พระกริ่ง(เล็ก)ไชยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่5 มีชื่อเรียกว่า พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ (พระชัยศิริวัฒน์) เป็นเบญจภาคีพระไชยวัฒน์อันดับ1
ฝีมือช่างสิบหมู่ สร้างครั้งที่2 ปีพ.ศ.๒๔๒๘ โดยมีพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวรเรศ เป็นประธานการจัดสร้าง และรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานให้เชื้อพระวงศ์และเจ้านายชั้นสูงตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๔๓
พระไชยวัฒน์ที่มีหายากและมีความนิยมที่สุดคือ พระชัยวัฒนมงคลวราภรณ์ (พระชัยศิริวัฒน์) ที่สร้างในรัชกาลที่5
https://www.komchadluek.net/news/knowledge/52990
พระชัยวัฒน์ ในวงการพระที่นิยมกันสุดๆ หายากสุดๆ และแพงสุดๆ อ.เกี๊ยก ทวีทรัพย์ ผู้ชำนาญพระกริ่งพระชัยวัฒน์ บอกว่า มี ๕ องค์ คือ
๑.พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ที่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลขึ้น เพื่อพระราชทานแก่เชื้อพระวงศ์ พระราชโอรส พระราชธิดา เหล่าองค์มนตรี โดยสร้างครั้งแรก (พ.ศ.๒๔๒๗) และครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๒๘) ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นประธานและครั้งที่ ๓ (พ.ศ.๒๔๓๖) ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ บางปะอิน โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นประธาน
๒.พระชัยวัฒน์นิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ปี พ.ศ.๒๔๕๘
๓.พระชัยวัฒน์ห่มคลุม วัดบวรนิเวศวิหาร คาดว่าสร้างหลังจาก พระกริ่งปวเรศ ไม่นานนัก ตามพระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ทรงสร้าง พระกริ่งปวเรศ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๓๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉะนั้น พระชัยวัฒน์ห่มคลุม จึงน่าจะสร้างหลังจากนั้นไม่นานนัก นับถึงวันนี้มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี นับว่ามีความเก่าพอสมควร
๔.พระชัยวัฒน์สิงหเสนี เป็นพระชัยวัฒน์ที่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสามปลื้ม เป็นผู้ขออนุญาต ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม จัดสร้างขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกับที่ท่านเจ้ามาได้จัดสร้างพระชัยวัฒน์ พิมพ์ต่างๆ ขึ้น ประมาณปี ๒๔๔๒ นับถึงวันนี้มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี นับเป็นพระชัยวัฒน์ที่พบเห็นได้ยาก เข้าใจว่ามีจำนวนสร้างน้อย
๕.พระชัยวัฒน์เขมรน้อย สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนฯ ทรงสร้างขึ้นในช่วงที่ครองสมณศักดิ์ที่ พระพรหมมุนี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๖-๒๔๕๘) จำนวนประมาณ ๕๐ องค์
ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ พระชัย หรือ พระไชย มีลักษณะที่ต่างจากพระพุทธรูปอื่นๆ คือ เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อม ขัดสมาธิเพชร (นั่งอย่างขัดสมาธิ แต่ให้ฝ่าเท้าทั้งสองขึ้นข้างบน) พระหัตถ์ซ้ายถือพัดยศแทนการวางพระหัตถ์บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทอดบนพระเพลาเกือบจรดพื้น เพื่อเป็นพระพุทธรูปสำหรับบูชาเพื่อใช้ประกอบในพระราชพิธีสำคัญ
ส่วนพระไชยวัฒน์เป็นการย่อส่วนขนาดของพระไชยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อสามารถนำพกพาติดตัวไปที่ใดก็สะดวก
มีการสันนิษฐานว่าพระชัยน่าจะมีที่มาจากพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งหมายถึงการชนะมาร แต่พระชัยวัฒน์หมายถึงการชนะอุปสรรค ภยันตราย และมีชัยเหนืออริราชศัตรู
แต่ปัจจุบัน พระชัยวัฒน์ หมายถึงพระพุทธรูปหล่อที่มีขนาดเล็ก สามารถพกพาติดตัวได้และมีขนาดเล็กกว่าพระกริ่ง พระชัยวัฒน์มีทั้งลักษณะแบบบางมารวิชัยและแบบบางสมาธิ เนื่องจากมีขนาดเล็กส่วนใหญ่จึงไม่ได้บรรจุเม็ดกริ่งที่ใต้ฐาน ส่วนน้อยมากๆที่มีบรรจุเม็ดกริ่งใต้ฐาน
สำหรับพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์เป็นเนื้อในเนาวะโลหะสัมฤทธิ์เดช ผิวชั้นในเป็นสัมฤทธิ์ศักดิ์ออกสีทองจำปาเทศ ผิวชั้นนอกเป็นสัมฤทธิ์ผลออกสีมันเทศ องค์พระหุ้มกะไหล่ปรอทเงิน ฐานพระบรรจุเม็ดกริ่งเหล็กไหลและก้นฐานปิดแผ่นทองคำและมีจารใต้ฐาน มะ อุ อะ
ประวัติการหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กประจำรัชกาลที่ ๕
ประวัติการสร้างหล่อพระและพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ มีด้วยกัน 3 ครั้ง(วาระ) โดยแต่ละวาระช่างหลวงจะสร้างแกะหุ่นต้นแบบและทำบล็อคขึ้นใหม่และขนาดไม่เหมือนกัน เนื่องจากปริมาณในการสร้างพระชัยวัฒน์ในแต่ละวาระแตกต่างกัน
ทรงสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1
ทรงสร้างพระไชยวัฒน์ทองคำครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. ๒๔๒๗ (เนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อเนาวะโลหะหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์เดช และหุ้มผิวพระด้านนอกด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ออกสีทองจำปาเทศหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์ศักดิ์ หรือบางตำราเรียกว่าเปียกทอง) 4 องค์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าพระไชยวัฒน์ที่สร้างครั้งที่ 2 เล็กน้อย และพระราชทานแก่
1.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
2.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมวลัยวงษ
3.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
4.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
ทรงสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 2
ในราชกิจจานุเบกษาปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐ บันทึกการพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำในปีนั้น และมีบันทึกเหตุการณ์ย้อนหลัง พระราชพิธีสร้างพระไชยวัฒน์ ๕๐องค์เรียกว่า "พระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์" ในเดือนแปด ขึ้นเก้าค่ำ พ.ศ. ๒๔๒๘ ณ.วัดพระศรีรัตนศาสนาราม จากบันทึกราชกิจจานุเบกษานี้
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1011427.pdf
ทำให้รู้ว่าช่วงปี ๒๔๒๘-๒๔๓๔ รัชกาลที่๕ พระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ (เนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อเนาวะโลหะหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์เดช และหุ้มผิวพระด้านนอกด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ออกสีทองจำปาเทศหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์ศักดิ์ หรือบางตำราเรียกว่าเปียกทอง) ซึ่งงานหล่อพระนี้เป็นฝีมือช่างหลวง
โดยผู้ได้รับพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กจะต้องปฏิบัติตน ๓ ข้อ
๑. เป็นผู้เชื่อถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยมั่นคง
๒. เป็นผู้มีความรักใคร่ต่อบ้านเมืองและวงษ์ตระกูลของตน
๓. เป็นผู้มีความกตัญญูซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยมีพระสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นประธานการจัดสร้าง
อีกหลักฐานในการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ครั้งที่ 2 เอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ภาค 19 หน้า 117-120 ในจดหมายเหตุระบุจำนวนหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็ก 55 องค์ (แต่ในราชกิจจานุเบกษาปีพ.ศ.๒๔๓๐ ระบุย้อนหลังไป 2 ปีระบุจำนวนหล่อ 50 องค์) บันทึกพิธีการสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็ก มงคลวราภรณ์ เมื่อ จุลศักราช ๑๒๔๖(พศ.๒๔๒๘) ณ.วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน๕๐องค์และเพิ่มอีก๕องค์ ทองคำที่ใช้หล่อผสมหนักองค์ละ ๑ เฟื้อง (ครึ่งสลึง) โดยมีอดีตสมเด็จพระสังฆราช๓องค์และพระราชาคณะในขณะนั้นเข้าร่วมพุทธาภิเษก ๔ วัน ได้แก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (สังฆราชองค์ที่๘เป็นประธานพระราชาคณะในพระราชพิธี), สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สา(สังฆราชองค์ที่๙ขณะนั้นเป็นพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส(สังฆราชองค์ที่๑๐ขณะนั้นเป็นพระราชาคณะ) และรัชกาลที่๕ ทรงเททองลงเบ้าหลอมหล่อพระ
http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=av_00076
และทรงพระราชทานหลายครั้งมีการบันทึกในราชกิจจานุเบกษา ดังนี้
ครั้งที่๑ วันอังคาร เดือนแปด แรมสามค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
1.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
2.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
3.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
4.พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัตรวรเดช
ครั้งที่๒ วันพฤหัสบดี เดือนแปด แรมสิบสามค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
5.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ
6.พระเจ้าน้องยาเธอ องค์เจ้าโสบัณฑิตย
ครั้งที่๓ วันศุกร์ เดือนแปด ขึ้นหกค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
7.พระวงษเธอ พระองค์เจ้าสายสนิทธวงษ
ครั้งที่๔ วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้นสามค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
8.สมเด็จพระเจ้าวรวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราษปรปักษ์
9.พระเจ้าราชวรวงษเธอ กรมขุนเจริญผลภูลสวัสดิ
10.สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์
11.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช
12.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ
13.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพาสิทธิประสงค์
14.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ
15.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ
ครั้งที่๕ วันศุกร์ เดือนสิบ ขึ้นสิบค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
16.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักรศิลปาคม
17.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ
ครั้งที่๖ วันศุกร์ เดือนสิบเอ็ด ขึ้นสิบห้าค่ำ ปีระกา พ.ศ.๒๔๒๘ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
18.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรครั้งที่๗ วันเสาร์ เดือนยี่ แรมสี่ค่ำ ปีระกา*(นับแบบปีไทยโบราณ) พ.ศ.๒๔๒๙(นับแบบปีสากล) พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
19.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ
20.พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษครั้งที่๘ วันพุธ เดือนสี่ ขึ้นหกค่ำ ปีระกา*(นับแบบปีไทยโบราณ) พ.ศ.๒๔๒๙(นับแบบปีสากล) พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
21.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัติวงษหมายเหตุ* ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อน พ.ศ.๒๔๓๒ ยังนับวันปีใหม่แบบไทยโบราณ คือวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ เป็นวันขึ้นปีใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่แบบไทยเป็นวันที่ ๑ เมษายน ของทุกปีแทน
ครั้งที่ ๙ วันเสาร์ เดือนหก ขึ้นเก้าค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐ ระบุในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๔๓๐ ภาค 23 หน้า 72-73 พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก** แก่
22.สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดชครั้งที่๑๐ วันจันทร์ เดือนสิบ แรมสามค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๔๓๐ ในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๓๐-๒๔๓๑ ภาค 24 หน้า 70 พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก*** แก่
http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=53_0011
หมายเหตุ** พระราชทานครั้งที่ ๙ ไม่ได้มีระบุในราชกิจจานุเบกษาปีพ.ศ.๒๔๓๐ ที่กล่าวย้อนหลังเพียง ๙ ครั้งระหว่าง พ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๓๐ ตกหล่นครั้งที่ ๙ไป ๑ ครั้ง แต่มีระบุในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันโดยระบุว่าเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กเนื่องจากในจดหมายเหตุฯน่าจะทรงทราบอยู่แล้วว่าเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กเปียกทอง
แก่
23.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงษแต่ในราชกิจจานุเบกษายังระบุพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) ในบันทึกราชกิจจานุเบกษาปีพ.ศ.๒๔๓๐ ระบุย้อนหลังระหว่าง พ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๓๐ (ระบุตกหล่นครั้งที่ ๙ ไป ๑ ครั้ง)
24.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
25.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
หมายเหตุ*** ทั้ง 3 พระองค์ได้รับพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 และในจดหมายเหตุฯไม่ได้ระบุเป็นพระไชยวัฒน์ทองคำเนื่องจากน่าจะทรงทราบอยู่แล้วว่าเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กเปียกทอง
http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=53_0013
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1011427.pdf
ครั้งที่๑๑ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๔ ยังระบุ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) แก่
27.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์สันนิษฐานว่าครั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ได้รับพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๔ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้สร้างพระกริ่งปวเรศโดยนำชนวนโลหะจากการหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1 มาสร้าง โดยช่างสิบหมู่ช่างหลวง ทำให้เนื้อด้านในพระกริ่งปวเรศเป็นเนื้อเนาวะโลหะ(สัมฤทธิ์เดช) และผิวพระด้านในจึงมีสีทองจำปาเทศ(สัมฤทธิ์ศักดิ์)เหมือนพระไชยวัฒน์ และได้นำพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ที่ยังไม่พระราชทานให้ใครและพระกริ่งปวเรศนำมาหุ้มผิวพระด้วยโลหะสีออกสีมันเทศ(สัมฤทธิ์ผล)อีกชั้นในคราวเดียวกับพระกริ่งปวเรศที่วัดบวรนิเวศและเจาะฐานพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ บรรจุเม็ดกริ่งและปิดแผ่นฐานทองคำให้แก่พระเจ้าน้องยาเธอ ปิดแผ่นฐานเงินให้แก่เชื้อพระวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ปิดแผ่นฐานนาคให้แก่องค์มนตรีชั้นพระยา
28.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1014016.pdf
พระกริ่งปวเรศ ที่ประดิษฐ์สถานที่วัดบวรนิเวศ ผิวพระด้านนอกจึงเป็นโลหะสัมฤทธิ์สีมันเทศออกสีม่วงๆ(สัมฤทธิ์ผล) และที่วงสีแดงจะเห็นผิวพระด้านในเป็นโลหะสัมฤทธิ์สีทองจำปาเทศ(เปียกทองหรือสัมฤทธิ์ศักดิ์)อยู่ใต้ผิวโลหะสัมฤทธิ์สีผล และเนื้อพระด้านในสุดเป็นเนื้อเนาวะโลหะ(สัมฤทธิ์เดช)
พระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์องค์นี้ ถูกหุ้มองค์พระส่วนบนเหนือฐานด้วยโลหะปรอทเงินเพิ่มเติมในภายหลังจากได้รับพระราชทาน ทำให้มีลักษณะโลหะ 3 กษัตริย์ ได้แก่ องค์พระเป็นสีเงิน ส่วนฐานออกสีมันเทศ และใต้ฐานปิดแผ่นทองคำเนื้อเก้า
คลิปนี้เป็นคลิปที่ทำครั้งแรก จะปรับปรุงการพูดอธิบายให้ดีขึ้นในอนาคต
ครั้งที่๑๒ วันที่๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๕ พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ไม่มีระบุทองคำแล้ว (เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระชั้นในเดิมสัมฤทธิ์ศักดิ์ ผิวพระชั้นนอกสัมฤทธิ์ผล) ในพระราชพิธีศรีสัจปานกาล แต่งตั้งองค์มนตรี และพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก อีก ๑๕ องค์ดังนี้
28.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สวรรคตปีพ.ศ.๒๔๓๘)
29.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภน (ได้รับพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2)
30.พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล
และผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีอีก12ท่าน
31.พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์
32.หม่อมเจ้าขาว
33.หม่อมเจ้าประภากร
34.หม่อมเจ้าอลังการ
35.หม่อมเจ้านิลวรรณ
36.หม่อมเจ้าเพิ่ม
37.พระยาสุรศักดิ์มนตรี
38.พระยาวุฒิการบดี
39.พระยาราชวรานุกูล
40.พระยานรินทร์ราชเสนี
41.พระยาพิพัฒโกษา
42.พระยาบำเรอภักดิ์
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1014625.pdf
ครั้งที่๑๓ วันที่๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กไม่มีระบุทองคำแล้ว (เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระชั้นในเดิมสัมฤทธิ์ศักดิ์ ผิวพระชั้นนอกสัมฤทธิ์ผลอีก ๑ องค์ดังนี้
43.สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เสด็จศึกษาต่อประเทศยุโรป
ระหว่างพระราชพิธีหล่อพระไชยวัฒน์ครั้งที่ 3 วันที่ ๑๙ - ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ซึ่งพระไชยวัฒน์ครั้งที่(รุ่น) 3 ยังหล่อไม่เสร็จ ดังนั้นจึงน่าจะพระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กรุ่น 2 ให้ไป
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1015441.pdf
ครั้งที่๑๔ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๗ทรงสร้างหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ครั้งที่ 3 (รุ่น3)
พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กอีก แต่มีเพียงระบุหัวเรื่องในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่มีเอกสารระบุพระราชทานกี่องค์และให้ใครบ้างครั้งที่๑๕ วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๓ พระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ไม่ระบุทองคำ แก่
ในความเห็นส่วนตัว แม้ช่วงวันเวลานี้พระไชยวัฒน์องค์เล็กครั้งที่(รุ่น) 3 ได้หล่อเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าพิธีสมโภชน์พระไชยวัฒน์ ซึ่งมีพิธีสมโภชน์เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๗ ดังนั้นจึงน่าจะพระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กรุ่น 2 ให้ไป
- พระวรวงษ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ
- พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าเสรฐวงษ์วราวัตร์
เนื่องจากไม่ได้ระบุเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ ดังนั้นจึงน่าจะพระราชทานเป็นพระไชยวัฒน์องค์เล็กรุ่น 2 ให้ไป
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1021996.pdf
พระราชพิธีสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ๒๕ องค์และพระไชยองค์ใหญ่ ๑ องค์ และพระไชยองค์เล็ก ๑ องค์ เริ่มพิธีวันที่ ๑๙ - ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ พระองค์ได้ทรงหล่อในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ ครั้งนี้ไม่ได้สร้างโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์แล้วเพราะสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕(อายุ83 ปี) แต่เป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นประธานในพิธี จึงกลับมาใช้สูตรโลหะแบบช่างหลวงเหมือนพระไชยวัฒน์ที่สร้างในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ช่วงแรก และกลับมาเรียก พระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ อีกครั้ง (เนื้อโลหะด้านในเป็นเนื้อเนาวะโลหะหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์เดช และหุ้มผิวพระด้านนอกด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ออกสีทองจำปาเทศหรือเรียกว่าสัมฤทธิ์ศักดิ์ หรือบางตำราเรียกว่าเปียกทอง)
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1015441.pdf
และพระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ(เนื้อในสัมฤทธิ์เดช ผิวพระสัมฤทธิ์ศักดิ์) ที่สร้างที่วัดนิเวศธรรมประวัติดังนี้
ครั้งที่ ๑ ทรงพระราชทานให้ในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๗ ในงานสมโภชน์พระไชยวัฒน์ที่สร้างใหม่ครั้งที่ 3 ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ และพระราชทานพระไชยวัฒน์ แก่
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สวรรคตปีพ.ศ.๒๔๓๘) ทรงได้ทั้งพระไชยวัฒน์ที่สร้างครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3
- พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1016202.pdf
ครั้งที่๒ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๙ พระราชทานพระไชยวัฒน์ รุ่น 3 ในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน รัชกาลที่ ๕ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๔๑ หน้า ๒๐ ระบุพระราชทานพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ แก่
ครั้งที่๓ วันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๐ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ
ครั้งที่๔ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๑ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธ์
ครั้งที่๕ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
- พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานารถ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์
ครั้งที่๖ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๓ พระราชทานพระไชยวัฒน์ทองคำ รุ่น 3 แก่
- พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ หรือพ.ศ. ๒๔๕๒ ว่ารัชกาลที่5 เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อในการสมโภชพระไชยเนาวโลหองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาที่รัชกาลที่5ทรงพระราชทานให้ ซึ่งต้องเพลิงไหม้ไม่เป็นอันตราย ที่พระตำหนักสวนกุหลาบ วังสวนดุสิต ซึ่งอาจจะเป็นพระไชยวัฒน์ที่สร้างครั้งที่ 2 ที่เหลือและพระราชทานส่วนพระองค์
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1034878.pdf
ผมปรับภาพรูปรอยจารใต้ฐานใช้เห็นรอยจารมียันต์ มะ อุ อะ เขียนได้ชัดเจนสวยงาม น่าจะเป็นพระราชาคณะ ส่วนตัวคาดว่าน่าจะเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นผู้จาร ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่๑๐ เพราะเป็นประธานสงฆ์ในการจุดเทียนชัยในพิธีแช่น้ำปี 2435 ซึ่งขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชันษา 32 ปี
หมายเหตุ
---จากข้อมูลบันทึกที่พบ มีทั้งที่กล่าวถึงการหล่อพระชัยวัฒน์องค์เล็กทองคำ และพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ ความเป็นไปได้ พระชัยวัฒน์องค์เล็กในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่พบเป็นพระชัยวัฒน์นวโลหะชุบทอง(เปียกทอง) ดังนั้นในสมัย ร.5 ที่สร้างพระชัยวัฒน์เนาวโลหะ(นวโลหะ)ก็อาจจะมีการสร้างในลักษณะเปียกทองได้เช่นกัน
---พระชัยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างในสมัย ร.5 จากบันทึกในการสร้าง 3 ครั้ง มีจำนวน 85 องค์
ข้อมูลอ้างอิง
http://dr-natachai.blogspot.com/2011_03_01_archive.html?m=1
http://wrsytc6.blogspot.com/2013/01/227-5.html?m=1
ลำดับสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
อ.เกี๊ยก ทวีทรัพย์ เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์
ตอนที่1
ตอนที่2
พระกริ่งชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่5
ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 28 มิถุนายน 2017.
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
1) ชิน หนัก 1 บาท
2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
5) ปรอท หนัก 5 บาท
6) สังกะสี หนัก 6 บาท
7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
8) เงิน หนัก 8 บาท
9) ทองคำ หนัก 9 บาท
เนื้อทองสัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อเนาวะโลหะเต็มสูตร(สัมฤทธิ์เดช)รวมทั้งหมด 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก
ส่วนผสมที่หายากที่สุดในเนื้อนวโลหะคือ จ้าวน้ำเงิน
เจ้าน้ำเงิน
BORNITE (Peacock Ore) แร่นกยูง หรือคนไทยเรียกว่า แร่เจ้าน้ำเงิน
นกยูงแร่ยังเป็นที่รู้จัก BORNITE เป็นแร่ทองแดงที่ขุดได้ในประเทศเม็กซิโก จะมีเป็นสีรุ้ง แต่โดยมาจะออกไปทางโทน น้ำเงิน เขียวและม่วง ชื่อของมันมาจากการเรียกของคนงานเหมืองแร่
บอร์ไนท์ หินแห่งความสุข ช่วยให้คุณปรับแต่งความคิดในเชิงบวกในการใช้ชีวิต และสามารถกระจายพลังงานเชิงบวกที่ให้กับผู้อื่นได้เสียด้วย มันสามารถนำมาซึ่งความสามารถในการมองเห็นและความสุขในช่วงเวลาที่คุณต้องการ ช่วยให้เราเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้น
มันสามารถพลังด้านลบและเปลี่ยน พลังในด้านลบให้กลายเป็นพลังบริสุทธิ์ แร่บอร์ไนท์นี้จึงเป็นแร่ธาตุที่มีประสิทธิภาพมาก
เจ้าน้ำเงิน
คำนี้ไม่มีในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่เกิดมีอยู่ในคำอธิบายคำว่า นวโลหะเป็นหนึ่งในโลหะทั้งเก้า ส่วนผสมในพระพุทธรูปโบราณ หรือพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์
ทางภาคใต้ของไทย เรียกชื่อว่า "มิด"
เจ้าน้ำเงิน เชื่อกันว่าเป็นโลหะเรียกเงินได้ เกิดมาจากหินชนิดหนึ่งในป่า แถวเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
วิธี ตรวจสอบ...ให้เอาเหรียญเงินหลายๆเหรียญโปะทับ เอาชามครอบ วางที่น้ำค้างตก...รุ่งเช้าเปิดชามดู ถ้าก้อนโลหะนั้น โผล่ไปอยู่บนกองเหรียญ สิทธิการิยะ ท่านว่า เจ้าน้ำเงินแท้
อีกวิธีหนึ่ง...ให้ใช้ปูนแดงที่กินกับหมากพลู ป้ายแต้มลงไป ไม่เกิน 5 นาที จะแสดงปฏิกิริยาออกมาคือ ปูนแดงนั้น
จะเปลี่ยนสีกลายเป็นสีเขียวออกน้ำเงินหรือสีคราม
ข้อมูลอ้างอิงจาก เฟซพุทธคุณ
https://m.facebook.com/buddhakhun/p...VTe_J7-24sxJFmpiQ&sig2=UN2a1io3ZYrRO5JSXWKd6Q
พระกริ่งปวเรศของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ(สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่8) เป็นพระกริ่งนวโลหะมีส่วนผสมของจ้าวน้ำเงินตามสูตร ทำให้ผิวพระกริ่งปวเรศจะมีสีออกม่วงคล้ายผิวมันเทศ
ลองศึกษาพระกริ่งปวเรศองค์ดังจากคลิป
ประวัติวัดบวรราชนิเวศและพระกริ่งวัดบวรฯยุคต่างๆ
ในคลิปพระกริ่งปวเรศ วัดบวรฯผิวพระกริ่งจะออกสีน้ำตาลแดงม่วง คล้ายผิวมันเทศ ส่วนเนื้อด้านในจะแก่ทองคำ เรียกว่าสีทองจำปาเทศ เป็นสูตรการสร้างพระกริ่งของพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ ซึ่งแตกต่างจากสูตรการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ผิวพระกริ่งจะกลับดำและวัดบวรยุคหลัง เพราะมวลสารการสร้างพระกริ่งโบราณครบสูตรหายากในปัจจุบันแล้ว
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ด้านหลังมีส่วนผสมสีเขียวสดใสเช่นกัน
สำหรับเนื้อนวโลหะเป็นแบบเต็มสูตรของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาปวเรศฯซึ่งมีวรรณะออกไปทางสีม่วงคล้ายผิวมันเทศ เช่นเดียวกับกริ่งปวเรศ และแตกต่างจากเนื้อนวโลหะของสมเด็จพระสังฆราชแพ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ขออนุญาตถามถึงองค์นี้ครับว่าเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ใช่ไหมครับ
-
ดูแล้วไม่น่าจะพลาดล่ะครับ ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ ยังไงรบกวนติชมอีกซักรอบนะครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ขออนุญาตน่ะครับ ขอเข้ามาแสดงความคิดเห็นส่วนตัวน่ะครับ..
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕.โปรดฯให้สร้างพระชัยวัฒน์เนื้อทองคำนามว่า พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ เพื่อพระราชทานให้แด่พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ฯ ที่จะเสด็จออกไปทรงศึกษาในต่างประเทศ ...
โปรดฯให้สร้างขึ้นครั้งที่ ๑ ในปีพ.ศ ๒๔๒๒ และครั้งที่ ๒ ปีพ.ศ ๒๔๒๘ เป็นพระราชพิธีหลวง สร้างตามฤกษ์ยามกำลังวัน(มีรายละเอียดพระราชพิธีจัดสร้างในหนังสือตำนานพระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาลของ ส.พลายน้อย) รวมจำนวนการสร้างทั้งสองครั้งประมาณไม่เกิน ๖๐ องค์ มีกรมหมื่นวชิรญาณฯ เจ้าอาวาสวัดบวรฯ และกรมพระปวเรศฯ พระราชาคณะ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เมื่อพิธีสร้างพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์เสร็จแล้ว สันนิษฐานว่า กรมพระปวเรศฯทรงเก็บก้านช่อฉนวนโลหะมวลสารไว้
สันนิษฐานว่า ต่อมาระหว่างปีพ.ศ ๒๔๓๐--๓๒ กรมพระปวเรศฯทรงสร้างพระกริ่งเนื้อโลหะผสมตามตำราโลหะศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ก้านช่อฉนวนของพระชัยวัฒน์มงคลวรภรณ์(เนื้อทองคำ)เป็นมวลสารหลัก ผสมกับโลหะมงคลตามตำราวัดป่าแก้ว ถอดหุ่นพิมพ์จากพระกริ่งจีน สร้างตามฤกษ์ยามกำลังวัน พระกริ่งสร้างครั้งแรกเนื้อจะแก่ทองคำเหมือนเนื้อพระกริ่งจีน ทรงประทานให้บุคคลใกล้ชิด เรียกว่าพระกริ่งพระปวเรศฯ เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง สร้างครั้งแรกไม่น่าเกิน ๑๐ องค์..
สันนิษฐานว่า ถึงปีพ.ศ ๒๔๓๔ กรมพระปวเรศฯได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาพระปวเรศวริยาลงกรณ์ (สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘) สันนิฐานว่า ในวโรกาสนี้กรมพระยาพระปวเรศฯ ได้ทรงสร้างพระกริ่งโลหะผสมขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ โดยใช้ก้านช่อฉนวนมวลสารพระกริ่งที่สร้างครั้งที่ ๑ ผสมกับโลหะฐานพระพุทธชินสีห์ และมวลสารโลหะมงคลอื่นๆตามตำรา สร้างตามฤกษ์ยามกำลังวัน พระกริ่งชุดนี้เนื้อจะแตกต่างกับพระกริ่งสร้างขึ้นชุดแรก สันนิษฐานว่า ได้ทรงประทานให้เจ้าอาวาสพระอารามหลวง(ฝ่ายธรรมยุติ)เพื่อใช้แช่ในครอบบาตรน้ำมนต์ทำพิธีน้ำพระพุทธมนต์แจกชาวบ้าน จำนวนสร้างครั้งที่สองน่าจะไม่เกิน ๕๐ องค์...
ข้อมูลผิดพลาดคลาดเคลื่อนต้องกราบขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วยน่ะครับ... -
ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทความของดร.ณัฐชัย เลิศรัตนพล ตามลิงค์ด้านล่างครับ
http://dr-natachai.blogspot.com/2011_03_01_archive.html?m=1ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖.ทรงสร้างพระชัยประจำรัชกาลหนึ่งองค์ หน้าตักกว้าง ๑๙ ซม.สูงถึงยอดรัสมี ๓๐ ซม.สูงจากพื้นขาดยอดฉัตร ๘๗ ซม. แต่ไม่มีกล่าวถึงการสร้างพระชัยวัฒน์เนื้อทองคำองค์เล็กเลย..
ผมยังเข้าใจว่าองค์ที่ท่านลงคือ พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๕.ครับ.. -
มีบันทึก เมื่อวันที่14มีนาคม ร.ศ.127หรือพ.ศ.2451 ว่ารัชกาลที่5 เสด็จพระราชดำเนิน เพื่อในการสมโภชพระไชยเนาวโลหองค์เล็กของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาที่รัชกาลที่5ทรงพระราชทานให้ ซึ่งต้องเพลิงไหม้ไม่เป็นอันตราย ที่พระตำหนักสวนกุหลาบ วังสวนดุสิต
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1034878.pdf
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมาก็คือพลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและเป็นพระอนุชาของรัชกาลที่6 เป็นพระเชษฐาของรัชกาลที่7และเป็นว่าที่รัชกาลถัดไปต่อจากรัชกาลที่6แต่ทรงสิ้นพระชนม์ก่อนรัชกาลที่6
ดังนั้นพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่5 จึงไม่ใช่เนื้อทองคำตามที่หนังสือของส.พลายน้อยพิมพ์ไว้ แต่เป็นเนื้อนวะโลหะ และมีการหุ้มด้วยกะไหล่ทองคำเนื้อเก้าไว้ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นเนื้อทองคำ เมื่อเวลาผ่านไปผิวกะไหล่ทองที่หุ้มพระไว้น่าจะหลุดร่อนบ้างให้เห็นเป็นเนื้อเนาวะโลหะอยู่ภายใต้ผิวทองคำอีกทีครับ
นอกจากนี้หนังสือบันทึกเรื่องเล่าชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสีที่ได้จัดพิมพ์ไว้ในหนังสือพิมพ์ตำรวจ คุณไชย เอี่ยมประเสริฐ เจ้าของสำนักพิมพ์อักษรประเสริฐ ผู้มีศรัทธาในสมเด็จเป็นอันมากได้รับจัดพิมพ์เกียรติประวัติ ของสมเด็จเสนอแด่ประชาชน
โดย: “ฉันทิชัย”
เล่ม๑ ปี ๒๔๙๕
ได้บันทึกถึงการเสด็จประพาสยุโรปของรัชกาลที่5 ปีพ.ศ.2440 ได้อาราธนาพระเครื่องติดตัวไป2องค์ คือพระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ไกเซอร์ และพระชัยวัฒน์เนาวะโลหะน้อย ประจำรัชกาลที่5 ไปในครั้งนั้นด้วย
คลิป you tube ด้านล่างถอดข้อความจากหนังสือของฉันทิชัยมา ลองฟังนาทีที่ 8:04 ครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
https://th.m.wikipedia.org/wiki/วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เนื่องจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษามีการปรับปรุงทำให้ลิงค์เดิมไม่สามารถเข้าไปดูเอกสารได้ วันนี้เป็นวันปิยมหาราช ปีพ.ศ. 2566 ผมจึงได้ทำการปรับปรุงลิงค์ของราชกิจจานุเบกษาเพื่อไปยังเอกสารอ้างอิงใหม่ให้ถูกต้อง
จากคำถามต่างๆของคุณจัวน้อยที่เคยถามเกี่ยวกับข้อมูลในหนังสือ พระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาล ของส.พลายน้อย ที่พิมพ์ครั้งที่ 2 ผมได้ซื้อหนังสือ พระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาล พิมพ์ครั้งล่าสุดครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 เรียบเรียงโดย ส.พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พบว่าได้แก้ไขข้อมูลบางส่วนและเปลี่ยนเป็นรูปพระไชยวัฒน์มงคลวราภรณ์ในบทความของผมไปลงประกอบในหนังสือแทนรูปพระชัยวัฒน์เดิมที่ใช้ในหนังสือพระชัยวัฒน์และพระแก้วประจำรัชกาล พิมพ์ครั้งที่ 1(พ.ศ.2522) และ 2 (พ.ศ.2528) ตามรูปหนังสือที่พิมพ์ครั้งที่3ด้านล่าง
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะ พระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ และ ประจำรัชกาลที่ ๖
1. เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะของพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล ๕ และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ สร้างครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๒๘-๒๔๓๔ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์(สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘) เป็นประธานสร้างในพระราชพิธี
มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และตามจดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๕ ระบุมีจำนวนการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก 55 องค์ และเนื้อเนาวะโลหะแบบเต็มสูตร(สัมฤทธิ์เดช)โบราณน้ำหนัก 45 บาท มีส่วนผสมทองคำน้ำหนักถึง 9 บาท เมื่อนำมาหล่อตามจำนวน 55 องค์ พระจึงมีขนาดเล็กเพียงนิ้วก้อย ฐานกว้างประมาณ 1 cm น้ำหนักทองคำที่ใช้แต่ละองค์หนัก 1 เฟื้องหรือครึ่งสลึง2. เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะของพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล ๕ และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๕ สร้างครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๔๓๖ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส(สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐) เป็นประธานสร้างในพระราชพิธี
ช่างหลวงได้จำลองพุทธลักษณะพระไชยองค์ใหญ่ย่อลงมา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร (นั่งอย่างขัดสมาธิ แต่ให้ฝ่าเท้าทั้งสองขึ้นข้างบน) พระหัตถ์ซ้ายแสดงท่าถือพัดยศแทนการวางพระหัตถ์บนพระเพลา (ตัก) โดยพระเกศเป็นทรงดอกบัวตูม ศิลปะคล้ายศิลปะเชียงแสน หรือ ศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 1 และมีรายละเอียดเพียงเม็ดบัวที่ขอบฐานด้านบน เท่านั้น
บันทึกราชกิจจานุเบกษามีระบุลักษณะภายนอก 2 ลักษณะ คือ
- พระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำ (เปียกทอง) พระราชทานช่วงระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๔
- พระไชยวัฒน์องค์เล็กไม่ระบุทองคำ คาดว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลากรณ์ทรงนำพระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำที่ยังไม่ได้พระราชทานให้ผู้ใด นำมาหุ้มผิวชั้นนอกด้วยสัมฤทธิ์ผลสีมันเทศและบรรจุเม็ดพระกริ่งเพิ่มเติม คราวเดียวกับการสร้างพระกริ่งปวเรศ ที่วัดบวรนิเวศ และพระราชทานพระไชยวัฒน์องค์เล็กในช่วงระหว่างปีพ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๓๗ และพ.ศ.๒๔๔๓
มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่วัดนิเวศธรรมประวัติ และตามราชกิจจานุเบกษา ระบุพระไชยวัฒน์องค์เล็ก มีจำนวนการสร้างเพียง 25 องค์ พุทธศิลปะคล้ายกับพระไชยวัฒน์องค์เล็กที่สร้างครั้งที่ ๒ และใช้เนื้อเนาวะโลหะเต็มสูตร(สัมฤทธิ์เดช)น้ำหนักรวม 45 บาท เมื่อนำมาหล่อตามจำนวน 25 องค์ดังนั้นน้ำหนักและขนาดองค์พระจึงใหญ่กว่าที่สร้างครั้งที่ ๒ ขนาดฐานประมาณ 2 cm กว่าๆ3. เปรียบเทียบพุทธศิลป์และลักษณะของพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาล ๖ และพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ประจำรัชกาลที่ ๖ พ.ศ.๒๔๕๓ โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส(สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐) เป็นประธานสร้างในพระราชพิธี
ช่างหลวงจึงสามารถแกะแม่พิมพ์ได้ละเอียดกว่าคราวสร้างครั้งที่ ๒ มีพระเกศเป็นดอกบัวตูม คล้ายศิลปะเชียงแสน หรือ ศิลปะอู่ทองรุ่นที่ 1 และแกะฐานลายกลีบบัว ขออนุญาตเอารูปพระไชยวัฒน์องค์เล็กในคลิปของศ.ดร.รังสรรค์ อนันตกุล มาอ้างอิงครับ
(รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานในคลิปมีบางส่วนไม่ตรงกับที่มีบันทึกในราชกิจจานุเบกษา)
โดยลักษณะภายนอกระบุเป็น พระไชยวัฒน์องค์เล็กทองคำหรือเปียกทอง พระราชทานระหว่างปีพ.ศ.๒๔๓๗-๒๔๔๓
มีพระราชพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และตามราชกิจจานุเบกษา ไม่มีระบุจำนวนการสร้างพระไชยวัฒน์องค์เล็ก ลักษณะพระเกศมีลักษณะคล้ายศิลปะอู่ทองรุ่นที่ ๒
และฐานเป็นกลีบบัวย่อส่วนและคล้ายกับพระไชยองค์ใหญ่ ประจำรัชกาลที่ ๖ พระราชพิธีการสร้างพระไชยวัฒน์ ประจำรัชกาลที่ ๖ ในราชกิจจานุเบกษา และขออ้างอิงรูปจากบทความของดร.ณัฐชัย เลิศรัตนพล
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1039271.pdf
ไฟล์ที่แนบมา: