มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งกาลเวลา

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 มีนาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    บทธรรมบรรยาย ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    เขียนด้วยอักษรธรรม มีทั้งหมด ๒๔ หัวข้อ
    ไม่ทราบลำดับปีที่เขียน แต่ก็เป็นข้อเขียนที่เขียนด้วยลายมือขององค์ท่านเอง
    เป็นข้อเขียนที่ปรากฏในสมุดเก่า
    เป็นสมุดเก่าที่พระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส ผู้อุปัฎฐากใกล้ชิดเก็บรักษาเอาไว้
    และได้อาศัยกำลังของพระภิกษุฉัตร โสมบุตร จิรปุญฺโญ คัดลอกแปลจากอักษรธรรมสู่อักษรไทย
    และเข้าใจว่า พิมพ์ครั้งแรก ในหนังสือที่จะแจกเป็นที่ระลึกในงานฌานปกิจศพส่งสการหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง สกลนคร
    กิจในเรื่องหนังสือเล่มนี้
    คณะกรรมการโดยพระธรรมเจดีย์ เป็นประธานมอบหมายให้พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) เป็นแม่งาน
    และในกาลต่อมาเป็นหนังสือต้นแบบในการเขียนเล่าประวัติปฏิปทา ธรรมะของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตสืบมา
    แต่ในส่วนแห่ง ๒๔ หัวข้อแห่งธรรมบรรยายนี้มาอ่านวิเคราะห์ด้วยดีแล้ว โดยมีวิธีการว่า
    ๑. อ่านว่าเป็นงานเขียนบันทึกของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    ๒. ธรรมบรรยายของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตนี้น่าจะได้มาจากที่ใด แหล่งใด อ้างอิงถึงครูบาอาจารย์ขององค์ท่านได้หรือไม่
    ๓. สืบทอด ถ่ายธรรม ไว้อย่างใด

    ครั้นศึกษาตามวิธีการดังกล่าวนี้จนครบถ้วนกระบวนความแล้วจึงสรุปได้ว่า
    ๑. เป็นธรรมะที่ผุดพรายในธรรมของท่านเอง
    ๒. เป็นธรรมะฝ่ายปริยัติที่มีที่มาจากหนังสือธรรมะที่องค์ท่านอ่านศึกษาในขณะที่อยู่กรุงเทพ อยู่เชียงใหม่ หรือที่อื่นๆ
    แต่เป็นธรรมะที่ท่านเลือกเฟ้นเป็นธัมมวิจยาการแล้วจึงได้บันทึกไว้แต่ในส่วนที่ลึกซึ้งถึงใจขององค์ท่าน
    ๓. ตรวจสอบจากหนังสือธรรมบรรยายของท่านพระอุบาลีคุณูปมาจารย์แล้วทั้งหมด ก็มีหัวข้อที่ตรงกันอยู่มาก
    ๔. วิธีเจริญกัมมัฏฐานภาวนา เป็น ๔ หัว ข้อย่อยที่อธิบายกรรมฐาน ส่วนนี้ตรงกับ ข้อเขียนของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
    ๕. อธิบายวินัยกรรมตรงกับพระมติของ สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระมหาสมณเจ้า
    ข้อสรุปสันนิษฐานเหล่านี้ ทำให้ทราบรากที่มาของบทธรรมบรรยายทั้งหมดได้ ท่านผู้ใดสนใจใคร่ศึกษา
    ก็โปรดอ่านพิจารณาจากแหล่งที่มาดังกล่าวแล้วประมวลให้ไปด้วยกันได้
    เพราะว่า หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นับถือหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลว่าเป็นครูบาอาจารย์ฝ่ายป่า (ปฏิบัติ) นับถือพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ว่าเป็นครูบาอาจารย์ฝ่ายเมือง (ปฏิบัติและปริยัต)
    และครูอาจารย์ทั้ง ๒ ท่านนี้ ต่างก็ยกย่องตำราธรรมของสมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทฺธสิริ) เหมือนกัน
    แล้วมีหรือว่า หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตผู้เดินตามจะไม่สนใจให้ศึกษาในรากเหง้าเค้าต้นของ ครูบาอาจารย์ทั้ง ๓ องค์นั้น
    ข้อนี้จงใคร่ครวญ
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๔. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งมุตโตทัย
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๔๒ ราคา ๑๐ บาท
    อย่าคิดว่าเพียง “คำชี้แจง” ของพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ในหนังสือแจกเนื่องในวันฌาปนกิจ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อปี ๒๔๙๓
    ก็เพียงพอแล้ว
    ยังไม่เพียงพอ เพราะว่ารากฐานความเป็นมาของหนังสือ “มุตโตทัย” นั้นมีรายละเอียดมากยิ่งกว่านั้น
    เพราะว่าก่อนปี ๒๔๙๓ หนังสือนี้ก็เคยตีพิมพ์มาแล้ว
    ทั้งยังเป็นการตีพิมพ์ในห้วงที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ยังไม่ได้ถึงแก่มรณภาพ และท่านก็ได้เห็นหนังสือ
    ได้เห็นด้วยความกังขา แคลงใจในเบื้องต้น
    น่ายินดีที่ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณได้เล่าเรื่องราวนี้และตีพิมพ์ปรากฏในหนังสือชื่อ “รำลึกวันวาน”
    ทำให้เรื่องราวความเป็นมาของหนังสือ“มุตโตทัย” มีความสมบูรณ์
    ทำให้ความริเริ่มของพระหนุ่มซึ่งเป็นปัจฉาสมณะอยู่แวดล้อม พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มิได้เป็นเรื่องซึ่งสูญเปล่า
    และทำให้รายละเอียดอันเกี่ยวกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และหนังสือ “มุตโตทัย” มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น

    โปรดอ่าน
    สมัยที่อยู่วัดป่าบ้านหนองผือนั้นเวลาได้ฟังท่านพระอาจารย์พูดคำใดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นที่พอใจ ผู้เล่าก็จะนำมาเขียนซ้ำ
    แม้แต่ท่าน อาจารย์วิริยังค์ ท่านอาจารย์วัน ก็มีความคิดแนวเดียวกัน
    ทั้ง ๒ องค์ เขียนแล้วก็เอามาวางไว้ให้ข้างที่นอนของผู้เล่า เป็นลักษณะคล้ายๆ กับบันทึกความเข้าใจ
    หรือบันทึกความจำเพื่อกันลืม
    เหตุที่มาเป็นหนังสือ “มุตโตทัย” นั้นเนื่องจากเจ้าคุณ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ขณะนั้นท่านเป็นรองเจ้าคณะภาค ท่านมาตรวจราชการและได้ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น
    ท่านพักอยู่ ๓ คืนที่กุฏิของผู้เล่า
    ตอนพักกลางวันท่านไปเห็นบันทึกนี้ก็เลยเอามาอ่าน พออ่านเสร็จเราก็ขึ้นไปปฏิบัติท่านเจ้าคุณฯ เพราะเคยเป็นลูกศิษย์ท่าน ท่านสอนบาลีให้
    ท่านเจ้าคุณถามว่า “อันนี้ใครเขียนล่ะ”
    “เขียนหลายคนขอรับกระผม”
    “มีใครบ้าง”
    “มีกระผม ท่านอาจารย์วิริยังค์และท่านอาจารย์วัน ขอรับกระผม”
    “เออ ดีมาก เราจะเอาไปพิมพ์”
    “แล้วแต่ท่านเจ้าคุณขอรับกระผม”
    ด้วยความเคารพ เพราะท่านมีบุญคุณ
    ท่านจากไปประมาณสัก ๓ เดือน ก็มีห่อหนังสือส่งมาในนามของท่าน พระอาจารย์มั่น ผู้เล่านำไปถวายท่าน
    “อะไรนั่น” ท่านพระอาจารย์ถาม
    “กระผมก็ยังไม่ทราบเพราะยังไม่ได้เปิดดูแต่ว่าคล้ายๆ กับหนังสือ”
    “เปิดดูซิ”
    หลังจากท่านรับหนังสือมาแล้วจึงเปิดดู “เอ...เราเคยได้ยินเจ้าคุณอุบาลีฯ พูดว่าคุณมั่นเธอเทศนาด้วยภาษา มุตโตทัย, ภาษา มุตโตทัย เป็นคำพูดของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ แล้วทำไมจึงมาเป็นชื่อหนังสืออันนี้ล่ะ ได้มาจากไหน”
    ผู้เล่า “ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธารไปค้นพบจากที่นอนของกระผม”
    ท่านอาจารย์ “ใครเขียนล่ะ”
    ผู้เล่า “เขียนหลายรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์วิริยังค์ เพราะท่านเป็นผู้นำในการเขียน พวกกระผมก็ได้เขียน ท่านวันก็ได้เขียน
    “ผิดถูกขอโอกาสครูบาอาจารย์ กระผมยอมรับผิดทุกอย่าง”
    แท้จริงแล้วธรรมเทศนาและธรรมบรรยายพระอาจารย์มิได้มีแต่ “มุตโตทัย” เพียงแต่หนังสือ “มุตโตทัย” มีความสมบูรณ์เพราะว่าเป็นหนังสือที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ตรวจทานแล้ว
    ตรวจทานอย่างไรขอให้ฟังคำบอกเล่าจากพระทองคำ จารุวัณโณ ต่อ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งการวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    รากฐานที่มาของหนังสือมุตโตทัย
    ขั้นแรกมาพิจารณาที่มาของคำว่า “มุตโตทัย” เสียก่อน
    คำชี้แจงของพระอริยคุณาธาร ชี้ว่าในที่ประชุมของภิกษุเปรียญหลายรูปซึ่งมีข้าพเจ้าอยู่ร่วมด้วย ในคราวที่ท่านมาพักกับข้าพเจ้าที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร “มุตโตทัย”
    คำนี้ท่านอาจารย์นำมาเป็นปัญหาในที่ประชุม
    ข้าพเจ้าทราบความหมายแต่เห็นว่าเป็นอสาธารณนัย จึงได้แต่กล่าวแก้ในใจ ทันใดนั้นท่านพูดขึ้นว่า ข้าพเจ้าแก้ถูก”
    นี้คือ รากฐานและหลักฐานที่มาของ “มุตโตทัย”
    เป็นข้อที่มาจากคติของพระมหาเปรียญรูปนี้
    คำชี้แจงของพระอาจารย์ทองคำ จารุวณฺโณ ผ่านหนังสือรำลึกวันวานผ่านมาจากคำทรงจำรำลึกของพระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส แต่ครั้งก่อนเก่าคือก่อน ปี พ.ศ.๒๔๙๒
    คัดความได้ดังนี้ หลังจากท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง) รับต้นฉบับจากพระภิกษุทองคำ ญาโณภาโสไปแล้วก็เอาไปพิมพ์ จากนั้น ๓ เดือน ก็มีห่อหนังสือส่งมาในนามหลวงปู่มั่น
    หลังจากท่านรับหนังสือมาแล้วก็เปิดดู แล้วท่านก็ปรารภว่า เทศนาด้วยภาษามุตโตทัย คำว่ามุตโตทัยเป็นคำพูดของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ
    นี้คือ รากที่มาของคำว่ามุตโตทัย จากรำลึกของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโน
    แต่มุตโตทัยในครั้งนั้น พิมพ์ก่อนที่หลวงปู่มั่น จะได้ตรวจทาน
    หากแต่มาตรวจอ่านเมื่อพิมพ์เป็นเล่มแล้ว
    ทั้งนี้เพราะไม่มีศิษย์คนใดกล้าหาญที่จะนำขึ้นปรารภต่อท่าน
    เป็นแต่ว่าพระอริยคุณาธารเป็นผู้เอาไปพิมพ์
    พิมพ์แล้วส่งมาถวาย และดีที่ได้พระภิกษุทองคำเป็นผู้รับหน้าว่า “ผิดถูก ขอโอกาสครูบาอาจารย์ กระผมยอมรับผิดทุกอย่าง”
    ออกตัวรับโทษเพราะเป็นผู้เขียน
    รับไว้โดยเฉลี่ยโทษไปยังท่านอาจารย์วิริยังค์, ท่านอาจารย์วัน และพระอริยคุณาธารผู้นำไปพิมพ์เป็นเล่ม
    ตกมาถึงชั้นปัจจุบัน
    กว่าจะได้อ่าน มุตโตทัย ธรรมเทศนา บทธรรมบรรยาย รวมถึงกว่าที่จะได้อ่านศึกษาชีวประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นเรื่องยากยิ่ง
    แต่เป็นเรื่องยากที่พ้นผ่านมาได้เพราะอาศัยความคิดริเริ่มของพระอุปัฏฐากพระปัจฉาสมณะน้อยหนุ่มผู้อยู่แวดล้อม
    ผู้อยู่ด้วยกับพระอุปัชฌาย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์
    ผู้อยู่อย่างมิสูญเปล่าเล่าดาย
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 10
    ๕. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งสุญญะ ศูนย์
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๔๙ ราคา ๑๐ บาท
    เป็นอันแจ่มแจ้ง
    แจ่มแจ้งทั้งในส่วนของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการค้นพบและนำเสนอ
    นำเสนอหนังสือ “มุตโตทัย”
    แจ่มแจ้งทั้งในส่วนของ พระทองคำ จารุวัณโณอันมีส่วนสัมพันธ์อย่างแนบแน่นอยู่กับ หลวงตาทองคำ ที่ว่าเอาไว้
    ว่าเอาไว้ใน “รำลึกวันวาน”
    แจ่มแจ้งทั้งในส่วนของ พระญาณวิริยาจารย์หรือที่รับรู้กันก่อนหน้านี้และแม้แต่ทุกวันนี้ว่า “อาจารย์วิริยังค์”
    เพราะท่านมีส่วนอย่างสำคัญในการเรียบเรียงประวัติของพระอาจารย์
    แจ่มแจ้งเพราะว่าการจดจารบันทึกของปัจฉาสมณะทั้ง ๓ คือ พระภิกษุทองคำ กับพระภิกษุวิริยังค์ และ พระภิกษุวัน เมื่อนำมารวมกันเข้าก็ได้กลายเป็นหนังสือว่าด้วย “มุตโตทัย” อันมาจากธรรมเทศนาของพระอาจารย์
    ที่สำคัญก็คือได้รับการรับรองจากพระอาจารย์
    ได้รับการรับรองอย่างไร ไม่เพียงแต่คำบอกเล่าของ พระทองคำ จารุวัณโณ จะมีความแจ่มแจ้ง หากเมื่อติดตามรายละเอียดอย่างชนิดลงลึกไปอีกก็ยิ่งทำให้มองเห็นปมเงื่อนบางประการที่ไม่ควรผ่านเลย
    ขอให้รีบอ่าน
    หลังจากท่านฉันจังหันเสร็จท่านก็เข้าห้องผู้เล่าก็ขึ้นไปปฏิบัติท่าน นำห่อหนังสือขึ้นไปถวาย
    เป็นเวลาที่ท่านจะต้องพักแต่ท่านไม่พัก, อ่านต่อจนกระทั่งถึงเวลาที่ท่านฉันน้ำชา ผู้เล่าขึ้นไปทำข้อวัตร ท่านก็บอกว่า
    “เอา ดีเหมือนกันนะ เป็นเทศนาคำย่อ ผู้มีปัญญาพิจารณาได้”
    ท่านว่าอย่างนั้น
    หนังสือ “มุตโตทัย” ที่พิมพ์แจกในงานถวายเพลิงศพของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต นั้นก็มีของท่าน อาจารย์วิริยังค์ เป็นบทนำ
    ต่อจากนั้น ก็เป็นของ หลวงตาทองคำ เป็นอันดับ ๒
    อันดับ ๓ คือ ท่านอาจารย์วัน
    ท่านทั้งหลายที่ได้อ่านหนังสือมุตโตทัยก็คือหนังสือที่ท่านพระอาจารย์มั่นได้ตรวจทานแล้วเป็นของที่ท่านยอมรับแล้วว่า ดีอยู่ เพราะว่าเทศนาเป็นคำย่อ แต่ผู้มีปัญญาก็จะพิจารณาได้
    ท่านมักจะพูดเสมอเรื่องค่าของ ศูนย์ ท่านเปรียบถึงพระนิพพาน นิพพานัง ปรมังสุญญัง พระนิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง
    “ศูนย์ทำไมจึงมีอยู่ ทองคำ ลองเขียนดูซิ” ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘-๙-๐ ธรรมดาเลขนั้นมีอยู่ ๙ ตัวใช่ไหมที่มันนับได้ บวกลบคูณหารกันได้
    ส่วนเลขศูนย์มันอ่านได้ มันมีอยู่ แต่ไม่มีค่า
    ฉะนั้น เอาไปบวก ลบ คูณ หาร กับเลข ๑ ถึง ๙ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น แต่ศูนย์ก็ยังมีอยู่ เมื่อนำไปต่อกับเลขอื่น เช่น ๑ ก็จะกลายเป็น ๑๐ แต่ศูนย์อยู่ตามลำพังก็จะไม่มีค่า
    เปรียบเสมือนฐิติภูตัง คือ จิตดวงเดิมที่มีอยู่เป็นอยู่ แต่ถูกห่อหุ้มด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทานเมื่อชำระด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเป็น ฐิติญาณัง จิตคือผู้รู้ว่าศูนย์จากอาสวะ และรู้ว่าสูญจากอาสวะก็เป็นบรมสุข พ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    ดังคำว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นคู่กันกับ นิพพานัง ปรมังสูญญัง
    พระพุทธเจ้ารวมทั้งพระสาวกหลายหมื่นหลายแสนองค์เข้าสู่พระนิพพาน เพราะพระนิพพานไม่มีที่เต็ม ว่างอยู่ตลอด อย่ากลัวพระนิพพานเต็ม พวกเราจงเร่งไปสู่พระนิพพานเหมือนกับพระพุทธเจ้าเถิด พระนิพพานไม่เต็มหรอก
    มีแต่พวกขี้เกียจ กุสิโต หีน วิริโย ตายแล้วเกิดเกิดแล้วตายไม่มีที่สิ้นสุด
    แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างย่ายคาย่างย่ายเวียนตาย เวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม
    ภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่ ตายแล้วเกิดเกิดแล้วตาย บ่มีที่สิ้นสุด
    บทสรุปว่าด้วย สุญญะ และเลข ๐ ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต คมคาย เป็นความคมคายในลักษณะของการอุปมาเป็นความคมคายอย่างรวบรัดในแบบของพระในนิกายเซน
    เพราะว่าเซนก็มีรากมาจากหลักแห่งพุทธธรรมเช่นเดียวกัน
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งการวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    รวมความว่า “มุตโตทัยเป็นเทศนาคำย่อ ผู้มีปัญญาพิจารณาได้”
    ซึ่งก็ตรงกับ “สำหรับผู้มีปัญญา ธรรมะมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า”
    แล้วหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ก็สรุปว่า “ดีอยู่”
    “ดีเหมือนกัน”
    นี้คือบทสรุปเมื่อเห็นเมื่อเป็นหนังสือเข้าเล่มครั้งแรกสุด
    ครั้งต่อมา จึงเป็นดำริของ พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)
    ครั้งต่อมาจึงเป็นรูปเล่มที่แจกในงาน ฌาปนกิจ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๙๓
    นี้เป็นที่มาว่า มุตโตทัยได้รับการพิมพ์เป็นรูปเล่ม และได้รับคำนิยมจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ผู้เป็นเจ้าเทศนาธรรม
    วิถีแห่งการวิจารณ์ในที่นี้มุ่งอรรถาธิบายสุญญะ หรือ เลข ๐
    อาการแห่งสุญญะหากแปรจากนามธรรมมาสู่รูปธรรมก็เขียนได้คือเลข ๐
    เลข ๐ มีอยู่อ่านค่าได้ คือ ๐ แต่ไม่มีค่าควรแก่การกำหนดค่า
    หากแต่มีค่าเป็นศูนย์ และมีค่าตามลำพังของศูนย์
    หากแปรนัยยะแห่งสุญญะนี้ไปหาคติของนิกายเซ็น
    คือ แปรนัยยะของภาวะมีความไม่มี
    เปรียบไว้กับลำต้นไผ่ คือ ดูลำไผ่ที่กลวงว่าง
    จากลำไผ่สู่ความว่าง
    จากความว่างสู่ลำไผ่
    ข้อนี้แสดงนัยยะแห่งสุญญะ คือ มีความไม่มี
    เปรียบได้กับฐีติจิต ฐีติภูตัง คือจิตเดิมตามธรรมชาติมีอยู่ คือมีอยู่อย่างผ่องใสยิ่งกว่าอะไร
    แต่มาถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสาวะตัณหา อวิชชา อุปาทาน ผ่านภพ ผ่านชาติ เรื่อยมา
    เมื่อมาอาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องทำลายของปลอมคือ กิเลสทั้งหมดทั้งหลายได้แล้ว จิตย่อมเป็นฐีติจิต จิตเป็นอยู่ด้วยฐีติญาณคือรู้ว่าสูญจากอาสวะ ความไม่มีอาสวะนี้หล่ะ เป็นสุขยิ่งเพราะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว แม้ยังจะต้องเกี่ยวข้องในอารมณ์ของโลกอยู่ ก็เป็นเช่นน้ำกลิ้งตัวบนใบบัวก็ฉันนั้น
    ไม่มีลำไผ่ในความกลวงของลำไผ่
    เมื่อย้อนไปศึกษาทบทวนในบทประพันธ์ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะมีคำถามว่า “ มีไม่มี ไม่มีมี นี้คืออะไร?
    ทีนี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปลโปรดแก้เถิด
    ที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผลแล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน
    ข้อนี้ต้นมีไม่มี อย่างนี้ตรง
    ข้อปลายไม่มีมี นี้เป็นธรรม
    ที่ลึกล้ำใครพบจบประสงค์
    ไม่มีสังขารมีธรรมที่มั่นคง
    นี้แลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง”
    รวมความว่า สุญญะแปรเป็นรูปธรรมได้ เลข ๐
    เลข ๐ ไม่มีค่า แต่มีอยู่ มีอยู่อย่างเลข ๐
    ในธรรมไม่มีสังขาร
    เมื่อสูญจากสังขารทั้งปวงได้จึงเป็นธรรม
    สังขารทั้งปวงจึงมิใช่ของจริง
    การวางอย่างเซ็นกับการวางอย่างศูนย์จึงว่า “ดีอยู่เหมือนกัน”
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๖. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่ง “วิริยังค์”
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๖๕ ราคา ๑๐ บาท
    หนังสือ “มุตโตทัย” อันเป็นธรรมบรรยายและธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ตีพิมพ์ซ้ำหลายคำรบอย่างยิ่ง
    ทั้งเป็นการพิมพ์เพื่อขายในเชิงพาณิชย์ และพิมพ์เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานศพ
    แต่ก็มีน้อยครั้งอย่างยิ่งที่จะมีการนำเอารายละเอียดอันสะท้อนความเป็นมาของหนังสือ “มุตโตทัย” มาบ่งบอกอย่างครบถ้วน
    กระนั้น เมื่อนำเอาแต่ละส่วนมาศึกษาก็จะทำให้มองเห็นภาพโดยองค์รวมได้
    เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๑๖ ภายในหนังสือ “พระธรรมเทศนา และแนวปฏิบัติ” พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ คุณแม่เอื้อน อรรถโสภิตพจนพิสุทธิ์ (เอื้อม จามรกุล) ณ เมรุวัดธาตุทอง สุขุมวิท
    ก็มีธรรมบรรยายเรื่อง “มุตโตทัย” รวมอยู่ด้วย
    น่าสนใจก็ตรงที่ก่อนตีพิมพ์เรื่อง “มุตโตทัย” มีลิขิตจาก พระญาณวิริยาจารย์ ศูนย์กลางวัดธรรมมงคล ถึง คุณเติมพันธ์ จามรกุล
    เป็นการอนุญาตให้ตีพิมพ์ ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเล่าถึงรากฐานความเป็นมาของ “มุตโตทัย” อย่างย่นย่อ

    โปรดอ่าน

    เจริญพร คุณเติมพันธ์ จามรกุลตามที่คุณได้ขออนุญาตจัดพิมพ์ หนังสือ “มุตโตทัย” ที่เป็นธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่น อาตมามีความยินดีที่จะได้อนุญาตให้ตีพิมพ์ได้
    เพราะหนังสือนี้มีประโยชน์มาก
    และได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นหลายครั้งแล้ว
    ในการพิมพ์ครั้งนี้ในงานศพของคุณแม่ ก็จะยิ่งเป็นการดีมากที่ได้หนังสืออันเป็นประโยชน์แจกในงาน
    หนังสือ “มุตโตทัย” นี้ อาตมาได้เป็นผู้บันทึกจากโอวาทของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระโดยตรง
    ขณะนั้น อาตมาได้จำพรรษาอยู่กับท่านที่บ้านนามน (วัดป่าบ้านนามน) ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    ด้วยอำนาจกุศลบุญราศี ทุกประการที่บุตรธิดา ญาติ พร้อมด้วยอาตมา จงดลบันดาลให้คุณโยมเอื้อน อรรถโสภิตพจนพิสุทธิ์ จงประสบด้วยสุคติภพนั้นๆ เทอญ
    พระญาณวิริยาจารย์
    นั่นก็ตรงกับที่ พระญาณวิริยาจารย์ ได้เคยเขียนเอาไว้ใน “ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์”
    ตอน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ จำพรรษาเสนาสนะป่า บ้านหนองผือ
    ตามปกติแล้ว พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไม่ได้จำพรรษา ณ เสนาะสนะแห่งใดต่อเนื่องติดต่อกัน
    มีก็ที่เสนาสนะป่า บ้านหนองผือ นี่แหละที่ยาวนานถึง ๕ ปี
    “ตลอดระยะเวลา ๕ พรรษา ท่านก็ได้พยายามชี้แจงธรรมต่างๆ แก่บรรดาศิษย์ทั้งหลายตลอดเวลา ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้มีกำลังวังชาดี เดินไปไหนมาไหนได้คล่องแคล่ว”
    ที่สำคัญก็คือ
    “ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดป่านี้ท่านได้แสดงธรรมอันเป็นส่วนข้อปฏิบัติมากที่สุด มิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเลย เมื่อผู้ใดเข้ามาหาท่านก็แสดงธรรมให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นพระเล็ก เณรน้อย ตลอดถึงพระเถระผู้ใหญ่”
    “บางครั้งเป็นวันวิสาขบูชา มาฆบูชา ท่านได้แสดงผู้เดียวจนถึงเที่ยงคืน การแสดงธรรมก็เป็นไปวิจิตรพิสดาร มีอรรถรสแห่งข้อปฏิบัติ สำนวนไพเราะมาก
    “บางแห่ง บางข้อ ข้าพเจ้าได้เคยบันทึกไว้ในหนังสือ “มุตโตทัย” เป็นที่เข้าอกเข้าใจแก่บรรดาสานุศิษย์ บางองค์ถึงกับบ่นว่า เราไปภาวนาตั้งเดือนสู้ฟังเทศน์อาจารย์ครั้งเดียวก็ไม่ได้
    เช่นนี้ก็มีมาก
    “ท่านได้พยายามสั่งสอนสานุศิษย์ทั้งหลายโดยทุกวิถีทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อหวังให้ศิษย์ทั้งหลายได้เข้าใจในปฏิปทาข้อปฏิบัติ”
    ปฏิปทาข้อปฏิบัติ คือ เป้าหมายที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ต้องการ
    แม้จะปรากฏธรรมบรรยายผ่านหนังสือ “มุตโตทัย” แต่แจ้งหรือไม่ในเป้าประสงค์
    เป้าประสงค์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตไม่เคยแปรเปลี่ยน นั่นก็คือคัมภีร์เป็นเหมือนกับเข็มทิศนำทาง
    แต่การจะบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง คือ การลงมือปฏิบัติโดยตนโดยตรง
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งการวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    รากฐานและหลักฐานที่มาของมุตโตทัย อีกหลักฐานหนึ่งคือจากท่านพระญาณวิริยาจารย์อ้างไว้ว่า “หนังสือมุตโตทัย นี้ อาตมาได้เป็นผู้บันทึกจากโอวาทของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถรโดยตรง
    ขณะนั้นอาตมาได้จำพรรษาอยู่กับท่านที่บ้านนามน ตำบลตองโขบ อ.เมือง จังหวัดสกลนคร”
    นี้เป็นคติอ้างถึงของพระวิริยังค์ สิรินฺธโร
    อันเป็นรากที่มาของเทศนาคำย่อ
    เป็นเทศนาคำย่อสำหรับผู้มีปัญญาจะได้พิจารณา
    เป็นเทศนาคำย่อที่เป็นกลางและเป็นธรรมที่หลวงปู่มั่นได้ทอดอาลัยวางไว้ให้สานุศิษย์ เพื่อเป็นเข็มทิศนำทางในการปฏิบัติ
    การพูดจาบอกสอน แนะนำให้รู้ อรรถาธิบายให้เข้าใจขวนขวายในการศึกษาของศิษย์ ทำทุกวิถีทางทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่นการ ทำให้ดู การเป็นครูให้ได้เห็น ทั้งนี้ก็เพราะองค์ท่านหวังในความบริสุทธิ์ของข้อปฏิปทาและข้อประพฤติปฏิบัติในหมู่สานุศิษย์

    สานุศิษย์ที่ถ่ายทอดผ่าน
    ๑. ชีวประวัติของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต โดยพระอริยคุณธารในปี พ.ศ.๒๔๙๓ นี้เป็นฉบับต้นแบบ
    ๒. ชีวประวัติของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ฉบับสมบูรณ์โดยพระญาณวิริยาจารย์ พ.ศ.๒๕๑๒ นี้เป็นฉบับที่ ๒
    ๓. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร โดยพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโณ พ.ศ.๒๕๑๔ นี้เป็นฉบับที่ ๓
    ๔. รำลึกวันวาน ของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ นี้ก็เป็นบันทึกฉบับเล่มที่ ๔
    ๕. นอกจากนี้แล้วเกร็ดประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้แต่เกลื่อนกระจายอยู่กับสานุศิษย์ที่ร่วมสมัยกับองค์ท่านก็มีอยู่มากนักเป็นที่น่ายินดีที่หนังสือ “บูรพาจารย์” อุบัติขึ้นมา แต่ก็ยังรวบรวมไว้ได้ไม่หมดทุกรูปทุกองค์ได้
    เห็นจะเป็นเพราะว่า ไม่ได้รับความร่วมมือ หรือขาดการประสานให้เป็นหนึ่ง หรือว่า ต่างก็ถือแข็งว่า ตนเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิด หรือเป็นเพราะประเด็นอื่น เช่นว่าถือศิษย์ ถือสาย แตกแยกออกไปเสียอย่างนั้นก็อาจเป็นได้
    แต่กระนั้นก็ตาม
    ดีที่ได้หลักฐานมาศึกษาเปรียบเทียบ
    วิถีแห่งพระอริยคุณาธาร
    วิถีแห่งพระวิริยังค์
    วิถีแห่งพระมหาบัว
    วิถีแห่งหลวงตาทองคำ
    วิถีแห่งหนังสือบูรพาจารย์
    วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่ และวิถีแห่ง การวิจารณ์
    วิถีเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการในการศึกษาคัมภีร์ธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต นั่นเอง
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๗. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งเทศนาวิธี
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๖๓ ราคา ๑๐ บาท
    ต้องยอมรับว่า บทความขนาดยาวเรื่อง “ชีวประวัติ ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ” ของพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) แห่งเขาสวนกวาง ขอนแก่น
    เป็นบทความชิ้นแรกที่สุดที่นำเสนอประวัติของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ก่อนสำนวนการเขียนของพระญาณวิริยาจารย์ ก่อนสำนวนการเขียนของพระมหาบัว ญาณสัมปันโน และก่อนสำนวนการเรียบเรียงของ พระทองคำ จารุวัณโณ (ในหนังสือจารึกวันวาน)
    ถือเป็นสำนวนแบบฉบับสำหรับการเขียนถึงพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ส่วนหนึ่ง อาจมาจากประสบการณ์ตรงของพระอริยคุณาธาร ในห้วงที่ปฏิบัติใกล้ชิดอยู่กับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อีกส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากความไว้วางใจดังที่พระธรรมเจดีย์ ได้ระบุไว้ในคำนำของหนังสือซึ่งพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ณ วัดป่าสุธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓
    นั่นก็คือ
    “ที่ประชุมได้ตกลงให้มอบภาระในการนี้แก่พระอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง) ซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งเป็นผู้จัดทำ เธอเต็มใจรับภาระและจัดทำสำเร็จเรียบร้อยเป็นเล่มสมุดทันแจกในงานฌาปนกิจสมประสงค์”
    เป็นมติจากที่ประชุมของคณะศิษยานุศิษย์อันมี พระธรรมเจดีย์ เป็นประธาน
    ในหนังสือนั้นได้กล่าวไว้ในหัวข้อสำคัญ “สำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์” เอาไว้อย่างควรแก่การพิจารณาศึกษาอย่างเป็นพิเศษ
    ดังนี้
    ตามประวัติเบื้องต้นได้เล่าสุบินนิมิตของท่านและการพิจารณาสุบินนิมิตของท่าน ได้ความว่า
    ท่านจะสำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์ ฉลาดรู้ในเทศนาวิธีและอุบายทรมาน แนะนำสั่งสอนสานุศิษย์ให้เข้าใจในพระธรรมวินัยและอุบายฝึกฝนจิตใจแต่จะไม่ได้จตุปฏิบัติสัมภิทาญาณดังนี้
    คุณสมบัติส่วนนี้ย่อมประจักษ์ชัดแก่ศิษย์ทั้งหลายสมจริงอย่างที่ท่านพยากรณ์ไว้ คือ ท่านฉลาดในเทศนาวิธี ท่านเคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าท่านได้พยายามศึกษาสำเนียงวิธีเทศนาอันจะสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟัง
    ได้ความขึ้นว่าเทศนาวิธีต้องประกอบด้วย

    (๑) อุเทศคือ กำหนดอุเทศก่อนหัวข้อธรรมที่พึงยกขึ้นแสดง วิธีกำหนดอุเทศนั้น คือทำความสงบใจหน่อยหนึ่ง ธรรมใดอันเหมาะแก่จริตนิสัยของผู้ฟังซึ่งมาคอยฟังในขณะนั้น ธรรมนั้นจะผุดขึ้น ต้องเอาธรรมนั้นมาเป็นอุเทศ
    ถ้าเป็นภาษาไทยต้องแปลเป็นบาลีก่อน

    (๒) นิเทศ คือ เนื้อความ เพื่ออธิบายความของอุเทศนั้นให้กว้างขวางออกไปตามสมควรเมื่อเนื้อความปรากฏขึ้นในขณะนั้นแจ่มแจ้งแก่ใจอย่างไรต้องแสดงอย่างนั้น

    (๓) ปฏินิเทศ คือ ใจความเพื่อย่อคำให้ผู้ฟังจำได้ จะได้นำไปไตร่ตรองในภายหลังเทศนาวิธีของท่านอาจารย์ย่อมเป็นไปตามหลักดังกล่าวนี้
    บาลีอุเทศที่ท่านยกขึ้นมาแสดงบางประการท่านไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก่อน ย่อมมาปรากฏขึ้นในเวลาแสดงธรรมนั้นเอง
    จึงสมกับคำว่า ปฏิสัมภิทานุสาสน์ แท้
    เป็นการแสดงธรรมด้วยปฏิภาณญาณจริงๆ จึงถูกกับจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง ยังผู้ฟังให้เกิดความสว่างแจ่มใส เบิกบานใจ
    และเกิดฉันทะในอันประพฤติปฏิบัติศีลธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
    สมด้วยคำชมของเจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันทเถระ จันทร์) ว่า ท่านมั่นแสดงธรรมด้วยมุตโตทัย เป็นมุตโตทัย ดังนี้
    ซึ่งข้าพเจ้าเอามาเป็นชื่อธรรมกถาของท่านอาจารย์ที่พิมพ์นี้
    ความน่าสนใจอยู่ที่เป็นการเขียนในลักษณะสรุปและประเมินผลจากการปฏิบัติอย่างยาวนานตราบชั่วชีวิตของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เป็นการประเมินจาก ๒ ส่วนประสานเข้าด้วยกัน
    ประการ ๑ ประเมินจากบทสรุปของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เองโดยผ่านการวิเคราะห์และสรุปจากสุบินนิมิต
    ประการ ๑ ประเมินจากความเป็นจริงที่เห็นด้วยตาของตนเอง
    การเห็นด้วยตาของตนเองนี้มิได้เป็นเพียง ๒ ตาของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) เท่านั้น
    เพราะ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) มิได้เขียนจากจินตนาการ
    ตรงกันข้าม ท่านเขียนจากความเป็นจริง ท่านเขียนจากการคั้น กลั่นกรอง จากการตรวจสอบและได้ผ่านการรับรองมาแล้ว
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งการวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    เท่าที่สอบถามจากบุคคลผู้เคยได้อยู่ร่วมยุคกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาแล้วหลายคนหลายท่าน
    เท่าที่ได้อ่านวิเคราะห์จากชีวประวัติของสานุศิษย์ในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ชั้นลูกศิษย์
    เท่าที่ได้เข้ากราบเรียนสอบถามจากลูกศิษย์ผู้ร่วมยุคกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลายรูปหลายองค์
    พอที่จักประมวลความได้ว่า
    เทศนาวิธี หรือวิถีเทศน์ธรรมของหลวงปู่มั่นนั้น
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร บันทึกไว้ว่า “ท่านแสดงไม่อ้างสวรรค์นิพพานไม่อ้างทุคติ แต่อ้างความเป็นไปในปัจจุบันอย่างเดียว เพราะชั่วดีก็ปัจจุบันที่ยังเป็นชาติมนุษย์”
    “ท่านเทศน์ให้สงเคราะห์เข้าหาตนทั้งนั้น”
    หรือแม้แต่ท่านผู้อื่นหลายๆ ท่านก็พูดไว้ในทำนองเดียวกันว่า โดยมากท่านจะเทศน์นั้นไม่มีการตั้งนะโม จะเทศนาว่าการไปเลย ว่าไปตามหัวข้อที่กำหนด หรืออาศัยคำถามหรือยกเอาข้อสงสัยของผู้ตั้งคำถามไว้ในใจ นั่นเองเป็นหัวข้อเทศน์ธรรมแต่ที่ท่านคำนึงคือ ให้ตรงกับจริตนิสสัยของผู้ฟัง
    กิริยาที่แสดงทั้งข่มขู่ทั้งกระหนาบ ทั้งปลุกเร้าให้อาจหาญร่าเริงและให้มีกำลังใจในการประพฤติปฏิบัติ
    นี้คือคำสรุปของศิษย์ทั้งที่เป็นพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ และทั้งที่เป็นฆราวาสที่เคยบวชร่วมยุคนั้น
    ในฐานะแห่งเทศนาวิธีอันต่างก็ได้รับการยอมรับจากสานุศิษย์ว่าหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นหนึ่งในผู้ฝึกหัดผู้คนได้
    เหตุเพราะว่า องค์ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุบายการกำหราบและการโอบอุ้มคุ้มชูสานุศิษย์
    กำหราบและโอบอุ้มด้วยอาการอย่างใดโปรดอธิบาย

    ๑. แสดงธรรมด้วยกำหราบให้เกิดความสำนึก, เกิดความสลดเกิดความสังเวช สำหรับผู้มีลักษณะกระด้าง ทิฏฐิ ดื้อด้านแบกตำราหรือพวกที่จะแบกท่อนซุงใหญ่มาทำบ้าน โดยจัดการหว่านล้อมกระแทกด้วยเทศนาวิธีให้เก็บอาวุธ, ให้เก็บตำรา, ให้เก็บทิฏฐิทัสสนะ ถากเลื่อยไม้นั้นก่อน แล้วจึงนำมาประกอบเป็นตัวบ้าน

    ๒. แสดงธรรมด้วยลักษณะโอบอุ้มด้วย กรุณาต่อผู้ฟัง ทั้งเฉพาะราย และโดยรวมทั้งคณะ ปลุกปลอบเมื่อเกิดปัญหา บอกเร้าด้วยขวัญและกำลังใจให้อาจหาญร่าเริงในธรรมปฏิบัติต่อไป จนที่สุดก็ตอกย้ำให้คลายวิจิกิจฉา

    ๓. เปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำ บอกทางให้ ชี้เหตุให้ ส่องทางให้ จุดประทีปให้ บอกสอนแบบแบมือ ไม่มีวรรณะ อดทนใจเยือกเย็นไม่เห็นแก่ใครๆ สุขุมลุ่มลึก เน้นที่ภูมิปัญญาของผู้ฟังปฏิบัติตาม

    รวมความว่า การพูด การอธิบาย การบรรยาย การแจกแจงอรรถธรรมการปรารภ การสนทนา การปรึกษา การทำให้ดู การเป็นครูให้เห็น ตลอดจนกลวิธีและอุบายใดๆ อันมุ่งให้ผู้อื่นเข้าใจในธรรมวินัย ชื่อว่าการแสดงธรรมหรือการดำเนินในวิถีเทศนาวิธี
    เป็นเทศนาวิธีของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    เป็นเทศนาวิธีของวิปัสสนาธุราจารย์
    นับว่าเป็นวิถีที่เป็นทิฏฐานุคติโดยเอกแล้ว
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 11
    ๘. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งปฏิสัมภิทา
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๗๐ ราคา ๑๐ บาท
    มีความระมัดระวังสูงเป็นอย่างยิ่งเมื่อ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) เรียบเรียงเป็นบทสรุปในหัวข้อเรื่องว่า
    “สำเร็จปฏิสัมภิทานุสาสน์”
    เพราะการสรุปเช่นนี้เท่ากับเป็นการประเมินระดับขั้นของความรู้ ระดับขั้นของความสำเร็จ
    เป็นการสรุปจากมุมมองของศิษย์
    น่าเชื่อว่าจะเป็นการสรุปบนพื้นฐานความเชื่อมั่นของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) อย่างเป็นด้านหลัก
    มิได้มีการอ้างอิงนามของท่านอื่นใดมารองรับ
    อย่างไรก็ตาม หากประเมินบนพื้นฐานความเป็นจริงของ “ปฏิสัมภิทา” ก็จะเห็นได้ว่า พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) กระทำเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวัง
    กระทำบนพื้นฐานในทางวิชาการเมื่อประสานกับความเป็นจริงทางการปฏิบัติ
    ขณะเดียวกัน ก็อ้างอิงกับบทสรุปของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เองเมื่อท่านตีความจากสุบินนิมิตครั้งอยู่วัดเลียบ อุบลราชธานี
    ขอให้อ่านบทสรุปจากส่วนของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ดังนี้
    ส่วนจตุปฏิสัมภิทาญาณนั้นท่านว่าจะไม่ได้สำเร็จเพราะมิได้เปิดดูในตู้พระไตรปิฎก เมื่อสังเกตุดูเทศนาโวหารของท่านแล้วก็จะเห็นจริงดังคำพยากรณ์ของท่าน
    เพราะปฏิสัมภิทาญาณมี ๔ ประการคือ
    (๑) ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในธรรม คือ หัวข้อธรรมหรือหลักธรรมหรือเหตุปัจจัย
    (๒) อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในอรรถ คือ เนื้อความ หรือคำอธิบาย หรือผลประโยชน์
    (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในภาษาที่ใช้พูดกันในหมู่ชนอันเป็นตันติภาษา
    โดยหลักก็คือ รู้ภาษาบาลีอันเป็นแม่ภาษาและภาษาของตนอันจะใช้อธิบายธรรมในหมู่ชนนั้นๆ รู้คำ สูงต่ำ หนัก เบา และรู้ความหมายของคำนั้นๆ ชัดแจ้ง
    ฉลาดในการเลือกคำพูดมาใช้ประกอบกันเข้าเป็นประโยคให้ได้ความกะทัดรัดและไพเราะสละสลวย เป็นสำนวนชาวเมือง ไม่ระเคืองคายโสตของผู้ฟัง
    (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปรีชาแตกฉานในการกล่าวธรรมด้วยปฏิภาณญาณ
    มีไหวพริบทันคนในการโต้ตอบปัญหา มีปรีชาผ่องแผ้วแกล้วกล้าไม่คั่นคร้ามในท่ามกลางบริษัท
    อาจปริวัตเทศนาไปตามจริตตามอัธยาศัยด้วยเทศนามัยมีประการต่างๆ ได้ดี
    ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ประการนี้ ต้องได้ครบบริบูรณ์ ๔ ประการจึงจะเรียกว่าสำเร็จจตุปฏิสัมภิทาญาณ
    ถ้าได้แต่เพียงบางส่วนบางประการไม่เรียกว่าสำเร็จ
    แต่ถ้าได้ทั้ง ๔ ประการนั้น หากแต่ไม่บริบูรณ์เป็นเพียงแต่อนุโลม ก็เรียกว่า จตุปฏิสัมภิทานุโลมญาณ
    ท่านอาจารย์น่าจะได้ข้อหลังนี้ จึงฉลาดในเทศนาวิธีและอุบายวิธีแนะนำสั่งสอนสานุศิษย์
    พลิกหนังสือ “พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์” ของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๔๖
    ไปยังหน้า ๑๑๙ สดมภ์ ๑
    ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ความรู้แตกฉานปัญญาแตกฉานมี ๔ ข้อ คือ
    (๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    (๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    (๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในทางนิรุกติ คือ ภาษา
    (๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
    ขณะเดียวกัน ในหน้าเดียวกัน สดมภ์ ๒ ยังมี
    ปฏิสัมภิทามรรค ทางแห่งปฏิสัมภิทา ข้อปฏิบัติที่ทำให้มีความแตกฉาน ชื่อคัมภีร์หนึ่งแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เป็นภาษิตของพระสารีบุตร
    ในที่สุดแล้วก็คือ ความแตกฉาน ความรู้แตกฉาน ปัญญาแตกฉาน
    จะมีความแตกฉานได้ จะมีความรู้แตกฉานได้ จะมีปัญญาแตกฉานได้ ที่สำคัญเป็นอย่างมากก็ได้มาจากการปฏิบัติ
    ปฏิบัติไปตามแนวทางแห่งปริยัติ ปฏิบัติไปตามคำสั่งสอน ปฏิบัติไปตามที่ได้เล่าเรียนมา
    นั่นก็คือ ปฏิปทาที่สอดคล้องปฏิปทาที่ไม่ขัดปฏิปทาที่เป็นไปตามความมุ่งหมาย ความทำให้สมบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
    พระตถาคตเจ้าตรัสกับพระอานนท์เถระว่า “อานนท์การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่เป็นสิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งหลักการไว้ในใจ ก่อน ดังนี้ คือ
    ๑. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
    ๒. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
    ๓. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
    ๔. เราจักแสดงด้วยไม่เห็นแก่อามิส
    ๕. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น
    ทั้ง ๕ ประการนี้เป็นหลักประการหนึ่ง
    หลักใหญ่อีกประการมีอยู่ว่า
    ๑. สันทัสสนา แสดงเรื่องนั้นอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง จนผู้รับฟังสามารถเข้าใจ
    ๒. สมาปนา มีการชี้ชวน ชี้เหตุชวนให้ทำเหตุ และจดจ่อติดตามเรื่องที่ขณะฟังด้วยความสนใจ
    ๓. สมุตเตชนา ปลุกใจให้กำลังใจให้อาจหาญร่าเริง และเชื่อมั่นในงานของตน มีความพร้อมที่จะลงมือ ศึกษา และปฏิบัติตาม
    ๔. สัมปหังสนา พาให้ผู้ฟังรู้สึกเพลิดเพลิน บันเทิงใจปลื้มปีติอยู่ในธรรมที่ได้สดับฟัง ชื่นชมยินดียิ่งนัก
    หลักใหญ่ทั้ง ๒ ประการนี้จักดำเนินเชื่อมต่อไปได้นั้น ต้องอาศัยว่า กำหนดบทอุเทศขึ้นเสียก่อน คือ กำหนดอุเทศที่ตั้งขึ้น
    ๑. กำหนดเนื้อความเป็นที่ตั้ง
    ๒. กำหนดบุคคลเป็นที่ตั้ง
    ๓. กำหนดเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อม เป็นที่ตั้ง
    นี้เรียกว่าที่ตั้งในการแสดงธรรมในแต่ละคราว
    ครั้นกำหนดอุเทศเหตุเบื้องต้นในการยกพระธรรมมาเทศนาว่าการได้แล้วในระหว่างนั้นก็ใช้กลวิธีและอุบายประกอบเข้ากับการสอน เช่น
    เล่าอุทาหรณ์ประกอบ เล่านิทานเล่าชาดกประกอบ, ยกพุทธประวัติสาวกประวัติมาประกอบ, เปรียบเทียบอุปมาอุปไมย, นำสิ่งที่เห็นได้ง่ายใกล้ๆ ตัวมาเป็นอุปกรณ์ในการชี้ให้เห็น บอกสอนให้เข้าใจ, จนที่สุดทำให้เป็นเป็นตัวอย่างทำตัวอย่างให้ดู เป็นครูให้เห็น แล้วก็สรุปประมวลเป็นคติพจน์ คำคมหรือผญาธรรม เพื่อสรุปหลักใหญ่หลักย่อยเข้าด้วยกัน
    ก็เมื่อดังนี้แล้วแล
    วิถีแห่ง ปฏิสัมภิทานุโลมญาณ
    ปฏิสัมภิทานปฏิโลมญาณ
    จึงจักเป็นไปได้ในเทศนาวิธีและอุบายวิธี โปรดพิจารณาด้วยดีเถิด
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๙. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งไตรวิธญาณ
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๗๗ ราคา ๑๐ บาท
    บทสรุปของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) อาจเข้าใจยาก
    เข้าใจยากเพราะ ประการ ๑ เป็นบทสรุปจากการปฏิบัติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แล้วจึงนำมาบอกเล่า
    ถือว่าเป็นประสบการณ์โดยตรง
    ประการ ๑ คำบอกเล่านี้ผ่านการตรวจสอบจากศิษยานุศิษย์ แล้วเรียบเรียงและจัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ
    เป็นระบบเพื่อนำไปสู่การศึกษา เรียนรู้ ของคนชั้นหลัง
    อาจเป็นเพราะการบอกกล่าว เป็นการบอกกล่าวในหมู่นักปฏิบัติ จึงมีแต่นักปฏิบัติเท่านั้นที่จะสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
    ขณะที่กล่าวสำหรับคนซึ่งไม่มีประสบการณ์ทางการปฏิบัติจึงยากเป็นอย่างยิ่ง
    ขณะเดียวกัน ปราการแห่งถ้อยคำ ศัพท์แสงปราการแห่งการจัดระบบเป็นหมวดหมู่ก็ทำให้ยากแก่การทำความเข้าใจไปด้วย

    คำแนะนำก็คือ ให้ศึกษาต่อไป ขณะเดียวกันก็เป็นการศึกษาอย่างประสานกับการปฏิบัติที่เป็นจริง
    ดังบทสรุปของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส) ดังนี้
    ท่านอาจารย์เล่าให้ฟังว่า

    การกำหนดรู้อะไรต่างๆ เช่นจิต นิสัย วาสนาของคนอื่นและเทวดา เป็นต้น ย่อมรู้ได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง
    ดังนี้
    (๑) เอกวิธัญญา กำหนดพิจารณากายนี้อันปรากฏชัด จิตวางอุคคหนิมิตรวมลงถึงฐีติจิตคือ จิตดวงเดิมพักอยู่พอประมาณ
    จิตถอยออกมาพักเพียงอุปจาระ ก็ทราบได้ว่าเหตุนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
    (๒) ทุวิธัญญา กำหนดพิจารณาเหมือนข้อ ๑ พอจิตถอยออกมาถึงอุปจาระ จะปรากฏนิมิจภาพเหตุการณ์นั้นๆ ขึ้น
    ต้องวางนิมิตนั้นเข้าจิตอีกครั้งหนึ่ง
    ครั้นถอยออกมาอีก ก็ทราบเหตุการณ์นั้นๆ ได้
    (๓) ติวิธัญญา ปฏิบัติเหมือนในข้อ ๑ พอจิตถอยออกมาถึงชั้นอุปจาระ จะปรากฏนิมิตภาพเหตุการณ์ขึ้น ต้องวิตกถามเสียก่อนแล้วจึงวางนิมิตนั้น แล้วเข้าจิตอีก ถอยออกมาถึงขั้นอุปจาระก็จะทราบเหตุการณ์นั้นได้
    ความรู้โดยอาการ ๓ นี้ ท่านอาจารย์ว่า
    จิตที่ยังเป็นฐีติขณะเป็นเอกัคคตามีอารมณ์เดียว มีแต่สติกับอุเบกขา จะทราบเหตุการณ์ไม่ได้ต้องถอยจิตออกมาเพียงขั้นอุปจาระจึงมีกำลังรู้ได้
    หากถอยออกมาถึงขั้นขณิกะหรือจิตธรรมดาก็ทราบเหตุการณ์ไม่ได้เหมือนกันเพราะกำลังอ่อนเกินไป
    ท่านอาจารย์อาศัย ไตรวิธญาณ นี้เป็นกำลังในการหยั่งรู้หยั่งเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนอดีต ปัจจุบัน อนาคต และกำหนดรู้ จิตใจ นิสัย วาสนา ของศิษยานุศิษย์ พร้อมทั้งอุบายวิธีทรทานศิษยานุศิษย์ด้วยปรีชาญาณหยั่งรู้โดยวิธี ๓ ประการนี้
    จึงควรจะเป็นเนติของผู้จะเป็นครูอาจารย์ของผู้อื่นต่อไป
    อย่างไรหรือคือขั้นที่เรียกว่า อุปจาระ

    หากคำนึงเพียงรูปศัพท์ อุปจาระ เท่ากับเฉียด จวนเจียน ที่ใกล้ชิด ระยะใกล้เคียง บริเวณรอบๆ ชาน
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อรรถาธิบายว่า
    อุปจารสมาธิ เท่ากับ สมาธิจวนจะแน่วแน่สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุดเป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับก่อนจะเป็นอัปปนา คือถึงฌาน
    จะเข้าใจ อุปจาระ ได้อย่างลึกซึ้งเมื่อย้อนไปดูความหมายของ สมาธิ
    ความมีใจตั้งมั่น ความตั้งมั่นแห่งจิต การกำหนดให้ใจสงบ แน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ
    ขณะที่ อุปจารสมาธิ คือ สมาธิจวนเจียน หรือสมาธิเฉียดๆ
    ความหมายของ อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่
    ประสบการณ์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต คือ จิตที่ยังเป็นฐีติขณะ เป็นเอกัคคตา มีอารมณ์เดียว มีแต่สติ กับอุเบกขา จะทราบเหตุการณ์ไม่ได้ ต้องถอยจิตออกมาเพียงขั้นอุปจาระจึงมีกำลังรู้ได้
    นี่ย่อมเป็นประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วสรุป สรุปแล้วก็ยังต้องลงมือปฏิบัติ
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์

    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    หลักของไตรวิธาญาณ
    หลักปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    หลักของการปฏิบัติในเรื่องแห่งไตรวิธัญญา คือ รากแห่งการพิจารณานี้
    เป็นหลักที่เป็นเนตติ ในส่วนแห่งการพิจารณากาย -๑-
    ในส่วนการกำหนดนิมิต -๑-
    ในส่วนแห่งวสีในสมาธิ -๑-

    ต้องประกอบด้วยหลักใหญ่ ๓ ประการ คือ
    ๑. สติ
    ๒. อุเบกขา
    ๓. ญาณ
    นี้หมายความว่า การกระทำทุกอย่างหรือการปฏิบัติ หรือการประมวลประสบการณ์กับการปฏิบัติ แล้วลงมือปฏิบัติ คือพิจารณา ต้องเพียบพร้อมด้วยสติ อุเบกขา และญาณ
    ดังนี้แล้วจึงได้กำลังในการหยั่งรู้หยั่งเห็น
    รู้ได้ในจิตใจ นิสัยวาสนาของสัตว์โลก
    จนสามารถที่จะระบุชัดในอุบายวิธีทรมานสานุศิษย์

    ๑๐. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งธัมโมทยาน
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๘๔ ราคา ๑๐ บาท
    บังเอิญที่ได้หนังสือชื่อ “อาจาริยธัมโมทยาน” มา
    น่าสนใจก็ตรงที่หนังสือนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ โดยกลุ่มสวนปรัชญาและพุทธธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ตีพิมพ์ ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม เดือน ตุลาคม ๒๕๓๖
    ตีพิมพ์ ครั้งที่ ๒ จำนวน ๑,๘๐๐ เล่ม เดือน มกราคา ๒๕๓๗
    ตีพิมพ์ ครั้งที่ ๓ จำนวน ๔,๔๐๐ เล่ม เดือน ตุลาคม ๒๕๓๗
    ตีพิมพ์ ครั้งที่ ๔ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
    ที่ได้มาเป็นจำนวนการพิมพ์ครั้งหลังสุด อันเป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๔ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
    คำนำในการพิมพ์ครั้งที่ ๑ บอกให้รู้ว่า
    “หนังสืออาจาริยธัมโมทยาน” ซึ่งมีความหมายว่า “อุทยานธัมมะของอาจารย์” นี้ได้รับพระเมตตาจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานนาม
    จัดพิมพ์ขึ้นด้วยศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อเผยแผ่ธรรมคำสอนของพระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสี ผู้ละขันธ์แล้ว จำนวน ๑๙ รูป ให้บรรดาบรรพชิตและคฤหัสถ์ได้ศึกษาและน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติสร้างคุณงามดีให้บังเกิดขึ้นในจิตใจ
    ในจำนวนนี้มี “มุตโตทัย” อันเป็นพระธรรมเทศนา ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ รวมอยู่ด้วย
    แยกเป็นส่วนที่ ๑ และส่วนที่ ๒
    เพื่อความสะดวกจะขอนำเอาท่อนต้นๆ ของส่วนที่ ๑ แห่ง “มุตโตทัย” มาให้ได้อ่านศึกษาดังนี้
    บันทึกโดย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ.๒๔๘๖
    การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมว่าธรรมของพระตถาคตเมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้วย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป)
    แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้และเป็นของไม่ลบเลือนเสียด้วย
    เพราะฉะนั้น เมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียวจึงยังใช้การไม่ได้ดี
    ต่อเมื่อมาฝึกหัด ปฏิบัติจิตใจ กำจัดเหล่ากะปอมก่า หรือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จได้เต็มที่
    และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย
    ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า ปุริสะทัมสารถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    เป็นพุทโธ ผู้รู้ ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สัตถา
    จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัย บารมี ควรแก่การทรมานในภายหลัง
    จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กัลยาโณ กิตติสัทโธ อัพภุคคะโต ชื่อเสียง เกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศตราบเท่าทุกวันนี้
    แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน
    ปรากฏว่า ท่านฝึกฝน ทรมานตน ได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนก แจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง
    ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ
    ปรากฏว่า ปาปโก สัทโท โหติ คือ เป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจติรทิศ
    เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์เจ้าในก่อนทั้งหลาย
    การบันทึกของ พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ถือว่าดำเนินไปอย่างเกลาเกลี้ยง
    เกลาเกลี้ยงทั้งในด้านของ การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์ และในด้านของฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่นชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    เป็นการบันทึกจากพระธรรมเทศนา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วีถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร คณูบาแจ๋ว
    สาระสำคัญของมุตโตทัยข้อที่ ๑ มีอยู่ว่า
    - ธรรมะของพระพุทธเจ้าเมื่ออยู่ในจิตใจของปุถุชนแล้วก็เป็นของปลอม เปรียบกับมีเหล่ากะปอมก่า (กิ้งก่าหัวเขียวหัวแดง) เป็นของปลอมเพราะว่ายังเจืออยู่ด้วยกิเลส มีโลภ โกรธหลง เป็นกะปอมตัวใหญ่ มีอนุสัยอุปกิเลสเป็นกะปอมตัวน้อย มีตั้งร้อยตั้งพัน และตัวไหนมาไม่ทันหมู่ ก็จะให้ผลเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป
    การฝึกหัดปฏิบัติจิตใจต้องกำจัดของปลอมออกไปจากตน เพราะกิเลสทั้งหมดทั้งปวงล้วนเป็นของปลอม
    กะปอมก่าเปรียบกับกิเลสทั้งหลายซึ่งล้วนเป็นของปลอมมิใช่ของจริง และเป็นสิ่งจรมาจะจริงก็จริงในโลก มิใช่จริงในธรรม
    เมื่อจะฆ่ากะปอมก่าคือเหล่าอุปกิเลส มีตัณหา, ทิฏฐิ, กิเลส, กรรม, ทุจริตทั้ง ๓, อาหาร, ปฏิฆะ, อุปาทินนกะ, ธาตุ ๔, อายตนะ
    คือฆ่าด้วย โสฬสกิจ หรือกิจในอริยสัจจ์ ๔ นั่นเอง
    คือ ฆ่าด้วยการเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้รู้ว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธะและมรรคเป็นของจริง จริงอยู่ที่กายกับจิต
    นั่นคือ ทำให้เข้าไปประดิษฐานในการใจได้แล้วนั่นเองจึงชื่อว่าพระอริยเจ้า
    และเมื่อยังติดปริยัติ รู้แต่ทฤษฎี ไม่มีจิตตภาวนา ก็มิอาจที่จะหยั่งรู้จิตของตนได้ เมื่อไม่รู้จิตใจตนก็ขจัดของปลอมออกไปจากจิตใจมิได้ ดังนี้แล้วพระสัทธรรมจะบริสุทธิ์มิได้
    รวมความว่า การปฏิบัติพาให้สำเร็จธรรม
    สาระพิจารณ์มุตโตทัยข้อที่ ๒ อาจกล่าวได้ว่า
    เครื่องมือฝึกหัดอบรมตน
    จะพ้นไปจาก ศีล สมาธิ ปัญญา วิชชา วิมุตติ เป็นอันไม่มี
    หากเมื่อมารับเครื่องทรมานเหล่านี้มาปฏิบัติแล้ว
    ย่อมจักเสื่อมพยศอันร้ายกาจ กลายเป็นผู้ฝึกตนได้
    และไม่หวนกลับไปสู่ความชั่วใดๆ อีก
    จึงว่าให้ตั้งอยู่ในศีลเป็นอาทิ
    แล้วตรวจตราตนของตนว่าทรมานไว้อย่างใดแล้ว
    บรรดาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ในตนแล้วอย่างไร
    ตรวจดูความบริบูรณ์ในตนให้ดีเถิด
    จนที่สุดเมื่อตนเป็นผู้ขาวสะอาดละเอียดดีแล้ว ใครหรือจะคัดค้านแลเพ่งโทษเอาได้ เพราะตนสอนตนได้แล้ว
    ส่วนการจะสอนท่านผู้อื่นหรือไม่ก็สุดแต่น้ำใจอัธยาศัยนั้นๆ เถิด
    แต่เมื่อมาพอใจจำแนกแจกธรรมแล้ว
    ก็ต้องดับทุคติของตนให้ได้เด็ดขาดเสียก่อน
    ตนของตนบริบูรณ์แล้วทั้งกิจโดยรอบได้ก็จักเป็นผู้มือชื่อขจรขจายไปตลอดไป
    หากตนยังกำเริบพยศอยู่ แล้วจะสอนให้ผู้อื่นละพยศ ดับความกำเริบใดๆ จะได้อย่างไร แม้ทำได้ก็เป็นแต่ผู้อ่านราชโองการของราชาเท่านั้น หมดหนทางที่จะได้เป็นราชาแล้ว
    โปรดพิจารณา
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๑. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งสนทนาธรรม
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๙๑ ราคา ๑๐ บาท
    ความจริง บันทึก มุตโตทัย พระธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ส่วรที่ ๑ ซึ่ง พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร บันทึก ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖
    ยังมีอีก
    ไม่ว่าจะเป็น มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน หรือมูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ ตลอดจนมูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
    แต่ขอพักเอาไว้ก่อน
    และขอข้ามไปยัง มุตโตทัย อันเป็นอันที่ ๒ บันทึกโดย พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และพระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส ณ วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณนิคม จ.สกลนคร ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๑ – ๒๔๙๒
    เรื่องแรก คือ เรื่อง มูลกรรมฐาน
    เรื่องที่ ๒ คือ เรื่องศีล เรื่องที่ ๓ คือเรื่องปาฏิโมกข์สังวรศีล เรื่องที่ ๔ คือ เรื่องธรรมคติวิมุตติ
    ในชั้นนั้นจะขอข้ามไปเช่นเดียวกัน โดยเน้นไปยังเรื่อง สนทนาธรรมตามกาลเป็นมงคลอุดมค่อนข้างยาว แต่เฉียบ

    โปรดอ่าน
    เรื่องสนทนาธรรมตามกาลเป็นมงคลอุดม กาเลนะ ธัมมัสสากัจฉา เอตัมมังคละมุตตะมัง การปฤกษาไต่ถาม หรือการสดับธรรม ตามกาล ตามสมัย พระบรมศาสดาตรัสว่า
    เป็นมงคลความเจริญอันอุดมเลิศ
    หมู่เราต่างคนก็มุ่งหน้าเพื่อศึกษามาเอาทั้งนั้น ไม่ได้ไปเชื้อเชิญนิมนต์มา ครั้นมาศึกษาปฏิบัติก็ต้องทำจริง ปฏิบัติจริง ตามเยี่ยงอย่างพระบรมศาสดาจารย์เจ้าและสาวกขีณาสาวะเจ้าผู้ปฏิบัติมาก่อน
    เบื้องต้นพึงพิจารณา
    สัจธรรม คือ ของจริงทั้ง ๔ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อันท่านผู้เป็นอริยบุคคลได้ปฏิบัติกำหนดพิจารณามาแล้ว
    เกิด เราเกิดมาแล้ว คือร่างกายอันเป็นอยู่ นี้มิใช่ก้อนเกิดหรือ
    แก่ เจ็บ ตาย ก็ก้อนอันนี้แล
    เมื่อเราพิจารณาอยู่ในอิริยาบถทั้ง ๔ เดินจงกรมบ้าง ยืนกำหนดพิจาณาบ้าง นอนกำหนดพิจารณาบ้างจิตจะรวมเป็นสมาธิ
    รวมน้อยก็เป็น ขณิกสมาธิ คือจิตรวม ลงภวังค์หน่อยหนึ่งแล้วก็ถอนออกมา
    ครั้นพิจารณาอยู่ไม่ถอยจนปรากฏเป็นอุคคหนิมิต จะเป็นนอกก็ตาม ในก็ตาม ให้พิจารณานิมิตนั้นจนจิตวางนิมิตรวมลงสู่ภวังค์ ดำรงอยู่นานพอประมาณแล้วถอนออกมา สมาธิในขึ้นนี้เรียกว่า อุปจารสมาธิ
    พึงพิจารณานิมิตนั้นเรื่อยไปจนจิตรวมลงสู่ภวังค์เข้าถึงฐีติจิตเป็น อัปปนาสมาธิปฐมฌานถึงซึ่งเอกกัคคตา ความมีอารมณ์เดียว
    ครั้นจิตถอยออกมา ก็พึงพิจารณาอีก แล้วๆ เล่าๆ จนขยายส่วนแยกส่วนเป็นปฏิภาคนิมิตได้ต่อไป คือ พิจารณาว่าตายแล้วมันจะเป็นอะไรไปอีก มันจะต้องเปื่อยเน่า ผุพัง ยังเหลือแต่ร่างกระดูก
    กำหนดทั้งภายใน คือ กายของตน ทั้งภายนอก คือ กายของผู้อื่น
    โดยให้เห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายว่า ส่วนนี้เป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ เส้นเอ็นน้อยใหญ่มีเท่าไร กระดูกท่อนน้อยท่อนใหญ่เท่าไร
    โดยชัดเจนแจ่มแจ้ง
    กำหนดให้มันเกิดขึ้นมาอีกแล้วกำหนดให้มันยืน เดิน นั่ง นอน แล้วตายสลายไปสู่สภาพเดิมของมัน
    คือ ไปเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ถึงฐานะเดิมของมันนั้นแล
    เมื่อกำหนดจิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ ทั้งภายนอก ทั้งภายใน ทำให้มากให้หลาย ให้มีทั้งตายเก่า ตายใหม่ มีแร้ง กา สุนัข ยื้อแย่งกันกินอยู่
    ก็จะเกิดปรีชาญาณขึ้น ตามแต่วาสนา อุปนิสัยของตนดังนี้แล
    หากไม่มีพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, หากไม่มี พระอาจารย์วัน อุตฺตโม, และหากไม่มี พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส
    ก็คงไม่มี มุตโตทัย ให้เราได้อ่านได้ศึกษา
    นี่ย่อมเป็นคุณูปการ นี่ย่อมทำให้ “อาจาริยธัมโมทยาน” อันเป็นอุทยานธัมมะของอาจารย์มากด้วยความอุดมสมบูรณ์
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    เป็นมงคลเมื่อได้สนทนาธรรมตามกาล
    การปรึกษา การไต่ถาม การสดับตรับฟัง (รวมทั้งการอ่านด้วยตนเอง)
    เป็นมงคลเมื่อได้ฟังธรรมตามกาล
    การฟังธรรม การสนทนาธรรม การปรึกษา การไต่ถาม การสืบความ รวมทั้งการอ่าน เป็นกระบวนการของศึกษา
    ครั้นมาศึกษา (คือเข้าหาศึกษาอยู่ด้วยกับองค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แล้วองค์ท่านว่า มาปฏิบัติก็ต้องทำให้จริง ปฏิบัติให้จริง
    ให้ถือเอาเยี่ยงอย่างของพระพุทธเจ้าเหล่าพระอรหันต์ขีณาสพผู้ปฏิบัติมาก่อน
    วิถีแห่งการสนทนาธรรม
    การสนทนาธรรม คือ การไต่ถามพูดจากันในข้ออรรถข้อธรรมแก่กันและกัน
    เพราะเป็นเหตุให้แตกฉานในข้ออรรถข้อธรรม และเป็นหนึ่งในบรรดากิจของพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับสานุศิษย์จะพึงปรารภให้เป็นกิจวัตร
    พระภิกษุสามเณร ๑-๕ พรรษาอยู่ในเขตศึกษาเล่าเรียนให้แตกฉานในธรรมวินัย, แต่ ๕-๑๐ พรรษา เป็นเขตที่จักอุเทศและแสดงธรรมปริปุจฉาคือว่าข้อใดยังไม่แจ่มแจ้งแก่ใจก็ให้ไต่ถามสอบทานเพื่อความแจ่มแจ้งข้อใดแจ่มแจ้ง แล้วก็ให้แสดงแก่พรหมจารีและพุทธบริษัท ฝึกหัดในการประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น, แต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไปชื่อว่าเถโร ให้ประพฤติโยคะประกอบความเพียรเจริญสมถะและวิปัสสนา ยังสมาธิสมาบัติมรรคผลนิพพานให้เกิดให้มีขึ้น
    ดังนี้แล้วการสนทนาธรรมตามกาลจึงเป็นมงคลอันอุดมเพราะ เป็นเหตุให้เกิดความรู้ความฉลาดลึกซึ้งได้
    วิถีแห่งการฟังธรรมตามกาล
    พระธรรมทั้งหมดทั้งมวล จัดเป็นขันธ์ไว้ถือ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เป็นอาการธรรมด้วยที่ธรรมมีประเภทเป็นอันมาก แต่ละประเภทมีอาการลักษณะมีน้อยถ้าไม่หาโอกาสฟัง เหตุไฉนจึงจะรู้ จึงต้องอาศัยอาศัยการหมั่นฟัง จึงจะเข้าใจในทางปฏิบัติถ้าจะฟังบ่อยๆ ก็ขัดข้องต่อโอกาสเวลา มีธุระภาระและกิจส่วนตนอยู่บ้าง จึงต้องกำหนดกาลกำหนดเวลาเอาไว้
    การฟังธรรม ถ้าตั้งใจฟัง ฟังด้วยดีแล้วจะปราศจากความรู้เป็นอันไม่มีไม่รู้มากกว่าคงรู้น้อย อาจทำที่พึ่งแก่ตนได้ เพราะพระพุทธโอวาทเป็นการประกาศประโยชน์แก่ผู้ฝังเสมอมา
    ทั้ง ๒ วิถีที่กล่าวมานี้
    เมื่อได้เวลาคือ ๔ วันประชุมฟังธรรมครั้งหนึ่ง จึงได้ฟังธรรม สนทนาธรรมไว้ตามกาล (วาดพรรณาว่า) เมื่อที่ประชุมพร้อมกันแล้ว องค์หลวงปู่มั่น ได้อธิบายเหตุผลของการสนทนาธรรม การฟังธรรม เป็นปฐมเหตุ แล้วจากนั้นก็ยกเรื่อง อริยสัจจ์ ๔ มาแสดง แล้วเน้นย้ำที่การพิจารณา เกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยสงเคราะห์ห้องใน กายคตาสติ
    เหตุว่า ธรรมนั้น เป็นประธานฉายออกไปเป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูปกาย
    กาย เวทนา จิต ก็เป็นสังขาร
    เมื่อดับสังขารนี้ได้ก็จะต้องดับที่กายรู้ที่กาย
    กายดับเหลือเวทนา, เวทนาดับเหลือจิต
    จิตดับเป็นธรรม ครั้นเป็นธรรมแล้วก็เป็นอันแล้วไปคือจบ
    สพฺเพธมฺมา อนตฺตา ยึดตัวคงตัวคงธรรมแล้ว
    จึงว่าเมื่อสมถกรรมฐานเดินมาจรดกันกับอธิปัญญา ก็จะเกิดปัญญาญาณขึ้นมาตามแต่วาสนาแห่งอุปนิสสัยของตน
    ดังวิถีการเจริญอริยสัจจ์รู้เห็นของจริงตามที่องค์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตได้แสดงเอาไว้ในวันนั้น ก็พระอาจารย์วันและพระอาจารย์ทองคำ ได้บันทึกเอาไว้แล
    เป็นคุณูปการยิ่งนักแล้ว
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๒. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่

    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งชาล้นถ้วย
    หนังสือพิมพ์มติชนรายวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๖๙๘ ราคา ๑๐ บาท
    ยังเป็นการย่ำไปในพรมแดนแห่ง มุตโตทัยอันเป็นวัจนะและธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    น่ายินดีที่ พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ได้จดจารบันทึกไว้เมื่อปี ๒๔๘๖
    น่ายินดีที่ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม กับ พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส ได้บันทึกไว้ในระหว่างปี ๒๔๙๑ – ๒๔๙๒
    ระยะกาลนั้นไม่มีเทปบันทึกเสียงอย่างแน่นอน
    นี่ย่อมเป็นความวิริยะอุตสาหะของพระอาจารย์ซึ่งประพฤติปฏิบัติตนเป็นดั่ง “นักเรียนน้อย” เปี่ยมด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
    ได้ฟังธรรมเทศนาแล้วไม่ปล่อยให้ผ่านเลย ผ่านหูซ้ายทะลุหูขวา
    ตรงกันข้าม ได้ดำเนินไปตามหลักการ สุ จิ ปุ ลิ นั่นก็คือ สุ – ฟัง นั่นก็คือ จิ-จินตนา คิดนั่นก็คือ ปุ-ปุจฉา นั่นก็คือ ลิ-ขิต
    แต่ละบรรทัดต่อไปนี้เป็น มุตโตทัย อันได้รับการจดจารบันทึกโดย พระอาจารย์วัน อุตฺตโมกับพระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส ณ วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ระหว่าง ปี ๒๔๙๑ – ๒๔๙๒ ในหัวข้อเรื่อง “วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก”
    โปรดอ่าน
    ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง ครั้นมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย
    ฉะนั้น ต้องให้เข้าใจว่าความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้วต้องเก็บใส่ตู้ใส่หีบไว้เสียก่อน
    ต้องมาหัดผู้รู้ คือจิตนี้ หัดสติให้เป็นมหาสติหัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา กำหนดรู้เท่ามหาสมมุติ มหานิยม อันเอาออกไปตั้งไว้ อันนั้นเป็นอันนั้น เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศกลางหาวดาวนักขัตฤกษ์
    สารพัดสิ่งทั้งปวงอันเจ้าสังขารคืออาการจิต หากออกไปตั้งไว้ บัญญัติไว้ว่า เขาเป็นนั้นเป็นนี้จนรู้เท่าแล้ว เรียกว่ากำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย
    เมื่อทำให้มาก เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้วจิตก็จะรวมลงได้
    เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค หากมรรคพอแล้วนิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง
    เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ในกาย วาจา จิตนี้
    ที่เรียกว่า อกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อ โอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปัจจัตตัง จึงจะรู้เฉพาะตัว
    คือ มาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะเปื่อยเน่า แตกหักลงไป ตามสภาพความจริงของภูตธาตุ ปุพเพสุ ภูเตสุ ธัมเมสุ ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อนสว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน

    ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้
    อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดินลุยตม ลุยโคลน ตากแดด กรำฝน จึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุก มาได้ และได้บริโภคอิ่มสบาย ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้น ฉันใดผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
    เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอยู่ในกาย วาจา จิตของทุกคน
    อ่านแล้วหลายคนอาจบังเกิดนัยประหวัดถึงเรื่องราวของ โปรเฟสเซอร์ ท่านหนึ่ง ที่เดินทางไปคารวะอาจารย์ น่ำอิน
    ไปคารวะเพื่อขอศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเซน
    ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์ น่ำอิน ได้รินน้ำชาลงในถ้วยรินจนล้นแล้วล้นอีก
    โปรเฟสเซอร์ มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ก็พูดโพล่งออกไป “ท่านจะใส่มันลงไปได้อย่างไร”
    ประโยคเช่นนี้แสดงถึงความโมโห
    ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า “ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไรลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย OPINION และ SPECULATION ของท่านเอง”
    ถึงตรงนี้ พุทธทาสภิกขุ อธิบายว่า
    “คือว่าเต็มไปด้วยความคิดความเห็นตามความยึดมั่นถือมั่นของท่านเอง และมีวิธีคิดนึกคำนวณตามแบบของท่านเอง สองอย่างนี้แหละมันทำให้เข้าใจพุทธศาสนาอย่างเซนไม่ได้”
    เรียกว่า “ถ้วยชามันล้น”
    สภาพ “ชาล้นถ้วย” ในความเห็นของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นอย่างไร
    รูปธรรมก็คือ “จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย” ที่จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย เพราะศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมามาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง
    การแก้ปัญหาจึงอยู่ที่การลงมือปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างเป็นจริงเอาแท้เอาว่า
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    ความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้วนั้นต้องเก็บไว้ก่อน เก็บเอาไว้ก่อน
    เพราะแบบเรียนตำราเป็นของไม่แน่นอน
    สู้เรียนรู้ทางกายและจิตให้เป็นธรรมชาติมิได้ คือให้ปฏิบัติทางกายและจิตชนิดที่ว่า “เอาแท้เอาว่า”
    ผู้ปฏิบัติกายวาจาจิตอย่างเป็นจริง ย่อมถึงธรรมที่รู้ยิ่งเห็นจริง
    ในเรื่องทำนองเดียวกันนี้ ปรากฏแล้ว
    จากบันทึกของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่ได้บันทึกคำสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เอาไว้แต่ พ.ศ.๒๔๘๓ ความว่า “พระอานนท์เป็นคลังแห่งพระธรรม อะไรท่านรู้หมด ทำให้เนิ่นช้า เพราะท่านติดพระสูตรติดพระอภิธรรม ไม่น้อมลงมาปฏิบัติ จึงสำเร็จช้า จนอายุได้ ๘๐ ปี หลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน”
    แต่เมื่อมาลงมือปฏิบัติ
    “พระอานนท์ทำความเพียรในกายวิปัสสนา กำหนดจิตโดยมิได้ลดละ จนขาตรงทีเดียว จึงได้ทอดกายด้วยสติ หัวยังไม่ถึงหมอน จิตก็ตกเข้าสู่ภวังค์ ภวังค์หายไป เกิดความรู้ เญยยธรรมทั้งหลายจึงปรากฏ”
    ปรากฏด้วยเหตุที่ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ในกายวาจาจิตของทุกคน
    แต่จะทำให้เกิดให้มีได้นั้น ต้องพิจารณาตรวจตรอง
    คือมาหัดผู้รู้คือจิต ฝึกหัดสติฝึกหัดปัญญา ให้รู้เท่าเอาได้ทันในสารพัดสิ่งทั้งปวงคือเจ้าสังขารอาการของจิต
    ดังนี้แล้ว การพิจารณาจิตพิจารณากาย ก็ต้องทำให้มาก เจริญให้มาก โดยเอาการทำนามาเป็นแบบอย่าง
    เพราะธรรมทั้งปวงล้วนมาแต่ของที่มีอยู่แล้วนั่นแล
    ได้ฟังแล้วตรึกตรอง
    ได้คิดพิจารณาแล้วจึงถาม
    ถามจนเข้าใจแน่วแน่แก่ใจ
    คือเข้าใจในอุบายปฏิบัติ
    จากนั้นก็วางแบบเรียนตำราความรู้ทั้งหมดลงไว้
    ยึดหลัก อุปายสันโดษ มักน้อยในอุบายเดียว จากนั้นปฏิบัติต่อตนของตน
    จากไถดะไถแปร ลงกล้า ถอนกล้า ปักดำ ไขน้ำเข้าออก ขจัดวัชพืช
    จนกว่าจะออกรวงข้าวเขียว ข้าวทอง ข้าวเปลือก ข้าวสาร
    จากนั้นจึงหุงนึ่งข้าวสาร ได้ข้าวสุกมาเปิบกิน
    ดังนี้จึงเป็น ดินขับดิน ปั้นดินรับชา
    ไฟขับน้ำ น้ำเดือดอุ้มลม
    ลมขับลม ไอกรุ่นหอมกลิ่น
    อุ่นหอมหุมหอม ชาหอมรสเลิศ
    อุ่นชาอุ่น ใจอุ่นในธรรม
    ดังนี้จึงเป็นชาไม่ล้นถ้วยอีกต่อไป
    โปรดพิจารณา
    คือพิจารณาในความยึดมั่นถือมั่นในความคิดความเห็น
    อันเป็นความคิดเห็นที่เกิดจากการคิดนึกของตนเองโดยถ่ายเดียว
    โปรดชี้แนะ
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท 7 : ริ้วรอยแห่งการเวลา 12
    ๑๓. วิถีแห่งพระอาจารย์ใหญ่
    ดวงเดือน ประดับดาว
    วิถีแห่งการปฏิบัติ วิถีแห่งพระอาจารย์ “มั่น” วิถีแห่งอรหัตตผล
    วันจันทร์ที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐
    ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐๗๐๕ ราคา ๑๐ บาท
    ทั้งๆ ที่มุตโตทัย เป็นการจดจารบันทึกมาจากธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เช่นเดียวกัน
    แต่รู้สึกหรือไม่ว่าการถ่ายทอดมีความแตกต่างกันในท่วงทำนอง
    เป็นท่วงทำนองที่แตกต่างกันระหว่างการจดจารบันทึกของ พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโรกับการจดจารบันทึกของ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ร่วมกับ พระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส
    นี่เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้
    เพราะว่าเป็นการจดจารบันทึกเหมือนกับการจดเล็คเชอร์ เพราะว่ายุคนั้นยังไม่มีเครื่องบันทึกเสียง
    บันทึกแล้วก็มาเรียบเรียงอีกทอดหนึ่ง
    เนื้อความยังคงเดิมอันเป็นเนื้อความธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อย่างแน่นอน
    แต่ท่วงทำนองอาจแตกต่างกันไปบ้าง
    ที่นำมาถ่ายทอดครั้งนี้เป็นการบันทึกของพระอาจารย์วัน อุตฺตโม กับพระอาจารย์ทองคำ ญาโณภาโส
    ภายใต้หัวเรื่องว่า “สำคัญตนว่าได้บรรลุอรหัตตผล”


    โปรดอ่าน
    กิระดังได้สดับมา ยังมีภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนาของพระบรมศาสดาของเรานี้ องค์หนึ่งมีพรรษาแก่กว่าอีกองค์หนึ่งมีพรรษาอ่อนกว่า
    เป็นสหธรรมิกที่มีความรักใคร่ในกันและกันแต่จากกันไปเพื่อประกอบความเพียร
    องค์อ่อนพรรษากว่าได้สำเร็จพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์ก่อนองค์แก่พรรษาได้แต่เพียงกำลังสมาธิสมาบัติ และเป็นผู้ชำนาญในวสี จะพิจารณาอธิษฐานให้เป็นอย่างไรก็ได้ดังประสงค์และเกิดทิฏฐิสำคัญว่ารู้ทั่วแล้ว
    ส่วนองค์หย่อนพรรษาครั้นพิจารณาดูก็ทราบได้ด้วยปัญญาญาณ จึงสั่งให้องค์แก่พรรษาว่าไปหาท่าน
    องค์นั้นไม่ไป
    สั่งสอนสามครั้งก็ไม่ไป
    องค์หย่อนพรรษาจึงไปหาเสียเอง แล้วยังกันและกันให้ยินดี พอสมควรแล้วจึงพูดกับองค์แก่กว่าว่า
    “ถ้าท่านสำคัญว่ารู้จริงก็จงอธิษฐานให้เป็นสระน้ำ ในสระให้มีดอกบัวหลวง ๑ ดอก ในดอกบัวหลวงให้มีนางฟ้อนสวยงาม ๗ นาง”
    องค์แก่พรรษาก็เนรมิตได้ตามนั้น
    ครั้นเนรมิตแล้วองค์อ่อนพรรษากว่าจึงสั่งให้เพ่งดู ครั้นเพ่งดูนางฟ้อนอยู่ กามราคะกิเลสอันสั่งสมมาแล้วหลายร้อยอัตตภาพก็กำเริบ จึงทราบได้ว่าตนยังไม่ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    ครั้นแล้วองค์อ่อนพรรษาจึงเตือนให้รู้ตัว และให้เร่งทางปัญญวิปัสสนาญาณ
    องค์แก่พรรษากว่าครั้งปฏิบัติตามทำความพากเพียรประโยคพยายามอยู่ มิช้ามินานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสาวะบุคคลในพระพุทธศาสนาด้วยประการฉะนี้
    อปรายังเรื่องอื่นอีก
    มีเนื้อความอย่างเดียวกันแต่นิมิตต่างกันคือ ให้เนรมิตช้างสารซับมันตัวร้ายกาจวิ่งเข้ามาหา
    หลงรูปเนรมิตของตนเอง เกิดความนะดุ้งตกใจกลัวเตรียมตัววิ่งหนี
    เพื่อนสหธรรมิกผู้ไปช่วยเหลือได้ฉุดเอาไว้และกล่าวตักเตือนสั่งสอนโดยนัยหนหลัง จึงหยุดยั้งใจได้
    และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสหธรรมิกผู้ช่วยเหลือนั้น ไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสวะบุคคลในพระบวรพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
    แม้เรื่องนี้ก็พึ่งถือเอาเป็นทิฏฐานุคติเช่นเดียวกับเรื่องก่อนนั้นแล
    นี้เป็นนิทานที่เป็นคติสำหรับผู้ปฏิบัติจะพึงอนุวัติตาม คือผู้เป็นสหธรรมิก ประพฤติธรรมร่วมกันทุกคน จงมาเป็นสหายกันในกิจที่ชอบ
    ทั้งที่เป็นกิจภายใน ทั้งที่เป็นกิจภายนอกยังประโยชน์ของกันและกันให้สำเร็จด้วยดีเถิด
    ความหวั่นไหวนับว่าเป็นหินลองทองคมแหลมยิ่งในการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นความหวั่นไหวอันเนื่องแต่กามราคะกิเลส ไม่ว่าจะเป็นความหวั่นไหวอันเนื่องแต่ความหวาดกลัว
    นั่นก็คือ ตรวจสอบให้ประจักษ์ว่ายังไม่นิ่งไม่สงบ อย่างแท้จริง
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิถีแห่งวิจารณ์
    โดย พระธมฺมธโร ครูบาแจ๋ว
    ไม่เพียงแต่ราคะกิเลส (ความยินดี – อนุสยะ)
    ไม่เพียงแต่ความสะดุ้งหวาดหวั่น (ความจริตร้าย – ปฏิฆะ)
    เท่านั้นที่เป็นเชื้อของความไหว ความไม่นิ่ง
    ไม่เพียงแต่ ๒ ประเด็นดังกล่าวเท่านั้นที่เป็นเครื่องตรวจสอบวัดผลของความเป็นอรหัตต์ – อรหันตบุคคล
    ยังมีอีก ๑. ความเห็นผิด
    ๒. ความสงสัย
    ๓. ความถือตัว
    และ ๔. อวิชชา เป็นอาทิ หากชาติเชื้อของสิ่งเหล่านี้มีอยู่ในผู้ใดผู้นั้นก็ยังไม่ถึงอรหัตตผล
    การปฏิญาณตนหรือกล่าวหาตนว่าได้บรรลุอรหัตต์เป็นพระอรหันต์ มักมีด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ ประการดังนี้
    ๑. พยากรณ์อรหัตต์เพราะเขลาโง่หลง
    ๒. พยากรณ์อรหัตต์เพราะปรารถนาลามกถูกความอยากครอบงำ
    ๓. พยากรณ์อรหัตต์เพราะบ้าจิตฟุ้งซ่าน
    ๔. พยากรณ์อรหัตต์เพราะสำคัญผิดคิดว่าได้บรรลุ
    ๕. พยากรณ์อรหัตต์ตามความเป็นจริง
    ดังนี้แล้วในคติของผู้อยู่ระหว่างการศึกษาการประพฤติปฏิบัติตนในธรรมะปริยายใดๆ ก็อาจอนุวัติตามทั้งส่วนทิฏฐานุคติ และส่วนยังประโยชน์ให้สำเร็จด้วยดี
    ด้วยเหตุว่าพระอรหันต์เป็นผู้ไกลจากกิเลส
    คือ ไกลจาก โลภะ โทสะ โมหะ
    คือ ต้องปราบกิเลสเหล่านี้โดยสิ้นเชิง
    ปราบโลภะโทสะโมหะ อย่างหยาบด้วยศีลวัตร
    ปราบโลภะโทสะโมหะ อย่างกลางด้วยสมาธิ
    ปราบโลภะโทสะโมหะ และละเอียดด้วยปัญญารอบรู้ในกองแห่งสังขาร
    และจากสาธกนิทานทั้ง ๒ เรื่อง เป็นเรื่องความสำคัญตนเพราะอ้างถึงสมาบัติวสีอธิษฐาน จึงถือเอาวิชชาเป็นเครื่องถือตัวให้เห็นผิด
    จะชี้ให้เห็นว่าในบรรดาวิชชาคุณทั้งปวงอันได้แก่ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๑, จุตูปปาตญาณ ๑, ปรจิตตวิชชาญาณ ๑, ทิพพจักษุญาณ ๑, อิทธิฤทธิวิชชาญาณ ๑, มโนมยิทธิวิชชา ๑ ในบรรดาวิชชาคุณเหล่านี้เป็นแต่เพียงทางผ่าน และเป็นอุปกรณ์ของ วิปัสสนาญาณ เพราะ วิปัสสนาญาณนี้ชื่อว่า อาสวักขยวิชชา หรือ อาสวักขยญาณอันเป็นวิชชาอย่างประเสริฐ เป็นวิชชาอันสำคัญ เพราะพาให้รู้ความสิ้นไปแห่งกิเลสคือรู้ความสิ้นไปของโลภะ โมหะ โทสะ เป็นต้น
    และที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นญาณที่จะเพิกนามและรูปออกเสียงได้
    เมื่อเพิกของหยาบของหนักทั้งหลายออกไปได้แล้ว ชาติเชื้อของความหวั่นไหวใดๆ หรือจะยับยั้งคงตัวอยู่ได้ หากจะพยากรณ์อรหัตต์ก็ปฏิญาณตนแล้วตามความเป็นจริง ไม่กล่าวออกไปเพราะอาศัยความเมาอยาก, ความโง่เขลา, ความปรารถนาลามก, ความสำคัญผิด หรือไม่ว่ากล่าวออกไปเพราะอาศัยความฟุ้งซ่านจิตบ้า
    ทั้งนี้เป็นเพราะว่า รู้ตัว
    รู้สึกตัวแล้วมาเร่งรัดปัญญาวิปัสสนาญาณก็เกิด ก็มีขึ้นในตนของตนนั่นแล
    ความสำคัญตนว่าได้บรรลุอรหัตตผลนี้เป็นพระธรรมเทศนา ข้อที่ ๑๕ และเป็นข้อ ที่เป็นบาทฐานของข้อที่ ๑๗ และข้อ ๙ ของมุตโตทัย ที่ควรย้อนอ่านศึกษา
    เป็นบาทฐานอย่างไร
    ขอได้โปรดติดตามพิจารณาเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...