ภาพเจ้าเมืองเก่าๆ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย atataya, 12 มกราคม 2008.

  1. โยนกนาคบุรี

    โยนกนาคบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,694

    อ๋อกบฎเงี้ยวไม่ขอเล่านะครับ เพราะที่เท่าสังเกตุมาผมโดนดจมตีเรื่อง ทรงเจ้า เข้าผี ประเพณีฟ้อนผีล้านนา ซึ่งมันเป้นศรัทะสูงค่าของชาวล้านนามาตั้งแต่อดีต ถ้าเราผมก็โดน เพราะว่ากบฎตอนนั้นไม่มีทหารไทยทำอะไรได้ เพราะ
    ชาวเงี้ยวเขามีคาถา มีอาคม จนทิ้งไว้ให้เป้นประเพณีให้ลุกหลานนะครับ คร่าว ๆๆ

    เจ้าพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่องค์สุดท้าย
    [​IMG]

    แม่เจ้าบัวไหล ชายาเจ้าพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่
    [​IMG]


    http://www.bbznet.com/scripts/board.php?user=pooja

    โพสเวปตัวเองดีกว่าใครสนใจตามไปนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. atataya

    atataya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +278
    ขอบคุณ คุณโยนกนาคบุรีที่ให้ความกระจ่างมากขึ้นครับซึ่งเปนวิทยาทานอย่างมาก
    ซึ่งข้อความที่ผมโพสข้างต้นผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ โดยตัวผมเป็นคนรุ่นหลังจึงไม่ค่อยรู้อะไรแจ่มแจ้งมากนัก
    5เชียงที่คุณโยนกกล่าวไว้ข้างต้นคือ
    1เชียงใหม่
    2เชียงแสน
    3เชียงทอง หรือหลวงพระบางซึ่งปัจจุบันขึ้นกับลาว
    4เชียงตุง ปัจจุบันขึ้นกับพม่า
    5เชียงรุ่ง หรือเชียงรุ้งปัจจุบันขึ้นกับจีน ครับ
     
  3. ราศีสิงห์

    ราศีสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    815
    ค่าพลัง:
    +2,118
    ภาพเก่าจริงครับขอบคุณมากๆครับ
     
  4. FenderMan

    FenderMan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +566
    ขอบคุณครับที่ตอบคำถาม ผมสงสัยที่ว่า เมื่อก่อนมีพระราชอิสริยยศกัน แต่ตอนนี้ ก็เป็น ณ เชียงใหม่กันหมด เอางี้เจ้าชาย หรือ ใครที่ดำรงพระราชอิสริยยศสืบต่อมาจากเชียงใหม่ ณ ปัจจุบัน มีอำนาจในการปกครองไหมครับ ถ้าไม่มี แล้วอำนาจการปกครองนั้นเสื่อมลงตอนไหน เช่นเจ้ากอแก้ว เรียกกันเจ้ากอแก้ว แต่ผมทราบมาว่าเจ้ากอแก้วมีับัตรประชาชน มีชื่อเหมือนคนปกติขึ้นต้นด้วย นาง นางสาว แต่นามสกุล ณ เชียงใหม่เท่านั้น และ ที่บอกว่าอาณาจักรล้านนายังเป็นประเทศ ที่ประเด็นที่ผมพูดนั้น เฉพาะเชียงใหม่หรืออีกเมืองเหนือตอนนั้นเป็นของไทยแล้วนี่ครับ อำนาจในการปกครองก็อยู่ที่ไทย แต่เจ้าเืมืองเป็นคนปกครอง แต่อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ไทยอีกที
    เพราะดูจากสีภาพแล้วมันไม่ได้นานมาก เพียง ไม่ถึงเกือบร้อยปีที่แล้วมั้ง

    อีกอย่างผมว่า เราแตกประเด็นมาเยอะๆก็ดีนะครับ นานาสาระดี อย่าว่าผมเลยที่ถามมาก อิอิ ก็ผมไม่มีความรู้เรื่องเจ้าเมืองเหนือเลย ผมศึกษาแต่กรุงศรีสุโขทัยและธนบุรี และ รัตนโกสินตอนต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2008
  5. เทวดาท่าจะบ๊อง

    เทวดาท่าจะบ๊อง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE width="100%" background=Img/bg22.jpg><TBODY><TR bgColor=#ffff00><TD align=middle>[​IMG] [SIZE=+3]ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ [​IMG][/SIZE]</TD></TR><TR><TD>[SIZE=+2]ประวัติศาสตร์ดินแดนล้านนา : เมืองเชียงใหม่[/SIZE]
    [SIZE=+2][​IMG] ดินแดนล้านนา [/SIZE]
    [SIZE=+2]หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติหรือทางวัฒนธรรม ในอดีต รัฐโบราณไม่มีอาณาเขตชัดเจน แต่ในสมัยที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง เคยมีอิทธิพลแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง ไปถึงดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองพันนา และรัฐชานตอนใต้ สำหรับดินแดนที่สำคัญของล้านนาอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อย [​IMG] แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญมี เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา เมืองด้านล้านนาตะวันตกนี้มีความสัมพันธ์ ร่วมกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ส่วนกลุ่มล้านนาตะวันออก มีเมืองแพร่และเมืองน่าน ทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือ ในสมัยแรกเริ่ม ต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีราชวงศ์ของตนเอง มีความใกล้ชิดกับ อาณาจักรสุโขทัย และรัฐอาณาจักรล้านนา เพิ่งผนวกเอา ดินแดนแพร่และน่านได้ในสมัยพระเจ้าติโลกราชและอยู่ในอาณาจักรล้านนาได้ไม่นานนัก อาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครองก็ใช้วิธีแบ่งแยกเมืองต่าง ๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา จึงมีศูนย์กลางการ ศึกษาอยู่ที่เชียงใหม่ เมืองหลวงแห่งล้านนา ส่วนเมืองแพร่และน่านมีการกล่าวพาดพิงไปถึงบ้าง[/SIZE]



    [SIZE=+2]<HR width="50%" color=#00ff00>[​IMG] การก่อสร้างอาณาจักรล้านนา [/SIZE]
    [SIZE=+2]เริ่มในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสถาปนานครเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันเชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี แล้ว การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาตามพัฒนาการแบ่งได้ดังนี้[/SIZE]
    [SIZE=+2][​IMG] สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ [/SIZE]
    [SIZE=+2]ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนามีรัฐต่าง ๆ กระจายตามที่ราบระหว่างหุบเขาในภาคเหนือ เช่น แคว้นหริภุญไชยในเขตแม่น้ำปิงตอนบน แคว้นโยนหรือโยนกในเขตที่ราบลุ่มน้ำกก เขลางนครในเขตลุ่มน้ำวัง เมืองแพร่ในเขตลุ่มน้ำยม เมืองปัวในเขตลุ่มน้ำน่าน และเมืองพะเยาในเขตลุ่มน้ำอิง แว่นแคว้น-นครรัฐแต่ละแห่งมีลักษณะการตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขา โดยมีเทือกเขาปิดล้อม จากการตั้งถิ่นฐานมาช้านานของรัฐใหญ่น้อยต่าง ๆ ก่อนกำเนิดอาณาจักรล้านนา ทำให้แต่ละรัฐต่างมีประวัติศาสตร์เป็นของตนเอง แคว้นหริภุญไชย ในเขตชุมชน ที่ราบลุ่มน้ำปิงตอนบน เป็นดินแดนที่พัฒนาความเจริญได้ก่อนชุมชนอื่น ๆ ในล้านนา รวมทั้งเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ต้นพุทธศตรรษที่ ๑๔ ความเจริญของหริภุญไชยเป็นพื้นฐานของอาณาจักรล้านนาที่จะก่อรูปเป็นรัฐอาณาจักร ก่อนกำเนิดรัฐหริภุญไช ในบริเวณแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนมีพัฒนาการเป็นรัฐขนาดเล็กหรือรัฐชนเผ่าเกิดขึ้นแล้ว พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าโบราณ ๒ กลุ่มคือลัวะ และ เม็ง[/SIZE]
    [SIZE=+2]ลัวะ ชาวพื้นเมืองในกลุ่มมอญเขมร ตั้งถิ่นฐานกระจายทั่วไปในภาคเหนือเลยไปถึงเมืองเชียงตุง เมืองยองและ หุบเขาต่าง ๆ ชนเผ่าลัวะมีหลายเผ่า และมีระดับความเจริญแตกต่างกันมาก พวกที่อยู่บริเวณใกล้ที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีการคมนาคมสะดวกจะวิวัฒน์ได้เร็วกว่าพวกที่อยู่ในเขตป่าเขา ชนเผ่าลัวะในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เป็นชนเก่าแก่ อยู่มาช้านานก่อนที่ชนกลุ่มอื่นจะเข้ามา ในตำนานล้านนากล่าวถึงบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นศูนย์กลางของชนเผ่าลัวะ ชนลัวะจะนับถือดอยสุเทพ เพราะเป็นที่สิงสถิตของผีปู่แสะย่าแสะผีบรรพบุรุษของชาวลัวะ ชาวลัวะนับถือผีปู่แสะย่าแสะ ผู้พิทักษ์ดอยสุเทพ และรักษาเมืองเชียงใหม่ จึงมีพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะเป็นประจำทุกปี ร่องรอยความเชื่อนี้ยังมีสืบมา ชนเผ่าลัวะในเขตที่ราบลุ่มน้ำปิงมีความเจริญในระดับก่อรูปเป็นรัฐเล็ก ๆ ลักษณะทางสังคมมีความแตกต่าง ระหว่างชนชั้น คือแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มสามัญชนหรือไพร่ กลุ่มผู้ปกครองมีหัวหน้าเผ่า ที่สืบเชื้อสายกันต่อมาเรียกว่า ซะมัง[/SIZE]
    [SIZE=+2]เรื่องราวการแตกสลายของชนเผ่าลัวะเป็นผลมาจากการขยายความเจริญรุ่งเรืองจากเมืองละโว้มาสู่การสร้างเมืองหริภุญไชย พระนางจามเทวีเสด็จมาครองเมืองหริภุญไชยในบริเวณอิทธิพลของชนเผ่าลัวะ จึงเกิดความขัดแย้ง ระหว่างพระนางจามเทวีกับขุนหลวงวิลังคะ ผลจากการต่อสู้ ขุนหลวงวิลังคะพ่ายแพ้ รัฐชนเผ่า ลัวะเชิงดอยสุเทพ สลายลง สันนิษฐานกันว่า ชนเผ่าลัวะคงกระจัดกระจายไปตามป่าเขาและต่างที่ต่าง ๆ รัฐชนเผ่าลัวะ ยังคงมีในบริเวณชายขอบของแคว้นหริภุญไชย [/SIZE]
    [SIZE=+2]เม็ง ชาติพันธุ์มอญโบราณที่ตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือมาช้านานแล้ว เป็นกลุ่มเดียวกับมอญในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลักษณะการตั้งถิ่นฐานมักกระจายอยู่ตามที่ราบลุ่มน้ำปิง จึงพบคำเก่าแก่เรียกแม่น้ำปิงว่า แม่ระมิง หรือแม่น้ำเม็ง หมายถึงแม่น้ำที่มีชาวเม็งอาศัยอยู่ เม็งและลัวะเป็นชนเผ่าโบราณที่เคยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำปิงด้วยกัน เม็ง มีปริมาณประชากรน้อยกว่าลัวะ ลัวะและเม็งมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ไม่ใกล้ชิดกัน แต่ก็ยอมรับความเป็นชนต่างชาติพันธุ์ เม็งค่อย ๆ หายไปจากดินแดนล้านนา คงเหลือร่องรอยหมู่บ้านเม็งเก่าแก่ไม่กี่แห่ง เพราะได้รับการผสมกลมกลืนให้เป็นคนไทยเช่นเดียวกับชนเผ่าลัวะและชนเผ่าอื่นๆ[/SIZE]




    [SIZE=+2]<HR width="50%" color=#00ff00>[​IMG] ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร [/SIZE]
    [SIZE=+2]สมัยราชวงศ์มังราย พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ดินแดนล้านนาได้พัฒนาการการปกครอง จากแว่นแคว้น-นครรัฐมาสู่รัฐแบบอาณาจักร มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง รัฐแบบอาณาจักรสถาปนาอำนาจโดยรวบรวมแว่นแคว้น-นครรัฐมาไว้ด้วยกัน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือการสลายตัวของรัฐโบราณที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน ดังเช่น กัมพูชา ทวารวดี หริภุญไชย และพุกาม การเสื่อมสลายของรัฐโบราณเปิดโอกาสให้เกิดการสถาปนาอาณาจักรใหม่ ของชนชาติไทยที่ผู้นำใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทย อาณาจักรใหม่ที่เกิดในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ที่สำคัญคือ ล้านนา สุโขทัย และอยุธยา อาณาจักรทั้งสามมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทนิกายลังกาวงศ์เช่นเดียวกัน ความเชื่อดังกล่าวสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการแข่งสร้างบุญบารมีของกษัตริย์ จึงนำไปสู่การทำสงครามระหว่างอาณาจักร รัฐสุโขทัยสลายลงก่อน โดยถูกผนวกกับอยุธยา หลังจากนั้น สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนามีอย่างต่อเนื่อง สงครามครั้งสำคัญอยู่ใน สมัยของ พระเจ้าติโลกราช และพระบรมไตรโลกนาถ ประวัติศาสตร์ล้านนาในสมัยรัฐอาณาจักรแบ่งตามพัฒนาการ เป็น ๓ สมัย คือ สมัยสร้างอาณาจักร สมัยอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง สมัยเสื่อมและการล่มสลาย[/SIZE]
    [SIZE=+2]สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ. ๑๘๘๓๙-๑๘๙๘) การก่อตั้งอาณาจักรล้านนาเป็นผลจากการรวมแคว้นหริภุญไชยกับแคว้นโยน ในสมัยของพระยามังรายปฐมกษัติรย์ แล้วสถาปนาเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง การก่อตั้งเมืองเชียงใหม่หรือนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๑๘๓๙ มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสืบเนื่อง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา ทั้งทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงให้ความสำคัญต่อเมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษ นับตั้งแต่พยายามเลือกทำเลที่ตั้ง การวางผังเมือง และการสร้างสิทธิธรรม เชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในภาคเหนือสืบมาถึงปัจจุบัน การสร้างเมืองเชียงใหม่ พระยามังรายเชิญพระยางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาร่วมกันพิจารณาทำเลที่ตั้ง พระยาทั้งสองก็เห็นด้วย และช่วยดูแลการสร้างเมืองเชียงใหม่ ด้วยเหตุที่พ่อขุนรามคำแหงมาร่วมสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผังเมือง เชียงใหม่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย เมื่อแรกสร้างกำแพงเมืองมีขนาดกว้าง ๙๐๐ วา ยาว ๑,๐๐๐ วา และขุดคูน้ำกว้าง ๙ วา กำแพงเมืองเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัจจุบันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาวด้านละ ๑,๖๐๐ เมตร[/SIZE]
    [SIZE=+2]สมัยอาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. ๑๘๙๘-๒๐๖๘) ในราวกลางราชวงศ์มังราย นับแต่สมัยพระยากือนา เป็นต้นมา อาณาจักรล้านนาเจริญขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราชและพระยาแก้วหรือพระเมืองแก้ว ซึ่งถือเป็นยุคทอง หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็เริ่มเสื่อมลง โดยกล่าวได้ถึงความเจริญเป็นประเด็นได้คือความเจริญทางพุทธศาสนา ในยุครุ่งเรือง ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้สร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน เขตเมืองเชียงใหม่มีวัดนับร้อยแห่ง ปริมาณวัดที่มากมายในยุครุ่งเรืองนั้นมีร่องรอยปรากฏเป็นวัดร้างมากมายในปัจจุบัน ความเจริญในพุทธศาสนา ยังได้สร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนาซึ่งมีคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมล้านนา วัดสำคัญได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดเจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ วัดสวนดอก วัดบุพพาราม เป็นต้น การสร้างวัดมากมายนอกจากแสดงความเจริญในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของล้านนาในยุครุ่งเรืองด้วยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร่วมไปกับความเจริญรุ่งเรืองโดยรวมของรัฐ เพราะพบว่านับตั้งแต่สมัยพระญากือนาเป็นต้นมา การค้าระหว่างรัฐมีเครือข่ายกว้างขวาง มีพ่อค้าจากเมืองเชียงใหม่ ไปค้าขายถึงเมืองพุกาม ในยุคนั้นเมืองเชียงใหม่มีฐานะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญ เพราะเป็นเมืองผ่าน ไปยังทางใต้และทางตะวันตก จึงมีพ่อค้าจากทุกทิศมาค้าขายที่เชียงใหม่ ทั้งเงี้ยว ม่าน เม็ง ไทย ฮ่อ กุลา สินค้าออกเชียงใหม่สู่ตลาดนานาชาติคือของป่า เมืองเชียงใหม่ทำหน้ารวบรวมสินค้าของป่าจากเมืองต่าง ๆ ทางตอนบน แล้วส่งไปขายยังเมืองท่าทางตอนล่างในดินแดนกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองมอญ กษัตริย์มีบทบาทการค้าของป่า โดยอาศัยการเก็บส่วยจากไพร่และให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรส่งส่วยให้ราชธานี จึงออกกฎหมาย บังคับให้ทุกคนในอาณาจักรนำส่วยสินค้าของป่ามาถวาย รูปแบบการค้าของป่า กษัตริย์จะส่งข้าหลวงกำกับดูแล สินค้าชนิดต่าง ๆ มีการพบตำแหน่ง "แสนน้ำผึ้ง" ซึ่งเป็นข้าหลวงที่ดูแลการค้าส่วยน้ำผึ้ง และมีพ่อค้าจากอยุธยาเดินทางเข้าซื้อสินค้าในเมืองฮอด กำลังทหารที่เข้มแข็ง ในยุคที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง รัฐมีความเจริญทางการค้ามากและสภาพเศรษฐกิจดี จึงมีกองกำลังที่เข้มแข็ง ดังพบว่า ในยุคนี้อาณาจักรล้านนามีอำนาจสูงได้แผ่อิทธิพลออกไปอย่าง กว้างขวาง เช่น เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ่ง เมืองยอง เมืองนาย เมืองน่าน และยังขยายอำนาจลงสู่ชายขอบ รัฐอยุธยา โดยทำสงครามติดต่อกันหลายปีระหว่างพระเจ้าติโลกราชและพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งในครั้งนั้น ล้านนาสามารถยึดครองเมืองศรีสัชนาลัยได้[/SIZE]
    [SIZE=+2]สมัยเสื่อมและอาณาจักรล้านนาล่มสลาย (พ.ศ.๒๐๖๘-๒๑๐๑) เกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังราย นับตั้งแต่พระญาเกศเชษฐราชขึ้นครองราชย์ จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าใน ช่วงเวลา ๓๓ ปี ในช่วงเวลานั้นมีระยะหนึ่งที่ว่างเว้นไม่มีกษัตริย์ปกครองถึง ๔ ปี เพราะขุนนางขัดแย้งกันเอง ตกลงไม่ได้ว่าจะให้ใครเป็นกษัตริย์ การสิ้นรัชสมัยของกษัตริย์เกิดจากขุนนางจัดการปลงพระชนม์ หรือขุนนางปลดกษัตริย์ หรือกษัตริย์สละราชสมบัติ นอกจากนี้ ปัจจัยความเสื่อมสลาย ยังเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐในหุบเขา ที่ทำให้เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรมีโอกาสแยกตัวเป็นอิสระ ในระยะแรก เมืองราชธานีจึงพยายามสร้างเสถียรภาพให้ศูนย์กลางมีความเข้มแข็งตลอดมา โดยกษัตริย์อาศัยการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าเมืองต่าง ๆ ในระบบเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐขยายขึ้น จำเป็นต้องสร้างระบบราชการที่มีประสิทธิภาพแทนที่ระบบเครือญาติ แต่อาณาจักรล้านนาสถาปนาระบบราชการไม่ได้ รัฐจึงอ่อนแอและเสื่อมสลายลง[/SIZE]




    [SIZE=+2]<HR width="50%" color=#00ff00>[​IMG] ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗) [/SIZE]
    [SIZE=+2]นับเป็นยุคแห่งความอ่อนแอของล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่พม่าปกครอง แต่จะมีบางช่วง ที่อยุธยายกทัพ ขึ้นมายึดเชียงใหม่ได้ เช่น สมัยพระนเรศวรและสมัยพระนารายณ์ นอกจากนั้นมีบางช่วงที่เชียงใหม่ และเมืองต่าง ๆ แยกเป็นรัฐอิสระ เช่น ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เนื่องจากเป็นช่วงที่พม่า ประสบปัญหา การเมืองภายใน เมื่อพม่าแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้วจะยกทัพมาปราบล้านนา ดังนั้นอำนาจพม่าในล้านนาจึงไม่สม่ำเสมอ ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นพม่าตั้งแต่สมัยพระเจ้าบุเรงนอง(พ.ศ.๒๑๐๑) จนถึง พ.ศ.๒๓๑๗ สมัยพระเจ้าตากสิน ล้านนาจึงตกเป็นเมืองประเทศราชสยาม ล้านนาในสมัยพม่าปกครองเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานถึง ๒๑๖ ปี นโยบายของพม่าที่ปกครองล้านนาได้ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขการเมืองภายในของพม่าและ ปรับตามสภาพการเมืองในท้องถิ่นล้านนา[/SIZE]




    [SIZE=+2]<HR width="50%" color=#00ff00>[​IMG] ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๒๗) [/SIZE]
    [SIZE=+2][​IMG] หลังจากเสร็จสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ พ.ศ.๒๓๑๗ แล้ว พระเจ้าตากสิน ทรงตอบแทนความดีความชอบ โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระญาจ่าบ้าน(บุญมา) เป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ากาวิละครองเมืองลำปาง และทรงมอบอาญาสิทธิ์แก่เจ้าเมืองทั้งสองให้ปกครองบ้านเมืองตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยธนบุรี พม่ายังคงพยายามกลับมายึดเชียงใหม่อีกหลายครั้ง ซึ่งพระญาจ่าบ้าน ป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ด้วยผู้คนมีอยู่น้อยและกำลังอดอยาก จึงต้องถอยไปตั้งมั่นที่ท่าวังพร้าวและลำปาง จากนั้นจึงกลับไปที่เชียงใหม่เมื่อพม่ายกทัพกลับ การณ์เป็นไปในเช่นนี้ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อพระญาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน พระเจ้ากาวิละเริ่มตั้งมั่นที่เวียงป่าซางในพ.ศ. ๒๓๒๕ ก่อน จากนั้นจึงเข้าตั้งเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ซึ่งเป็นปีที่เชียงใหม่มีอายุครบ 500 ปี อิทธิพลของพม่าในล้านนาถือว่าได้สิ้นสุดลงในสงครามขับไล่พม่า พ.ศ. ๒๓๔๗ โดยกองทัพชาวล้านนาร่วมกับกองทัพไทยยกไปตีเมืองเชียงแสนที่มั่นของพม่าได้สำเร็จ พระเจ้ากาวิละจึงได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่โดยรวบรวมพลเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการกวาดต้อนชาวเมืองที่หลบหนีเข้าป่า และกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองพันนาและรัฐชานมาเชียงใหม่ เชียงใหม่จึงพ้นจากสภาพเมืองร้างและยังได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง จากนั้นพระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ราชประเพณี โดยกระทำพิธีราชาภิเษกสถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนในลักษณะ เดียวกับราชวงศ์มังราย การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ การสร้างอนุสาวรีย์ช้างเผือก และการทำนุบำรุงพุทธศาสนา เป็นต้น เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิละจึงมีความเจริญมั่นคงเป็นปึกแผ่น และเป็นศูนย์กลางของล้านนาที่เข้มแข็ง หลังจากสมัยพระเจ้ากาวิละแล้วก็มีเจ้าเมืองปกครองต่อมา รวมทั้งสิ้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน มี ๙ องค์ นโยบายและวิธีการปกครองดินแดนหัวเมืองประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านมีลักษณะระมัดระวัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ล้านนาเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ถึงสองร้อยกว่าปีย่อมมีความใกล้ชิดกับพม่ามาก รัฐบาลกลางที่กรุงเทพฯ เกรงว่าล้านนาจะหันกลับไปหาพม่า และในขณะเดียวกันพม่าก็พยายามแย่งชิงล้านนากลับคืนไปอีก รัฐบาลกลางจึงปกครองล้านนา โดยไม่เข้าไปกดขี่อย่างที่พม่าเคยทำกับล้านนา แต่กลับใช้วิธีการปกครองแบบผูกใจเจ้านายเมืองเหนือ โดยยอมผ่อนผันให้เจ้าเมืองมีอิสระในการปกครองภายใน เศรษฐกิจ การศาล การต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนยกย่องให้เกียรติแก่เจ้าเมืองในโอกาสอันควร การเปลี่ยนแปลงในรูปที่รัฐบาลต้องเข้าไปควบคุมกิจการภายในหัวเมืองประเทศราชล้านนามากขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งในที่สุดก็ผนวกเอาล้านนาเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทย เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคแห่งการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก ด้านการปกครองหัวเมือง มีการยกเลิกระบบการปกครอง เมืองประเทศราช ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาช้านาน โดยจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นแทน มีข้าหลวงเทศาภิบาลซึ่งรัฐบาลกรุงเทพฯส่งไปปกครองและขึ้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย ระบบมณฑลเทศาภิบาลที่จัดตั้งขึ้นจึงเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติรัฐซึ่งมีอำนาจรวมศูนย์ ที่องค์พระมหากษัตริย์ การรวมหัวเมืองประเทศราชล้านนาเข้ากับส่วนกลาง รัฐบาลกลางวางเป้าหมายของการปฏิรูปการปกครองเพื่อสร้างเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว การดำเนินการต้องกระทำ ๒ ประการ คือประการแรก ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราชที่เป็นมาแต่เดิม โดยจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ส่งข้าหลวงมาปกครอง ขณะเดียวกันก็พยายามยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองเสีย โดยรัฐบาลกลาง ริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในที่สุดตำแหน่งเจ้าเมืองก็สลายตัวไปประการที่สอง การผสมกลมกลืนชาวล้านนาให้มีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทยเช่นเดียวกับ พลเรือนส่วนใหญ่ของประเทศ คือให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชนในชาติ ซึ่งแต่เดิมมีความรู้สึกแบ่งแยกเป็นคนละพวก คนทางใต้เข้าใจว่าชาวล้านนาเป็นลาว ไม่ใช่ไทย รัฐบาลกลางใช้วิธีจัดการปฏิรูปการศึกษาโดยจัดระบบโรงเรียนหนังสือไทยแทนการเรียนอักษรพื้นเมืองในวัด และกำหนดให้กุลบุตรกุลธิดาต้องศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย ซึ่งประสบผลสำเร็จ ชาวเชียงใหม่และล้านนาต่างถูกผสมกลมกลืนจนมีความรู้สึกเป็นพลเมืองไทย การดำเนินการ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง การศาล การภาษีอากร การคลัง การศึกษา การสาธารณสุขและอื่น ๆ โดยจัดเป็นระบบเดียวกับกรุงเทพฯ ในทุกด้าน ระหว่างการปฏิรูปการปกครอง ในช่วง ก่อนจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ.๒๔๒๗-๒๔๔๒) ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๓๙) ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าเมืององค์สุดท้ายที่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง เพราะเป็นช่วงแรกของการดำเนินงานรัฐบาลกลางมีนโยบายไม่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองในทันที ยังคงใช้ดำรงตำแหน่งอย่างมีเกียรติ แต่ขณะเดียวกันก็พยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ทีละน้อย รัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะที่ร่วมกันปกครองกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลาน โดยที่ข้าหลวงพยายามแทรกอำนาจลงไปแทนที่ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งได้แก่รายได้จากการเก็บภาษีอากรส่วนหนึ่งต้องส่งกรุงเทพฯ นอกจากนั้น ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานได้ถูกโอนเป็นของรัฐใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ซึ่งเป็นช่วงก่อนการพิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว รัฐบาลกลางให้เจ้าอุปราชรั้งเมืองอยู่หลายปี จนกระทั่งเห็นว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลางดี จึงมีการแต่งตั้งให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๕๒) เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างมากหลังจากนโยบายเมืองหลัก โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา และเจริญเติบโตแตกต่างจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ[/SIZE]


    [SIZE=+2]<HR width="50%" color=#00ff00>[/SIZE]

    [SIZE=+2]http://www.geocities.com/manoree2000/storychmai.html[/SIZE]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- text below generated by server. PLEASE REMOVE --></OBJECT></LAYER>

    </SPAN></STYLE></NOSCRIPT></TABLE></SCRIPT></APPLET><SCRIPT language=JavaScript src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc1.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://us.i1.yimg.com/us.yimg.com/i/mc/mc2.js"></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript src="http://geocities.com/js_source/geov2.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript>geovisit();</SCRIPT>[​IMG] <NOSCRIPT></NOSCRIPT>[​IMG]
     
  6. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่

    จากเอกสารโบราณล้านนาคือตำนานสุวรรณโคมคำและตำนานสิงหนวัตต่างก็ระบุไว้สอดคล้อง กันว่าคนไทมีการ อพยพมาจากทางเหนือลงมาทางใต้บริเวณใกล้แม่น้ำโขง อันเคยเป็นเมือง สุวรรณโคม คำครั้งก่อนพุทธการ [ฝั่งประเทศลาว] โดยเฉพาะ ตำนานสิงหนวัติเมื่อ มหา ศักราช ๑๗ปี ตรงกับ พ.ศ. ๔๓oและเมืองนาคพันธุสิงหนวัตินคร หรือเมืองโยนกนคร หลวง นี้ล่มถล่ม เป็นหนอง น้ำเพราะเหตุ จากประชาชน กินปลาไหลเผือยักษ์เมื่อ พ.ศ.๑๕๕๘ กลุ่มชนที่เหลือ ก็ได้มีผู้รักษาการณ์ ในฐานะขุนแต่ง เมืองหรือผู้ที่ ได้รับเลือกให้ปกครอง บ้านเมืองเรื่อยมา จนถึง พ.ศ.๑๖๓๘ อนึ่งใน สมัยพระเจ้า อนุรุธธัมมิกราชแห่งกรุงพุกาม ได้ตั้งจุลศักราชขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๑ คราวนั้นได้ ปรากฏหัวหน้า กลุ่มชนชื่อลวจังกราช ขึ้นที่ดอยตุงหลังจากนั้น ลวจังกราช จึงได้สร้าง เมืองหิรัญนครเงินยาง ( ซึ่งต่อมาได้ กลาย เป็น เมืองเชียงแสน ) ต่อมาได้สร้างเมืองฝางและ เชียงราย ขึ้นด้วยและลูกหลาน ของราชวงศ์นี้ก็ได้สร้าง เมืองพะเยา ขึ้นในเวลาต่อมา

    กษัตริย์องค์ที่ 24 องราชวงศ์ ลวจังกราช คือพระยามังราย ได้ครองราชสมบัติ ที่ เมืองหิรัญ นครเงินยาง เมื่อ พ.ศ.1802 จากนั้นพระองค์ก็ได้ นำทัพออกปราบปราม เมืองต่าง ๆ โดยรอบเมื่อ พระยามังรายทราบถึง กิตติศัพท์ความ รุ่งเรือง ของเมืองแล้ว จึงทรงให้ อำมาตย์คนสนิทย์ ไปคิดใช้อุบายทำลาย ความสามัคคีของชาวเมืองซึ่ง พระองค์ ก็ได้เมือง หริภุญชัย ไว้ในอำนาจเมื่อ พ.ศ.1842

    ในช่วงที่ประวัติศาสตร์ ของชน เผ่า ไทยวนยังเลือนลางอยู่นั้น ก็ได้ปรากฏว่ามีการ ตั้งถิ่นฐานของคนเผ่ามอญแล้วในที่ราบ ระหว่าง ดอยสุเทพและดอยขุนตาล นั่นคือการที่ พระนางจามเทวีได้อพยพผู้คนจากอาณาจักรละโว้ขึ้นมาครองอาณาจักรหริภุญชัย เมื่อพ.ศ. 1206 และขยายอำนาจไปสร้างเขลางนครขึ้นอีกเมื่อพ.ศ.1224 และ ทั้งสองเมือง นี้ก็ ได้รุ่งเรืองขึ้นมา ต่อมาในสมัยของพระเจ้าอาทิตย์ธรรมิกราช ก็สามารถรบชนะ กองทัพ เมืองละโว้ได้และพระเจ้าอาทิตย์ธรรมิกราชนี้ ได้ทรงสร้าง เจดีย์หลวงลำพูน (เจดีย์หริภุญชัย) ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 1586 กษัตริย์ในราชวงศ์นี้ นับตั้งแต่ พระนางจามเทวี จนถึง พระญายี่บา ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายนับรวมทั้งสิ้น 49 พระองค์ รวมอายุของ เมืองหริภุญชัย ที่เป็น เอกราชได้ 618 ปี จึงเสียแก่พระญามังรายเมื่อพ.ศ.1835

    เมื่อพระญามังรายได้เมืองหริภุญชัยแล้ว ก็ทรงสร้างเวียงกุมกามขึ้นเมื่อพ.ศ. 1837 แล้วก็ได้ ยกไปตีรามัญประเทศและตีพุกาม ซึ่งก็ได้ผู้คนและช่างฝีมือ มาไว้ใน เมือง กุมกามเป็นอันมาก ต่อมาพระญามังรายได้เชิญพระญาร่วง และพระญางำเมือง ผู้ทรงเป็นสหายมา ปรึกษา เพื่อที่จะได้ สร้างเมืองขึ้นใหม่ ในที่สุดก็เริ่มสร้างเมือง นพบุรีศรีนครพิงเชียงใหม่ เมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก จ.ศ.658 ตรงกับ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.1839 เวลา ประมาณ 4.30 น. พระญามังราย ประทับอยู ในเชียงใหม่ตลอดพระชนม์ชีพ ส่วนเมือง อื่น ๆ นั้นก็โปรดให้โอรส และขุนนางไปปกครอง และในช่วงเวลานี้อาจเรียกได้ว่า เมืองเชียงใหม่ เจริญ อย่างยิ่ง เพราะมีความ เข้มแข็ง ทางการทหาร มีอาณาเขตกว้างขวางและมีประชากรมาก นอกจากนั้นก็ยังมี ความสัมพันธ์ อันดีกับอาณาจักรสุโขทัย พะเยา และพุกาม อีกด้วย เมื่อพระญามังรายสวรรคตใน พ.ศ.1860 แล้ว กษัตริย์ในราชวงศ์นี้ก็ได้ปกครอง เมืองเชียงใหม่มาลำดับดังนี้
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" cellPadding=5 border=1><TBODY><TR><TD>1.พระญามังราย(ครองเมืองเงินยาง)</TD><TD>พ.ศ.1839 - 1860</TD></TR><TR><TD>2.พระญาชัยสงคราม</TD><TD>พ.ศ.1860 - 1860</TD></TR><TR><TD>3.พระญาแสนพู (ครั้งที่ 1)</TD><TD>พ.ศ.1861 - 1862</TD></TR><TR><TD>4.เจ้าขุนเครือ</TD><TD>พ.ศ.1862 - 1863</TD></TR><TR><TD>5.พ่อท้าวน้ำถ้วม</TD><TD>พ.ศ.1865 - 1867</TD></TR><TR><TD>6.พระญาแสนพู (ครั้งที่ 2)</TD><TD>พ.ศ.1867 - 1870</TD></TR><TR><TD>7.พระญาคำฟู</TD><TD>พ.ศ.1871 - 1881</TD></TR><TR><TD>8.พระผายู</TD><TD>พ.ศ.1888 - 1910</TD></TR><TR><TD>9.พระญากือนา (ตื้อนา)</TD><TD>พ.ศ.1910 - 1931</TD></TR><TR><TD>10.พระญาแสนเมืองมา</TD><TD>พ.ศ.1931 - 1943</TD></TR><TR><TD>11.พระญาสามฝั่งแกน</TD><TD width=200>พ.ศ.1944 - 1985 </TD></TR><TR><TD>12.พระญาติโลกราช </TD><TD>พ.ศ.1985 - 2030</TD></TR><TR><TD>13.พระญายอดเชียงราย</TD><TD>พ.ศ.2030 - 2038</TD></TR><TR><TD>14.พระเมืองแก้ว หรือ พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช</TD><TD>พ.ศ.2038 - 2068</TD></TR><TR><TD>15.พระญาเกศเชษฐราช</TD><TD>พ.ศ.2068 - 2081</TD></TR><TR><TD>16.ท้าวชาย หรือ เจ้าชายคำ</TD><TD>พ.ศ.2081 - 2086</TD></TR><TR><TD>17.พระญาเกศเชษฐราช (ครั้งที่ 2)</TD><TD>พ.ศ.2086 - 2088</TD></TR><TR><TD>18.พระนางจิรประภา</TD><TD>พ.ศ.2088 - 2089</TD></TR><TR><TD>19.พระญาอุปโย (พระไชยเชษฐาธิราช-ล้านช้าง)</TD><TD>พ.ศ.2089 - 2090</TD></TR><TR><TD>20.ท้าวแม่กุ (พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์)</TD><TD>พ.ศ.2090 - 2107</TD></TR><TR><TD>21.พระนางวิสุทธเทวี (วิสุทธิเทวี)</TD><TD>พ.ศ.2107 - 2121</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ ได้มีพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ที่มีพระราชกรณียกิจ ที่สำคัญ ที่เห็นได้ ในช่วงแรก คือ พระญากือนา พระองค์ได้ส่งราชทูตไป อาราธนา พระสุมนเถระมา จากสุโขทัยเพื่อ สืบศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่และได้ทนุบำรุงศาสนา ได้สร้างวัด ขึ้นมาหลาย แห่ง และได้มีการทำ สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก (ครั้งแรกในประเทศไทย) และได้อัญเชิญ พระแก้วมรกต มาประดิษฐาน ที่วัดเจดีย์หลวง ด้วย

    เมื่อสิ้นสมัยพระเมืองแก้ว เชียงใหม่ก็เริ่มเสื่อมลง อำนาจในการปกครองบ้านเมือง ตกอยู่ในมือ ของขุนนาง ซึ่งสามารถตั้งหรือถอนกษัตริย์ได้ เมื่อเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์ พม่า ยกทัพมาตีเมือง เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2101 นั้นทรงใช้เวลา 3 วัน ก็สามารถยึด เมือง เชียงใหม่ได้

    เมื่อพม่ายึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว ก็มิได้เข้ามาปกครองโดยตรง แต่ได้ทรงแต่งตั้ง ให้พระเจ้า เมกุฏิ ฯ เป็นกษัตริย์ปกครองเชียงใหม่ ต่อมาในฐานะประเทศราช ซึ่งต้องส่งส่วย เป็นราชบรร ณาธิการ และต้องเข้าเฝ้ากษัตริย์ พม่าตามที่พม่ากำหนด และเมื่อพม่าปลด พระเจ้าเมกุฏฯ ออก จากบัลลังก์ ใน พ.ศ. 2107 แล้ว ก็ได้นำตัวพระเจ้าเมกุฏฯ ไปพำนัก ในเมืองหงสาวดีจนตลอด พระชนม์ชีพ และได้แต่งตั้ง พระนางวิสุทธเทวีเป็นพระญา ปกครองบ้านเมืองแทน

    ในช่วงเวลาที่พม่าครองเมืองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2101 - 2317 เป็นเวลาถึง 216 ปี พม่าได้ แต่งตั้งผู้ครองเชียงใหม่ 13 คน และบางเวลาชาวเชียงใหม่สามารถ "ฟื้นม่าน" หรือยึดอำนาจ จากพม่าได้ ก็จะตั้งตัวเป็นผู้นำ ซึ่งเวลาที่พม่า ปกครอง ดังกล่าวนั้น ก็ได้มีผู้ครองเชียงใหม่ รวม 17 ท่าน ดังปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ ์ของสรัสวดี อ๋องสกุล หน้า 44 มีดังนี้

    ลำดับที่ ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ พงศาวดารโยนก ตำนานพื้นเมืองช.ม. โคลงมังทราร ช.บ.

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=5 border=1><TBODY><TR><TH>ลำดับที่</TH><TH>ผู้ครองเมืองเชียงใหม่</TH><TH>พงศาวดารโยนก</TH><TH>ตำนานพื้นเมืองช.ม.</TH><TH>โคลงมังทราร ช.บ.</TH></TR><TR><TD>1</TD><TD>สาวถีนรตรามังซอศรี</TD><TD>พ.ศ.2122-2150</TD><TD>พ.ศ.2121-2150</TD><TD>พ.ศ.2121-2150</TD></TR><TR><TD>2</TD><TD>พระซ้อย</TD><TD>พ.ศ.2150-2152</TD><TD>พ.ศ.2150-2152</TD><TD>พ.ศ.2150-2151</TD></TR><TR><TD>3</TD><TD>พระชัยทิพ(มองกอยต่อ)</TD><TD>พ.ศ.2152-2154</TD><TD>พ.ศ.2151-2156</TD><TD>พ.ศ.2151-2156</TD></TR><TR><TD>4</TD><TD>พระซ้อย(ครั้งที่ 2)</TD><TD>พ.ศ.2154-2157</TD><TD>พ.ศ.2156-2158</TD><TD>พ.ศ.2156-2157</TD></TR><TR><TD>5</TD><TD>เจ้าเมืองน่าน</TD><TD>พ.ศ.2157-2174</TD><TD>พ.ศ.2158-2174</TD><TD align=middle></TD></TR><TR><TD>6</TD><TD>พระญาหลวงทิพเนตร</TD><TD>พ.ศ.2174-2193</TD><TD>พ.ศ.2174-2198</TD><TD align=middle></TD></TR><TR><TD>7</TD><TD>พระแสนเมือง</TD><TD>พ.ศ.2193-2206</TD><TD>พ.ศ.2198-2202</TD><TD align=middle></TD></TR><TR><TD>8</TD><TD>เจ้าเมืองแพร่</TD><TD>พ.ศ.2206-2215</TD><TD>พ.ศ.2202-2215</TD><TD align=middle></TD></TR><TR><TD>9</TD><TD>อุปราชอึ้งแซะ(กรุงอังวะ)</TD><TD>พ.ศ.2215-2228</TD><TD>พ.ศ.2215-2218</TD><TD align=middle></TD></TR><TR><TD>10</TD><TD>บุตรเจ้าเจกุตรา(เจพูตราย)</TD><TD>พ.ศ.2227-*</TD><TD>พ.ศ.2218-*</TD><TD align=middle></TD></TR><TR><TD>11</TD><TD>มังแรนะร่า</TD><TD>พ.ศ.2250-2270</TD><TD>พ.ศ.2250-2270</TD><TD></TD></TR><TR><TD>12</TD><TD>เทพสิงห์</TD><TD>พ.ศ.2270-2270</TD><TD>พ.ศ.2270-2270</TD><TD></TD></TR><TR><TD>13</TD><TD>เจ้าองค์คำ</TD><TD>พ.ศ.2270-2302</TD><TD>พ.ศ.2270-*</TD><TD></TD></TR><TR><TD>14</TD><TD>เจ้าจัน</TD><TD>พ.ศ.2302-2304</TD><TD>* - พ.ศ.2304</TD><TD></TD></TR><TR><TD>15</TD><TD>เจ้าขี้หูด</TD><TD>พ.ศ.2304-2306</TD><TD>พ.ศ.2304-2306</TD><TD></TD></TR><TR><TD>16</TD><TD>โป่อภัยคามินี</TD><TD>พ.ศ.2306-2312</TD><TD>พ.ศ.2306-2311</TD><TD></TD></TR><TR><TD>17</TD><TD>โป่มะยุง่วน</TD><TD>-</TD><TD>พ.ศ.2311-2317</TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : สรัสวดี อ๋องสกุล ประวัติศาสตร์ล้านนา เชียงใหม่ 2529 หน้า 44 ​
    ช่วงที่พม่าครอบครองเชียงใหม่และล้านนานี้ พม่าพยายามปกครองหัวเมืองล้านนาต่างๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันกบฏ และยังควบคุมนโยบายที่สำคัญ ๆ ทั้งในด้านการเมืองและการ เศรษฐกิจ โดยมีเชียงใหม่เป็นศุนย์กลางการปกครอง ที่พม่าให้ความสำคัญมากคือการควบคุมผู้ คนให้อยู่ในระบบที่พม่าสามารถติดตามตรวจสอบ และเรียกใช้งานได้เสมอเท่านั้น

    ในช่วงที่พม่าปกครองบ้านเมืองอยู่ ชาวล้านนาก็ได้พยายามรวบรวมกันเข้าเพื่อ"ฟื้นม่าน" ซึ่งได้รับความสำเร็จเป็นครั้งคราว

    ในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2272 นั้น มีเจ้าอาวาสวัดนายางในนครลำปาง ได้ซ่องสุมผู้คน และเลือกนายพรานผู้หนึ่งชื่อ ทิพช้าง เป็นนายกอง ยกทัพไปไล่กองกำลังพม่าจากลำพูน ซึ่ง ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงออกไปได้ ครั้งนั้นหนานทิพช้างได้รับการอภิเษกเป็นพระญา สุลวฦาชัยสงคราม และได้ครองเมืองลำปางเมื่อ พ.ศ. 2275

    ต่อมา พม่ายึดลำปางได้ และตั้งให้เจ้าชายแก้วบุตรของพระญาสุลวฦาชัยเป็นเจ้าฟ้าชาย แก้วครองเขลางคนคร เมื่อ พ.ศ.2307

    เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรียกกองทัพมาตีพม่าที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2314 นั้นพระญาจ่าบ้าน แห่งเชียงใหม่ชักชวนเจ้ากาวิละผู้เป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายแก้วแห่งลำปางให้เป็นพันธมิตรต่อมา พระญาจ่าบ้านได้ลงไปติดต่อขอทัพ จากกรุงธนบุรีขึ้นมาสนับสนุนกองกำลังชาวพื้นเมืองเพื่อ ตีเชียงใหม่ ซึ่งก็ตีได้เมืองเมื่อ พ.ศ.2317 พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงแต่งตั้งให้พระญาจ่าบ้านเป็น พระญาวิเชียรปราการ เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่คนแรกหลังจากขับไล่พม่าไปแล้วและ พร้อม ทั้งทรงแต่งตั้ง เจ้ากาวิละเป็น พระญากาวิละครองนครลำปาง โดยขึ้นกับกรุงธนบุรี

    ถึงจะพ่ายแพ้ต่อกองทัพไทยไปแล้ว พม่ายังไม่ละความพยายาม ได้ยกทัพมาตีเชียงใหม่ อีกหลายครั้งจนเชียงใหม่หมดเสบียง พลเมืองก็กระจัดกระจายไปที่ต่าง ๆ จนเชียงใหม่กลาย เป็นเมืองร้าง พระญากาวิละซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดให้เป็นพระญา วิเชียรปราการสืบจากพระญาจ่าบ้าน ต้องพักผลอยู่ที่เวียงป่าซาง นานถึง ยี่สิบกว่าปี และต้อง ไปกวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อมาตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเห็นว่าพอมีกำ ลังพลที่จะพอดูแลเชียงใหม่ได้แล้ว พระญากาวิละจึงยาตราพลเข้ามาตั้งอยู่ในเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2339 และได้ฟื้นฟูเชียงใหม่จากสภาพของเมืองร้างให้กลายเป็นศูนย์กลางของล้านนาได้ ในเวลาต่อมา

    เจ้าฟ้าชายแก้วผู้ที่พม่าแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลำปาง มีบุตรชาย 7 คน ( ธิดา 3 คน ) ซึ่ง ได้เป็นต้นของราชสกุลของนายที่ปกครองเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง ที่นิยมเรียก ว่า " ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน " ซึ่งเริ่มจากพระญากาวิละผู้ได้รับการโปรดเกล้าฯ จากกษัตริย์แห่ง กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ให้ครองเมืองเชียงใหม่ และได้มีการสืบต่อกันมาดังนี้
    เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ช่วงเวลาที่ปกครองเชียงใหม่

    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=5 border=1><TBODY><TR><TH>เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่</TH><TH>ช่วงเวลาที่ปกครองเชียงใหม่</TH></TR><TR><TD>1. พระเจ้ากาวิละ</TD><TD>พ.ศ.2324 - 2358</TD></TR><TR><TD>2. พระญาธัมมลังกา (อนุชาของพระเจ้ากาวิละ)</TD><TD>พ.ศ.2359 - 2364</TD></TR><TR><TD>3. พระญาคำฝั้น (อนุชาของพระญาธัมมลังกา) </TD><TD>พ.ศ.2364 - 2367</TD></TR><TR><TD>4. พระญาพุทธวงส์ (บุตรของนายพ่อเรือน ซึ่งเป็นน้องของเจ้าฟ้าชายแก้ว)</TD><TD>พ.ศ.2367 - 2389</TD></TR><TR><TD>5. พระญามหาวงศ์ ( ราชบุตรของพระญาธัมมลังกา )</TD><TD>พ.ศ.2390 - 2396</TD></TR><TR><TD>6. พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ ( ราชบุตรของพระเจ้ากาวิละ)</TD><TD>พ.ศ.2396 - 2413</TD></TR><TR><TD>7. พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (บุตรของเจ้าคำคง ราชบุตรของพระญาคำฝั้น)</TD><TD>พ.ศ.2413 - 2440</TD></TR><TR><TD>8. เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ (ราชบุตรของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์)</TD><TD>พ.ศ.2440 - 2452</TD></TR><TR><TD>9. พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ (ราชบุตรของพระเจ้าอินทวิชยานนท์)</TD><TD>พ.ศ.2452 - 3 มิถุนายน 2482</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา : จากหนังสือ "เจ้าหลวงเชียงใหม่" ​
     
  7. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]

    ประวัติพระเจ้ากาวิละ

    พระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์อินทร สุรศักดิ์มญามหาขัตติยราชชาติราชาไชยสวรรย์ เจ้าขัณฑสีมา พระนครเชียงใหม่ ราชธานี มีพระนามเดิมว่า"นายกาวิละ "เป็น บุตร ของนายชายแก้ว ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็น เจ้าฟ้าชายแก้ว กับแม่เจ้าจันตา ประสูตรเมื่อจุลศักราช 1104 ปีจอ จัตวาศก ตรงกับปี พ.ศ. 2285 หรือตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา หากนับชาติภูมิย้อนหลัง ไปแล้ว พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ฯ ทรงเป็นนัดดาของนายหนานทิพช้าง หรือเจ้าพระยาสุวะละฤาไชยสงคราม ผู้กอบกู้เมืองนครลำปางให้เป็นอิสระจากเมืองลำพูน นับได้ว่าพระเจ้ากาวิละทรงสืบเชื้อสายมาจากวีรบุรุษผู้กล้าหาญแห่งเมืองนครลำปาง

    พระอนุชาและพระขนิษฐา

    พระเจ้ากาวิละ พระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ฯ ทรงมีพระอนุชา และพระขนิษฐา ร่วม พระบิดา และแม่จันตา รวม 10 พระองค์ ดังนี้

    1.นายกาวิละ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้ากาวิละ พระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ ์ อินทร สุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยราชชาติราชาไชยวรรย์ เจ้าขัณฑสีมาพระนครเชียงใหม่ราชธานี พระเจ้า ประเทศราชเป็นใหญ่ใน 57 หัวเมือง เป็นพระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 1
    2. นายคำสม ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 1
    3. นายน้อยธรรม ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้ามหาอุปราชเชียงใหม่ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้การสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก เจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 2
    4. นายดวงทิพ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้านครลำปางองค์ที่ 2
    5. นางศรีอโนชา ต่อมาได้รับเป็นท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช และได้รับ สถาปนา ขึ้นเป็น เจ้าดอกฟ้าศรีอโนชา ในสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวร มหา สุรสีงหนาท ในรัชกาลที่ 1
    6. นางศรีกัญญา ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์วัย
    7. นายหมูล่า ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นอุปราชเมืองนครลำปาง ถึงแก่อนิจกรรม ขณะ ลงไป ราชการกรุงเทพฯ ที่เมืองกรุงเก่าอยุธยา
    8. นายคำฝั้น ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้านครลำพูนองค์ที่ 1 และยังได้ รับการ สถาปนา ขึ้นเป็นเจ้านครเชียงใหม่ องค์ที่ 3
    9. นางศรีบุญทัน ถึงแก่กรรมเมื่อยังเยาว์วัย
    10. นายบุญมา ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้านครลำพูน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับการ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้านครลำพูน
    ครอบครัว

    พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ฯ ทรงเสกสมรสกับ แม่เจ้าโนจา มีบุตร และ ธิดารวม 5 คน คือ

    1. นายน้อยสุริยวงศ์ต่อมาเป็นเจ้าราชบุตรเชียงใหม่และถึงแก่กรรมขณะไปราชการกรุงเทพฯ ที่เมืองระแหง
    2. นายหนานสุริยวงศ์ ต่อมาเป็นพระยาบุรีรัตนเมืองนครเชียงใหม่ ภายหลังได้รับการ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พระนครเชียงใหม่องค์ที่ 6
    3. นายหนานมหาวงค์ เป็นเขยของเจ้านครลำพูน
    4. นางคำใส
    5. นายหนานไชยเสนา เป็นเขยของเจ้าหลวงเศรษฐี ( คำฝั้น ) พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 3
    พระเกรียรติยศ

    พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ฯ ทรงมีพระราชกรณียกิจ ในด้าน การสงคราม มากมายทั้งในด้านการป้องกัน ราชอาณาจักรและการขยายอาณาเขตให้กว้างขวาง พระเกรียติยศ ที่ได้รับจากพระมหากษัตรย์ชาติไทย ได้แก่

    1. ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ในปี พ.ศ.2317 พระยากาวิละได้ รับการ สถาปนาจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ดังปรากฎ ข้อความในพงศาวดารกรุงธนบุรี ความว่า

    "..วันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม 3 ค่ำ เสด็จอยู่ ณ ตำหนักริมน้ำเมืองเชียงใหม่ ทรงฯ ตรัสว่า พระยาลาว มีชื่อสวามิภักดิ์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้ทำราชการช่วยรบ พม่ามี ความ ชอบ ทรง ..พระราชทาน พระแสงปืนยาว พระแสงหอก เสื้อผ้าแก่กาวิละ ให้ถือราชอาญา สิทธิ์เป็นพระยากาวิละครองนครลำปาง พระราชทาน เสื้อผ้าแก่น้อยธรรมผู้น้อง ให้เป็น พระยาอุปราชฝ่ายหน้านครลำปาง พระราชทานเสื้อผ้าแก่นายสม นายดวงทิพ นายมูลา นายคำฝั้น นายบุญมา ผู้น้อง เป็นราชวงศ์..."

    2. ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้านครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2325 พระยา กาวิละเจ้าผู้ครองนครลำปาง ได้รับการสถาปนา จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้านครเชียงใหม่ ดังปรากฎข้อความ ในพงศาวดาร โยนก ความว่า

    "...ลุศักราช 1143 ปีฉลู ตรีศก พระยากาวิละ เจ้าเมืองนครลำปาง เมื่อเลิกทัพ กลับจากเมืองเชียงแสนมาถึงเมืองนครลำปางแล้ว พักกำลังไพร่พลพอหายอิดโรยแล้ว จะลง ไปกรุงเทพฯ ก็พอได้ทราบข่าวข้างกรุงเทพฯว่า พระเจ้าตากเสียพระจริต ขุนนางหัวเมือง จับ ตัวออกเสียจากราชสมบัติ อำมาตย์ ราษฎรทั้งปวง พร้อมกันอันเชิญ สมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ ศึกฯ ขึ้นเถลิงราชสมบัติปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์ผลัดพระราชวงค์ ใหม่ พระยากาวิละก็พาเจ้านายพี่น้องทั้งปวงล่องลงไปกรุงเทพมหานคร เข้าเฝ้า ทูลละอองธุลี พระบาทถวายสิ่งของและครัวเฉลย ซึ่งตีได้จากเมือง เชียงแสนและ กราบบังคมทูลข้อราชการ ทั้งปวง พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงกรุณา โปรดเป็นอันมาก จึงพระราชทานให้เลื่อนยศ พระยากาวิละขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองนครเชียงใหม่ พระราชทานเครื่องยศ อส่างเจ้า ประเทศราช

    3. ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ฯ ในปี พ.ศ.2345 พระยาวชิรปราการ (กาวิละ)ได้รับการสถาปนาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช ขึ้นเป็นพระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ฯ อินทรสุรศักดิ์ สมญา มหาขัติยราชชาติราชาไชยสวรรย์เจ้าขัณฑสีมาพระนครเชียงใหม่ราชธานีพระเจ้าประเทศราช เป็นใหญ่ใน 57 หัวเมือง ดังปรากฎข้อความในพงศาวดารโยนก ความว่า

    "...ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ฐาปนาพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าประเทศราช มีนามศักดิ์สมญา ว่า พระบรมราชาธิบดีศรีสุริย์วงศ์ฯอินทร สุรศักดิ์สมญามหาขัติยราชชาติ ราชาไชยสวรรย์ เจ้าขัณฑสีมาพระนครเชียงใหม่ราชธานี พระเจ้ากาวิละได้รับพระราชทาน เกรียติยศใหญ่ครั้งนี้ ในวันพฤหัสบดี เดือนอ้ายเหนือ (เป็นเดือน 11ใต้) ขึ้น 4 ค่ำ..."

    พระราชกรณียกิจ

    พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับสงคราม

    1. สงครามกับเมืองเวียงจันทร์ ในปี พ.ศ.2307 สามารถบุกตีชนะได้ และได้ตัวธิดา เจ้าเมือง นครเวียงจันทร์ไปถวายพระเจ้าอังวะ
    2. การสงครามกับเมืองเถิน ในปี พ.ศ.2309
    3. สงครามขับไล่พม่าออกจากเมืองนครลำปาง ในปี พ.ศ.2317 และจากการขับไล่ครั้งนี้ทำให้ พระเจ้ากาวิละ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าครองนครลำปาง
    4. สงครามป้องกันเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2318
    5. สงครามตีเมืองเชียงแสน ในปี พ.ศ.2322 หลังจากสงครามครั้งนี้พระเจ้ากาวิละ ได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าเมืองนครเชียงใหม่
    6. สงครามป้องกันเมืองนครลำปาง ในปี พ.ศ.2327 สงครามนานถึงสองเดือน ยี่สิบหกวัน
    7. สงครามตีเมืองเชียงแสนครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2336 แต่ไม่สามารถตีเอาเมืองได้
    8. สงครามป้องกันเมืองเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2339 ต่อสู้กับกองทัพพม่า
    9. สงครามตีเมืองเชียงแสนครั้งที่ 3 สามารถตีพม่าออกไปได้
    พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการขยายอาณาเขต

    1. การขยายไปยังหัวเมืองชายแดนด้านตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ หัวเมืองที่ขยายออกไปได้ แก่ หัวเมือง กะเหรี่ยงยางแดงฝ่ายฟากตะวันตกของแม่น้ำคง
    2. การขยายไปยังหังเมืองชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือและด้านเหนือของเมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน หัวเมืองที่ขยายไปปกครองได้แก่ หัวเมืองไทยใหญ่ ฟากฝ่ายตะวันตก หัวเมืองไทยใหญ่ฟากตอนเหนือของเมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองเชียงแสน
    3. การขยายไปยังหัวเมืองลื้อ เมืองสิบสองปันนา
    พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการบูรณะปฎิสังขรณ์เมืองเชียงใหม่ และกิจการทางพระพุทธศาสนา

    1. การบูรณะปฎิสังขรณ์เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่นับเป็นหัวเมืองใหญ่ ในเขตลานนาไทย หลังจากที่พระเจ้ากาวิละได้ยกทัพเข้ามาตีไทยแล้ว ได้ก้อรูปช้างเผือกคู่หนึ่ง ไว้ทาง หัวเวียงนอก ประตูช้างเผือก ก่อรูปกุมกัณฑ์คู่หนึ่ง รูปฤษีหนึ่งตนไว้ ณ ข่วงสิงห์ เพื่อให้เป็น สิงงหนาทแก่บ้านเมือง และได้ตั้งศาล พระเสื้อเมืองศรีเมืองขึ้นอีกด้วย ก่อกำแพงเมืองใหม่ ทั้งสี่ด้าน สร้างป้อมไว้ทั้งสี่มุม และสร้างประตูเมือง 5ประตู และได้ปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม น้อยใหญ่ เมืองเชียงใหม่จึงฟื้นคืน เป็นบ้านเมืองดังเดิม

    2. การบูรณะปฎิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทั้งภายในเมืองและหัวเมืองต่างๆ
    ปลายพระชนม์ชีพ

    พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ฯ ปกครองเมืองนครเชียงใหม่นานถึง 20 ปี ในช่วงที่ปกครองเมืองเชียงใหม่นั้น พระเจ้ากาวิละได้ขยายพระราชอาณาเขตให้ไทย มีเขตแดน ทางเหนือ ทางตะวันตก ขยายออกไปกว้างขวางมาก มีหัวเมืองต่างๆ มายอมอยู่ ใต้อำนาจเป็น จำนวนมาก และเมื่อมีหัวเมืองใดมายอมอยู่ใต้ อำนาจ กรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละฯ ก็จะเป็น ผู้นำเจ้าเมืองต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าเฝ้าถวายตัวต่อพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานครตลอดมา

    ในปี พ.ศ.2358 พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ ได้นำพวกมอญเข้าเฝ้า ถวายตัวต่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นับเป็นที่โปรดปรานของ พระมหากษัตริย์ไทยเป็นอันมาก ดังปรากฎข้อความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตอนหนึ่งว่า

    "...สมเด็จพระเป็นเจ้าเสด็จจากกระแหง ล่องไปถึง ณ วันอังคาร เดือน 10 ทุติยะ แรม 4 ค่ำ ถึงกรุงเทพฯ เข้าเฝ้ามหากษัตริย์เจ้าเอาคนเมง (มอญ) เข้าเฝ้าทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระมหากษัตริย์ ก็ตือ ชอบแม่น ประทานเงิน เสื้อผ้า ต้อนรับขับสู้ เลี้ยงดูด้วยเข้าปลา อาหาร ส้มหวาน เล่นละเมง ละคร ขับฟ้อน เล่นมหรสพอุ่นงัน เป็นมหาปางอันใหญ่..."

    เสร็จแล้วพระยากาวิละพระราชาธบดีศรีสุริยวงศ์ฯ ก็ทูลลากลับมายังเมืองเชียงใหม่
    เมื่อพระเจ้ากาวิละพระราชาธบดีศรีสุริยวงศ์ฯ กลับมาถึงเมืองเชียงใหม่แล้วก็ทรง ประชวรหนัก และถึงแก่อนิจกรรม ณ เมืองเชียงใหม่ เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 4 ปี พ.ศ.2358 รวมอายุทั้งสิ้น 74 ปี

    พระเจ้ากาวิละพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ แห่งเมือง เชียงใหม่ ในระยะหลัง ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการสงครามจนสามารถ ขับไล่พม่าออก จากเขต ล้านนาไทยได้ ทรงมีส่วนสำคัญในการขยาย พระราชอาณาเขต ของไทย ทางเหนือ ให้กว้างใหญ่ไพศาล จนเทียบเท่าอาณาเขตในสมัยสมเด็จพระนเรศวร มหาราช และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทาง พุทธศาสนา จนทำให้พระพุทธศาสนามี ความเจริญรุ่งเรือง และประดิษฐานอย่างมั่นคง ในเมือง เชียงใหม่ และหัวเมืองล้านนาไทย นับได้ว่าพระเจ้ากาวิละเป็นวีรบุรุษที่กล้าหาญและ เป็นบุคคล สำคัญ ของชาวเชียงใหม่ สมควรที่ชาวไทยทั้งมวลยกย่องเทิดพระเกรียติไว้ตลอดกาล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • king1.gif
      king1.gif
      ขนาดไฟล์:
      16.4 KB
      เปิดดู:
      3,866
  8. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]


    ประวัติพระญาธัมมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 (พ.ศ.2289-2364)
    พระญาธัมมลังกา เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของเจ้าฟ้าชายแก้วและนางจันตา สมภพ เมื่อ พ.ศ.2289 พระญาธัมลังกาได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นพระญาเชียงใหม่หรือ "เจ้าหลวงเชียงใหม่ " เมื่อดำรงอายุ่ได้ 70 ปี ดังนั้นบทบาทสำคัญของท่านจึง อยู่ที่การร่วมงาน กับพระญากาวิละอย่างใกล้ชิด เป็นผู้ช่วย ราชการ ที่เข้มแข็งในสมัยพระญากาวิละ มีบทบาททั้งคู่กับพระญากาวิละ และการปฎิการแทนพระองค์

    ในปี พ.ศ.2317 เมื่อพระญากาวิละร่วมมือกับพระญาจ่าบ้านและพระเจ้ากรุงธนบุรี " ฟื้นม่าน ปลดปล่อย ล้านนาให้พ้นจากอำนาจของพม่าสำเร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้ง พระญาจ่าบ้าน เป็น พระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ ตั้งเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมือง นครลำปาง และตั้ง เจ้าธัมมลังกา เป็นอุปราชเมืองนครลำปาง

    ในปี พ.ศ.2348 หลังจากเมื่อกลับจากการตีเมืองต่างๆ ในสิบสองปันนา พระญาอุปราช ผู้เป็น แม่ทัพในครั้งนั้นก็ได้พาพระญาบุรีรัตน์ เจ้าหอคำเมืองเชียงตุง และ " ท้าวพระญา หัวเมืองนอกทั้งปวง " คือพระญาเมืองยอง พระญาเมืองวะ พระญาเมืองเชียงขาง และ พระญานาฝาก เมืองยาง ล่องเรือลงไปเฝ้า "สมเด็จระเอกราชะมหาหากษัตริย์เจ้าตนบุญใหญ่ฯ " ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานรางวัล "พานพระสลีคือขันคำเครื่องในครบ 7 สิ่งแลคนโฑคือน้ำต้นคำคะโถนคืออ้องน้ำหมากคำ พระแสงหอกดาบคือว่าดาบฝักคำ หอกคอคำ แก่พระเป็นเจ้ามหาอุปราชา แถมใหม่เป็น ถ้วยสองที " และพระราชทานเลื่อนยศเป็น เจ้ามหาอุปราช เชียงใหม่ และพระราชทานรางวัล แก่เจ้านายท้าวพระญาทุกท่าน

    ในปี พ.ศ.2350 พระญากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่มอบหมาย ให้เจ้ามหาอุปราช ธัมมลังกา ไปตรวจด่านทางเมืองยวมถึงฝั่งน้ำแม่คง(แม่น้ำสาระวิน) ครั้งนั้นท่านได้ทำ พิธีสัตย์ปฎิฎาน เป็นมิตรไมตรีกับเจ้าเมืองยางแดงที่ตำบลท่าละยา โดยล้มกระบือตัวหนึ่ง ผสมกับสุรา เป็นสัจจบาน แล้วผ่าเขากระบือออกเป็นสองซีก ให้เมืองเชียงใหม่และ เมืองยางแดง รักษาไว้ และว่า " ตราบใด แม่น้ำคงบ่หายเขาควายบ่ซื่อ ถ้ำช้างเผือกบ่ยุบ เมืองเชียงใหม่กับเมืองยางแดง คงเป็นไมตรีกัน อยู่ตราบนั้น "

    เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่ (พระเจ้ากาวิละ) ถึงแก่พิราลัยแล้วใน พ.ศ.2358 นั้น เจ้าธัมมลังกา หรือ เจ้าน้อยธํมมลังกาหรือน้อยธัมม์ ผู้เป็นน้องลำดับที่ 2 ของเจ้ากาวิละ ซึ่งดำรงตำแหน่ง เจ้ามหาอุปราช เมืองเชียงใหม่อยู่นั้นได้รักษาราชการในเมืองเชียงใหม่ สืบต่อมา เมื่อถึงเดือน 9 เหนือ ขึ้น 12 ค่ำ วันศุกร์ บรรดาเจ้านายลูกหลานท้าวพระญา เสนาอามาตย์ในเชียงใหม่ทั้งมวล ก็ได้น้อมบ้าน เวนเมือง ให้เจ้ามหาอุปราช เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ เฉลิมพระนามว่า เสตหัตถิสุวัณณปทุมราชา เจ้าช้างเผือก และเชิญเจ้าคำผั้นเจ้าเมืองลำพูน ซึ่งเป็นน้องคนที่ 6 มาเป็นอุปราชา ( ให้เจ้าอุปราช สรีบุญมาผู้น้องลำดับที่ 7 เป็นเจ้าเมืองลำพูนแทน )

    ในปี พ.ศ.2359 ได้ช้างเผือกเอก 1 เชือก ให้ชื่อช้างเผือกเชือกนั้นว่า เสตัคคนาเคนท์ ครั้นถึง เดือน 11 เหนือแรม 6 ค่ำ วันพุธ พระเจ้าช้างเผือกให้ เจ้าพุทธวงศ์ และ เจ้าสุวัณณะคำมูน คุมช้างเผือก ล่องลงไปถวายพระเจ้าอยู่หัวในกรุงเทพมหานคร และถัดมา ในเดือนยี่เหนือ พระเจ้าช้างเผือก ก็ยกกองเรือล่องไปสมทบนำช้างเผือกเข้าถวาย ในครั้งนั้น ก็ได้รับการแต่งตั้ง จากราชสำนัก รัตนโกสินทร์ ให้เป็นพระญาเชียงใหม่ ให้เจ้าคำฝั้น หรือ พระญาลำพูนคำฝั้น เป็นอุปราชเชียงใหม่ และเลื่อนพระญาอุปราชบุญมา เมืองลำพูน เป็นพระญาลำพูน

    ในยุคของพระญาธัมมลังกานี้ได้มีการซ่อมแซมคูและกำแพงเมือง ซึ่งพระญามังราย ได้โปรดให้ สร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.1839 ขุดคูรอบเมืองกว้างประมาณ 20 วา แล้วใช้มูลดินจากการขุดคู ถมเป็นแนวกำแพงซึ่งสูง 8 ศอก กว้าง 6 ศอก เมื่อ พ.ศ.2016 ในสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว ได้มีการปรับ แนวกำแพงให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม และใช้อิฐก่อสองข้าง แนวกำแพงนั้น และบูรณะอีกครั้ง ในสมัย พระเจ้ากาวิละ เมื่อพ.ศ.2339 โดยเรื่มเมื่อ พ.ศ.2361 เดือนสี่เหนือ แรม 4 ค่ำ วันพฤหัสบดี เริ่มการขุดลอกคูเมือง ตั้งแต่แจ่งกู่เฮืองไป จนถึง ประตูไหยา (หายยา) มีความยาวรวม 606 วา ใน พ.ศ.2363 ให้เริ่มก่อกำแพงเมือง โดยเริ่มจากด้านแจ่งสรีภูมิแล้วเวียนไปทางซ้าย

    พ.ศ.2364 เดือนแปดเหนือ ขึ้น 14 ค่ำ วันอังคาร พระญาธัมมลังกาไม่ สบายถึง กับอาเจียร ครั้นถึงวันรุ่งขึ้น พระญาธัมมลังกาก็ถึงแก่อสัญกรรมหลังจากที่ราชสำนักกรุงเทพ แต่งตั้งให้เป็น พระญาเชียงใหม่เมื่อมีอายุ 70 ปี นางเทวีของพระญาธัมมลังกา ชื่อแม่เจ้าจันฟอง มีบุตรธิดารวม 17 คน เป็นชาย 6 คน เป็นหญิง 11 คน
     
  9. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]ประวัติพระญาคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 (พ.ศ.2299-2368)
    พระญาคำฝั้นหรือเจ้าคำฝั้น เป็นบุตรลำดับที่ 8 และเป็นบุตรชายลำดับที่ 6 ของเจ้าฟ้าชายแก้วกับนางจันตา สมภพเมื่อ พ.ศ.2299 เป็นผู้ช่วยราชการที่ เข้มแข็ง ทั้งในสมัยพระญากาวิละและพระญาธรรมลังกา ซึ่งเอกสาร พื้นเมือง มักเรียกรวมกันว่า "เจ้า 3 องค์พี่น้อง" คือพระเจ้า กาวิละที่ได้รับ พระราชทาน พระนามว่า พระยามังราววชิรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าธรรม ลังกา ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นอุปราชเมือง เชียงใหม่ และเจ้ารัตนะหัวเมือง แก้ว ซึ่งเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว คือเจ้าคำฝั้น ผู้ซึ่งได้รับเป็นเจ้า ผู้ครอง นครเชียงใหม่องค์ที่ 3 ของเชียงใหม่ซึ่งมักเรียกกันว่า "เจ้าหลวงเสฏฐีคำฝั้นหรือเจ้าหลวงเศรษฐีคำฟั้น"

    พ.ศ.2344 เจ้าอุปราช และเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว กับเจ้าหอคำเชียงตุง ได้นำบรรดาท้าว พระญา หัวเมืองทั้งหลาย ลงไปเข้าเฝ้าสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งในครั้งนั้นทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ใหเจ้ารัตนะวังหลัง หรือเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว คือเจ้าคำฝั้นและเจ้าสรีบุญมา ซึ่งเป็นน้องคนเล็กในกลุ่มเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์ยกเข้าไปตั้งเมืองลำพูน เพื่อพลิกฟื้นเมือง ลำพูน ซึ่งร้างอยู่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

    หลังจากที่เจ้าคำฝั้นได้รับพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลำพูนแล้ว เจ้าคำฝั้นก็ได้บูรณะ วัดวาศาสนสถานและสิ่งปรักหักพังต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่จนถึงพ.ศ.2359 ในคราวที่พระญาธรรม ลังกา ได้รับพระราชทาน แต่งตั้งจากสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในกรุงเทพฯ ให้เป็นพระยา เชียงใหม่นั้น ก็ทรงตั้งให้พระญาลำพูนคำฝั้นเป็นอุปราชเชียงใหม่ และเลื่อนพระญาอุปราชบุญมา เมืองลำพูนเป็นพระญาลำพูน

    เมื่อพระญาธรรมลังกาหรือพระญาเชียงใหม่ช้างเผือกถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.2364 แล้วเจ้านายลูกหลานท้าวพระยาเสนาอามาตย ์มีเจ้าพุทธวงค์ เป็นประธานได้พร้อมใจกันยกเจ้า อุปราชคำฝั้นขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ มีชื่อว่า "พระเจ้ามหาสุภัทรราชะ" โดยที่พระเจ้า อยู่หัว ได้พระราชทานเครื่องยศให่แก่เจ้าพุทธวงศ์และตั้งให้เป็นอุปราช เมื่อ พ.ศ.2365 เจ้าคำฝั้น ได้ลงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเลื่อนเจ้าคำฝั้น ขึ้นเป็นพระยาเชียงใหม่

    ใน พ.ศ.2367 พระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต เจ้าหลวงเสฎฐีคำฝั้น จึงให้มีการทำบุญ ครั้งใหญ่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปถวายพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งสวรรคตไปนั้นและให้ เจ้าอุปราชพุทธวงศ์ ได้พาเอาเจ้านาย และขุนนางเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง ลงไปเฝ้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้า อยู่หัว ที่กรุงเทพฯช่วงนั้นเจ้าหลวงคำฝั้นเริ่มอาการป่วย ซึ่งเมื่อ พระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบก็ให้หมอ ขึ้นมาช่วยรักษา อาการก็มิได้หายขาด จนนถึงวันอาทิตย์ เดือนห้าเหนือ แรม 11 ค่ำ ในเวลาบ่าย เจ้าหลวงเสฎฐีคำฝั้นก็ถึงแก่อนิจกรรม ใน พ.ศ.2367 ซึ่งต่อมา เจ้าราชวงศ์ ได้รื้อเอาหอขวาง ของ เจ้าหลวงคำฝั้นไปสร้างวิหารที่วัดเชียงมั่น

    เจ้าหลวงคำฝั้นครองเมืองเชียงใหม่เพียง 2 ปี โดยได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2366 ในขณะที่มีอายุ 67 ปี และวายชนน์เมื่ออายุ 69 ปี มีแม่เจ้าตาเวยเป็น ราชเทวี เจ้าคำแพง (คำแปง) เป็นเทวี และมีหม่อมอีก 14 นาง มีทายาทชาย 20 คน ทายาทหญิง 24 คน
     
  10. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]


    พระญาพุทธวงส์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4 (พ.ศ.2368-2386)
    พระญาพุทธวงส์ ชาวเมืองเชียงใหม่เรียกพระองค์ว่า "เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น" ได้ครอง เมืองนานถึง 20 ปี เป็นบุตรลำดีบที่ 1 ของพ่อเรือน ซึ่งเป็นน้อง ของเจ้าฟ้าชายแก้ว พระญา พุทธวงส์มีบทบาท ในฐานะ ของพระญาติและเป็นบุคคลสำคัญในการรวบรวมผู้คนมาเป็นประชากร ของเมืองเชียงใหม่ในสมัยของพระญากาวิละ

    เมื่อเจ้าหลวงคำฝั้นถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.2368 เดือนห้าเหนือ แรม 11 ค่ำ นั้น บรร ดาขัตติยวงสาท้าวพระญาเสนาอามาตย์ ก็น้อมบ้านเวนเมือง ให้เจ้าพุทธวงส์
    พ.ศ.2370 เจ้ามหาอุปราชและเจ้านายทั้งหลายร่วมกับพระสงฆ์ 10 รูป เชิญพระญาพุทธ วงส์ขึ้นสถิตทึ่ หอเดื่อหอชัย รดน้ำเป็นราชา ภิเษกเป็นจำนวน 12 กระออม จากนั้นจึงนำขึ้นสู่หอ เทียม ที่สร้างขึ้นใหม่

    ครั้นถึง พ.ศ.2389 พระญาพุทธวงส์ป่วยถึงแก่อสัญกรรม ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระยารักษมณเฑียรซึ่งเป็นพระยาอิสรานุภาพกับหลวง พิทักษ์สุเทพเป็นข้าหลวง ขึ้นไปช่วย จัดการศพของเจ้าพุทธวงส์ด้วย ท่านมีบุตรรวม 9 คน
     
  11. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]พระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 5
    พระเจ้ามโหตรประเทศฯ พระนามเดิมคือ เจ้าหนามมหาวงส์ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 16 คนและเป็นบุตรชายคนแรกในจำนวน 5 คน ของพระ ญาธัมมลังกาหรือเจ้าช้างเผือกธัมมลังกา ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่องค์ที่ 2

    หลังจากพระญาพุทธวงส์หรือเจ้าหลวงแผ่นดินเย็นพุทธวงส์เจ้าเมืองเชียงใหม่ถึงแก่ อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ.2389 แล้ว เจ้าหนานมหาวงส์ ซึ่งเป็นอุปราชได้รั้งเมืองสืบมา จนถึง พ.ศ. 2390 พระญาอุปราช มหาวงส์เมืองเชียงใหม่และเจ้าพิมพิสารได้นำช้างพลายสีประหลาดลงไป ถวาย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งครั้งนั้นทรง พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเจ้าอุป ราช มหาวงส์ (บุตรของพระญาธัมมลัลกา) เป็นพระญาเชียงใหม่ ตั้งเจ้าพิมพิสารเป็นพระญา อุปราชเมือง เชียงใหม่

    ในปี พ.ศ.2395 พระญาเชียงใหม่ พระญาลำพูน และพระญาอุปราชผู้ว่า การนครลำปาง ได้ จัดต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว และใน ปี พ.ศ.2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ พระญาสีหราชฤทธิไกร เชิญพระสุพรรณบัฎ กับเครื่องสูงมาพระราชทาน พระญาเชียงใหม่ มหาวงส์และเลื่อนยศขึ้นเป็น พระเจ้ามโหตรประเทศ ราชาธิบดินทร์ นพีสินทรมหานคราธิสฐาน ภูบาลบพิตร สถิตในอุดม ชิยางคราชวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ใะขณะนั้นยังป่วยอยู่ ครั้นได้เป็นเจ้า ประเทศราชได้ 5 เดือนกับ 28 วัน ถึงวันเดือนยี่เหนือ แรม 9 ค่ำปีจุลศักราช 1216 (พ.ศ.2397) โรคกำเริบขึ้นมาก พระเจ้ามโหตรประเทศฯ ก็ถึงแก่พิราลัย รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ได้ 7 ปีเศษ พระเจ้ามโหตรประเทศฯ มีบุตรธิดารวม 19 คนโดยเป็นชาย 10 คน เป็นหญิง 9 คน

    ในสมัยพระญาเชียงใหม่เจ้ามหาวงส์นี้ มีหลักฐานปรากฎชัดอยู่ว่า ทางราชสำนัก กรุงรัตน โกสินทร์สมัยรัชกาลทึ่ 3 ให้การสนับสนุนโดย มีพระราชประสงค์ที่จะให้เจ้ามหาวงส์ " เอาใจใส่ด ูแลราชการ บ้านเมือง ให้ทั่วไปทั้ง 3 เมือง ถือได้ว่า นับตั้งแต่ปลายสมัยของเจ้าหลวงพุทธวงส์ แห่งเชียงใหม่นั้น เจ้ามหาวงส์แห่งนครเชยงใหม่มีบทบาทมาก ขึ้นจนสามารถ ควบคุมดูแลไปถึง เมืองลำพูน และลำปาง อีกครั้งหนึ่ง ที่เคยมีในสมัยพระเจ้ากาวิละ
     
  12. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 (พ.ศ.2399-2413)
    พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 เป็นโอรส องค์ที่ 2 ในจำนวน 5 องค์ของพระเจ้ากาวิละ เดิมชื่อเจ้าสุริยวงษ์ เมื่อได้บวชและ ลาสิกขาบทแล้วจึงได้ชื่อว่า "เจ้าหนาน สุริยวงษ์" เมื่อพระเจ้ามโหตรประเทศฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 5 ประชวร และถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ.2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวโปรดให้มีตราขึ้นมาตั้งให้พระญาอุราชพิม พิสารว่าราชการเมือง แต่ก็ไม่ปรองดองกับเจ้าน้อยมหาพรหม โอรสองค์ แรกของพระเจ้ามโหตร ประเทศฯ จนกิตติศัพท์ทราบไปถึงกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามุขมนตรี (เกษ) และหลวงวิ สูตร์ สมบัติขึ้นมาระงับ เหตุการวิวาทและปลงพระศพพระเจ้ามโหตรประเทศฯด้วย เมื่อจัดการ เสร็จ แล้วจึงได้พาตัวหนานสุริยวงษ์ โอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งดำรงตำแหน่ง พระญาบุรีรัตน์ หรือพระญาเมืองแก้ว หรือ เจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว กับเจ้าน้อย มหาพรหม เจ้าหนานสุริยวงษ์โอรส พระ เจ้ามโหตรประเทศฯและพระญาอุปราชเมืองนครลำปาง ลงไป กรุงเทพฯ

    ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าเมือง นครเชียงใหม่ นคร ลำพูน และนครลำปางเป็นเมืองประเทศราช เคยมีเจ้าผู้ครอง นครมาก่อน จึงมีพระราชประสงค์ จะเปลี่ยน ตำแหน่งพระญาเป็นตำปหน่ง "เจ้า" ดังนั้นใน พ.ศ.2399 จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศ พระญาเมืองแก้วสุริยวงษ์บุตรของ พระเจ้ากาวิละขึ้เป็นเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ ดำรงนพี สีนคร สุนทรทศ ลักษกระเษตร วรฤทธิเดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่ตั้งเจ้า หนานธัมมปัญโญบุตรของพระญาเชียงใหม่คำฝั้น เป็นเจ้าอุปราช ตั้งเจ้าอินทนนท์เป็นเจ้าบุรีรัตน์ (ทรงแก้จากตำแหน่งพระญา เมืองแก้ว) ครั้นเดือน 12 เจ้านครเชียงใหม่ให้เจ้าน้อยหน่อคำ เจ้า น้อยแผ่น ฟ้าคุมต้นไม้เงินต้นไม้ทองเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จึงโปรดให้ตั้งเจ้าน้อยหน่อคำ บุตรพระญาเชียงใหม่ช้างเผือก เป็นเจ้าราชวงศ์ และตั้งเจ้าน้อยแผ่นฟ้า เป็นเจ้าราชภาคินัยเมือง นครเชียงใหม่

    ต่อมาในปี พ.ศ.2404 เจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ล่องลงไปเฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาท พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร ครั้งนั้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อน เป็น พระเจ้านครเชียงใหม่ ซึ่งในสมันนี้มีผู้เรียกท่านว่า "เจ้าชีวิตอ้าว" เพราะพระองค์ท่านมักใช้อำนาจ เด็ดขาด โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาคดี ถ้าพระองค์ท่านตรัสคำว่า "อ้าว" เมื่อใด ก็แสดง ว่าบุคคล ที่มี ความผิดนั้น "คอขาด"
    เจ้าหลวงกาวิโรรสสุริยวงษ์ หรือ "เจ้าชีวิตอ้าว" เสกสมรสกับแม่เจ้าอุสา (อุษา)และมีธิดาสอง นางคือ
    1. เจ้าทิพเกสรหรือเทพไกสร เป็นชายาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเป็นมารดา ของเจ้าดารารัศมี
    2. เจ้าอุบลวรรณณา เป็นยายของเจ้ากาวิละวงศ์
     
  13. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 (พ.ศ.2413-2440)
    พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 มีพระนานเดิมว่า เจ้าอินทนนท์ เป็น ราชบุตรเจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง แม่เจ้าคำหล้า และเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้ากาวิโรรส สุริยวงษ์ เษกสมรสกับเจ้าเทพไสร (เทพเกษร) มีบุตรและธิดา กับแม่เจ้าเทพไกรสรพร้อมกับแม่เจ้า อื่นๆ และหม่อมอีก รวมทั้งหมด 11 คน คนที่มีบทบาทสำคัญต่อมา 3 องค์ คือโอรสองค์ที่ 6 เจ้า น้อยสุริยะ (ต่อมาเป็นเจ้าสุริยวงษ์-เจ้าราชบุตร-เจ้าอุปราช แล้วเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์เจ้าผู้ ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 (กำเนิดจากแม่เจ้ารินคำ) โอรสองค์ที่ 7 เจ้าแก้วนวรัฐฯ (ต่อมาเป็น เจ้าราชภาคินัยเจ้าสุริยวงษ์เจ้า ราชวงษ์เจ้าอุปราช ตามลำดับแล้ว เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ ที่ 9 (กำเนิดจาก หม่อมเขียว) และพระธิดาองค์ที่ 11 เจ้าหญิงดารารัศมี (ต่อมาคือ พระราชชายาเจ้า ดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 /กำเนิดจากแม่เจ้าเทพไกรสร)

    พ.ศ.2416 เดือน 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าอุปราชอินทนนท์เป็น เจ้าอินทรวิไชยา นนท์ พหลเทพภักดี ศรีโยนางคราชวงศา มหาประเทศราชาธิบดี นพีสีนคราภิพงศ์ ดำรงพิพัฒน์ชิ ยางค์ราชวงศา เจ้านครเชียงใหม่ และหรงแต่งตั้ง เจ้าบุญทวงศ์เป็นเจ้าอุปราชเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.2424 จึงโปรดเกล้าเลื่อนฐานันดรศักดิ์เจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นพระเจ้า อินทวิชยานนท์ฯ และ ถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ.2440 จัดการปลง พระศพในปีต่อมาเมื่อเดือนหกเหนือ ขึ้น 14 ค่ำ ที่ท่าน้ำ ปิง ก่อสถูปบรรจุพระอัฐิไว้ที่ต้นไม้กร่าง ฝ่ายตะวันตกของสะพาน ข้ามแม่น้ำปิง ต่อจากสถูปของ แม่เจ้าเทพไกรสร (ต่อมาพระราช ชายา เจ้าดารารัศมี ให้ย้ายไปไว้ที่วัดสวนดอก เชียงใหม่)

    ในครั้งที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ลงไปเฝ้าฯ รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2429 นั้น ได้พาเอาพระธิดาชื่อเจ้าดารารัศมี ซึ่งขณะนั้นอายุ 13 ปี ลงไปด้วยซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มีการสมโภสและให้เจ้าดารารัศมีเข้ารับราชการฝ่ายในเป็นเจ้าจอมตั้งแต่บัดนั้น ก่อนที่เจ้าดารา รัศมีจะกลับมาเยี่ยมเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2451 ก็ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศ ขึ้นเป็น "พระราชชายา" อันเป็นตำแหน่งมเหสีเทวีพระองค์หนึ่ง

    ในช่วงสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์นี้ มิชชันนารีคือศาสตราจารย์ แมคกิลวารี และครอบครัวได้ ขึ้นมาถึงเชียงใหม่ 3 เมษายน พ.ศ.2411 ตั้งจุดประกาศศาสนา เริ่มจัดการศึกษาแบบตะวันตก โดยนางโซเฟีย รอยซ์ แมคกิลวารี แคมป์เบลล์ และเอ็ดนา โคล ได้มาจัดระเบียบโรงเรียนสตรีครั้ง แรกในปี พ.ศ.2418 ต่อมาในปี พ.ศ.2422 นางสาวแมรี่ แคมป์เบลล์ และเอ็ดนา โคล ได้มาจัดระ เบียบ โรงเรียนสตรีที่บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน ส่วนการศึกษา สำหรับเด็กชายนั้น ได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนชายวังสิงห์คำ" (chiengmai boy school) ขึ้นที่บริเวณทึ่เรียกว่าวังสิงห์คำ เมื่อ พ.ศ.2431 โดยศาสนาจารย์ เดวิด จี.คอลลินส์ ต่อมาเป็นโรงเรียนปรินส์รอแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนดังกล่าว ตอนแรก ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษา ล้านนาในการเรียนการสอน มีการพิมพ์ตำราด้วยอักษรล้านนา โดยมิชชันนารีประดิษฐ์ตัวพิมพ ์อักษรล้านนาได้ตั้งแต่ พ.ศ.2379

    ในสมัยนี้บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทยอยมาประกอบกิจการในเชียงใหม่ เช่นบริษัทบริติชบอร์เนียว (british borneo) เข้ามาในราว พ.ศ.2407 บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (bombay burma) เข้ามาใน ราว พ.ศ.2432 และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (siam forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่น ๆ เข้ามาทำงานในกิจการดังกล่าว ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและคนใน บังคับชาวอังกฤษเข้ามาในล้านนามากขึ้นตามลำดับ และในการ ทำป่าไม้ได้เกิดปัญหาถึงขั้นฟ้องศาล ที่กรุงเทพฯหลายคดี จากหลักฐานพบว่ามีคดีความจำนวน 42 เรื่อง ตั่งแต่ พ.ศ.2401-2416 ตุลาการตัดสินยกฟ้อง 31 เรื่อง ส่วนอีก 11 เรื่องพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่า เสียหายรวม 466,015 รูปี หรือ 372,812 บาท เจ้าเมืองเชียงใหม่ ในขณะนั้นคือเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ขอชำระเพียงครึ่งเดียว ก่อนส่วนที่เหลือ จะชำระภายใน 6 เดือน แต่กงศุลอังกฤษไม่ยอมรับ บังคับให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ชำระทั้งหมดหรือมิฉะนั้นต้อง จ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนัก กรุงเทพฯ ก็ไม่ยินยอม ดังนั้น เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงจ่ายค่าเสียหาย 150,000 รูปี (120,000 บาท) ราชสำนัก กรุงเทพฯให้ยืมเงิน 310,000 รูปี (248,000 บาท) โดยต้องชำระคืนภานใน 7 ปี พร้อมทั้งดอก เบี้ย ในรูปไม้ขอนสัก 300 ท่อนต่อปี

    ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเหตุหนึ่งที่ทำมีการเปลี่ยนแปลง การปก ครอง ในมณฑลพายัพในเวลา ต่อมา โดยเริ่มตั้งแต่ส่ง พระยานรินทรราชเสนา (พุ่ม ศรีไชยยัยต์) ปลัดบัญชีกระทรวงกลาโหม ไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมืองประจำอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ มีหน้าที่ ควบคุม ดูแลและ ให้คำแนะนำให้ พระเจ้าเชียงใหม่ปฎิบัติตามสนธิสัญญาเชียงใหม่ พ.ศ.2416 และโปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากรเป็น ข้าหลวงพิเศษ มาจัดการแก้ไขปัญหาชายแดนและดำเนินการปฎิรูปการ ปกครองมณฑลพายัพเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2427 ส่งผลให้ เกิดปฎิกริยาเป็นกบฎพระญาปราบ สงคราม ในพ.ศ.2432 หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว รัฐบาลกลางได้ยอมผ่อน ปรนบาง ประการ เช่น ใน พ.ศ.2435 อนุญาตให้พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ ยกเลิกเสนาผู้ช่วย 6 ตำแหน่ง ตามที่เสนอ ไป แต่ก็ดำเนินการ ปฎิรูปการปกครองตามระบบมณฑลเทศาภิบาลต่อไปจนสำเร็จ จัดตั้ง เป็น มณฑลลาวเฉียง (พ.ศ.2436-2442) และมณฑลพายัพ (พ.ศ.2442-2476) อยู่ภายใต้การ กำกับ ราชการของ ข้าหลวงเทศาภิบาล
     
  14. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8
    เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 พระนาม เดิมว่าเจ้าน้อยสุริยะ เมฆะ เป็นบุตรของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 กับแม่เจ้ารินคำพระ ธิดาของ เจ้าไชย ลังกาพิศาลคุณ สมภพเมื่อวันศุกร์เดือน 6 เหนือ ขึ้น 5 ค่ำ ปีมะแมพ.ศ.2402 เมื่อ มีพระชนมายุได้ 23 ปีได้ล่องลงไปเฝ้าฯรัชกาลที่ 4 ได้รับ พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นที่ "เจ้า สุริยวงษ์จางวาง" เป็นผู้ช่วย ราชการพระเจ้าเชียงใหม่

    พ.ศ.2432 ได้ลงไปเฝ้าฯรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญา บัตร ให้เป็นเจ้าราชบุตร และ ได้ รับตำแหน่งนายทหารบก เป็นนาย พันตรี

    พ.ศ.2436 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าราชวงศ์ และตำแหน่ง เสนามหาดไทย รับ เบี้ยหวัดปีละ 1,500 รูปี ต่อมา พ.ศ.2441 ได้นำ ต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการ ไปทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้เป็นที่"เจ้าอุปราช"

    ครั้นพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ พระบิดาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ว่าราชการแทนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น "เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทร ทศลักษ์เกษตร วรฤทธิเดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิศฐ์สัตยธาดา มหาโยนางคราชวงศา ธิบดี เจ้าผู้ครองนคร และในเดือนธันวาคมนั้นก็ได้รับเลื่อนยศเป็นนาย พันเอกทหารบก

    เมื่อมาถึงวันที่ 5 มกราคม ร.ศ.128 (พ.ศ.2453) เวลาบ่าย 4 โมง 55 นาที ก็ถึงแก่พิราลัย เมื่อพระชนมายุได้ 51 ปี ได้ว่าราชการ แทนเจ้าผู้ ครองนครเชียงใหม่ 2 ปี ได้เป็นเจ้าผู้ครองนคร 8 ปี รวมที่ได้ว่า ราชการเมืองเชียงใหม่ 10 ปี สมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯนี้ เป็นยุคของเจ้า ผู้ครองนคร มิได้เป็นเจ้าประเเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์อีกต่อไป ดังนั้นจึงไม่ต้องส่งเครื่อง ราชบรรณาการ และต้นไม้เงินต้นไม้ทอง อีกต่อไป โดยที่เจ้าอินทวโรรสสุรยวงษ์ฯ ได้รับพระราชทานเงิน เดือน ๆ ละ 20,000 บาท
    ในบั้นปลายพระชนชีพของพระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯนั้น ท่านเป็น โรคไอ แพทย์หลวง ตรวจดูอาการพบว่า ปอดเสีย จนถึงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2452 ก็ถึงแก่อสัญญกรรม
     
  15. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    [​IMG]พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องที่ 9 (พ.ศ.2405-2482)
    เจ้าแก้วนวรัฐเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 สมภพเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2405 เวลา 06.00 น. ณ หอคำนครเชียงใหม่เป็นโอรสลำดับที่ 6 ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าเขียว มีภาดาและภคินีร่วมบิดารวม 11 และร่วมอุทร 2

    เมื่อองค์ท่านมีชนมายุได้ 22 ปี ได้เสกสมรสกับแม่เจ้าจามรีธิดาของเจ้าราชภาคิไนย (แผ่นฟ้า ) ต่อมาได้เจ้าหญิงไฝ หม่อมเขียว และหม่อมแสเป็น "หม่อม" หรือชายาอีก มีบุตร 4 ธิดา 2 ดังนี้.

    1. เจ้าอุดรการโกศล (น้อยสุขเกษม)
    2. เจ้าหญิงบัวทิพย์
    3. เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน) (ลำดับ 1-3 เกิดแต่แม่เจ้าจามรี)
    4. เจ้าพงษ์อิน
    5. เจ้าหญิงศิริประกาย
    6. เจ้าอินทนนท์ (ลำดับ 4-6 เกิดแต่หม่อมเขียว)
    ในปี พ.ศ.2427 เจ้าแก้วนวรัฐฯได้เริ่มรับราชการในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับดังนี้
    1. พ.ศ.2427 เป็นรองเสนาคลัง
    2. พ.ศ.2432 เป็นเสนาคลัง
    3. พ.ศ.2442 เป็นเสนามทาดไทย
    4. พ.ศ.2452 รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
    5. พ.ศ.2454 เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
    โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ ดังต่อไปนี้
    1. พ.ศ.2432 เป็นเจ้าราชภาคิไนย
    2. พ.ศ.2436 เป็นเจ้าสุริยวงษ์
    3. พ.ศ.2440 เป็นเจ้าราชวงศ์
    4. พ.ศ.2447 เป็นเจ้าอุปราช
    5. พ.ศ.2454 เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็น เจ้าแก้วนวรัฐ ประพัทธอินทนันทพงษ์ ดำรง นพีสีนครเขตร์ ทศลักษเกษตรอุดม บรมราชสวามิภักดิ์ บริรักษ์ปัจฉิมานุทิศ สุจริตธรรมธาดา มหา โยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่
    6. พ.ศ.2462 เป็นนายพลตรี,ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษ,ประจำกองทัพบกเจ้า แก้วนวรัฐได้รับราชการพิเศษต่างๆ เช่น

    1. พ.ศ.2420 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้คุมราษฎรในเชียงใหม่และลำพูน จำนวน ประมาณ 300 ครัวเรือนไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เชียงแสน

    2. พ.ศ.2429 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้เป็นผู้แทนพระองค์ควบคุม เครื่องราช บรรณณาการ ไปทูลเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร

    3. พ.ศ.2433 ครั้งเกิดกบฎพระญาปราบสงคราม เจ้าแก้วนวรัฐฯ ซึ่งได้รับมอบหมาย ให้เป็น แม่กองนำกำลังติดตามไปจับกุม ครั้งนั้นได้เกิดต่อสู่กัน กองกำลังของเจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้จับกุมบุคคลสำคัญใน
     
  16. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    บรรณานุกรม
    1. Camille Notton : Annales du Siam (3), Chronique de XiengMai.Paris 1932.
    2. ทน ตนมั่น (ผู้ปริวรรต) "ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่" กรุงเทพฯ สำนักนายกรฐมนตรี พ.ศ.2514
    3. พระยาประชากิจกรจักร์ "เรื่องพงศาวดารโยนก" กรุงเทพฯ ร.ศ.126
    4. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กรุงเทพฯ พ.ศ.2511
    5.จดหมายเหตุโหร ประชุมพงศาวดาร ภาคที่8
    6. Incription 1.2.2.1 Wat Phra That Jom Thong A.D. 1779 (ฮันส์ เพนธ์ "พระบรมธาตุจอมทอง"
    ใน: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ "สังคมและวัฒนธรรมไทย" เชียงใหม่ 2513)
    7. Dr. J. C. Eade, Australian National University,Canberra,kindly helped with the dates
    8. อนุสรณ์อนุสาวรีย์พระเจ้ากาวิละครบรอบ 20 ปี : 5 กุมภาพันธ์ 2535
    ที่มา : http://www.yupparaj.ac.th/webpage/computer/student/topic9/index1.html


    http://archaeology.thai-archaeology...k=view&id=409&Itemid=50&limit=1&limitstart=10
     
  17. โยนกนาคบุรี

    โยนกนาคบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,694

    ชื่อเต็ม ๆๆ ของนครล้านนาคือโยนกนาคบุรี ขยายความอีกนิดหนึ่งซึ่งไม่มีให้ก๊อปจากที่ไหนถ้าผมไม่เปิดปั๊บและพิมพ์เอง

    โยนกนาคบุรี เป็นนามที่เรียกจากเมืองที่พญานาคสร้างขึ้นในเขตดินแดน
    ภาคเหนือ ที่เด่นสุดก็คือบ้านผมนะครับ เมือง 7 สายน้ำ 35 ม่อนดอย
    โยนกนาคบุรี หรือ ห้าเชียงนะครับ ประเทศล้านนาสมัยโบราณ
    เริ่มจาก
    เชียงราย (โยนกนาคบุรีศรีช้างแส่น) หรือ หิรัญนครเงินยางค์
    เชียงใหม่ (โยนกนาคบุรีศรีนครพิงค์) หรือ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
    เชียงรุ่ง (โยนกนาคบุรีศีเจงฮุ่ง) หรือเวียงรุ่ง
    เชียงตุง (โยนกนาคบุรีศรีตุงคบุรี) หรือ เขมรัฐตุงคบุรี
    เชียงทอง (โยนกนาคบุรีศรีเจียงตอง) หรือเมืองซัว หลวงพระบาง
    เป้นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุด แต่ก่อนมีอาณาจักรเหล่านี้มีอาณาจักที่เป็นแคว้นที่รุ่งเรืองมากกว่านี้ และมีมาก่อนล้านนา คือ
    ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ณ ดินแดนภาคเหนือ ท่ามกลางเทือกเขาน้อยใหญ่ นะครับก็มีการรวมเป็นกลุ่มเป็นแคว้น แคว้นที่สำคัญคือ หริภุญชัย ก่อตั้งโดย
    ฤาษีทั้ง 4 ตน ได้เชิญพระนางจามเทวี ธิดากษัตริย์เมืองละโว้ สถาปนาราชวงศ์
    จามเทววี แคว้นต่อมา โยนกนาคนคร ถัดมาคือ แคว้นภูกามยาว
    ---------
    ประวัติช่วงนี้ยาวมากตอนที่พญามังราย ได้แผ่ขยายอาณาเขต
    ได้ยึดอาราจักรหริภุญชัย จนทำให้เกิดอาณาจักรล้านนา

    ----------จากตำนาน 15 ราชวงศ์ นะครับ ------------
    ถูกต้องแล้วครับอาราจักหริภุญชัยที่ปกครองด้วยพญายีบา
    สายพระแม่เจ้าจามเทวีที่เป็นวีรสตรีแต่เมืองนี้ถูกยึดอำนาจมา
    โดยพญามังรายมีอ้ายฟ้าเป็นไส้ศึกเพราะสาเหตุนี้หริภุญชัย
    ไม่เหมาะสมเป็นเมืองหลวงเป็นเพราะเป็นเมืองเล็กเมืองหริภุญชัย
    เป็นเมืองที่มีแต่วัดวา เป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา และสร้างมากว่า
    500 ปีในขณะที่พญามังรายยึดนะครับ ตอนนี้ลองคิดดูว่ากี่ปี

    สนใจสารคดีเกี่ยวกับห้าเชียง การก่อตั้งหริภุญชัย แผ่นดินไหวในล้านนาประเทศ ไปหาดูได้ครับมีวางแผนแล้ว ปล.ไม่ได้มาขายของพวกเราศึกษามาจนจะจำขึ้นหัวและรักล้านนา เราโยไม่ลืมชาติกำเนิดและภาษา

    ปล.พี่ ๆ ทุกคนโพสมาถูกต้องแค่ไม่ได้เรียงให้คนอื่นเข้าใจ เพราะก่อนล้านนายังมีดินแดนอันน่าสนใจมากมาย
     
  18. โยนกนาคบุรี

    โยนกนาคบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,694
    ขออภัยอย่าแรงผิดพลาดครับ หุหุ
    ตอนที่ ๑ (เขียนเป็นตอนเพื่อให้คนอ่านไม่สับสน)
    กลุ่มพื้นเมืองเดิมก่อนแคว้นหริภุญชัย
    บริเวณแอ่งที่ราบเชียงใหม่ - ลำพูน ได้มีการสำรวจพบร่องรอยของแหล่งโบราณคดี ในบริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำกวง ทางด้านทิศตะวันออก ตั้งแต่เขตอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแนวยาวมาถึงเขตอำเภอเมืองลำพูน มีร่องรอยการอยู่อาศัยของชุมชนโบราณ สมัยก่อนวัฒนธรรมหริภุญชัย ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ฯ พบว่าเคยเป็นสถานที่ฝังศพ นอกจากโครงกระดูกแล้ว ตามชั้นดินต่าง ๆ ยังพบโบราณวัตถุที่ปะปนกันในหลายลักษณะทั้งรูปแบบ และวัสดุ กล่าวคือ
    ลึกลงไปตามชั้นดินประมาณชั้นที่ ๔ - ๕ พบขวานหินกะเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหิน แวดินเผา ค้อนหิน ภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ สิ่งของดังกล่าวมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในที่สูงตามถ้ำ หรือเพิงผา มีการดำรงชีพแบบล้าหลัง
    ตั้งแต่ชั้นดินที่ ๓ - ๑ พบวัสดุที่ผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีที่สูงกว่า ได้แก่ เครื่องมือเหล็ก เศษภาชนะดินเผาแบบหริภุญชัย กำไลแก้ว ลูกปัดแก้ว ลูกปัดแร่คาร์เนเลียน ลูกปัดแร่อาเกดและ กำไลสำริด เป็นต้น อันเป็นสิ่งของของสังคมที่เจริญกว่าในลักษณะชุมชนที่เชื่อมต่อกับยุคประวัติศาสตร์
    จากการสำรวจพบดังกล่าว ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มชนดังเดิมในแถบนี้ว่า ชุมชนที่ตั้งหลักแหล่งบริเวณลุ่มแม่น้ำกวง อันได้แก่ชุมชนบ้านยางทองใต้ ชุมชนที่บ้านสันป่าคำ และชุมชนที่บ้านวังไฮ เป็นชุมชนร่วมสมัยเดียวกัน เดิมเป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม จนกระทั่งประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ได้มีกลุ่มชนจากภาคกลางเป็นกลุ่มชนเมือง อพยพมาตั้งหลักฐานในบริเวณใกล้เคียงกัน มีการติดต่อกัน จากนั้นสังคมเมืองก็แผ่อิทธิพลมายังชุมชนเหล่านี้ ใช้เวลาหลายชั่วอายุคน
    กลุ่มชนที่บ้านวังไฮ มีลักษณะว่าได้รับเอารูปแบบวัฒนธรรมทวารวดี จากเมืองหริภุญชัยมากกว่ากลุ่มชนบ้านยางทองใต้ และบ้านสันป่าคำที่อยู่ห่างไกลออกไป
    จากการศึกษาจากเอกสารตำนานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ที่เผยแผ่เข้ามายังดินแดนแถบนี้ พบว่ามีการกล่าวถึงกลุ่มสังคม ในลักษณะชนเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำต่าง ๆ เช่น กลุ่มชนแถบลุ่มน้ำปิงตอนบน แถบจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน และบริเวณลุ่มน้ำวัง จังหวัดลำปาง ที่มีความสัมพันธ์กับอารยธรรมทวารวดี และลพบุรีจากภาคกลาง
    ความสัมพันธ์ระหว่างทวาราวดีละโว้ และหริภุญชัย
    ชื่อแคว้นทวารวดีมีปรากฏอยู่ในบันทึกของหลวงจีนที่เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่อินเดีย คือ หลวงจีนยวนฉาง ในระหว่างปี พ.ศ.๑๑๗๒ - ๑๑๘๘ และหลวงจีนอี้จิง ระหว่างปี พ.ศ.๑๒๑๔ - ๑๒๓๖ ส่วนทางด้านโบราณคดีได้มีการพบซากโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่แสดงเครือข่ายทางวัฒนธรรมที่มีการนับถือ พระพุทธศาสนาในแบบแผนเดียวกัน เช่นที่เมืองโบราณนครปฐม จังหวัดนครปฐม เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองพงตึก จังหวัดกาญจนบุรี เมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี เมืองบน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น เมืองเหล่านี้เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ มีศาสนสถานขนาดใหญ่ ปรากฏอยู่มาก ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
    เมืองละโว้ เป็นชื่อเมืองเก่าของเมืองลพบุรีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี มีความเจริญเติบโต และคลี่คลายทางวัฒนธรรมแบบพื้นเมือง ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มารับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้าผสมผสาน ดังจะเห็นได้จากซากโบราณสถาน และโบราณวัตถุในพระพุทธศาสนาในรูปแบบศิลปกรรมที่เรียกว่าทวาราวดีละโว้ มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ ในระดับสูงเท่าเทียมกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในแว่นแคว้นทวาราวดีบนที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางของประเทศไทย
    เมืองหริภุญชัย ชื่อเมืองเก่าของเมืองลำพูน ได้พบโบราณวัตถุที่เป็นรูปปั้นตุ๊กตาขนาดเล็ก รวมทั้งพระพุทธรูปรุ่นแรก ๆ มีรูปแบบคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุ และพระพุทธรูปที่พบตามเมืองโบราณขนาดใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง จากตำนานเรื่องจามเทวี ธิดากษัตริย์กรุงละโว้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย เป็นเรื่องของอารยธรรมจากเมืองละโว้ ที่ขึ้นไปผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่ลำพูน<!-- / message --><!-- attachments -->


    กำเนิดเมืองหริภุญชัย

    จากประวัติศาสตร์ของเมืองหริภุญชัยตอนต้น เป็นเรื่องนิยายปรัมปรา สะท้อนให้เห็นว่าชาวพื้นเมืองในระยะแรก ๆ เป็นพวกเมงคบุตร หรือพวกละว้า ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่มเชียงใหม่ ใกล้ดอยสุเทพ มีหลายชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกัน มีความสัมพันธ์ในทางเชื้อสายเดียวกัน ใช้ภาษาเดียวกัน และมีหัวหน้าปกครอง แต่แบ่งออกเป็นหลายหมู่เหล่า แต่ละหมู่จะมี แรด ช้าง วัว เนื้อ เป็นสัญลักษณ์ของตน ดังที่ในตำนานกล่าวว่า คนที่เกิดจากรอยเท้าช้าง รอยเท้าแรด และรอยเท้าวัว เป็นต้น
    จากตำนานมูลศาสนาได้กล่าวถึงพวกฤาษีกลุ่มหนึ่งที่ได้เคยบวชเรียนในพระพุทธศาสนามาก่อน แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามสิกขาบทในพระธรรมวินัยได้ จึงได้ลาสิกขา แล้วมาบวชเป็นฤาษีมีอยู่ห้ารูปด้วยกันคือ สุเทโว สุกกทันโต อนุสิสสะ พุทธชฎิละ และสุพรหม
    ชุมชนในลุ่มน้ำพิงค์ (ปิง) เป็นชุมชนของพวกละว้า หรือเมงคบุตร ศูนย์กลางของชุมชนอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ที่ฤาษีวาสุเทพมาพำนักอยู่ และฤาษีวาสุเทพก็ได้เป็นผู้นำชาวพื้นเมืองเหล่านี้ในเวลาต่อมา ได้สร้างบ้านเมืองขึ้นให้ลูกหลานปกครอง ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากแบบเดิมมาเป็นสังคมแบบเมือง เกิดมีชนชั้น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ยังไม่มีความสัมพันธ์กับแว่นแคว้นอื่นบ้านเมืองอื่นมากนัก
    ต่อมาได้เกิดน้ำท่วมใหญ่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ฤาษีวาสุเทพจึงได้นำชาวลัวะกลุ่มหนึ่ง ล่องลงมาตามลำน้ำพิงค์ เห็นสถานที่แห่งหนึ่งมีชัยภูมิดี เคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า จึงให้สร้างขึ้น แล้วคิดหาผู้มีบุญญาธิการ และมีทศพิธราชธรรมมาเป็นท้าวพญา จึงคิดถึงสุกกทันตฤาษีผู้เป็นสหายที่อยู่สำนักเมืองละโว้ จึงได้ส่งข่าวให้มาช่วยเตรียมการสร้างเมือง

    ได้มีการสร้างเมืองตามรูปหอยสังข์ ตามคำแนะนำของอนุสสะฤาษี ที่อยู่ใกล้เมืองหลิททวัลลี (ศรีสัชนาลัย) ด้านหนึ่งของกำแพงเมืองติดกับแม่น้ำพิงค์ เมื่อสร้างเสร็จสุกกทัตฤาษีได้ให้คำแนะนำว่า พญาจักรวัตติ เจ้าเมืองละโว้ ทรงทศพิธราชธรรม มีพระธิดานามว่า จามเทวี มีสติปัญญาสามารถฉลาดรอบรู้ สรรพกิจขัตติยประเพณี มีมรรยาท และอัธยาศัยเสงี่ยมงาม ตั้งอยู่ในศีลสัตย์สุจริต สมควรเป็นเจ้าเป็นใหญ่ปกครองเมืองได้ จึงตกลงให้แต่งตั้งนายคะวะยะ เป็นทูตไปกับสุกกทันตฤาษี ไปทูลเชิญพระนางจามเทวีมาครองเมือง
    การเดินทางขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัยของพระนางจามเทวี ได้นำชาวละโว้มาด้วยคือ
    พระมหาเถระที่ทรงปิฎก ๕๐๐ รูป ปะขาวที่ตั้งอยู่ในศีลห้า ๕๐๐ คน บัณฑิต ๕๐๐ คน หมู่ช่างสลัก ช่างแก้วแหวน พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง หมู่หมอโหรา หมอยา ช่างเงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างเขียน หมู่ช่างหลายต่าง ๆ หมู่พ่อเรียกทั้งหลาย อย่างละ ๕๐๐ คน
    ตลอดเส้นทางที่ขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำพิงค์ ได้ประกาศศาสนาตลอดระยะเวลาเจ็ดเดือน ที่ประทับผ่าน เช่นเมืองปางปะบาง (ปากบาง) เมืองคันธิกะ (ชัยนาท) เมืองบุรีฐะ (นครสวรรค์) เมืองบุราณะ (เฉลียง) เมืองเทพบุรี บ้านโคนหรือวังพระธาตุ เมืองรากเสียด (เกาะรากเสียด) ถึงหาดแห่งหนึ่งน้ำเข้าเรือ จึงเรียกหาดนั้นว่า หาดเชียงเรือ (เชียงเงิน) ถึงที่แห่งหนึ่งให้ตากผ้า จึงเรียกว่า บ้านตาก จามเหงา (สามเงา) ผ่านผาอาบนาง ผาแต้ม ดอนเต่า (ดอยเต่า) บ้านโพคาม (ท่าข้าม - ฮอด) ทรงสร้างสถูปวิปะสิทธิเจดีย์ไว้ ท่าเชียงของ (จอมทอง)
    พระนางจามเทวีได้รับการราชาภิเษก เสวยราชย์ในเมืองหริภุญชัยแล้ว พระนางให้สร้างวัดถวายเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป เมื่อมาถึงเมืองหริภุญชัยได้เจ็ดวัน พระนางก็ประสูติกุมารฝาแฝดสองคนให้ชื่อว่า มหันตยศกุมาร และอนันตยศกุมาร หรืออินทรวรกุมาร
    เมื่อพระนางจามเทวีได้ครองเมืองหริภุญชัยแล้ว ขุนหลวงวิลังคะหัวหน้าชาวลัวะที่อยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ หลงใหลในพระนาง ได้ส่งฑูตมาเจรจาหลายครั้ง แต่พระนางได้ประวิงเวลาต่อมาได้ถึงเจ็ดปี ขุนหลวงวิลังคะจึงตัดสินใจทำสงคราม มหันตยศกุมารได้ขออาสาพระนางจามเทวีขี่คอช้างผู้ก่ำงาเขียว โดยมีอนันตยศนั่งกลางช้างเข้าต่อสู้ ขุนหลวงวิลังคะพ่ายแพ้ ชาวลัวะบางส่วนหนีไปอยู่ตามป่าเขา บางส่วนเข้ามาอยู่ในปกครองของพระนางจามเทวี โดยแต่งตั้งให้ขุนลัวะปกครองกันเอง แต่ต้องส่งส่วยให้เมืองหริภุญชัยเป็นประจำ
    ต่อมาพระนางจามเทวีได้มอบราชสมบัติให้มหันตยศ แล้วทรงบำเพ็ญแต่ในพระราชกุศล ทางด้านพระศาสนา ทรงสร้างวัดวาอารามเป็นอันมาก ทรงรักษาอุโบสถศีล และทรงธรรมเสมอมิได้ขาด ทรงบริจาคทรัพย์แจกจ่ายแก่ยาจก วณิพกทั่วไปมิได้ขาด บรรดาเสนาอำมาตย์ราชมนตรี และชาวพระนครก็พากันประพฤติปฏิบัติตามพระนาง เป็นที่พุทธปุปถัมภก ยกย่องพระศาสนารุ่งเรืองวัฒนาสืบต่อมา



    หริภุญชัยมีมาก่อนล้านนา ยังไม่ถึงล้านนานะ
    ตามกระทู้เดิม http://palungjit.org/showthread.php?t=93536

    งอน ๆๆ โป้ง ๆๆ ทีกระทู้เก่าไม่ใครสนใจของเราเลย <!-- / message --><!-- sig -->
     
  19. โยนกนาคบุรี

    โยนกนาคบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,694
    เมื่อเมืองหริภุญชัยเจริญมั่งคงแล้ว ก็ได้ขยายอำนาจออกไปสร้างเมืองเขลางค์นครในที่ราบลุ่มแม่น้ำวัง โดยได้รับการสนับสนุนจากสุพรหมฤาษีแห่งเขลางค์บรรพต เพื่อให้อินทรวรกุมาร (อนันตยศ) โอรสองค์เล็กไปครอง เจ้าอนันตยศได้ขอคณะสงฆ์ และครูพราหมณ์ไปสืบศาสนาในเขลางค์นคร และได้สร้างเมืองขึ้นทางทิศใต้อีกเมืองหนึ่งชื่อ อลัมพางค์นคร
    พระนางจามเทวีเสด็จมาประทับอยู่ที่เขลางค์นครได้ ๖ พรรษา จึงเสด็จกลับไปเมืองหริภุญชัย และสวรรคตเมื่อ พระชนมายุได้ ๙๒ พรรษา
    หลังการก่อตั้งแคว้นหริภุญชัย
    แคว้นหริภุญชัย มีกษัตริย์ปกครองมาตามลำดับ ดังนี้
    ๑. พระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์ ครองราชย์ ๑๘ ปี
    ๒. เจ้ามหันตยศราชบุตรพระนางจามเทวี ครองราชย์ได้ ๘๐ พรรษา สิ้นพระชนม์อายุ ๘๗ พรรษา
    ๓. พญาดูมัญราช ราชบุตรเจ้ามหันตยศ ครองราชย์ ๔๔ ปี
    ๔. พญารุนธัยราช ราชบุตรพญาดูมัญราช ครองราชย์ ๒๗ ปี เป็นผู้ที่ไม่มีความเชื่อต่อกุศลกรรม ให้ทานบ้าง รักษาศีลบ้าง กระทำไปตามจารีตโบราณ
    ๕. พญาสุวรรณมัญชนะ ราชบุตรพญาอรุโณทัย ครองราชย์ ๓๐ ปี สิ้นพระชนม์ เป็นผู้เลื่อมใสในศาสนา บำเพ็ญบุญกิริยา พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง
    ๖. พญาสังสาราช ราชบุตรพญาสุวรรณมัญชนะ ครองราชย์ ๑๐ ปี สิ้นพระชนม์ เป็นผู้ประพฤติผิดไม่ต้องตามราชประเพณี ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม
    ๗. พญาปทุมกุมาร ราชบุตรพญาสังสาราช ครองราชย์ ๓๐ ปี สิ้นพระชนม์ ได้ตั้งโรงทาน ๖ แห่ง สร้างอาวาสกุฎีวิหารถวายพระภิกษุสงฆ์ บำเพ็ญกุศลไม่ขาด
    ๘. พญากุลเทวะ ราชบุตรพญาปทุมราช ครองราชย์ ๗ ปี มีกษัตริย์มิลักขะจากเมืองยศมาลา ยกทัพมาตีหริภุญชัยได้ พญากุลเทวะหนีไปอยู่ที่เมืองสมิงคนคร
    ๙. พญามิลักขราช ครองราชย์ ๑ ปี
    ๑๐. พญามิลักขโตราช ยกทัพมาตีเมืองหริภุญชัย พญามิลักขราชสิ้นพระชนม์ (ประมาณ พ.ศ.๑๕๐๐)
    ๑๑. พญาโนกะราช ราชนัดดาพญากุลเทวะ ครองราชย์ ๔ ปี ๗ เดือน สิ้นพระชนม์
    ๑๒. พญาพาลราช ครองราชย์สองเดือนครึ่ง สิ้นพระชนม์
    ๑๓. พญาคุตราช หรือ พญากัลยา ณ ราช ครองราชย์ ๓ ปี สิ้นพระชนม์
    ๑๔. พญาสละราช ครองราชย์ ๓ ปี สิ้นพระชนม์
    ๑๕. พญาพาลราช ครองราชย์ ๓ ปี สิ้นพระชนม์
    ๑๖. พญาโยวราช ครองราชย์ ๖ เดือน สิ้นพระชนม์
    ๑๗. พญาพรหมทัต ครองราชย์ ๓ ปี สิ้นพระชนม์
    ๑๘. พญามุกขะราช ครองราชย์ ๒ ปี สิ้นพระชนม์
    ๑๙. พระวัตรสัตกะราช ครองราชย์ ๒ ปี ๑๐ เดือน ได้รวบรวมกำลังยกออกจากเมืองหริภุญชัยโดยทางเรือ เพื่อที่จะไปตีเมืองละโว้ พญาอุจฉิตตจักวัตติ เจ้าเมืองละโว้ ยกทัพออกมาต้านทานนอกเขตพระนคร รบกันยังไม่แพ้ชนะกัน พอตีกองทัพศรีวิชัย จากเมืองศรีธรรมนคร ยกกำลังทางเรือและทางบกประมาณแสนเจ็ดหมื่นคน เข้าตีกรุงละโว้ได้ แล้วยกกำลังเข้าต่อสู้กับกองทัพละโว้ และกองทัพหริภุญชัยแตกพ่ายไป เจ้าเมืองละโว้ได้สั่งให้กองทหารรีบเดินทางโดยทางบก เพื่อเข้าตีเมืองหริภุญชัย ก่อนที่กองทัพหริภุญชัยจะเดินทางโดยทางเรือไปถึง เมื่อถึงแล้วได้ทำอุบายว่าเป็นกองทัพหริภุญชัยกลับมา ชาวเมืองเปิดประตูรับ กองทัพละโว้จึงเข้ายึดเมืองไว้ได้ เมื่อกองทัพหริภุญชัยยกกลับมาถึงได้สู้รบกันแต่ตีเมืองไม่ได้ เสียรี้พลไปเป็นอันมาก จึงลงเรือหนีไปอยู่ในป่าทางทิศใต้ ประมาณปี พ.ศ.(๕๕๐ - ๑๕๖๐)
    ๒๐. พญาอุจฉิตตจักวัตติ ครองราชย์ได้ ๓ ปี พญากัมโพชราช ราชบุตรพระเจ้าศรีธรรมราช ได้ยกกำลังมาตีเมืองหริภุญชัย กองทัพหริภุญชัยยกกำลังออกไปต่อสู้จนกองทัพกัมโพชแตกพ่ายไป พญาอุจฉิตตจักวัตติ ครองราชย์ต่อมาอีก ๓ ปี สิ้นพระชนม์
    ๒๑. พญากมลราช ครองราชย์ต่อมา เกิดโรคห่าระบาดในเมืองหริภุญชัย ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก จึงได้พาผู้คนหนีภัยไปอยู่ยังเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) และเมืองหงสาวดี ๖ ปี (ประมาณ ปี พ.ศ.๑๕๙๐) เมื่อผู้คนกลับคืนมาสู่เมืองหริภุญชัยแล้ว ยังระลึกถึงหมู่ญาติที่อาศัยอยู่ ณ เมืองหงสาวดี ครั้นถึงกำหนดปี เดือน (ข้าวใหม่) จึงได้แต่งเครื่องสักการะไปโดยทางน้ำ เรียกว่าลอยโขมด (ลอยไฟ) จึงเป็นประเพณีลอยประทีปต่อมา พญากมลราช ครองราชย์ได้ ๒๐ ปี ๗ เดือน สิ้นพระชนม์
    ๒๒. พญาอุเลระราช ครองราชย์ ๖ ปี
    ๒๓. พญาอังตรูจักรพรรดิราช ยกกำลังจากเมืองทุรฆะรัฐนคร มาตีเมืองหริภุญชัยได้ ครองราชย์ ๙ ปี (ประมาณปี พ.ศ.๑๖๓๐)
    ๒๔. พญาสุเทวราช ครองราชย์ ๑ ปี ๒ เดือน สิ้นพระชนม์
    ๒๕. พญาไชยะละราช ครองราชย์ ๑๐ ปี สิ้นพระชนม์
    ๒๖. พญาราชะสุปละนคร ยกกำลังมาจากเมืองสักกะบาล มาชิงเอาเมืองหริภุญชัยแล้วครองราชย์ได้สองสามวันก็สิ้นพระชนม์
    ๒๗. พญาเสละราช ครองราชย์ ๑๐ ปี สิ้นพระชนม์
    ๒๘. พญาตาญะราช ครองราชย์ ๖ ปี สิ้นพระชนม์
    ๒๙. พญาชิลักกิราช ครองราชย์ ๑๐ ปี สิ้นพระชนม์
    ๓๐. พญาพินธุละราช ครองราชย์ ๒๐ ปี สิ้นพระชนม์
    ๓๑. พญาอินทวราช ครองราชย์ ๓๐ ปี สิ้นพระชนม์
    ๓๒. พญาอาทิตยราช ครองราชย์ประมาณปี พ.ศ.๑๖๐๖ เป็นเวลา ๔๐๒ ปี นับแต่นางจามเทวีครองราชย์ พญาอาทิตยราช เป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ตามตำนานมูลศาสนา และทุกตำนานได้กล่าวถึง พระอาทิตยราชได้ยกกำลังไปตีเมืองละโว้ (ประมาณปี พ.ศ.๑๖๙๐) พญาละโว้ คือพญาลพราชเสนอให้ทำสงครามธรรมยุทธ์ โดยให้แข่งขันกันสร้างพระเจดีย์ สูง ๑๕ วา ให้เสร็จภายในหนึ่งวัน หนึ่งคืน ฝ่ายใดเสร็จก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ เมื่อตกลงกันแล้ว ฝ่ายหริภุญชัยซึ่งมีกำลังมากกว่าก็ถมมูลดิน และก่อองค์พระเจดีย์ขึ้นสูงกว่า ฝ่ายพญาลพราชเห็นว่าจะแพ้ จึงให้ช่างต่อโครงด้วยไม้เป็นรูปเจดีย์ แล้วหุ้มด้วยผ้าขาว ทำยอดสวมฐานก้อนกรวดแดงเสร็จภายในตอนกลางคืน แล้วโบกทาปูนดินทั่วองค์เจดีย์ ครั้นเวลาเช้าก็เปิดองค์เจดีย์ให้ฝ่ายหริภุญชัยได้เห็น แล้วประโคมดนตรี ชาวเมืองโห่ร้องว่าเจดีย์ของตนสร้างเสร็จก่อน ฝ่ายทางเมืองหริภุญชัยเห็นดังนั้น ก็รู้ว่ตนเป็นฝ่ายแพ้ พากันหนีกลับไปเมืองหริภุญชัย พญาลพราชยกกำลังออกตามตีได้เชลยช้างม้าอาวุธต่าง ๆ เป็นอันมาก
    ทางฝ่ายเมืองละโว้เห็นได้ที จึงให้ราชบุตรยกกำลังไปประชิดเมืองหริภุญชัย พญาอาทิตยราชเสนอให้ทำธรรมยุทธ์กันอีกครั้ง โดยให้ขุดสระสี่เหลี่ยมแห่งหนึ่ง กว้างยาวลึก เสมอกัน ด้วยด้ามหอก ในวันหนึ่งคืนหนึ่งฝ่ายใดใครขุดสระลึกกว่าให้เป็นฝ่ายชนะ พวกละโว้ขุดสระด้วยด้ามหอก แต่พวกหริภุญชัยขุดด้วยด้ามหอกเวลากลางวัน แต่ตอนกลางคืนขุดด้วยจอบเสียม และพลั่ว จึงขุดสระได้ลึกกว่า ฝ่ายละโว้แพ้จึงถอยทัพกลับไป
    สงครามหริภุญชัย-ละโว้ ครั้งที่สาม พญาละโว้เลือกบุตรอำมาตย์ผู้หนึ่งมีสติปัญญาฉลาดรอบรู้ อาสาไปเป็นแม่ทัพ เมื่อยกกำลังเข้าเขตเมืองหริภุญชัย กองทัพเดินหลงทางไปทางเหนือ พญาอาทิตยราชยกกำลังไปล้อมไว้ ฝ่ายละโว้ต้องยอมสวามิภักดิ์ได้รับการชุบเลี้ยง ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตก และได้ให้เชลยศึกสร้างมหาพลเจดีย์ขึ้น ณ วัดจามเทวี ต่อมาโรคระบาดเสียชีวิตกันมาก จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาพญาอาทิตยราชก็ได้อนุญาตให้ชาวละโว้กลับไปบ้านเมืองของตนโดยให้ดื่มน้ำสาบานก่อน
    สงครามหริภุญชัย-ละโว้ ครั้งที่สี่ บุตรอำมาตย์เมืองละโว้ชื่อ ศิริกุต อำมาตย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพมาตีเมืองหริภุญชัย พวกละโว้หลงทางอีกโดยได้อ้อมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือแห่งสระโบกขรณีเมืองหริภุญชัย แล้วไปพักที่เมืองร้างแห่งหนึ่ง ถูกชาวหริภุญชัยฆ่าฟันล้มตายเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นหริภุญชัยก็เกิดความสงบสุขสืบมา
    การขยายอำนาจของกัมพูชามาทางทิศตะวันตก สามารถยึดละโว้ไว้ได้ และได้ทำสงครามกับหริภุญชัยในสมัยพญาอาทิตยราช พระองค์สามารถป้องกันแคว้นหริภุญชัยไว้ได้ สันนิษฐานว่าตรงกับสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ แห่งกรุงกัมพูชา (พ.ศ.๑๖๕๗ - ๑๖๙๓)
    พญาอาทิตยราชครองราชย์สืบต่อมาได้ ๕ พรรษา ก็สิ้นพระชนม์
    ๓๓. พญาธรรมิกราช โอรสพญาอาทิตยราช ครองราชย์ ๕ พรรษา ก็สิ้นพระชนม์ ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูปสูงสิบแปดศอกถวายวัด
    ๓๔. พญารัตนราช (รถราช) โอรสพญาธรรมิกราช ครองราชย์ ๕ พรรษา ก็สิ้นพระชนม์
    ๓๕. พญาสัพพสิทธิ โอรสพญารัตนราช ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา เป็นแบบอย่างให้กษัตริย์องค์ต่อมาปฏิบัติสืบทอดเป็นราชประเพณี ทรงปฏิสังขรณ์วัดมหาวัน ถวายข้าพระและวัตถุสิ่งของ โปรดให้สร้างวัดเชตุวัน สร้างพระเจดีย์สามองค์ที่หน้าวัด ทรงก่อเสริมพระธาตุทรงปราสาทที่พญาอาทิตยราชสร้างไว้เดิมให้สูงขึ้น เป็นยี่สิบสี่ศอก ทรงปฏิสังขรณ์รัตนเจดีย์กู่กุด ที่หักพังลงมาเนื่องจากแผ่นดินไหว ทรงครองราชย์ได้ ๔๔ พรรษา จึงสิ้นพระชนม์
    ๓๖. พระเชษฐา ครองราชย์ ๑๕ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    ๓๗. พญาจักรกายะกราช ครองราชย์ ๒๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    ๓๘. พญาตันวาญญะ ครองราชย์ ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    ๓๙. พญากากยะราช ครองราชย์ ๑๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    ๔๐. พญาสิริปุญญะ ครองราชย์ ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    ๔๑. พญาเวทนราชหรืออุเทน ครองราชย์ ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    ๔๒. พญาพันโตญญะ หรือทาตัญญราช ครองราชย์ ๓๐ ปี ก็สิ้นพระชนม์
    ๔๓. ไทยอำมาตย์ยกกำลังจากเขลางค์นคร มาปลงพระชนมแล้ว ครองราชย์ต่อได้อีก ๓ ปี
    ๔๔. อำมาตย์ปะนะ ครองราชย์ ๑๐ ปี
    ๔๕. อำมาตย์ทาวนะ ครองราชย์ ๑๐ ปี
    ๔๖. พญาตาราชละราช ครองราชย์ ๑๐ ปี
    ๔๗. พญาโยทราช ครองราชย์ ๑ ปี
    ๔๘. พญาอ้าย ครองราชย์ ๑๐ ปี
    ๔๙. พญาเสต ครองราชย์ ๑ ปี
    ๕๐. พญาญีบา ครองราชย์ เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๒๕ ให้พญาเบิกราชบุตรไปครองเมืองเขลางค์นครได้ ๑๐ ปี ก็เสียเมืองให้กับพญามังรายเจ้าเมืองเชียงราย และเมืองไชยปราการ
    เสียเมืองหริภุญชัยแก่พญาเม็งราย มาละจ๊าล้านนาจะเริ่มีละนะ อ๋อไม่ใช่ล้านนะครับเป็นแค้วนโยนหรือโยนก แต่จะย้ายมาที่เวียงกุมกามนะ

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  20. โยนกนาคบุรี

    โยนกนาคบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,694
    ตอน 2 เริ่มมีอาณาจักรแคว้นโยน แบบสรุป
    พญามังรายแห่งแคว้นโยนก เป็นโอรสพญาลาวเม็ง ประสูติเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๗๘๒ ได้ครองราชย์สืบต่อจากพญาลาวเม็ง ในหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๔ ได้สร้างเมืองเชียงรายเมื่อปี พ.ศ.๑๘๐๕ ยึดครองเมืองเชียงของเมื่อปี พ.ศ.๑๘๑๒ สร้างเมืองฝางเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๑๖ ได้ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับพญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหงในปี พ.ศ.๑๘๓๐
    สาเหตุที่พญามังรายย้ายเมืองมาทางใต้ก็เนื่องจากกุบไลข่าน และกองทัพมองโกลที่ปราบปรามยึดครองน่านเจ้าได้ใน ปี พ.ศ.๑๗๙๖ ยึดครองฮานอยใน ปี พ.ศ.๑๘๐๐ ยึดครองยูนนานใน ปี พ.ศ.๑๘๐๓ และได้ดำเนินการปราบปรามกลุ่มชนต่าง ๆ ที่มีพรมแดนติดต่อกับยูนนาน โดยตีพุกามแตกใน ปี พ.ศ.๑๘๓๐ ซึ่งพญามังรายได้ให้ความช่วยเหลือกษัตริย์พุกามต่อต้านอำนาจมองโกลใน ปี พ.ศ.๑๘๓๒ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๓๓ มองโกลได้ข่มขู่รัฐที่มิได้ยอมอ่อนน้อม
    ในปี พ.ศ.๑๘๓๕ กุบไลข่าน ให้แม่ทัพหมางหวู่ตูรูมิช ยกทัพมาตีปาไป่สีพู หรืออาณาจักรโยนก (เชียงราย) ของพญามังราย แต่ต้องเตรียมการนาน เพราะต้องปราบปรามรัฐต่าง ๆ ที่อยู่ตามเส้นทาง ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๓๗ กุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ทำให้การรุกรานหยุดชะงัก
    การเตรียมการยึดแคว้นหริภุญชัยของพญามังราย ได้ส่งขุนฟ้ามาเป็นไส้ศึกโดยให้ขุนฟ้าไปพึ่งบารมีพญาญีบา เพื่อก่อความไม่สงบในเมืองหริภุญชัย เมื่อเห็นสถานการณ์คับขันก็ส่งข่าวให้พญามังรายยกกำลังไปตีเมืองหริภุญชัย
    พญามังรายยกกำลังจากเมืองเชียงรายไปตีเมืองหริภุญชัย ขุนฟ้ากราบทูลว่าควรแต่งกองทัพไปสู้รบหน่วงไว้แต่กลางทาง ให้พญาญีบาย้ายครอบครัวไปอยู่กับพญาเบิกราชโอรสที่เมืองเขลางค์เพื่อความปลอดภัย ส่วนขุนฟ้าขออาสารักษาเมืองหริภุญชัยเอง
    เมื่อพญาญีบาหนีออกจากเมืองไป ชาวเมืองก็พากันแตกตื่นคุมกันไม่ติด กองทัพพญามังรายก็เข้าเมืองหริภุญชัยได้โดยง่าย แล้วได้ไฟเผาบ้านเมือง ยกเว้นหอพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) ที่อยู่ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัยเพลิงไม่ไหม้
    พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัยได้ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๕ ได้ประทับอยู่ที่เมืองนี้สองปี จึงมอบเมืองให้ขุนฟ้าปกครอง ส่วนพญาเม็งรายไปสร้างเวียงกุมกาม เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๗ เพื่อใช้เป็นฐานในการสร้างเมืองเชียงใหม่ หลักฐานไม่ปรากฏชัดเจนในเวียงกุมกาม และเวียงกุมกามที่พญามังรายสร้างก้ไม่ใช่เพราะ น้ำท่วมนะจ๊ะ ใครโพสเรื่องเวียงกุมเพราะพญามังรายหนีน้ำท่วมมาจะขอด่าสักหน่อยนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...