รายละเอียด: พุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร 15 วัด
รวมพุทธาภิเษก 16 ครั้งครับ พระดีพิธีใหญ่
พิธีการจัดสร้าง
เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์คณะกรรมการดำเนิน
โครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษกมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง
และพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง
พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์
7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัด
ครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 3 วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครั้งที่ 4 วันเสาร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ครั้งที่ 5 วันเสาร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6 วันเสาร์ ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 7 วันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 8 วันอังคาร ที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก.ท.ม.
ครั้งที่ 9 วันเสาร์ ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์
ครั้งที่ 11 วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 12 วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 13 วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 14 วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
ครั้งที่ 15 พิธีเททองและพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ
คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
ราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททองและเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา
ราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้วในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ใน
ครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน 2,588 แผ่น ซึ่งได้
จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี
ครั้งที่ 16 พิธีมหาพุทธาภิเษก
กำหนดประกอบพิธีเมื่อการจัดสร้างวัตถุมงคฯ ทุกชนิดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะนำไปประกอบ
พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในราวเดือน มิถุนายน 2547 คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ
จะนำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ต่อไป สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างในครั้งนี้ นอกจากการลงแผ่นพระยันต์ทองคำ นาก
เงิน และทองแดงอย่างละ 108 แผ่น รวมทั้งนะปถมังอย่างละ 14 แผ่น แล้วยังได้ลงดวงประสูติ และดวงตรัสรู้ ของสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกชุดละ 2 แผ่น อีกทั้งยังได้นำชนวนโลหะจากโครงการสร้างพระสำคัญๆ มารวมในการสร้างวัตถุ
มงคลฯ ในครั้งนี้ด้วย
สำหรับชนวนโลหะที่จะนำมาสร้างพระกริ่งนั้น คณะกรรมการ
ดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาอย่างดียิ่งจากพระคณะจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 รูป
รวม 684 รูป ได้เมตตาอธิษฐานจิตและลงจารแผ่นโลหะรวมทั้งได้รับมวลสารผงเถ้าธูปและดินจากสังเวชนียสถานอันศักดิ์
สิทธิ์ ในประเทศอินเดีย เนปาล และสถานที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากประเทศจีน รวมทั้งชนวน
โลหะจากการสร้างพระกริ่ง 90 พรรษาสมเด็จย่า ปี 2533 ชนวนโลหะ จากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี 2535 และชนวนโลหะจากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี 2542
รายละเอียดตามใบจอง
<CENTER></CENTER>
ความเป็นมา
<TABLE class=Fixfont height=254 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="54%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=118></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=Fixfont height=260 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=212>
ด้วยประจักษ์แจ้งชัดแก่ประชาชนชาวไทยและชาวโลกแล้วว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทางพระเกียรติคุณยิ่งใหญ่ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย ตลอดจน
ประชาคมโลก อย่างใหญ่หลวง ทรงแผ่พระมหากรุณาธิคุณเกื้อกูลบรรดาผู้ยากไร้ดดยไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา ทรงมีพระ
ราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนแระชาราษฏร์ทั่วทุกท้องถิ่นด้วยความห่วงใยในทุกข์สุขและการประกอบอาชีพ
ทรงจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพ เพื้อฟื้นฟูงานด้านศิลปหัตถกรรม ซึ่งกำลังจะสูญสลายไปของประเทศไทยให้ขจรไกลไปทั่วโลก
ช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในชนบทให้มีความมั่นคง อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขสบาย
ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6
รอบ จึงนับเป็นมหามงคสมัยอันประเสริญยิ่ง สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมพร้อม
ด้วยวัตถุมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณ จึงร่วมใจกันจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาส
สำคัญดังกล่าว โดยกำหนดจัดสร้างพระกริ่ง พระพุทธรูปบูชา และพระสมเด็จนางพญา เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้
ร่วมถวายความจงรักภักดี โดยนำรายได้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
</TD></TR><TR><TD>พิธีบวงสรวงก่อนพิธีปลุกเสกชนวนพระกริ่งจักรตรี โดยนายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล</TD></TR></TBODY></TABLE>
ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 47 ณ วัดชนะสงคราม
<HR style="COLOR: orange" align=left width="97%" SIZE=1 hr>สมเด็จพระสังฆราชประทานนามวัตถุมงคลฯ<TABLE class=Fixfont height=193 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=160>
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงประทานนามพระกริ่งว่า
" พระกริ่ง 72 พรรษาประชาภักดี " และประทานนามพระบูชาว่า " พระพุทธรัชมงคลประชานาถ " มีความหมายว่า
" พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชาทรงเป็นที่พึ่งของประชาชน "
</TD></TR><TR><TD>หลวงปู่ทิม วัดพระขาว พระนครศรีอยุธยา ดับเทียนชัย</TD></TR></TBODY></TABLE>
<TABLE height=192 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=152></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD></TR><TR><TD class=Fixfont colSpan=4>หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อแย้ม วัดตะเคียน</TD></TR></TBODY></TABLE>
อธิษฐานจิตปลุกเสกชนวนมวลสารในการสร้างพระกริ่งจักรตรี ณ พระอุโบสถวัดชนะสงครม เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 47
<TABLE class=Fixfont height=257 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=224></TD></TR><TR><TD>สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ประธานจุดเทียนชัยพิธีพุทธาภิเษก</TD></TR></TBODY></TABLE>
ณ พระอุโบสถวัดชนะสงคราม วันที่ 7 ม.ค. 2547
<TABLE class=Fixfont height=151 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="75%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=118></TD></TR><TR><TD>สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจริญอธิษฐานจิตปลุกเสกชนวน</TD></TR></TBODY></TABLE>
<HR style="COLOR: orange" align=left width="97%" SIZE=1 hr>พิธีการจัดสร้างครั้งที่ 15 พิธีเททองและพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ
เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์คณะกรรมการดำเนิน
โครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษกมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง
และพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง
พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์
7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัด
เดือนมกราคม 2547
ครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร
เดือนกุมภาพันธ์ 2547
ครั้งที่ 3 วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ครั้งที่ 4 วันเสาร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ครั้งที่ 5 วันเสาร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร
เดือนมีนาคม 2547
ครั้งที่ 6 วันเสาร์ ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 7 วันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 8 วันอังคาร ที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก.ท.ม.
เดือนเมษายน 2547
ครั้งที่ 9 วันเสาร์ ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์
เดือนพฤษภาคม 2547
ครั้งที่ 11 วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 12 วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เดือนมิถุนายน 2547
ครั้งที่ 13 วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 14 วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก
คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
ราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททองและเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา
ราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้วในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ใน
ครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน 2,588 แผ่น ซึ่งได้
จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี
พระกริ่งจักรตรี พุทธาภิเษก 16 ครั้ง พระดีพิธีใหญ่ ครบ 6 รอบ พระราชินี ของดีราคาเบา
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 8 พฤศจิกายน 2007.
-
joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต
-
อนุโมทนาด้วยครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูล
จะได้มีวาสนาสักองค์มั้ยเนี่ย -
joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต
ขอมาโชว์
ก็มีองค์นึงครับสุดรักสุดดวงใจเลยครับพี่ในเว็ปที่แสนใจดีคนนึงมอบให้มาครับไฟล์ที่แนบมา:
-
-
-
joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต
เนื้อเดียวกับพี่ลีลาวดีอ่ะครับในตลาดหาได้ไม่ยากสนนราคาอยู่ที่ 250-400บาท (ซึ่งราคาเบากว่ากริ่งภปร.และในตลาดหาง่ายกว่าไม่ค่อยมีใครสนใจเพราะไม่ใช่ภปร.แต่พิธีไม่ได้ด้อยกว่ากันเลย)ใครที่ไม่มีก็ควรหามาบูชาคู่กับกริ่ง6รอบในหลวงก็ดีเหมือนได้บูชาพ่อหลวงแม่หลวงแห่งแผ่นดินเลยครับ สังเกตุตำหนิง่ายๆ จะมีโค้อ อุณาโลมอยู่ข้างหลังองค์พระเหนือตราราชวงศ์จักรีครับ
-
joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต
ตอนนี้ในตลาดพระราคาเริ่มขยับไปบ้างบางที่ก็ไม่มีให้บูชาของดีๆรีบหามาบูชากันนะครับ