พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    อ่า...ปกติผมก็ไม่กินเยอะอย่างนี้หรอกนะคร้าบ เล่นเอาผมจุกไปหมดเลยนะนี่ - -"

    ส่วนเรื่องแจกนี่ ผมกับแฟนนั่งมึนกันทีเดียว เดี๋ยวแจก เดี๋ยวแจก เหอๆ ก็ขอโมทนาสาธุกับพี่ๆทุกท่านด้วยครับ

    ไปบ้านอาจารย์ปู่ทีไร ก็ได้สิ่งดีๆกลับมาเต็มเปี่ยมทุกทีครับ :D
     
  2. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียน พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ในปีหน้า ผมจะหาโอกาสดีๆ ผมและคุณแด๋น(อาจจะมีท่านอื่นๆร่วมด้วย) แจกพระสมเด็จ(เนื้อปูนสอ) ให้กับทุกๆท่านที่ได้ไปพบกันในวันนัดพบกัน(ผมไม่แจกบนกระทู้พระวังหน้าฯแน่นอน) แต่ผมยังไม่บอกว่า จะแจกเมื่อไหร่ อย่างไร ติดตามในกระทู้พระวังหน้านะครับ

    สำหรับพระสมเด็จ ที่ท่านกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นผู้ให้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น(ในวังของท่าน) ผมได้นำไปแจกในวันนัดพบกันเมื่อวานนี้เช่นกัน

    -----------------------------------------------------------------


    สมเด็จพระวันรัต(ทับ) วัดโสมนัส กับ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
    ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
    http://palungjit.org/showthrea...2445&page=1268



    ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

    ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

    อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

    ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

    "พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

    ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

    หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

    ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

    ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

    แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

    1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

    2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

    3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

    4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

    หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

    แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



    นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

    อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

    "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

    สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

    นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

    ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

    อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

    .......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302

    (จากชมรมพระวังหน้า) เฉพาะสมาชิกเว็บพลังจิต จึงสามารถเข้าไปชมได้
    http://palungjit.org/group.php?do=discuss&group=&discussionid=190

    -----------------------------------------------------------------



    พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
    พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
    http://cu-banna.is.in.th/?md=content&ma=show&id=43



    ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย

    การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ทำนาได้ข้าวเท่าใด ก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด นอกจากนี้การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆจนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินทำกินไปในที่สุด

    จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาเงินทุน มาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5 โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาในด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป

    วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ กระทรวงการคลังได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดียเข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนาได้เสนอว่าควรจัดตั้ง "ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ" ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ ท่านได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า "โคออเปอราทีฟ โซไซ"(Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งคำนี้พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า "สมาคมสหกรณ์" จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์ เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการ สหกรณ์
    การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่างสหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ใน รายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า "เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้วได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับประเทศไทย" จากการที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย" สำหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัด ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบอาชีพการเกษตร ให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก นับเป็นการเริ่มต้นแห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์

    ในระยะแรกตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีสมาชิกจำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท ซึ่งเป็นเงิน จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนจำนวน 3,000 บาท ได้อาศัยเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ซึ่งก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน และเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดให้สมาชิกส่งคืนเงินต้นในปีแรกจำนวน1,300 บาท แต่เมื่อครบกำหนดสมาชิกส่งคืนเงินต้นได้ถึง 1,500 บาท ทั้งส่งดอกเบี้ยได้ครบทุกราย แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของชาวนาได้ผล และจากความสำเร็จของสหกรณ์วัดจันทร์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยังจังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกนั้น นอกจากจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจำกัดในทางกฎหมายด้วย เพราะพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 ทำให้การจัดตั้งสหกรณ์ไม่กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงจะต้องออกกฎหมายควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้มีการรับจดทะเบียนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ จากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471อีก 3 ครั้ง นับว่าการประกาศให้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์ได้ขยายออกไปอีกมาก
    ปี พ.ศ. 2478 มีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีและได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายประเภท เช่น สหกรณ์บำรุงที่ดินสหกรณ์ค้าขาย สหกรณ์นิคมฝ้าย สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน ในปี พ.ศ. 2480 ร้านสหกรณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อว่าร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้ มีสมาชิกแรกตั้ง279 คน และได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์ในลักษณะนี้อีกหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ โดยจัดตั้งขึ้น ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และส่วนของประชาชน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย ก็คือการควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่ สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน และในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิก ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 6 ประเภท ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516 ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการ

    ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัว การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ ต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น



    ที่มา : กรมส่งเสริมสหกรณ์

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • thekingev2.jpe
      ขนาดไฟล์:
      28.7 KB
      เปิดดู:
      6,348
  3. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แล้วที่รับไป แรงหรือเปล่าครับ แต่ถ้าไม่ทราบต้องถามคุณnongnooo หรือคุณเพชรดูนะครับ

    ;aa13
     
  4. ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    หุหุ พระที่ท่านปาทานแจก แถมยังรับจากมือปู่ ไม่ต้องเช็คให้เสียเวลาหรอกครับ
     
  5. nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ไม่ทราบครับ หุ หุ 55555555555
     
  6. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ร้องเรียนปัญหา เกี่ยวกับการเช่าพระเครื่อง - วัตถุมงคล
    http://palungjit.org/showthread.php?t=148580&page=6

    <TABLE class=tborder id=post1732553 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 12:29 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#114 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>ยายผีป่า<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1732553", true); </SCRIPT>
    ผู้สนับสนุน กิตติมศักดิ์



    วันที่สมัคร: Nov 2005
    สถานที่: ที่แผงหนังสือทั่วประเทศที่จำหน่ายนิตยสารพลังจิต.คอม ไปหาซื้ออ่านสิแล้วจะรู้ว่าอยู่ที่แห่งหนตำบลใด
    อายุ: 40
    ข้อความ: 4,354
    พลังการให้คะแนน: 3411



    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1732553 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->ยายผีป่าเคยคุยเรื่องนี้มานานในส่วนตัวว่า

    ................................................................................

    เมื่อก่อนนั้นเราจะบอกบุญที่ห้องประชาสัมพันธ์และทางวัดหรือกัลยาณมิตรที่อยากตอบแทนผู้ร่วมบุญก็จัดหาวัตถุมงคลทั้งที่สร้างใหม่นำเข้าพิธีและที่ได้รับมาทางใดทางหนึ่ง ซึ่งแท้หรือทำเลียนเราไม่ทราบได้ เพราะยุคนั้นเราจะเป็นพวกบอกบุญ อย่างยายผีป่าตอนนั้นมีหลายท่านส่งของมาให้ บอกว่า แจกต่อนะ มอบให้คนมาทำบุญนะ เราก็ทำตามนั้น แต่ของทุกอย่างจะเข้าพิธีทุกครั้งที่มีการบวงสรวงเพิ่มเติม และผู้รับของจากยายผีป่าก็ไม่เคยบ่นเรื่องนี้ เพราะเจตนารมณืคือขอให้ได้ทำบุญ ของที่ได้รับนั้นคือของที่ระลึก

    แต่ทีนี้ยายผีป่าเห็นว่าช่วงนั้นห้องวัตถุมงคลเงียบมากๆ แทบไม่มีใครเข้า เลยคุยกับเพื่อนๆ ที่เก่งเรื่องนี้ ให้หาสาระมาโพสหน่อย ยายหามาโพสเองบ้างก็มีเพราะช่วงนั้นว่าง

    ......................................


    แต่ทีนี้มาหลังๆ เริ่มมีคนเข้ามาที่ห้องวัตถุมงคลกันมากขึ้น เพราะยิงตรงยังผู้ชื่นชอบวัตถุมงคลกันจริงๆ

    ...........................................................

    เงินสะพัดกันมาก เอาแค่อย่างที่ยายผีป่าบอกบุญนะคะ ยังทำบันไดนาคเสร็จทันใจ และงานบุญอื่นๆ อีกเล่า..

    และไม่แค่งานบุญยายผีป่างานเดียว ..กัลยาณมิตรท่านอื่นๆ ก็เรี่ยไรได้ทำให้ให้งานบุญลุล่วงดังประสงค์
    .......................อย่างที่ขอรับบริจาคช่วยเวบซื้อเชริฟเวอร์ ก็ยังมากมาย ได้เงินซื้อได้ และมีบริจาคมาเรื่อยๆ เรามีพระพลังจิตและอื่นๆ เป็นเครื่องตอบแทน

    ..............................................................

    แต่คิดถึงกลุ่มที่มาให้บูชาแบบเน้นเพื่อประโยชน์ส่วนตนสิคะ เขาขายได้เงินมากกว่ารายได้ประจำเสียอีก เขาปั่นกระทู้ได้ตลอดเวลา เพราะนี่คืออาชีพเสริมที่ทำเงินได้มากจริงๆ อันนี้เราควรที่จะให้มีการเสียค่าโพสด้วย หลวงพี่ที่เราเคารพกันเคยมาติงแล้วว่า กล้าเสียสละกันหน่อย อย่งน้อย สองสามเปรอ์เซ็นต์ก็ยังดี แต่ก็มีการค้านว่า..เวบพลังจิตโร่งใสแค่ไหน...อ้าว..คุณมาหากินในเวบ คุณยังว่าเวบอีก..เวบจะเอาเงินไปทำอะไร ก็แล้วแต่เวบ คุณกล้าจ่ายไหมคะ

    .......................................................................


    ที่เวบที่พื้นที่ให้ช่วยลงติดแบนเนอร์เพื่อนำรายได้เข้าเวบ ทำไมไม่จ่ายกันละคะ

    อย่างเรื่องที่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ว่าคนนั้นเก๊ คนนี้สิเซียน อันนี้มันแล้วแต่ เพราะเราไม่รู้ว่าคุณเก่งจริงมากน้อยแค่ไหน เจตนารมณ์คุณต้องการอะไรแน่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ

    .............................

    เก็บค่าขายของในหมวดวัตถุมงคลได้แล้ว และยายผีป่าก็ยอมจ่ายนะคะ

    ............................................................

    เก็บเป็นกระทู้รายเดือนไปเลย และขอให้สำแดงตัวตนที่แท้จริงไปเลย

    พร้อมรับประกันการคืนของด้วย

    หากของแพงมากขอให้ไปชมของด้วยตัวเองจะดีกว่า
    .........................
    ส่วนเน้นเพื่อบอกบุญนั้น

    .................................

    ขอให้ผู้โพสบอกบุญ ได้รับใบรับรองจากวัด จากสำนักสงฆ์ หรือองค์กรนั้นๆ มายืนยันว่าได้รับการอนุญาตให้มาเรี่ยไรแล้ว และควรให้โอนเงินเข้ายังวัดหรือองค์กรนั้นๆ โดยตรง

    การบอกบุญอาจไม่มีการเรียกเก็บเงิน ขอเพียงให้มีหลักฐานยืนยัน

    .......................................

    ส่วนท่านที่ขายและแบ่งทำบุญ ท่านก็ควรมาบอกด้วยว่าแบ่งไปทำบุญที่ไหน อย่างไร ทางทีดี จ่ายค่ามาให้เช่ามงคลวัตถุดีกว่าค่ะ มันจบง่ายกว่า

    เพราะที่นี่มีผู้ตั้งตนกันเยอะ...

    .
    แต่หาตัวตนที่แท้จริงไม่เจอกันสักเท่าไร

    อ้อ...ร้องเรียนที่ไหนได้บ้างว่า

    ส่งของไปให้ แต่เงินไม่ได้...ไอ้ที่แจกฟรีก็แจกฟรีนะ แต่ที่ให้ราคาไปนั้น มันไม่ได้มาบาทสองบาทเน้อ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นัดกันมาตอบป่าวครับ
    เวลาช่างใกล้เคียงกันเหลือเกิน หรือว่าใจตรงกัน เหอๆๆๆ

    ;aa24 ;aa36 ;aa13
     
  8. พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    มาบอกบุญ พี่ น้อง เพื่อน ทุกๆท่าน
    เป็นบุญเล็กๆที่ได้รับเมตตาจากพระอาจารย์นิล
    ที่ได้อนุญาตให้จัดหามีดโกนถวาย
    เพื่อเป็นหนึ่งในอัฐบริขารสำหรับพระพุทธเจ้าห้าพระองค์
    ที่จะบรรจุในพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง
    เป็นมีดโกนที่จัดซื้อเรียบร้อยแล้ว ดังรูป



    มีดโกนทั้งหมด ห้า อันๆละประมาณ 5640.25 บาท
    รวม 28,201.25 บาท

    ท่านใดที่สนใจร่วมบุญจะส่งเลขบัญชีให้ที่PMนะคะ
     
  9. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมจะนำไปลงไว้ที่ชมรมพระวังหน้า(กระทู้แจ้งงานบุญ ) และกระทู้ "พระวังหน้า ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้....." ที่เว็บบอร์ดอกาลิโก ด้วยนะครับ
    โมทนาสาธุครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. gnip สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +14
    [FONT=&quot]ขอร่วมกิจกรรมด้วยนะคะ[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]ช่วงนี้ไม่ได่เข้ามาเลยเนื่องจากเน็ตที่บ้านเสีย และโดนไวรัสค่ะ วันนี้เลยไปซื้อโมเด็มมาใหม่ ถ้าไม่ครบถ้วนต้องขออภัยด้วยค่ะเพราะเวลาจำกัด[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]ขอยกบทพระนิพนธ์ของ ท่านสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มานะคะเนื่องจากเห็นว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันได้ทุกวันอย่างสม่ำเสมอ และมีอานิสงฆ์สูง<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]

    วิธีสร้างบุญบารมี.....สมเด็จพระญาณสังวร

    <o></o>
    [FONT=&quot]บุญ[/FONT] [FONT=&quot]ความ[/FONT][FONT=&quot]หมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า[/FONT][FONT=&quot]บุญ คือเครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย[/FONT][FONT=&quot]วาจาและใจ กุศลธรรม[/FONT]
    [FONT=&quot]บารมี[/FONT] [FONT=&quot]คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง[/FONT]

    [FONT=&quot]วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือ[/FONT][FONT=&quot]การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา[/FONT][FONT=&quot]ที่[/FONT][FONT=&quot]นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา"[/FONT][FONT=&quot]ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้นเป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด[/FONT][FONT=&quot]ได้บุญน้อยที่สุด[/FONT][FONT=&quot]ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้[/FONT][FONT=&quot]การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร[/FONT][FONT=&quot]ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น[/FONT][FONT=&quot]การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด[/FONT][FONT=&quot]ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่น การทำบุญตักบาตร[/FONT][FONT=&quot]ทอดกฐิน ผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ[/FONT][FONT=&quot]ส่วนการถือศีลแม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย[/FONT][FONT=&quot]เพื่อความเข้าใจอันดี[/FONT][FONT=&quot]จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด[/FONT][FONT=&quot]แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด ดังนี้คือ[/FONT]<o></o>
    [FONT=&quot]1.การทำทาน[/FONT] .[FONT=&quot]ในส่วนของการให้อภัยทาน<o></o>[/FONT]
    [FONT=&quot](ขอตัดตอนมาบางส่วนนะคะ)<o></o>[/FONT]
    …….
    15.[FONT=&quot]. การธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้[/FONT]"[FONT=&quot]อภัยทาน"[/FONT][FONT=&quot]แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน[/FONT][FONT=&quot]ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่านทาน[/FONT][FONT=&quot]เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ[/FONT]"[FONT=&quot]โทสกิเลส"[/FONT][FONT=&quot]และเป็นการเจริญ[/FONT]"[FONT=&quot]เมตตาพรหมวิหารธรรม"[/FONT][FONT=&quot]อัน[/FONT][FONT=&quot]เป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น[/FONT][FONT=&quot]เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา[/FONT][FONT=&quot]ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมย่อมเป็นผู้ทรงฌาน[/FONT][FONT=&quot]ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง[/FONT]"[FONT=&quot]พยาบาท"[/FONT][FONT=&quot]ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานสูงกว่าการให้ทานทั้งปวง[/FONT]

    [FONT=&quot]อ[/FONT][FONT=&quot]ย่างไรก็ดี การให้อภัยทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆ ทั้งมวล ผลบุญก็ยังอยู่ต่ำกว่า[/FONT]"[FONT=&quot]ฝ่ายศีล"[/FONT][FONT=&quot]เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน[/FONT]
     
  11. gnip สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +14
    2.การรักษาศีล"ศีล" นั้น แปลว่า "ปกติ"คือ สิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ และในบรรดาศีลชนิดเดียวก็ยังจัดแยกออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)<o></o>

    คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษย์ธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ ผู้ที่จะมีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์ จะต้องถึงพร้อมด้วยมนุษย์ธรรม ๑๐ ประการ เป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

    การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกาย และวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับ ต่อไปนี้ คือ

    ๑. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะได้ถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๒. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม

    ๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้ว รักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

    ฉะนั้น ในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นนักเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ทิศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อๆ ไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้น ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้นเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ หากไม่มีอกุศลกรรมอื่นมาให้ผลก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึง พร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่น อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ ดังกล่าว คือ

    (๑) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาบังเกิดเป็นมนุษย์ก็จะทำให้มีพลานามัยแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะทำให้บาดเจ็บ หรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันสมควร

    (๒) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วย เศษของบุญที่นำมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

    (๓) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครองหรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วย เศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดา ก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวงฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาติบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

    (๔) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา
    ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผล ชนิดที่เป็น "พุทธวาจา" มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อญุ่ในโอวาทได้ดี

    (๕) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัย เครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉาน และทรงจำได้ง่ายไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสีสติ วิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนปัญญานิ่ม

    อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่งๆ ขึ้นตามลำดับ และประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้จะมีอานิสงส์เพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้น กลางๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สงสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล
     
  12. gnip สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2008
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +14
    ช่วงที่ 3 นี้ขอยกมาทั้งหมดนะคะเนื่องจากเป็นส่วนที่สำคัญและมีอานิสงฆ์สูงสุด นอกเหนือจากนี้เราสามารถกระทำได้ในทุกขณะจิต

    3.การภาวนา
    การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด และยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ

    (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
    สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌานซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน แส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ใน อดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใดจิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย

    แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาด และด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็ยณานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้นมีมากกว่าการรักษาศีล อย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือ ปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบที่พระท่านเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" คือ สมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกยืนขึ้นใหม่ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นสงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์ อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้น จาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสุดท้ายด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น ๒ คือดาวดึงส์)

    สมาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดปราณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือชั้นที่ ๑๒ ถึง ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่า นิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่านิพพาน

    การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียงระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้

    อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลสูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้



    (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)
    เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่างๆ ซึ่งจะเป็นฌานระดับใดก็ได้ แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้อารมณ์ของวิปัสสนานั้นแตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป-นาม" โดย รูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ ส่วน คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียง อุปทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้น เนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วย อำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย.......

    (๑) อนิจจัง คือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของสมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว และเฒ่าแก่จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ

    สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆ ของชีวิตขึ้นก่อนซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์" แล้ว บรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ เหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    (๒) ทุกขัง ได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้" ทุก ขังในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็ก จะให้ทรงสภาพเป็นเด็กๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาว แล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้น หรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆ จางไป แล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน



    (๓) อนัตตา ได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ"โดยสรรพสิ่งทั้งหลาย อันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น "รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณ" ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่นรูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็กๆ ขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า "เซลล์" แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบๆ ว่าธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า ธาตุดิน ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก น้ำลาย ฯลฯ รวามเรียกว่า ธาตุน้ำ ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า ธาตุลม (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ" อันหมายถึง แร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบๆ เหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ ส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอัน ถาวรได้

    สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ ย่อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรม เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตต กระแสธรรมตัดกิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่นึกคิดและความหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาในที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น
    และเมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีกเรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ" ฉะนั้น ทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกัน และอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนไม่ได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิ เป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเรา ของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้วจิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับ ปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล

    ฉะนั้น การที่จะเจริญ วิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจน จิตเป็นณานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุ่งแต่งล้วนแล้วแต่มาจาก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้จะเห็นได้ว่าวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้ จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบการให้ทานเหมือนกับกรวด และทรายก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิและสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆ ทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆ ไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้า เพราะเหตุยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

    อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า " ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิกก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว" กล่าวคือแม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า

    ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆ ประจำวัน ซึ่งควรจะทำให้บ่อยๆ ทำเนื่องๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังต่อไปนี้.....หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนาและเป็นผู้ที่ไม่ห่างจาก มรรค ผล นิพพาน" คือ....

    (๑) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่ง ใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้บนโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า "มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ" อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสติ นี้ ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ"

    มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธจริต คือคนที่ฉลาดการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ ทั้งหลายเมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่แล้วก็ตายไปในที่สุด ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ทุกผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนยาก ดี มีจน เด็ก หนุ่ม สาว เฒ่าแก่ สูง ต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึง ความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า "หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด" และกล่าวไว้อีกว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปได้เลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดัง กล่าวมานั้น ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดไม่ได้เลย

    มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆ สงบระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้กับวิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลายไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้วก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วและที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักนิพพาน ฯลฯ สัตว์ทั้งปวงทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบล้วนแต่มีการแตกทำลายำปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้นวัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิตของเราริบหรี่แล้วจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตัวเองเราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้ด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้" และในวันมหาปรินิพพานพระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาท ที่เรียกกันว่า "อัปปมาทธรรม" สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษาได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด"



    (๒) มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน อสุภ ได้แก่สิ่งที่ไม่สวยไม่งาม เช่น ซากศพคืดมีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่เสน่หา และเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยของงามเป็นที่เจริญตาและใจ ไม่ว่าร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อยๆ จากไปเข้าสู่วัยชรา ซึ่งจะมองหาความสวยงามใดๆ หลงเหลืออยู่มิได้อีกเลย และในทันใดก็ตายลงนั้น แม้แต่ผู้ที่เคยสนิทสนมเสน่หารักใคร่ อันรวมถึงสามี ภรรยา และบุตรธิดา ต่างก็พากันเกลียดในทันใด ไม่ยอมเข้าใกล้ บ้านของตนเองที่อุตส่าห์สร้างมาด้วยความเหนื่อยยาก ก็ไม่ยอมให้อยู่ ต้องรีบขนออกไปโดยไวไว้ที่วัด แล้วซากเหล่านั้นก็เน่าเปื่อยสลายไป เริ่มตั้งแต่เนื้อหนังค่อยๆ พองออกขึ้นอึด น้ำเลือด น้ำเหลืองก็เริ่มเน่า แล้วเดือดไหลออกจากทวารทั้งหลาย เนื้อหนังแตกปริแล้วร่วงหลุดออก จนเหลือแต่กระดูก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น เป็นที่น่าเกลียดกลัว สะอิดสะเอียน หาความสสวยงามน่ารักเสน่หาใดๆ มิได้อีกเลย ทั้งไร้คุณค่าและประโยชน์ คงมีค่าแค่เป็นอาหารแก่หมู่หนอนเท่านั้น แล้วในที่สุดกระดูกก็กระจัดกระจายเรี่ยราดอยู่ตามดินและทรายแตกละเอียดผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยแก่พืชผักต่อไป หาตัวหาตนของเราของเขาที่ไหนไม่ได้เลย สังขารของเราในที่สุดก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรคงเหลือไว้เลย


    (๓) มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน บางทีเรียกกันง่ายๆ ว่า "กายคตาสติกรรมฐาน" เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มากเพราะสามารถทำให้ละ "สักกายทิฐิ"อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นได้ โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายให้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ซึ่ฃมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยเจ้าทุกๆ พระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตผลได้จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้ เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้ ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ และหลง ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปทานว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลยแต่มีอยู่พร้อมให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอกยาววาและหนาคืบ นี่เอง

    การพิจารณาก็คือ ให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่ต่างก็เฝ้าทะนุถนอมรักใคร่ ว่าสวยงาม เป็นที่สนิทเสน่หาชมเชยรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นมูตร คูถ เพราะเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นพืชผักและบรรดาซากศพของ สัตว์ที่บริโภคเข้าไปในกระเพาะนั้นแท้ที่จริงแล้วก็เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง พืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ก็ล้วนแต่เป็นของที่สกปรก ที่ขับถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลาย ก็เป็นของสกปรกโสโครก ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจว่าเป็น "ขี้" มีสารพัดขี้ ซึ่งแม้แต่เหลือบตาไปมองก็ยังไม่กล้าที่จะมอง แต่แท้ที่จริงแล้วในท้อง กระเพาะ ลำไส้ภายในร่างกายของทุกผู้คนก็ยังคงมีบรรดาขี้เหล่านี้บรรจุอยู่ เพียงแต่มีหนังห่อหุ้มปกปิดไว้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้น แต่เราท่านทั้งหลายก็พากันกกกอดคลึงเคร้า เฝ้าชมเชยก้อนขี้เหล่านี้ว่าเป็นของสวยงาม น่ารักใคร่น่าเสน่หายิ่งนัก เมื่อมีการขับถ่ายออกจากทวาร หูก็เรียกกันว่าขี้ของหู คือ "ขี้หู" ที่ขับถ่ายออกทางตาก็เรียกกันว่า "ขี้ตา" ที่ติดฟันอยู่ก็เรียกว่า "ขี้ฟัน" ที่ออกจากทางจมูกก็เรียกว่าขี้ของจมูก "ขี้มูก" รวมความแล้ว บรรดาสิ่งที่ขับถ่ายออกมาพอพ้นออกจากร่างกายในทันใดนั้นเอง จากเดิมที่เคยเป็นของน่ารักน่าเสน่หา ก็กลายเป็นของที่น่ารังเกียจไปโดยพลัน กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากรักอยากเสน่หา เพราะเป็นขี้ และไม่มีใครอยากเป็นเจ้าของด้วย เมื่อไม่มีใครรับเป็นเจ้าของสิ่งที่ขับถ่ายออกมาทางผิวหนังจึงหาเจ้าของมิ ได้ ซึ่งต่างก็โทษว่าขี้ของใครก็ไม่ทราบ นานมาก็กลายเป็น "ขี้ไคล" ดังนี้เป็นต้น นอกจากสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจะน่ารังเกียจดังกล่าวแล้ว แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความเป็นจริงที่ว่า เป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆ ที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ ฯลฯ รวมกันเรียกว่าอาการ ๓๒ ซึ่งต่างก็ห้อยแขวนระเกระกะยางโตงเตงอยู่ภายใน เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่า สวยงาม น่ารัก น่าพิศวาสเลย กลับเป็นของที่น่าเกลียด ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่าดู แต่สิ่งเหล่านี้ก็รวมประกอบอยู่ภายในร่างกายของเราทุกผู้คน โดยมีหนังห่อหุ้ม ปกปิดอยู่โดยรอบ

    หากไม่มีผืนหนังห่อหุ้มและสามารถมองเห็นภายในได้แล้ว แม้จะเป็นร่างกายของคนที่รักสุดสวาทขาดใจ ก็คงจะต้องเบือนหน้าหนีอกสั่นขวัญหาย บางทีอาจจะต้องถึงขั้นจับไข้ไปเลย ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นทำพิธีปัดรังควานเรียกขวัญกันอีกหากจะถือว่าน่ารักน่าเสน่หาอยู่ที่ผืนหรือแผ่นหนังรอบกาย ก็ลองลอกออกมาดูก็จะเห็นว่าไม่สวยงามตรงไหนแต่อย่างใด แต่ที่นิยมยกย่องรักใคร่หลงกันอยู่ ก็คือผิวหรือสีของหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น ถ้าได้ลอกหรือขูดผิวชั้นนอกสุดออกให้เหลือแต่หนังแท้แดงๆ แล้ว แม้จะเป็นหนังสดสวยของนางงามจักรวาล ผู้คนก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี จึงเป็นที่แน่ชัดว่า คนสวย คนงาม ก็คงสวยและงามกันแค่ผิวหนังชั้นนอกสุด รักและเสน่หากันที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นของฉาบฉวยนอกกาย หาได้สวยงามน่ารักไปเข้าถึงตับ ปอด หัวใจ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ น้ำเลือด น้ำเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายด้วยไม่ ส่วนผู้ที่ผิวหรือสีของหน้าดำด่าง ไม่สดใสน่าดู ก็พยายามทาลิปสติก แต่งหน้า ทาสี พอกแป้ง ย้อม และดึงกันเข้าไปให้เต่งตึง และออกเป็นสีสันต่างๆ แล้วก็พากันนิยมยกย่องชวนชมกันไป แท้ที่จริงแล้วก็เป็นความหลง โดยรักกันที่แป้งและสีที่พอก หลอกให้เห็นฉาบฉวยอยู่แค่ผิวนอกเท่านั้น เมื่อมีสติพิจารณาเห็นความจริงอยู่เช่นนี้ หากจิตมีกำลังก็จะทำให้นิวรณ์ ๕ ประการค่อยๆ สงบระงับลงทีละเล็กละน้อย โดยเฉพาะจิตจะไม่เดือดร้อนกระวนกระวายแส่ส่ายไปในอารมณ์รักๆ ใคร่ๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเยือกเย็นลงจนถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ หากสติมีกำลังพอก็อาจถึงขั้นปฐมฌานได้..............

    กายคตานุสสติกรรมฐาน นั้น ความจริงก็เป็นเพียงสมถะภาวนาที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ถึงขั้นปฐมฌาน แต่ก็เป็นสมถะภาวนาที่เจือไปด้วยวิปัสสนาภาวนาเพราะเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลตามสภาพเป็นจริงของสังขารธรรมหรือ สภาวธรรมซึ่งหากได้พลิกการพิจารณาอาการ ๓๒ ดังกล่าว ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่าอาการ ๓๒ ดังกล่าวนั้นไม่มีการทรงตัว เมื่อมีเกิดเป็นอาการ ๓๒ ขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเรา และของเราแต่อย่างใด ร่างกายไม่ว่าของตนเองและผู้อื่นต่างก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้ก็เป็นวิปัสสนา กายคตานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ จึงเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆ เข้า จิตก็จะมีกำลังและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งของตนเองและของผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ "นิพพิทาญาณ" จะเกิดขึ้น และเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาแต่อย่างใด จิตก็จะน้อมไปสู่ "สังขารุเปกขาญาณ" ซึ่งมีอารมณือันวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย และคลายกำหนัดในรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่า จิตปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ "สักกายทิฐิ" อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้ และถ้าละได้เมื่อใดก็ใกล้ที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาคือเป็น "พระโสดาบัน" สมจริงตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า "การเจริญกรรมฐานกองนี้จะไม่ห่างจาก มรรค ผล นิพพาน"

    ฉะนั้น กายคตานุสสติกรรมฐาน จึงเป็นกรรมฐาน เครื่องที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้โดยง่าย ซึ่งในสมัยพระพุทธกาล ท่านที่บรรลุแล้วด้วยพระกรรมฐานกองนี้มีเป็นอันมาก ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ได้เสด็จไปพบพราหมณ์สองสามีภรรยา ซึ่งมีบุตรที่สุดสวยชื่อว่า "นางมาคัณฑิยา" พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธองค์ จึงได้ออกปากยกนางมาคัณฑิยาให้เป็นภรรยา พระพุทธองค์ไม่ทรงรับไว้และมองเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรค ผล จึงได้ทรงแสดงพระธรรมให้ฟัง โดยยกเอากายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเทศน์ ซึ่งได้ตำหนิโทษแห่งความสวยงามแห่งรูปกายของนางมาคัณฑิยาว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นของปฏิกูล มูตรคูถเน่าเหม็น หาความสวยงามใดๆ มิได้เลย พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนนางมาคัณฑิยาผูกโกรธ ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี ก็ได้จองล้างจองผลาญพระพุทธองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะแรงพยาบาท อีกท่านหนึ่งก็คือนางอภิรูปนันทาซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเขมกะศากยะ ก็จัดว่ามีรูปงามที่สุดในสมัยนั้น และพระนางทรงภาคภูมิหลงใหลในความงดงามของพระนางยิ่งนัก แต่ด้วยบุญบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้วเป็นอันมากในอดีตชาติ เป็นเหตุให้พระนางได้สดับพระธรรมของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ ซึ่งได้ทรงเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานควบคู่ไปกับมรณัสสติกรรมฐาน แล้วทรงเนรมิตรูปกายของสาวงามที่งามยิ่งกว่าพระนางให้ปรากฏขึ้น ให้พระนางได้มองเห็นแล้วบันดาลให้รูปเนรมิตนั้นค่อยๆ เจริญวัย แก่ แล้วชราโทรมๆ ลงจนตายไปในที่สุด แล้วก็เน่าเปื่อย สลายไปต่อหน้า พระนางก็น้อมเอาภาพนิมิตนั้นเข้ามาเปรียบเทียบกับร่างกายของพระนางจนเห็นว่า ร่างกายอันงดงามของพระนางนั้นหาได้งามจริงไม่ ทั้งเป็นอนิจจังและอนัตตา หาสาระแก่นสารที่พึ่งอันถาวรอันใดมิได้เลย จนพระนางได้บรรลุพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง และพระนางเขมาเทวีที่ยิ่งด้วยรูปโฉมและเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในทำนองเดียวกันนี้เอง



    (๔) มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือ นอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อ (๓) แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุมกัน เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม เนื้อตัวร่างกายของเราเมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้กระเพาะ เส้นเอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกันตัวตนของเราไม่มี ครั้นเมื่อแยกแยะอวัยวะย่อยๆ ดังกล่าวออกไปจนถึงหน่วยย่อยๆ ของชีวิต คือเซลล์เล็กๆ ที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เองก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจมารวม กันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด แม้แร่ธาตุต่างๆ นั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตรอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ ที่หลงกันอยู่ว่า ตัวเราของเราหาที่ไหนมิได้เลย

    ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเราก็ยังเอาติดตัวไปไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้กันมานานนับล้านๆ ปี คนแล้วคนเล่า ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์ อำนาจวาสนา และทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิมีสมบัติที่สร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจน ค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไปแม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อ หนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่ที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อเกิดกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้ มิได้ยิ่งใหญ่ไปกว่าท่านในอดีตจะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ

    เมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะ ต้องทิ้งจะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเรา ซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตัวตามไปในชาติหน้า แม้หากสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัวมิได้ขาดทุนแต่อย่างใด

    หากสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้มีจริง ดังที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไปเราท่านทั้งหลายมิขาดทุนหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์กลับต้องมาโมฆะเสียเปล่า ก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น "โมฆะบุรุษ"โดยแท้


    ที่มา : บทพระนิพนธ์ของ ท่านสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
     
  13. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อานิสงส์ถวายมีดโกน, ถวายพร้า, ถวายเข็ม, ถวายมีดตัดเล็บ

    <TABLE width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=yellowold>
    เราได้ถวายมีดโกนที่ทำอย่างสวยงาม อันเนื่องด้วยเครื่องผูกอย่างวิจิตร มากมาย แก่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดและแก่พระสงฆ์แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ

    1. เราเป็นผู้กล้า
    2. เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน
    3. ถึงที่สุดในเวสารัชธรรม
    4. เป็นผู้มีธิติ
    5. มีความเพียร
    6. มีใจอันประคองไว้ทุกเมื่อ
    7. ย่อมได้ญาณอันสุขุมเครื่องตัดกิเลส
    8. ความบริสุทธิ์อันชั่งไม่ได้ ในที่ทั้งปวง เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมของเรานั้น
    เรามีจิตเลื่อมใสได้ถวายพร้าอันราบเรียบ ไม่หยาบ ไม่ต้องขัดถู เป็นอันมากในพระพุทธเจ้าและในสงฆ์แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ
    1. เราย่อมได้ความเพียรอันเป็นกัลยาณมิตร
    2. ขันติ
    3. ศาตราคือความไมตรี
    4. ศาตราคือปัญญาอันยิ่งเพราะตัดลูกศรคือตัณหา
    5. ญาณอันเสมอด้วยแก้ววิเชียร

    เราได้ถวายเข็มในพระสุคตเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการอันสมควรแก่กรรมของเรา คือ
    1. เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนนอบน้อม
    2. ตัดความสงสัยได้
    3. มีรูปงาม
    4. มีโภคสมบัติ
    5. มีปัญญากล้า ทุกเมื่อ เราพิจารณาเห็นอรรถอันเป็นฐานะละเอียดลึกซึ้งด้วยญาณ ญาณของเราเสมอด้วยแก้ววิเชียรอันเลิศ เป็นเครื่องกำจัดความมืด
    เราได้ถวายมีดตัดเล็บในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม
    ของเรา คือ เราย่อมได้ทาสชายหญิง วัวและม้า ลูกจ้าง คนฟ้อนรำ
    ช่างตัดผม พ่อครัวผู้ทำอาหารเป็นอันมาก ในที่ทั้งปวง


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระสุตตันตปิฎก ออนไลน์
    Larntum Suttanta-Pitaka Online


    พระไตรปิฎกเล่มที่ 32 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 24
    ขุททกนิกาย เถราปทาน ปิลินทวรรค ปิลินทวัจฉเถราปทาน (๓๙๑)


    http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow.pl?book=32&lstart=7926&lend=8287

    <CENTER>ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑)</CENTER><CENTER>ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร</CENTER> [๓๙๓] เราเป็นนายประตูอยู่ที่นครหงสวดี เรารวบรวมโภคสมบัติเก็บไว้ใน
    เรือนมากมายนับไม่ถ้วน ในกาลนั้น เราอยู่ในที่ลับ ทำใจให้รื่นเริง นั่ง
    อยู่ในปราสาทอันประเสริฐแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า โภคสมบัติของเรามีมาก
    มากแพร่หลายไปภายในบุรี แม้พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพระนามว่า
    อานนท์ ก็ทรงเชื้อเชิญเรา พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นมุนี เสด็จ
    อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และโภคสมบัติของเราก็มีอยู่ เราจักถวายทานแก่
    พระศาสดา พระราชบุตรพระนามว่าปทุม ทรงถวายทานอันประเสริฐ
    คือ ช้างตัวประเสริฐ บัลลังก์และพนักพิง มีประมาณไม่น้อย ใน
    พระชินเจ้า แม้เราก็จักถวายทานในสงฆ์อันเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด
    ทานอันประเสริฐที่ใครยังไม่เคยถวาย เราจักเป็นคนแรกในทานนั้น เรา
    คิดที่จะถวายทานหลายวิธี สุขเป็นผลเพราะการบูชาทานใด จึงได้เห็นการ
    ถวายบริขาร อันจะเป็นเครื่องทำความดำริของเราให้เต็ม เราจักถวาย
    บริขาร ในสงฆ์อันเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด การถวายบริขารคนอื่น
    ยังไม่เคยถวาย เราจักเป็นคนแรก ในขณะนั้น เราจึงเข้าไปหาช่างจัก
    สาน จ้างให้ทำฉัตร ได้รวบรวมฉัตรไว้หนึ่งแสนคัน ได้รวบรวมผ้าไว้
    หนึ่งแสนผืน จ้างช่างให้ทำมีด (โกน) พร้า เข็ม และมีดสำหรับตัด
    เล็บ อันสมควร แล้วให้วางไว้ภายใต้ฉัตรทั้งหลาย จ้างช่างให้ทำพัด
    ใบตาล พัดขนปีกนกยูง พัดจามร ผ้ากรองน้ำ และภาชนะน้ำมัน อัน
    สมควร จ้างช่างให้ทำกล่องเข็ม ผ้าอังสะ ประคตเอวและเชิงรองบาตร
    ที่ทำอย่างสวยงาม อันสมควร ให้เอาเภสัชใส่ในภาชนะสำหรับใส่ของ
    บริโภคและในขันสำริดให้เต็มแล้ว ให้วางไว้ภายใต้ฉัตร ให้ใส่ว่านน้ำ
    หญ้าคา ชะเอม ดีปลี พริก ผลสมอ และขิงสด ให้เต็มในภาชนะ
    ทุกๆ อย่าง จ้างช่างให้ทำรองเท้า เขียงเท้า ผ้าสำหรับเช็ดน้ำ และ
    ไม้เท้าคนแก่ ให้ทำอย่างสวยงาม อันสมควร จ้างช่างให้ทำยารักษาไข้
    ยาหยอดตา ไม้ป้ายยาตา ธรรมกุตตรา กุญแจ และกล่องกุญแจ
    อันเย็บด้วยด้าย ทำสี สายโยค กล้องเป่าควันไฟ ตะเกียงตั้ง คนโทน้ำ
    และผอบ อันสมควรกัน จ้างช่างให้ทำคีม กรรไกร ผ้าสำหรับเช็ด
    สนิมและถุงสำหรับเภสัชอันสมควรกัน จ้างช่างให้ทำเก้าอี้นอน ตั่ง
    บัลลังก์อันมีเท้าสี่ให้สมควร แล้วให้ตั้งไว้ภายใต้ฉัตร จ้างช่างให้ทำฟูก
    ยัดด้วยนุ่น ฟูกนั่ง และหมอนให้ทำอย่างดี อันสมควรกัน จ้างช่างให้
    ทำกุรุวินเท (ทับทิม) มธุสิตฺเถ (ขี้ผึ้ง) เตลหตถปตาปกํ สิเวฏิผลปกํ
    สุจึ เตี่ยงพร้อมด้วยเครื่องลาด เสนาสนะ ผ้าสำหรับเช็ดเท้า ที่นอน
    ที่นั่ง ไม้เท้า ไม้ชำระฟัน (แปรงฟัน) กระเบื้อง ของหอมสำหรับไล้
    ทาศีรษะ ไม้สีไฟ ดั่งแผ่นกระดาน ฝาบาตร ถุงบาตร กระบวยตักน้ำ
    เครื่องอบ (สีผงย้อมผ้า) รางย้อมผ้า ไม้กวาด ผ้าอาบน้ำ ผ้าอาบน้ำฝน
    ผ้านิสีทนะ ผ้าปิดฝี ผ้าอันตรวาสก ผ้าอุตราสงค์ ผ้าสังฆาฏิ ยานัตถุ์
    ผ้าเช็ดหน้า น้ำส้ม น้ำปลา น้ำผึ้ง นมส้ม น้ำปานะ ขี้ผึ้ง ผ้าเก่า
    ผ้าเช็ดปาก ด้าย สิ่งใดชื่อว่าเป็นของควรให้ทานมีอยู่ และสมควรแก่
    พระศาสดา เรารวบรวมสิ่งนั้นทั้งหมดแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าอานนท์ ครั้น
    เข้าไปเฝ้าพระราชาผู้นำหมู่ชน มียศมาก ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้วได้
    กราบทูลว่า เราทั้งสองเจริญโดยชาติร่วมกัน มียศร่วมกัน ทั่วไปในสุข
    ในทุกข์ และประพฤติตามกัน ทุกข์ทางใจมีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบ
    ข้าศึก ข้าพระองค์พึงทรงไว้ซึ่งทุกข์นั้น ข้าแต่กษัตริย์ ถ้าพระองค์
    สามารถก็ขอได้ทรงพระกรุณาบรรเทาทุกษ์นั้นเถิด.
    พระราชาตรัสว่า
    ทุกข์ของท่านก็เป็นทุกข์ของเรา เราทั้งสองมีใจร่วมกัน ท่านย่อมรู้ว่า
    สำเร็จ ถ้าท่านพึงเปลื้องทุกข์นั้น.
    ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ขอจงทรงทราบทุกข์ของข้าพระองค์บรรเทาได้ยาก.
    ท่านคำรนมากไป สิ่งที่มีอยู่ในแว่นแคว้นประมาณเท่าใด ชีวิตของเรา
    ประมาณเท่าใด สิ่งนั้น (แม้) เป็นทรัพย์ที่ท่านสละได้ยาก ถ้าท่าน
    ต้องการสิ่งเหล่านี้ เราก็จักให้ไม่หวั่นไหวเทียว.
    ขอเดชะ พระองค์ทรงบันลือแล้ว การบันลือมากนั้นผิด ข้าพระองค์
    จักทราบด้วยเกล้าว่าวันนี้ พระองค์ทรงดำรงอยู่ในธรรมทั้งปวง พระองค์
    จงทรงบีบคั้นหนักนัก เมื่อข้าพระองค์ให้ (ขอ).
    ท่านจะต้องการด้วยการพูดไปทำไป ท่านปรารถนาสิ่งใดจงบอกแก่เรา.
    ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ข้าพระองค์ปรารถนาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่ง
    ข้าพระองค์จักนิมนต์พระสัมพุทธเจ้าให้เสวย ชีวิตของข้าพระองค์อย่าเป็น
    โทษ.
    เราจะให้พรอย่างอื่นแก่ท่าน ท่านอย่าขอพระตถาคตเลย ใครไม่พึงให้
    พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนแก้วมณีรัศมีรุ่งเรือง.
    ขอเดชะ พระองค์ทรงบันลือแล้วมิใช่หรือว่าตลอดถึงชีวิตอันมีอยู่ เมื่อ
    พระองค์ประทานชีวิตได้ ก็ควรพระราชทานพระตถาคตได้.
    พระมหาวีรเจ้าควรงดไว้ เพราะใครๆ ไม่พึงให้พระชินเจ้า พระพุทธเจ้ารับ
    ให้ไม่ได้ ท่านจงรับเอาทรัพย์จนนับไม่ถ้วนเถิด.
    เราจะต้องถึงการวินิจฉัย จักถามผู้วินิจฉัยทั้งหลาย ผู้วินิจฉัยจักตัดสิน
    ละเอียด ฉันใด เราสอบถามข้อนั้น ฉันนั้น.
    เราได้จับที่พระหัตถ์ของพระราชา พากันไปสู่ศาลพิพากษา เราได้กล่าว
    คำนี้ตรงหน้าของตุลาการและผู้พิพากษาทั้งหลายว่า ขอตุลาการและผู้
    พิพากษาจงฟังเรา พระราชาได้พระราชทานพรแก่เราว่า เราไม่ยกเว้น
    อะไรๆ แม้ชีวิตก็ปวารณาให้ได้ เมื่อเราขอพระราชทานพร เราจึงขอ
    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าเป็นอันพระราชทานแก่เราด้วยดี
    ท่านทั้งหลายจงตัดความสงสัยของเรา เราทั้งหลายจะเชื่อฟังคำท่านผู้เป็น
    พระราชารักษาแผ่นดิน เราทั้งหลายฟังคำของทั้งสองฝ่ายแล้ว จักตัด
    ความสงสัยในข้อนี้.
    ขอเดชะ พระองค์พระราชทานสิ่งทั้งปวง ท่านผู้นี้เป็นอันถือเอาสิ่ง
    ทั้งปวงหรือ พระเจ้าข้า.
    เราไม่ยกเว้นอะไรๆ ปวารณาแม้ชีวิต เป็นผู้ถึงความยากตลอดชีวิตเป็น
    อย่างยิ่งเทียว เรารู้ว่าผู้นี้ทุกข์ด้วยดี จึงได้ให้ถือเอาสิ่งทั้งปวง.
    ขอเดชะ พระองค์เป็นผู้แพ้ ควรพระราชทานพระตถาคต เราตัดความ
    สงสัยของทั้งสองฝ่ายแล้ว เหมือนท่านทั้งสองตั้งอยู่ในคำมั่น.
    พระราชาประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้ตรัสกะตุลาการและผู้พิพากษาว่า ท่าน
    ทั้งหลายพึงให้แม้แก่เราโดยชอบ เราพึงได้พระพุทธเจ้าอีก.
    ท่านยังความดำริของท่านให้เต็ม นิมนต์พระตถาคตให้เสวยแล้ว พึงคืน
    พระสัมพุทธเจ้าให้แก่พระเจ้าอานนท์ผู้มียศอีก.
    เราไหว้ตุลาการและผู้พิพากษา และถวายบังคมพระเจ้าอานนท์ จอมกษัตริย์
    เป็นผู้ยินดีปราโมทย์ เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าพระสัม-
    พุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะ ผู้ไม่มีอาสวะ ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้
    กราบทูลดังนี้ว่า.
    ขอพระองค์ผู้มีจักษุพร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสนโปรดทรงรับนิมนต์ ขอ
    จงทรงยังจิตของข้าพระองค์ให้รื่นเริง เสด็จเข้านิเวศน์ของข้าพระองค์
    พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา
    ผู้มีจักษุทรงรู้ความดำริของเรา จึงทรงรับนิมนต์ (ด้วยดุษณีภาพ) เราทราบ
    ว่า พระองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว ถวายบังคมแด่พระศาสดา มีจิตร่าเริง
    เบิกบาน เข้ามายังนิเวศน์ของตน ประชุมมิตรและอำมาตย์แล้ว ได้กล่าว
    ดังนี้ว่า เราได้สิ่งที่ได้โดยยากนักแล้ว เปรียบเหมือนแก้วมณีมีรัศมี
    โชติช่วง เราจักบูชาองค์พระพุทธเจ้าด้วยอะไร พระชินเจ้ามีคุณหาประมาณ
    มิได้ หาที่เปรียบมิได้ ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นนักปราชญ์ ไม่มีบุคคล
    เปรียบ หาผู้เสมอเหมือนเช่นนั้นมิได้ ไม่มีที่สอง ประเสริฐกว่านระ
    ก็อธิการอันสมควรแก่พระพุทธเจ้า เราทำได้โดยยาก เราทั้งหลายจง
    รวบรวมดอกไม้ต่างๆ เอามาทำมณฑปดอกไม้เถิด สิ่งนี้ย่อมสมควรแก่
    พระพุทธเจ้า จักเป็นอันบูชาด้วยสิ่งทั้งปวง เราจึงให้ทำดอกบัวเผื่อน ดอก-
    บัวหลวง ดอกมะลิ ดอกลำดวน ดอกจำปา ดอกกถินพิมาน ให้เป็น
    มณฑป ปูลาดอาสนะหนึ่งแสนที่ไว้ภายในเงาฉัตร อาสนะของเรามีค่า
    ยิ่งกว่าร้อยมีอยู่เบื้องหลัง ปูลาดอาสนะหนึ่งแสนที่ไว้ภายในเงาฉัตร จัดแจง
    ข้าวและน้ำเสร็จ แล้วให้คนไปทูลเวลาภัตกาล เมื่อคนไปทูลภัตกาลแล้ว
    พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตระ พร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสนเสด็จเข้า
    มาสู่นิเวศน์ของเรา ฉัตรทรงอยู่ในเบื้องบน ในมณฑปดอกไม้อันบานดี
    พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งพร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสน (เรา
    ทูลว่า) ขอพระองค์ผู้มีจักษุ โปรดทรงรับฉัตรหนึ่งแสนและอาสนะหนึ่ง-
    แสน อันควรและไม่มีโทษเถิด พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้
    แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่องบูชา พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงทรงรับไว้
    เราได้ถวายบาตรแก่ภิกษุเฉพาะรูปละหนึ่งบาตร ภิกษุทั้งหลายละบาตรที่
    จัดเอง ทรงบาตรเหล็ก พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในมณฑปดอกไม้ตลอด
    ๗ คืน ๗ วัน ทรงยังสัตว์เป็นอันมากให้ตรัสรู้ ทรงประกาศพระธรรมจักร
    เมื่อทรงประกาศพระธรรมจักรภายใต้มณฑปดอกไม้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่
    เทวดาและมนุษย์ ๘๔๐๐๐ เมื่อถึงวันที่ ๗ พระมหามุนี พระนามว่า
    ปทุมุตระ ประทับนั่งอยู่ภายในเงาฉัตร ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า มาณพ
    ผู้ใดได้ถวายทานอันประเสริฐ ไม่พร่องแก่เรา เราจักพยากรณ์มาณพนั้น
    ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว จตุรงคินีเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ
    และพลเดินเท้า จักแวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่ง
    ทั้งปวง ยานช้าง ยานม้า วอจะไหลมาเทมา ชนทั้งหลายจักบำรุงมาณพ
    นั้นเนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง รถ ๖ หมื่น อันประดับ
    ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง จักแวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่ง
    การให้สิ่งทั้งปวง ดนตรี ๖ หมื่น กลองเภรีทั้งหลายอันประดับดีแล้ว
    จักประโคมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง นางนารี
    ๘๖๐๐๐ อันประดับประดาสวยงาม มีผ้าและอาภรณ์อย่างวิจิตร สวมใส่
    แก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง
    จัดแวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง มาณพนั้น
    จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัลป จักได้เป็นจอมเทวดาเสวย
    รัชสมบัติในเทวโลก ๑๐๐๐ ครั้ง และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐๐๐
    ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้ เมื่อ
    มาณพนี้อยู่ในเทวโลก พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม เทวดาจักทรงฉัตรแก้วไว้
    ในที่สุดแห่งเทวโลก มาณพนี้จักปรารถนาเมื่อใด ฉัตรอันเกิดแต่ผ้าและ
    ดอกไม้ (ดังจะ) รู้จิตของมาณพนี้ จักกั้นอยู่เนืองนิตย์เมื่อนั้น มาณพนี้
    จุติจากเทวโลกแล้ว อันกุศลตักเตือนประกอบด้วยบุญกรรม จักเกิดเป็น
    บุตรพราหมณ์ใน (อีก) แสนกัลป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งมี
    สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักเสด็จอุบัติในโลก พระศากยโคดม
    ผู้ประเสริฐ ทรงทราบคุณข้อนี้ทั้งหมดแล้ว จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุ
    สงฆ์ ทรงตั้งไว้ในเอตทัคสถาน มาณพผู้นี้จักได้เป็นพระสาวกของพระ-
    ศาสดา มีชื่อว่าปิลินทวัจฉะ จักเป็นผู้อันเทวดา อสูร คนธรรพ์ ภิกษุ
    ภิกษุณี และคฤหัสถ์ทั้งหลาย สักการะ จักเป็นที่รักของคนทั้งปวง จัก
    ไม่มีอาสวะ นิพพาน กรรมที่เราทำแล้วในแสนกัลป ได้ให้ผลแก่เราแล้ว
    ในภพนี้ เราหลุดพ้นดี ดังกำลังลูกศร เผากิเลสทั้งหลายแล้ว โอ กุศล
    กรรม เราได้ทำแล้ว ในบุญเขตอันยอดเยี่ยมอันเป็นฐานะที่เราทำกุศลกรรม
    แล้ว ได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ก็มาณพใดได้ให้ทานอันประเสริฐไม่
    บกพร่อง มาณพนั้นได้เป็นหัวหน้า นี้เป็นผลแห่งทานนั้น เราได้ถวายฉัตร
    ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ได้เสวยอานิสงส์ ๘
    ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึก
    ร้อน ๑ ละอองและธุลีไม่แปดเปื้อน ๑ เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มี
    จัญไร ๑ อันมหาชนยำเกรงทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด ๑ เป็นผู้
    มีใจกว้างขวาง (ไม่หดหู่) ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ฉัตรหนึ่งแสนคัน
    อันประกอบด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง เว้นชาตินี้แล้ว ทรงไว้เหนือศีรษะ
    ของเรา เพราะผลแห่งกรรมนั้น เพราะฉะนั้น ในชาตินี้ การทรงฉัตรจึง
    ไม่มีแก่เรา กรรมทั้งปวงที่เราทำแล้ว เพราะผลบุญแห่งฉัตรหลุดพ้นไป
    เราได้ถวายผ้าในพระสุคตเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อม
    ได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้มี
    ผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทอง ๑ ปราศจากธุลี ๑ มีรัศมีผ่องใส ๑ มีเดช ๑
    ตัวของเราละเอียดอ่อน ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ มีผ้าสีขาวแสนผืน ๑
    สีเหลืองแสนผืน ๑ สีแดงแสนผืน ๑ ทรงอยู่เหนือศีรษะของเรา นี้เป็น
    ผลแห่งการถวายผ้า เราย่อมได้ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าป่าน และผ้าฝ้าย
    ในที่ทุกแห่ง เพราะผลอันหลั่งออกแห่งการถวายผ้านั้น เราได้ถวายบาตร
    ในพระสุคตเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์
    ๑๐ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราย่อมบริโภคโภชนาหาร
    ในภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี ภาชนะเงิน และภาชนะที่ทำด้วยทับทิม
    ในกาลทั้งปวง ๑ เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ มหาชนยำเกรง
    ทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้ได้ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอน เป็นปกติ ๑ โภคสมบัติ
    ของเราไม่พินาศ ๑ เราเป็นผู้มีจิตมั่นคง ๑ เป็นผู้ใคร่ธรรมทุกเมื่อ ๑ เป็น
    ผู้ไม่มีกิเลส ๑ ไม่มีอาสวะ ๑ คุณเหล่านี้ ติดตามเราไปทั้งในเทวโลก
    และมนุษยโลก ย่อมไม่ละเราในที่ทุกแห่ง เปรียบเหมือนเงาไม่ละรูป ฉะนั้น
     
  16. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระสุตตันตปิฎก ออนไลน์
    Larntum Suttanta-Pitaka Online

    พระไตรปิฎกเล่มที่ 32 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 24
    ขุททกนิกาย เถราปทาน ปิลินทวรรค ปิลินทวัจฉเถราปทาน (๓๙๑)

    http://202.44.204.76/cgi-bin/stshow....7926&lend=8287



    ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑)
    ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร

    เราได้ถวายมีดโกนที่ทำอย่างสวยงาม อันเนื่องด้วยเครื่องผูกอย่างวิจิตร

    มากมาย แก่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดและแก่พระสงฆ์แล้ว ย่อมได้เสวย
    อานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้กล้า ๑
    เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน ๑ ถึงที่สุดในเวสารัชธรรม ๑ เป็นผู้มีธิติ ๑
    มีความเพียร ๑ มีใจอันประคองไว้ทุกเมื่อ ๑ ย่อมได้ญาณอันสุขุมเครื่อง
    ตัดกิเลส ๑ ความบริสุทธิ์อันชั่งไม่ได้ ๑ ในที่ทั้งปวง เพราะผลอันหลั่ง
    ออกแห่งกรรมของเรานั้น เรามีจิตเลื่อมใสได้ถวายพร้าอันราบเรียบ ไม่
    หยาบ ไม่ต้องขัดถู เป็นอันมากในพระพุทธเจ้าและในสงฆ์แล้ว ย่อมได้
    เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือเราย่อมได้ความ
    เพียรอันเป็นกัลยาณมิตร ๑ ขันติ ๑ ศาตราคือความไมตรี ๑ ศาตราคือ
    ปัญญาอันยิ่งเพราะตัดลูกศรคือตัณหา ๑ ญาณอันเสมอด้วยแก้ววิเชียร ๑
    เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมเหล่านั้น เราได้ถวายเข็มในพระสุคตเจ้า
    และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ
    อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ ย่อม
    เป็นผู้อันมหาชนนอบน้อม ๑ ตัดความสงสัยได้ ๑ มีรูปงาม ๑ มีโภค
    สมบัติ ๑ มีปัญญากล้า ๑ ทุกเมื่อ เราพิจารณาเห็นอรรถอันเป็นฐานะ
    ละเอียดลึกซึ้งด้วยญาณ ญาณของเราเสมอด้วยแก้ววิเชียรอันเลิศ เป็น
    เครื่องกำจัดความมืด เราได้ถวายมีดตัดเล็บในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์
    ผู้ประเสริฐแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม
    ของเรา คือ เราย่อมได้ทาสชายหญิง วัวและม้า ลูกจ้าง คนฟ้อนรำ
    ช่างตัดผม พ่อครัวผู้ทำอาหารเป็นอันมาก ในที่ทั้งปวง เราได้ถวายพัดใบ
    ตาลอันงามในพระสุคตเจ้าแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน
    สมควรแก่กรรมของเรา คือเราย่อมไม่รู้สึกหนาว ๑ ร้อน ๑ ความเร่าร้อน
    ไม่มีแก่เรา ๑ ไม่รู้สึกความกระวนกระวาย ๑ ไม่รู้สึกความเดือดร้อนจิต
    ของเรา ๑ เราดับไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และไฟ
    ทั้งปวงได้แล้ว เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมนั้นของเรา เราได้ถวายพัด
    จามรี มีขนนกยูงเป็นด้ามในคณะสงฆ์ผู้สูงสุดแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกิเลสสงบ
    ระงับ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวนอยู่ เราได้ถวายผ้ากรองน้ำและธรรมกุตตระ
    ในพระสุคตเจ้าแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม
    ของเรา คือ เราก้าวล่วงอันตรายทั้งปวง ๑ ย่อมได้อายุอันเป็นทิพย์ ๑
    เป็นผู้อันโจรหรือข้าศึกไม่ข่มขี่ในกาลทุกเมื่อ ๑ ศาตราหรือยาพิษย่อมไม่ทำ
    ความเบียดเบียนเรา ๑ ไม่มีความตายในระหว่าง ๑ เพราะผลอันหลั่งออก
    แห่งกรรมนั้นของเรา เราได้ถวายภาชนะน้ำมัน ในพระสุคตเจ้า และใน
    คณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควร
    แก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้มีรูปสวยงาม ๑ มีความเจริญดี ๑ มีใจ
    เบิกบานดี ๑ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้อันอารักขาทั้งปวงรักษาแล้ว ๑ เรา
    ได้ถวายกล่องเข็มในพระสุคตเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
    ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราย่อม
    ได้คุณทั้งหลายนี้ คือ ความสุขใจ ๑ ความสุขกาย ๑ ความสุขเกิดแต่
    อิริยาบถ ๑ เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมนั้น เราได้ถวายผ้าอังสะใน
    พระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๔ ประการ
    อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราย่อมได้ความหนักในพระสัทธรรม ๑
    ย่อมระลึกถึงภพที่สองได้ ๑ เป็นผู้มีฉวีวรรณงามในที่ทั้งปวง ๑ เพราะผล
    อันหลั่งออกแห่งกรรมนั้น เราได้ถวายประคตเอวในพระชินเจ้าและในคณะ
    สงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๖ ประการ อันสมควรแก่
    กรรมของเรา คือ เราย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ ๑ เป็นผู้มีความชำนาญใน
    สมาธิ ๑ มีบริษัทไม่แตกกัน ๑ มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือทุกเมื่อ ๑
    มีสติตั้งมั่น ๑ ความสะดุ้งกลัวไม่มีแก่เรา ๑ คุณเหล่านี้ ติดตามเราไปทั้ง
    ในเทวโลกและมนุษยโลก เราได้ถวายเชิงรองบาตรในพระชินเจ้าและใน
    คณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีภัยในเพราะวรรณะ ๕ ไม่
    หวั่นไหวด้วยอะไรๆ ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งอันเป็นเครื่องตรัสรู้ญาณด้วย
    สติ เราฟังแล้ว ธรรมที่เราทรงไว้ย่อมไม่พินาศ เป็นอันวินิจฉัยดีแล้ว
    เราได้ถวายภาชนะ และเครื่องบริโภคในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้อุดม
    แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ
    เราย่อมได้ภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี ภาชนะแก้วผลึก และภาชนะ
    แก้วทับทิม ๑ ภริยา คนใช้ชายหญิง พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า
    และหญิง มีวัตร ยำเกรงนาย ๑ ได้เครื่องบริโภคทุกเวลา ๑ วิชาในบท
    มนต์ และในอาคมต่างๆ เป็นอันมาก เราย่อมใคร่ครวญศิลปะทั้งปวง
    ใช้ได้ทุกเวลา เราได้ถวายขันในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด
    แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ
    เราย่อมได้ขันทองคำ ขันแก้วมณี ขันแก้วผลึก และขันแก้วทับทิม
    ย่อมได้ขัน อสฺสฏเก ผลมเย อโถ โปกฺขรปตฺตเก มธุปานกสงฺเข จ
    ย่อมได้คุณเหล่านี้ คือ ข้อปฏิบัติในวัตรอันงาม ในอาจาระและกิริยา
    เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมนั้น เราได้ถวายเภสัชในพระสุคตเจ้าและ
    ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควร
    แก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑ มีปัญญา ๑ มี
    วรรณะ ๑ มียศ ๑ มีสุข ๑ ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ มหาชนยำ-
    เกรงทุกเมื่อ ๑ เราไม่มีความพลัดพรากจากของที่รัก ๑ เพราะกรรมนั้นให้
    ผลแก่เรา เราได้ถวายรองเท้าในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด
    แล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ ยาน
    ช้าง ยานม้า วอ ย่อมไหลมาเทมา ๑ รถ ๖ หมื่นคันแวดล้อมเราทุกเมื่อ ๑
    เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ รองเท้าแก้วมณี รองเท้าทองแดง รองเท้า
    ทองคำ รองเท้าเงิน ย่อมเกิดขึ้นในขณะที่ยกเท้าขึ้น ๑ บุญกรรมทั้งหลาย
    ย่อมช่วยชำระอาจารคุณให้สะอาดแน่นอน เราย่อมได้คุณเหล่านี้ เพราะ
    กรรมนั้นให้ผล เราได้ถวายเขียงเท้าในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์
    ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ได้สวมเขียงเท้ามีฤทธิ์แล้วอยู่ได้ตามปรารถนา เราได้
    ถวายผ้าเช็ดหน้าในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อม
    ได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้มี
    ผิวพรรณดุจทองคำปราศจากธุลี ๑ มีรัศมีผ่องใส ๑ มีเดช ๑ ตัวของเรา
    ละเอียดอ่อน ๑ ฝุ่นละอองไม่ติดตัวเรา ๑ เราได้คุณเหล่านี้เพราะกรรมนั้น
    ให้ผล เราได้ถวายไม้เท้าคนแก่ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ
    สุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ
    เรามีบุตรมาก ๑ เราไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑ เป็นผู้อันอารักขาทุกอย่างรักษา
    ไว้ ใครๆ ข่มขี่ไม่ได้ทุกเมื่อ ๑ ย่อมไม่รู้สึกความพลั้งพลาด ๑ ใจของเรา
    ไม่ขลาดกลัว ๑ เราได้ถวายยาหยอดตาในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
    ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เรา
    เป็นผู้มีนัยน์ตากว้างใหญ่ ๑ โลหิตของเราขาว ๑ เหลือง ๑ เป็นผู้มีนัยน์ตา
    ไม่มัว ๑ มีนัยน์ตาแจ่มใส ๑ เว้นจากโลกตาทั้งปวง ๑ ย่อมได้ตาทิพย์ ๑
    ได้ปัญญาจักษุอันสูงสุด ๑ เราได้คุณเหล่านี้เพราะกรรมนั้นให้ผล เราได้
    ถวายลูกกุญแจในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้
    ลูกกุญแจ คือ ญาณอันเป็นเครื่องเปิดทวารธรรม เราได้ถวายเรือนกุญแจ
    ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อัน
    สมควรแก่กรรมของเรา คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ เป็นผู้มีความโกรธ
    น้อย ๑ ไม่มีความคับแค้น ๑ เราได้ถวายสายโยคในพระสุคตเจ้าและใน
    คณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควร
    แก่กรรมของเรา คือ เราย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ ๑ มีความชำนาญใน
    สมาธิ ๑ มีบริษัทไม่แตกกัน ๑ มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือทุกเมื่อ ๑ โภค
    สมบัติย่อมเกิดแก่เรา เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพ ๑ เราได้ถวายกล้องเป่าควัน
    ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓
    ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ สติของเราเป็นธรรมชาติตรง ๑
    เส้นเอ็นของเราต่อเนื่องกันดี ๑ เราย่อมได้ตาทิพย์ ๑ เพราะกรรมนั้นให้ผล
    เราได้ถวายตะเกียงตั้งในพระชินเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
    ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เรา
    เป็นผู้มีสกุล ๑ มีอวัยสมบูรณ์ ๑ มีปัญญาอันพระพุทธเจ้าสรรเสริญ ๑
    เราได้คุณเหล่านี้เพราะกรรมนั้นให้ผล เราได้ถวายคนโทน้ำและผอบใน
    พระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐
    ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ ในกาลนั้น เราได้เป็นผู้คุ้ม
    ครองแล้ว ๑ พร้อมพรั่งด้วยสุข ๑ มียศมาก ๑ มีคติ ๑ มีตัวอัน
    จำแนกไป ๑ เป็นสุขุมาลชาติ ๑ เว้นจากอันตรายทั้งปวง ๑ เป็นผู้ได้
    คุณอันไพบูลย์ ๑ หวั่นไหวด้วยความนับถือ ๑ มีความหวาดเสียวอัน
    เว้นดีแล้ว ๑ เพราะการถวายคนโทน้ำและผอบ เราได้วรรณะ ๔ ช้าง
    แก้วและม้าแก้ว คุณของเราเหล่านั้นไม่พินาศ ผลนี้ เพราะถวายคนโท
    น้ำและผอบ เราได้ถวาย หตฺถลีลงฺคเก ในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์
    ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของ
    ของเรา คือ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวง ๑ มีอายุยืน ๑ มี
    ปัญญา ๑ จิตมั่นคง ๑ กายของเราพ้นแล้วจากความยากลำบากทุกอย่าง
    ในกาลทั้งปวง ๑ เราได้ถวายมีดบางอันลับคมดีและกรรไกรในสงฆ์แล้ว
    ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส อันหาน้ำหนักมิได้ สะอาด เราได้
    ถวายคีมพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้ญาณ
    เป็นเครื่องถอนกิเลสอันหาน้ำหนักมิได้ สะอาด เราได้ถวายยานัตถุ์ใน
    พระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘
    ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑
    โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ขันติ ๑ และปัญญาเป็นคุณข้อที่ ๘
    ของเรา เราได้ถวายตั่งในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
    ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เรา
    ย่อมเกิดในสกุลสูง เป็นผู้มีโภคสมบัติมาก ๑ ชนทั้งปวงยำเกรงเรา ๑
    ชื่อเสียงของเราฟุ้งไป ๑ บัลลังก์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมแวดล้อมเราเป็น
    นิตย์ตลอดแสนกัลป ๑ เราเป็นผู้ยินดีในการจำแนกทาน ๑ เราได้ถวาย
    ที่นอนในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวย
    อานิสงส์ ๖ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เรามีร่างกายสมส่วน
    อันบุญกรรมก่อให้ เป็นผู้อ่อนโยน มีรูปงาม น่าดู (ดูไม่เบื่อ) เรา
    ย่อมได้ญาณอันประเสริฐ นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน เราย่อมได้นวม
    ผ้าลวดลายรูปสัตว์ ผ้าลาดทอด้วยไหม ผ้าลาดอันวิจิตร ผ้าลาดอย่างดี
    และผ้ากัมพลต่างๆ เป็นอันมาก ย่อมได้ผ้าปาวารก์มีขนอ่อนนุ่ม ผ้าทำ
    ด้วยขนสัตว์อ่อนนุ่ม ในที่ต่างๆ นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน เมื่อใด
    เราระลึกถึงตน เมื่อใด เราเป็นผู้รู้เดียงสา เมื่อนั้น เราเป็นผู้ไม่เปล่า
    มีฌานเป็นเตียงนอน นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน เราได้ถวายหมอน
    ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์
    ๖ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราย่อมยังศีรษะของเรา
    ให้หนุนบนหมอนอันยัดด้วยขนสัตว์ หมอนยัดด้วยเกษรบัวหลวง และ
    ยัดด้วยจันทน์แดงทุกเมื่อ ๑ เรายังญาณให้เกิดในอัฏฐังคิกมรรคอันประ-
    เสริฐ และในสามัญผล ๔ เหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ๑
    ยังญาณให้เกิดในทาน ทมะ สัญญมะ อัปปมัญญา และรูปฌานเหล่านั้น
    แล้ว ย่อมอยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้เกิดในวัตรคุณ รูปปฏิมา
    และในอาจารกิริยาแล้ว ย่อมอยู่ในกาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้เกิดในการ
    จงกรม ความเพียรอันเป็นประธาน และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น
    แล้ว ย่อมอยู่ตามปรารถนา ๑ ยังญาณให้เกิดในศีล สมาธิ ปัญญา
    วิมุติ และในวิมุตติญาณทัสสนะเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ๑ เรา
    ได้ถวายตั่งแผ่นกระดานในพระชินเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
    ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เรา
    ย่อมได้บัลลังก์อันประเสริฐ อันทำด้วยทอง แก้วมณี และทำด้วยงาช้าง
    สารเป็นอันมาก นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแผ่นกระดาน เราได้ถวายตั่ง
    รองเท้า ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้
    เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราย่อมได้
    ยวดยานเป็นอันมาก นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งรองเท้า ๑ ทาสหญิงชาย
    ภรรยา และคนอาศัยเลี้ยงชีวิตเหล่าอื่น ย่อมบำเรอเราโดยชอบ นี้เป็น
    ผลแห่งการถวายตั่งรองเท้า ๑ เราได้ถวายน้ำมันสำหรับทาเท้าในคณะสงฆ์
    ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่
    กรรมของเรา คือ ความที่เราเป็นผู้ไม่ป่วยไข้ ๑ มีรูปงาม ๑ เส้นเอ็น
    (ประสาท) รับรสได้เร็ว ๑ ความได้ข้าวและน้ำ ๑ ได้อายุยืนนานเป็นที่
    ห้า ๑ เราได้ถวายเนยใสและน้ำมันในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อม
    ได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้
    มีกำลัง ๑ มีรูปสมบูรณ์ ๑ เป็นผู้ร่าเริงทุกเมื่อ ๑ มีบุตรทุกเมื่อ ๑ และ
    เป็นผู้ไม่ป่วยไข้ทุกเมื่อ ๑ นี้เป็นผลแห่งการถวายเนยใสและน้ำมัน เรา
    ได้ถวายน้ำบ้วนปากในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์
    ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้มีลำคอบริสุทธิ์ ๑
    มีเสียงไพเราะ ๑ เว้นจากโรคไอ ๑ โรคหืด ๑ กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจาก
    ปากของเราทุกเมื่อ ๑ เราได้ถวายนมส้มอย่างดีในพระพุทธเจ้าและคณะสงฆ์
    ผู้อุดมแล้ว ได้บริโภคภัตอันไม่ขาดสาย คือ กายคตาสติอันประเสริฐ เรา
    ได้ถวายน้ำผึ้งอันประกอบด้วยสี กลิ่นและรสในพระชินเจ้าและในคณะ
    สงฆ์แล้วย่อมได้รส คือ วิมุติอันไม่มีรสอื่นเปรียบ ไม่เป็นอย่างอื่น เรา
    ได้ถวายรสตามเป็นจริงในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้
    เสวยผล ๔ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา เราได้ถวายข้าวและน้ำ
    ในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐
    ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือเราเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑
    เป็นนักปราชญ์ ๑ มีวรรณะ ๑ มียศ ๑ มีสุข ๑ เป็นผู้ได้ข้าว ๑ น้ำ ๑
    เป็นคนกล้า ๑ มีญาณรู้ทั่ว ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ย่อมได้คุณ
    เหล่านี้ เราได้ถวายธูปในพระสุคตเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด
    แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ
    เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ เป็นผู้มีกลิ่นตัวหอมฟุ้ง ๑ มียศ ๑
    มีปัญญาเร็ว ๑ มีชื่อเสียง ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑ มีปัญญากว้างขวาง ๑
    มีปัญญาร่าเริง ๑ มีปัญญาลึกซึ้ง ๑ มีปัญญาเครื่องแล่นไปไพบูลย์ ๑
    เพราะผลการถวายธูปนั้น บัดนี้ เราเป็นผู้บรรลุนิพพานอันเป็นสันติสุข ๑
    การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓
    เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว เราเผากิเลส
    ทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดุจช้างตัด
    เชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔
    วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้
    ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

    จบ ปิลินทวัจฉเถราปทาน.

    หมายเหตุ พระสุตตันตปิฎก ออนไลน์ นี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ

    การแสดงผลหรือลำดับพระสูตร หากพบข้อผิดพลาดกรุณาแจ้งได้ที่ phaisarn_pt@yahoo.com
    <CENTER> </CENTER>
     
  17. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
     
  18. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กิจกรรมนี้มีท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ 3 ท่าน
    1.คุณสำรวจโลก
    2.คุณake7440
    3.คุณgnip

    เดิมผมจะขอให้โหวตท่านที่เข้าร่วมกิจกรรม

    แต่มานั่งคิดนอนคิด คิดแล้วก็เลยขออนุญาตไม่ต้องโหวตนะครับสำหรับกิจกรรมนี้

    โมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ
     
  19. nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ผมขอร่วมทำด้วย จำนวน500บาท โอนแล้วจะแจ้งครับ(มีเลขที่แล้วที่ktbครับ)
     
  20. nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ไม่ต้องโหวตแต่ ผมขอแจ้งซ้ำว่าผมชอบในความซื่อสัตย์ของคุณสำรวงโลกมากๆครับ ที่เหลือ2ท่านก็ดีมากครับ
     

แชร์หน้านี้