รบกวนสอบถามเกี่ยวกับการนั่งสมาธิครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Viewkub, 30 มกราคม 2020.

  1. Viewkub

    Viewkub สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2020
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    รบกวนสอบทีเกี่ยวกับการนั่งสมาธิทีครับ

    พอดีผมนั่งสมาธิไปสักระยะแล้ว
    ขั้นแรกที่รู้สึกคือจิตเริ่มสงบไม่มีเรื่องคิดในหัวพอสักพักจะรู้สึกเหมือนตัวเอียงหมุนแบบเหมือนไม่ได้นั่งอยู่ตรงๆ พอผ่านตรงนี้ไปแล้วจะรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงที่เบาๆชัดขึ้น เสียงทุกอย่างรอบตัวจะไวหมด และหายใจน้อยลง และถ้านั่งผ่านตรงนี้ไปเรื่อยๆๆจะรู้สึกเหมือนหยุดหายใจ คือหยุดหายใจจริงเหมือนกำลังจะตาย เลยจะหลุดจากตรงนี้ 2 ครั้งที่เป็นแบบนี้ พอลืมตาก็รู้สึกเหมือนคนที่เพิ่งกลั้นหายใจมาประมาณนี้อะครับ

    อยากรบกวนสอบถามว่าเป็นปรกติของการนั่งสมาธิหรือเปล่าครับ
     
  2. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ตรงนี้จิต กำลังจะเข้าสู่ เอกัคคตาจิต ไม่ต้องกลัว ปล่อยไปเรื่อยๆ วางอารมณ์เป็นกลางไว้ ประครองสติไว้..

    ถ้าผ่านตรงนี้ไปได้ จะรู้สึกว่ากาย หายไป เหลือ แต่จิตผู้รู้ เด่น อยู่..
     
  3. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ปกติทุกอย่าง ที่ไม่ปกติ คือ อาการกลัวตายกำเริบ หรือ วิหิงสาวิตก เข้าแทรก ทำให้สมาธิถอน จิตถอนออกจากสมาธิ..

    ทุกครั้งที่ปฏิบัติจิตตภาวนา ให้อธิษฐาน สละชีวิตเป็นพุทธบูชา แล้วอาการกลัวตาย จะหายไป..

    "ศรัทธาอันยิ่ง"
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปรกติของคนที่ทำได้ถึงครับ

    ถ้าผ่านต่อจากตรงนั้นไปได้ ร่างกายเราจะหยุดหายใจ คือ เราจะไม่หายใจ คือเราจะเริ่มหายใจช้าจนหายใจยาวๆ จนหยุดหายใจ แล้วถ้าผ่านตรงนี้ไปได้ เราจะเริ่มรู้สึกร่างกายหยุดทำงาน ตัวจะเริ่มแข็ง หัวใจไม่เต้น แต่เรายังมีสติรับรู้อยู่ อะไรจะเกิดก็อย่าไปสนใจ ถ้าไม่หลุดฟุ้งซ่าน กลัวตายเสียก่อน หรือ กลับมาหายใจ จิตไม่ตั้งมั่น เราก็จะหลุดกลางทางตรงนี้ กลับมาเป็นปรกติ ครับ แต่ถ้า เรารักษาอารมณ์จิตให้สงบลงต่อไปได้ เราก็ไปต่อได้ ให้ตั้งสติอยู่กับกรรมฐานสมาธิที่เราปฏิบัติต่อไป จิตเราจะเริ่มรวมลงสมาธิ แล้วถ้าผ่านตรงนี้ไปได้ จิตกับกายจะแยกกัน จิตอยู่ส่วนจิต กายอยู่ส่วนกาย เราจะไม่รับรู้ร่างกาย จิตเรามีสติตั้งมั่นอยู่ คับ มีสติรู้อยู่ ครับ แล้วเมื่อไหร่ที่จิตเรา เริ่มฟุ้งซ่าน หรือ กำลังจิตหมด เราก็จะเริ่มหลุดออกมา กลับมาตามปรกติเองครับ รับรองว่า ไม่ตายหรอก ส่วนใหญ่ คนใหม่ๆ จะไม่ผ่านเพราะฟุ้งซ่าน ประมาน ตื่นเต้นว่าเราเป็นอะไร ไม่เข้าใจอาการที่ตัวเองประสบมามากกว่า เลยทำให้หลุดจากการปฏิบัติออกไป ครับ

    แนะนำว่า ปฏิบัติไปตามเดิม ดีแล้วครับ เพียงแต่ว่า อย่าขาดสติ ฟุ้งซ่าน ไปเสวยอารมณ์ที่เราจับว่าไม่หายใจแล้วพยายามจะหายใจ อะไรต่างๆนาๆพวกนี้ ส่วนใหญ่ถึงจุดนี้แล้วจะหลุดจากการปฏิบัติสมาธิกันเยอะ ครับ ให้มีสติรับรู้อยู่ รู้ว่าไม่หายใจ ก็ไม่หายใจ แล้วไม่ต้องไปตกใจอะไร รักษาอารมณ์หนึ่ง ให้จิตสงบตั้งมั่น ไปเรื่อยๆ อย่าให้เผลอหลุดฟุ้งซ่าน ถ้าจิตสงบลงถึงฐานของจิต จิตจะเริ่มเป็นสมาธิ ต่อไป ครับ
     
  5. Viewkub

    Viewkub สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2020
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ น่าจะกลัวตายจริงๆ เลยหลุดตลอด ขอบคุณมากๆครับ
     
  6. Viewkub

    Viewkub สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2020
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ
    จะเอาคำแนะนำมาปรับใช้ ขอบคุณมากครับ
    ไม่รู้จะไปถามใครจริงๆถามเรื่องนี้กับพ่อท่านก็ไม่เคยเป็น ขอบคุณมากจริงๆครับ
     
  7. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    เข้าสู่เอกัคคตาจิตได้ ต่อไปก็จะง่ายขึ้น..

    แล้วค่อยเข้ามา สอบถามขั้นต่อไป หรือถ้าไม่อยากเสียเวลา ก็ยกจิตขึ้นสู่ วิปัสนา ไปเลย..
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ลมหายใจไม่มี



    ถาม : เวลาเราทำสมาธิ เกิดนิมิตอะไรขึ้น เราจะทราบได้อย่างไรว่า..?

    ตอบ : จะเกิดอะไรขึ้นก็ช่างมัน ให้สนใจลมหายใจของเราอย่างเดียวก็พอ ถ้าลมหายใจไม่มีให้รู้ว่าไม่มี คำ ภาวนาไม่มีให้รู้ว่าไม่มี นิมิตต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่เรายิ่งไม่สนใจภาพก็จะยิ่งชัด จะกวนให้เราสนใจให้ได้

    ถาม : แล้วเราจะวางกำลังใจอย่างไรคะ ?

    ตอบ : รับรู้ไว้ด้วยความเคารพ แล้วก็กองไว้ตรงนั้นแหละ ยกเว้นว่า เป็นนิมิตที่ตรงกับกองกรรมฐาน เช่น เราใช้พุทธานุสติอยู่ จับภาพพระพุทธรูปเป็นนิมิต เมื่อภาพพระปรากฏก็จับภาพต่อไปเลย ถ้าไม่ตรงกับกองกรรมฐานก็ไม่ต้องไปสนใจ



    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ณ บ้านวิริยบารมี เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕


    ถาม : ...
    ตอบ :ให้เรารับรู้อาการนั้นไว้เฉย ๆ ไม่ต้องไปสนใจว่าเป็นอะไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้นก็พอ

    ถ้ายังมีลมหายใจเข้า-ออก ให้จับลมหายใจเข้าออก ถ้ายังมีคำภาวนาให้จดจ่ออยู่กับคำภาวนา ถ้าไม่มีลมหายใจ ไม่มีคำภาวนาก็ให้รับรู้ไว้เฉย ๆ ว่าตอนนี้อาการเป็นอย่างนั้น

    ถ้าเราไปสนใจมาก ๆ ก็จะไม่ก้าวหน้า แต่ถ้าเรารับรู้ไว้เฉย ๆ แค่รู้ว่าเป็นอะไรก็รับรู้ไว้เท่านั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นและไม่อยากให้หายจากอาการอย่างนั้น เดี๋ยวก็จะก้าวหน้าไปเอง

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
     
  9. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    มาแนวๆ สาวกภูมิ อีกละ..

    คนจำพวก สาวกภูมิ นี่ ใครจะไปเก่ง กว่าหลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงตา ที่ตนนับถือ เป็นไม่ได้..

    ถ้ามีใครมาแนะนำ ไม่ตรงกับคำสอนครูบาอาจารย์ตน จะแสดงออก ด้วยการ ยก บท สนทนา มาอ้างอิง..

    ซึ่งจริงๆ บทสนทนา ที่ตนยกมา เพียงเห็นตรงกับจริต ตน ส่วนตนเองก็แทบจะทำไม่ได้อย่างที่กล่าว..
     
  10. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    สมควรแล้วที่โดน เขาไล่ไปชดใช้กรรม..
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    https://palungjit.org/threads/ขณะทำสมาธิ-จะเกิดอะไรขึ้นก็ช่างมัน-ให้สนใจลมหายใจอย่างเดียว.416332/
    ใครบ้างไม่ใช่ สาวกภูมิ ครับ ถ้าไม่ใช่สายพุทธภูมิ
    เหอๆ
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    [​IMG]
    ๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
    -------------------------------
    [๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
    มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก
    ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา-
    *โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ
    ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ
    พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท
    พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง
    บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ
    สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวัน
    ปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย
    ลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้
    เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึง
    คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ
    ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ
    ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท ๑- พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าว
    ว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง
    ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อ
    เฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ
    @๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง
    เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บาง-
    *พวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
    โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาท
    พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
    [๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
    กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
    แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
    เหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรม
    อันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ
    บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การ
    กระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้
    บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก
    มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลก
    ยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร
    ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น
    พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
    ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ
    แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี
    เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
    มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่
    ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ
    สิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน
    เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้
    ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
    เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
    ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
    ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
    บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
    ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
    แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
    หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
    เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
    ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
    หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
    ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
    สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
    อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
    ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
    เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
    หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
    ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
    มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
    จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
    อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
    จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
    ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
    ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
    ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
    รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
    ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
    ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
    อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
    ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
    ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
    เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
    ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
    หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
    ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
    ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
    ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
    และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
    ไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
    เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
    ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
    ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ-
    *ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ-
    *เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
    สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
    รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
    เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
    ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
    ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
    บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
    พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
    ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
    เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
    ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
    นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
    เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
    วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
    ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
    ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
    และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
    ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
    ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
    ตั้งมั่น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
    ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
    เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
    ได้เป็นอย่างดี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
    มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
    เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
     
  13. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ก็เรานี่แหละ สายพุทธภูมิ..

    เวลาแนะนำ ก็ชี้ตรงทีเดียว ตามอาการ ตามสภาวะของบุคคลนั้นๆ..

    แนะนำตามที่ตนเองเคยผ่าน จากประสบการณ์โดยตรง หาใช่ไปยกคำใครมากล่าว..

    พุทธภูมิ มีหน้าที่เดียว คือ ไล่พวกสาวกภูมิ ที่หลงเกิด หลงตาย วนเวียนไม่จบสิ้น ให้เข้านิพพานเสีย..

    มีสาวกภูมิ โง่ โง่ บางจำพวก หลงยินดีในภพ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2020
  14. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ถ้าเข้าใจว่า "อานาปานสติ" คือ การดูลมหายใจ แบบที่ท่านทำอยู่ ก็ตายทิ้งเปล่า..
     
  15. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    สอน อานาปานสติ กันมาผิดๆ ถึงว่า นักปฏิบัติ โยคาวจร ถึงติดในฌานกันมาก..
     
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อานาปานสังยุต
    เอกธรรมวรรคที่ ๑
    เอกธรรมสูตร
    ว่าด้วยอานาปานสติ


    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า


    http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/1305-1306/394
     
  17. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ตามพระสูตร ชี้ตรงไปทีเดียว ไม่อ้อมค้อม ไม่เวิ่นเว้อ..

    ย่น ย่อ ลง เหลือสั้นๆเข้าใจง่าย..

    อานาปานสติ มีปกติดับ ที่ลมหายใจออก หมายถึง ลมหายใจออก มีปกติดับ เป็นปกติ อยู่ แล้ว..

    ไม่ต้องตามลมหายใจเข้า ให้ยุ่งยาก..

    ถ้าตามลมหายใจเข้า ไปดับข้างใน สุดท้ายก็ ไป ติด ใน ฌาน..

    ส่วนคนปัญญาไม่ถึงพร้อมอย่างท่าน คงไม่เข้าใจ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2020
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
  19. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ชื่อไอดีท่านก็บอก อยู่แล้ว "ซื่อบื้อ" นี่แหละ เราแปลตามอาการ เราไม่ได้แปลตามตัวอักษร..

    ยกพระไตรปิฏกมาทั้ง45เล่ม ก็ไม่มีประโยชน์ แม้คนที่ยกมายังไม่เข้าใจ จะสอนคนอื่นให้เข้าใจได้ยังไง..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2020
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บางคนก็แปลกนะ มีใครแย่งไม่ตรงกับตัวเอง

    ทองแท้ไม่กลัวไฟ ไม่ต้องไปทำอะไร พิจารณากันได้ด้วยตัวเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...