ดาวเทียมสหรัฐเผยภาพความเคลื่อนไหวครั้งใหม่ที่ฐานปล่อยจรวดเกาหลีเหนือ
วันนี้ ( 21 ก.พ. ) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ว่า ทีมนักวิจัยชาวอเมริกันพบความเคลื่อนไหวครั้งใหม่บริเวณฐานปล่อยจรวดของเกาหลีเหนือ เมื่อวันพุธ ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่า รัฐบาลเปียงยางอาจดำเนินการทอสอบอาวุธนิวเคลียร์อีก
นายแจ็ค ลิว และนายนิค แฮนเซ่น 2 นักวิจัยของสถาบันสหรัฐ-เกาหลี แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ของสหรัฐ กล่าวถึงภาพถ่ายดาวเทียมครั้งล่าสุดว่า แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวบริเวณฐานปล่อยจรวดปังกเย-รี ในเมืองกิลจู ทางตอนเหนือของเกาหลีเหนือ
อย่างไรก็ตาม ภาพที่ออกมายังไม่อาจบ่งชี้ได้แน่ชัดว่า ทางการเกาหลีเหนือกำลังเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์ครั้งใหม่ เนื่องจากเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังการยิงระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 12 ก.พ. เพียง 3 วัน จึงอาจเป็นไปได้ว่า รัฐบาลเปียงยางใช้มาตรการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัย เพื่อให้ระดับกัมมันตรังสีโดยรอบลดลง ก่อนส่งเจ้าหน้าที่กลับเข้าไปเมื่อช่วงวันที่ 15 ก.พ.
ทางสถาบันสันนิษฐานด้วยว่า ทางการเกาหลีเหนือพยายามหาทางปิดกั้นฐานปล่อยจรวดแห่งนี้ เพื่อให้รอดพ้นจากการตรวจจับทางดาวเทียมของสหรัฐ และนานาชาติ ที่ต้องการทราบว่า รัฐบาลเปียงยางใช้แร่ยูเรเนียมในโครงการนิวเคลียร์หรือไม่ นอกจากการใช้พลูโตเนียมซึ่งเป็นวิธีที่ใช้มาก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า เกาหลีเหนือมักเลือกใช้อุโมงค์ฝั่งเหนือสำหรับการทดลองนิวเคลียร์ในอดีต จึงมีแนวโน้มว่า อาจมีการเปลี่ยนมาใช้อุโมงค์ฝั่งใต้ในการทดลองครั้งที่ 4 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้แน่ชัดว่า การยิงระเบิดนิวเคลียร์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นที่อุโมงค์ฝั่งใด
ที่มา ดาวเทียมสหรัฐเผยภาพความเคลื่อนไหวครั้งใหม่ที่ฐานปล่อยจรวดเกาหลีเหนือ | เดลินิวส์
รวมคำทำนายและวิเคราะห์ภัยพิบัติ - What's Next ?
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย hiflyer, 8 พฤศจิกายน 2012.
หน้า 115 ของ 242
-
พบดาวเคราะห์เล็กสุดนอกระบบสุริยะ
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 01:01 น.
นักดาราศาสตร์เผยการค้นพบ ดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่มีขนาดเล็กที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบนอกระบบสุริยะจักรวาล โดยอยู่ห่างจากโลกประมาณ 21.5 ปีแสง
วันนี้ (21 ก.พ.) สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่า คณะนักดาราศาสตร์เปิดเผยการค้นพบ ดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่มีขนาดเล็กที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบนอกระบบสุริยะจักรวาลของเรา โดยมีขนาดเล็กกว่าดาวพุธ แต่เหมือนกันตรงที่เต็มไปด้วยหินและไร้อากาศ แถมยังร้อนแผดเผา นายโธมัส บาร์คเลย์ หัวหน้าคณะนักดาราศาสตร์ของศูนย์วิจัยแอเมส ในสังกัดองค์การนาซา สหรัฐ เผยว่า ดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่ค้นพบ มีชื่อเรียกขานกันในวงการว่า เคปเลอร์-37 บี (Kepler-37 b) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 21.5 ปีแสง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3,860 กิโลเมตร เล็กกว่าดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ชั้นในสุด และมีขนาดเล็กที่สุดของระบบสุริยะจักรวาล
นายบาร์คเลย์ เผยอีกว่า ดาวเคปเลอร์-37 บี อาจเต็มไปด้วยหิน ไม่มีอากาศหรือน้ำ เหมือนดาวพุธของเรา โดยมันเป็น 1 ใน 3 ดาวบริวาร ที่อยู่ใกล้ที่สุด และโคจรรอบดาวเคปเลอร์-37 ซึ่งมีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะ
ดาวเคปเลอร์-37 ตั้งชื่อตามกล้องส่องทางไกลเคปเลอร์ ที่เริ่มสำรวจท้องฟ้าหาโลกอื่นในทางช้างเผือกตั้งแต่ปี 2542 และปัจจุบันมันกำลังจับตาวิเคราะห์ดวงดาวต่างๆ กว่า 150,000 ดวง โดยนับตั้งแต่ดำเนินการกล้องเคปเลอร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลแล้ว 699 ดวง ส่วนอีก 2,222 ดวงกำลังรอการยืนยัน.
ที่มา http://www.dailynews.co.th/world/185967 -
รวมคำทำนายภัยพิบัติ ลองอ่านดู
http://www.108dee.tht.in/forcastworld.html -
แวะเข้ามาดู..ท้องทุ่งกว้าง...ขอรับ
-
แผ่นดินไหวเขย่าตึกในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ว่า เกิดแผ่นดินไหววัดได้ 5.7 ริคเตอร์ในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้อาคารต่างๆ ในกรุงโตเกียวสั่นไหวเป็นเวลาราว 30 วินาที แต่ไม่มีรายงานคลื่นสึนามิ ขณะที่ สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคแจ้งว่า ไม่พบสิ่งผิดปกติที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวครั้งนี้ ทางเหนือของกรุงโตเกียว
สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐระบุว่า แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16.23 น. ตามเวลาท้องถิ่นในญี่ปุ่น หรือตรงกับ 14.23 น. ตามเวลาในไทย โดยศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนอยู่ห่างจากเมืองมาเอะบาชิไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 57 กิโลเมตร อีกทั้งห่างจากกรุงโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 143 กิโลเมตร และอยู่ลึกลงไป 9 กิโลเมตร ด้าน นายทากายูกิ ฟูกูดะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายดับเพลิงของเมืองนิกโกในจังหวัดโตชิงิ ที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว บอกว่า แผ่นดินไหวราว 10 วินาที แต่ไม่มีข้าวของเสียหาย ถึงกระนั้นมีรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับกำแพงเมืองพังถล่มลงมา ทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง แต่ข่าวนี้ไม่มีการยืนยัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมีนาคมปี 2554 เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงขนาด 9.0 ริคเตอร์ในใต้ทะเลของญี่ปุ่น ทำให้มีคลื่นยักษ์สึนามิถาโถมเข้าใส่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ กวาดทำลายชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแถบชายฝั่งจนราบเรียบ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 19,000 ศพ
ที่มา http://www.dailynews.co.th/world/186839 -
เดี๋ยวค่อยๆทยอยอ่านไปเรื่อยค่ะ
:cool::cool: -
ไม่ทราบว่าตารางคำทำนายอัพเดทที่คุณ hiflyer เคยทำไว้หายไปไหนแล้วครับ?
ช่วงนี้มีอะไรอัพเดทใหม่บ้าง?
. -
เจัาบ้านไม่อยู่ หลายท่านคงมีภาระกิจกัน แวะมาทักทายครับเดี๋ยวบ้านหาย และเอาโฆษณาคลายเดรียดมาฝากครับ
<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/b8RdJmkV34M" frameborder="0" allowfullscreen></iframe> -
. -
ในที่สุด มนุษย์โลกก็สามารถรอดพ้นจากช่วงวิกฤต 21-12-2012, 31-12-2012, 01-01-2013 และ 14-02-2013 มาได้อย่างไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นทั้งสิ้น ตามที่ได้ทำนายกันไว้ ไม่ว่าจะเป็น แกนโลกเคลื่อน-เปลี่ยนขั้ว โลกหยุดหมุน ดาวเรียงตัว 12 ดวง ฟ้ามืด ฟ้าดับ ไร้แสงตะวัน พลังกดทับ คนคลาน ดาวนิบิรุ เขื่อนแตก น้ำท่วมโลก ฯลฯ และที่ว่าประเทศไทยจะมีหิมะตก สภาพอากาศอุณหภูมิติดลบ ก็ยังไม่เกิดขึ้น
;aa26
. -
ช่องข้างหลัง กรอก Fail รอได้เลย ed ไว้ใส่ตอนเวลามันเลยแล้ว พี่น้อง เดี๋ยวผิดไวยากรณ์ เขาว่าเอา ^_^
:cool::cool: -
.......ดูจากตารางแล้ว มั่นใจได้เลยว่า
ช่องข้างหลัง กรอก Fail รอได้เลย ed ไว้ใส่ตอนเวลามันเลยแล้ว พี่น้อง เดี๋ยวผิดไวยากรณ์ เขาว่าเอา ^_^.............
...........................................................
ท่านhiflyer ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ที่...เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น...ก่อนใครไม่ใช่ที่ผาชนะได.อ. โขงเจียม อุบลราชธานี เสียแล้ว...มีนเป็นธรรมชาติเหรอค่ะอธิบายให้ยายฟัง
แหน่.......:cool:..รอฟัง...คริ..คริ ;41 -
ความเข้าใจของผม ที่เราเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนจุดอื่นและตกก่อนจุดอื่น เพราะตำแหน่งของผาชนะได เป็นส่วนของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกสุด คือ เส้นแวง (Longitude) 105.519139 แต่เมื่อฤดูกาลเปลี่ยน เช่น ช่วงหน้าหนาว โลกจะหันขั้วโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ นั่นหมายถึงดวงอาทิตย์จะไม่ขึ้นที่ตำแหน่งเดิมที่เคยโผล่พ้นขอบฟ้า ถ้าเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาอื่น (ฤดูกาลอื่น)
อธิบายเพิ่มเติม (3 มีค 56 ) : คิดง่ายๆ แบบเอาโลกเราเป็นศูนย์กลาง เราจะเห็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าเปลี่ยนไปตามฤดูกาล เช่น
ถ้าเริ่มสังเกตในช่วงเดือน มีค. หรือ กย. ที่แนวโคจรของดวงอาทิตย์จะผ่านบริเวณเส้นศูนย์สูตร(เที่ยงวันจะอยู่เหนือศรีษะ) เราจะเห็นดวงอาทิตย์โผล่ที่ตำแหน่งหนึ่ง แต่ในเดือน กค. ตำแหน่งจะเลื่อนไปทางซ้ายมือ(ทางทิศเหนือ) และ ในเดือน ธค. ตำแหน่งจะเลื่อนไปทางขวามือ(ทางทิศใต้)
สรุปว่า เราจะเห็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า เบี่ยงเบนไปทางเหนือ 23 องศา และทางใต้ก็ 23 องศา เมือเทียบกับตำแหน่งเริ่มสังเกตครับ
;aa26 -
-
ขอบคุณ ในข้อมูลของ ท่านhiflyer ขอรับ
-
ไม่มีอะไรครับ แค่ต้องการขับไล่ความเงียบ :cool:
วันนี้เข้าไปอ่านบอร์ดของเวบ Godlike Productions มีคนทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ที่ญี่ปุ่นวันนี้ ( 2 มีค ) ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อ 25 กพ. เพิ่งจะมีคนทำนายผิดไว้ เพราะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย วันนี้ก็คง Fail อีกตามเคยครับ
และมีอีกคนทำนายว่า วันที่ 2 เมย. จะครบรอบ 188 วัน Big earthquake cycle
ไม่ต้องกังวลกับข่าวครับ เพราะมันจะไม่เกิดขึ้นจริงแน่นอน
;aa26 -
List of Great Comets
Caesar's Comet – 44 BC
Halley's Comet – 1066
Great Comet of 1106
Great Comet of 1264
Great Comet of 1402
Great Comet of 1556
Great Comet of 1577
Great Comet of 1680
Great Comet of 1744
Great Comet of 1811
Great Comet of 1843
Donati's Comet – 1858
Great Comet of 1861
Great Comet of 1882
Great Daylight Comet of 1910
Halley's Comet – 1910
Comet Skjellerup–Maristany – 1927
Comet Arend–Roland – 1957
Comet Seki-Lines – 1962
Comet Ikeya–Seki – 1965
Comet Bennett – 1970
Comet West – 1976
Comet Hyakutake – 1996
Comet Hale–Bopp – 1997
Comet McNaught – 2007
Comet Lovejoy – 2011
http://en.wikipedia.org/wiki/Great_Comet
The 9 Most Brilliant Comets Ever Seen | History's Great Comets | Space.com
ช่วง 2013-2014 ดูเหมือนจะเป็นเทศกาลดาวหาง มาโชว์ตัวกันให้ว่อน
Pan-STARRS มีค 2013
Lemmon มีค 2013
Ison ปลายปี 2013
2P/Encke ปลายปี 2013
C/2012 S1 - Wikipedia, the free encyclopedia
Comet Encke - Wikipedia, the free encyclopedia
ส่วน ดาวหาง C/2013 A1 (Siding Spring) ยังต้องรอลุ้นว่าจะชนดาวอังคารหรือปล่าว เพราะระยะใกล้สุดที่คำนวณไว้คือ 0.0007 AU ในวันที่ 19 ตุลาคม 2014 เทียบกับ Asteroid 2012 DA14 ที่เข้ามาใกล้โลก 0.0002 AU ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 45 ม. แต่ดาวหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 50 ก.ม.
Could a Comet Hit Mars in 2014? : Discovery News
;aa26
. -
-
-
วันนี้ วันที่ 3 มีนาคมแล้วคะ
ขอเชิญคนกรุงเทพทุกท่าน
ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่ากันคะ
:cool:
หน้า 115 ของ 242