พระเครื่องบางส่วนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ที่ไม่มีให้บูชาแล้ว

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 10 พฤษภาคม 2007.

  1. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    องค์นี้คือสมเด็จเงินไหลมาฝังพระธาตุ ด้านหลังเป็นยันต์เกราะเพชร รุ่นนี้น่าจะเป็นลูกศิษย์สร้าง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010690.JPG
      ขนาดไฟล์:
      336 KB
      เปิดดู:
      91
    • P1010691.JPG
      ขนาดไฟล์:
      335.5 KB
      เปิดดู:
      76
  2. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    จุดสูงสุดที่เหมือนกันทุกๆท่านก็คือ คำสั่งสอน(พระธรรม)ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ท่านยอมเหน็ดเหนื่อยตรากตรำกว่าจะค้นพบสิ่งที่เป็นจริงในธรรมชาติและนำมาสอนกับเราทุกๆคน

    โมทนาสาธุในทุกๆบุญกับทุกๆท่านครับ

    .
     
  3. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รอลุ้นคำตอบอยู่นะครับคุณเพชร

    จะได้รู้ตัว ถ้าคำตอบผิด อย่าลืมกระซิบบอกกันก่อน จะได้เผ่นทัน คิคิคิ

    .
     
  4. sacrifar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +3,221
    ร่วมเกมด้วยครับ

    เป็น สมเด็จโตกับร.5 ครับ ฟันธง ! (หรือร.4 ไม่แน่ใจ)
     
  5. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ก่อนจะเฉลยลองมาอ่านตรงนี้กันก่อนดีไม๊ครับ..

    ที่มาของพระอริยสงฆ์รูปขวามือเป็นพระสายวิปัสสนาธุระ...

    พระพุทธศาสนามีธุระสำคัญ ๒ ประการ คือ <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ๑. คันถธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ ให้มีความรู้พระธรรมพระวินัย เพื่อดำรงรักษาตำราไว้มิให้ เสื่อมสูญ จะได้เป็นแบบแก่ผู้ต้องการปฏิบัติ<o:p></o:p>

    ๒. วิปัสสนาธุระ ได้แก่การศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา เพื่อให้รู้แจ้งธรรมและกำจัดกิเลส ออกจากจิตใจ<o:p></o:p>

    ธุระทั้งสองนี้ได้มีมาตั้งแต่แรกตั้งพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาได้ทรงแสดงธรรมและบัญญัติวินัยขึ้นแต่อย่างใด พระสาวกย่อมเอาธุระจดจำและสังวัธยาย บ่อยๆขณะเดียวกันก็เอาธุระปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้น จนสามารถรู้แจ้งธรรม และกำจัดกิเลสจากจิตใจได้เด็ดขาด โดยเอกเทศบ้าง โดยสิ้นเชิงบ้าง<o:p></o:p>

    ท่านผู้กำจัดกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว เรียกว่าพระอรหันต์ ย่อมเอาธุระจดจำพระพุทธวจนะ และช่วยพระ บรมศาสดาทำการอบรมสั่งสอนประชาชน<o:p></o:p>
    ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น จำนวน ๕๐๐ รูป ล้วนแต่ผู้สำเร็จอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณได้ชุมนุมกันรวบรวมพระธรรม พระวินัยที่พระบรมศาสดาทรงแสดงและทรงบัญญัติไว้ มาร้อยกรองจัดเข้าระเบียบ หมวดหมู่ สำเร็จเป็นคัมภีร์พระไตรปิฏก เป็นตำราของพระพุทธศาสนานำสืบกันมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้<o:p></o:p>
    พระพุทธศาสนาได้มาประดิษฐานในประเทศของเรา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๐๐-๔๐๐ โดยการนำของพระเถระ ๒ รูป คือ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ สมณวงศ์ในประเทศของเรา ไม่เคยปรากฏว่าขาดสูญ พระมหากษัตริย์ทรงเอาพระราชธุระ บำรุงพระพุทธศาสนาตลอดมาทุกสมัย ครั้นปรากฏว่าสมณวงศ์ในประเทศอื่นประพฤติดีงามน่าเลื่อมใส ก็เอาพระราชธุระอาราธนา มาซ่อมแปลง สมณวงศ์ในประเทศให้ดีงามขึ้นเช่น ในสมัยสุโขทัย พระร่วง เจ้าทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกามาไว้ในพระราชอาณาจักร กุลบุตรผู้เลื่อมใสก็ได้บรรพชาอุปสมบทในพระสงฆ์ชาวลังกา แม้พระภิกษุสามเณรบางองค์ ก็ได้บวชแปลง ใหม่ในพระสงฆ์ลังกาด้วย ในสมัยอยุธยาก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าพระสงฆ์แบบลังกา ได้รับพระราชูปถัมภ์ไว้ในพระราชอาณาจักร มีกุลบุตรเลื่อมใสศรัทธาบรรพชาอุปสมบทในคณะสงฆ์นั้นสืบมา ตั้งแต่แรกตั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงเสียกรุง<o:p></o:p>

    การคณะสงฆ์ในสมัยโบราณของประเทศเรา ได้แบ่งงานออกเป็นสองฝ่าย คือ <o:p></o:p>

    ฝ่ายคันถธุระ เรียกว่า คามวาสี เอาธุระทางศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายก ผู้รับสนอง พระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้น <o:p></o:p>

    ส่วนฝ่ายวิปัสสนาธุระ เรียกว่า อรัญญวาสี บ้าง วนวาสี บ้าง เอาธุระศึกษาอบรมทางสมถะ และวิปัสสนา มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายกผู้รับสนองพระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้นเช่นเดียวกัน<o:p></o:p>

    ระเบียบนี้ได้ดำเนินมาจนถึงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาจึงเปลี่ยนแปลงให้มีพระสังฆราชเพียงองค์เดียว แต่คงให้มีสังฆนายกสองฝ่าย คือ ฝ่ายคามาวาสีและอรัญญวาสี หรือเรียก อีกอย่างว่าฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ต่างก็รับสนองพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชไปบริหารงานในฝ่ายของ ตน<o:p></o:p>

    ระเบียบนี้ได้มีมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) เพิ่งเลิกล้มไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) โดยจัดการปกครองอนุโลมฝ่ายบ้านเมือง เจ้าคณะผู้บริหารการคณะในท้องถิ่น ย่อมมีหน้าที่บริหารทั้งทางคันถธุระ ทั้งทางวิปัสสนาธุระ เมื่อความเปลี่ยนแปลงทางฝ่ายบริหารเป็นอย่างนี้ ธุระทั้ง ๒ จึงได้รับความเอาใจใส่ไม่เท่ากัน งานฝ่ายคันถธุระได้เจริญก้าวหน้าไปมาก แต่งานฝ่ายวิปัสสนาธุระได้ซบเซาลง การที่ยังคงมีอยู่ก็โดยอุปนิสัยของพระเถรานุเถระ ผู้เห็นความสำคัญของงานฝ่ายนี้ ได้เอาใจใส่ปฏิบัติแนะนำศิษยานุศิษย์ในทางนี้สืบๆกันมา ภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกาชั้นแรก เอาธุระทั้งสองอย่าง หน้าฝนซึ่งเป็นฤดูกาลจำพรรษา ได้เอาธุระศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ พอตกหน้าแล้งมักเอาธุระทางวิปัสสนา ออกแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญสมณธรรม แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ผู้ทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกาขณะยังทรงผนวชอยู่ ก็ทรงเอาธุระทาง วิปัสสนาด้วย ได้เสด็จธุดงค์ไปถึงหัวเมืองเหนือ เช่น เมืองสุโขทัย เป็นต้น

    <o:p>พระเถระผู้ใหญ่ในคณะธรรมยุติการุ่นแรก มีชื่อเสียงทางวิปัสสนาธุระหลายรูป เช่น<o:p></o:p>
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร
    พระอมรา ภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส พระนคร
    พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน) วัดเทพนิมิตร ฉะเชิงเทรา
    ญาท่านพระพนฺธุโล (ดี) วัดสุปัฏน์ อุบลราชธานี
    และญาท่านพระเทวธมฺมี (ม้าว) วัดศรีทอง อุบลราชธานี
    รุ่นต่อมามีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ญาท่านเจ้า (เขียว) วัดราชาธิวาส และสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัส พระนคร เป็นต้น


    คัดลอกข้อมูลบางส่วนจาก:- กองทัพธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ โดย พระญาณวิศิษฎ์(สิงห์) พระอริยคุณคุณาธาร(เส็ง ปสโส)
    </o:p>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010605.JPG
      ขนาดไฟล์:
      312.8 KB
      เปิดดู:
      128
  6. คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    แต่เดิมนั้น เชื่อกันอย่างแพร่หลายมานานว่าเป็นพระบรมรูปของล้นเกล้า ร.5 ครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงหนังสือกับสมเด็จโต จวบจนปัจจุบันจึงมีผู้เผยแพร่ว่าไม่ใช่ โดยอ้างหลักฐานที่เพิ่งนำออกเผยแพร่เช่นกัน

    ฉะนั้นหากผู้สร้างถัดๆมา สร้างจากความเชื่อเดิมก็ต้องนับว่าเป็น ร.5 กับสมเด็จโตซิครับ ส่วนรูปภาพที่มีหลักฐาน พร้อมเนื้อหาบรรยายว่าเป็นคู่ศิษย์อาจารย์อื่นก็ต้องยึดถือตามที่มีคำอรรถาธิบายกำกับนั้น สำหรับภาพนั้นเท่านั้น

    คำตอบจึงอยู่ที่เจตนาของผู้สร้างครับ

    มาร่วมสนุกคิดเฉยๆครับ เพราะเลยกำหนดเวลาให้ร่วมตอบมาแล้ว
     
  7. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ต่อครับ...


    สมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ)

    สมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ)วัดโสมนัสวิหารเป็น สมเด็จพระวันรัตองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเป็นมหาเถระองค์หนึ่งในจำนวนพระมหาเถระ 10 องค์ผู้เป็นต้นวงศ์ธรรมยุติกนิกายเป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายใต้เป็นพระมหาเถระที่มีความ รู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นนักกรรมฐานที่ชอบธุดงค์ เป็นผู้ที่มีปฏิปทามุ่งพระนิพพาน และเป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัด ต่อพระธรรมวินัยมากท่านมีอาจารสมบัติที่ประทับใจ น่าเลื่อมใสและเป็นสมเด็จที่ทรงเกียรติคุณควรแก่ การเคารพบูชามากองค์หนึ่งของประเทศไทย
    ชาติภูมิ
    สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร มีนามเดิมว่า ทับ มีฉายาว่า พุทฺธสิริ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2349 ในรัชกาล ที่1 ณ. หมู่บ้านสกัดน้ำมันปากคลองผดุงกรุงเกษม ฝั่งตะวันออก ใกล้วัดเทวราชกุญชร กรุงเทพมหานคร โยมบิดาชื่อ อ่อน ผู้คนนิยมเรียกว่าท่านอาจารย์อ่อน โยมมารดาชื่อคง ท่านเป็นบุตรคนโตในตระกูล นี้ กล่าวกันว่าครอบครัวของท่านเป็นชาวกรุงเก่า แต่เมื่อกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าเมื่อพ.ศ. 2310 ก็ได้อพยพเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ
    การศึกษาเมื่อปฐมวัย
    ในรัชกาลที่ 2 เมื่อท่านมีอายุ 9 ขวบ ได้เข้าเรียนอักษรสมัยอยู่ที่วัดภคินีนาถแล้วต่อมาได้ เข้าเรียนบาลีโดยเรียนสูตรมูลกัจจายน์ อยู่ที่วัดมหาธาตุ คือได้เรียนบาลีตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้บวช ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพอพระราชหฤทัยในตัวท่านจึงทรงให้อุปการะใน การเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรม ของท่าน ทรงจัดสอบความรู้ผู้ที่เรียนสูตรเรียนมูลที่วังเนื่องๆ ท่านได้ไปสอบถวาย โปรดทรงประทานรางวัล จึงได้ทรงเมตตาในตัวท่านแต่นั้นมา
    การบรรพชาอุปสมบท
    ท่านได้บรรพชาเมื่ออายุเท่าไร ยังไม่ปรากฎหลักฐาน ทราบแต่ว่าท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสังเวชวิศยาราม บางลำภู ครั้นได้ บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว รัชกาลที่3ในสมัยที่ยังดำรง พระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงโปรดให้ท่านไปอยู่ที่วัดราชโอรส อันเป็นวัดที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น ครั้นเมื่ออายุครบอุปสมบทแล้ว คุณโยม ของท่านจึงให้ท่านมาอุปสมบทที่วัดเทวราชกุญชรอันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ บ้านเดิม ท่านจึงได้อุปสมบทเมื่อปีจอ พ.ศ. 2369 ที่วัดเทวราชกุญชร โดยมีพระ ธรรม วิโรจน์ (เรือง) วัดราชาธิวาส เป็นอุปัชฌาย์ พระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) วัดโมกฬีโลกยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยมุนี(คง) วัดอรุณราชวราราม เป็นพระอนุกรรมวาจาจารย์ เมื่อบวชแล้วก็ได้อยู่ในสำนัก พระธรรมวิโรจน์ที่วัดราชาธิวาส ตั้งแต่นั้นมาท่านได้ไปอยู่และศึกษาเล่า เรียนในสำนักอาจารย์ นพรัตน์ ที่วัดไทรทอง (วัดเบญจบพิตร) บ้าง ที่พระมหาเกื้อวัดชนะสงครามบ้างเนืองๆ
    สอบได้เปรียญ 9 ประโยค
    ลุถึงปีวอก พ.ศ. 2379 เมื่อท่านมีพรรษา 11 อายุ 31 ปี ยังเป็นพระอันดับอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะที่ทรงผนวช) เสด็จไปครอง วัดบวรนิเวศวิหารและในสมัยนั้นพระสงฆ์วัดราชาธิวาสมีทั้งพระมหานิกายและพระธรรมยุตอยู่ด้วยกัน แต่อธิบดี สงฆ์เป็นมหานิกายจึงได้โปรดให้ท่านอยู่ครองฝ่ายธรรมยุตที่วัดราชาธิวาส ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารเรียบร้อยแล้ว จึงโปรดให้ท่านเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ครั้งแรกท่านแปลได้ถึง ๗ ประโยค แล้วท่านไม่แปลต่อ รอมาอีกระยะหนึ่งจึงเข้าแปลได้อีก ๒ ประโยค รวมเป็น ๙ ประโยค หลังจากท่านเป็นเปรียญ ๙ อยู่ไม่นาน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงแต่งตั้งท่านเป็นพระราชาคณะที่พระอริยมุนีและท่านคงอยู่ที่วัดราชาธิวาสต่อมา
    เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดโสมนัสวิหาร
    หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลาผนวชและขึ้นครองราชย์ในปี ๒๓๙๔ แล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างวัดโสมนัสวิหารขึ้น ด้วยพระราชทรัพย์ของพระนางโสมนัสวัฒนาวดี อัครมเหสีของพระองค์ ได้พระราชทานนามว่า วัดโสมนัสวิหาร โดยทรงวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๖ ทรงสร้างเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชั้นราชวรวิหาร ในเนื้อที่ ๓๑ ไร่เศษ ครั้งสิ่งก่อสร้างสำเร็จลงบ้าง พอเป็นที่อาศัยอยู่จำพรรษา ของภิกษุสามเณรได้บ้างแล้ว ใน พ.ศ. ๒๓๙๙ พระองค์ก็ได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระวันรัต ในสมัยที่ยังเป็นพระอริยมุนี จากวัดราชาธิวาส พร้อมด้วยคณะสงฆ์ประมาณ ๔๐ รูป โดยขบวนแห่ทางเรือ ให้มาอยู่ครองวัดโสมนัสวิหาร ท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้ ท่านปกครองวัดโสมนัสวิหารมาจนกระทั่งได้ถึงมรณภาพลงเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • tub2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.7 KB
      เปิดดู:
      110
  8. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ภาพนี้เปรียบเทียบกับด้านหลังขององค์พระที่ลูกศิษย์สร้างถวายหลวงพ่อ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Npitaya.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.6 KB
      เปิดดู:
      97
    • P1010677.JPG
      ขนาดไฟล์:
      395.5 KB
      เปิดดู:
      405
    • P1010605.JPG
      ขนาดไฟล์:
      312.8 KB
      เปิดดู:
      98
  9. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ความถูกต้องคือ เป็นสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร และพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ครับ...

    ความเชื่อคือ เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตราราม และรัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวง

    การสร้างพระของลูกศิษย์เพื่อถวายหลวงพ่อเป็นการสร้างด้วยความเชื่อ กอปรกับคนไทยส่วนมากมีความผูกพันกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 ค่อนข้างมาก

    แต่อย่างไรก็ตามหากความเชื่อนั้นไม่ค่อยถูกต้อง เราคงต้องช่วยกันแก้ไขให้ถูกต้องแม้จะใช้เวลาอยู่บ้างก็ตาม กรณีนี้อาจเป็นตัวอย่างให้กับกรณีอื่นได้หากเหตุการณืนั้นมีความเป็นประวัติศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่เช่นนั้นประวัติศาสตร์อาจถูกบิดเบือน การสืบทอดแนวทางที่ถูกต้องควรมีศรัทธาจริต ควบคู่ความรู้ปัญญาญานครับ...

    ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่เข้ามาแสดงความเห็นกันนะครับ ต่างความเห็นแต่ก็ยังสามารถร่วมอุดมการณ์เดียวกันได้ครับ...
     
  10. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948


    กราบนมัสการสมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ)
    กราบ กราบ กราบ

    กราบกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ท่านผู้ซึ่งนับได้ว่าเป็นปราชญ์คนหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ครับ
    กราบ

    .
     
  11. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระพิมพ์ผมขอสละสิทธิ์ให้ท่านอื่นนะครับ

    แต่ผมจะไปขอกับน้องกวงสุดหล่อแทน ขอบคุณมากครับ

    .
     
  12. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    รอดแล้วครับท่าน รอดถูกพวกรุมแล้วครับ

    (b-oneeye)
     
  13. sacrifar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +3,221
    ได้ความรู้มากๆครับ เข้าใจผิดมาตลอดเลย
     
  14. คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    เห็นว่าคงจะยกย่ององค์ความรู้ที่แท้จริงกัน จึงขอสนุกคิดต่ออีกหน่อยครับ

    สิ่งที่เชื่อกันมาแต่เดิมยังถูกเปลี่ยนได้ หลักฐานใหม่นี้เล่าจะเชื่อได้เพียงใด

    ตั้งข้อสังเกตความน่าจะผิดธรรมชาติ ดังนี้

    1.เด็กในภาพมีกริยาผิดขนมธรรมเนียมประเพณีโบราณโดยเฉพาะ
    อย่างยิ่งในหมู่ผู้มีสกุลรุนชาติ ซึ่งไม่พึงทำ"หน้าเป็น"อันผิดกริยางาม
    ที่ผู้น้อยพึงปฏิบัติต่อครูอุปัชฌาย์อาจารย์

    กริยาดังกล่าวคงไม่เป็นสะดุดใจเด็กรุ่นใหม่ แต่ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะ
    รู้สึกขัดตามาก

    2.จากกริยาท่าทางของท่านที่อยู่ในภาพถ่าย ดูเป็นธรรมชาติในลักษณะ
    snap shot เหมือนภาพถ่ายโดยกล้องสมัยปัจจุบัน ขัดธรรมชาติของ
    กล้องรุ่นโบราณ ที่จะต้องเปิดหน้ากล้องนานเกินกว่าจะถ่ายภาพ
    snap shot ได้ หากเปรียบเทียบกับภาพถ่ายยุคเดียวกัน จะเห็นว่าผู้
    ที่อยู่ในภาพถ่ายยุคนั้น มักจะมีแต่การตั้งท่า เกร็ง หน้าเครียดกันทั้งสิ้น

    ด้วยเหตุนี้โดยส่วนตัวจึงยังไม่ปักใจเชื่อข้อมูลใหม่นี้นักครับ
     
  15. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เห็นด้วยครับที่จะลองขยายองค์ความรู้ออกไป(คือการวิเคราะห์) เพราะเนื่องจากร่องรอยทางประวัติศาสตร์ไม่ชัด การสันนิษฐานย่อมทำได้ แต่ต้องอิงกับความจริงที่มีหลักฐานชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรที่พอจะใช้อ้างอิงได้ครับ(เดาอย่างมีหลักการที่สอดคล้องกัน เหมือนคำถามคำตอบที่ถูก lock หัว lock ท้ายไว้แล้ว แต่ตรงกลางหายไป การต่อตรงกลางนั้นควรจะปะติปะต่อร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกัน)

    ความจริงตำราที่นำภาพมาลงในเล่มนี้ ผมใช้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากไม่สามารถหาภาพได้จากที่ไหนที่ผมต้องการได้ในขณะนี้แล้ว แต่คุ้นมากว่าเคยเห็นที่ไหนมาซักแห่ง มีข้อความบางส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยในตำราเล่มนี้คือ

    วิเคราะห์รูปพระสงฆ์

    1.กล่าวว่า สมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหารนี้เป็นผู้เสกพระกริ่งปวเรศ เพราะที่ถูกต้องน่าจะเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์มากกว่า

    2.จากการสืบค้นพระประวัติของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ มีพระประวัติช่วงแรกคือปีพ.ศ. 2434-2436 นั้นได้ทรงผนวชเณรโดยพระอุปฌาชย์คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสสเทว) วัดราชประดิษฐ์ ขณะนั้นน่าจะมีพระชันษา 15 พรรษา ซึ่งพระสังฆราชองค์นี้มีความเกี่ยวพันกับพระราชวังหน้าอยู่มาก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์เป็นพระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์ที่ 5) บุคคลในภาพน่าจะเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสสเทว) วัดราชประดิษฐ์ มากกว่า สมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร หากดูตามช่วงพระประวัติ

    3.เทียบเคียง"ใบหน้าของพระอริยสงฆ์องค์นี้"แล้ว น่าจะใกล้เคียง สมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร มากที่สุด ไม่มีส่วนคล้าย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(สา ปุสสเทว) วัดราชประดิษฐ์ และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

    จากภาพผมไม่ทราบว่า"หน้าเป็น"เป็นยังไง? ผมเห็นว่าพระองค์ท่านนั่งพับเพียบตั้งใจฟังท่านดีออก ธรรมดาครูอาจารย์สอนศิษย์ การก้มหน้าก้มตา ผมคิดว่าคงจะไม่ใช่คุณสมบัติของเจ้านายชั้นสูงนะครับ การจ้องมองใบหน้าอาจารย์น้อมรับฟังด้วยความตั้งใจ และความเคารพจากท่าทีการนั่งพับเพียบ ผมก็ว่าถูกต้องแล้ว โบราณว่า"ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ" ผมคิดว่าสาระสำคัญนี้น่าจะอยู่ที่"ดวงตา"มากกว่า"หน้าตา" จากภาพผมรู้สึกว่า พระอริยสงฆ์รูปนี้ใบหน้าสายตาพระองค์ท่าน(เพียงแต่ไม่ทราบว่ามองไปที่ตัวอักษร หรือใบหน้าศิษย์) ท่าทางการชี้ไปที่อักษรในคัมภร์ใบลานนั้นก็เป็นท่าทีของการแนะนำสอนสั่งศิษย์ กลับกันหากศิษย์พระองค์นี้กลับก้มหน้าก้มตา อันนี้ชัดเจนเลยว่าเป็นการไม่ตั้งใจอย่างแน่แท้ หรือเพื่อนๆเห็นยังไงกันครับ...

    พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ได้ทรงพระนิพนธ์ลิลิต "สามกรุง" สดุดีพระเกียรติเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 ดังนี้

    พระปิยมหาราช





    <TABLE cols=2 width="90%"><TBODY><TR><TD width=276>[SIZE=+1]๏ สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า[/SIZE]
    [SIZE=+1]นึกพระนามความหอม[/SIZE]
    [SIZE=+1]อวลอบกระหลบออม[/SIZE]
    [SIZE=+1]เพราะพระองค์ทรงอุ้ม[/SIZE]


    </TD><TD>[SIZE=+1]จุลจอม จักรเอย[/SIZE]
    [SIZE=+1]ห่อหุ้ม[/SIZE]
    [SIZE=+1]ใจอิ่ม[/SIZE]
    [SIZE=+1]โอบเอื้อเหลือหลาย ๚[/SIZE]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER> จากลิลิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    กริยางามของคนโบราณที่ปกติต้องหมอบกราบ"ผู้ใหญ่" จะไม่จ้องหน้า"ผู้ใหญ่" ยิ้มให้อย่างเปิดเผย เห็นฟันขาวเหมือนสมัยปัจจุบัน กริยาอย่างนี้สมัยก่อนเรียกว่า "หน้าเป็น" และ "ไม่งาม" ครับ

    คนสมัยก่อนอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ จะก้มหน้าก้มตาจริงๆครับ อาการก้มหน้ายิ้ม หรือก้มหน้า-ปิดหน้าหัวเราะในกรณีที่ทนไม่ไหวจริงๆ เป็นอากัปกริยาที่พบเห็นได้เป็นปกติ ถ้าอ่านนิยายรุ่นปู่รุ่นย่า จะพบสำนวน "ยิ้มน้อยๆแต่พองาม" อยู่บ่อยๆ เพราะถ้ายิ้มอย่างกว้างขวางเห็นฟันทุกซี่ หรือหัวเราะสุดเสียงจนเห็นลิ้นไก่ ท่านเรียกว่าเป็นกริยาของ "ม้าดีดกะโหลก" ครับ ยิ่งถ้ากระทำโดยเด็กสาวมีสกุล จะถูกผู้ใหญ่กระหนาบดุว่า "หมดราคา" ทันที

    สังเกตรูปภาพโบราณของชาววังซิครับ มักทำหน้าเฉยๆกันทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดยอมยิ้มให้เห็นฟันเลย

    แหม ไม่มอบพระให้ท่านที่เข้ามาตอบ เพราะผม เดี๋ยวท่านก็รุมตื้บผมเท่านั้นแหละ
    คงยังหาข้อยุติไม่ได้ง่ายๆหรอกครับ เพราะเป็นหลักฐานใหม่ที่ยังต้องสืบค้น ขยายผล
    ตามหลักวิชาการจริงๆ จึงจะพอยึดถือเป็นทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ได้บ้าง
     
  17. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณคนแก่ เอ๊ย! เก่า สงสัยว่าจะเคยไปอ่านตำรานพลักษณ์ของท่านอ.จ.พลูหลวงมาแน่แท้ ถึงได้วิเคราะห์เจาะกิริยาได้อย่างแจ่มชัด 5555...

    แก๊งค์ลอกข้อสอบนี่ต้องลงโทษให้คอยไปจนได้หลักฐานแน่ชัดก่อนครับ หากอยากได้ไวๆ ต้องมาร่วมกันเจาะกิริยาแบบคุณคนเก่านะขอรับ...
     
  18. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ลักษณะของการถ่ายรูปในสมัยโบราณนั้น จะยึดถือรูปของท่านผุ้ที่ถ่ายรูปกล่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้ เนื่องจากว่า ผู้ที่ถูกถ่ายรูปนั้น หากเป็นผู้ที่หัวโบราณจริงๆ ลักษณะการวางตนเองก็จะอย่างหนึ่ง ส่วนท่านผู้ที่หัวสมัยใหม่ จะมีลักษณะการวางตนเองอีกอย่างหนึ่ง เช่นรูปของกรมหลวงชุมพรฯ ,รูปของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ , รูปของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ,รูปของรัชกาลที่ 4 , 5 รูปของขุนนาง ,รูปของเพระบรมวงศานุวงศ์

    ในสมัยนั้น แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ผมจำมาเพียง 2 กลุ่มก็คือ กลุ่มอนุรักษ์นิยม(ประกอบด้วยองค์ผู้สำเร็จราชการแทนรัชกาลที่ 5 และกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) และกลุ่มคนรุ่นใหม่(กลุ่มของรัชกาลที่ 5) ดังนั้นการประพฤติ การปฎิบัติตนต่างๆ ย่อมแตกต่างกัน แต่ก็ไม่ทิ้งประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม เช่นการถ่ายรูประหว่างรัชกาลที่ 5 กับกรมหลวงชุมพรฯ ถ้าเป็นประเพณีดั้งเดิม กรมหลวงชุมพรฯต้องนั่ง แต่ในรูปถ่ายที่ปรากฎกลับกลายเป็นการยืน เป็นต้น

    เรื่องรูปที่ถ่ายนั้น คงไม่มีหลักฐานอันใดที่ชัดเจน(หลักฐานที่เชื่อถือได้ เช่นพงศาวดาร ,จดหมายเหตุ เป็นต้น) บ่งบอกว่าเจ้าของรูปนั้นคือใคร แต่คงใช้การเทียบเคียงอย่างที่คุณเพชรได้แจ้ง ผมเองมีรูปรัชกาลที่ 5 ทรงผนวชปี พ.ศ.2416 ซึ่งอายุของพระองค์ท่านคือ 20 ปี และรูปรัชกาลที่ 5 ทรงผนวชเป็นสามเณร ผมเองพอทราบเค้าโครงหน้าของพระองค์ท่าน เมื่อนำมาเทียบเคียงกับพระกุมารในรูปแล้วมีความแตกต่างกันครับ
     
  19. คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,055
    นั่นไง โดนซะ

    All good things take time. นะครับท่าน

    ว่าแล้วก็ต้องยกหลักฐานมายืนยัน

    เมื่อยามยิ้มก็ยิ้มไว้แต่ในพักตร์
    อย่ายิ้มนักเสียสง่าพาสลาย
    อย่าเท้าแขนเท้าคางให้ห่างกาย
    อย่ากรีดกรายกรองเพลาะเที่ยวเราะเริง

    จากสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ครับ ยืนยันว่าถ้ายิ้มสุดปาก
    แบบนางงามในยุคปัจจุบัน โบราณท่านไม่นิยม

    ด้วยเหตุนี้ในนิยายรุ่นเก่าๆ ก็จะปรากฎสำนวน"ยิ้มในใบหน้า"บ้าง
    "เบือนหน้ายิ้ม"บ้าง "ก้มหน้ายิ้ม"บ้าง ด้วยเหตุที่เป็นขนบโบราณ
    มีขีดจำกัดการยิ้มครับ
     
  20. sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ว่าแล้วก็ต้องตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ

    สุนทรภู่นั้นเป็นกวีเอก คงต้องนับว่าเป็นกวีเอกคนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งการเขียนออกมาเป็นกลอน เราคงไม่รู้ว่าสุนทรภู่นั้นคิดอย่างไรจริงๆ แต่คงน่าจะเป็นความชอบส่วนบุคคลของสุนทรภู่เอง จึงเขียนออกมาเป็นกลอน แต่บางครั้งกลอนที่สุนทรภู่เขียนก็เกิดจากการได้เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดประทับใจก็มี คาดเดายากสำหรับความคิดของคนครับ

    .


    .
     

แชร์หน้านี้