ภิกษุใบลานเปล่า จากพระสูตร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บดินทร์จ้า, 23 สิงหาคม 2011.

  1. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 118-120
    ๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]
    ข้อความเบื้องต้น
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยคา เว " เป็นต้น.
    รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด
    ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดา
    ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า ' เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช."
    จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า " มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณ
    ใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า, แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า " คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว." พระโปฐิละนั้นคิดว่า " เราย่อม
    ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปถึง ๑๘ คณะใหญ่, ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนือง ๆ
    ว่า ' คุณใบลานเปล่า ' พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า
    " บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเองทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุ
    ทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนดท่านว่า " อาจารย์." พระเถระไปสิ้นสองพันโยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ
    ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."
    พระสังฆเถระ. " ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก, สิ่งอะไรชื่อว่าอันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉนท่านจึงพูดอย่างนี้ ?
    พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้, ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.
    วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ
    ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้นพระมหาเถระ ส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า
    " ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่ง
    ท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ ผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.
    พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ ด้วยอุบายอย่างนี้.
    พระโปฐิละหมดมานะ
    พระโปฐิละนั้น มีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ ขอท่าน
    จงเป็นที่พึ่งของผม." สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น, ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต, เหตุอะไร ๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้, ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้.
    สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้,
    ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.
    พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้าไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.
    พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
    ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
    จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้
    หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.
    ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิดท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน
    ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕
    นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑นี้ไว้
    ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้ เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น
    กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลงในกรชกาย๒ ปรารภสมณะธรรม.
    ๑. คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ บริกรรม หรือกัมมัฏฐาน. ๒. แปลว่า ในกายบังเกิดด้วยธุลีมีในสรีระ.
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระโปฐิละ ท่านเป็น ไอดอล ที่ผมนับถือ..................
     
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ จขกท ที่นำมาให้พิจารณาศึกษาครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ผมนับถือคำสอนของเณรนะ ^-^
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ผมนับถือท่านพระโปฐิละนะครับ.....เอ...ผมไม่รู้ว่าที่นี่ทำไมไม่กล่าวว่าท่านเป็นครูบาอาจารย์ใหญ่ท่านหนึ่ง มีลูกศิษย์มากมายในสำนักของท่านที่ได้รับคำสอนจากท่านแล้วไปปฏิบัติจนได้บรรลุพระอริยบุคคล ซึ่งปัญหา คือ เว้นเสียแต่ตัวท่านเองที่ไม่ได้สำเร็จเพราะเป็นผู้ศึกษามามาก และไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงจุดใหน และที่สำคัญประโยชน์แห่งการศึกษามาแล้วนั้นทำให้แนะนำธรรมแต่โดยง่ายก็บรรลุแล้ว เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ทรงเป็นพระเถระที่ทรงคุณมากท่านหนึ่งที่สามารถจดจำคำสอนและแสดงธรรมได้ดีมากๆ เพราะเนื่องด้วยท่านได้ศึกษามามากจนรู้ครบ...

    ส่วนใหญ่บุคคลที่จะยกท่านมามักจะเป็นในเรื่องที่จะตอกย้ำความคิดของตนหรือเสนอให้ผู้อื่นว่าปริยัตินั้นศึกษามากอย่างไรก็ไม่หลุดพ้น ถ้าไม่ปฏิบัติ อันนี้ส่วนตัวท่านนั้นถูกต้องแล้วครับ....การศึกษาปริยัติต้องคู่ปฏิบัติ.....ไม่ได้มีความหมายที่ว่าไม่ศึกษาปริยัติอะไรเลยนะครับ....ในเรื่องของท่านพระโปฐิละ ไม่ได้กล่าวตรงจุดนั้นเหมือนกับที่หลายๆคนคิด...

    แต่ที่น่าสนใจจะมีท่านใหนที่มองต่อไปอีกด้านบ้างไมว่าทำไม ท่านพระโปฐิละ แม้ไม่ได้บรรลุธรรมใดเลย แต่คนที่ได้ฟังธรรมของท่านได้บรรลุธรรมนั้น มีอยู่...

    และ ปริยัติที่ท่านศึกษามามากนั้นมีประโยชน์ต่อการบรรลุธรรมโดยง่าย ในธรรมที่ย่อๆของท่านเณร องค์นั้นหรือไม่...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2011
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนาในธรรม

    พระโปฐิละ ประวัติของท่านน่าศึกษาด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

    เป็นเอกในปริยัติเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์

    ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปถึง ๑๘ คณะใหญ่

    เป็นผู้อุทิศตน บอกธรรมให้ผู้อื่นบรรลุพระอรหันต์ได้มากมาย ทั้งที่ยังไม่เกิดคุณธรรมใดในตน

    จนพระพุทธองค์เตือนเป็นใบลานเปล่า ท่านก็ไม่ได้แสดงความโกรธ ความเขลาในการตักเตือน

    กลับมีสติพิจารณาธรรมด้วยความแยบคาย ยอมลดมานะ ไม่ถือตนเข้าหาเณรผู้มีอายุน้อย

    ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา
    พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า "ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง) ดุจแผ่นดินด้วยประการใดแล, การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น
    ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
    เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
    ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
    ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่ง
    ปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความ
    เจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญา
    จะเจริญขึ้นได้.


    บทว่า ตถตฺตานํ ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ โดยประการที่ปัญญา กล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้.
    ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2011
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สาธุ

    ก็บางท่านไม่ศึกษา มุ่งเห็นแต่คำว่า "ใบลานเปล่า" มากกว่าความหมายที่กว้างขวางแยบคายกว่านั้น
     
  8. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    ถ้าเห็นทาง ก็มุ่งไปเลย เนอะ ไม่ไปห่วงคนอื่นเนอะว่าจะบรรลุธรรมหรือไม่
    เพราะตัวเองก็ยังไม่บรรลุ อันนี้น่าจะ ทำให้ตัวเองบรรลุก่อน แล้วมาโปรดสัตว์อีกต่อไป

    เพราะปุถุชน ก็จะมีคำว่า น่าจะ น่าจะ น่าจะ
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จะคุยกันในเหลี่ยมมุมไหนล่ะ

    วิสัยตน
    วิสัยบัณฑิต
    วิสัยคนพาล
    วิสัยผู้ทรงภูมิ
    วิสัยผู้ติดข้อง
     
  10. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    อนุโมทนา ผู้เห็นประโยชน์ จะได้รับประโยชน์ ใช้ได้ทันที
     
  11. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    คำว่า "ใบลานเปล่า" เป็นกุศโลบายที่พระพุทธเจ้า ท่านใช้ทิ่มแทง ผู้ที่ยึดมั่นในตำรา
    แต่..! มีอินทรีย์แก่กล้า พร้อมที่จะบรรลุคุณธรรมในโลกุตระ

    อย่างเราๆ นี่ เทียบไม่ได้เลยกับ "ท่านโปฐิละ" ก่อนที่จะท่านจะสำเร็จ
    หากจะยกตนสูงดั่งพญา จะขนานนามว่าเป็น "ผู้ไร้ใบ" ก็ย่อมใช่

    แต่ "พญาไร้ใบ" ก็ยังพอมีประโยชน์ที่จะใช้รักษาอาการ "ฤทธิ์สีดวง" ของ บุคคลทั่วไป
    ให้พอทุเลา แม้จะไม่หายขาด ได้เช่นกัน

    ฉะนั้น คำที่ครูบาอาจารย์ท่านใช้ ว่า "ใบลานเปล่าๆ" ท่านต้องการให้ย้อนมาสำรวจตน
    แต่จะทิ่มแทงได้เท่าใดนั้น ก็แล้วแต่พันธุกรรม ของบุคลคนทั่วๆไป นั้นๆ
     
  12. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    มานะ ๙ อวิชชาครอบจิต..!

    http://www.luangta.c...?ID=829&CatID=3

     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    มหาปัญญา เป็น ไฉน.............

    ถ้าทำความเข้าใจ มหาปัญญา ให้ถูกต้องตาม พุทธวัจนะ ไว้เสมอ
    ก็คงไม่ต้อง ถามหา อนัตตลักขณสูตร แต่ภายหลัง และก็จะไม่ไป
    เสียเวลา รู้สึกขัด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2011
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: #ccc 1px dotted" border=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>เพราะอะไรจึงต้องศึกษาพุทธวจน(คำของพระตถาคต)เท่านั้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellPadding=10 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE border=0 cellPadding=5><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellPadding=10><TBODY><TR><TD vAlign=top>๑.พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิเมื่อจะพูดทุกถ้อยคำจึงไม่มีผิดพลาด
    อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้นๆย่อมตั้งไว้ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิตดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคยได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.
    มหาสัจจกสูตร ม.ู ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐ พุทธประวัติจากพระโอษฐ ์ น. ๒๔๗

    ๒.แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลาภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานาไปแล้วด้วยธรรมนี้อันเป็นธรรมที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก), อันวิญญู
    ชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺต เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).
    มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๐.
    ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น.๔๓๑

    ๓.คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน
    ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้นตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็นประการอื่นเลย.
    อิติว. ุ ขุ.๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓
    พุทธประวัติจากพระโอษฐ  น. ๒๘๕

    4.ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้
    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใดความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
    มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที ๑๐ / ๘๙ / ๖๙
    พุทธประวัติจากพระโอษฐ  น. ๔๖๕
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    จิตไม่เกิดไม่ดับ

    จิตไม่ตาย

    จิตเดิมแท้ ( มีแท้ )

    คำบรรยาย จิต เหล่านี้ เป็น มิจฉาทิฏฐิ ประมาณ เท่าใด

    เป็น มิจฉาทิฏฐิ ประมาณให้ บัญญัติ มหาปัญญาผิดไปจากคำใน "ใบลาน"

    เป็น มิจฉาทิฏฐิ ประมาณให้ เห็นเหตุแห่ง มหาปัญญาผิดลำดับไปจากการจำแนก
    ไว้ใน "ใบลาน"

    * * **

    แก้ไขอย่างไร

    ให้ละทิ้งคำของสาวกเสีย ไม่ทรงจำไว้ แล้วให้ ทรงจำคำตาม "ใบลาน" แทน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2011
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    กราบอนุโมทนาพระธรรม พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ขอบคุณน้าเอก

    จะทบทวนบทนี้หลายๆหน :cool:
     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เป็นพระสูตรที่น่าพิจารณา อีกพระสูตรหนึ่ง


     
  18. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ดีแล้ว ที่แนะนำให้ศึกษาพระไตรปิฏก เพื่อความเป็นพหูสูต และนำไปปฏิบัติ

    แต่..!
    ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย "ปฏิสัมภิทามรรค"

    ซึ่งเป็นการอธิบาย โดยพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา

    ดัง "ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา" ที่ยกมาข้างต้น

    ซึ่งเป็น..! ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ท่านได้อธิบายข้อธรรม ที่ลึกซึ้งต่างๆ
    เช่น..! เรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน

    นอกจากนี้ ยังมี "มหานิทเทส และจูฬนิทเทส" เล่มที่ 29 และ 30
    เป็นภาษิตของท่านพระสารีบุตรอีกเช่นกัน ที่ท่านได้อธิบายขยายความพระสูตร

    ฉะนั้น ท่านจะแก้ไขอย่างไร..?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2011
  19. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    แก้ด้วยความ อดทน

    ท่านจะถามหรือไม่ว่า อดทนอย่างไร
     
  20. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    โอ้ พี่่เล่าปัง รู้จักคำว่า "อดทน" แล้วน้อ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...