พระไตปิฏก เปรียบเหมือนแผนที่ สำหรับผู้ต้องการเดินทาง
จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง (จากโลกียะ ไปโลกุตระ)
บางท่านออกเดินทาง คือนำไปประพฤติปฏิบัติ จนสามารถข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งได้
ท่านเรียก พระอริยะบุคคล แบ่งเป็น มรรค ๔ ผล ๔ หรือ พระสุปฏิปันโน ก็เรียก
บางท่านไม่กล้าออกเดินทาง ไม่ประพฤติปฏิบัติ แต่เชี่ยวชาญในแผนที่ จึงไม่สามารถข้ามไปยังอีกฝั่งได้
แต่เต็มไปด้วยความรู้ที่เกิดจาก "สัญญา"
ชอบจับผิดผู้อื่น มักทำตัวเป็นกองปราบ แบกตำราแบกคำภีร์ ไปปราบคนนั้น ปราบคนนี้
ปราบพระองค์นั้น ปราบพระองค์นี้ ท่านเรียก "โปฏิละ" ใบลานเปล่า ..
:cool:
พระไตรปิฎก เปรียบเหมือนแผนที่
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 4 กันยายน 2011.
-
-
เรียนถาม จขกท คะ
มรรค ๔ ผล ๔ คืออะไร
ความรู้ที่เกิดจาก สัญญาและ ปัญญา ต่างกันอย่างไรค่ะ
ขออนุโมทนา สาธุคะ :cool: -
มรรค 4 ได้แก่ พระโสดาบันฎิมรรค พระสกิทาคามีมรรค พระอนาคามีมรรค พระอรหันตมรรค
ผล 4 ได้แก่ พระโสดาบันฎิผล พระสกิทาคามีมรรค พระอนาคามีมรรค พระอรหันตมรรค
ความรู้ที่เกิดจากสัญญา มาจากการจดจำในพระธรรมเหล่านั้นครับ
ความรู้ที่เกิดจากปัญญา มาจากการสัมผัสรับรู้ด้วยความเป็นจริงครับ
ซึ่งให้ผลแตกต่างกันครับ ความรู้จากการจดจำ แก้ไขปัญหาได้เพียงที่จดจำเท่านั้น
แต่ความรู้จากปัญญา แก้ไขปัญหาได้เพราะมีความเข้าใจ ในเหตุที่เกิดขึ้นครับ
อนุโมทนา จขกท ครับ -
โสดาปฏิมรรค ไปสู่ โสดาปฏิผล
สกิทาคามีมรรค ไปสู่ สกิทาคามีผล
อนาคามีมรรค ไปสู่ อนาคามีผล
อรหันต์มรรค ไปสู่ อรหันต์ผล
ความรู้ความเห็นที่เกิดจาก "สัญญา"และ"ปัญญา" ต่างกันราวฟ้ากับดิน
ความรู้ความเห็นจาก "สัญญา" เป็นไปเพื่อความทะนงตน ยกตนข่มผู้อื่น มีทิฏฐิมาก
ไม่ยอมลงให้ใคร เพราะสำคัญมั่นหมายว่า "ตนรู้มากกว่าคนอื่น" ความรู้จาก สัญญานี้ ส่วนใหญ๋
"เป็นไปเพื่อเอาชนะผู้อื่น"
ความรู้ความเห็นที่เกิดจาก "ปัญญา" เป็นไปเพื่อ ละทิฏฐิ ความเห็นผิดทั้งหลาย
เพื่อถอดถอน ปล่อยวาง กิเลสตัณหาทั้งมวล ความรู้ที่เกิดจาก ปัญญา นี้
"เป็นไปเพื่อเอาชนะตน"
ขอบคุณ คุณ oatthidet ด้วยครับ สาธุ
:d -
เมื่อเจริญอนิจจสัญญา ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อเจริญทุกขสัญญา ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อเจริญอนัตตาสัญญา ย่อมละอัตตสัญญาได้
สัญญาเหล่านี้เจริญแล้วมีผลมาก มีอานิสงค์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด
เจริญได้ด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นหัวหน้า -
-
อันความเป็นปกติ ความรู้ที่เกิดจากปัญญา จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้ผ่านความรู้จากสัญญามาก่อน....
การจะตีความแต่ว่า สัญญา ความจำได้หมายรู้อย่างเดียว มีได้เพื่อชนะคนอื่นอย่างสุดโต่ง อย่างนี้ก็ไม่เป็นเหตุอันควร....
อย่าลืมว่าสิ่งที่เราพูดกันมาทั้งหมด....มีอะไรบ้างที่เราไม่ได้เอาสัญญามาพูด...ถึงมีสถาวะปัญญาด้านการปฏิบัติ ต่อให้สื่อธรรมออกมา มันก็คือสัญญาอยู่ดี...เพราะปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ ไม่มีสมมุติบัญญัติเรียกขาน... จริงๆแล้วมันเป็นไปไม่ได้หลอกนะครับที่จะเลี่ยงออกจากกัน......
สำหรับผม สุตมยปัญญา (ปัญญาอันเกิดจากการ ฟัง อ่าน) กับ จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดจากความคิด ไม่ใช้ความคิดฟุ้งซ่าน ความฝันเลื่อนลอย แต่เป็นความคิดจัดระบบข้อมูล ข้อมูลนี้ ได้มาจาก การอ่านการฟังนั่นเอง) ตลอดจนถึง ภาวนามยปัญญา ย่อมมีความสำคัญหมดหละครับ....ไม่ว่าด้านใดในโลก แม้แต่ในเรื่องการปฏิบัติธรรมก็ตาม...
ทำไมคนสมัยนี้ชอบใช้หลายชื่อกันจัง... -
ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวท ครับ -
ธรรมนั้นหละครับ....ที่สมเด็จท่านทรงมอบให้แก่พวกเราไว้.... -
ความรู้ความเห็นที่เกิดจาก สัญญา เป็นไปเพื่อ เอาชนะคนอื่น
ความรู้ความเห็นที่เกิดจาก ปัญญา เป็นไปเพื่อ เอาชนะตน
แหะ..พอจะยกตัวอย่างได้ไหมครับ
ขอโมทนาครับ -
ความรู้จากการรู้เห็นความเป็นจริง จะนำมาซึ่งการเพ่งโทษตนเอง -
ขออนุโมทนากับคุณภานุเดชครับ
เมื่อเรียนก็เรียกว่าปริยัติ
เมื่อมีปริยัติก็ต้องจำ
เมื่อจำก็นำไปปฏิบัติ
เมื่อปฏิบัติก็ให้ถึงแก่นธรรมคือปฏิเวธ
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะแยกกันได้อย่างไร<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
__________________
<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว<!-- google_ad_section_end -->
เมื่อไม่เรียนแล้วจะรู้ได้อย่างไร
เมื่อไม่รู้แล้วจะไปปฏิบัติอย่างไร
เมื่อปฏิบัติโดยไม่รู้แล้วปฏิเวธจะเกิดขึ้นได้อย่างไร -
-
สมมติ ก็คือสมมติอยู่ดี ทั้งรูป ทั้งนาม
-
รูปนามเป็นของเท็จ เป็นมายา
-
ไม่ว่าสิ่งใด หากคิดจะทำลายแล้ว คงต้องหาให้พบเจอเสียก่อน ว่าสิ่งนั้น อยู่ที่ไหน
หากหาไม่พบเจอ แม้ต้องการจะทำลาย จะทำลายได้อย่างไร
สิ่งนี้เที่ยง มีความเข้าใจไหมว่าเที่ยงอย่างไร
สิ่งนี้ไม่เที่ยง มีความเข้าใจไหมว่าไม่เที่ยงอย่างไร
ฉนั้นต้องศึกษาค้นคว้า ร่ำเรียนปฎิบัติ แสงหาให้พบเจอเสียก่อน
เรียนรู้ให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเสียก่อน จึงจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างท่องแท้
ว่าเที่ยง ไม่เที่ยง อย่างไร ใช่ฟังแต่เขาว่ามาเช่นนี้ ตำรามีบันทึกไว้เช่นนี้
ครั้นจะกล่าวในสิ่งที่ตนเองนั้นไม่มี พอมีคนถามถึงเหตุที่มา ที่ไป จักตอบได้หรือไม่
เมื่อปริยัติ จนเข้าใจแล้ว ควรที่จะปฎิบัติให้เห็นอย่างท่องแท้ จึงจะสำเร็จเป็นปฎิเวท
ดั่งที่ จขกท ยกมากล่าวไว้นั้น เป็นสิ่งที่ควรแล้ว ตัวอย่างก็มีกล่าวเอาไว้ดีแล้ว -
ทำแค่นี้ ก็สุดๆและครับ
ทำเพื่อละความเห็นผิด ว่ากายนี้ ใจนี้ เป็นของเราเป็นตัวเป็นตน
เพื่อให้เห็นทุกสิ่งที่ปรากฎ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งคืน คงตัวตนไว้ไม่ได้
oatthidet:cool: