@รวมความรู้กระทู้พระแท้ และตำหนิพระ@

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย stoes, 16 กรกฎาคม 2011.

  1. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    [​IMG]
     
  2. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
  3. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    จุดตำหนิเหรียญ พระ 25 ศตวรรษ(ที่ของเก๊ทำเลียนแบบไม่เหมือน)


    [​IMG]
    ด้านหน้า
    1.ขอบด้านหน้าเหรียญจะลึกลงไปคล้ายๆแอ่งกระทะ
    2.ตามพื้นเหรียญจะมีเส้นรัศมีเล็กๆ ยิ่งจับพระเอียงมองมุมทแยงจะเห็นชัดมาก เกิดจากแรงกระแทกเวลาปั้ม
    3.พระหัตถ์ขวา(มือขวา)ใหญ่ ปลายนิ้วเรียวแหลมสมส่วน
    4.พิมพ์นิยมจะมีเส้นเล็กๆระหว่างข้อเท้า สองเส้น
    5.จะมีเส้นแกะเกินพิมพ์ที่ด้านล่างบัว(ที่พระยืนอยู่) แนวตั้งเรียกว่าเข็มไม่ยาวเกินไป จะมีแต่เฉพาะพิมพ์นิยม
    6.เส้นขอบฐานบัวที่พระยืนอยู่จะโค้ง ดูแล้วสวยงามไม่แข็งกระด้าง
    7.นิ้วโป้งเท้าเบื้องซ้ายของพระจะชนกลีบบัวตรงฐานพอดี
    8.นิ้วมือซ้ายของพระจะเรียงชิดติดกัน แลดูเป็นธรรมชาติ
    9.รัศมีประภามณฑลได้ส่วน เมื่อนำเหรียญมองทแยงจะเป็นแอ่งลงไปงามมาก
    ด้านหลังของเหรียญ

    ด้านหลังเหรียญแท้ในร่องของยันต์ทั้งหมดจะมีเส้นรัศมีเป็นริ้วรอยส่วนของเก๊ไม่ปรากฏ รอยนี้เกิดจากรอยในแม่พิมพ์เป็นการเกิดขึ้นตอนช่างแกะแบบพิมพ์ แกะแล้วเป็นรอยบวกกับการกระแทกปั๊มเหรียญอย่างแรงจึงทำให้รอยนี้ชัดเจนมากขึ้นขอบด้านข้างเหรียญขอบข้างเหรียญของแท้จะมีรอยเป็นเส้นหยาบๆ เกิดจากตัวตัดขอบเหรียญที่ปั๊มกระแทกลงมาอย่างแรง แต่ของทำเลียนแบบนั้นขอบเหรียญมักจะเรียบ แม้จะมีรอยเป็นเส้นก็จะถี่และละเอียดกว่าเหรียญแท้
    ***ข้อสำคัญเหรียญต้องไม่บวม ถ้าบวม......จบ
     
  4. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    ยังอ่านมันส์เหมือนเดิมครับท่าน stoes.....
    คนตั้งใจทำพระ...กับคนตั้งใจทำ(พระ)ปลอม...ความสามารถไม่ทิ้งกันจริงๆครับ...

    หากเปรียบเทียบกับคนสร้างรถ กับคนขโมยรถ...คนขโมยรถมักเก่งกว่าเสมอครับ...
    เหตุผลเพราะ...ไม่ว่าคนสร้างรถจะคิดระบบป้องกันได้ดีเลิศปานใด...สุดท้ายก็ไม่พ้นฝีมือคนขโมยรถครับ ฮ่าๆๆๆๆ

    ถ้านำสองเรื่องนี้มาพิจารณาร่วมกัน...คงปวดหัวน่าดูครับ...

    อย่างไรก็ดี...หากต้องลงสนามลบ การฝึกฝนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ย่อมมีชัยได้โดยง่ายครับ...

    ยังคอยติดตามเรื่องราวดีดีอยู่เสมอครับท่าน stoes....
    สาธุ สาธุ สาธุ...
     
  5. ราตรีมณี

    ราตรีมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2011
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +108
    ขออนุญาตขอความรู้ครับ เหรียญจิ๊กโก๋หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม เหรียญนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ

    ขอบพระคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ขอบคุณครับพี่บุพนิมิต
     
  7. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
  8. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    ถ่ายรูปดูยากครับขาดความคมชัด ขอแนะวิธีดูไปตรวจด้วยตนเองนะครับ

    รูปที่ 1 วิธีดูเหรียญ เหรียญจิ๊กโก๋ใหญ่ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ปี 2506
    รูปที่ 2 เส้นขอบมี 2 ชั้น ชั้นนอกเป็นเส้นขนมจีนยกสูงกว่าชั้นในที่เป็นเส้นลวดเรียวบาง ซึ่งดูตื้นกว่า

    รูปที่ 3 ซอกแขนด้านขวาจะเป็นหลุมมีระนาบลึกกว่าพื้นเหรียญ
    รูปที่ 4 หูเหรียญเป็นแบบปั้มในตัว

    รูปที่ 5 พื้นอาสนะจะยกสูงกว่าพื้นเหรียญ
    รูปที่ 6 ปลายนิ้วเท้าด้านซ้ายจะปราฏเม็ดกลมเล็ก

    รูปที่ 7 คำว่า ยายหอม หางตัว ย จรดหัวสระอา และหางตัว ย จะจรดหัวตัว ห
    รูปที่ 8 แนวหน้าตักด้านซ้ายจะลาดเอียงเป็นระนาบรับกับแนวพื้นอาสนะ

    http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมทอดกฐิน-ซื้อที่ดิน-ณ-วัดเขาจันทา-สาขาวัดเขาสุกิม.304257/
     
  9. ยากจริง

    ยากจริง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    396
    ค่าพลัง:
    +105
    ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณมาก
     
  10. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    [​IMG]
    ด้านหน้านะครับ

    บริเวณตัวสระเอ ตรงคำว่าอาภาเกรียรติ์ข้างล่าง

    จะเป็นเหมือนที่คนเก่าว่าเป็นประแจปากตาย

    และตรงข้างๆ ตรงที่ตัวหนังสือชนกัน จะเป็นเหมือนตุ๊กตาคนทั้งสองข้าง

    และตรงรอยแสกผมของท่านใต้สระอุนะ จะเป็นเหมือนคลืนทะเล

    ผมอธิบายไม่ถูกเหมือนกันลองสังเกตุดูครับ

    ด้านหลัง ที่ขอบล้อจะเป็นสันนูนและมีเส้นขอบชัดมากทั้งมีเส้น

    ที่จากแท่นเหยียบมาถึงล้อครับ
     
  11. ราตรีมณี

    ราตรีมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2011
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +108
    ขอบพระคุณมากๆครับ จะลองไปตรวจสอบดูครับ
     
  12. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG][​IMG]

    ขอบคุณเว็บ AmuletIndex เพื่อเป็นวิทยาทาน ให้พี่น้องของเว็บแห่งนี้
    ขออนุญาตย้ายมาจากอีกกระทู้หนึ่ง

    รายละเอียด
    หลวงปู่ทวด เหรียญรุ่นแรก
    เหรียญหลวงปู่ทวดรุ่นแรก ชาวบ้านทางใต้ เรียกว่า "เหรียญหัวโต" ตามลักษณะเด่นของรูปหลวงพ่อทีมีศรีษะกลมนูน และมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับองค์ท่าน ท่านอาจารย์ทิมได้สร้างเหรียญขึ้นในปี๒๕๐๐ ๒๕๐๑ สร้างถึงสองครั้งติดต่อกัน
    การเล่นหาเหรียญรุ่นแรกในปัจจุบันไม่ได้แยกเป็นรุ่นแรกครั้งที่ 1 (ผิวทองแดง) หรือครั้งที่ 2 (ผิวกระไหล่เงิน และทอง) แต่ได้รับความนิยมทั้งสองแบบ โดยเหรียญกะไหล่เงินและกระไหล่ทองจะมีราคาสูงกว่าตามสภาพความสวยงามของเหรียญราคาเช่าบูชาสูงถึงหลาย ๆ แสน
    เหรียญรุ่นแรก เป็นเหรียญปั้ม ใช้แผ่นทองแดงปั้มขั้นรูปเป็นเหรียญทรงเสมา ตามประวัติการสร้างสมัยนั้นใช้แต่ทองแดงเท่านั้น "ถ้าพบเจอเนื้อเงิน หรืออื่นๆ มั่นใจได้เลยว่าเป็นของปลอม"
    ตำหนิและเอกลักษณ์
    ด้านหน้า
    1. มี "ครีบเนื้อ" สองข้างของหูเหรียญ
    2. ศรีษะด้านบนเยื้องไปทางขวา มี 2 ลอน
    3. เบ้าตาขวาต่ำกว่าเบ้าตาซ้าย มีเม็ดลูกตาขวาใหญ่กว่าลูกตาซ้าย
    4. "จุดสำคัญ" เหรียญหน้าข้างบางข้าง โดยด้านซ้ายมือของเราจะบางกว่า ส่วนด้านขวามือของเราจะหนากว่า
    5. มีเนื้อเกินในร่องระหว่างกลีบบัวที่ 2 และ 3
    6. ข้างเส้นซุ้มบริเวณในวงกลมมีติ่งเนื้อ
    7. ข้างแก้มซ้ายของหลวงพ่อมีติ่งเนื้อ 2 ติ่ง (ต้องตะแคงดู)
    ด้านหลัง
    1. รอบรูหูเหรียญมีเนื้อปลิ้นออกมา
    2. ตัวอักขระ "นะมะพะทะ" มีความคมชัด
    3. ขอบเหรียญตัดเรียบร้อย
    4. มีติ่งเล็กๆ ข้างต้นแขนขวา
    5. พื้นผิวเหรียญเรียบแน่น ไม่มีรอย หรือเม็ด
    6. ปลายหูซ้ายมีติ่งสั้นๆ
    7. ตัว "น" ปลายหางแยกเป็นแฉก
    และ 8 หางเต่าหรือปลายแหลมของเหรียญเสมาด้านล่างของแท้จะแหลมมากกว่า
    และ9 โปรดใช้วิจารณญาณในการที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อทั้งหมดครับ

    ��������ͧ ��������ͧ��� ��������ͧ�Ҥҡ�ҧ;<!-- google_ad_section_end -->



    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] </FIELDSET>
     
  13. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระคงลำพูน

    พรคง มัน ๆ ดูกันมัน ๆ นะครับ ออกตัวก่อนว่าอย่างจีบนะครับ
    เพราะทุกองค์สวย ทั้งนั้น เห็นชอบพระคงกัน เลยเอามาลงให้ชมกัน
    เดี๋ยวผมจะเอาการดูพระคงแบบชี้ตำหนิไปลงในกระทู้
    รวมความรู้กระทู้พระแท้ และตำหนิพระ
    <!-- google_ad_section_end -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  14. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    หลักการพิจารณาพระคง ของอาจารย์เชียร ธีระศานต์ ซึ่งได้แนะนำให้กับผู้เขียนในบางส่วน ซึ่งพอสรุปเป็นส่วนรวมได้ดังนี้
    ๑.พระกรรณ (หู) เป็นเส้นนูน ปลายใบหูสอบ (หรือบีบ)เข้าหาแก้ม (พระปราง) เล็กน้อย พระปลอมหูไม่ชัดเจน และผิดรูปไป
    ๒.ไรพระศก (ไรผม) อยู่เหนือหน้าผาก (พระนลาฏ) เป็นเส้นนูน ปลายไรผมทั้งสองข้างจะต่อกับเส้นใบหูแต่ละข้างเส้นนี้ จะปรากฏให้เห็นเฉพาะพระคงที่มีลูกนัยน์ตา คือมีให้เห็นน้อยองค์ หากองค์ใดมีเส้นนี้ ชี้ชัดได้เลยว่าเป็นพระแท้ ...เพราะเส้นนี้จะไม่เคยพบเห็นในพระปลอมมาก่อนเลย
    ๓.เส้นขอบจีวรห่มคลุมใต้ลำคอ (พระศอ) ด้านล่าง มีเส้นนูนเล็กคมมาก คล้ายกับสร้อยเส้นสั้นๆ คล้องคออยู่ พระปลอมไม่ปรากฏ
    ๔.พระนาภี (สะดือ) เป็นเม็ดนูนกลมแบบไข่ปลา ส่วนพระปลอมมักจะทำเป็นร่องรอบๆ สะดือ
    ๕.เส้นขอบจีวรที่ข้อพระกร (ข้อมือ) และข้อพระบาท (ข้อเท้า) จะปรากฏเป็นเส้นนูนเล็กๆ สองเส้นคู่ ที่ข้อมือซ้ายของพระ กับข้อเท้าขวาของพระด้วย ส่วนพระปลอมมักไม่ปรากฏให้เห็น จะมีบ้างเฉพาะที่ข้อมือซ้าย แต่จะเลือนรางไม่ชัดเจน
    ๖.เส้นขอบจีวรที่พระชงฆ์ซ้าย (หน้าแข้ง) จะปรากฏเป็นเส้นนูนเล็กๆ สองเส้นคู่ที่กลางหน้าแข้งซ้าย ซึ่งส่วนมากจะเห็นเฉพาะด้านล่างเท่านั้น พระปลอมไม่ปรากฏให้เห็น
    ๗.เส้นนูนรอบองค์พระทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นเส้นคู่จะดูเป็นระเบียบทั้งสองข้าง ส่วนพระปลอมเส้น ด้านซ้ายพระจะดูโย้ ไม่ได้สัดส่วน
    ๘.ใบโพธิ์มีจำนวน ๒๐ ใบ พิจารณาโดยรวมแล้วเสมือนกับใบโพธิ์จริงๆ ใบรูปหัวใจปลายแหลมยาว ดูแล้วอ่อนไหว ส่วนใบโพธิ์พระปลอมแข็งกระด้าง
    ๙.ก้านใบโพธิ์จะปรากฏต่อจากตัวใบ โดยข้างๆ ก้านใบจะมีเส้นนูนเล็กๆ คู่ขนานไปกับก้านใบ หากพระองค์ใดปรากฏเส้นคู่ขนานนี้ ชี้ชัดได้เลยว่าเป็นพระแท้ เพราะพระปลอมไม่ปรากฏเส้นที่ว่านี้
    ๑๐.อาสนะ หรือฐานพระ ทำเป็นสองชั้น ตรงกลางเป็นร่อง ฐานชั้นบนและชั้นล่างทำเป็นบัวไข่ปลา ทั้งด้านข้างและด้านหน้า บัวเอียงเข้าหากันอย่างได้สัดส่วน ส่วนพระปลอมบัวด้านล่างจะแบะออก ขอบบัวด้านล่างจะมีลักษณะคล้ายเลขเลข 8 (อารบิก) ในแนวนอน
    ๑๑.พระพาหา (ต้นแขน) ซ้าย ช่วงแขนตั้งแต่หัวไหล่จนถึงข้อศอก เป็นรูปทรงกระบอกไม่เป็นมัดกล้าม ทิ้งแขนตรงลงมา พระปลอมแขนจะบิดเบี้ยว
    ๑๒.ข้อพระกรขวา (ข้อมือ) จะเว้าหรือบุ๋มเข้าไป พระปลอมจะไม่ปรากฏ
    ๑๒ จุดสังเกตที่ควรศึกษานี้ คงจะทำให้ท่านผู้อ่านที่สนใจ พระคง มีโอกาสเป็นเจ้าของพระแท้ๆ สักองค์หนึ่งอย่างแน่นอน
    หลักในการพิจารณาพระเครื่องที่สำคัญที่สุด จะต้องดูพิมพ์ (โดยรวม) เป็นลำดับแรก ซึ่งหมายถึงดูพระโดยละเอียดทุกแง่ทุกมุม ดูส่วนรวมจนติดตา เมื่อมีอะไรที่ ผิดสังเกต ความรู้สึกจะบอกให้ทราบได้ทันทีว่า เป็นพระแท้ หรือ พระปลอม กันแน่
    0 พล.ต.ต. ศิลป์พร ภูมะธน 0
    โทร. (ชุมพร) ๐-๑๙๗๙-๔๗๕๑ใส่ภาพเล็กๆ ของผู้เขียนด้วย)
    ที่มา - คม ชัด ลึก
    จากกระทู้วิธีดูพระคงลำพูนของพี่อดุลย์ เมธีกุลครับ....<!-- google_ad_section_end -->
     
  15. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    เอาภาพการดูตำหนิพระคงกรุเก่า กรุใหม่มาให้ชมให้ศึกษากัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    พระคง ลำพูน พระเครื่องเนื้อดินเผาที่เก่าแก่ที่สุด

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TH vAlign=top align=left colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=530 border=0><TBODY><TR><TD class=F21 vAlign=top>พระคง ลำพูน พระเครื่องเนื้อดินเผาที่เก่าแก่ที่สุด ตรงนี่อ่านกันเยอะหน่อย

    เมื่อเอ่ยถึง "พระคง ลำพูน" หนังสือเกี่ยวกับ พระเครื่องแทบทุกฉบับ ต้องเคยลง เรื่องราวกันมาแล้ว มากบ้างน้อยบ้าง หลายท่านก็คงเคยอ่าน และทราบถึงความเป็นมาของ"พระคง ลำพูน"เป็นอย่างดี ผู้เขียนจะพยายามสอดแทรก "ข้อมูลใหม่" มาเพิ่มเติมให้ สำหรับท่าน ที่เพิ่งเข้ามาสู่วงการใหม่ จะได้ทราบรายละเอียดบางแง่บางมุมกันมากขึ้น
    นับตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน นักนิยมพระเครื่องก็มักจะเล่นหา "พระตระกูลลำพูน" เนื้อดินเผา กันมาโดยตลอด เพราะเชื่อกันว่า "พระตระกูลลำพูน" เป็น...ต้นแบบของพระเนื้อดินเผา ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด
    อันได้แก่ พระรอด พระเลี่ยง พระลบ พระลือ พระลือโขง พระเปิม พระคง พระบาง พระรอดหลวง พระสาม พระนางสิกขี (จามเทวี) พระกวาง พระสิบสอง นอกจากนั้นยังมี พระพิมพ์แปลกๆ แต่มีจำนวนน้อย อีกหลายพิมพ์
    เท่าที่เอ่ยชื่อมานั้นล้วนเป็น พระพิมพ์ที่วงการ พระเครื่องรู้จักกันดี และนิยมกันมานานแล้ว โดยเฉพาะ พระรอด มีราคาเช่าหาแพงที่สุด เป็นหนึ่งใน พระชุดเบญจภาคี ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดอีกด้วย
    ฃาวจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง ทางภาคเหนือ ต่างเชื่อกันว่าพระพิมพ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น มีอายุการสร้างเก่าแก่ ร่วมสมัยยุคเดียวกัน แต่ตามการสันนิษฐาน การอ่านศิลปะยุคสมัยของท่านผู้รู้หลายๆ ท่านก็ยังมีความแตกแยกในความคิดเห็นกันไป เช่น บางท่านว่า พระบางพิมพ์สร้างในยุคสมัย พระนางจามเทวี คือประมาณ 1,200 ปีล่วงมาแล้ว และพระบางพิมพ์จะมีอายุการสร้างเพียง 700-800 ปีเท่านั้น
    แต่ทุกคนยืนยันตรงกันว่า พระคง เป็น... พระเครื่องที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด...พิมพ์หนึ่ง ในพิมพ์พระ ที่มีปัญหาโต้แย้งจากผู้เขียนต่างคนต่างทรรศนะ บางราย ถึงกับต่างคนต่างอ้างอิงหลักฐานที่พบ และถกเถียงกันทางหนังสือมาแล้วก็มี แต่สำหรับผู้เขียนต้อง การจะโน้มน้าวท่านผู้อ่านให้มองแบบกว้างๆ โดยใช้วิจารณญาณกันไปด้วยว่า... ขอเป็นเพียง พระเก่าก็เพียงพอแก่คุณค่าในการอนุรักษ์...อยู่แล้ว
    พระเครื่องต่างๆ มีประวัติการขุดค้นพบ ที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะได้จากบริเวณ วัดในเขตจังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง (เป็นการนำฝากกรุภายหลัง) ความรู้สึกลึกๆ เราก็ทราบว่า เป็นพระเครื่องเก่าแก่แต่โบราณ อย่างน้อยก็มีอายุการสร้างหลายร้อยปี ก็ตรงจุดนี้แหละที่ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า พระเครื่องดังกล่าวจะถูกสร้างด้วยบารมีและด้วยจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์ มิได้สร้างด้วย อกุศลเจตนา โดยเด็ดขาด
    ดังนั้น พระเครื่องโบราณเก่าแก่ จึงมั่นใจได้ว่า จะต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์ ท่านไม่ต้องคำนึงว่า จะเก่าแก่ถึงพันปีจริงหรือ ?...พระฤาษีกับพระนางจามเทวีสร้างไว้จริงหรือ ?... หากจะคิดว่า พระนี้มีอายุไม่ถึงพันปีหรอก แค่เจ็ดแปดร้อยปี เท่านั้น แล้วความศรัทธาเชื่อถือจะลดน้อยถอยลงไป อันนี้ไม่น่าจะถูกต้องนัก
    จริงอยู่ หากการเล่นหาสะสมพระเครื่อง ถ้าสามารถทราบถึงศิลปะ อายุสมัย ที่แน่นอนก็ย่อมจะเป็นการดียิ่ง หากไม่สามารถ ทราบได้ แต่รู้ว่าเก่าแก่ ก็น่าจะอนุรักษ์ไว้ด้วยจิตศรัทธาว่า เป็นสมบัติ ของบรรพบุรุษสร้างไว้ด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยกุศลเจตนา เราอนุรักษ์เก็บรักษาไว้ก็ย่อมจะเป็นสิริมงคลแก่เราแน่นอน
    อันที่จริงพระเครื่องใหม่ๆ ในปัจจุบันที่สร้างด้วยกุศลเจตนา มีพุทธคุณดีก็มี แต่หากเราได้ พระเก่า มาเก็บไว้สักการะบูชาบ้าง ก็ยิ่งน่าจะภาคภูมิใจ และสบายใจมิใช่หรือ ?
    อันนี้ผู้เขียนว่าเป็นความรู้สึกลึกๆ ของคนส่วนใหญ่ทีเดียว โดยเฉพาะผู้ที่นับถือพระเครื่องโดยไม่สนใจในด้านราคาเช่าหา ความจริงอันหนึ่งซึ่งท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะยังไม่เคยทราบคือ บุคคลที่เราๆ ท่านๆ ยกย่องให้เป็น "เซียนพระ" ที่ทำหน้าที่ซื้อๆขายๆพระระดับราคาแสน ราคาล้าน ท่านเชื่อไม่ว่าเขาเหล่านั้นหลายคนต่างใช้พระ ประจำตัวที่เชื่อมั่นในพุทธคุณได้ แต่...มีราคาเช่าหาแค่หลักร้อยหลักพัน... เท่านั้น บางคนพกไว้ในกระเป๋าเสื้อบ้าง กลัดเหน็บไว้ในเสื้อบ้าง
    อันนี้ไม่ใช่ว่า พระราคาแพงจะเป็นพระไม่ดี เพราะความจริงส่วนหนึ่งคือ พระต้องดีและดังจึงจะมีราคาสูงได้ ... แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงอยู่ที่การสร้างความเชื่อถือ และความต้องการ คือมีผู้ต้องการกันมาก ราคาก็ย่อมจะสูงขึ้นด้วย
    ในปัจจุบัน พระราคาสูงส่วนใหญ่ จะตกไปอยู่กับผู้มีฐานะการเงินดี ยิ่งหายากราคาก็ยิ่งแพง พระราคาแพงก็ยิ่งรักษายาก หากเอาออกมาอวดโชว์กันมาก ๆ ก็รังแต่จะมีโอกาสเดือดร้อนอีกต่างหาก ดังที่มีข่าวบ่อยครั้งลงวันจันทร์ที่ 11 มีค. 45
    สำหรับ "เซียนพระ" พระเครื่องที่มีราคาแพงเขาจะมีไว้โชว์เพื่อขาย การแขวนเดี่ยวในคอจะเป็นการเพิ่มราคาพระให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้น แต่พระเครื่องที่ตัวเองใช้จริงๆ ส่วนมากจะใช้พระพื้นๆ ราคาไม่แพง...ดังกล่าว
    ต้องขอวกกลับเข้าเรื่อง "พระคง ลำพูน" เสียที เพราะชักจะตกขอบออกนอกเรื่องไปมากแล้ว ตามที่กล่าวมาแล้วว่า พระตระกูลลำพูน มีหลายพิมพ์ หากเป็นไปได้ผู้เขียนจะพยายามแนะนำ พระตระกูลลำพูน แต่ละพิมพ์เท่าที่โอกาสจะอำนวยให้ ฉบับนี้เรามาทำความรู้จักกับ "พระคง" กันก่อนเป็นปฐมฤกษ์
    ในอดีต 30-40 ปีก่อน "พระคง"มีจำนวนมากมาย เพราะนอกจากจะขุดได้จากบริเวณ วัดพระคงฤาษี จ.ลำพูน แล้ว ยังปรากฏว่า กรุพระวัดอื่นๆ ทั้งในจ.ลำพูนและจ.ใกล้เคียง เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย ก็มี "พระคง" แตกกรุออกมาปะปนอยู่กับพระประจำกรุนั้น ๆ ด้วย ไม่มากก็น้อย
    อันนี้ก็เป็นข้อยืนยันได้อีกอย่างหนึ่งว่า "พระคง"มีอายุการสร้างมานาน เพราะเคยมีการ ขุดพบ "พระคง" ได้จากศาสนสถาน ที่ชำรุดทรุดโทรมหลายแห่ง เพื่อนำมมาใช้ในสถานการณ์สงคราม ต่อมาเมื่อสงคราม สงบจึงได้นำ "พระคง" นั้นกลับไปบรรจุฝากกรุ ไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ดังกล่าว
    จึงนับว่า "พระคง" เป็นพระพิมพ์ที่มีการสร้างมากที่สุดใน "ตระกูลพระลำพูน" ทั้งหมด "พระคง" จึงถูกแจกถูกแลก ถูกแถมแก่คนต่างถิ่นเสมอ ในสมัยก่อนโน้น ทำให้ "พระคง"แพร่กระจายไปทั่ว ทุกสารทิศของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ถึงขนาดคนต่างถิ่นเรียก "พระคง" ว่า "พระลำพูน" ไปก็มี กลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูนไปเลย เรียกว่าไปถึงไหน ไม่ต้องกลัวว่าจะตกรถ เพราะไปถึงจังหวัดใดก็เอา"พระคง"แลกเปลี่ยนเป็นเงินค่ารถกลับบ้านได้เสมอ แสดงให้เห็นถึง ความนิยมอย่างกว้างขวางของ"พระคง"ซึ่งมีประสบการณ์มากมาย เล่าขานกันไม่รู้จักจบ
    นอกจาก กรุวัดพระคง จะมี"พระคง"มากที่สุดแล้ว ย้อนกลับไปทบทวนดูกรุที่พบ พระคง นับจำนวนหลักร้อยก็มีหลายกรุเช่น ประมาณปี 2505 พบที่ วัดพวกหงษ์ เชียงใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น "พระคง"ที่ลงรัก
    ต่อมาประมาณปี 2507 พบที่ วัดพันอ้น เชียงใหม่ ปี 2512 พบที่ วัดอุโมงค์ เชียงใหม่ "พระคง"กรุนี้จะมีสีเทาดำทั้งหมด ฝังอยู่ห่างจากผิวดินประมาณ 1 ศอก เข้าใจว่าอดีตวิหารเก่าคงถูกไฟไหม้ทำลาย "พระคง"กองทับถมอยู่จึงมีสีดำทั้งหมด
    ต่อมาเมื่อปี 2517 พบที่ กรุจามขี้มด ถนนซุปเปอร์เชียงใหม่-ลำปาง และครั้งล่าสุด มีการขุดกรุใหญ่จาก วัดพระคง เองในปี 2516 โดยทางวัดจะย้ายสร้างอุโบสถหลังใหม่ ต้องการทุนทรัพย์ คณะกรรมการจึงตกลงเสี่ยงขุดกรุพระที่ ใต้พระประธานโบสถ์หลังเก่า ในครั้งนั้นต้องขุดลึกลงไปถึงกว่า 2 เมตร ขุดไปสูบนํ้าไปจึงพบ"พระคง"ประมาณห้าหกพันองค์
    ในจำนวนนี้มี"พระคง"สีดำ 10 กว่าองค์ และยังมี "พระคงเนื้อชินเงิน" อีกด้วย ประมาณ 10 กว่าองค์ ส่วนใหญ่ผุระเบิด "พระคง"กรุนี้เรียกกันว่า "พระกรุใหม่" นอกจากนี้ยังพบแผ่น ทองคำดุนรูปพระขนาดเท่าฝ่ามือจำนวน 2 แผ่นอีกด้วย
    อนึ่ง คำว่า "พระคงกรุใหม่" หลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าเป็น พระคงที่มีอายุการสร้างน้อยกว่าพระคงกรุเก่า อันที่จริงแล้ว เป็น"พระคง"ที่มีพิมพ์ทรงและเนื้อหามวลสารเดียวกันทั้งสิ้น เพียงแต่สภาพกรุชื้น มีนํ้าทำให้แลดูพระกรุใหม่เสียผิวไปบ้าง แต่มาถึงปัจจุบันนี้ "พระคง"กรุใหม่ก็ได้แห้งสนิทแล้ว หากนำมาใช้ให้ถูกเนื้อถูกเหงื่อ ไม่กี่เดือนสภาพพระก็จะเป็นดุจเดียวกับพระกรุเก่าทุกประการ ปัจจุบันการเก็บรักษาพระมักใส่ตลับ ซึ่งทำให้เก็บรักษาองค์สามารถอนุรักษ์สภาพเดิมๆได้ดีมาก นับเป็นการอนุรักษ์ที่ดีและถูกต้องที่สุด
    "พระคง"ที่สร้างในยุคหลังๆ พิมพ์ทรงจะแตกต่างกันไปจากของเดิมบ้าง เท่าที่พบมีของ กรุดอยคำ เชียงใหม่ ติดต่อเขตลำพูน นอกนั้นก็มีสร้าง "พระคง"พิมพ์ล้อเลียนในยุคหลังๆ โดยพระเกจิอาจารย์ต่างๆ หลายสำนัก
    นอกจาก"พระคง"จะพบมีจำนวนมากแล้ว "พระคง"ยังเป็นพระเนื้อดินเผาที่แข็งแกร่งมาก เมื่อใช้สัมผัสถูกผิวพระจะดูหนึกนุ่ม "พระคง"จึงเปรียบเสมือน "พระองค์ครู" สำหรับเป็นแนวทางการศึกษา พระเนื้อดิน แก่ผู้ที่เริ่มสนใจศึกษา
    อันนี้ยืนยันได้เลยว่า เกือบร้อยทั้งร้อยของ เซียนพระเนื้อดิน ทุกคนต่างต้องฝึกหัดการพิจารณา เนื้อพระ ผิวพระ ตลอดจน คราบนวลกรุ จาก "พระคง" นี่แหละ เนื่องจากแต่ก่อน "พระคง"มีจำนวนให้พบเห็นมาก หาง่าย เป็นพระเนื้อดี แต่มาถึงวันนี้...ดูเหมือนว่า จะเป็นพระเครื่องที่เริ่มจะหาดูได้ยากเสียแล้ว ที่พอมีให้เห็นบ้างก็มักจะด้อยความสวยงาม และคาดว่า อนาคตอันใกล้นี้ แม้แต่องค์ไม่สวยไม่งาม ก็อาจจะพบเห็นยากเข้าทุกที
    ผู้เขียนเห็นว่า ปัจจุบัน (2545) กำลังเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อที่พระเครื่องสำคัญกำลังจะเริ่มหายไป (อยู่กับผู้เก็บมากกว่าผู้ขาย) จึงอยากชักชวนท่านผู้อ่านจงช่วยกันเสาะหาเก็บอนุรักษ์"พระคง"ไว้บ้าง ก่อนที่จะกลายเป็นพระที่หายาก และราคาเช่าหาจะสูงขึ้น ๆ โดยผู้เขียนมีเหตุผลดังต่อไปนี้
    1. วรรณะดี -- "พระคง"เป็นพระดินเผาด้วยความร้อนสูง มีความแข็งแกร่ง เนื้อที่ผ่านการใช้จะมีผิวหนึกนุ่ม ดูงามตา ยิ่งพิศยิ่งซึ้ง นับเป็น "องค์ครู" ของ พระตระกูลเนื้อดิน
    2. พิมพ์ทรงสง่างาม ศิลปะแบบทวาราวดี ห่มดอง คางเหลี่ยม มีกำไลข้อมือข้อเท้า องค์พระลํ่าสัน ฐานแก้วบัวสองชั้นดูมั่นคง ใบโพธิ์และก้านโพธิ์อ่อนช้อย ทำให้น่าพิศวง และน่ายกย่องว่า คนโบราณยุคนั้นช่างแกะแม่พิมพ์ได้งดงามเหลือเกิน ภายใต้ร่มโพธิ์สื่อถึงความ "ร่มเย็น" อย่างมีความหมายยิ่ง
    3. ขนาดกะทัดรัด กำลังสวย กว้าง 1.5 ซม. สูง 2.8 ซม. โดยประมาณ อาราธนาแขวนแล้วดูสวยงาม
    4. เก่า มีอายุการสร้างนานกว่า 1,200 ปี จากตำนานเล่าขานและจากผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุ คือ ดร.ยอร์ช เซเดย์ ชาวฝรั่งเศส ที่นักโบราณวิทยายอมรับ และเคยพูดถึง"พระคง" มานานแล้ว ล่าสุดก็มีการทดลองวัดค่าคาร์บอนวัตถุโบราณ จากเครื่องตรวจวัด รังสีที่ทันสมัย ซึ่งใช้ในการตรวจวัดวัตถุโบราณที่มีอายุนับพันปีขึ้นไป ปรากฏว่า"พระคง"มีอายุการสร้างเก่าจริง นับว่าเป็น วัตถุโบราณที่มีคุณค่าสูงยิ่ง สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้
    5. พุทธคุณดี มีประสบการณ์มาหลายด้าน ไม่ว่าคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม ก็ไม่เป็นสองรองใคร จนเป็นที่ยอมรับและกล่าวขวัญถึงมานานแล้ว
    6. นามเป็นมงคล คำว่า "คง" ดีทั้งมั่นคง คงกระพันชาตรี เป็นคำพูดอมตะน่าสนใจและมีคุณค่ามาก
    จากเหตุผลดังกล่าว ท่านผู้อ่านคงพอจะมองเห็นแล้วว่า สมควรหรือไม่ที่จะช่วยกันเก็บ รักษาอนุรักษ์"พระคง"ไว้เป็นสมบัติ แก่ลูกหลานสืบต่อไป
    ลักษณะเนื้อ : เป็นพระดินเผา ที่มีกรวดผสมบ้างประปราย ทุกองค์จะปรากฎแร่เหล็กเป็นจุดแต้มแดงๆ ใหญ่บ้างเล็กบ้างทั่วองค์พระ หากอยู่ในพระที่ถูกความร้อนจัดเช่น สีเขียว สีมอย (เขียว-เทา) จุดแต้มดังกล่าวจะเป็นลักษณะไหม้ไฟกลายเป็สีดำ เนื้อละเอียดหนึกนุ่ม ยกเว้นในองค์พระกรุใหม่ไม่ผ่านการสัมผัสจะดูผิวฟ่าม หากแต่ใช้สัมผัสถูกบ่อยก็จะหนึก นุ่ม เนียน เช่นกัน
    ลักษณะพิมพ์ : อันนี้เป็นจุดเด่นมากท่านลอง นำมาเพ่งพิจารณาดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะพบว่าพิมพ์พระคงนั้นสวยงาม ดูมีสง่ายิ่ง ว่ากันว่าหากแม้นมีจำนวนน้อยเฉกเช่นพระรอดแล้วไซร้ พระคงน่าจะถูกจัดให้อยู่ในชุดเบญจภาคีแทนพระรอดเสียด้วยซ้ำ เพราะหากมาเปรียบเทียบกันแล้ว ไม่ว่าจะมองดูด้านใดพระคงก็ดูสวยงามกว่า ศิลปะสูงกว่าแลดูซึ้งกว่ามาก
    ตำหนิพิมพ์ : อันที่จริงผู้เขียนเดิมตั้งใจว่าจะไม่พยายามเขียนถึง เพราะอาจจะกลายเป็นการตั้งตนเป็นเซียน แต่ตรองดูแล้วก็น่าจะ เป็นประโยชน์อย่างน้อยก็แก่ผู้ที่เริ่มต้นเข้ามาสนใจจะได้พอมีแนวทางบ้าง เพราะปรากฎว่าปัจจุบัน นักนิยมพระรุ่นใหม่ๆ จำนวนมากไม่กล้ามุ่งมาเล่นพระเก่า สาเหตุหนึ่งคือไม่มีผู้บอกจริง เกรงถูกต้มตุ๋น และคลำหาแนวทางไม่เจอ สำหรับพระคงก็มีตำหนิลับในแม่พิมพ์หลายแห่งแต่พอสังเกตเป็นหลักใหญ่ๆ 4 จุด คือ
    1. บริเวณซอกแขนซ้ายขององค์พระจะมีเส้นแตกเป็นเส้นขนาดกับกล้ามแขนซ้าย
    2. บริเวณช่วงกลาง ระหว่างบัวชั้นบนและล่างจะมีเส้นแตกตัวหนอนหรือคล้ายๆ สายฟ้าพาดจากใต้บัวชั้นบนถึงบัวชั้นล่าง
    3. แขนซ้ายองค์พระที่วางทอดตัก ตรงกลางมือจะมีเส้นพิมพ์แตก เป็นทิวลากไปถึงศอกขวาขององค์พระ
    4. มีเส้นพิมพ์แตกจากกลางหน้าแข้งขวาขององค์พระเฉียง ขนานไปจรดกลางระหว่างขัดสมาธิเพชร
    ตำหนิพิมพ์แตกทั้ง 4 แห่งนี้ จะมีอยู่ในพระคงลำพูนทุกองค์ ไม่ว่าจะเป็นพระกรุเก่าหรือกรุใหม่แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นพระดินเผา ตำหนิดังกล่าวในบางองค์อาจมีไม่ครบหรือถูกทำให้เสียรูปทรงหรือพิมพ์ไม่ติด ในขณะที่เป็นดินเหนียวก่อนการเผา เช่นวางทับถูกกัน ชนถูก หรือดึงถอดออกมายืดตัว เพราะแรงดึงของผู้กดพิมพ์ แต่หากสังเกตก็พอเป็นแนวทางได้ ส่วนในองค์ที่กดคมชัด ไม่เสียรูปทรงจะเห็น ตำหนิได้ดังกล่าว ทั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญและหมั่นดูให้ผ่านตามากๆ ก็จะพอศึกษาได้ไม่ยากนัก จุดตำหนิอาจต้องพยายามดูในหลายมุม เช่น มองตรง ช้อนหงายทะแยงขึ้น พลิกกลับหัวมองด้านตรง และพลิกกลับหัวมองทะแยง หากท่านปฏิบัติเช่นนี้จะได้อะไรดีๆ กับเคล็ดลับการดูชนิดนี้ ซึ่งอันนี้ยังไม่เคย มีผู้ใดเปิดเผยมาก่อน และสามารถปฏิรูปนำไปใช้กับการสังเกตพระ ชนิดอื่น ได้ด้วยจะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่ง ก่อนนี้ผู้เขียนเคยเห็น เซียนพระเก่าๆ เวลาส่องพระนำพระพลิกหงายดูกลับหัวและดูแม่นเสียด้วย พอภายหลังทดลอง ใช้ดูปรากฎว่าจะทำให้การส่องแบบนี้ทำให้สายตาก้าวหน้าขึ้นมาก ก็ขอให้ทดลองดูนะครับ เรียกว่าเมื่อมาเขียน บทความนี้แล้วก็ขอมอบประโยชน์ การส่องดูพระแบบนี้แก่ท่านเพื่อเป็นวิทยาทานต่อไป
    เฉดสี : พระเนื้อดินเผาก็ย่อมมีเฉดสีต่างๆ อันเกิดจากการผสมดินเหนียวด้วยดินต่างกันเป็นต้น ตลอดจนการเผาให้ความร้อนสูง-ต่ำต่างกัน ตำแหน่งที่วางอยู่ระยะได้รับความร้อนต่างกัน บางองค์เกิดเฉดเป็น 2 สี เนื่องจากส่วนหนึ่งโผล่
    มารับความร้อนแต่อีกส่วนถูกรพะองค์อื่นทับบังไว้ เนื้อส่วนที่โผล่มาก็จะรับความร้อนมากกว่า แข็งแกร่งกว่า (เพราะเนื้อที่ส่วน ละลายเกาะตัวกันมากกว่า) เนื้อส่วนที่ถูก ทับไว้ได้รับความร้อนน้อยกว่าก็จะกลายเป็นพระสองสีในองค์เดียวกันได้ สำหรับพระคง ก็จะมีเฉดสีต่างๆ คือ พิกุล (เหลือง) ชมพู ส้ม แดง ขาว เทา ดำ และเขียว และนับว่าพระเนื้อเขียวจะแข็งแกร่งที่สุด เป็นพระที่นิยม ที่สุดตามแบบฉบับของพระเนื้อดินเผาทั่วไป
    สนนราคา : พระคงเป็นพระที่ค่อนข้างจะอาภัพในด้านราคา สาเหตุเนื่องมาจากการที่มีจำนวนมากและหาง่ายในอดีต พระที่มีสภาพ ไม่สวย จึงถูกมากหาได้ในราคาหลักร้อยเท่านั้น ปัจจุบันสภาพปานกลางก็ราคาหลายพันจนขึ้นหลักหมื่น ในสภาพสวยก็หลายหมื่น และท่านคงจะต้องแปลกใจ หากผู้เขียนจะกระซิบบอกว่าในองค์ที่สวยงามมากๆ และโดยเฉพาะเป็นสีเขียว มีราคาอยู่ในหลักแสน เสียแล้วในปัจจุบัน และมีทีท่า ว่าจะขึ้นหลายแสตนได้ในองค์ที่งามเด่นเป็นพิเศษ
    ท่านจะสังเกตได้ว่าพระบางชนิดในปัจจุบันสร้าง กันนับเป็นจำนวนหลักล้านองค์ ผู้คนยังแย่งกันเก็บเป็นที่ฮือฮากันยิ่ง นับประสาอะไรกับพระคงซึ่งแม้ว่าจะ มีจำนวนมากแต่ก็คาดว่าไม่เกินแสนองค์หรอกครับ ผู้เขียนจึงอยากชักชวนให้ท่านเสาะหากันไว้ แม้พระในองค์ไม่สวยราคาถูกหน่อย พุทธคุณก็ไม่ต่างกันกับองค์สวย ในอนาคตผู้ที่สนใจอนุรักษ์พระจะมีมากขึ้น พระก็กระจายแยก ไปอยู่ทั่วสารทิศ ในที่สุด..ความต้องการจะมีมากกว่าจำนวนพระ จะเป็นสาเหตุให้พระหายากขึ้น ราคาสูงขึ้นนี่คือกฎความจริงอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ใหม่กับวงการก็ขอชี้แจงไว้ว่าพระคงมีราคาเช่าหาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสวยและสี กล่าวคือ สีพิกุล (เหลือง-ดินหม้อใหม่) อันมีจำนวน มากจะราคาถูกกว่าสีอื่นใดสภาพเดียวกัน ที่แพงขึ้นไปก็มีสีชมพู สีส้ม สีแดง สีขาว สีดำ และสีเขียว ตามลำดับ สำหรับในองค์สีดำบางท่านอาจค้านว่าราคาแพงกว่าสีเขียว อันนี้ผู้เขียนอธิบายได้ว่า ที่จริงแล้วพระสีดำเดิมจากกรุมีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่เห็นๆ กันเป็นพระที่ใช้ฝีมือทำเป็นสีดำภายหลัง พระสีดำจึงอยู่ใน กลุ่มคนเล่นน้อยกว่า พูดง่ายๆ คือพระสีดำเป็นพระ ที่หาคนซื้อขายในราคาสูงๆ ได้น้อยคน แต่สำหรับพระสีเขียว เป็นมาตรฐานกว่าเล่น หากันทุกคน ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความเห็น ว่าสีเขียวมาตรฐานที่สุด ทั้งเนื้อพระก็มีความแข็งแกร่งกว่ามาก สวยงาม ดูง่ายกว่า สีดำด้วย อันนี้ต้องออกตัวว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัว สำหรับท่านที่นิยมสีดำก็ไม่เสียหายอะไร เพราะเป็นสีที่หายากกว่า จริงเพียงแต่คนกล้าซื้อราคาสูงมีน้อยกว่าเท่านั้น ขอส่งท้ายไว้ว่าหากท่านผู้อ่านมีโอกาสเก็บอนุรักษ์พระคงลำพูนก็อย่าได้ลังเลใจ ที่มีไว้แล้วก็จงหวงไว้เถิด เพราะเป็นพระที่มีทั้งความสวย สง่างาม เนื้อหาจัด อายุเก่าแก่ที่สุด ศิลปการสร้างฝีมือชั้นสูง พุทธคุณดีเยี่ยมเทียมพระรอด แถมยิ่งส่องพิจารณาก็ยิ่งเพลินตาสมควรแก่การ เก็บอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานต่อไป ขอให้ท่านผู้อ่านโชคดีมีพระคงลำพูนเก็บไว้กันทั่วทุกคน สวัสดี

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--------------------ปิดข่าว-------------------------></TH></TR><TR><TH vAlign=top colSpan=2>
    </TH></TR><TR><TD class=F1 align=middle colSpan=2>สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
    บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2543
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อ่านกัน....ชอบส่วนไหนก็เน้นเป็นพิเศษ ตามอัธยาศัยครับ
     
  17. keang pyu

    keang pyu สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆอย่างนี้ครับ
     
  18. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    กระทู้วิธีดูพระเครื่องฯของจริงครับ
     
  19. texsum

    texsum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,335
    ค่าพลัง:
    +1,511
    ชอบจังครับ วิธีการดูพระคง ขอบคุณครับพี่สโตว์
     
  20. stoes

    stoes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    8,343
    ค่าพลัง:
    +9,050
    [​IMG] [​IMG]
    ประวัติหลวงพ่อเนื่องผมเคยกล่าวไว้นานแล้ว ผมคงไม่ขอกล่าวซ้ำนะครับ ........ สรุปสั้นๆว่าท่านเป็นศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ....... ท่านมีเมตตาดีมากครับ ตะกรุดลูกอมของท่านก็ใช้ได้ดีไม่แพ้ของอาจารย์เลยครับ ชาวบ้านชอบไปนั่งดูกิริยาของท่านแล้วเอาไปตีเป็นเลยไปแทงหวย เหรียญรุ่นแรกของท่านเลยออกที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2506 ส่วนเหรียญรุ่นแรกที่ออกที่วัดท่านคือเหรียญปี 2511 ........ เหรียญของท่านมีประสบการณ์ทางด้านเมตตา และ แคล้วคลาด มากมายเลยครับ ...............เหรียญรุ่นนี้มีการตอกโค๊ตสองแบบคือ ตัว น. ( น่าจะย่อมาจากชื่อของท่าน ) โดยตัว น. จะตอกอยู่เหนือศรีษะท่าน ว่ากันว่าท่านไม่ชอบ ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นตัวขอม นะ ที่สังฆาติกัน ในวงการจะให้ค่านิยมเหรียญสภาพสวยที่มีโค๊ต น. เหนือศรีษะ ราวๆหลักพันกลาง แต่ถ้าเป็นเหรียญที่มีโค๊ต นะ สังฆาติ อยู่ราวๆสามพัน ......... เน้นไว้อีกเรื่องครับคือเนื้อของเหรียญจะต้องออกเป็นสีเหลืองนะครับ ถ้าเนื้อออกสีแดงๆ เขาไม่นิยมกันครับ ....... บางเหรียญท่านจะลงจารให้ด้วยครับ รอยจารจะลางๆ เพราะว่าจารด้วยดินสอบ้าง จารด้วยเหล็กจารบ้าง
    [​IMG]


    เหรียญนี้นับว่าเป็นเหรียญที่มีของเก๊มากมายก่ายกอง เกลื่อนกลาด เต็มตลาดเลยครับ บ้างก็ให้ดูตรงจมูกท่านต้องมีขีดเกินออกมา บางคนเรียกว่าขนจมูก ...... แต่ไม่ว่าจะไปดูจุดไหนอย่างไรก็ตาม เราต้องไม่มองข้ามเรื่องชนิดของเหรียญ และ ธรรมชาติของเหรียญก่อนครับ .......... เหรียญนี้เป็นเหรียญปั๊ม ดังนั้นเรื่องความตึงผิว และ ประกายเส้นรัศมีต้องมีมาเป็นอันดับต้นๆเลย ไม่ใช่ไปนั่งมองว่าต้องมีขีดเกินจากรูจมูก ด้านหลังต้องมีตัวกากบาท โอ๊ย ไปจำมากมายหัวตันกันพอดี ....... แล้วค่อยมาหาจุดเด็ดเคล็ดลับกัน ไม่งั้นต้องไปจำทุกตัวอักษรกันเลย เหรียญถอดแบบมันก็เหมือนกันแทบทุกจุดล่ะครับ แต่เรื่องประกายเส้น เรื่องตัวตัด มันก็ทำได้แต่ไม่เหมือนหรอกครับ ......... ดังนั้นใครมาถามว่า เหรียญนี้มีจุดพิฆาตตรงไหน ผมก็มักจะตอบว่า "ผมไม่รู้" ......... จำไม่ไหวหรอกครับ ผมว่าตอนนี้เราต้องเอาตำราเก่าเป็นแนวทาง แล้วหันมาศึกษาพระเครื่องด้วยหลักวิทยาศาสตร์ มากกว่า ตำหนิ จุดลับอะไรที่เคยชี้ๆกันไว้ในหนังสือรุ่นสิบปีที่แล้วล่ะครับ ..............

    [​IMG]

    <DD>และแล้วก็มาว่าด้วยเรื่องตำราผสม กล่าวคือ เอาความรู้ที่มีอยู่ในหนังสือเก่า มาผนวกกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ...... เป็นการผสานผสม กลมเดียวเมา เอ๊ย ผสานผสม กลมเกลียว เพื่อให้เราสามารถศึกษาได้อย่างถูกทาง ...... มาเริ่มกันเลยครับ สูดลมหายใจเข้าลึกๆ เดินลมปราณจากกลางลำตัว แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกพุ่งไปที่แขน ถึงปลายมือ เพื่อหยิบเหรียญขึ้นมา และ ลมปราณอีกส่วนหนึ่งพุ่งขึ้นสู่ศรีษะ ออกไปทางลูกกะตาขวา ( หรือซ้ายก็ได้ที่ท่านถนัด ) <DD>1.มองแว่บแรกระยะหนึ่งฟุต เพื่อดูเลยว่า เหรียญนี้บวมและเบลอหรือไม่ ถ้าเหรียญบวมๆ ก็จบเลยครับ เหรียญปั๊มจะบวมๆ อืดๆ เบลอๆ ไม่ได้ <DD>2.ดูขอบเหรียญว่า เป็นลักษณะปั๊มตัดหรือไม่ และ ต้องไม่มีรอยตะไบ เพราะว่าเหรียญนี้เป็นแบบปั๊มตัด ดังนั้นเรื่องรอยตะไบจะต้องไม่ปรากฏ ยกเว้นในของเก๊ <DD>3.เข้ากล้องส่องรายละเอียด บนพื้นผิว ได้แก่ความตึงผิว รอยเส้นขนแมวต่างๆ เพราะว่า การปั๊มนั้นจะทำให้เหรียญมีความตึงผิวสูง และ ปรากฏรอยเส้นขนแมวกระจายอยู่ตามพื้นเหรียญเป็นจำนวนมาก ซึ่งเส้นขนแมวต้องเล็กๆ และคม ไม่หนาและตื้นๆ <DD>4.ถ้ามีโค๊ต ก็ต้องจำลักษณะของโค๊ตที่ตอก เพราะว่าเคยมีกรณีพระแท้ โค๊ตเก๊ครับ การตอกโค๊ตเก๊ ก็เพื่อปรับราคาให้สูงขึ้นครับ แบบว่าสองโค๊ตนะ แพงดี แต่ถ้าดูว่าเป็นโค๊ตเก๊ ราคาจะหล่นวูบเลยครับ <DD>5.จุดเคล็ดลับ อันนี้แล้วแต่ละคนจะค้นหาครับ ส่วนของผมเอง ก็คือจุดไข่ปลาเล็กๆ ที่อยู่ในวงรี ผมเคยดูในเหรียญเก๊แล้ว จุดนี้จะไม่มีหรือมีนิดเดียวครับ <DD>จบแล้วครับ สำหรับเหรียญนี้ ใครมีข้อมูลจะเสริม ก็เรียนเชิญเลยครับ ช่วยๆกันพัฒนาวงการพระเครื่อง
    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 136161.jpg
      136161.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.4 KB
      เปิดดู:
      6,373
    • 136162.jpg
      136162.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.1 KB
      เปิดดู:
      5,457
    • picnum136165.jpg
      picnum136165.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.7 KB
      เปิดดู:
      5,346
    • picnum136168.jpg
      picnum136168.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.6 KB
      เปิดดู:
      5,481

แชร์หน้านี้

Loading...