รวมเรื่องเล่าและประสบการณ์การฝึกกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับตามรอยพระราหุล(ซึ่งเป็นแบบแผนของพระพุทธเจ้าครับ)
คำถวายนมัสการ
ข้าบังคมพระบาทบรมนาถผู้ทรงญาณ พระธรรมอันพิศดารทั้งพระสงฆ์อันบวร
ข้าเชิญพระญาณสังวรเจ้ามาปกเกล้าฯปกเกษี ชัยชนะแก่โลกีย์ทั้งภัยพาลอันตราย
ขอให้พบพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอันพากเพียร รู้แจ้งคัมภีร์เรียนสมถะ-วิปัสสนาทุกชาติไป
ขอเชิญคุณครูบามารักษาให้มีชัย ดลจิตบันดาลใจสำเร็จทุกประการ
สิทธิกิจจังสิทธิกัมมังสิทธิการิยะตะถาคะโต
สิทธิเตโชชโยนิจจังสิทธิลาโภนิรันตะรัง สัพพกัมมังประสิทธิเมสัพพสิทธิภะวันตุเม
ประพันธ์โดย
พระครูสังฆรักษ์วีระฐานวีโร
๕ธันวาคม๒๕๔๖
"กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีความเป็นมาอย่างไร มีในพระไตรปิฏก หรือไม่"
เล่มนี้มีคำตอบครับ
มีพระสูตร จากพระไตรปิฏก มากมาย ที่ปรากฏข้อความพระไตรปิฏก เนื่องด้วยกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นมีที่มาโดยการรวบรวมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดย พระอริยะพุทธชิโนรส พระราหุล มหาเถระเจ้า นะครับ
ย้อนไปสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็น จำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบ ตามลำดับขั้นตอน
จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง
บูรพาจารย์ เล่าว่าในสมัยโบราณผู้ศึกษากรรมฐานในพุทธศาสนานั้นมีการฝึกฝนสมาธิและ วิปัสสนาตามแบบกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ทั้งสิ้นไม่มีการแบ่งแยกเหมือนสมัยนี้แต่อย่างใด
รูปพระราหุลมหาเถระเจ้า
link
ตำราคัมภีร์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ตำราคัมภีร์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ความสำคัญโดยย่อ ของ
พระ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทยนั้นสำคัญขนาดที่ว่า พระมหากษัตริย์ในแทบจะทุกยุคของไทยแลแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ทรงให้ความใส่ใจและทรงศึกษาเพื่อรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้คงอยู่ตลอดมา รัชกาลที่1-2-3-4นั้นก็ยังทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้กับสมเด็จ พระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)
***ข้อควรรู้ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงสังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(กรรมฐานมัชฌิมา)
ใน ขณะนั้น พระกรรมฐานและเนื้อหาการเรียนรู้ในบวรพระุพุทธศาสนายังไม่้เรียบร้อยและไม่เป็นหมวดหมู่ดีนัก
ล้น เกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ทรงเป็นองค์ประธาน ในการชุมนุมพระสงฆ์สังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๔
อนึ่ง มูลเหตุของการทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเกิดจากการพูดคุย สนทนากัน ในหมู่พระสงฆ์จากหัวเมืองและชานกรุงว่า ...... การปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ถูกการปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ผิด เสียงวิจารณ์เล่าลือขยายไปทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ .......
ความ นั้นทราบไปถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักผู้มีหน้าที่ ควบคุมดูแลกิจการคณะสงฆ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่สองท่านนั้น จึงนำความทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยทรงทราบฝ่าพระบาท
ต่อมาจึงมีการประสานงานระหว่างทางราชการและ คณะสงฆ์ให้ชุมนุมสงฆ์ ทำการประชุมสังคายนาพระกรรมฐานขึ้น3วัน ....พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานถวาย ภัตตาหาร น้ำปานะ แด่พระสงฆ์ ๓ เพลาทุกวัน
ซึ่ง พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นต่อมาก็ได้เผยแพร่สืบต่อกันเรื่อยๆมาอย่างไม่ขาด สายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย
===============================================================
เหตุ ที่เรียก พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง จนถึงลำดับสู่วิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนากรรมฐานทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อมิให้แตกกระจายไปในทางปฏิบัติ มิต้องให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
สรุปได้้่ว่่ากรรมฐานมัชฌิมา คือการเรียนปฎิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆไป นั่นเองครับ
จาก นั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ได้รับการสืบทอดต่อๆกันมาเรื่อยๆได้เข้ามาแถบเอเชียอาคเนย์ และทางสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ นั่นเองครับ
รูปภาพที่มีผู้เชื่อว่าเป็นกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ
จาก นั้น ประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัย ทวาวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการฝึก กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เป็นอันมากและเป็นกรรมฐานหลักในการฝึกฝนในประเทศไทย เป็นแบบเดียวที่มีการฝึกฝนกัน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นั้นผู้ที่ สืบทอดต่อมาเป็นปรมาจารย์ต้นของยุคนี้ คือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
รูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)ครับ
และ ในช่วงนี้ 2554 ผู้ที่ดำรงการสืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือ พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ) ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
ผู้บอกวิชชาพระกรรมฐาน ยุคปัจจุบันครับ
-ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
http://www.somdechsuk.org
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/257
รวมเรื่องเล่า+ประสบการณ์;กรรมฐานมัชฌิมาฯตามรอยพระราหุล(ตามแบบแผนของพระพุทธเจ้า)
ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย mature_na, 25 มีนาคม 2012.
หน้า 1 ของ 69
-
ประสบการณ์ผู้เคยฝึก
13. ถั่วงอกเรียกอาจารย์๋ webpayakorn [124.121.12.108] 16 Jun 2009 - 11:48
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นสายกรรมฐานมีต้นสายจากพระราหุล เมืองไทยเรานั้น ที่สืบเสาะได้ ก็คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก (ไก่เถื่อน) และไล่เรื่อยมาจนปัจจุบัน ท่านที่ถือว่า เป็นที่สุด เจนจบครบทั้งวิชา เพิ่งมรณะภาพไปเมื่อราว ๆ สองสามปี (ไม่แน่ใจ ผมเองก็ไปนมัสการท่านสองสามครั้ง และเมื่อท่านมรณะภาพ ก็มีโอกาสได้ไปงานศพท่านหนึ่งคืน) คือ หลวงปู่จวบ วัดพลับ หลังจากนี้ แม้จะมีผู้ฝึกอยู่ แต่ก็ไม่่อาจจะนับได้ว่า เป็นที่สุด มีแต่คัมภีร์ตำรา แต่ขาดคนที่ทราบและรู้ถึงก้นบึ้งแห่งวิชากรรมฐานสายนี้อย่างแท้จริง
ผม เอง ก็มีตำราวิชากรรมฐานสายท่านอยู่ แต่วาสนาผมนั้น คงมิได้เอื้อกับวิชากรรมฐานสายนี้ เพราะถูกจริตกับวิชากรรมฐานของอาจารย์เสียแล้วครับ
ลองไปสืบเสาะดูนะครับ วัดพลับคือ วัดราชสิทธาราม ไม่ไกลจากวงเวียนใหญ่ครับ ถ้ามีจิตศรัทธาจริง บางครั้ง จริตเราอาจจะต้องกัับกรรมฐานสายนี้ก็ได้
สมัยก่อน ที่มีกรรมฐานหลายสายสำนัก เป็นเพราะจริตของพระอสีติมหาสาวกนั้นต่างกัน แม้จะมีต้นรากมาจากพระพุทธเจ้าก็ตามที แต่ตามวาสนาของพระอรหันต์นั้นต่างกัน เช่น พระมหากัสสปะ จะมีจริตที่เป็นต้นสายของกรรมฐานสายวัดป่าในเมืองไทยปัจจุบันนี้ ดังนั้น ท่านที่มีวาสนาเฉกเช่นกับท่าน จึงมีความสันทัดในวัตรปฏิบัติ และวิธีเดินกรรมฐานตามแบบท่าน
พระสารีบุตร ท่านก็มีจริตไปอีกแบบ กรรมฐานสายของท่าน จึงมุ่งเน้นไปที่จริตเชิงปัญญา และต้องเริ่มจากกรรมฐานอานาปาณสติ เพราะเป็นกรรมฐานที่เอื้อต่อการใช้ปัญญาเป็นที่สุด
กรรมฐานแนวพระอนุรุธ เถระ ที่เป็นเอคทัคตะ ด้านทิพยจักขุ ก็เป็นต้นสายของกรรมฐานแนวเพ่งกสินแสง
แต่ ทุกสาย จะต้องไปบรรจบที่เดียวกัน คือ ตัดกิเลสมุ่งนิพพาน สายกรรมฐานบางสายอาจจะไม่ต้องกับจริตเรา ไปฝึกเข้า แทนที่จะดี กลับทำให้ช้าเข้าไปอีก กรณีอย่างนี้ ในพระไตรปิฎกก็มีบอก ที่พระสารีบุตร ท่านให้ศิษย์ ไปฝึกปลงอสุภะ แต่ไม่ไปถึงไหน พระพุทธเจ้า ท่านทราบว่า อดีตของศิิษย์ท่านนี้ เคยเป็นช่างทำทองมาหลายภพชาติ จริตไม่ต้องกับการปลงอสุภะ พระพุทธเจ้า จึงเนรมิตรดอกบัว สีแดง(ไม่แน่ใจ) แล้วให้ใช้กสินสีแดง จนกระทั่งบรรลุฌาณ ก็บันดาลให้ดอกบัวเหี่ยวเฉา ก็พบเห็นความเป็นจริงของโลก ของธรรรม บรรลุนิพพานได้
ดังนั้น สายกรรมฐาน อย่าไปคิดว่าไม่สำคัญ เพราะเหตุว่าจริตคนต่างกันไปนั่นเอง
ผม ก็เคยสอนกรรมฐานน้องคนหนึ่ง ทั้งพุทธานุสติ ทั้งอานาปาณสติ ซึ่งผมค่อนข้างถนัด แต่เขาไม่ไปถึงไหน เลยผููกดวงดู ปรากฏว่า เขาน่าจะถนัดแนวดูกาย ต่อมา เจออาจารย์สอนกรรมฐานแนวดูกาย ไปเรียนสองสามครั้ง เอามาเล่าให้ฟัง ว่า พี่ทำไมนั่ง ๆ แล้ว มันเงียบ เงียบจริง ๆ ก็บอกว่า ได้ฌานแล้วนี่ ดีแล้ว ฝึกต่อไป พี่คงสอนไม่ได้แล้ว เพราะเธอต้องไปสายนี้
ตามวิชาการสอนสมัยใหม่ที่เขาบอกว่า child center คือ เอาเด็กเป็นศูนย์กลาง นั่นหมายถึง เอาตัวคนเรียนเป็นที่ตั้ง แต่พระพุทธเจ้า ค้นพบมานานแล้วครับ เมื่อท่านปรินิพพานไป พระอรหันต์อสีติมหาสาวก เลยกลายเป็นตัวแทน ในการสอนกรรมฐาน สอนธรรมะ ตามแนวจริตวาสนาของตนเองไป สืบทอดมาจนปัจจุบัน แต่ทุกจริต ก็มีจุดหมายเดียวกันทั้งสิ้น คือ ตัดกิเลส เข้านิพพานครับ อย่าไปยึดมั่นว่าสายใดดีกว่าสายใด เพราะท่านทำไว้สำหรับคนหลาย ๆ จริต ท้ายสุด ก็ไปบรรจบ ณ จุดเดียวกัน เหมือนแม่น้ำหลายร้อยสาย มุ่งลงทะเลธรรมที่เดียวกันทั้งนั้นครับ
=================================
คุณมานพ เว็บมัชฌิมาก็ได้ให้ความเห็นเสริมว่า
ในความเป็นจริง ที่พวกผมเอง ประสพคือ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น ไม่มีใครสนใจกันเลยครับ
แม้แต่พระ ยิ่งเป็นเด็กนักเรียนด้วยแล้ว กรรมฐาน ยิ่งต้องเรียนมีขั้นตอนยุ่งยาก ยิ่งไม่ต้องการ และกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ออกจะเป็นแนวนี้ครับ เพราะว่าเคร่งในเรื่องการขึ้นกรรมฐาน สอบอารมณ์สมาธิ
และต้องเรียนเป็นไปอย่าง เป็นขั้น เป็นตอนด้วย จึงทำให้คนทั่วไปไม่สนใจกรรมฐาน แบบนี้
ในกลุ่มผมเอง ผู้ฝึกกรรมฐาน แนวนี้ จากจำนวนเพื่อน ๆ ทั้งหมดนั้น ชอบฝึกกรรมฐาน ที่ง่าย ๆ ไม่ต้องกำหนด
อะไรมาก ๆ นี่เองเป็นอุปสรรค ของกรรมฐาน
และในความเป็นจริง ผู้ฝึกกรรมฐาน นั้นก็มองว่าเป็นกรรมฐาน ที่ยาก เข้าไปกันใหญ่จึงจะหาอะไรมาฝึกแทน
จึงหันไปใช้กรรมฐาน ที่ง่าย ๆ คือ การเจริญสติ เจริญปัญญา ต่าง ๆ ตามที่คิดว่าง่าย ตามใจตนเอง
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่เหมาะกับบุคคลทั่วไป ที่จะเรียนอย่างฉาบฉวย เพื่อจะนำไปพูด ไปบอก
แต่กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เหมาะกับผู้ที่มีเป้าหมายการภาวนาที่มีความชัดเิจนในการภาวนา
อีกอย่างความสำคัญ อยู่ที่อาจารย์ ผู้สอนด้วยครับ ว่าท่านปฏิบัติได้มาก ขนาดไหน
เพราะบรรดาอาจารย์ ต่าง ๆ นั้นมักเก็บความรู้ เทคนิคไม่บอกกันง่าย ๆ เหมือนกับทดสอบศิษย์กันอยู่จึงทำให้
นาน ๆ ไป กรรมฐาน ก็หายไปด้วยกับพระอาจารย์เพราะไม่ได้ ถ่ายทอดเอาไว้ให้ศิษย์ทั้งหมด
-
ประสบการณ์ครั้งแรก ในกรรมฐานสายมัชฌิมา แบบลำดับ จากคุณมังกรบูรพา
[FONT="]คือผมได้อ่านตำรา คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ...อ่านแล้ว[/FONT]
[FONT="]ยังไม่ค่อยเข้าใจครับ เนื่องจากไม่ค่อยคุ้นกับภาษา ในตำราสักเท่าใด
แต่จากผลการ[/FONT][FONT="]ปฎิบัติ ที่คิดว่า จะเริ่มนั่งฝึกลมปราณ หรือเพ่งจุด เพื่อฝึกพลังคุณฑาลิณี
ตามที่คุ้นเคยมา กลับ[/FONT][FONT="]เหมือนมีเหตุดลใจ อย่างกระทันหัน ให้หันมาเพ่งจุดใต้สะดือ 2 นิ้วมือ
ตามที่ได้เคย[/FONT][FONT="]รับพระกรรมฐาน ที่วัดพลับราชสิทธาราม
ผลจากการรวมจิต หยั่งลงสู่ใต้สะดือ 2 นิ้วมือ เป็นดังนี้[/FONT]
[FONT="]
หัวแม่มือทั้ง 2 ที่จรดกันบนหน้าตัก เหมือนมีไฟดูดจิ๊ด ๆ รู้สึกชา ๆ เสียว ๆ[/FONT][FONT="] วาบ ๆ
บอกไม่ค่อยถูก ความรู้สึกตัวนี้ได้ วิ่งเข้ามาที่ท้องน้อย ผ่านไปตามแขนบ้าง หน้าอกบ้าง
ขึ้นหน้าผาก[/FONT][FONT="] และขึ้นกระหม่อมบ้าง ผ่านเลยไปยังด้านหลังบ้าง ก็เลยนั่งดูเพลินล่ะครับ[/FONT]
[FONT="]แต่พอเผลอหน่อย พลังที่วิ่งวุ่น ซัดทางโน้นที ไปทางนี้ที เออ..คือ..คืองี้ครับ[/FONT]
[FONT="]เผลอนิดเดียว รู้สึกส่วนที่ต่ำกว่า ใต้ท้องน้อย (พวงกุญแจมังกร) เย็น ๆ[/FONT] วาบ ๆ
[FONT="]ซ่าเสียว คล้ายมีไฟฟ้า วิ่งมารวมอยู่
ก็เลยจนหนทาง เพราะไม่รู้จะไปทางไหน จึงออกจากสมาธิ (นั่งได้ 10 นาที)
ขณะที่พิมพ์อยู่ ยังมีความรู้สึกจิ๊ด ๆ ที่ใต้สะดือ 2 นิ้ว
(ก็พอที่จะกำหนดเส้นทาง ให้เขาวิ่งได้ แต่อยากเรี่มเรียน ก. ไก่ เพื่อพื้นฐานที่ดี)
[/FONT]
กางตำราฝึกเลยวุ้ย 555555555 มั่วไปก่อนละกันครับ จนกว่า.........
จะพบท่านผู้มีประสบการณ์ เข้ามาสอน อิอิ
วิธีการทำสมาธิภาวนา
นั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายตรง บริกรรมในใจว่า "พุทโธ"
ตั้ังสมาธินิมิต ที่ใต้สะดือ 2 นิ้วมือ จุดนี้เป็นศูนย์รวมเส้นประสาท และชุมนุม
ธาตุ สัมปยุตธาต์ เรียกห้องพระพุทธคุณ
ตั้งปัคคาหะนิมิต หมายถึง การรวมจิตไปที่สมาธินิมิต ใต้สะดือ 2 นิ้วมือ
การรวมจิต หมายถึง การนึก การคิด การรับรู้อารมณ์ทั้งปวง (การทำสติ)
อุเบกขานิมิต คือการวางเฉยในอารมณ์ จิตไม่ซัดส่าย แล่นไปในอดีต อนาคต
พึงกำหนดให้ครบทั้ง สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต ไปพร้อมกันตลอด
จะทำให้จิตอ่อนควรแก่การงาน จิตปราศจากกามฉันทะ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง
สัมผัส ความพยาบาท ปองร้าย ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่าน รำคาญ
ตลอดจนวิกิจฉา ความสงสัยทั้งมวล
หลังเลิกนั่งภาวนา ให้แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล แก่สรรพสัตว์ และ
เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลายทั้งปวง
ตอบคุณมังกรบูรพา จากพระอาจารย์weera2548
เรื่องการตั้งจุดใต้สะดือ ๒ นิ้ว ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วนี้เป็นจุดรวมธาตุทั้ง ๔ เรียกว่าจุดสัมปยุตธาตุ
เมื่อตั้งจิตเป็นสมาธิพอสมควรแล้ว ก็จะมีพลังของธาตุทั้ง ๔วิ่งไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่าให้เอาจิตตามพลังที่วิ่งไป จะทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ และธาตุทั้ง ๔ คือดิ น น้ำ ไฟลม จะปรับตัวไม่ได้ ให้เอาจิตกลับมาที่เดิม ทุกครั้ง ไม่ต้องไปตามรู้ตามเห็นจิตที่วิ่งไป ให้กลับมาที่เดิม จนเกิดสมาธิ ขั้นแรก คือขณิกสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ -
เล่าจากคุณมังกรบูรพา
จากจุดใต้สะดือ 2 นิ้วมือ แล้วไปทางไหนต่อดีอ่ะ คือตอนนี้ผมคิดว่า คงย้ายไปตั้งที่นาภี
หมายถึงสะดือกระมัง แล้วเลื่อนจุดไปยังภาพ ทีละจุด ตามที่โชว์ขึ้นมา
เดี๋ยวคืนนี้ลองดูครับ ผิดถูก มั่วไปก่อนอ่ะ ดีกว่าอยู่เฉย ๆ
ตอบคุณมังกรบูรพา จากพระอาจารย์weera2548
นาภี คือสะดือ ใต้นาภี คือ ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้ว ห้องพระปีติ ๕ พระยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒ ๓ ห้องกรรมฐานนี้ ให้ตั้งที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วมือ จนใด้พระลักษณะ ได้พระรัศมีแล้ว จึงทำอนุโลมปฏิโลม ไม่ใช่ตามภาพ ตามภาพเพียงสมมุติให้ดู ถ้าปฏิบัติแล้วทางจิตจะไปอีกอย่าง เพราะสภาวธรรมห้ามบอกก่อน จิตจะเกิดอุปาทาน จะไม่ได้ของจริง อย่าพึ่งไปตั้งจุดตามรูป -
ความเห็นเพิ่มเติมเรื่องการฝึกจากคุณบุญญสิกขา
Quote:
<table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> Originally Posted by weera2548
ตอบคุณมังกรบูรพา
เรื่องการตั้งจุดใต้สะดือ ๒ นิ้ว ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วนี้เป็นจุดรวมธาตุทั้ง ๔ เรียกว่าจุดสัมปยุตธาตุ
เมื่อ ตั้งจิตเป็นสมาธิพอสมควรแล้ว ก็จะมีพลังของธาตุทั้ง ๔วิ่งไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่าให้เอาจิตตามพลังที่วิ่งไป จะทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ และธาตุทั้ง ๔ คือดิ น น้ำ ไฟลม จะปรับตัวไม่ได้ ให้เอาจิตกลับมาที่เดิม ทุกครั้ง ไม่ต้องไปตามรู้ตามเห็นจิตที่วิ่งไป ให้กลับมาที่เดิม จนเกิดสมาธิ ขั้นแรก คือขณิกสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ
</td> </tr> </tbody></table>
ขอแอบเรียน แอบรู้ (ตอนครูพัก ลักจำ) ค่ะ
หาก ไม่สามารถตั้งจิตได้ตามตำแหน่งจุดใต้สะดือ ๒ นิ้วนี้ได้ เพราะเคยฝึกปฏิบัติแบบอื่นมา เช่น สมัยเด็ก ๆ ก่อนนอน คุณยายจะกวดขันหลานๆ ไหว้พระสวดมนต์ และทำสมาธิว่า พุทโธ ๆ ๆ ๆๆๆ จึงยังกำหนดแบบมัชฌิมาไม่ได้ เลยรู้สึกกังวล เลิกทำเลย จะทำใจอย่างไรดีค่ะ
Quote:
<table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> นาภี คือสะดือ ใต้นาภี คือ ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้ว ห้องพระปีติ ๕ พระยุคล ๖ สุขสมาธิ ๒ ๓ ห้องกรรมฐานนี้ ให้ตั้งที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วมือ จนใด้พระลักษณะ ได้พระรัศมีแล้ว จึงทำอนุโลมปฏิโลม ไม่ใช่ตามภาพ ตามภาพเพียงสมมุติให้ดู ถ้าปฏิบัติแล้วทางจิตจะไปอีกอย่าง เพราะสภาวธรรมห้ามบอกก่อน จิตจะเกิดอุปาทาน จะไม่ได้ของจริง อย่าพึ่งไปตั้งจุดตามรูป </td> </tr> </tbody></table>
นี่ ๆไงค่ะ ดูตามแบบ ตามรูป ตามตำรา และดูเห็นคนอื่นๆ ทำได้ ๆๆๆ
เราก็นึก อยากทำ อยากทำได้ ตามเขามั้ง กำหนดจิตเท่าไร ๆ ก็ไม่ได้ เลยคิดเบื่อ เลิกทำเล้ย
และ สงสัยอีกว่า ทำไมเรียนกรรมฐานแล้ว เขาถึงต้องให้มีครูบาอาจารย์ ผู้รู้กำกับค่ะ มีตำราแล้ว ทำเองบ้างไม่ได้เลยหรือไงค่ะ - ใครจะตอบเราได้ หรือเปล่านี่
ตอบโยมบุญญสิกขา จากพระอาจารย์weera2548
เคยตั้งกรรมฐานอื่นมาก่อน เวลามาเริ่มกรรมฐานอย่างใหม่ ตั้งจิตในที่ใหม่ จิตจะกลับไปยังกรรมฐานเดิม ทุกครั้ง เพราะเป็นทางที่จิตเคยเดิน จึงต้องมีสติรู้ว่าจิตกลับไปที่ เดิม แล้วจึงเอาจิตเจตสิก กลับมาในที่ใหม่ ทำบ่อยๆ จิตก็จะเคยในที่กำหนดใหม่ ถ้าทำได้อย่างนี้ เรียนกรรมฐานไหน ก็ได้ เพราะชนะจิตเราเอง
การเรียนกรรมฐานต้องมีครูอาจารย์เพราะ สภาวธรรม ต้องรู้ทีหลัง ห้ามรู้ก่อนเกิด ถ้ารู้ก่อนแล้ว จะเกิดอุปาทาน ทำให้จิตไม่ได้สภาวธรรมที่แท้จริง จึงให้ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน อยากให้เป็น ก็ไม่เป็น ไม่อยากให้เป็น ก็ไม่เป็น ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง กรรมฐานไม่ว่าที่ไหนต้องเดินสายกลาง จึงเป็นสัมมาทิฎฐิ -
ประสบการณ์;กรรมฐานมัชฌิมาฯของคุณคนวังหน้า
เมื่อเเรกขึ้นกรรมฐาน มารความคิดของเราก็เกิดขึ้น
เมื่อ มาถึงวัดราชสิทธารามอันเป็นพระอารามหลวงนั้นผมเองดีใจอย่างบอกไม่ถูกไม่นึก ไม่ฝันจะมีวาสนาได้เล่าเรียนพระกรรมฐานเเบบโบราณจากสำนักพระกรรมฐานเเห่งนี้ เมื่อถึงคณะ๕อันเป็นสถานที่ที่จะพำนักผมเองได้เข้ากราบนมัสการพระอาจารย์วี ระก่อนท่านบอกว่าให้เอาของไปเก็บเเล้วมาขึ้นกรรมฐาน ความตั้งใจประกอบกับความสนใจอย่างมากจึงได้รีบเก็บของเเละขึ้นไปบนเรือนไม้ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในห้องนั้นมีเเต่ของโบราณสมัยสมเด็จพระสังฆราชสุก ซึ่งมีประวัติสืบทอดชัดเจน เมื่อมาถึงวัดมารบ่มีบารมีบ่เกิดด่านเเรกของผมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อเจ้ากรรม ศิษย์กรรมฐานของหลวงพ่อวีระนั้นกำลังจะขึ้นกรรมฐานพอดีท่านเหล่านั้นเตรียม ดอกไม้กันเรียบร้อยเเต่เราเองกลับไม่มี หลวงพ่อวีระเมตตาบอกโยมให้เอาดอกไม้ให้เราด้วย ท่านทั้งหลายอาจงงว่าเหตุใดจึงว่ามีมารเรื่องของเรื่องคือมารในหัวใจเรานั่น เองบังเอิญว่าคุณโยมที่ว่ามาเป็นกลุ่มนั้นเกิด หน้าตาดีจิตเราเองขณะบวชพระเกิดจิตคิดทางอกุศลทันทีที่คิดว่าทำไมหนอสวยเเละ น่ารักอย่างนี้ เชื่อหรือไม่ทันทีที่คิดเสร็จผมเองเกิดได้สติว่าเราเองตอนนี้บวชพระเเละเเละ ห่มเหลืองอยู่เกิดความละอายใจอย่างเเรงนั่งพิจารณาทั้งคืนถึงสาวสวยจนปลงสู่ ปฏิกูลหาความสวยงามไม่ได้ความคิดนั้นจึงระงับไป นึกถึงพระที่ท่านบวชเรียนตลอดชีวิตว่าไม่ง่ายจริงๆยากเเสนยากเรื่องสนุกๆยังไม่จบลง
นิมิตครูบาอาจารย์ปรากฏ
หลัง จากมาอยู่ที่วัดราชสิทธารามก็เริ่มมีอะไรเเปลกๆเป็นต้นว่าตอนตีสามตีสี่ของ เกือบทุกวันจะมีครูบาอาจารย์มาปลุกทั้งเป็นเสียงเคาะประตูห้องบ้างหรือไม่ก็ เขย่าตัวบ้างเมื่อตื่นขึ้นต้องนั่งภาวนาเเละชักประคำสวดมนต์ร้อยเเปดจบทุก วันก่อนออกบิณฑบาตรนี่ประการหนึ่ง
ศิษย์สมเด็จพระสังฆราชสุกมาหา
หลัง จากที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวีระเมตตาให้ศึกษาตำราเดิมประจำสํานักสมัยรัชกาล ที่หนึ่งผมเองไม่นึกไม่ฝันว่าจะมีวาสนาได้ศึกษาตำราอันเก่าเเก่เช่นนี้เพราะ หลวงพ่อวีระไม่เคยให้ใครศึกษาเช่นนี้มาก่อน ความลังเลสังสัยในตำราเกิดขึ้นเเต่ไม่กล้าบอกใครที่สงสัยมากคือวาสนาตนเอง เอาเเค่ว่าได้เห็นตำราของจริงก็บุญโขเเล้วนี่นอกจากได้เห็นยังได้ศึกษาเสีย อีกดังนั้นความสงสัยจึงมีเป็นธรรมดาเเละผมเองเมื่อได้ศึกษาจึงคัดลอกพระ ยันต์เฉพาะพระยันต์ครูเท่านั้นจึงอ่านเพียงเเต่ข้ามๆไปพอประเทืองปัญญาเท่า นั้นตกกลางคืนฝันไปว่า
มี พระชรารูปหนึ่งหน้าสี่เหลี่ยมร่างปานกลางเดินเข้ามาหาเเล้วหยุดนิ่งพร้อม ทั้งจ้องมองที่ข้าพเจ้านัยตามีอำนาจกล่าวกับข้าพเจ้าขึ้นมาว่า
เรา เป็นศิษย์สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เราเป็นคนเขียนตำรานี้ขึ้น เราเรียนจากพระอาจารย์สุก เหตุไฉน หมอฟอร์ด จึงอ่านตำราของเราข้ามหละ ให้ศึกษาไว้ให้หมดสิ้น หมดทุกเล่ม
หลัง จากฝันเเล้วตื่นขึ้นพบว่าเป็นเวลาตีสามเกือบตีสี่ขนพองสยองเกล้าก็มีขึ้น เสมือนเจอพระเดชพระคุณหลวงพ่อบูรพาจารย์องค์จริงอย่างมิต้องสงสัยเพราะว่า
ผมเองคัดลอกพระยันต์สวยๆตามใจชอบเสียจริงๆ เเน่นอนที่สุด ในฝันท่านสั่งให้ศึกษาให้หมดอย่าข้าม
รุ่งเช้าเล่าเรื่องให้พระครูวีระฟังท่านหัวเราะอย่างอารมณ์ดีพร้อมทั้งกล่าวว่า ค่อยๆศึกษาไป
สมเด็จสุกทรงพระเมตตา ให้เร่งความเพียร
ขณะ ที่ผมเองจารพระยันต์อยู่ในเอกัคคตารมณ์นั้นพอจิตสงบก็บังเกิดภาพนิมิตสมเด็จ พระสังฆราชสุกคล้ายๆกับหุ่นขี้ผึ้งในพิพิธภัณฑ์พระกรรมฐานท่านมาเเล้วสายพระ เนตรบ่งถึงพระเมตตาอันหาที่เปรียบมิได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า
พระช่วยเตือนพระน้องด้วยนะบอกเขาว่า มาอยู่ที่นี่อย่ากินกับนอนอย่างเดียวให้นั่งกรรมฐานเสียบ้าง
ท่านกล่าวเเค่นี้เเล้วจากไป
ผมเองเลยรีบไปเคาะห้องพระน้องเขมวุฒโทปรากฏว่า พระน้องตาสลึมสลือจริงๆคือจำวัดนั่นเอง
ผมบอกกล่าวพระน้องให้ทราบเรื่องนี้ว่า
หลวงพ่อเตือนให้นั่งกรรมฐานบ้าง
พระน้องมองหน้าผมบอกว่า
หลวงพ่อวีระเหรอหลวงพี่
ผมบอกว่า ไม่ใช่ สมเด็จสุกท่านมาเตือน
พระน้องน้ำตาคลอตาเเดง รีบไปนั่งกรรมฐานในบัดดล
-
มารอฟังต่อครับ ไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวจากกรรมฐานสายนี้ซักเท่าไรครับ
น่าสนใจมากทีเดียว :cool: -
ก่อนอื่นขอกล่าวคำนมัสการพระก่อนนะครับ
คำถวายนมัสการ
ข้าบังคมพระบาทบรมนาถผู้ทรงญาณ พระธรรมอันพิศดารทั้งพระสงฆ์อันบวร
ข้าเชิญพระญาณสังวรเจ้ามาปกเกล้าฯปกเกษี ชัยชนะแก่โลกีย์ทั้งภัยพาลอันตราย
ขอให้พบพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาอันพากเพียร รู้แจ้งคัมภีร์เรียนสมถะ-วิปัสสนาทุกชาติไป
ขอเชิญคุณครูบามารักษาให้มีชัย ดลจิตบันดาลใจสำเร็จทุกประการ
สิทธิกิจจังสิทธิกัมมังสิทธิการิยะตะถาคะโต
สิทธิเตโชชโยนิจจังสิทธิลาโภนิรันตะรัง สัพพกัมมังประสิทธิเมสัพพสิทธิภะวันตุเม
ประพันธ์โดย
พระครูสังฆรักษ์วีระฐานวีโร
๕ธันวาคม๒๕๔๖
1. ย้อนไปสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็น จำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบ ตามลำดับขั้นตอน
จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง
บูรพาจารย์ เล่าว่าในสมัยโบราณผู้ศึกษากรรมฐานในพุทธศาสนานั้นมีการฝึกฝนสมาธิและ วิปัสสนาตามแบบกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ทั้งสิ้นไม่มีการแบ่งแยกเหมือนสมัยนี้แต่อย่างใด
รูปพระราหุลมหาเถระเจ้า
เหตุ ที่เรียก พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง จนถึงลำดับสู่วิปัสสนากรรมฐาน จึงเป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนากรรมฐานทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน เพื่อมิให้แตกกระจายไปในทางปฏิบัติ มิต้องให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง
สรุปได้้่ว่่ากรรมฐานมัชฌิมา คือการเรียนปฎิบัติไปตามกำลังของจิต เกิดสมาธิเป็นขั้นๆไป นั่นเองครับ
จาก นั้น กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ได้รับการสืบทอดต่อๆกันมาเรื่อยๆได้เข้ามาแถบเอเชียอาคเนย์ และทางสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ นั่นเองครับ
รูปภาพที่มีผู้เชื่อว่าเป็นกลุ่มของพระโสณะและพระอุตตระ
จาก นั้น ประเทศไทยของเราตั้งแต่สมัย ทวาวดี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการฝึก กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เป็นอันมากและเป็นกรรมฐานหลักในการฝึกฝนในประเทศไทย เป็นแบบเดียวที่มีการฝึกฝนกัน
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นั้นผู้ที่ สืบทอดต่อมาเป็นปรมาจารย์ต้นของยุคนี้ คือ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
รูปสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)ครับ
และ ในช่วงนี้ 2554 ผู้ที่ดำรงการสืบทอดกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ คือ พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวีโร ) ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
ผู้บอกวิชชาพระกรรมฐาน ยุคปัจจุบันครับ
-ข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
http://www.somdechsuk.org
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/257 -
ความสำคัญโดยย่อของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทย(1)
กัมมัฏฐาน ๓ ยุค
credit :nathaponson ;http://www.madchima.org
ประณามพจน์ปฐมบทเรื่องของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ
(ประณาม ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี.)
บทความนี้เป็นความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้บันทึกเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่สุด ในประวัติศาตร์ของชาติสยามในเรื่องพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯที่ผ่านมา เพราะพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯเป็นการดำรงรักษาวิธีการกล่อมเกลา จิตใจเพื่อยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมที่พระเถรานุเถระแต่ครั้งอดีตได้บำเพ็ญ ฝึกฝน เป็นการฝึกจิตระดับเจโตวิมุติที่เพียบพร้อมทั้งสมาธิที่เป็นบาทฐานของอิทธิ ปาฏิหาริย์ที่เหนือปกติธรรมดาและหากน้อมปฏิบัติตามมรรคมีองค์- ๘ ก็จะเห็นแจ้งในสัจธรรมได้ไม่ยากเป็นทางประเสริฐที่อาจทำให้ผู้ก้าวไปบรรลุ สู่ความสงบที่แท้จริง
พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯมีความสำเร็จได้ประโยชน์ในสองส่วน เป็นทั้งการบำเพ็ญเพื่อความหลุดพ้นและได้อิทธิฤทธิ์ ไปพร้อมกัน
พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นได้รวมพุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนด ขั้นตอนทั้งการปฏิบัติสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงพุทธธรรมอื่นๆที่ หลอมรวมกันอย่างลงตัว
พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นเป็นการปฏิบัติจิต ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาที่ชาวสุวรรณภูมิยึดถือปฏิบัติมาตลอด
นับ แต่ครั้งกรุง สุโขทัย บรรดาพระอริยะเจ้าและพระเถระในอดีตต่างเคยฝึกฝนอบรมภูมิจิตภูมิธรรมในแนวพระ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น
ไม่ ว่าจะเป็นพระมหาเถระคันฉ่อง (สมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จสวามีรามคุณูปมาจารย์(ปู)ที่รู้จักกันในนามสมเด็จเจ้าพะโคะ(หลวงปู่ ทวดแห่งสทิงพระ) สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ก็ล้วนแล้วแต่ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบ ลำดับฯ
แม้พระอมตเถระที่ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ เลื่องลือด้านอิทธิฤทธิ์ที่แสดงปาฏิหาริย์เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนชาวพุทธ อย่างเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
พระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข)วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จ.พิจิตร
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.
ซึ่งที่กล่าวนามท่านมาก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเราว่าท่านเหล่านั้นทรงภูมิจิตภูมิธรรมสูงส่งเพียงใดก็ล้วนแล้วแต่
ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯทั้งสิ้นท่านทราบหรือไม่ครับ
บท ความนี้ไม่อาจจะสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความเมตตาข้อมูลจากท่านพระครู สังฆรักษ์ (วีระ)ฐานวีโร แห่งวัดราชสิทธาราม(พลับ) กทม. ที่ ให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆอย่างมิรู้เบื่อหน่ายต่อคำซักไซ้ไล่เรียงของผู้เขียน
แม้ ท่านจะเหน็ดเหนื่อยจากกิจทางพระศาสนาเพียงใดก็ตาม ด้วยกำลังใจที่แน่วแน่ของพระคุณเจ้าท่านนี้ที่มุ่งมั่นในการดำรงรักษามรดก ล้ำค่าของพระพุทธศาสนาชิ้นเอกเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของสุวรรณภูมิให้คง อยู่เพื่อลูกหลานอนุชนรุ่นต่อไป เป็นการช่วยการรักษาแก่นธรรมของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตามรอยเท้าบูรพาจารย์ แต่ครั้งอดีตนับล่วงได้ ๑๘๐๐ ปี
อานิสงส์ประการใดที่ได้จากการรักษา เผยแพร่ มรดกพุทธธรรมอันยอดยิ่งนี้ขอจงสัมฤทธิ์ ผลแก่บูรพาจารย์ บุพพการี ผู้มีบุพกรรมร่วมกันทั้งส่วนกุศลกรรมและอกุศลกรรม เทพยดานับถ้วนทั่วจากภูมิมนุษย์จนพรหมโลกจรดขอบจักรวาล ตลอดจนญาติกัลยาณมิตร
สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกภพภูมิจงโปรดสำรวมจิตตั้งมั่นในสัมมาทิฎฐิ น้อมใจรำลึกคุณพระบรมศาสดาศรีศากยมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปนี้แล้ว
อนุโมทนาในกุศลเจตนาครั้งนี้จะก่อเกิดเป็นมหากุศล ให้ทุกท่านถึง “ธรรม” ถ้วนทั่วทุกตัวตนเป็นผู้ถึงสุขที่แท้พ้นภัยภายนอกและภายในทุกกาลสมัยเทอญ -
ขออนุโมทนาด้วยครับ ในการเผยแพร่กิติคุณของครูบาอาจารย์
-
ความเป็นมาของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
แต่ ครั้งพุทธกาลที่พระบรมศาสดาศรีศากยมุนีสมณโคดมยังทรงพระชนม์ชีพทรง อุตสาหะสั่งสอนให้กุลบุตรทั้งหลายฝึกสมาธิ ตั้งสมาธิ ยังสมาธิอบรมสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา พิจารณาเพื่อความหลุดพ้น ได้มรรคได้ผล อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา
(ข้อด้านล่างนั้นคัดมาจากข้อมูลเท่าที่ปรากฎและเท่าที่ทราบครับซึ่งหากมีความผิดพลาดประการใดต้องกราบขอขมาพระรัตนตรัยมาณที่นี้ครับ)
การสอนกัมมัฏฐานการบอกกัมมัฏฐานแบ่งออกเป็น ๓ ยุคได้คร่าวๆ
๑. ยุคที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่และทรงเริ่มประกาศศาสนา พระองค์ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ คือ กำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ มีฐานาฐานญาน เป็นต้น มีอาสวักขยญาณเป็นปริโยสาน
ฉะนั้น พระองค์จึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถึงพร้อมด้วยประการทั้งปวง
ดังนั้นการศึกษาพระกัมมัฏฐานตามแบบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติและสั่งสอนสาวกไว้แล้วเท่านั้นจึงสมควร
(เมื่อ พูดถึงจุดนี้ก็อยากทวนความจำถึงจุดเริ่มต้นของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้ ท่านได้ทราบอีกครั้ง;ในยุคสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็น จำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบ ตามลำดับขั้นตอน
จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง)
๒. ยุคของพระอสีติมหาสาวก ๘๐ พระองค์ ;พระอรหันตสาวก;พระอริยะ และพระสาวกอื่นๆ
พระ ภิกษุสงฆ์ทั่วไปและพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเสขบุคคลคือยังไม่ได้บรรลุอรหัตตผลก็ ล้วนแล้วแต่เรียนศึกษาและปฎิบัติตามพระกรรมฐานแบบลำดับทั้งสิ้นแล้วแต่ว่าจะ ศึกษากับพระอสีติมหาสาวกพระอรหันตสาวกหรือพระอริยะ องค์ใด พระอาจารย์ทุกท่านล้วนบอกพระกรรมฐานแบบลำดับให้ลูกศิษย์ทั้งสิ้นตามแต่ผู้ใด ไปได้ช้าหรือเร็วประการใด
ความสำคัญตรงนี้พระอาจารย์ได้บอกไว้ว่า
ขั้นตอนการฝึกพระกรรมฐานแบบลำดับซึ่งฝึกกันเป็นมาตรฐานตั้งแต่พุทธกาลนั้นผู้ฝึกล้วนต้องผ่านการฝึกเป็นขั้นๆแต่สมัยพุทธกาลนั้น
คนมีบุญบารมีมีมากมาย ทำให้จิตผ่านแต่ละลำดับได้อย่างรวดเร็วคือผ่านจาก
รูปกรรมฐาน
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
อย่าง รวดเร็วจนถึงห้องอานาปานสติกรรมฐานและจิตเข้าสู่มรรคผลอย่างรวดเร็วจนทำให้ คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนไป ว่าเริ่มที่อานาปานสติได้เลยแต่จริงๆหาได้เป็นเช่นนั้นไม่เพราะต้องเริ่มที่ ห้องพระปีติทั้ง5 ซึ่งตั้งต้นที่พระขุททะกาปีติ
โดยเริ่มตั้งองค์ภาวนา ว่าพุท-โธ ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ ตั้งใต้นาภีคือสะดือ 2นิ้วมือ เป็นบาทฐาน
(ส่วนขององค์พระราหุลมหาเถระเจ้าก็ได้ทรงสอนพระกรรมฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐาน มัชฌิมา)และมีศิษย์ของท่านสืบทอดพระกรรมฐานแบบลำดับมาเรื่อยๆ
๓. ยุคเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระมหาอสีติสาวกปรินิพพานแล้ว พระภิกษุทั้งหลายจะบอกกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯซึ่งเป็นกรรมฐานแบบมาตรฐาน)เท่านั้น
อีกทั้งภิกษุในสมัยพระพุทธเจ้าและพระอสีติมหาสาวกนิพพานแล้ว ท่านเคารพในพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ และรู้ประมาณในวิสัยของท่านเอง
ดังนั้น พระกรรมฐานแต่โบราณจึงบอกกัมมัฏฐานแก่ผู้อื่นด้วย"พระกัมมัฏฐานแบบลำดับ"เท่านั้น (พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)
ผู้เรียนแบบลำดับแล้วจะรู้ได้ด้วยตนเองว่า กัมมัฏฐานกองไหน
จะต้องกับ "จริตหรือจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อนๆ" ของตนเองคือจะขึ้นมาเอง(แต่สำคัญที่ว่าต้องผ่านการเรียน"พระกัมมัฏฐานแบบ ลำดับ"แล้วจากพระอาจารย์ผู้ประกอบด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิคือผู้เป็น กัลยาณมิตรนั่นเอง )
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/312 -
ขอกราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระครูวีระ วัดพลับ ประสบการณ์ของผมที่ได้ไปฝึก ครับครั้งแรกที่ไปตื่นเต้นมากครับที่จะทำสมาธิจริงๆๆจังซะที เพราะได้แต่อ่านจากตำรา การทำสมาธิต่างๆๆอย่างเดียว พอได้ไปฝึกกับพระครู วีระ จริงๆ ผลของการที่อ่านตำราแล้วก็ทำตามตำราบ้างปรากฏ เลยละครับ คือฟุ้งซานโคตรๆๆๆ 555+ แจ้งกรรมฐานแล้วแจ้งอีกก็ไม่ใช่ ไม่ได้ซะที่ ไปแจ้งทีไร หลวงพ่อจะบอก ไปนั่งใหม่ ทุกที ผมต้องใช้ความพยายามถึง 2 ปี 4 เดือน เลยครับพี่น้องกว่าจะผ่านห้องแรก ห้องขุนทกาปิติ ดีใจม๊ากๆยิ่งกว่าถูกหวยอีกครับ พอผ่านนึกเลยว่า ไม่เหมือนในตำราเลยแห่ะ ต้องทำเองรู้เองจิงๆ เพราะแต่ละคนจะไม่เหมือนกันนะครับ ที่สำคัญต้องขยันนั่งขยันแจ้งกรรมฐานนะครับพี่ๆน้องๆทุกวันนี้ กำลังอยู่ที่ห้อง ขณิกาครับ พยายามอยู่ครับ ไม่รู้จะใช่เวลาอีกกี่ปี ต้องขยันแล้วซิเรา สู้เฟ้ยๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
-
กัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)นี้เข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อ หลังตติยสังคายนาในสมัยพระ เจ้าอโศกมหาราช โดยส่งพระโสณกเถรและพระอุตรเถรมายังสุวรรณภูมิ โดยการเล่าเรียนสืบ ๆ กันมา ยังไม่มีการจดบันทึก
การเรียนแบบ พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนี้สืบทอดเรื่อยๆ มาจนถึงยุคกรุงสุโขทัย มากรุงศรีอยุธยา และครั้งกรุงสุโขทัยนั้น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้มีการนำมาเผยแพร่ด้วยโบราณาจารย์กล่าวว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นคัมภีร์ปฏิบัติที่เน้นปริยัติ จึงทำให้พระสงฆ์ที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานในสมัยนั้นมีความรู้ทั้งทางปฏิบัติและ ปริยัติ ภาคปฏิบัติดี จึงมีความรู้เชี่ยวชาญมาก
เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ ๑ ได้อาราธนาพระอธิการสุก วัดท่าหอยแขวงกรุงเก่า มากรุงเทพ ฯ
เมื่อท่านมานั้น ได้นำตำราสมุดข่อยไทยดำบันทึกกัมมัฏฐานแบบลำดับมากรุงเทพฯ ด้วย แล้วรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งท่านให้เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งแบบแผนตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี เป็นพระภิกษุผู้ถือตามโบราณจารย์กัมมัฏฐานแบบลำดับ ด้วยความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์สาวกแต่ปางก่อน
พระองค์ท่านก็เรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)มาจนครบทุกลำดับ จนท่านได้มรรค ได้ผล
ฉะนั้น โบราณาจารย์ทางกัมมัฏฐานแต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการ รักษาการเรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับไว้เป็น ๓ คาบว่า
ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ความหมายของส่วนที่ว่า "ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา"
"อนาค เต ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ : ในกาลภายหน้า ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้"
ภิกษุที่จัดว่ามียางอาย คือภิกษุที่มีความรู้สึกละอายต่อสิ่งที่พึงละอาย ละอายต่อการที่จะแตะต้องบาปอกุศลธรรม เป็นคนรังเกียจบาป
ภิกษุ ผู้เป็นลัชชียังมีคุณธรรมอื่นอีก คือ มีความเกรงกลัวบาป มีความเคารพหนักแน่นในหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ยกย่องพระสัทธรรมไว้เหนือตนเอง
นอกจากจะละอายบาป ยังมีความเอ็นดู อนุเคราะห์ช่วยเหลือ ให้แล้วไม่หวังตอบแทน พูดจริง ไม่กล่าวให้คลาดจากความจริง ไม่สร้างความแตกแยก สมานสามัคคี เจรจาไพเราะ พูดถูกกาลเทศะ พูดจริง พูดเป็นอรรถเป็นธรรม มีที่อ้างอิงประกอบด้วยประโยชน์
ภิกษุ ที่เป็นลัชชี จะมีความยำเกรง ใคร่ในการศึกษา จะไม่ทำให้เสียแบบแผนเพราะเห็นแก่ความเป็นอยู่ แสดงเฉพาะธรรมและวินัย จะประคองสัตถุศาสน์ไว้อย่างมั่นคง ท่านจะไม่ละหลักการทางวินัย ไม่ละเมิดหลักการทางวินัย จะยืนหยัดมั่นคงในหลักการทางวินัย ตามภาวะของผู้มียางอาย
ภิกษุลัชชีที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้นี้ เป็นระดับพหูสูตผู้คงแก่เรียน มิใช่ไม่มีการศึกษา เป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เมื่อถูกสอบถามข้อความในพระไตรปิฎก หรืออรรถกถาตอนท้าย หรือตอนต้น ย้อนไปย้อนมา ก็ไม่ทื่อ ไม่หวั่น ชี้แจงได้ว่า เรากล่าวอย่างนี้ อาจารย์ของเราก็กล่าวอย่างนี้ ดุจดังใช้แหนบถอนขนทีละเส้น เป็นผู้ทีทรงจำหลักการในพระไตรปิฎก และข้อวินิจฉัยในอรรถกถาได้อย่างแม่นยำ ไม่มีหมู่ดสิ้น
ภิกษุแม้จะ เป็นพหูสูต ผู้คงแก่เรียน แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มียางอาย เป็นผู้เห็นแก่ได้ ก็มักจะทำให้แบบแผู้นคลาดเคลื่อน แสดงหลักคำสอนของพระศาสดานอกธรรมนอกวินัย สร้างความมัวหมู่องอย่างมหันต์ขึ้นในพระศาสนา ก่อให้เกิดสังฆเภทบ้าง สังฆราชีบ้าง
ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้น ที่จะปกป้องพระสัทธรรม ยอมสละตนเพื่อรักษาธรรม ส่วนภิกษุอลัชชี มักจะสละธรรมเพื่อรักษาตนและพวกพ้องของตน ยอมสละหลักการแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อลาภสักการะ
ที่ กล่าวมานี้ คือระบุถึงบุคคลผู้ที่รักษาพระสัทธรรมไว้ แต่การจะรักษาไว้ได้นั้น ก็มีขั้นตอนกระบวนการอยู่ คือต้องรู้ว่า อะไรเป็นแก่นแท้ที่เป็นพระสัทธรรม ภิกษุที่รู้สึกว่า ตนก็เป็นผู้มียางอาย หวงแหนปกป้องพระศาสนา แต่ถ้าไม่รู้จักพระศาสนา หรือพระสัทธรรมที่แท้ ก็อาจจะรักษาสัทธรรมปฏิรูปไว้ก็ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้พระสัทธรรมแท้ให้เข้าใจ ในเรื่องนี้ ก็ต้องอาศัยพระพุทธพจน์ที่พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก
การที่ พระสัทธรรมจะเสื่อมสลายหายสูญไป มิใช่ว่า เพราะไม่มีผู้รักษา มีผู้รักษา แต่อาจจะรักษาไว้แต่ที่พิรุธคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ เหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า :-
ภิกษุ ทั้งหลาย เหตุ ๒ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ บทพยัญชนะ (หมู่ายถึงพระพุทธวจนะ) ที่จำมาผิด (หรือคัดลอกมาผิด) และเข้าใจเนื้อความไม่ถูกต้อง เมื่อจำบทพยัญชนะมาผิด ก็ย่อมจะเข้าใจเนื้อความผิดไปด้วย
อีกแห่งหนึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายไปไว้ว่า
เหตุ ๔ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย ศึกษาเล่าเรียนสุตตันตะที่เรียนกันมาผิดลำดับ ตามบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด ก็ทำให้เข้าใจผิดกันไปด้วย
๒. ภิกษุทั้งหลาย เป็นคนที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยไม่อดทน ไม่รับฟังคำสอนโดยเคารพ
๓. บรรดาภิกษุที่เป็นพหูสูต คล่องปริยัติทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ไม่ตั้งใจถ่ายทอดสุตตันตะแก่ผู้อื่น เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สุตตันตะก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย (ไม่มีที่อ้างอิง)
๔. บรรดาภิกษุระดับเถระ เป็นพระมักมาก เป็นพระย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางคลายความเพียร ละทิ้งวิเวก ไม่ระดมความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภิกษุรุ่นหลังก็พากันเอาเยี่ยงอย่าง
เหตุ ๔ ประการนี้ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป
ที่ กล่าวมานี้ คือตัวสาเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสูญสลายหายไป ในข้อความที่กล่าวมานั้น มีถ้อยคำที่ควรทำความเข้าใจ เช่นคำว่า "บทพยัญชนะที่จำมาผิด" (ทุนฺนิกฺขิตฺตํ ปทพฺยญฺชนํ) นั้น หมายถึงตัวอักษรที่ส่องให้รู้เนื้อความจำกันมาคลาดเคลื่อนไป
เมื่อบท พยัญชนะพิรุธคลาดเคลื่อน การกำหนดความหมายเฉพาะบทย่อมคลาดเคลื่อนไปด้วย เช่นคำว่า "สุวิชาโน ปราภโว : คนเสื่อม (ชั่ว) ก็รู้ได้ง่าย" จำกันมาคลาดเคลื่อนไปว่า "ทุวิชาโน ปราภโว" ก็เลยตีความคลาดเคลื่อนไปแปลกันว่า "ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม" จึงเกิดความสงสัยกันว่า พระพุทธองค์ก็ทรงทราบเรื่องชั่วที่เรียกว่า อกุศลธรรม เป็นธรรมที่ต้องละ เรียกว่า ปหาตัพพธรรม พระองค์ก็มิได้มีความเสื่อมเสียอะไร
ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงลักษณะผู้ที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้
-
ภาพพานกรรมฐานเวลากราบขอขึ้นครูเรียนกรรมฐานมัชฌิมา
หลวง ปู่สุก(ไก่เถื่อน)ท่านก็นับเป็นพระลัชชีรูปหนึ่งที่รักษาแบบแผน ประเพณีกัมมัฏฐานแบบลำดับจนถึงสมัยปลายรัชการที่สอง ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๔ ปรากฏว่ามีผู้ตั้งตัวเป็นผู้บอกกัมมัฏฐานกันมากแต่ไม่มีการรักษาแบบแผน รักษาวงศ์ รักษาประเพณี ของพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)ไว้สอนตามคติของตัวเอง ไม่เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อริยสาวกแต่ปางก่อน
ซึ่งหากพิเคราะห์ดูก็ปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบันอยู่ดาษดื่น บางรายเป็นเด็กยังไม่เดียงสาก็ตั้งตัวเป็นอาจารย์บอกกัมมัฏฐาน ซ้ำร้ายยังอวด ฤทธิ อวดเดชที่ไม่เหมาะสมกับจริยวัตรของนักปฏิบัติที่จะไม่แพร่งพรายหรืออวดอ้าง ผลการปฏิบัติ
เพราะจะเป็น อุปกิเลสทำให้ผลปฏิบัติที่ได้เสื่อมถอนและไม่ก้าวหน้า เป็นธรรมจริยะที่เหล่าผู้ฝึกฝนปฏิบัติต้องเคร่งครัดนับแต่โบราณที่อนุญาตให้ แสดงผลการปฏิบัติได้เฉพาะกับผู้เป็นอาจารย์เท่านั้น
ผู้ที่หลงเลื่อมใสอาจารย์กัมมัฏฐานประเภทรู้เอง-คิดเอง-เดาเอาเหมาเข้าข้าง ตัวเช่นนี้เป็นผู้น่าสงสารที่ลูบคลำพระพุทธศาสนาอย่างผิดทาง จึงไม่อาจรับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่
ใน ขณะนั้น ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ) ไว้เป็นหมวดหมู่ซึ่งต่อมาได้เผยแพร่สืบต่อกันมาเรื่อยๆอย่างไม่ขาดสายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย
ต้นที่มา โดยรวมของเรื่อง
หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]
รายละเอียดของสถานที่ฝึก
ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
ขอบคุณภาพจากhttp://www.ounamilit.com/,http://www.bloggang.com/,http://www.rmutphysics.com/,
[/quote]
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/257 -
วีดีโอกรรมฐานมัชฌิมาแนะนำควรดูก่อนไปครับ
[URLI="http://www.youtube.com/v/a_q00e8kIgs"]
http://www.youtube.com/v/a_q00e8kIgs[/URLI]
http://www.youtube.com/v/udIZLdBGXw4 -
กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ นั้นมีวิธีการฝึกและ การปฎิบัติที่เป็นแบบแผนแน่นอน สรุปได้ง่ายๆดังนี้ครับ
1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน
2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ
3. เริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์บอก โดยแรกท่านจะให้ ภาวนาว่าพุท-โธ สติตั้งใต้สะดือ2 นิ้ว
คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็เอาสติไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง
ทุก ครั้งที่นั่งกรรมฐานต้องมีการ ขอขมาพระ และกล่าวคำอาราธนากรรมฐานตามแบบ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับทุกครั้ง และเมื่อนั่งเสร็จต้องแผ่เมตตาก่อนจึงลุกจากที่นั่ง
4. การเกิดนิมิตรู้เห็นอย่างใดให้แจ้งแก่อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานแต่เพียงผู้เดียว ห้ามบอกผู้อื่น และไม่ควรอ่านสภาวะธรรมต่างๆก่อนเพื่อกันอุปาทานและจิตหลอนนั่นเอง
5. เมื่ออาจารย์ให้ผ่านแล้วก็จะมีการเลื่อนกรรมฐานไปห้องอื่นๆสูงขึ้นไปตาม ลำดับชั้นของห้องกรรมฐานนั้นๆจนจบกรรมฐาน40 และต่อวิปัสสนากรรมฐานเป็นขั้นๆไปตามลำดับ
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน
http://somdechsuk.org/node/312 -
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
============================================================================
คำนำ
พระ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป
สม ดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่๒)ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระ กรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔
พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ
โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี
ต่อ มาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป
ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรคเพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่ง คัมภีร์อรรถคาถา
แต่ การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึง
ยุคศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์
ใน ยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง
ต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต่อจากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้
ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า
ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ลัชชีรักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทรศัพท์-084-651-7023
==========================================
==================================
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.somdechsuk.org
ติดต่อได้ที่ หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]
รายละเอียดของสถานที่ฝึก
ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/257
-
============================================================================
ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ตอนสมถะภาวนา
รูปกรรมฐาน ตอน ๑
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
พระ กรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์
รูปกรรมฐาน ตอน ๒
๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
๘.ห้องปัญจมฌาน
ห้อง พระอานาปานกรรมฐาน ถึงห้องปัญจมฌาน เป็นรูปกรรมฐาน สอบนิมิต เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องใน กายคตาสติกรรมฐาน และกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
พระ โยคาวจร ผู้เจริญอานาปานสติ เจริญอาการ ๓๒ เจริญกสิณ ๑๐ ประการ เจริญอสุภะ ๑๐ ประการ เจริญปัญจมฌาน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เป็นการเจริญกาย คตาสติกรรมฐานทั้งสิ้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย เปรียบเหมือน น้ำเต็มขอบสระ กาบินมาแต่ทิศใดย่อมดื่มกินน้ำได้ทุกทิศ
อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
๙.ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ เป็นคุณธรรม ของพระโสดาบัน
๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
๑๓.ห้อง อรูปฌาน
ตั้งแต่ ห้อง อนุสสติ ๗ ประการ ถึงห้องอรูปฌาน เป็นอรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์ สอบสภาวธรรม จิตได้สภาวธรรมเต็มที่ การเจริญวิปัสสนา ก็แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น เมื่อจะขึ้น พวิปัสสนาฌาน ให้ทำฌานสมาบัติแปด ถอยมาถึง ตติยฌาน แล้วเจริญ พระวิปัสสนา
(จบสมถะ)
============================================================================
วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมาแบบ ลำดับ
๑.เจริญวิสุทธิเจ็ดประการ เอาองค์ฌาน เป็นบาทฐาน
๒.พระไตรลักษณะญาณ ๓
๓.พระอนุวิปัสสนา ๓
๔.พระวิโมกข์ ๓ ประการ
๕.พระอนุวิปัสสนาวิโมกข์ ๓
๖.พระวิปัสสนาญาณ ๑๐
๗.พระโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นบาทรองรับวิปัสสนา
๘.สัญโญชน์ ๑๐ เพื่อให้รู้กิเลสที่จะละ
๙.ออกบัวบานพรหมวิหาร เจริญเพื่อละพยาบาท เป็นหนทางสู่ มรรค ผล นิพพาน
(จบ-สมถะ-วิปัสสนามัชฌิมา แบบลำดับ)
=============================================
===============================
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/312 -
เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน
มัชฌิมาแบบ ลำดับ
ดังที่ว่าไปแล้วในตอนต้นนะครับ ว่าการเริ่มฝึกกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้อง
1. เข้าหากัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้บอกกรรมฐานและ
2. ขอขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ตามแบบแผนแต่โบราณ
ในยุคนี้สามารถทำได้ที่ ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023
รถเมล์สาย 19 40 56 57 149 ผ่านหน้าวัด ติดต่อหลวงพ่อวีระ(จิ๋ว)โทร. 084-651-7023
================================================
เครื่องสักการะพระรัตนตรัย
เมื่อขึ้นพระกรรมฐาน
เมื่อ จะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้
บททำวัตรพระ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
(ให้ว่า ๓ หน)
พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ
พุทโธ ภควาติ ฯ
เย จ พุทธา อตีตา จ, เย จ พุทธา อนาคตา,
ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
พุทธานาหสฺมิ ทาโสว, พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา, มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, พุทโธ เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ, ปาทปงฺสุง วรุตฺตมํ,
พุทโธ โย ขลิโต โทโส, พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯ จะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
(กราบ)
ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
เย จ ธมฺมา อตีตา จ, เย จ ธมฺมา อนาคตา,
ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา, อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว, ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ, มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ, ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
เอเตน สจฺจ วชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
ธมฺเม โย ขลิโต โทโส, ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ
(กราบแล้วหมอบลงว่า)
ข้าฯ จะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
(กราบ)
สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
สุ ปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
เย จ สงฺฆา อตีตา จ เย จ สงฺฆา อนาคตา
ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
เอเตน สจฺจวชฺเชน, โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ, สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
(หมอบกราบ แล้วว่า)
ข้าฯ ขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
(กราบ)
อธิบายบททำวัตรกรรมฐาน
บท ทำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกรรมฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔
================================================
**** ยังมีต่ออีก จะนำมาลงในครั้งต่อไปนะครับ ****
================================================
ที่มา เว็บสมเด็จสุกฯ
http://www.somdechsuk.org
somdechsuk.com - เรื่องกรรมฐาน
และ
http://www.somdechsuk.com/download/kumausamatawipassanakammathan.doc
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน http://www.somdechsuk.org/node/312
หน้า 1 ของ 69