณาเงาแดด หรือ เมฆ หรือ กระแสน้ำ หรือ เสียงใบไม้ต้องลม ซึ่งก็ไม่ได้อยู่ในกองกรรมฐานทั้ง ๔๐ หลักที่เหล่าพระอรหันต์บัญญัติไว้ เพียงแต่เป็นการสอนให้รู้ว่า สติ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังเรื่องเกี่ยวกับจริต ทีนี้ถ้ามีพระอริยะผู้รู้จริงเห็นจริงในธรรมทั้งหลายของพระศาสดาก็จะ กำหนดหรือชี้ทางได้ว่า เริ่มแบบใดจึงจะเหมาะ เพราะเหตุปัจจัยในการฝึกจิต นั้นแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่แกนหลักยังคงเดิมคือเพื่อสร้างสติ ไม่ใช่เพื่อทิ้งสติ หรือ ไม่สนใจว่าต้องมีสติหรือไม่มีสติ ดังนั้นกรรมฐานทั้งหลายจึงเป็นเรื่องที่ผู้ปฏบัติต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมว่า ทำแล้วผลที่ได้รับนั้นความสงบและสติที่ต้องมีเป็นผลที่ได้รับจากการฝึกอย่างไม่มีข้อยกเว้น หากเมื่อใดที่ฝึกกรรมฐานกองใดก็ตามแล้วจิตไม่สงบไม่มีสติแปลว่าหนึ่งยังฝึกไม่มากพอ สองหากมากพอแล้วแต่ยังไม่ได้แปลว่าไม่น่าจะเป็นทางเริ่มต้นของตนเอง ก็เฟ้นหาแต่ที่กล่าวว่า อาณาปาณสติ นั้นเป็นของพระอริยะนั้นเป็นเรื่องที่สับสนพอควรเพราะ แม้พระศาสดาขณะยังไม่บรรลุอนุตรสัมโพธิญาณ ก็ยังทรงใช้อาณาปณสติเพื่อฝึกอบรมจิตให้มีสติ ประณีตควรแก่งาน แม้ว่าสำหรับคนทั่วไปจะมองดูยากแต่เหล่าพระอรหันต์ขีณาสพในเมืองไทยก็ได้ให้อุบายในการฝึกไว้มากมายพอเป็นแนวทางทำให้จิตสงบ มีสติ เกิด สมาธิ ได้เช่น พิจารณาลมหายใจเข้าออก พร้อมกับพุทโธ หายใจเข้า(อาณา) ระลึกถึง พุท (พุทธานุสสติ) หายใจออก (อาณา) ระลึกถึง โธ (พุทธานุสสติ) อย่างนี้เป็นต้น และมีอีกหลายๆวิธีที่ประยุกต์ใช้ แต่ความจริงก็จะได้สิ่งเดียวกัน คือ สงบ สติ สมาธิ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของทั้งคนธรรมดาหรือพระสงฆ์ เพราะการไปใช้นั้นแตกต่างกันไปตามวาระ อาณาปาณสติเป็นยอดแห่งสติกรรมฐาน เพราะเป็นของที่ถูกกับทุกจริต เพราะมนุษย์เราต้องหายใจหากไม่หายใจก็ตาย หากเมื่อมีเวลาหายใจแล้วก็ย่อมมีเวลาฝึกกรรมฐานกองนี้อย่างแน่นอน
    <TABLE class=tborder id=post2620341 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_2620341 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">
    ฌานคือ ระดับของสติและความสงบที่เกิดจากการฝึกฝนจิต ด้วยวิธีการต่างๆ ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่ประกอบด้วยสติแบบติดๆดับๆอย่างรวดเร็ว
    อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ประกอบด้วยสติที่ต่อเนื่องแต่ไม่นาน
    อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่ประกอบด้วยสติที่ต่อเนื่องและเนิ่นนาน หยุดได้เมื่อกำหนดให้หยุด คือให้ถอยกำลังลง
    ถ้าในกรณีฌานสมาบัติ โลกียะฌาน นั้นมีแปด แต่ถ้าทำได้สักสี่ก็เอาแล้วถ้าทำได้ คำว่า อรูปฌาน ถ้ารูปฌานยังไม่ได้และไม่มีแล้ว คงไม่ต้องไปนึกเพราะไกลเหลือเกิน ลองทำดูนะว่า ทำยังไงให้สติต่อเนื่องและชัดเจนยิ่งขึ้นๆเรื่อยๆจนเหลือเพียงแค่สุขเอกัตคตา เวทนารมณ์เหล่านี้เป็นของละเอียด สติธรรมดาหรือแค่ติดๆดับๆ ไม่สามารถหยั่งถึงได้ หรือรู้ได้ แค่การเกิดปิติและปิติดับก็ยากแล้วสำหรับสติธรรมดา ทีฝึกได้เพียงติดๆดับๆครับ ทั้งนี้โลกียะฌาน ไม่ได้มีไว้เพื่อกำจัดกิเลสครับ เพราะจิตจะปราศจากเวทนารมณ์อื่นๆนอกจากสิ่งเหล่านั้น ถ้าเป็นอัปปนาสมาธินะครับ ดังนั้น เวลาจะพิจารณาธรรมก็จะลดกำลังลงมาที่อุปจารสมาธิเป็นจุดเริ่มต้น ทีนี้จะเป็นโลกุตรฌานแล้วครับ คือ จากการที่ฝึกสติให้แก่กล้ามาแล้วจะนำมาใช้พิจารณาธรรมโดยมีสติรู้ปัจจุบันในการพิจารณาธรรมนั้นนั่นแหละ และจะเริ่มเข้าสู่อัปปนาสมาธิเช่นเดียวกันในขณะพิจารณาธรรมโดยมีสติกำหนดรู้ตลอดเวลา เมื่อพิจารณาด้วยสติยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งชัดเจนแจ่มแจ้งมากขึ้น และเมื่อเห็นจนรู้แจ้งก็จะละลงคลายลงได้เพราะรู้แล้วว่ามันเป็นแบบนี้เพราะแบบนี้ เกี่ยวกับรูปนามนี้ ก็แปลว่า เริ่มเห็นทางแล้ว ซึ่งผลที่ได้ของโลกุตรฌาณนี้มีอานิสงค์มากเพราะเป็นเหตุให้กิเลสดับลง เพราะเกิดปัญญา ที่อธิบายนี้เป็นแบบหยาบๆเพราะต้องการให้ไปปฏิบัติครับ ไม่ใช่เรื่องของการอ่านตำราครับ ผมอ่านมามากมายพอสมควรโดยมากก็นำมาปฏิบัติแต่ต้องทำใจไม่ให้อยากรู้ก่อนและทำไปครับ ก็จะได้รู้ได้เห็น ว่า สติ นั้นสำคัญแค่ไหนครับ<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"></TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เอวังเม สุขิโต โหนตุ สาธุ
     
  3. เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    รู้อารมณ์เดียว > รู้จักผู้รู้ > อารมณ์ที่ถูกรู้ >เกิดดับไม่เที่ยงไม่ควรยึดถือ >ปล่อยวางสิ่งที่เกิดดับ

    มี-ไม่มี ไม่มี-มี นั้นเป็นธรรมที่ล้ำลึก นอกเหตุเหนือผล นอกเกิดเหนือตาย<!-- google_ad_section_end -->
     
  4. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

    ธรรมโอวาท

    สำหรับการแสดงธรรมเผยแพร่พระพุทธศาสนา ของหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโมนั้น ท่านแสดงธรรมอย่างตรงไปตรงมา แสดงธรรมตามทัศนะของท่าน มีคนชอบฟังมาก หลวงปู่เล่าว่า โลกนี้เขามีเครื่องผูกอันเหนียวแน่น ยากที่จะตัดได้ด้วยอย่างอื่น นอกจากพระธรรมของพระพุทธเจ้า มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องทำบาป เมื่อทำแล้วก็ต้องได้รับผลกรรมที่เราทำไว้ พ่อแม่เรานั้นทำกรรม เราเกิดมาก็ทำกรรมไปอะไรที่สุดของกรรม ไม่มีใครรู้ได้ทำบาปแล้วมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย

    1. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นโสดาปัตติมรรค จิตก็เป็นโสดาปัตติผล
    2. จิตตานุปัสสนา จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นพระสกิทาคามิมรรค จิตก็เป็นพระสกิทาคามิผล
    3. จิตตานุปัสสนา จิตไม่คิดมีผัวเมีย ออกบวช จิตก็เป็นพระอนาคามิมรรค จิต ก็เป็นพระอนาคามิผล
    4. จิตตานุปัสสนา จิตไม่กล่าวมุสาวาท จิตก็เป็นพระอรหัตมรรค จิตก็เป็นพระอรหัตผลอีกนัยหนึ่ง
    1. จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    2. จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    3. จิตออกบวช จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    4. จิตไม่ขี้ปด จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน

    หลวงปู่สอนว่า "ธรรมะคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เองมิใช้อื่น พุทธะคือผู้รู้ ก็ตัวของเรานี้ เองมิใช้ใครอื่น เช่นเดียวกันกับไข่ ไข่อยู่ข้างในของเปลือกไข่ ทำให้เปลือกไข่แตกเราก็ได้ไข่ พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ" หรือ...

    "ธรรมะจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการทำอะไรจริงจัง คือการตัดสินใจอย่างแน่นอนลงไป แล้วเลือกเฟ้นธรรมปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่นานหรอกเราก็จะได้พบสิ่งที่เราต้องการความกลัวทุกอย่างจะหายไปหมด

    ถ้าเราตัดสินใจอย่างใดแล้วคือเราต้องเป็นคนมีจุดมุ่งหมายอย่างหลวงตา นับตั้งแต่บวชมาได้ตัดสินใจปฏิบัติธรรมะอย่างจริงจัง จนทุกวันนี้ไม่เคยลดละและท้อถอยเลย" หรือ.....

    "นักธรรม นักกรรมฐานต้องมีนิสัยอย่างเสือโคร่ง คือ 1. น้ำจิตน้ำใจต้องแข็งแกร่งกล้าหาญไม่กลัวต่ออันตรายใดๆ 2. ต้องเที่ยวไปในกลางคืนได้ 3. ชอบอยู่ในที่สงัดจากคน 4. ทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย" หรือ....

    "สัตว์เดรัจฉานมันดีกว่าคนตรงที่มันไม่มีมายา ไม่หลอกลวงใคร มีครูอาจารย์ก็คือคนเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสาร คนเราซิโง่เป็นพุทธะได้ แต่หลอกลวงตนเองว่าเป็นไปไม่ได้ ร่างกายก็มีให้พิจารณาว่าเป็นของเน่าเป็นของเหม็น แต่เราพิจารณาว่าเป็นของหอมน่ารัก โง่ไหมคนเรา"

    และเมื่อเทศน์จบลงท่านชอบถามผู้ฟังว่า "ฟังเทศน์หลวงตาดีไหม" คำถามเช่นนี้ ท่านบอกว่า หมายถึงการฟังธรรมครั้งนี้ได้รับความสงบเย็นของจิตไหม และเกิดสังเวชในความชั่วไหม?

    ท่านชอบตักเตือนเสมอว่าการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างที่ท่านบูรพาจารย์ทั้งหลายดำเนินมานั้นท่านพยายามไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติธรรม พยายามให้เกิดความสนใจในธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ

    การที่เราเกิดความเบื่อหน่ายในธรรมปฏิบัตินี้เป็นการที่เราจะดำเนินไปไม่ได้นาน และจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก แต่เกิดความสังเวชในธรรมบางอย่างนั้นเป็นการดี เพราะจะเป็นประโยชน์แก่เราผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่ถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วไม่เป็นไร เพราะถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วแล้วก็เร่งพยายามทำความดีต่อไป

    ปัจฉิมบท

    ในปี พ.ศ.2517 นับเป็นปีที่ 4 ที่ หลวงปู่ตื้อ อจลธนฺโม ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวกบ้านเช่า แดนมาตุภูมิของท่าน ในพรรษานี้ใครเลยจะนึกว่า ท่านจะจากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับก่อนเข้าพรรษาท่านเคยพูดเสมอว่า

    "ใครต้องการอะไรก็ให้เร่งรีบสร้างเอา คุณงามความดีทั้งหมดอยู่ที่ตัวของเราแล้วขันธ์ 5 นี้ เมื่อมันยังไม่แตกดับก็อาศัยมันแตกดับแล้วก็อาศัยอะไรมันไม่ได้ ขันธ์ 5 ของหลวงตาก็จะดับแล้วเหมือนกัน"

    และบ่อยครั้งที่ท่านพูดว่า "ธาตุลมของหลวงตาได้วิบัติแล้ว บางครั้งมันเข้าไปแล้วก็ไม่ออกมา นานที่สุดจึงออกมา และเมื่อมันออกมาแล้วก็ไม่อยากจะเข้าไป"

    เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2517 ก่อนเข้าพรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ไปกราบถวายความเคารพและถวายเครื่องสักการะเพื่อขอคารวะต่อท่าน ท่านก็ยังแข็งแรงดี ลุกขึ้นนั่งและก็แสดงธรรมให้ฟังตามสมควร นับว่าเป็นการฟังเทศน์ของท่านเป็นกัณฑ์สุดท้ายกันณฑ์นี้ดูเหมือนท่านจะจงใจแสดงให้ฟังโดยเฉพาะ เมื่อจบท่านบอกว่า กัณฑ์เทศน์กัณฑ์นี้เป็นกัณฑ์สุดท้าย และเป็นหัวใจกรรมฐานของนักบวช

    ท่านได้กล่าวทำนองว่า "วันนี้จงฟังเทศน์ให้ดีๆ และจำเอาไว้เพราะต่อไปจะหาฟังได้ยาก ในโลกนี้ไม่มีใครจะแสดงธรรมได้เหมือนหลวงตาหรอก"

    ท่านแสดงธรรมแต่ละครั้งนั้นนานมาก ท่านได้สงเคราะห์ทั้งวัตถุธรรมและนามธรรม ท่านได้ให้อะไรสารพัดอย่าง บางครั้งท่านได้หยุดในระหว่างเทศน์ เมื่อเทศน์จบลงแล้วท่านบอกว่า

    "ขันธ์ 5 จะดับแล้ว ธาตุลมวิบัติแล้ว" จึงได้กราบเรียนถามท่านว่า "ท่านหลวงตาไม่เหนื่อยหรือ? "

    ท่านบอกว่า "ขันธ์ 5 จะได้หยุดการแสดงธรรมเหมือนกัน แต่ถ้าจิตไม่หยุดมันก็หยุดไม่ได้ การแสดงธรรมเป็นหน้าที่ของเราเกิดมาก็เพื่อทำประโยชน์ทั้งนั้นได้ความดีแล้วก็ต้องทำความดี เพื่อความดีอีก คนเกิดมารู้จัก พุทโธ ธัมโม สังโฆ จึงจะเป็นคน ไม่ใช่สัตว์ เราต้องรู้จักพระธรรมให้ดีที่สุด" จึงจะเรียกได้ว่า พระมหาเปรียญ พระนักธรรม พระกรรมฐาน

    เช้าวันที่ 19 กรกฎาคม 2517 ท่านฉันเช้าตามปกติแต่ก็ไม่มากนัก สังเกตดูอาการท่านเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากทีเดียว นับแต่เวลาเช้าไปท่านพักผ่อนเล็กน้อย แสดงธรรมตลอดแต่พูดเบามาก

    ขณะที่ท่านกำลังเทศน์อยู่นั้น มีพระภิกษุสามเณรจากต่างจังหวัดมาถวายสักการะและรับฟังโอวาท ท่านให้ลูกศิษย์ช่วยพยุงลุกขึ้นนั่ง เมื่อลุกขึ้นนั่งแล้วท่านพูดว่า "สังขารไม่เที่ยงหลวงตาเกิดมาก่อน ก็ต้องไปก่อนตามธรรมดา" ท่านเทศน์ประมาณ 15 นาที คณะสงฆ์นั้นก็ลากลับไป

    ขณะนั้นเวลาประมาณ 16 นาฬิกา ท่านเหนื่อยมากที่สุด พูดเบามาก ท่านบอกว่า "ลมวิปริตแล้ว ไม่มีแล้ว"

    จากนั้น ท่านได้ให้พรลูกศิษย์ว่า

    "พุทฺโธ สุโข ธมฺโม สุโข สงฺโฆ สุโข จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ"

    แล้วท่านก็หัวเราะและยิ้มให้ลูกศิษย์ อันเป็นลักษณะเดิมของท่าน แสดงว่าท่านมีอารมณ์ดีไม่สะทกสะท้านต่ออาการที่เกิดขึ้น

    ในขณะนั้นมีท่านอาจารย์อุ่น ท่านอาจารย์วาน และพระภิกษุสามเณรหลายสิบรูปเฝ้าดูอาการของท่านด้วยความเป็นห่วงเป็นใย

    แม้ท่านจะเหนื่อยมากสักปานใดก็ตาม แต่ท่านก็ยังพูดอยู่เรื่อยๆ ถึงเสียงจะเบา แต่ก็พอฟังรู้เรื่องว่า ท่านพูดอะไร

    วาระสุดท้ายท่านพูดว่า

    "ธาตุในหลวงตาวิปริตแล้ว"

    จากนั้นท่านไม่พูดอะไรอีกเลยกิริยาอาการทุกอย่างสงบเงียบทุกคนแน่ใจว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ถึงมรณภาพแล้ว เวลา 19 นาฬิกาเศษ ท่ามกลางสานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยความอาลัยยิ่ง แต่เชื่อมั่นเหลือเกินว่า ท่านได้ไปถึงสันติสุขที่สุดแล้วสิริรวมอายุได้ 86 ปี

    ธรรมโอวาท

    “...นักกรรมฐานเจ้าทั้งหลาย การสอนกรรมฐานนอกรีต นอกรอย ให้โทษแก่เราผู้สอน ให้โทษแก่คนผู้นับถือ และจะหลงกันไป นอกรีตนอกรอยเหมือนเต่าตกบ่อน้ำ ผู้เป็นครูก็เป็นเต่าตกบ่อน้ำ ผู้เป็นศิษย์ ก็เป็นศิษย์ตกบ่อน้ำ (วนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร ใจยังไม่ได้พบพระธรรม) เลยไม่ได้อริยเมตตรัยมาเป็นพระอรหันต์ ไม่ทันพระพุทธเจ้า แต่เห็นศาสนา...”

    “...เมื่อเราถือศีลนี้ เวรมณี กายกับใจไม่ฆ่าสัตว์ พระพุทโธอยู่นี่ เวรมณี กายกับใจไม่ลักทรัพย์ พระพุทโธอยู่นี่ อยู่ที่ใจของเรานี่ซิ เวรมณีออกบวช รับศีลห้า ศีลแปด พระพุทโธ เกิดจากหัวใจ เวรมณี ไม่กล่าวมุสาวาท พระพุทโธเกิดจากหัวใจ ไม่เสพสุรา กัญชา ยาฝิ่น พระพุทโธเกิดที่ใจ…”

    “...ตัวอะไรตาย ไอ้ตัวขันธ์มันตาย ตัวใจผู้เลิศผู้ประเสริฐ ใจไม่ตาย เหตุนั้น..........ที่ใจของเรา ตามพุทโธ ธัมโม สังโฆ คือ ใจดวงเดียว นั่นแหละ มันเป็นกิริยาเท่านั้นเอง พุทโธ เหมือนกับข้าวสาร ธัมโมเหมือนกับข้าวแช่ สังโฆ เหมือนกับ ข้าวสุก เป็นกิริยา ย่อเข้า มะพร้าวลูกเดียวนั่นแหละ พุทโธ เหมือนเปลือกมะพร้าว ธัมโม กะลามะพราว สังโฆ ชิ้นมะพร้าว...”
     
  5. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

    พระอริยเจ้าจิตของท่านแนบสังขารในอวัยวะสังขารของท่านแปรอยู่เสมอ รู้ทั้งเกิดและดับทุกวาระจิตไม่มีเผลอ และท่านรู้เท่าสังขารทุกส่วน จึงเรียกท่านมีสติอันไพบูลย์ คือมีสติเต็มที่ ฉะนั้นภายในจิตท่านไม่มีนึกคิดในทางที่ผิด และท่านไม่ทำบาปในที่ลับและที่แจ้ง เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่มีโทษ ท่านรู้แจ้งอริยสัจอยู่ทุกเมื่อทุกขณะ
    วิธีแก้บ้าคือให้ชำนิชำนาญ อนุโลมปฏิโลมของจิต ทวนกระแสเข้าจิตเดิม วางอุเบกขาต่ออารมณ์ทั้งหลาย ๑ สำคัญว่านิมิตทั้งหลายเป็นอาการของจิตนั้น ๑เป็นของไม่เที่ยง ๑ ให้ยกเป็นธรรมาธิษฐานในนิมิตนั้นสอนจิต ๑ อย่าสำคัญนิมิตทั้งหลายเป็นของดี ๑ อาการเหล่านี้แต่ละอย่างๆ ล้วนแต่แก้นิมิตบ้าทั้งนั้น หลักสำคัญแก้ได้ด้วยไตรลักษณ์ลบล้างนิมิตทั้งหลายได้
    พิจาณาการตาย เมื่อตายแล้วจิตออกมาให้ปรากฏเป็นลักษณะอย่างนั้นๆ พิจารณากระดูกและลมหายใจทะลุออก ทุกเส้นขนนั้นดี เพื่อละอุปทาน จิตไม่ติดต่อกับธาตุอันอื่น รู้เฉพาะในดวงจิตอย่างเดียว โรคก็หาย นี้เป็นตบะอย่างยิ่ง ควรสนใจให้มาก
    บุคคลจิตไม่มีธรรมเป็นเครื่องข่มแล้ว วันหนึ่งๆ คิดไปตั้งร้อยแปด เป็นนิสัยของปุถุชน เพราะอย่างนั้นคติของปุถุชนนั้นเอาแน่ไม่ได้ เมื่อตายไปแล้วจะไปสุคติหรือทุคติ
    พระพุทธเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน สามารถประดิษฐ์พระธรรมขึ้นเป็นธรรมนิยานิกธรรมพระองค์ไม่นิ่งดูดาย ได้ประกาศธรรมคำสั่งสอน ให้สัตว์ปฏิบัติตามได้มรรคผล พระองค์เพียรจาริกอนุสาสนีสั่งสอนเวไนยสัตว์ ด้วยมหากรุณาอันยิ่งแท้ที่จริงพระธรรมเกิดก่อน ตั้งแต่พระองค์ไม่ได้เกิด แต่ไม่มีใครประดิษฐ์ขึ้นได้นอกจากพระองค์ไปแล้ว

    ภาวนามรณสติหรือภาวนาบทอื่นๆ สติให้ระลึกทุกลมหายใจจึงไม่ประมาท ถ้าอ่อนกว่านั้นประมาท ทุกลมหายใจนั่นแหละ จึงทันกับสังขารแปรปรวนทุกลมหายใจนั้นทีเดียว
    พิจารณาขันธ์ ๕ เห็นว่าไม่เที่ยง เพราะเป็นอย่างนั้นแล้วก็หาเป็นอย่างนั้นอีกไม่ เป็นของยืมเขามาเป็นทุกข์ เพราะเกิดขึ้นแล้วแปรปรวนเสื่อมสิ้นไปเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ใต้อำนาจบัญชาของใคร ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ ขันธ์ ๕ จึงเป็นของน่าเบื่อหน่าย เป็นเหมือนเรือนกำลังถูกไฟไหม้ ขันธ์ ๕ เป็นก้อนทุกข์
    การได้พิจารณาเนืองๆ ในความเกิด แก่ ตาย เมื่อได้เกิดสังเวชใจอ่อน ไม่กล้าทำบาปน้อยใหญ่ รีบเร่งทำกุศลสิ่งเดียวเพราะอายุน้อย ตายเร็วพลัน
    ภาวนาอารมณ์นั้นๆ แก้จิตของเราแก้อยู่ พิจารณาอามรณ์นั้นให้มากๆ เพื่อความแยบคายด้วยอำนาจไตรลักษณ์ ความรู้จึงกว้างขวาง ความรู้จึงแจบจมดี
    พาหุลีกโต ทำให้มากๆ ให้เป็นสันทิฐิโก เห็นธรรมความแปรปรวนด้วยญาณทัสนะเห็นด้วยปัจจัตตัง เฉพาะในดวงจิตเมื่อเห็นพระนิพพานนั้นแล้ว จิตสงบเอง ไปเอง รู้เอง ละเอง วางเอง ประหารเอง มีปฏิภาณเอง นี้เป็นความรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมทั้งปวง เมื่อเห็นเช่นนั้นก็เกิดความเบื่อหน่ายไม่ถือมั่นในสังขารทั้งปวง จิตเกษม
    ของจริงมีอยู่ โลกเดินอยู่ ในโลกปรากฏอยู่ ในโลกมีเกิดตายอยู่ ในโลกไม่มีที่สิ้นสุดโดยไม่รู้ต้นไม่รู้ปลาย เป็นของเที่ยงเวียนว่ายอยู่ในโลกเรื่อยๆ เป็นของตักเตือนจิตโดยไตรลักษณ์
    ไตรลักษณ์ ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา หวั่นไหวแปรทั้งภายนอกภายในอยู่อย่างนั้น ทั้งยืนเดิน นั่งนอน ทั่วสากลพิภพ ไม่มีเวลาจบสิ้น อริยสัจมีแทบทุกทิศทุกทาง มีข้างบนข้างล่าง ระหว่างกลาง สะท้อนสะเทือนอยู่อย่างนั้นไม่มีเวลาหยุดยั้ง
    กล้องถ่ายรูปต้องถ่ายในที่สงัด จึงแจ่มแจ้งดี เพราะสภาพทั้งหลายเป็นของนิ่ง เป็นของสงบวิเวก เห็นแต่ความแปรปรวน ของสังขาร เป็นธรรมเทศนา
    การภาวนาเป็นเครื่องจูงใจในอารมณ์ที่คุ้นเคยในกรรมฐาน กระดูกและลมหายใจเป็นคู่กันมีสมาธิเป็นแนวหน้า มีปัญญาเกิดทีหลัง ด้วยค่อยแก้ค่อยไขส่วนร่างกายให้เห็นไตรลักษณ์เป็นขันธ์แปรปรวนอยู่เสมอ ลมฟิ๊ดออกพิจารณาหาอาสวกิเลสพิจารณา

    กระดูกให้เห็นแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ด้วยญาณทัสนะ ด้วยความจริงใจในสังขารทั้งปวง ให้เห็นใจมาตั้งอยู่ในอมตธรรม ให้เดินอารมณ์ทั้งสองอย่างนี้เป็นนิจ
    จิตภาวนาไตรลักษณ์ได้รอบคอบไว้ดีแล้ว ไม่มีอาการส่งจิตไปนอกกาย ไม่อย่างนั้นจิตส่งไปอื่น หาปัญญาทางอื่นนอกกายแล้ว ไม่แน่นแฟ้นเหมือนหาปัญญาทางภายใน เห็นระยะใกล้ ดีกว่าเห็นไกล เห็นไกลเป็นวิปัสสนู เห็นใกล้เป็นวิปัสสนา น้อมไปน้อมมานั้นเป็นจิตหยาบอยู่พิจารณาเห็นโดยเห็นภายใน ภายในนั้นเป็นจิตละเอียด ใกล้ต่อมรรคผล เมื่อเห็นภายในแล้ว น้อมไปนอกไปในได้เสมอกัน แต่ให้เห็นภายในจนชินเสียก่อน จึงน้อมไปเห็นนอกจึงไม่มีสัญญาอารมณ์มาก
    คนตระหนี่ย่อมเกิดในสภาพที่ยากจน คนไม่ตระหนี่บำเพ็ญทานเสมอ ย่อมเกิดในสภาพที่มั่งคง
    กามทั้งหลายตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตให้ผิดรูป บุคคลเห็นโทษของกามแล้ว พึงอยู่คนเดียวดุจนอแรด ทรมานตนตบะอย่างยิ่งให้ถึงอมตธรรม
    กามทั้งหลายมีทุกข์มาก มีความสุขน้อย ทุกข์จะน้อยกว่ากามไปไม่มี ผู้ใดชอบเสพกามผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
    บุคคลทำบุญทำบาปนี้เป็นตัวกรรมติดตามตัวต่อไปข้างหน้าดุจเงาติดตามตัว
    ดุจเกวียนติดตามรอยเท้าโคฉะนั้น เพราะฉะนั้นเกรงกลัวกรรมที่เป็นบาป
    สมบัติของมนุษย์ไม่เป็นของสำคัญ คนโง่ คนขโมย คนมิจฉาทิฐิเขาหาได้ แต่มนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ คนไม่มีศีล นั้นหาไม่ได้
    ภาวนากองลมทำงาน จิตก็ทำงาน ให้รู้อยู่ในกองลม ทุกข์สอนร่างกาย มี ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ปรากฏเรื่อยๆ ได้ชื่อว่าฟังธรรมเรื่อยๆ รู้เรื่อยๆ จิตทำความดิ้นรนคิดจะต้องพ้นเรื่อยๆ คือพ้นทุกข์
    พระโยคาวจรเจ้า ควรเพ่งกายเป็นไตรลักษณ์ เป็นโรค ดุจหัวฝี เป็นลูกศร เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เป็นของลำบาก เป็นของแปรปรวน เป็นของแตกหัก เป็นของจัญไร เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่หลบหลีกไม่ต้านทาน ไม่เป็นที่พึ่งอาศัย เป็นของว่างเปล่าเป็นของมีโทษ เป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นของน่าสงสาร

    อานิสงค์แผ่เมตตาจิต หลับตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย มนุษย์เทวดารักใคร่ เทวดาย่อมรักษา พิษสาตราวุธทั้งหลายทำร้ายไม่ได้ กลิ่นปากหอม ผิวพรรณวรรณะงาม
    ไม่หลงตาย ตายแล้วไปพรหมโลก จิตเป็นสมาธิเร็ว
    ราคะ โทสะ โมหะ ดุจดื่มน้ำเค็ม ดื่มเข้าไปมากเท่าไร ยิ่งกระหายน้ำฉันใด ความพอใจของมนุษย์ไม่มีเขตแดน
    ร่างกายนี้เป็นฐานะที่ยืมเขามาประกอบ แก่ชรา มรณะส่งคืนเขาไป เช่น ยืมเขามาค้าขายหากำไร ในบุญและบาป และไม่รู้กำหนดที่จะต้องตายในเวลาใด แปลว่าส่งเขาคืน
    กายในโลกต้องมีขี้เยี่ยวด้วยกันแห่งความสกปรก ไม่แปลกอะไรกัน ใครอยู่ในโลกต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน กายนี้ทุกข์มาก ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ ไม่ได้สมหวังก็เป็นทุกข์ การเปลี่ยนแปลงของธาตุขันธ์ทุกข์ หนาวร้อนเย็นทุกข์ พยาธิทุกข์ กลัวภัยภายนอกมีคนอื่นเขาฆ่าตีต่างๆ ชีวิตนี้อยู่ด้วยความฝืดเคืองยิ่งนัก หาความสุขแทบไม่มีเลย นี้พระอริยเจ้าเบื่อนักเบื่อนักยิ่งทำความเพียรให้ถึงนิพพาน
    ให้ใช้ปัญญาเร่งความเพียรไม่หยุดยั้ง ขอให้ประกอบด้วยไตรลักษณ์ กิเลสมันจะอยู่ ณ ที่ไหนกิเลสอยู่ ณ ที่ใจ ปัญญา ก็อยู่ ณ ที่ใจ ไตรลักษณ์เป็นธรรมอุกฤษฏ์ชำระกิเลสจากจิตได้ เดินมรรคพอแล้วมันแก้เอง
    ธรรมะทั้งหลายเป็นธรรมชาติทรงคุณภาพไว้อย่างสมบูรณ์ และพระธรรมประกาศความจริงอยู่เรื่อยๆ ศาสนาธรรมออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์ผู้เดียว พระองค์ฉลาดในธรรมทั้งปวง ดุจน้ำมหาสมุทร ฉลาดประกาศพระธรรมให้เหมาะกับจริตของพุทธบริษัท ขณะที่พระองค์แสดงธรรมอยู่ บริษัทจึงพากันสำเร็จเป็นชั้นๆตามวาสนาของตน
    สาวกแสดงธรรมทรมานบริษัทมีคุณภาพที่ ๒ ของพระพุทธเจ้า สมัยทุกวันบุคคลแสดงไม่สะอาด จิตเปื้อนด้วยกิเลส จึงไม่มีปาฏิหาริย์เหมือนครั้งพุทธกาล เช่นเดียวกับอาหารที่สะอาดพลัดตกมือ เปื้อนดินไม่น่ารับประทานฉันนั้น คือผู้แสดงก็ไม่สะอาดผู้รับธรรมก็ไม่สะอาด โดยทำนองนั้น
    มัชฌิมาคือความพอดีพองาม มีความกว้างขวาง เดิน อยู่ หลับ นอน ก็ให้เป็นกลางไปมา ก้าวหน้า ถอยหลังก็ให้พอดีพองาม ข้อปฏิบัติ ปฏิบัติทุกอย่างให้พอดีพองาม ความรู้เห็นก็ให้เป็นมัชฌิมา การทำ การพูด การกิน ทุกกิริยาเคลื่อนไหว ก็ให้เป็นมัชฌิมา

    ปานกลาง แม้ความแม้ความบริสุทธิ์ของจิตก็ให้เป็นมัชฌิมาสัมปยุตด้วยญาณ แต่ ​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]([/FONT][/FONT]คนเรา[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]) [/FONT][/FONT]ไม่ใช้ กลางคือมรรค สรุปเรียกว่ากลางสมมุติกับวิมุตติ สมมุติก็รู้เท่า วิมุตติก็รู้เท่า ปล่อยวางทั้ง ๒ เงื่อนไว้ตามเป็นจริงเพราะศาสนาธรรมเป็นมัชฌิมา ไม่เข้าใคร ไม่ออกใคร ผู้ปฏิบัติจะรู้ธรรมด้วยความเป็นจริง จะเหยียบย่ำอนัตตาลงยกอัตตาขึ้น ซึ่งเป็นการยกข้างนี้ออกข้างโน้น ไม่รู้จักธรรมรอบได้เลย เพราะส่วนที่ตนสำคัญว่าเป็นอนัตตายังถือไว้อยู่ ก็เรียกว่า รู้โลกแล้วกลับหลงธรรม คนทั้งโลกขี่เรือข้ามน้ำถึงฝั่งแล้วปล่อยเรือ เพราะอาศัยเรือชั่วคราวเป็นธรรมที่ควรปล่อยวางโดยแท้ ไม่ควรถือมั่นด้วยประการใด จิตทรงความเป็นยถาภูตญาณทัสนานุตริยะตลอดกาล คือ ความเห็นจริงทั้งธรรมฝ่ายอนัตตา ทั้งฝ่ายอัตตา พุทธะ ธรรมะ ไม่มีช่องว่าง ซึ่งไม่พอลุ่มหลงสังขารแต่น้อยเรียกว่ามัชฌิมาโดยธรรมชาติเป็นกลาง ระหว่างธรรมทั้งหลายกับจิต ระหว่างจิตกับธรรมทั้งหลาย ระหว่างจิตกับจิตอีกวาระหนึ่งเป็นสุดท้าย เปลี่ยนบทบาทพลิกสันเป็นคมจากมีดเล่มเดียว
    พิจารณาที่ประชุมแห่งขันธ์หรือที่รวมแห่งสภาวะอันนี้ ถ้าปัญญาไม่รอบคอบจริงๆ จิตเกิดความสำคัญขึ้นในตนว่าเป็นพระอรหันต์ ข้องอยู่เพียงเท่านี้ ก็ให้ไม่รอบคอบอันนี้ อาจไม่ระบายกิเลสละเอียดยิ่ง แล้วสอนคนอื่นเกิดความสำคัญผิดไปตามๆ กัน ก็ได้ ขอยกตัวอย่างให้ฟัง คือ บุคคลมองเห็นสิ่งอื่นๆ ข้างนอกได้ไม่มีประมาณ แต่ไม่มองเห็นหน้าของตน ฉะนั้นต้องนำกระจกเงามองหน้าตัวเอง ย่อมเห็นสภาวะได้ทั่วไป จิตดวงนี้แหละสำคัญมากเป็นอนุสัยนอนอยู่ในสันดาน ขอให้นักปฏิบัติค้นคว้ามากๆ จิตดวงนี้มีอัศจรรย์หลายอย่างคือมีความองอาจ มีสติสัมปชัญญะ ความสว่างไสวความฉลาดอาจหาญ แต่ขอถามว่า อาสวะสิ้นแล้วหรือยัง สำคัญของนักปฏิบัติว่าสำคัญตัวถึงนิพพาน ขออย่านอนใจรีบเร่งปฏิบัติเข้าไปให้สิ้นอาสวะนี้พระอริยเจ้าบางองค์ยังไม่สิ้นสำคัญตัวมีจำนวนมากองค์
    ปัญญาอบรมสมาธิ คือ ปัญญาแวดล้อมเพื่อปลอบให้จิตอยากเป็นสมาธิ เพราะจิตมันวิ่งไปตามกระแสของเจตสิก ต้องให้มีปัญญาห้ามจิตเดิน เมื่อจิตไม่เดินแล้ว จิตก็เป็นสมาธิสงบเป็นอารมณ์อันเดียวเท่านั้น
    คฤหัสถ์เพียงมีศีล ๕ เป็นนิจนั้น ดีอยู่แล้ว เป็นผู้ทรงพระวินัยที่ดีปิดอบายภูมิ ๔ ได้สำหรับผู้ครองเรือนเป็นสุข ศีลทุกประเภทดัดกายวาจาไม่ให้คะนอง จึงรักษาตัวเป็นปกติดี

    แม้คนทั้งหลายเห็นว่าศีลไม่จำเป็นจะต้องรักษา หมายความว่า เขาไม่อยากเป็นคนดีด้วยโลกเขา คนเช่นนี้ล้างผลาญโลกให้ฉิบหาย ศีลเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกกาลทุกสมัยที่ประพฤติได้เป็นการดี
    คนติดอวิชชาดุจเขาเลี้ยงสุกรด้วยแกลบรำไว้ฆ่าเพื่อเป็นอาหาร
    การมีปัญญาอบรมสมาธินั้น หมายความว่า ไม่ให้ติดสมาธิอย่างเดียว ปัญญาเพื่อแก้สมาธิให้สิ้นกิเลสอาสวะเท่านั้น

    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]
    *********************************************************** ​
    [/FONT]
    [/FONT]
    คัดลอกจาก​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]: [/FONT][/FONT]จันทสาโรนุสรณ

     
  6. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร

    มีหนังแผ่นเดียว มีจิตดวงเดียวเท่านั้น ก็หนังแผ่นเดียวมันหุ้มอยู่ทั้งหมดกับทะลุ ๙ ช่อง นะวะทะวารัง ทะลุทางตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ทวารหนัก ทวารเบา
    หนังแผ่นเดียวนี้ก็ไม่มีเจ้าของ นามรูปไม่มีเจ้าของใช้ได้แล้ว เข้าทางแล้ว รูปฌานเป็นเจ้าของไม่ได้ อรูปฌานก็เป็นเจ้าจองไม่ได้​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New].

    [/FONT]
    [/FONT]
    จับก็จับไปซิ จับแต่หนัง ไม่ได้จับตัว ตัวมีที่ไหนล่ะ พออริยมรรค ๔ อริยผล ๔ ทำงาน พอหมดแล้วไม่มีเจ้าของแล้ว​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]...

    [/FONT]
    [/FONT]
    หนังแผ่นเดียวมันรักษาง่าย อยู่ในท้องก็มีเท่านี้แหละ ออกจากท้องมาแล้วก็มีเท่านี้แหละ หมดไป ๑๐๐ ชั่วโมง ๑๐๐ วัน ก็มีหนังแผ่นเดียวเท่านี้แหละ ตนขึ้นมาก็มีหนังแผ่นเดียว จะดับไปก็หนังแผ่นเดียว​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]...

    [/FONT]
    [/FONT]
    จะมาเกิดอีกก็มีแค่หนังแผ่นเดียวเท่านี้ ยังไม่เชื่อกัน ไม่เชื่อธรรมะก็ตามใจซิ​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New].

    [/FONT]
    [/FONT]
    อยากดูหนังก็ให้ดูหนังเรามีให้ดูตลอดเวลา ดูตามนี้ธรรมะดีขึ้น หนังมันดีลง จะไปติดอะไรกับหนัง จะไปเสียดายอะไรกับหนัง แค่กระดาษห่อขนมปังเท่านั้นเอง คนรู้นะ เขาทิ้งกระดาษห่อขนมปังทั้งนั้น พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ท่านรู้อย่างนี้ ท่านไม่หลงไม่ลืม แล้วเราจะอวดดีไปหลงไปลืมทำไม​
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New].........

    [/FONT]
    [/FONT]
     
  7. โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    อนุโมทนาอย่างยิ่ง กับธรรมทานที่เผื่อแผ่ เพื่อมิตรธรรม...
     
  8. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปเช่นกันครับ
    อนุโมทนาสาธุ
     
  9. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อย่าได้กังวลกับสิ่งใดครับ ผมไม่เคยถือโกรธหรือถือโทษใครเพียงแต่เมื่อ รู้ว่าสิ่งใดคือธรรม แล้วก็ให้รักษาธรรมนั้นไว้ให้ดีด้วย สติ ปัญญา ในแนวทางที่พระศาสดาสอนสั่งไว้ครับ
    อนุโมทนาสาธุ ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
  10. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ยกกระทู้นี้มาให้อ่านแก้เซ็งแล้วอย่าลืมเอาไปปฏิบัตินะครับ
    อนุโมทนาสาธุคั๊บ
     
  11. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อานาปาณสตินั้นแท้จริงไม่มีที่ว่างสำหรับความหลง สำหรับจินตนาการ เป็นปัจจุบันธรรม เป็นธรรมเฉพาะหน้า เป็นสัมมาสติ เป็นฐานของสัมมาสมาธิ เป็นรากแก้วของมฌิมาปฏิปทา
     
  12. kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    มาทำจิตให้สงบกันเถอะทำตามเขาแหละดี แต่ต้องตามพระอริยะเจ้านะอย่าตามใจตนเอง อย่าคิดเองเออเอง วันนี้สังคมมีแต่แย่ลง ข่าวคาวทั้งหลายก็มาก มีทั้งเอาทารกที่ทำแท้งไปแอบเผา เรื่องมันชักจะยุ่งแล้วนะจิตใจคนเรานี่ ถึงมันทำให้หายไปไม่ได้ก็ควรจะทำให้ทุเลาลงได้ ตัวกิเลสนี้ ไม่ว่าจะอย่างไรเห็นควรให้ร่วมใจกันสร้างแนวทางในการพัฒนายกระดับจิตของคนในสังคม ให้ข้ามพ้นจากภัยอันเกิดจากกิเลส ท่านทั้งหลายในที่นี้น่าจะทำได้ ดีกว่ามาเถียงกันตำหนิติเตียนกัน และสิ่งแรกคือต้องทำตนให้ดี เมื่อดีแล้วจึงพาคนอื่นให้ดีตาม เรื่องไหนไม่ดีก็เก็บไว้แล้วเอามาแก้ไขด้วยตนเองคนอื่นแก้ให้ไม่ได้ เอามาตำหนิติเตียนกันมันก็แก้อะไรไม่ได้ อย่าให้กิเลสหลอกให้หลง ถ้าคนในห้องนี้ปฏิบัติกันแล้วยังเป็นคนไร้สาระอยู่อย่างนี้ต่อไปใครที่ไหนอยากจะเข้ามาปฏิบัติศึกษาธรรมละ เห็นแก่ส่วนรวมให้มากๆกว่านี้หน่อยก็ดีนะครับ ทุกท่านที่รับการอบรมมาแล้วจากเหล่าพระอริยะเจ้าก็ดี พระสงฆ์สาวกก็ดี
    สาธุคั๊บ
     
  13. poomdunn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +380
    มีสติ เพราะการควบคุมจิตตัวเดียว
    Anumotanasatu satu satu
     
  14. kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    try to read maybe get. satu.
     

แชร์หน้านี้