พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ยิ่งทำยิ่งได้

    ยิ่งให้ยิ่งมี


    ทำเอง ต้องได้เองอย่างที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านสอนไว้ครับ




    [​IMG]

    "บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า"..!

    "ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด
    เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน
    เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่ว ย
    มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สิน ในบุญบารมี
    ที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว... เมื่อทำบุญทำกุศลได้
    บารมี ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว..
    แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้..แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง"...!

    "จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้....
    ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่..
    จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดินเมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

    นี่คือคำเทศนา ของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรมรังษี ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิตหลังจากที่ท่านล่วงลับไป แล้วเมื่อ 100 กว่าปี อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด


    .

    -http://palungjit.org/groups/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%95-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C-281-page2.html?pp=30-

    .

    http://palungjit.org/groups/ชีวประว...ะยาทิพโกษา-สอน-โลหะนันท์-281-page2.html?pp=30

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ นายเฉลิมพล [​IMG]
    สวัสดีทุกๆท่านนะครับ
    เมื่อวานนี้ วันวิสาขบูชา ได้อัญเชิญพระบรมฯ และพระสมเด็จTTT of Top4 ไปบรรจุในพระพุทธรูปไม้ขนุนหน้าตัก 5 เมตร เดี๋ยวจะนำภาพมาให้ชมกันครับ
    </td> </tr> </tbody></table>

    ผมขออนุญาตคุณเฉลิมพล ลงรูปแทนนะครับ

    น่าจะมีผู้ที่ต้องการชมภาพหลายท่านแน่นอนครับ

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    รูปสุดท้าย น่าจะเป็นรูปที่กำลังสร้าง(แกะ)ครับ

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF3432.JPG
      DSCF3432.JPG
      ขนาดไฟล์:
      207.1 KB
      เปิดดู:
      44
    • DSCF3435.JPG
      DSCF3435.JPG
      ขนาดไฟล์:
      270.4 KB
      เปิดดู:
      45
    • DSCF3439.JPG
      DSCF3439.JPG
      ขนาดไฟล์:
      407 KB
      เปิดดู:
      54
    • DSCF3443.JPG
      DSCF3443.JPG
      ขนาดไฟล์:
      253.5 KB
      เปิดดู:
      44
    • DSCF3448.JPG
      DSCF3448.JPG
      ขนาดไฟล์:
      213.4 KB
      เปิดดู:
      42
    • DSCF3450.JPG
      DSCF3450.JPG
      ขนาดไฟล์:
      229.7 KB
      เปิดดู:
      43
    • DSCF3453.JPG
      DSCF3453.JPG
      ขนาดไฟล์:
      227.2 KB
      เปิดดู:
      52
    • DSCF3463.JPG
      DSCF3463.JPG
      ขนาดไฟล์:
      208 KB
      เปิดดู:
      42
    • DSCF3472.JPG
      DSCF3472.JPG
      ขนาดไฟล์:
      183.2 KB
      เปิดดู:
      43
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong</td></tr></tbody></table>
    อรุณสวัสดิ์ยามเช้า วันพฤหัส รื่นเริง ครับ



    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เห็นแล้วรู้สึกไม่ดีเลย

    ทำไมต้องเอาชีวิตตนเอง ไปให้กับคนที่ไม่เห็นคุณค่าในตัวเรา

    คนยุคใหม่ หากได้ศึกษาพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้ง จะไม่ปรากฎเหตุการณ์แบบนี้ครับ

    ------------------------------------------

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>คลิปนาทีชีวิต!หญิงอกหักแต่งชุดเจ้าสาวพยายามดิ่งตึก7ชั้น</TD><TD vAlign=baseline align=right width=102>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>19 พฤษภาคม 2554 03:33 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เอเจนซี - สำนักข่าวต่างประเทศเผยแพร่คลิประทึก วินาทีที่สตรีอกหักรายหนึ่งประชดรักสวมชุดเจ้าสาวพยายามกระโดดหน้าต่างตึก 7 ชั้นหลังถูกคู่หมั้นทิ้งไปแต่งงานกับหญิงอื่น

    สื่อมวลชนระบุแต่เพียงว่าผู้หญิงรายนี้ชื่อนางสาวลี เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย และสวมชุดแต่งงานขณะพยายามกระโดดลงจากหน้าต่างของอาคารที่พักแห่งหนึ่งในเมืองฉางชุน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นรายงานว่าสตรีวัย 22 ปีรายนี้ร้องไห้สะอึกสะอื้นและแกว่งขาไปมานอกหน้าต่างนานกว่าชั่วโมงก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเดินทางมาถึง

    ลี บอกว่าเธอไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้หลังถูกคู่หมั้นตีจากและไปแต่งงานกับหญิงอื่น ทั้งที่อีกไม่กี่วันข้างหน้าเธอและเขาก็จะเข้าสู่ประตูวิวาห์กันอยู่แล้ว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำนักข่าวรอยเตอร์ระบุว่า ลี พักอาศัยอยู่ชั้น 4 ณ อาคารแห่งนี้ แต่พยายามฆ่าตัวตายบริเวณชั้นบนสุดของตึก และท่ามกลางสายตาของผู้คนจำนวนมากที่มุงดูอยู่เบื้องล่างเจ้าหน้าที่เดินทางมาถึงพร้อมสามารถช่วยชีวิตของเธอได้ทันเวลา

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ภาพข่าวของโทรทัศน์เผยให้เห็นวินาทีชีวิตซึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรายหนึ่งนามกัว จงฟาน เข้าคว้าตัวหญิงสาวได้อย่างหวุดหวิดขณะที่หญิงสาวกำลังโดดลงมา โดยเขาคว้าชายกระโปรงชุดเจ้าสาวและล็อกคอเธอไว้ ทำให้ร่างของหญิงคนดังกล่าวห้อยต่องแต่งอยู่ข้างตัวตึก สุดท้ายเจ้าหน้าที่ก็สามารถอุ้มหญิงสาวกลับเข้าไปในอาคารได้อย่างปลอดภัยท่ามกลางเสียงปรบมือของคนข้างล่าง ก่อนที่จะนำตัวเธอไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลต่อไป

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    -http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000060903-



    .

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>12 แนวทางปรองดอง เพื่อการครองคู่ยืนยาว</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>19 พฤษภาคม 2554 06:52 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    แม้ข่าวฟ้องร้อง - หย่าร้างของคู่สามีภรรยาชื่อดังจะออกสื่อให้ว่อนในช่วงนี้ แต่ทีมงาน Life & Family ก็เชื่อว่า การมีครอบครัวที่สามารถปรับจูนกันได้ ทำสิ่งดี ๆ ให้กันและกันได้ รวมถึงสร้างสิ่งดี ๆ ให้แก่สังคมได้เป็นเรื่องที่น่าชื่นใจ และมีคุณค่า ประกอบกับยังมีอีกหลายคู่ที่ไม่ต้องการกอดทะเบียนหย่าเอาไว้แนบกาย วันนี้เราจึงมองหาหนทางปรองดองเพื่อให้ครองคู่กันได้อย่างยืนยาวมาฝากท่านผู้อ่านกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามกันเลยค่ะ

    1. มีเวลาให้กันอย่างแท้จริง

    เวลาที่ว่านี้ต้องเป็นเวลาที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญต่อกันอย่างเต็มที่ เพราะมีหลายคู่ที่อยู่ด้วยกันนานสองนาน แต่ไม่สามารถใช้เวลาที่มีให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งการมีเวลาให้กันอย่างแท้จริงนี้มีผลต่อความสัมพันธ์เป็นอย่างมาก และหากขาดเวลาที่ว่านี้ไป สัมพันธภาพระหว่างคนสองคนจะไม่มีทางยืนยาว หรือรอดพ้นจากการเลิกราไปได้ ไม่ว่าจะเป็นแค่คู่รัก หรือแต่งงานกันแล้วก็ตาม ดังนั้น หากบางคู่ยังไม่แต่งงานกัน แต่อยู่ห่างไกลกันแล้วล่ะก็ อย่างน้อยก็มีเวลาให้แก่กันสักเดือนละครั้งก็ยังดี

    2. รู้จักประนีประนอม

    ทีมงานรู้จักคู่รักบางคู่ ที่พอไม่ได้ดั่งใจก็ทะเลาะกัน โวยวายใส่กันด้วยถ้อยคำที่ฟังแล้วน่าจะทำร้ายจิตใจอย่างที่สุด แม้ทั้งสองจะประคองความสัมพันธ์มาได้เรื่อย ๆ แต่ก็ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ดี หรือควรค่าแก่การสานต่อให้ยาวนานไปได้ เพราะในท้ายที่สุดแล้ว มนุษย์ทุกคนก็ต้องการพื้นที่ที่สบาย และปลอดภัยมากพอสำหรับตนเอง หากพื้นที่ที่เขามีอยู่กับใครสักคนนั้นเป็นพื้นที่ที่พร้อมจะทำร้ายจิตใจอย่างต่อเนื่อง ก็อาจทำให้มนุษย์เราหมดความอดทนขึ้นมาได้ในสักวัน

    3. ไม่ติดหนึบเป็นตังเม

    การที่คุณต้องได้อยู่ใกล้ชิดกับคนที่คุณบอกว่ารักตลอด 24 ชั่วโมง บางครั้งก็เป็นเรื่องยากจะทำใจสำหรับอีกฝ่าย และสุดท้ายอาจนำมาซึ่งการเลิกรา เพราะความรู้สึกที่เหมือนตนเองถูกจองจำเอาไว้ ไม่ว่าจะไปไหนก็มีคนคอยตามไปตลอด ถ้าจะให้ดี คุณอาจต้องรักษาสมดุลในตัวเองให้ได้ อย่าเรียกร้องที่จะเอาเวลาทั้งหมดมาจากเขา รวมถึงไม่ฝากความรักความต้องการของตนเองให้คู่รักแบกรับเอาไว้ทั้งหมด

    4. แสดงความสนใจกับสิ่งที่อีกฝ่ายพูด

    หากพูดไปแล้วมีคนสนใจฟัง ย่อมทำให้ฝ่ายที่พูดรู้สึกดี คนรักกันจึงจำเป็นต้องเข้าใจในจุดนี้เอาไว้ให้มาก อย่างไรก็ดี ต้องระวัง ความแตกต่างระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงในจุดนี้เอาไว้ด้วย เนื่องจากผู้ชายมักเป็นเพศที่ไม่ค่อยพูดมากเท่าไร มีอะไรมักเก็บไว้ในใจ ไม่ค่อยบ่นหรือคร่ำครวญออกมา ตรงกันข้ามกับผู้หญิงที่มักชอบเมาท์กระจาย ขอให้ได้ตั้งวงเมาท์ นั่นคือความสุขที่สุดแล้ว เพื่อไม่ให้การรับฟังกลายเป็นเรื่องน่าทุกข์ใจของหู ลองปรับจูนความต้องการในจุดนี้ให้ลงตัวระหว่างคนสองคนดูจะเป็นการดีที่สุด

    5. ทำให้อีกฝ่ายตระหนักในคุณค่าของคุณ

    การทำให้อีกฝ่ายตระหนักในคุณค่าของคุณ กรณีนี้ไม่ใช่การกล่าวถึงความเหนื่อยยากของตนเองด้วยการบ่น หรือแสดงอาการโวยวาย เพื่อให้อีกฝ่ายยอมรับอย่างปลง ๆ ว่าคุณมีคุณค่า แต่มีวิธีการอีกมากที่สามารถทำให้เขาหรือเธอมองเห็น และเข้าใจ ซึ่งหลังจากนี้ก็อยู่ที่ยุทธวิธีของแต่ละคู่แล้วล่ะค่ะว่าจะแสดงออกมาในลักษณะอย่างไร

    6. บอกให้อีกฝ่ายรู้ว่าจะทำอย่างไรให้คุณมีความสุขบนเตียง

    7. หาวิธีเรียกความรู้สึกดี ๆ กลับมา

    การที่คู่ชีวิตลองทำบางสิ่งบางอย่างที่ช่วยให้ความรู้สึกดี ๆ ระหว่างคุณกับเขากลับคืนมา ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตรักกลับมาน่าประทับใจได้เช่นกัน รอยยิ้ม คำพูดดี ๆ ความจริงใจ เหล่านี้เป็นสิ่งที่คนรักกันต้องการได้รับ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม

    8. ทำให้ตัวเองมีความสุข

    บางครั้งเรามักพบเห็นคู่ชีวิตหลายคน "ลงโทษ" อีกฝ่ายที่ทำในสิ่งที่ตนเองไม่ถูกใจ การทำเช่นนั้นอาจตอบสนองความต้องการของเราได้ ทำให้เรารู้สึกสะใจ ที่เห็นอีกฝ่ายทุกข์ใจเสียบ้าง แต่หากลองไปยืนในจุดเดียวกันกับเขาแล้ว คุณจะพบว่า คนที่ถูกกระทำย่อมไม่ได้รู้สึกรักคุณเพิ่มมากขึ้นเป็นแน่ ดังนั้น ลองเปลี่ยนวิธีทำให้ตนเองพอใจใหม่ดีไหม ด้วยการให้รางวัล ซื้อของที่ตัวเองชอบ หรือทำในสิ่งที่ตัวเองสบายใจทดแทนการไปใส่ใจกับเรื่องที่คุณเสียความรู้สึก

    9. สามัคคีกันต่อหน้าลูก

    หากคุณมีโซ่ทองตัวน้อย พยายามให้ตนเองและคู่ชีวิตมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูให้มากที่สุด แม้ว่าท่าทางของคุณและคู่รักในตอนแรก ๆ จะดูเก้ ๆ กัง ๆ ไปเสียหน่อย แต่ก็ขอให้ยอมรับมัน ไม่มีใครทราบวิธีเป็นพ่อเป็นแม่มาตั้งแต่เกิด รวมถึงอย่าทะเลาะกันต่อหน้าลูกด้วย

    10. ยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้

    อาจมีบ้างที่เราจะรำคาญนิสัย หรือตัวตนบางประการของคนที่ใช้ชีวิตร่วมกับคุณ แต่ถ้าบอกแล้วหนึ่งรอบ สองรอบ สามรอบ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้ บางทีอาจต้องเป็นตัวคุณเองที่จะเผชิญหน้ากับข้อเสียเหล่านั้น และตัดสินใจว่าจะยอมรับมันแทน

    11. รู้จักให้อภัย

    12. รู้จังหวะในการถอย

    หากสุดท้ายแล้ว ชีวิตคู่ยังเดินมาแบบกระพร่องกระแพร่ง ไม่เข้ารูปเข้ารอย มีการทะเลาะเบาะแว้ง หรือใช้กำลังกันอยู่เป็นประจำ บางครั้งการถอยออกจากชีวิตของกันและกัน ก็เป็นสิ่งที่น่าพิจารณา ดีกว่าเสียเวลาอยู่ด้วยกันต่อไป

    ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก iVillage.co.uk


    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000060898-

    .










    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    สายการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ที่ไปทั่วโลก มีกี่สาย

    tcarisa:
    หลังจากมีการทำสังคายนาพระไตรปิฏก ครั้้งที่ 3 แล้ว

    มีสายการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ที่ไปทั่วโลกนั้น มีกี่สาย

    ของประเทศไทยเป็นสายที่เท่าไหร่ คะ

    พระโสณะ พระ อุตตระ เกี่ยวข้องอย่างไรกับ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คะ

    :25: :88: :c017:
    nathaponson:
    การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา
    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงปกครองประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์โดยทรงจัดให้มีการทำสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้ง ที่ 3 ขึ้นในปี พ . ศ . 236 ณ วัดอโศการาม นครปาฎลีบุตรแคว้นมคธ ( ปัจจุบันคือเมืองปัฏนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร )

    ทรงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เป็นประธาน หลังจากทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยเสร็จสิ้นแล้ว พระโมคคัลลีบุตรได้จัดคณะพระธรรมทูตออกเป็น 9 คณะแล้วส่งไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ ดังนี้

    การแพร่กระจายของพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
    คณะที่ 1พระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นกัษมีระ และคันธาระ
    ในปัจจุบันได้แก่ ประเทศปากีสถาน และอัฟกานิสถาน

    คณะที่ 2 มีพระมหาเทวะเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในแคว้นมหิสมณฑล
    ปัจจุบันได้แก่ รัฐไมซอร์ และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศอินเดีย

    คณะที่ 3 มีพระรักขิตเถระเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ
    ในปัจจุบัน ได้แก่ ดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

    คณะที่ 4 มีพระธรรมรักขิตเป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท
    ปัจจุบันสันนิษฐานว่า คือดินแดนแถบชายทะเลเหนือเมืองบอมเบย์

    คณะที่ 5 มีพระมหาธรรมรักขิตเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์
    ปัจจุบันได้แก่ รัฐมหาราษฎร์ของประเทศอินเดีย

    คณะที่ 6 มีพระมหารักขิตเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนาในเอเซียกลาง
    ปัจจุบัน ได้แก่ ดินแดนที่เป็นประเทศอิหร่านและตุรกี

    คณะที่ 7 มีพระมัชฌิมะเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย
    ปัจจุบันสันนิษฐานว่า คือ ประเทศเนปาล

    คณะที่ 8 มีพระโสณะและพระอุตตระเป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ
    ซึ่งปัจจุบัน คือประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น

    คณะที่ 9 มีพระมหินทเถระผู้เป็น พระราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นหัวหน้าคณะไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ เกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบัน ได้แก่ ประเทศศรีลังกา

    การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่พระโมคคัลลีบุตรเถระดำเนินการ โดยจัดส่งพระธรรมทูตคณะต่างๆ ประกาศพระศาสนาในต่างแดนนั้น แม้ส่วนใหญ่จะยังอยู่ในอาณาเขตของชมพูทวีป หรือประเทศอินเดียในปัจจุบัน แต่ก็ถือว่าเป็นการประกาศศาสนา ในเชิงรุกทำให้พุทธศาสนา ได้แพร่หลายกว้างไกลออกไปยังดินแดนต่างๆ อย่างแพร่หลายเป็นที่รู้จักของมหาชน

    พระปฐมเจดีย์ สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ
    สันนิษฐาน กันว่า พระสมณทูตสายที่ 8 คือพระโสณะกับพระอุตตระนี่เอง ที่นำพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งก็คือบริเวณจังหวัดนครปฐม โดยสันนิษฐานจากการพบตราพระธรรมจักร ที่นักโบราณคดี สันนิษฐานกันว่า น่าจะอยู่ในช่วงประมาณ พ . ศ . 236 สมัยเดียวกันกับพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะ และพระอุตตระมาประกาศพระศาสนา แต่พม่าก็สันนิษฐานว่า มีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า

    ที่มา พระอุตตระ ? Tahra’s Weblog
    nathaponson:
    ประวัติของพระโสณะและพระอุตตระ
    ประวัติของพระโสณะและพระอุตตระ ไม่ปรากฏชัด จากการศึกษาพบว่า ปรากฏชื่อของท่านทั้งสองในการทำสังคายนาครั้งที่ 3จึงเชื่อว่าท่านทั้งสองอยู่ในช่วงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (สังคายนาครั้งที่ 3 ประมาณปี พ.ศ. 218) ในประเทศอินเดีย


    ผลงานที่สำคัญ
    พระโสณะและพระอุตตระ เป็นสมณทูตที่พระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคัลลสีบุตรได้คัดเลือกให้พระเถระ ผู้ทรงภูมิธรรมที่สามารถออกไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระโสณะและพระอุตตระถูกคัดเลือกให้เป็นพระสมณะทูตคณะที่ 8 และ 9 ดังรายละเอียดปรากฏในพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ดังนี้

    พระเจ้าอโศกมหาราช แม้จะทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 ของนิกายเถรวาทแต่พระองค์ก็ยังทรงอุปถัมภ์เคารพนับถือสงฆ์ในนิกายอื่น ๆ ด้วย พระสงฆ์นิกายเถรวาทที่ทำสังคายนามีเพียง 1,000 รูป แต่ยังมีพระสงฆ์อรหันตเถระในนิกายอื่นอีกมาก

    โดยเฉพาะนิกายสราวสติวาทิน (เป็นนิกายย่อยของเถรวาท) พระที่พระองค์ส่งไปทั้ง 9 สายนั้น คงมีหลายนิกาย แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ สายที่ 8 กับสายที่ 9 เป็นสายใต้เป็นพระนิกายเถรวาท ดังนั้น พระโสณะกับพระอุตตระและคณะจึงเป็นเถรวาท ใช้ภาษาบาลีจดจารึกพระไตรปิฏก ปรากฏในคัมภีร์สมันตปาสาทิกา ว่าพระโสณะกับพระอุตตระไปสุวรรณภูมิ ดังคำว่า

    สุวณฺณภูมิ คจฺฉนฺตฺวาน โสณุตฺตรา มหิทฺธิกา
    ปิสาเจ นิทฺธมิตฺวาน พฺรหฺมชาลํ อเทสิสุ

    (ความว่า พระโสณะและพระอุตตระผู้มีฤทธิ์มาก ไปสู่สุวรรณภูมิ ปราบปรามพวกปีศาจแล้ว ได้แสดงพรหมชาลสูตร)

    ตาม คัมภีร์สมันตปาสาทิกา กล่าวถึงพระโสณะและพระอุตตระ แสดงอภินิหาริย์ปราบนางผีเสื้อน้ำและทรงแสดงธรรมพรหมชาลสูตร (สูตรว่าด้วยข่ายอันประเสริฐ ประกอบด้วย ศีลน้อย ศีลกลาง และศีลใหญ่) นั่นคือการประพฤติตนอยู่ในสรณะและศีล มีคนทั้งหลายในสุวรรณภูมิประเทศนี้ได้บรรลุธรรมประมาณ 60,000 คน กุลบุตรออกบวชประมาณ 3,500 คน

    พระอุตตระเถระ(หลวงปู่เทพโลกอุดร)
    แสดงให้เห็นว่า พระโสณะและพระอุตตระ เป็นแบบอย่างของผู้ประพฤติอยู่ในสรณะและศีล จึงสามารถปราบพวกภูติผีปีศาจได้ และมีบทบาทสำคัญต่อการนับถือพระพุทธศาสนาของคนไทยก็คือ นิกายเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยให้ความนับถือจนถึงปัจจุบัน

    ที่มา ˹臂?ը ?˹钷ը?҇?ط?
    nathaponson:

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=DhKF9ZXMOTk"]YouTube - พระอุตตระและพระโสณะ[/ame]

    nathaponson:
    การสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    พระพุทธศาสนา ยุคต้นพุทธกาล
    พระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย ต้นแบบ เป็นพระอาจารย์ใหญ่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ประจำต้นยุคพุทธกาล

    ยุคปลายพุทธกาล ถึงหลังพุทธกาลครั้ง ปฐมสังคายนา
    พระราหุลเถรเจ้า พระองค์ท่าน ทรงมีสัทธิวิหาริกในครั้งพุทธกาล พระองค์หนึ่งนามว่า พระโกลิกะเถรเจ้า เป็นผู้สืบพระกรรมฐานมัชฌิมา องค์ต่อมา พระโกลิกะเถรเจ้า ได้เข้าร่วมสังคายนา กับพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป

    ปฐมสังคายนา
    ปรารภเรื่องพระสุภัททะภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย จึงปรารภที่จะทำให้พระธรรมวินัยรุ่งเรื่องสืบไป ครั้งนั้น พระมหากัสสปะเถรเจ้า เป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเถรเจ้า เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เถรเจ้า เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ หลังเข้าพุทธปรินิพพานได้ สามเดือน โดยพระเจ้าอชาติศัตรู ทรงเป็นศาสนูปถัมภพ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงแล้วเสร็จ

    พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งทุติยสังคายนา
    พระมันลิกะเถระเจ้า เป็นพระอาจารย์ใหญ่พระกรรมฐานมัชฌิมา ประจำยุคหลังพุทธกาล ในดินแดนชมภูทวีป ท่านประสูติหลังพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๒๙ พรรษา บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระโกลิกะเถรเจ้า ที่เมืองเวสาลี ศึกษาพระกรรมฐาน แบบมัชฌิมาในสำนัก พระโกลิกะเถรเจ้าๆ ท่านเป็นสัทธิวิหาริก ของพระราหุลเถรเจ้า พระมันลิกะเถรเจ้า ท่านได้เข้าร่วมทุติยสังคายนา

    ท่านนิพพานหลังพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๑๑๔ ปี ชนมายุประมาณ ๘๕ พรรษา หลังท่านนิพพานแล้วบารมีธรรมของท่านยังแผ่ไปอีก ๕๐๐ ปี โดยท่านเจริญอิทธิบาทภาวนา เข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา อธิฐานกายทิพย์ดูแลรักษาพระศาสนา ต่อไปอีก ๕๐๐ ปี หลังเข้านิพพาน

    ทุติยสังคายนา
    ปรารภเรื่องภิกษุวัชชีบุตร แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวนให้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป ใน ๗๐๐ รูปนั้นมี พระมันลิกะเถรเจ้า รวมอยู่ด้วย พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามี เป็นผู้วิสัชชนา ประชุมทำที่วาสิการาม เมืองเวสาลี เมื่อพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๑๐๐ ปี โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก ทำสิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ

    พระมันลิกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    ให้แก่สัทธิวิหาริกสืบต่อมา คือ พระโสณกะเถรเจ้า

    พระโสณกะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา
    ให้กับ พระสิคควะเถรเจ้า และพระจัณฑวัชชีเถรเจ้า

    พระสิคควะเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา
    ให้กับ พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า และพระโสนันตะเถรเจ้า
    พระจัณฑวัชชี บอกพุทธพจน์ให้กับ พระโมคคัลลีบุตติสสะเถรเจ้า และพระโสนันตะเถรเจ้า

    พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า ขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระโสณเถรเจ้า และพระอุตระเถรเจ้า และให้สอบอารมณ์กับ พระโสนัตตเถรเจ้า

    ต่อมาพระโสณเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระชาลตะเถรเจ้า
    พระกิตตระเถรเจ้า พระภูริยะเถรเจ้า

    พระอุตระเถรเจ้า บอกกรรมฐานให้กับ พระญาณเถรเจ้า

    พระมหาเถรทั้ง ๔ พระองค์ได้เข้าร่วม ตติยสังคายนา คือ
    ๑.พระโมคคัลลีบุตติสสะ ๒.พระโสนันตะเถร ๓.พระโสณเถร ๔.พระอุตรเถร

    พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนา
    พุทธกาลล่วงแล้วได้ประมาณ ๒๑๖ ปี ก่อนตติยสังคายนา จึงหมดพระกรรมฐานแบบสันโดดคือ การเจริญพระกรรมฐานแบบกองใด กองหนึ่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ของพระมหาสาวกทั้งหลาย เหลือแต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นพระกรรมฐานทางสายกลาง ของพระราหุลเถรเจ้า

    เหตุที่เรียกพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน

    เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง

    พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า

    ตติยสังคายนา
    ปรารภเดียรถีย์มากมาย ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา เพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป พระโมคคลีบุตรติสสะเถรเป็นประธาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๑๘ พรรษา (ชนมายุ ๑๒๐ ปีจึงเข้านิพพาน) ประชุมทำสังคายนากันที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๔ โดยพระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภพ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ

    พระโมคคลีบุตรติสสะเถรเจ้า ประสูติในเรื่อนของ นางโมคคลีพราหมณ์ ได้นามว่า ติสสะมานพ ชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระสิคควะเถร นำติสสะมานพ ออกบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเรียน พุทธมนต์ ติสสะมานพ บรรพชาแล้ว ได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา เบื้องต้น มีปีติทั้งห้า พระยุคลทั้งหก สุขสมาธิสองให้สามเณรติสสะ เธอทำบริกรรม พุทโธ ในห้องพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นอยู่ ละสักกายทิฎฐิ ละความสงสัยพระรัตนไตร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว

    พระอาจารย์ คิดว่า ถ้าบอกพระกรรมฐานเพิ่มให้แก่สามเณรติสสะ เธอจะมีความขวนขวายน้อย ในการที่จะเรียนเอา พุทธพจน์
    พระสิคควะเถร จึงส่งสามเณรติสสะ ไปเรียนพุทธพจน์ จาก พระจัณฑวัชชีเถรเจ้า ติสสะสามเณร ได้เรียนเอาพุทธพจน์นั้นทั้งหมด ยกเว้นวินัยปิฎก อุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษา ทรงพระไตรปิฎก

    ครั้นพระอาจารย์ และอุปัชฌายะ นิพพานแล้ว ทรงเจริญกรรมฐานมัชฌิมาต่อจนจบตามลำดับ และบรรลุพระอรหันต์ และได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา และพระพุทธพจน์ ธรรมวินัย แก่ภิกษุเป็นจำนวนมาก

    พระโมคคลีบุตรติสสะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ของพระมหินท์เถรเจ้า พระโสณเถรเจ้า พระอุตรเถรเจ้า

    พระเจ้าอโศก ส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พระศาสนา
    ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถรเจ้า ครั้นทำตติยสังคายนาเสร็จแล้ว จึงดำริว่า ต่อไปภายหน้าว่าพระศาสนาจะดำรงมั่น ณ ที่ใด ครั้นพิจารณาแล้วท่านก็ทราบด้วย พระอนาคตังสญาณว่า พระศาสนาจะดำรงมั่นในปัจจันตชนบท ท่านจึงมอบให้ภิกษุเหล่านั้น ส่งท่านเหล่านั้นไปในรัฐนั้นๆคือ

    ๑.พระมัชฌัมติกเถร ไปกัสมีรคันธารรัฐ
    ๒.,พระมหาเทวเถร ไป มหิสกมณฑล
    ๓.พระรักขิตเถร ไปแคว้น วนวาสี
    ๔.พระโยนกธรรมรัต ไปแคว้นอปรันตกะ
    ๕.พระมหาธรรมรักรัต ไปมหารัฐ
    ๖.พระมหารักขิตเถร ไปโยนกโลก
    ๗.พระมัชฌิมเถร ไปหิมวันตประเทศ
    ๘.พระมหินทเถร ไปลังกาทวีป
    ๙.พระโสณเถร พระอุตระเถร ไปสุวรรณภูมิ

    พระโมคคลีบุตรติสสเถรเจ้า ส่งพระโสณเถร พระอุตระ ไปสุวรรณภูมิ แล้วสั่งว่า ผู้เป็นเจ้าผู้เจริญทั้งสอง เมื่อไปถึงสถานที่นั้นแล้ว จงประดิษฐานพระศาสนาในสุวรรณภูมินั้น
    พระเถรเจ้าทั้งสองก็นมัสการ ลาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ แล้วออกมาจากที่ประชุมนั้น คณะสงฆ์ที่จะไปดินแดน สุวรรณภูมิ มีพระเถรผู้ใหญ่ หรือพระเถรองค์ใหญ่ ๕ รูป คือ

    ๑.พระโสณเถรเจ้า
    ๒.พระอุตระเถรเจ้า
    ๓.พระชาลตะเถรเจ้า
    ๔.พระกิตตระเถรเจ้า
    ๕.พระภูริยะเถรเจ้า และพระสงฆ์สัทธิวิหาริก พระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้าอีก ๗ รูป คือ

    ๑. พระญาณเถร
    ๒. พระณิชาเถร
    ๓.พระปฐวีเถร
    ๔.พระชาตเถร
    ๕.พระติสสะเถร
    ๖. พระปาโสเถร
    ๗. พระเตชิตะเถร รวม ๑๒ รูป

    หลังตติยสังคายนาแล้ว ไม่นาน คณะของพระโสณเถร พระอุตระเถระ จึงเดินทางออกจาก อโศการามมหาวิหาร เมืองปาฎลีบุตร กรุงราชคฤห์ ในชมพูทวีป มาแวะที่เกาะลังกาก่อน ในสมัยพระเจ้ากุฎสีวะเทวะ คณะของพระโสณเถรเจ้า ล่วงหน้ามาก่อน คณะของพระมหินทเถรเจ้า

    คณะของพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า อยู่เกาะลังกานั้น ได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา ให้กับ พระจิตตกะเถรเจ้า กาลต่อมาพระจิตตกะเถรเจ้า เป็นอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระอุบาลีเถรเจ้า แห่งเกาะลังกา

    อ้างอิง
    ตำนานสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
    วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)


    คุณครูอริสาครับ ผมแนบไฟล์หนังสือ"ตำนานสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"

    ที่ใช้อ้างอิงมาให้ ผมนำมาจากเว็บสมเด็จสุก หวังว่าคงถูกใจไม่มากก็น้อย
    ;) :49: :25:



    -http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1104.0;wap2-


    .


    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1104.0;wap2



    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    ไม่อั้นเพดานรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต

    “กรณ์”ใจปล้ำ สั่งไม่อั้นเพดานปล่อยรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต 23 พ.ค.เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ประสาน 3 แบงก์รัฐอุ้มลูกหนี้ประวัติดีเต็มที่ 30 พ.ค.เปิดตัว 4 แบงก์รัฐลดค่าธรรมเนียมเอทีเอ็ม
    วันนี้ (18 พ.ค.) นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 พ.ค.นี้ จะเปิดตัวโครงการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตสำหรับลูกค้าที่ผ่อนชำระขั้นต่ำและมีประวัติการผ่อนชำระดี โดยมีธนาคารรัฐเข้าร่วมโครงการ 3 แห่งคือ ธนาคารกรุงไทย ธาคารออมสิน และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) โดยลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายหนี้คงค้าง 50,000 ล้านบาท และผ่อนชำระปกตินั้น อาจมีความเป็นไปได้ที่จะพิจารณาสินเชื่อโดยไม่จำกัดวงเงินของโครงการเพื่อต้องการให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จริง ๆ

    “ที่ผ่านมาในอุตสาหกรรมธนาคารนั้น การแข่งขันที่แท้จริงยังไม่เกิดขึ้น ลูกค้าชั้นดีที่ควรได้รับประโยชน์ตอบแทนกลุ่มนี้กลับต้องจ่ายดอกเบี้ยถึง 20% ถ้าเขามีทางเลือกที่ดีกว่า ก็ควรจะเปิดโอกาสให้เขาไม่ไม่จำเป็นต้องจำกัดวงเงินด้วย ถ้าหากเริ่มทำจริง เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์คงต้องมีวิธีการที่จะดึงลูกค้ากลุ่มนี้ไว้เพื่อไม่ให้สูญเสียฐานรายได้แน่นอน สำหรับประชาชนที่มีบัตรเครดิตหลายใบอาจเหลือไว้เพียง 1 ใบและโอนหนี้ที่เหลือเข้าโครงการเพื่อให้มีสภาพคล่องต่อไปได้”

    นอกจากนั้น ในวันที่ 30 พ.ค.นี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 4 แห่งคือ ออมสิน ธอท. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธ.อ.ส.)จะแถลงข่าวการเปิดให้บริการเอทีเอ็มร่วมกัน (เอทีเอ็มพูล) ธุรกรรมทุกประเภท ทั้งฝาก ถอน จ่าย โอนร่วมกันโดยคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำที่สุด

    “ที่ผ่านมาได้หารือกับธนาคารพาณิชย์แล้ว เขารับปากว่าจะลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่าง ๆ ลงภายในไตรมาสที่ 2 ซึ่งคงจะเป็นวันที่ 30 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ และได้ฝากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ติดตามเรื่องนี้ ซึ่งคงจะรายงานมาในเร็ว ๆ นี้ ดังนั้นกระทรวงการคลังจึงได้นำร่องที่ธนาคารของรัฐที่สามารถดำเนินการได้ในทันที แม้ว่าจะมีสัดส่วนไม่มาก เมื่อเทียบกับระบบธนาคารพาณิชย์ แต่ถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน” รมว.คลัง ระบุ.



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=139651-



    http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=310&contentID=139651

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    วิธีช่วยคนถูกไฟดูดอย่างปลอดภัย

    เข้าช่วงฤดูฝน บ้านไหนมีปัญหาหลังคารั่วน้ำซึมเข้าตัวบ้านต้องระวัง หากน้ำฝนไหลลงถูกสายไฟที่มีรอยรั่วหรือเต้าเสียบปลั๊กอาจเป็นอันตราย ทำให้คนในบ้านถูกกระแสไฟฟ้าดูดเมื่อไปสัมผัสจนเจ็บตัว หมดสติหรืออาจเสียชีวิตได้

    อุบัติเหตุใกล้ตัวอย่างนี้ ‘มุมสุขภาพ’ มีวิธีช่วยเหลือผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตอย่างปลอดภัยทั้งคนช่วยและคนถูกไฟฟ้าดูดมาแนะนำกัน

    เริ่มจากคนที่จะเข้าไปช่วยต้องตั้งสติให้ดี และรีบตัดวงจรไฟฟ้าทันที จากนั้นสำรวจตัวเองก่อนว่าผิวหนังของคนช่วยอยู่ในสภาพเปียกชื้นหรือไม่ เพราะสภาพเนื้อตัวที่ไม่แห้งถือเป็นตัวนำไฟฟ้า คนช่วยก็อาจถูกไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน ถ้าหากเป็นเช่นนี้ เห็นควรให้ขอความช่วยเหลือจากคนอีกจะดีกว่า

    เมื่อตัดวงจรไฟฟ้าแล้ว ให้มองดูรอบๆ คนถูกไฟฟ้าช็อต หากพบสายไฟพาดตัวอยู่ให้หาวัสดุที่ไม่นำกระแสไฟฟ้า อย่าง ไม้ เขี่ยสายไฟให้พ้นตัว แล้วจึงเคลื่อนผู้บาดเจ็บออกจากบริเวณนั้น ทั้งนี้หากผู้บาดเจ็บถูกไฟฟ้าช็อตร่วมกับอุบัติเหตุพลัดตกจากที่สูง ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย เพราะอาจทำให้พิการได้ในภายหลัง

    ทันทีที่นำตัวผู้ป่วยมายังบริเวณที่ปลอดภัย เบื้องต้นให้ตรวจดูว่าหัวใจหยุดเต้นหรือไม่ โดยใช้นิ้วมือคลำชีพจรบริเวณคอ หากหยุดหายใจต้องรีบนวดหัวใจหรือปั๊มหัวใจ สลับกับการผายปอด กระทั่งผู้ป่วยมีสัญญาณชีพกลับมาให้นำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หรือเมื่อเริ่มพบเหตุการณ์ในตอนต้นให้รีบโทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนขอความช่วย เหลือทันที

    และเพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ข้างต้นเกิดขึ้น ควรหมั่นตรวจเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟ ปลั๊กไฟ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ชำรุดเสียหาย ถ้าจะให้ดีติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟฟ้าอัตโนมัติสำหรับตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดการ รั่วไหลทันที แต่อุปกรณ์ตัวนี้ก็ต้องหมั่นเช็คสภาพด้วย.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
    takecareDD@gmail.com


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=460&contentId=139382-
















    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“ยอ” ของดีตำรับไทย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>19 พฤษภาคม 2554 16:00 น.</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ปัจจุบันนี้เรามักจะเห็นสมุนไพรไทยที่มีการนำมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบแคปซูล สกัดเป็นสารออกมาแล้วผสมกับส่วนผสมอื่นๆ หรือแปรรูเป็นเครื่องดื่ม อย่างเช่น “น้ำลูกยอ” ที่ “108 เคล็ดกิน” เคยเห็นวางขายอยู่ตามห้างทั่วไป

    สำหรับสรรพคุณของ “ยอ” นั้นก็มีอยู่อย่างมากมาย ในส่วนของ “ลูกยอ” มีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี และโพแทสเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์กล่อมประสาท เป็นยานอนหลับอ่อนๆ บำรุงสมอง บำรุงการไหลเวียนของเส้นเลือดในสมอง

    ในผลยอมีสารสำคัญคือแอสปรูโลไซต์ (Asperuloside) ซึ่งสารนี้จะออกฤทธิ์แก้คลื่นไส้อาเจียนได้เป็นอย่างดี ส่วนสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) ที่มีอยู่มากในผลยอนั้น จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลแข็งแรง และมีภูมิต้านทานที่ดีอีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติและกระตุ้นให้เซลล์ใหม่เติบโตและทำหน้าที่ได้เป็นปกติ

    ในผลยอยังประกอบ ด้วยสารสำคัญอีกมากมายเช่น สารแอนทรา ควิโนน (Antraquinones) ที่ช่วยควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อโรคต่างๆ สารสโคโปเลติน (Scopoletin) มีคุณสมบัติช่วยให้เส้นเลือดขยายตัวจึงสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงกลับเป็นปกติได้ และสารเซโรโทนิน(Serotonin) ที่ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีและสมบูรณ์มากขึ้นทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ง่าย จึงช่วยลดอาการท้องผูกจุกเสียด ช่วยระบายท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และยังช่วยขับพยาธิตัวกลมโดยเฉพาะพยาธิเส้นด้ายและพยาธิไส้เดือนได้เป็นอย่างดี

    ปัจจุบันนิยมนำมาแปรรูปเป็นชนิดแคปซูลโดยการบดลูกยอเป็นผงแล้วนำมาบรรจุแคปซูล หรือนำไปไปสกัดเป็นน้ำลูกยอ

    หรือหากว่าจะทำกินเองแบบง่ายๆ เพียงแค่นำลูกยอมาฝานเป็นแว่นๆ ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะกินก็นำแว่นลูกยอที่ตากแห้งดีแล้วใส่แก้ว แล้วเทน้ำร้อนลงไป ทิ้งไว้สักครู่ และดื่ม ลักษณะคล้ายกับการดื่มชา
    นอกจากลูกยอแล้ว “ยอ” ก็ยังสามารถนำส่วนอื่นมาใช้ได้ด้วย อาทิ ใบยอ มีวิตามินเอมาก มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา บำรุงหัวใจ หรือนำใบไปคั้นน้ำนำมาสระผมฆ่าเหา หรือนำใบยอไปปรุงอาหาร สามารถแก้ท้องร่วงได้

    รากของต้นยอ สามารถใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย และยังสามารถนำมาสกัดเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยสีเดิมจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมเกลือตามสัดส่วนต่างๆ จะได้สีที่ต่างกัน เช่น ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น


    .

    -http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000058907-

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  11. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    เนื้อหมู-ไข่ไก่ลดราคาวันนี้

    วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤษภาคม 2554 เวลา 9:02 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]

    ลดลง กก.ละ 5 บาท-ฟองละ10สต.

    สั่งสอบต้นทุนราคาไก่แพง

    นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เตรียมประกาศปรับลดราคาขายปลีกเนื้อหมู และไข่ไก่ ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ทำให้ในอีก 1-2 วัน ราคาแนะนำเนื้อหมูจะลดลง กก.ละ 5 บาท แยกเป็นราคาเนื้อหมูในเขต กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง ลดจากกก.ละ 140 บาท เหลือ 135 บาท ภาคเหนือและอีสานลดจาก กก.ละ 145 บาท เหลือ 140 บาท ขณะที่ภาคใต้ลดจาก กก.ละ 150 บาท เหลือ 145 บาท ส่วนราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มอยู่ที่ กก.ละ 69-71 บาท สำหรับสาเหตุที่เนื้อหมูปรับราคาลง เนื่องจากขณะนี้อากาศเย็น ทำให้หมูเจริญเติบโตเร็ว และมีปริมาณเนื้อหมูออกสู่ตลาดมากขึ้น

    ขณะที่ไข่ไก่จะประกาศปรับราคาแนะนำหน้าฟาร์ม ราคาขายส่งและราคาปลีกลดอีก 10 สตางค์ ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่อเนื่องจากวันที่ 3 พ.ค. ที่เคยลดลงมาแล้ว 10 สตางค์ หลังจากขณะนี้ผลผลิตไข่ไก่เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นจนใกล้สู่ภาวะปกติ โดยขณะนี้มีไข่ไก่ออกสู่ตลาดแล้ววันละ 25-26 ล้านฟอง เพิ่มจากช่วงขาดแคลนที่มีปริมาณ 24-25 ล้านฟอง

    ทั้งนี้ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.นี้ ราคาไข่คละหน้าฟาร์มจะลดจากฟองละ 3.00 บาท เหลือ 2.90 บาท ขณะที่ไข่ไก่แยกขนาด เบอร์ 0 ขายส่งไม่เกินฟองละ 3.50 บาท ขายปลีก 3.80 บาท เบอร์ 1 ขายส่ง 3.30 บาท ขายปลีก 3.60 บาท เบอร์ 2 ขายส่ง 3.20 บาท ขายปลีก 3.50 บาท เบอร์ 3 ขายส่ง 3.10 บาท ขายปลีก 3.40 บาท เบอร์ 4 ขายส่ง 3.00 บาท ขายปลีก 3.30 บาท และเบอร์ 5 ขายส่ง 2.90 บาท ขายปลีก 3.20 บาท

    นางวัชรีกล่าวต่อว่า ยังได้รับการร้องเรียนจะประชาชนถึงปัญหาเนื้อไก่ราคาแพงด้วย จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบต้นทุน ราคาจำหน่ายไก่สดหน้าฟาร์ม ไก่เนื้อชำแหละ และสถานการณ์ไก่เนื้อ ก่อนที่จะเรียกประชุมผู้ค้าและเกษตรกรเพื่อกำหนดแนวทางดูแลราคาไก่เนื้อในสัปดาห์หน้า และหากพบว่าราคาไก่เนื้อสูงผิดปกติจนทำให้ประชาชนเดือดร้อน ก็อาจพิจารณาออกราคาแนะนำเหมือนเนื้อสุกรและไข่ไก่

    นอกจากนี้สั่งการให้ตรวจสอบต้นทุนอาหารสัตว์ หลังได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ว่าผู้ค้าอาหารสัตว์ได้ฉวยโอกาสขึ้นราคาต่อเนื่อง ซึ่งหากพบว่ามีการขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม จะเรียกผู้ค้ามาหารือในการตรึงราคาต่อไป เพื่อไม่ให้กระทบต้นทุนการผลิตเนื้อสัตว์ เพราะเท่าที่ทราบตอนนี้วัตถุดิบอาหารสัตว์หลายชนิดราคาอ่อนตัวลงแล้ว ยกเว้นข้าวโพดยังมีราคาสูงกก.ละ 10.50-11.00 บาท

    ส่วนการพิจารณาปรับราคาผลิตภัณฑ์เหล็ก ขณะนี้ผู้ประกอบการได้แจ้งขอปรับราคาเข้ามาแล้ว โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาเหล็กโลก และน้ำมันที่สูงขึ้น กรมฯ จึงให้เจ้าหน้าที่ลงสำรวจสถานการณ์สต๊อกสินค้าของผู้ผลิต และผู้ค้าเหล็ก เพื่อรวบรวมและเสนอให้ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ พิจารณาเพื่อรับทราบนโยบาย ก่อนจะเรียกประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาแนะนำเหล็กต่อไป

    นายมารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานดัชนีราคาและผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนเม.ย.และแนวโน้มเดือนพ.ค. 54 ให้ครม.รับทราบ พบว่าในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น 22.28% โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนธัญพืชโลก รวมถึงเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรต่าง ๆ เพิ่มสูงมาก

    ทั้งนี้คาดว่าเดือนพ.ค.นี้ดัชนีราคาจะลดลง เนื่องจากสินค้าสำคัญหลายชนิดออกสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อน พบว่าดัชนีผลผลิตลดลง 14.87%.





    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  12. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    ผ่ากลยุทธ์'ฟุตบอลเส้าหลิน'

    วันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤษภาคม 2554 เวลา 0:00 น
    <SCRIPT src="http://s7.addthis.com/js/250/addthis_widget.js?pub=xa-4a38f0f6636e48fa" type=text/javascript></SCRIPT> ​


    <TABLE class=x-tabs-strip id=ext-gen5 cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR id=ext-gen4><TD class=" on" id=ext-gen10 style="WIDTH: 72px">เนื้อหาข่าว</TD><TD id=ext-gen16 style="WIDTH: 57px">รูปภาพ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]



    [​IMG]

    ทักษะหนือชั้น...นำมาประยุกต์ใช้!
    ไม่รู้ว่าเป็นเพราะภาพยนตร์เรื่อง “นักเตะเสี้ยวลิ้มยี่” ที่ “โจวซิงฉือ” นำแสดง และกวาดความฮาของคนไทยไปอย่างท่วมท้นเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เมื่อเร็ว ๆ นี้ “วัดเส้าหลิน” ได้จัดตั้งทีมฟุตบอลเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของนักเตะแดนมังกรหรือไม่...แต่ถึงกระนั้น พวกเขาได้กลายเป็นความหวังเมื่อทางวัดเตรียมคัดตัวลูกศิษย์ที่ฝึกวิชากังฟูกว่าสองพันคนเพื่อหาดาวเด่นมาประดับ วงการแถวหน้า!

    หลายคนมองเป็นเรื่องที่ไกลความคาดหวัง แต่ด้วยสปริงเท้าและกล้ามเนื้ออันทรงพลังทำให้นักเตะจาก “วัดเส้าหลิน” ถือว่าได้เปรียบ ซึ่งทุกอย่างยังต้องมีการฝึกฝนให้มีความเป็นสากลอีกมาก โดยทางวัดได้จ้าง โค้ชแคเมอรูน มาฝึกฝนให้อยู่ใน “ขั้นเทพ”

    สำหรับลูกศิษย์ที่เคยผ่านการฝึกอันหนักหน่วงอย่าง เฉิน ลี่ อาจารย์สอนกังฟูเส้าหลินที่โรงเรียนไทย–จีนเส้าหลินกังฟู ให้ทรรศนะถึงเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมามีการปรับนำวิทยายุทธ์กังฟูไปใช้ในสิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น การแสดง การทำอาหาร หรือแม้กระทั่งการวาดรูป ศิลปะกังฟูเป็นสิ่งที่อยู่กับคนจีนมานาน แต่การนำวิทยายุทธ์ไปใช้ในการเล่นฟุตบอลถือเป็นอีกความท้าทาย เนื่องจากโดยปกติที่วัดพอว่างจะมีวิชาเลือกให้ได้ผ่อนคลายซึ่งฟุตบอลก็ได้รับความนิยมอย่างมาก

    ถ้ามองในการไปแข่งระดับโลกตนยังไม่แน่ใจว่าทีมฟุตบอลเส้าหลินจะชนะหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่านี่คือสิ่งใหม่ แต่หากมองในมุมกลับกันก็จะเป็นการเล่นฟุตบอลที่สวยงามก่อให้เกิดสไตล์การเล่นเฉพาะตัวที่เปี่ยมด้วยความแข็งแกร่ง

    สิ่งที่เป็นจุดเด่นของผู้ที่ฝึกกังฟูเส้าหลินจะสามารถกระโดดได้สูงโดยไม่ต้องใช้มือช่วย และสิ่งเหล่านี้ทำให้ความแรงในการเตะฟุตบอลค่อนข้างมีมากในลูกกลางอากาศ เช่น การตีลังกาเตะ การกระโดดเตะ หรือจะตีลังกาแล้วกระโดดเตะยังได้ ถือเป็นความคล่องตัวในทักษะเฉพาะตัวสูง แต่สิ่งที่ห่วงอย่างหนึ่งคือวิชากังฟูส่วนใหญ่เน้นใช้พลังในการต่อสู้ซึ่งมองในด้านเทคนิคฟุตบอลจึงเป็นเรื่องยากที่จะครองบอลอยู่กับตัว โดยการครองบอลถือเป็นเรื่องสำคัญของกีฬาที่เล่นเป็นทีม

    ตำแหน่งผู้เล่นในสนามที่เหมาะกับคนซึ่งผ่านการฝึกกังฟูแบบเส้าหลินควรอยู่ในตำแหน่งกองกลางและกองหน้าที่สามารถยิงบอลได้ด้วยกำลังขาที่แข็งแรง หากให้ดีควรมีการผสมผสานผู้เล่นที่เป็นกังฟูและไม่เป็นเข้าด้วยกัน เนื่องจากต้องยอมรับว่าการผสมผสานแบบใหม่กับแบบเก่าสามารถสร้างทีมให้สู่ความสำเร็จได้

    ในส่วนของทักษะการฝึกแบบเส้าหลินสามารถนำมาปรับใช้กับฟุตบอลได้คือ 1. ท่าเตะข้าง ที่จะใช้การกระโดดขึ้นและเตะไปด้านข้าง 2. กระโดดหมุนตัวเตะเข้าและออก คล้ายกับท่าแรกแต่มีการหมุนตัวซึ่งต้องใช้ความรวดเร็วอย่างมาก 3. เตะหลังจระเข้ฟาดหาง ถ้าหากนำไปใช้ในการเล่นฟุตบอลต้องมีการกะระยะเตะให้แม่นยำอย่างมาก 4. เตะหมุนตัวออก เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกบอลโด่งด้วยกำลังอย่างมาก 5. โหลวฮ้วนจ้วงจง เป็นวิชาเส้าหลินที่ใช้หัวโหม่งซึ่งต้องมีการฝึกฝนความแข็งแรงของหัว โดยสามารถนำไปใช้ในการโหม่งบอลได้แต่ต้องมีการฝึกกำหนดทิศทาง 6. ไท้เก๊ก เป็นอีกส่วนสำคัญที่สร้างกำลังแขนเหมาะสมกับการเป็นผู้รักษาประตูทั้งปัดและชกบอลออกไปได้ ขณะเดียวกันกำลังการกระโดดสูงก็เป็นอีกส่วนสำคัญให้กระโดดปัดได้สูง

    “ความยืดหยุ่นของร่างกายหรือการกางขาได้กว้างจะเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของนักเตะเส้าหลิน นอกจากนี้กำลังขาในการวิ่งย่อมเป็นส่วนดีเพราะศิษย์ส่วนใหญ่ฝึกกำลังขาตั้งแต่เด็ก”

    ที่ผ่านมายังไม่เคยมีนักฟุตบอลทีมชาติจีนเคยฝึกกังฟูจากวัดเส้าหลิน ซึ่งหากการฝึกครั้งนี้ประสบความสำเร็จอาจเห็นนักฟุตบอลทีมชาติจีนที่มีการเล่นสวยงามจากวัดเส้าหลิน อย่างไรก็ดีโครงการฝึกฟุตบอลของวัดเส้าหลินครั้งนี้เพียงแค่ 2–3 เดือนก็จะรู้ผลว่าจะดีหรือไม่ดี

    สำหรับนักฟุตบอลไทยแล้วสามารถนำมาปรับใช้ได้ ถ้ายิ่งฝึกกังฟูตั้งแต่เด็กยิ่งทำให้กล้ามเนื้อสัดส่วนต่าง ๆ แข็งแกร่ง ทำให้เมื่อนำไปปรับใช้กับการเล่นบอลจะเป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่ง

    ข้อมูลวิกิพีเดียระบุว่า วิทยายุทธ์วัดเส้าหลินเป็นการฝึกฝนและเสริมสร้างกายภาพของร่างกายที่ดีที่สุดทางหนึ่งของหลวงจีน เป็นการฝึกฝนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย เสริมสร้างสมาธิ สติปัญญา ความมีระเบียบวินัยและคุณธรรม มีความรุนแรงในการปะทะเป็นอย่างมาก เกิดจากลมปราณภายในร่างกายที่ผ่านการฝึกมาเป็นเวลานาน สามารถเจาะทะลวงพื้นอิฐให้เป็นรอยยุบได้อย่างง่ายดาย สามารถเพิ่มความรุนแรงในการต่อสู้ด้วยกำลังภายในหรือลมปราณที่หมั่นฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา

    จุดเริ่มต้นจากรากฐานของวิทยายุทธ์มีความแตกต่างจากสำนักอื่น โดยเฉพาะศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เป็นที่เลื่องลือมากที่สุดในกระบวนท่าทั้งหมด เกิดจากการประยุกต์ขึ้นจากธรรมชาติแวดล้อมผนวกกับวิทยายุทธ์ลมปราณที่เกิดจากการนั่งสมาธิวิปัสสนา กลายเป็นกำลังภายในที่มีองค์ประกอบพื้นฐานอยู่หลายอย่างอันเป็นเอกลักษณ์ได้แก่ เพลงหมัดอรุโณทัย เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่มีความรวดเร็วในการโจมตี เร็วกว่าศัตรูเมื่อปล่อยหมัดออกพร้อมกัน

    วิทยายุทธ์ตัวเบาเส้าหลิน เป็นพื้นฐานเพื่อใช้สำหรับหลบหนีสัตว์ร้ายในป่า เช่น เสือ หมาป่า ที่วิ่งได้เร็วกว่า เมื่อใช้วิทยายุทธ์ตัวเบา ทำให้สามารถลอยตัวกลางอากาศได้ในระยะหนึ่ง

    วิทยายุทธ์คงกระพันเส้าหลิน หลวงจีนวัดเส้าหลินมักใช้ว่านชนิดหนึ่งผสมน้ำอาบชำระล้างร่างกายทุกวัน ซึ่งว่านที่ใช้ผสมน้ำอาบนั้นมีสรรพคุณทางการป้องกันร่างกายจากอาวุธทุกประเภทได้เป็นอย่างดี ขณะที่ วิทยายุทธ์ลมปราณ เกิดจากการกำหนดจิตและกายรวมเป็นหนึ่ง ลมปราณจากการกำหนดพลังแฝงภายในร่างกายจะแสดงออกมาในรูปของเพลงหมัดและเพลงเตะที่มีความหนักแน่นและดุดัน

    ถือเป็นอีกเรื่องที่ต้องติดตามว่า การใช้วิทยายุทธ์ของเส้าหลิน จะสามารถนำมาโลดแล่นบนผืนหญ้าและเรียกศรัทธาจากแฟนบอลจีนกลับมาได้หรือไม่!?.

    ...........................................
    18 อรหันต์

    18 อรหันต์ ในวัดเส้าหลินเมื่อกล่าวถึงด่าน 18 อรหันต์, ค่ายกล 18 อรหันต์, 18 ด่านมนุษย์ทองคำและการฝึกเพลงหมัดมวยในสมัยโบราณ เมื่อหลวงจีนสำเร็จวิชาถึงขั้นสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องฝ่าด่าน 18 อรหันต์ให้ได้เสียก่อน จึงจะถือว่าสำเร็จวิชากังฟูจากวัดเส้าหลินอย่างแท้จริง และสามารถเดินทางลงจากเทือกเขาซงซานได้ แท้จริงแล้วคำว่า “18 อรหันต์” ที่ปรากฏในภาพยนตร์จีนและนวนิยายกำลังภายในในวัดเส้าหลินคือพระพุทธรูปจำนวน 18 องค์ที่ประดิษฐานล้อมองค์พระประธานในอารามหลวง

    ในอารามหลวงต้าโสวงเป่าเตี้ยนหรือพระอุโบสถใหญ่ในพระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาท หรือมหายาน บริเวณกึ่งกลางของอุโบสถ จะประดิษฐานพระประธานสามองค์คือ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มัญชุศรี และพระโพธิสัตว์โลเกศวร บริเวณด้านขวามือของพระประธานทั้งสามองค์ จะเรียงรายด้วยรูปสลักของพระจำนวน 18 องค์ ซึ่งคือ 18 อรหันต์ โดยคำว่า อรหันต์ หมายถึงสาวกจำนวน 16 รูปของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาสายมหายาน.

    ทีมวาไรตี้





    ที่มา เดลินิวส์ ออนไลน์
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 4 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 3 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong</td></tr></tbody></table>

    อรุณสวัสดิ์ยามเช้า วันศุกร์แห่งชาติ ครับ





    .



    .
     
  15. อนัตตัง

    อนัตตัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +12
    สวัสดี วันศุกร์ ตอนเย็น ครับ ทุกท่าน
     
  16. Lee_bangkok

    Lee_bangkok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +4,741
    คุณหนุ่มยังมีที่อยู่ผมใช่ไหมครับ ที่จะจัดส่งมวลสารนะครับ
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    มีครับ

    ส่งให้สัปดาห์หน้าครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ssit1.JPG
      ssit1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      81.4 KB
      เปิดดู:
      58
    • ssit.JPG
      ssit.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.3 KB
      เปิดดู:
      82
    • ssit1-1.JPG
      ssit1-1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.6 KB
      เปิดดู:
      59
    • ssit1-2.JPG
      ssit1-2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      29.1 KB
      เปิดดู:
      52
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2011
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    "วัดมณเฑียร" วัดแรกของกษัตริย์ราชวงศ์มังราย


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]




    คมชัดลึก :"วัดมณเฑียร" ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๙ ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๗๔ เดิมชื่อ "วัดราชมณเฑียร" เป็นวัดแรกที่พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์สมัยราชวงศ์มังรายทรงสร้างขึ้นในรัชสมัยที่พระองค์ทรงราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองเมืองเชียงใหม่
    <SCRIPT type=text/javascript>google_ad_channel = '9989085094'; //slot numbergoogle_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads//google_image_size = '300X250';//google_skip = '3';var ads_ID = 'adsense_inside'; // set ID for main Element divvar displayBorderTop = false; // default = false;//var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type imagevar position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail</SCRIPT><SCRIPT src="http://www.komchadluek.net/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT>

    พระเจ้าติโลกราชและพระมหาเทวีทรงโปรดเกล้าให้รื้อพระตำหนักราชมณเฑียรส่วนพระองค์มาสร้างเป็นวัดเพื่อถวายพระมหาญาณคัมภีร์มหาเถระและคณะ พระองค์ทรงพระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดราชมณเฑียร" ดังข้อความที่ปรากฏในตำนานศาสนาตอนหนึ่งว่า "เมื่อพ.ศ.๑๙๗๔ เดือน ๗ ในปีนั้นชาวเมืองทั้งหลายพร้อมกันปลงศพ พระยาสามฝั่งแกน แล้วจึงอาราธนาเอาลูกท่าน ชื่อท้าวลกมากินเมืองเชียงใหม่ เดือน ๘ ออก ๕ ค่ำ เม็งวันอังคาร ได้ราชาภิเษกชื่อว่า อาทิตตราชดิลก หรือ ติโลกราช และท่านรู้ข่าวว่า พระมหาญาณคัมภีร์เถรเจ้า ไปเอาศาสนามารอด ท่านก็ยินดีมากนัก และพระยาอาทิตย์ และพระมหาเทวี จึงพร้อมกันให้รื้อหอราชมณเฑียรหลังเก่าไปสร้างที่พระมหาเถรเจ้าจักอยู่ และได้ชื่อว่า “วัดราชมณเฑียร” ดังนี้แล"
    ในสมัยที่ราชวงศ์มังรายเรืองอำนาจ วัดราชมณเฑียรมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เนื่องจากเป็นวัดที่อยู่ในพระราชูปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ และพระมหาญาณคัมภีร์ปฐมเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดมณเฑียรยังเป็นนักปราชญ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นที่เคารพนับถือและเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนชาวล้านนาในอดีต เพราะทรงทำนุบำรุงเผยแพร่ศาสนาพุทธจนรุ่งเรือง และแผ่ขยายไปถึงแคว้นนครเชียงตุง และเมืองสิบสองปันนา
    แต่ภายหลังอาณาจักรล้านนาล่มสลาย ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานกว่า ๒๐๐๐ ปี วัดวาอารามในล้านนาถูกปล่อยให้รกร้าง ขาดการบูรณะซ่อมแซม จนอยู่ในสภาพทรุดโทรม กระทั่งเมื่อพระเจ้ากาวิละได้กอบกู้เอกราชของแคว้นล้านนาคืนมา วัดราชมณเฑียรและวาอารามที่สำคัญในเมืองเชียงใหม่จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ จนกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง
    สำหรับโบราณสถานที่สำคัญของวัดมณเฑียร มีวิหารลายคำ เป็นวิหาร ๒ ชั้น ทรงไทยล้านนา ประดับลวดลายปูนปั้น และลายคำแบบล้านนา จึงเป็นที่มาของชื่อ "วิหารลายคำวัดมณเฑียร" แต่วิหารหลังเดิมที่สร้างมานานกว่า ๕๗๙ ปี ชำรุดทรุดโทรม พระมหาชัชวาล โชติธฺมโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน และคณะศรัทธาจึงร่วมกันบูรณะ และสร้างวิหารหลังใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙
    รูปแบบของวิหารลายคำ ชั้นแรกใช้เป็นสถานที่ทำบุญ ชั้นที่ ๒ ใช้ในการทำสังฆกรรมของพระภิกษุ สามเณร ภายในพระวิหารประกอบด้วยเสากลาง มีระบียงเพไลล้อมรอบ ด้านนอกพระวิหารมีซุ้มประตู ประดับด้วยปูนปั้นลวดลายล้านนาประยุกต์ ประดับด้วยกระจกแก้วอังวะ ติดทองคำเปลว เช่นเดียวกับศิลปะล้านนาที่ใช้อยู่ในยุคปัจจุบัน
    วัดมณเฑียรมีเอกลักษณ์พิเศษที่สำคัญ คือ มีการนำเอาวัสดุหินทรายมาสร้างเป็นพระพุทธรูป เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีปรากฏในปัจจุบัน ตามตำนานในอดีตนั้น ได้เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ ทรงสร้างพระพุทธรูปหินทราย ประดิษฐานไว้ยังวัดร่ำเปิง ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยมีปรากฏในเมืองเชียงใหม่ว่า มีการสร้างพระพุทธรูปหินทรายอีกเลย พระมหาชัชวาล โชติธฺมโม เจ้าอาวาสจึงนำหินทรายจาก จ.พะเยา มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป และได้นำมาประดิษฐานไว้ภายพระวิหารลายคำ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะ
    พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด
    พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ พร้อมกับการบูรณะและสร้างวิหารลายคำหลังใหม่ของวัดมณเฑียร มีทั้งหมด ๗ องค์ ประกอบด้วย พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารชั้น ๑ พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารชั้น ๒ พระพุทธรูปรองประธาน ๔ องค์ พระนอนทรงเครื่อง ๑ องค์
    วัดมณเฑียร ยังมีพระพุทธรูปเก่าแก่อีกหลายองค์ อาทิ พระประธานวิหาร ซึ่งเคยประดิษฐานอยู่ที่วิหารวัดมณเฑียรหลังเดิม พระพุ่ม ๙ ตื้อ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างพร้อมกับพระเจ้าเก้าตื้อ ของวัดสวนดอก เป็นพระพุทธรูปศิลปะเก่าแก่ที่งดงามที่สุด
    วัดมณเฑียรมีพระที่สร้างพุ่มเดียวกัน หรือสร้างพร้อมกัน คือ พระเจ้าพุ่ม หรือ พระพุ่ม พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนาผสมสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ รวมทั้งพระประธานประจำอุโบสถหลังเก่า
    นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปองค์สำคัญที่พระมหาญาณคัมภีร์นำมาจากศรีลังกา เมื่อครั้งไปสืบศาสนาที่เมืองลังกา และได้นำพระพุทธรูปมาจากลังกาทวีป มี ต้นศรีมหาโพธิ์ พระพุทธรูป พระไตรปิฎก และหีบอีก ๑ ชุด กิ่งมหาโพธิ์นำมาปลูกไว้ที่วัดป่าแดง พระไตรปิฎกนำไปประดิษฐานที่วัดป่าตาล แต่ปัจจุบันนี้ร่องรอยของพระไตรปิฎก ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าอยู่ ณ ที่ใด ส่วนพระพุทธรูปได้นำมาประดิษฐานที่วัดมณเฑียร โดยคณะสงฆ์และคณะศรัทธาวัดราชมณเฑียรในอดีต ได้ร่วมใจกันรักษาพระพุทธรูปองค์นี้เอาไว้จวบจนปัจจุบัน และยังมีพระเจ้าหลวงทันใจ หน้าตักกว้าง ๕.๕ เมตร สูง ๑๑ เมตร ที่สร้างขึ้นด้วยจิตศรัทธาของพุทธศาสนิกชน เมื่อครั้งมีการบูรณะวัด
    "วัดมณเฑียรมีเอกลักษณ์พิเศษที่สำคัญ คือ มีการนำเอาวัสดุหินทรายมาสร้างเป็นพระพุทธรูป เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีปรากฏในปัจจุบัน ตามตำนานในอดีต ได้เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์เมืองเชียงใหม่"

    เรื่อง / ภาพ จันจิรา จารุศุภวัฒน์ สำนักข่าวเนชั่น

    -http://www.komchadluek.net/detail/20110520/97992/วัดมณเฑียรวัดแรกของกษัตริย์ราชวงศ์มังราย.html-

    .

    http://www.komchadluek.net/detail/20110520/97992/วัดมณเฑียรวัดแรกของกษัตริย์ราชวงศ์มังราย.html

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ประวัติศาสตร์ล้านนา - ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร (ราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1804 – 2101)

    วันที่เอกสารถูกสร้าง:
    01/10/2008


    ที่มา:
    เว็บไซต์ล้านนาคดี Under Construction มหาวิทยาลัยแม่โจ้


    ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร (ราชวงศ์มังราย พ.ศ. 1804 – 2101)

    [​IMG]

    ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการจากแว่นแคว้น – นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น – นครรัฐมาไว้ด้วยกัน อาณาจักรล้านนาเริ่มก่อรูปโดยการรวมแคว้นโยนและแคว้นหริภุญชัย หลังจากนั้นก็ขยายอาณาจักรไปสู่ดินแดนใกล้เคียง ได้แก่ เมืองเชียงตุง เมืองนายในเขตรัฐฉาน และขยายสู่เมืองเขลางคนคร เมืองพะเยา ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองสามารถขยายอำนาจไปสู่เมืองแพร่และ เมืองน่านตลอดจนรัฐฉานและสิบสองพันนา

    ในพุทธศตวรรษที่ 19 เกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญชัย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ของชนชาติ ไทยที่ผู้นำ ใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อาณาจักรใหม่ที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียว กัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้นสงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ในสมัยของพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ
    ประวัติศาสตร์ล้านนาใน สมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการเป็น 3 สมัย คือสมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง สมัยเสื่อมและการล่มสลาย

    [​IMG]

    1. สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ. 1939 – 1989) การก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เป็นผลจากการรวมแคว้นหริภุญชัยกับแคว้นโยน แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรพระญามังรายปฐมกษัตริย์เริ่ม ขยายอำนาจตั้งแต่ พ.ศ. 1804 ซึ่งเป็นปีแรกที่เสวยราชย์ในเมืองเงินยาง ปีแรกที่พระญามังรายครองเมืองเงินยางนั้น ปรากฏว่าเมืองต่าง ๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำกกแตกแยกกัน มีการแย่งชิงพลเมืองและรุกรานกันอยู่เสมอ สร้างความเดือดร้อนแก่คนทั่วไป พระญามังรายจึงรวบรวมหัวเมืองน้อยมาไว้ในพระราชอำนาจ โดยอ้างถึงสิทธิธรรมที่พระองค์สืบเชื้อสายโดยตรงจากปู่เจ้าลาวจง และพระองค์ได้รับน้ำมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเป็นต้นว่า ดาบไชย หอก และมีดสรีกัญไชย สิ่งเหล่านี้เป็นของปู่เจ้าลาวจง ซึ่งตกทอดมายังกษัตริย์ราชวงศ์ลาวทุกพระองค์ พระญามังรายอ้างว่าเจ้าเมืองอื่น ๆ นั้นสืบสายญาติพี่น้องกับราชวงศ์ลาวที่ห่างออกไป ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสผ่านพิธีมุรธาภิเษกและได้เครื่องราชาภิเษกเหมือน พระองค์

    วิธีการที่พระญามังราย รวบรวมหัวเมืองมีหลายวิธี เช่น ยกทัพไปตี ในกรณีที่เจ้าเมืองนั้นไม่ยอมสวามิภักดิ์ ได้แก่ เมืองมอบ เมืองไล่ เมืองเชียงคำ เมืองเหล่านี้เมื่อตีได้ จะให้ลูกขุนปกครอง ส่วนเมืองที่ยอมสวามิภักดิ์ พระญามังรายคงให้เจ้าเมืองปกครองต่อไป นอกจากนั้นยังใช้วิธีเป็นพันธมิตรกับพระญางำเมือง ซึ่งพระญางำเมืองได้มอบที่ให้จำนวนหนึ่ง มี 500 หลังคาเรือน เป็นต้น
    หลังจากรวบรวมหัวเมือง ใกล้เคียงเมืองเงินยางได้แล้ว พระญามังรายก็ย้ายศูนย์กลางลงมาทางใต้ โดยสร้างเมืองเชียงรายใน พ.ศ. 1805 และสร้างเมืองฝาง พ.ศ. 1816 จากนั้นพระญามังรายได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ บริเวณต้นแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และริมแม่น้ำโขง พระญามังรายสามารถรวบรวมเมืองต่าง ๆ (ซึ่งต่อมาคือเขตตอนบนของอาณาจักรล้านนา) สำเร็จประมาณ พ.ศ. 1830 ซึ่งเป็นปีที่พระญามังราย พระญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ทำสัญญามิตรภาพต่อกัน ผลของสัญญามี 2 ประการ ประการแรกคงมีส่วนทำให้พระญามังรายมั่นใจว่าการขยายอำนาจลงสู่แม่น้ำปิง เพื่อผนวกแคล้นหริภุญชัยจะไม่ได้รับการจัดขวางจากพระญางำเมืองและพ่อขุนราม คำแหง ประการที่สอง สามกษัตริย์ร่วมมือกันป้องกันภัยอันตรายจากมองโกลซึ่งกำลังขยายอำนาจลงมาใน ภูมิภาคนี้
    เมื่อพระญามังรายรวบรวม เมืองต่าง ๆ ในเขตทางตอนบนแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน โดยยึดครองแคว้นหริภุญชัยได้ในราว พ.ศ. 1835 พระญามังรายประทับที่หริภุญชัยเพียง 2 ปี ก็พบว่าไม่เหมาะที่จะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร พระญามังรายจึงทรงย้ายมาสร้างเวียงกุมกาม ความเหมาะสมของนครเชียงใหม่ คือตัวเมืองตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มน้ำปิงและดอยสุเทพ พื้นที่ลาดเทจากดอยสุเทพสู่น้ำปิง ทำให้สายน้ำจากดอยสุเทพไหลมาหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลา เมืองเชียงใหม่จึงมีน้ำอุดมสมบูรณ์

    การก่อตั้งเมือง เชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ใน พ.ศ. 1839 มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสืบเนื่อง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ทั้งทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษ นับตั้งแต่พยายามเลือกทำเลที่ตั้ง การวางผังเมือง และการสร้างสิทธิธรรม การสร้างเมืองเชียงใหม่ถือเป็นความสำเร็จอย่างสูง เพราะเชียงใหม่ได้รับการยอมรับในฐานะศูนย์กลางดินแดนล้านนาตลอดมา ครั้นฟื้นฟูบ้านเมืองได้ในสมัยราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน พระเจ้ากาวิละซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เวียงป่าซาง 14 ปี ก็ยังเลือกเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางล้านนา เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคเหนือสืบมาถึงปัจจุบัน การสร้างเมืองเชียงใหม่ พระญามังรายเชิญพระญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจาณาทำเลที่ตั้ง พระญาทั้งสองก็เห็นด้วยและช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผังเมืองเชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อแรกสร้างกำแพงเมืองมีขนาดกว้าง 900 วา ยาว 1,000 วา และขุดคูน้ำกว้าง 9 วา กำแพงเมืองเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัจจุบันเปลี่ยนรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 1,600 เมตร


    ในสมัยอาณาจักรเป็นช่วง สร้างความเข้มแข็งอยู่ในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น มีกษัตริย์ปกครอง 5 พระองค์ ได้แก่ พระญามังราย พระญาไชยสงคราม พระญาแสนพู พระญาคำฟู และพระญาผายู การสร้างความเข้มแข็งในช่วงต้นนี้สรุปได้ 3 ประการ
    • ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพระญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพระญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพระญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพระญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพระญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช
    การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพระญามังราย พระญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพระญาแสนพู และพระญาคำฟู โดยสมัยพระญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พระญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพระญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพระญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพระญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพระญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพระญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน



    [​IMG]
    • ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต
    1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง


    2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย

    3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน

    ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา
    • ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพระญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริ ภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด
    อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พระญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพระญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพระญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลักกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย


    2. สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 – 2068) ความ เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในราวกลางราชวงศ์ มังราย นับตั้งแต่สมัยพระญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) เป็นต้นมา และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพระญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เสื่อมลง
    ตั้งแต่สมัยพระญากือนา กิจการในพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนมาก เห็นได้จากการรับนิกายรามัญจากสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ในล้านนา ทรงสร้างวัดสวนดอกให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเมืองทางตนบน จึงมีพระสงฆ์ชาวล้านนาได้ให้ความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้ง โดยในสมัยพระญาสามฝั่งแกนมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วกลับมาตั้งนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดป่าแดงในเมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ไปเผยแพร่ศาสนายังเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขยายไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา

    พระสงฆ์ในนิกายรามัญและนิกายสิงหลขัดแย้ง กันในการตีความพระธรรมวินัยหลายอย่าง แต่ก็เป็นแรงผลักดันนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะพระสงฆ์ในนิกายสิงหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี ทำให้ศึกษาพระธรรมได้ลึกซึ้ง ดังนั้นหลังจากการสถาปนานิกายใหม่แล้ว พระพุทธศาสนาในล้านนาเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพระญาแก้ว ดังปรากฏการสร้างวัดวาอารามทั่วไปในล้านนาและผลจากภิกษุล้านนามีความรู้ความ สามารถสูง จึงเกิดการทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 สิ่งที่สำคัญในระยะนี้ คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา คัมภีร์จากล้านนาได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียง เช่น ล้านช้าง พม่า อยุธยา งานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในล้านนาประเภทตำนาน แพร่หลายตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยสำนึกประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตเดิม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากงานเขียนจากสำนักลังกาที่พระสงฆ์นำเข้ามา งานเขียนประวัติศาสตร์สกุลตำนานในยุคนี้มีมากมาย เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พื้นเมืองน่าน ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานมูลสาสนา จามเทวีวงศ์ และชินกาลมีปกรณ์ เป็นต้น

    ผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระสงฆ์ล้านนา ที่สำคัญได้แก่ พระโพธิรังสี แต่งจามเทวีวงศ์ และสิหิงคนิทาน รัตนปัญญาเถระ แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เวสสันดรทีปนี จักรวาลทีปนี สังขยาปกาสกฎีการ และมังคลัตถทีปนี พระพุทธเจ้าและพระพุทธพุกาม แต่งตำนางมูลสาสนา
    นอกจากนั้นยังมีปัญญาสชาดก (ชากด 50 เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เข้าใจว่าในสมัยพระญาแก้ว ปัญญาสชาดกเป็นงานวรรณกรรมพุทธศาสนาที่แต่งทำนองเลียนแบบชาดกในพระไตรปิฎก แต่มีเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน เพราะเป็นชาดกนอกไตรปิฎก ปัญญาสชาดกเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สมุททโฆสชาดก (นำมาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์) สุธนชาดำ (นำมาแต่งเป็นบทละครเรื่องมโนราห์) ปัญญาสชาดกแพร่หลายมากไปถึงพม่า มีการแปลเป็นภาษาพม่าในสมัยพระเจ้าโพธพระยา เมื่อ พ.ศ. 2224 พ ม่าเรียกปัญญา สชาดกว่า ซิมแม่ปัณณาสชาดก (เชียงใหม่ปัณณาสชาดก)
    ในช่วงสมัยรุ่งเรืองนี้พระพุทธศาสนาเจริญ ยิ่งดังปรากฏการสร้างวัดแพร่หลายทั่วไปในดินแดนล้านนา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน และตามเมืองมีวัดหนาแน่ดังพบว่า เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายใน ปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านน้า วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย

    ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ล้านนามีความมั่งคั่งด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพัฒนาการร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพระญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายก้าวขวางไปไกล ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ สะท้อนการค้าว่ามีหมู่พ่อค้าเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ตั้งเมืองนั้นคุมเส้นทางการค้า คือ เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนขึ้นไป เช่น รัฐฉาน สิบสองพันนา เชียงแสนจะนำสินค้าผ่านสู่เมืองเชียงใหม่แล้วจึงผ่านไปเมื่ออื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้และทางตะวันตก ดังนั้น จึงพบหลักฐานกล่าวถึงพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่มีทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา เมืองเชียงใหม่คงมีผลประโยชน์จากการเก็บภาษีสินค้าสูงทีเดียว สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง มอญ กษัตริย์มีบทบาทในการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วนให้ราชธานี ด้วยพระราชอำนาจจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามา ถวาย รูปแบบการค้าของป่า คือกษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำลับดูแลสินค้าชนิดต่าง ๆ เพราะพบตำแหน่งแสนน้ำผึ้ง ข้าหลวงดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด

    ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังเข้มแข็งดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา ดังทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้นทัพล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้

    3. สมัยเสื่อและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ. 2068 – 2101) ความ เสื่อของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พระญาเกศเชษฐาราชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2068 จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน พ.ศ. 2101 ข่วงเวลา 33 ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปี (พ.ศ. 2091 – 2094) เพราะขุนนางขัดแย้งกันตกลงกันไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ กษัตริย์สมัยเสื่อจะครองเมืองระยะสั้น ๆ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ

    • ประการแรก การขยายอาณาเขตและสร้างความมั่นคงในอาณาจักร ในสมัยพระญามังรายได้ผนวกเขลางคนครเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร เนื่องจากเขลางคนครมีความสัมพันธ์กับเมืองหริภุญชัยในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เมื่อยึดครองหริภุญชัยสำเร็จก็จำเป็นต้องรุกคืบต่อไปยังเขลางคนคร หลังจากนั้นความคิดขยายอาณาเขตไปยังทางด้านตะวันออกสู่เมืองพะเยาซึ่งเกิด ขึ้นในสมัยพระญามังรายแล้ว แต่ติดขัดที่เป็นพระสหายกับพระญางำเมือง เมืองพะเยาและเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ฐานะเครือญาติในวงศ์ลวจังกราช เมืองพะเยาซึ่งเป็นรัฐเล็ก ต่อมาจึงถูกยึดครองสำเร็จในสมัยพระญาคำฟู (พ.ศ. 1877 – 1879) การยึดครองพะเยาได้เป็นผลดีต่ออาณาจักรล้านนาเพราะนอกจากเมืองเชียงรายจะ ปลอดภัยจากพะเยาแล้ว เมืองพะเยายังเป็นฐานกาลังขยายไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านต่อไป ความคิดขยายอำนาจสู่เมืองแพร่มีในสมัยพระญาคำฟูแต่ไม่ประสบความสำเร็จ แสดงให้เห็นว่าการรวมหัวเมืองล้านนาตะวันออก ซึ่งเป็นรัฐในหุบเขาไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่าย เพราะกว่าจะรวมเมืองแพร่และเมืองน่านสำเร็จก็อยู่ในช่วงอาณาจักรล้านนามี ความเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช
    การสร้างความมั่นคงในเขต ทางตอนบนของอาณาจักรเด่นชัดในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ดังปรากฏว่าเมือสิ้นสมัยพระญามังราย พระญาไชยสงครามครองราชย์ต่อมา ได้เสด็จไปประทับที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ให้โอรสครองเมืองลักษณะเช่นนี้มีสืบมาในสมัยพระญาแสนพู และพระญาคำฟู โดยสมัยพระญาแสนพูสร้างเมืองเชียงแสนในบริเวณเมืองเงินยาง การสร้างเมืองเชียงแสนก็เพื่อป้องกันศึกทางด้านเหนือ เพราะเมืองเชียงแสนตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใช้แม่น้ำโขงเป็นคูเมืองธรรมชาติ มีตัวเมืองกว้าง 700 วา ยาว 1,500 วา มีป้อมปราการ 8 แห่ง ที่ตั้งเมืองเชียงแสนคุมเส้นทางการคมนาคมเพราะเป็นช่องทางไปสู่เมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองนาย เมืองยอง เมืองเชียงแสนจึงเป็นศูนย์กลางของเมืองตอนบน หลังจากสร้างเมืองเชียงแสนแล้ว พระญาแสนพูประทับที่เชียงแสนสืบต่อมาถึงสมัยพระญาคำฟู สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้นเมื่อผนวกพะเยาเข้ากับอาณาจักรล้านนาในสมัยพระญา คำฟู ส่วนเมืองเชียงตุงพระญาผายูสถาปนาอำนาจอันมั่นคง โดยส่งเจ้าราชบุตรเจ็ดพันตูไปปกครองและพระญาผายูสร้างความผูกพันโดยอภิเษก กับธิดาเจ้าเมืองเชียงของ การสร้างความมั่นคงเขตตอนบนมีเสถียรภาพพอสมควร ในสมัยพระญาผายูจึงย้ายมาประทับที่เชียงใหม่ ให้เมืองเชียงราย เชียงแสนเป็นเมืองสำคัญทางตอนบน

    • ประการที่สอง การปกครองมีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 เขต
    1. บริเวณเมืองราชธานี ประกอบด้วยเมืองเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากทั้งสองเมืองตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันและอยู่ใกล้กัน กษัตริย์จึงปกครองโดยตรง


    2. บริเวณเมืองข้าหลวง อยู่ถัดจากเมืองราชธานีออกไป กษัตริย์จะแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครอง เจ้าเมืองซึ่งเป็นข้าหลวงนี้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนนางที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ก็มีบ้าง แต่เป็นส่วนน้อย เมืองสำคัญจะปกครองโดยเจ้าเชื้อพระวงศ์ ที่ใกล้ชิด เช่น เมืองเชียงราย กษัตริย์มักส่งโอรสหรือพระอนุชาไปปกครองเมืองอุปราช เจ้าเมืองมีอำนาจสูงสุดในการจัดการภายในเมืองของตน เช่น การแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งต่าง ๆ การจัดตั้งพันนา การค้าภายในเมือง การควบคุมกำลังไพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างข้าหลวงและกษัตริย์เป็นเพียงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล เมื่อเปลี่ยนรัชกาล ความสัมพันธ์ก็อาจเปลี่ยนไปด้วย
    3. บริเวณเมืองประเทศราช เป็นเขตเจ้าต่างชาติต่างภาษา ปกครองตนเองตามประเพณีท้องถิ่น เมืองประเทศราชเป็นรัฐตามชายขอบล้านนา เช่น เมืองเชียงตุง เมืองนาย เมืองยอง เนื่องจากประเทศราชอยู่ห่างไกลจึงผูกพันกับเมืองราชธานีน้อยกว่าเมืองข้า หลวง ครั้นมีโอกาสเมืองประเทศราชมักแยกตนเป็นอิสระหรือไปขึ้นกับรัฐใหญ่อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองราชธานีกับเมืองประเทศราชเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ อาจอาศัยระบบเครือญาติหรือการเกื้อกูลกัน

    ภายใต้การปกครองที่อาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติของรัฐ โบราณ เจ้าเมืองมักเป็นเชื้อพระวงศ์ที่กษัตริย์ส่งไปปกครองเมืองต่าง ๆ ลักษณะเช่นนี้คลี่คลายมาจากธรรมเนียมการสร้างบ้านแปลงเมือง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงแรกเมื่อรัฐขยายตัวการปกครองแบบนี้เป็นการรวมตัวอย่าง หลวม ๆ ของเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของอาณาจักรล้านนา เพราะลักษณะทางกายภาพอาณาจักรล้านนาเป็นรัฐในหุบเขา เมืองต่าง ๆ จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหุบเขาซึ่งกระจายตัว ดังนั้นรัฐล้านนาจำเป็นต้องสร้างเสถียรภาพตลอดมา โดยให้เมืองต่าง ๆ ที่กระจายตัวตามหุบเขายอมรับอำนาจศูนย์กลาง ความพยายามจะปรับการปกครองรัฐในหุบเขาจากการใช้ระบบข้าหลวงหรือระบบเครือ ญาติ ซึ่งพึ่งพาความสัมพันธ์ส่วนบุคคลไปสู่ระบบข้าราชการที่เป็นสถาบันไม่ประสบ ความสำเร็จในล้านนา ปัญหาโครงสร้างรัฐแบบหลวม ๆ นี้เป็นข้อจำกัดอย่างอย่างหนึ่งที่นำไปสู่ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนา
    • ประการที่สาม การรับวัฒนธรรมความเจริญ จากหริภุญชัย แคว้นหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมาช้านาน เมื่อพระญามังรายยึดครองหริภุญชัยสำเร็จ ได้นำความเจริญต่าง ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อไป เชื่อกันว่าอิทธิพลจากหริภุญชัยมีหลายอย่าง เช่น กฎหมายล้านนาอย่างมังรายศาสตร์คงรับความคิดมาจากกฎหมายธรรมศาสตร์ของมอญหริ ภุญชัย อย่างไรก็ตามหลังจากรับมาแล้ว รัฐล้านนาได้พัฒนาต่อไปมากเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น โดยเฉพาะตัวอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองมีต้นแบบมาจากอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านศิลปวัฒนธรรมหริภุญชัยพบว่าได้รับรูปแบบสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงสี่ เหลี่ยม และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งมักสร้างในสมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น เช่น เจดีย์กู่คำ เวียงกุมกามรับอิทธิพลจากกู่กุด
    อิทธิพลที่ชัดเจนมาก คือพระพุทธศาสนาของหริภุญชัย เพราะพระพุทธศาสนานิกายเดิมรับจากหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาสูง นับตั้งแต่พระญามังรายยึดครองหริภุญชัย ได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหริภุญชัย จนถึงสมัยพระญากือนามีความคิดจะสถาปนานิกายรามัญวงศ์ โดยอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัยเข้ามาเผย แพร่พุทธศาสนาในล้านนา และในสมัยพระญาสามฝั่งแกนได้เกิดนิกายสิงหล หรือลังกาวงศ์ใหม่มาจากลักกาอีกระลอกหนึ่ง พระพุทธศาสนาในล้านนาจึงมี 3 นิกายด้วยกัน อย่างไรก็ตามนิกายเดิมหรือนิกายพื้นเมืองที่ปริมาณพระภิกษุมากกว่านิกายอื่น พระพุทธศาสนาแนวหริภุญชัยมีบทบาทในล้านนาอย่างน้อยจนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย
    2. สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 1898 – 2068) ความ เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาพัฒนาการขึ้นอย่างเด่นชัดในราวกลางราชวงศ์ มังราย นับตั้งแต่สมัยพระญากือนา (พ.ศ. 1898 – 1928) เป็นต้นมา และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพระญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นช่วงยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เสื่อมลง
    ตั้งแต่สมัยพระญากือนา กิจการในพุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนมาก เห็นได้จากการรับนิกายรามัญจากสุโขทัยเข้ามาเผยแผ่ในล้านนา ทรงสร้างวัดสวนดอกให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของเมืองทางตนบน จึงมีพระสงฆ์ชาวล้านนาได้ให้ความสนใจศึกษาพระพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาที่ลึกซึ้ง โดยในสมัยพระญาสามฝั่งแกนมีพระสงฆ์กลุ่มหนึ่งไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา แล้วกลับมาตั้งนิกายสิงหลหรือลังกาวงศ์ใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดป่าแดงในเมืองเชียงใหม่ พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ไปเผยแพร่ศาสนายังเมืองต่าง ๆ ภายในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขยายไปถึงเชียงตุง เชียงรุ่ง สิบสองพันนา
    พระสงฆ์ในนิกายรามัญและนิกายสิงหลขัดแย้ง กันในการตีความพระธรรมวินัยหลายอย่าง แต่ก็เป็นแรงผลักดันนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะพระสงฆ์ในนิกายสิงหลเน้นการศึกษาภาษาบาลี ทำให้ศึกษาพระธรรมได้ลึกซึ้ง ดังนั้นหลังจากการสถาปนานิกายใหม่แล้ว พระพุทธศาสนาในล้านนาเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพระญาแก้ว ดังปรากฏการสร้างวัดวาอารามทั่วไปในล้านนาและผลจากภิกษุล้านนามีความรู้ความ สามารถสูง จึงเกิดการทำสังคายนาพระไตรปิฎกที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 สิ่งที่สำคัญในระยะนี้ คือการเขียนคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา คัมภีร์จากล้านนาได้แพร่หลายไปสู่ดินแดนใกล้เคียง เช่น ล้านช้าง พม่า อยุธยา งานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ในล้านนาประเภทตำนาน แพร่หลายตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยสำนึกประวัติศาสตร์ที่เป็นจารีตเดิม ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากงานเขียนจากสำนักลังกาที่พระสงฆ์นำเข้ามา งานเขียนประวัติศาสตร์สกุลตำนานในยุคนี้มีมากมาย เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ พื้นเมืองน่าน ตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานมูลสาสนา จามเทวีวงศ์ และชินกาลมีปกรณ์ เป็นต้น
    ผลงานวรรณกรรมพุทธศาสนาของพระสงฆ์ล้านนา ที่สำคัญได้แก่ พระโพธิรังสี แต่งจามเทวีวงศ์ และสิหิงคนิทาน รัตนปัญญาเถระ แต่งชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา พระสิริมังคลาจารย์ แต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น เวสสันดรทีปนี จักรวาลทีปนี สังขยาปกาสกฎีการ และมังคลัตถทีปนี พระพุทธเจ้าและพระพุทธพุกาม แต่งตำนางมูลสาสนา
    นอกจากนั้นยังมีปัญญาสชาดก (ชากด 50 เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง เข้าใจว่าในสมัยพระญาแก้ว ปัญญาสชาดกเป็นงานวรรณกรรมพุทธศาสนาที่แต่งทำนองเลียนแบบชาดกในพระไตรปิฎก แต่มีเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน เพราะเป็นชาดกนอกไตรปิฎก ปัญญาสชาดกเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น สมุททโฆสชาดก (นำมาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์) สุธนชาดำ (นำมาแต่งเป็นบทละครเรื่องมโนราห์) ปัญญาสชาดกแพร่หลายมากไปถึงพม่า มีการแปลเป็นภาษาพม่าในสมัยพระเจ้าโพธพระยา เมื่อ พ.ศ. 2224 พ ม่าเรียกปัญญา สชาดกว่า ซิมแม่ปัณณาสชาดก (เชียงใหม่ปัณณาสชาดก)
    ในช่วงสมัยรุ่งเรืองนี้พระพุทธศาสนาเจริญ ยิ่งดังปรากฏการสร้างวัดแพร่หลายทั่วไปในดินแดนล้านนา ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน และตามเมืองมีวัดหนาแน่ดังพบว่า เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายใน ปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนายังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านน้า วัดสำคัญ ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วย
    ในยุคเศรษฐกิจรุ่งเรือง ล้านนามีความมั่งคั่งด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีพัฒนาการร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพระญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายก้าวขวางไปไกล ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้ สะท้อนการค้าว่ามีหมู่พ่อค้าเมืองเชียงใหม่ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะตำแหน่งที่ตั้งเมืองนั้นคุมเส้นทางการค้า คือ เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตอนบนขึ้นไป เช่น รัฐฉาน สิบสองพันนา เชียงแสนจะนำสินค้าผ่านสู่เมืองเชียงใหม่แล้วจึงผ่านไปเมื่ออื่น ๆ ที่อยู่ทางใต้และทางตะวันตก ดังนั้น จึงพบหลักฐานกล่าวถึงพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่มีทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา เมืองเชียงใหม่คงมีผลประโยชน์จากการเก็บภาษีสินค้าสูงทีเดียว สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่รวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตนบนแล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง มอญ กษัตริย์มีบทบาทในการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วนให้ราชธานี ด้วยพระราชอำนาจจึงออกกฎหมายบังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามา ถวาย รูปแบบการค้าของป่า คือกษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำลับดูแลสินค้าชนิดต่าง ๆ เพราะพบตำแหน่งแสนน้ำผึ้ง ข้าหลวงดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด
    ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังเข้มแข็งดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบรัฐอยุธยา ดังทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้นทัพล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้

    3. สมัยเสื่อและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ. 2068 – 2101) ความ เสื่อของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พระญาเกศเชษฐาราชขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2068 จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน พ.ศ. 2101 ข่วงเวลา 33 ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง 4 ปี (พ.ศ. 2091 – 2094) เพราะขุนนางขัดแย้งกันตกลงกันไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ กษัตริย์สมัยเสื่อจะครองเมืองระยะสั้น ๆ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ
    ปัจจัยความเสื่อมสลาย เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่าง ๆ ในระบบเครือญาติ ซึ่งระบบนี้ใช้ได้ในระยะแรก ในที่สุดเมื่อรัฐขยายขึ้นจำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ ระบบเครือญาติ อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง ในช่วงนี้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอลง ขุนนางมีอำนาจเพิ่มพูน นอกจากนั้นขุนนางยังขัดแย้งกัน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือขุนนางเมืองราชธานีและขุนนางหัวเมือง แย่งชิงความเป็นใหญ่ ต่างสนับสนุนคนของตนเป็นกษัตริย์ ปัญหาการเมืองภายในล้านนาที่แตกแยกอ่อนแอมีผลต่อเศรษฐกิจ เพราะช่วงนั้นเศรษฐกิจตกต่ำมาก ความเสื่อภายในล้านนาเป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญ และมีปัจจัยภายนอกคือการขยายอำนาจของราชวงศ์ตองอูเป็นตัวเร่งให้อาณาจักร ล้านนาล่มสลายลง ในพ.ศ. 2101




    -http://www.openbase.in.th/node/6405-







    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    เจ็บคอ ‘กะหล่ำปลี’ ช่วยบรรเทา


    [​IMG]

    แก้เจ็บคอ บรรเทาอาการไอ กะหล่ำปลี ควงมาพร้อมแครอต และแอปเปิ้ล

    เชื่อว่าสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความชื้นที่มากับฤดูฝน คงเป็นตัวกระตุ้นอาการภูมิแพ้กำเริบ พาลพาให้รู้สึกคัดจมูก เป็นหวัด แถมอาการเจ็บคอยังติดสอยห้อยตามมาด้วย

    ‘มุมสุขภาพ-กินดี’ วันนี้ มีสูตรเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากผักและผลไม้ใกล้ๆ ตัว มาแนะนำให้ปรุงดื่มแก้เจ็บคอและบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก ซึ่งพระเอกในสูตรนี้ คือ ‘กะหล่ำปลีม่วง’ อันอุดมด้วยสารไฟโตเคมิคอล ซัลโฟราเฟน กลูโคซิโนเลต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และกรดโฟลิก สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ แถมสารอาหารในผักชนิดนี้ยังเป็นเกราะป้อนกันเซลล์มะเร็งด้วย

    ส่วนผักและผลไม้ที่สามารถช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียวให้จางลง และช่วยให้เครื่องดื่มสูตรนี้ดื่มได้ง่ายขึ้น คือ แครอตกับแอปเปิ้ล ซึ่งต่างก็มีสรรพคุณที่ช่วยเกื้อหนุนเสริมคุณค่ามากยิ่งขึ้น สำหรับ ‘แครอต’ ก็ยังช่วยบรรเทาอาการไอได้เช่นกัน ในผักสีส้มสวยนี้ มีเบต้าแคโรทีน ซัลเฟอร์ คลอรีน ส่วน ‘แอปเปิ้ล’ ช่วยลดไข้ แก้หวัด คัดจมูก เพราะมีวิตามินซี บี1 บี2 และบี6 นั่นเอง

    ส่วนผสมและสัดส่วนในสูตร เตรียมดังต่อไปนี้...
    • กะหล่ำปลีม่วง 1 ถ้วย
    • แครอต 1 ถ้วย
    • แอปเปิ้ลแดง 1 ถ้วย
    ขั้นตอนในการทำ เริ่มจากทำความสะอาดล้างผักและผลไม้ให้เรียบร้อย จากนั้นนำกะหล่ำปลีซอยเป็นชิ้นเล็กๆ แครอตกับแอปเปิ้ลหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดพอประมาณ นำส่วนผสมทั้งหมดไปสกัดพร้อมกันโดยใช้เครื่องสกัดน้ำผักและผลไม้ เมื่อได้น้ำผักและผลไม้สูตรนี้แล้ว จะเติมน้ำแข็งป่นสักเล็กน้อยช่วยให้ดื่มง่ายขึ้นก็ย่อมได้ แต่ไม่ควรเติมมากเกินไปเพราะจะทำให้ระคายคอ.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
    takecareDD@gmail.com



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=557&contentId=139818-


    .


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...