ระทึก! ลาว แผ่นดินไหว ขนาด6.4 แรงสั่นเขย่าไทยหลายจังหวัด สะเทือนถึงกรุงเทพฯ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 21 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8b2e0b8a2e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8aae0b89be0b89b-e0b8a5.jpg

    จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน สปป.ลาว ในช่วงเช้าของวันนี้ (21 พ.ย. 62) ในส่วนของจังหวัดหนองคาย ได้รับรู้ถึงการสั่นสะเทือนในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะในครั้งที่ 2 ที่รุนแรงกว่าครั้งแรก ผู้ที่อยู่ในตึกสูง (โรงแรม) ในตัวเมืองหนองคาย รับรู้ได้ โดยมีการสั่นไหว
    ในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน สปป.ลาว ครั้งนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่มีอะไรเสียหาย สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ยังคงเปิดให้รถยนต์ข้ามไป-มา รวมไปถึงรถไฟที่ลากตู้คอนเทนเนอร์สินค้าจากไทยไป สปป.ลาว ก็ยังข้ามสะพานฯได้ตามปกติ

    [​IMG] [​IMG]

    นายพรพิพัฒน์ ตันนารัตน์ ผู้จัดการทั่วไปโรงแรมอัศวรรณ กล่าวว่า ที่จังหวัดหนองคาย จะรับผู้การสั่นสะเทือนได้อย่างชัดเจนช่วงหกโมงกว่า เกือบ 07.00 น. รู้สึกสั่นไหวเล็กน้อย พนักงานที่อยู่ด้วยกันรับรู้และรู้สึกเช่นเดียวกันทุกคน และมีอาการเวียนศีรษะเล็กน้อยแต่ไม่นาน ประมาณ 10 วินาที ซึ่งช่วงนั้นไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร พอมาดูข่าวจึงได้รู้ว่าเกิดจากแผ่นดินไหว


    ขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/breaking-news/news-393804
     
  2. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    ตกใจหนักมาก! ‘รัศมีแข’ อุ้มหลานลงตึกหนีแผ่นดินไหว

    b899e0b8b1e0b881e0b8a1e0b8b2e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b8a8e0b8a1e0b8b5e0b981e0b882-e0b8ade0b8b8e0b989.jpg


    ‘ดีเจต้นหอม’ เผยคลิป ‘รัศมีแข’ ตกใจเหตุแผ่นดินไหวรีบอุ้มหลานลงจากคอนโด

    วันนี้( 21 พ.ย.62) “ดีเจต้นหอม ศกุนตลา เทียนไพโรจน์” เผยคลิปวิดิโอในอินสตาแกรมหลังเผชิญเหตุแผ่นดินไหวเมื่อเช้านี้ ทำเอาคอนโดสูงสั่นสะเทือนจนรับรู้ได้ ซึ่ง “รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น” นั้นตกใจจนถึงขั้นหอบ “น้องปกป้อง” ลูกชายบุญธรรมของต้นหอม วัย 11 เดือน รีบหนีลงมาจากคอนโดจากชั้น 15 โดยระบุข้อความว่า “ความลนลานของแขและหอมแผ่นดินไหว 555”

    ขณะที่ รัศมีแข ได้โพสต์ภาพและเล่าถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “ความลุง….กลัวมาก…สมองคิดถึงแต่หลาน…อุ้มหลานหนีเลยจร้า..รู้ตัวอีกที…อ่าวแม่อีมันอยู่ข้างบน..5555..” #ลุงแข #วิถีคิงคอง”

    99e0b8b1e0b881e0b8a1e0b8b2e0b881-e0b8a3e0b8b1e0b8a8e0b8a1e0b8b5e0b981e0b882-e0b8ade0b8b8e0b989-1.jpg

    ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานเหตุแผ่นดินไหวในประเทศลาว ตั้งแต่เมื่อคืนเกิดการสั่นไหวขนาด 2.9, 5.9 และ 4.3 โดยเกิดขึ้นกว่า 100 ครั้ง ล่าสุดเช้าวันนี้ ขนาดของการสั่นไหวที่วัดได้สูงสุดอยู่ในช่วงเวลา 06.50 น. มีความแรงขนาด 6.4 ส่งผลให้ประเทศไทยในภาคเหนือเกือบทั้งภาคโดยเฉพาะจังหวัดน่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง เลย และหลายจังหวัดในภาคอีสาน รวมถึงกรุงเทพฯ รับรู้ถึงความรู้สึกสั่นไหว ตามอาคารสูง หลายจุดรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน ทั้งเขตคลองเตย พระโขนง ชิดลม สาทร ทองหล่อ

    ซึ่งดีเจต้นหอมก็ได้ถ่ายคลิปในห้องที่คอนโดได้ ทั้งโคมไฟก็เคลื่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด ยังมีประตูที่ขยับตามแรงสั่นสะเทือนอีกด้วย พร้อมข้อความว่า “แผ่นดินไหว! เกิดไรขึ้น ตึกชั้นโยกหนักมาก”

    เกาะติดข่าวที่นี่

    website: www.TNNThailand.com
    facebook : TNNThailand
    twitter : @TNNThailand
    Line : @TNNThailand
    Youtube Official : TNNThailand

    ขอบคุณที่มา
    https://www.tnnthailand.com/content/22124
     
  3. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b8b2e0b8a1e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b8abe0b8b2e0b8a2e0b899e0b988e0b8b2e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0.jpg


    น่าน-ส่อง2อำเภอแนวชายแดนติดสปป.ลาวหลังเกิดแผ่นดินไหว2ครั้งต่อเนื่องกันทั้งบ้านและอาคารโยกคลอนพระอุโบสถอายุกว่า500ปีเกิดรอยแตกร้าว


    ที่จังหวัดน่าน เกิดแผ่นดินไหว จนสามารถรับรู้และรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้อย่างชัดเจน ติดต่อกันถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อเวลา 4.03 น. และ อีกครั้ง เมื่อเวลาประมาณ 6.59 น.ประชาชนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นไหวได้อย่างชัดเจน บ้านและอาคารโยกคลอนและสั่นสะเทือน ทั้งหลัง ซึ่งทางกรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีประกาศว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว โดยเมื่อเวลา 4.03 น. มีขนาด 5.9ความลึก 5 กิโลเมตร และ เมื่อเวลา 6.59 น. ที่ผ่านมา มีขนาด 6.4 มึความลึก 3 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของบ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 19 กิโลเมตร ทำให้เกิดแรงสั่นไหวในบริเวณ จ.น่าน จนประชาชนรู้สึกได้อย่างชัดเจน

    8b2e0b8a1e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b8abe0b8b2e0b8a2e0b899e0b988e0b8b2e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0-1.jpg

    เบื้องต้นมีรายงานความเสียหายที่อำเภอบ่อเกลือ และ อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอำเภอแนวชายแดนติดกับประเทศลาว ที่บ้าน น้ำช้าง หมุ่ 11 ต.ขุน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ เกิดรอยร้าวตามตัวบ้านที่โรงเรียน ตชด.100 ปี ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ พบว่า หลังคา และ ฝ้าเพดานบางส่วนได้หลุดพังลงมา หน้ามุขด้านหน้าอาคารเรียนแตกร้าว บ้านพักครูมีรอยร้าวทั้ง 2 หลัง และ อาคารสุขศาลาพระราชทาน ขณะที่กระจกตึกแถวทางด้านทิศเหนือธนาคารออมสิน สาขาท่าวังผา

    8b2e0b8a1e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b8abe0b8b2e0b8a2e0b899e0b988e0b8b2e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0-2.jpg

    พันเอกรัตนะ พัฒนโสภณ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 32 ได้สั่งการให้ 6 กองร้อย ประสานหน่วยงานในพื้นที่อำเภอแนวชายแดนออกสำรวจความเสียหายและติดตามสถานการณ์แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด

    นอกจากนี้ที่วัดพระธาตุเขาน้อย โบราณสถานเก่าแก่อายุ 5 ร้อยกว่าปี ที่อยู่บนเขาสูงสุดในตัวเมือง ได้รับความเสียหาย โดยพระและสามเณรวัดพระธาตุเขาน้อย ซึ่งอยู่บนเนินเขาสูง ในตำบลไชยสถาน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ชี้ให้ดูความเสียหาย ของพระอุโบสถเก่าแก่ของวัดอายุ 5 ร้อยกว่าปี จากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ในลาวเมื่อเช้ามืดวันนี้ โดยพบรอยแตกร้าวรอบตัวอาคารพระอุโบสถ ซึ่งต้องรอให้เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรเข้าตรวจสอบความเสียหายอย่างละเอียดอีกครั้ง หลังจากวัดพระธาตุเขาน้อยเคยได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวเมื่อปี 57 ก่อนมาแล้ว

    8b2e0b8a1e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b8abe0b8b2e0b8a2e0b899e0b988e0b8b2e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0-3.jpg

    พระมหาจรัล สิริธัมโม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเขาน้อย เล่าวินาทีช่วงเกิดแผ่นดินไหวว่า รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง เพราะวัดอยู่บนเนินเขาสูง จึงรู้สึกตกใจ พระและสามเณรที่อยู่ในกุฏิต่างวิ่งหนีออกมาอยู่บริเวณลานวัด และความรุนแรงจากเหตุแผ่นดินไหวจนประชาชนในทุกพื้นที่อำเภอสามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน ทำให้เกิดความวิตกกังวลต่อโบราณสถานสำคัญและวัดเก่าแก่ต่างๆในจังหวัดน่าน

    ด้าน นายวิทยา ขันทยศ นายช่างโยธา สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเร่งวางแผนการสำรวจความเสียหายของโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 25 แห่ง โดยเฉพาะที่ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ คือที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร และ วัดภูมินทร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการบูรณะซ่อมแซม และที่วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ซึ่งเคยมีรอยร้าวที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวก่อนหน้านี้แล้ว รวมถึงที่วัดพระธาตุเขาน้อย อ.เมืองน่าน ซึ่งเป็นวัดสำคัญและอยู่จุดที่สูง นอกจากนี้ยังมี วัดสำคัญ ที่ต้องตรวจสอบ คือ วัดพระธาตุเบ็งสกัด และวัดต้นแหลง อ.ปัว และวัด หนองแดง อ.เชียงกลางด้วย

    8b2e0b8a1e0b980e0b8aae0b8b5e0b8a2e0b8abe0b8b2e0b8a2e0b899e0b988e0b8b2e0b899-e0b89ee0b8a3e0b8b0-4.jpg

    นายมณเฑียร คูคำมี ผู้อำนวยการ กลุ่มอำนวยการและกิจการคณะสงฆ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดน่าน เร่งประสานคณะสงฆ์จังหวัดน่าน เพื่อสั่งการให้วัดทุกแห่งทั่วทั้งจังหวัด โดยเฉพาะวัดในเขตอำเภอแนวชายแดน ให้เร่งสำรวจความเสียหายและผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว ที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ และสิ่งก่อสร้างต่างๆภายในวัด

    ขณะที่นาย คทายุทธ์ ชุพูล กรรมการผู้จัดการบริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าหงสา ที่ตั้งอยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ประเทศลาว



    ข่าวอื่นๆ
    ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/social/local/607019
     
  4. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ ตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บจากแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ที่ลาว ส่วนโรงไฟฟ้าเมืองหงสา มีรายงานอาคารและที่พักได้รับความเสียหาย

    วันนี้ (21 พ.ย.2562) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ เวียงจันทน์ แจ้งว่าเวลา เวลา 04.03 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ความลึก 5 กิโลเมตร ที่แขวงไซยะบูลี ของลาว และต่อมาเวลา 06.52 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 จุดศูนย์กลางห่างไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก ของ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ระยะทาง 19 กิโลเมตร ซึ่งการสั่นสะเทือนค่อนข้างแรงและรับรู้ได้ถึงเวียงจันทน์

    0b895e0b8af-e0b981e0b888e0b989e0b887e0b8a2e0b8b1e0b887e0b984e0b8a1e0b988e0b8a1e0b8b5e0b884e0b899.jpg

    โรงไฟฟ้าเมืองหงสาเสียหายเหตุแผ่นดินไหว

    895e0b8af-e0b981e0b888e0b989e0b887e0b8a2e0b8b1e0b887e0b984e0b8a1e0b988e0b8a1e0b8b5e0b884e0b899-1.jpg

    โรงไฟฟ้าเมืองหงสาเสียหายเหตุแผ่นดินไหว

    สอท.ได้ตรวจสอบชุมชนไทยที่โรงไฟฟ้าเมืองหงสา ทราบว่ามีการสั่นสะเทือนในพื้นที่โครงการหลายครั้ง อาคารบริเวณโรงไฟฟ้าและที่พักได้รับความเสียหาย ยังไม่มีรายละเอียด และยังไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บ

    ส่วนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี ของบริษัท ช.การช่าง รับรู้แรงสั่นสะเทือน แต่ไม่มีรายงานคนไทยได้รับบาดเจ็บหรืออาคารเสียหาย ซึ่ง สอท. ติดต่อชุมชนไทยในแขวงหลวงพระบาง ระบุว่ารับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว แต่ยังไม่มีข่าวสารเกี่ยวกับความเสียหาย

    895e0b8af-e0b981e0b888e0b989e0b887e0b8a2e0b8b1e0b887e0b984e0b8a1e0b988e0b8a1e0b8b5e0b884e0b899-2.jpg

    ร้านค้าในหงสาได้รับความเสียหาย

    ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือประสงค์ขอความช่วยเหลือ ติดต่อหมายเลขฉุกเฉินของ สอท. ณ เวียงจันทน์ ได้ที่หมายเลข +856-20-5551-2228

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง

    แผ่นดินไหวขนาด 5.9 ที่ลาว รับรู้แรงสั่นไหว 6 จังหวัดของไทย

    แผ่นดินไหว 6.4 ที่ลาว ตึกสูงในกรุงเทพฯ รับรู้แรงสั่นสะเทือน

    ขอบคุณที่มา
    https://news.thaipbs.or.th/content/286301
     
  5. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b989e0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b8aae0b8b3e0b8a3e0b8a7e0b888e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b8aa.png

    21 พฤศจิกายน 2562


    156

    ปภ.รายงานสถานการณ์แผ่นดินไหว พร้อมประสานจังหวัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ สั่งการลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย–ให้ความช่วยเหลือประชาชน


    กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 แมกนิจูด โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รับรู้แรงสั่นไหวได้หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงกรุงเทพมหานคร พร้อมประสานจังหวัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ ชี้แจงทำความเข้าใจให้ประชาชนถึงสถานการณ์ภัย จัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

    นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์กับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า เมื่อเวลา 04.03 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวโดยมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ขนาด 5.9 แมกนิจูด อยู่ห่างจากบ้านน้ำช้าง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ประมาณ 19 กิโลเมตร และต่อมาเวลา 6.50 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวใกล้เคียงจุดเดิมขนาด 6.4 แมกนิจูด โดยปัจจุบันประเทศลาวยังคงมีแผ่นดินไหวตามมา (Aftershock) ต่อเนื่องอีกหลายครั้ง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสถานการณ์ข้างต้นอย่างต่อเนื่อง พบว่าหลายพื้นที่ในจังหวัดทางเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงกรุงเทพมหานคร มีรายงานความรู้สึกสั่นไหว

    ทั้งนี้ ได้ประสานให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด โดยจัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากแผ่นดินไหวในประเทศลาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายในพื้นที่ และเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยทันที พร้อมประชาสัมพันธ์ชี้แจงสถานการณ์ เพื่อลดความตื่นตระหนก รวมถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ และวิธีการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนในพื้นที่ติดตามสถานการณ์และประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานภาครัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป

    อ่านข่าว-แผ่นดินไหวลาวไม่หยุด เขย่าล่าสุดขนาด 4.4

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง




    ข่าวอื่นๆ ในเครือ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855415
     
  6. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    ผลกระทบแผ่นดินไหวที่ สปป.ลาว ที่วัดพระธาตุจอมพริกบ้านเสิ้ยว ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน พระธาตุเอียงแตกร้าว


    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน เกิดแผ่นดินไหว ขนาด Magnitude 5.9 ในเขตพื้นที่ สปป.ลาว ติดชายแดนไทย ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ บ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ห่างไปประมาณ 19 กม.

    0b89ae0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-e0b897e0b8b3.jpg

    89ae0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-e0b897e0b8b3-1.jpg

    จากกรณีที่มีเหตุแผ่นดินไหว เมื่อช่วงเช้า เวลาประมาณ 04.04 น .ถึง 06.50 น. แผ่นดินไหวบนบก ระดับความแรงขนาด 6.4 ความลึก 3 กม.จุดศูนย์กลางที่ บริเวณเมืองหงสา ประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ห่างประมาณ 20 กม. เบื้องต้นผู้สื่อข่าวหลายจังหวัดได้รับรายงาน ข่าวว่าประชาชนได้รับความรู้สึก อาคาร บ้านเรือ ที่พักอาศัยสั่นไหว ในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งจังหวัดกรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นผู้สื่อข่าวยังได้รับรายงานเพิ่มเติมในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าวว่า มีหลายพื้นที่ได้ความเสียหาย

    ส่วนในพื้นที่ ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ผู้สื่อข่าวได้รับรายงาน ว่าผลกระทบเกิดความเสียหายที่วัดพระธาตุจอมพริกบ้านเสิ้ยว บ้านเสี้ยว หมู่ที่ 6 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีองค์พระธาตุแตกและเอียง,กำแพงแตกเป็นรอย ฐานองค์พระพุทธรูปแตกเป็นรอยร้าว ส่วนพื้นที่อื่นๆผู้สื่อข่าวกำลังอยู่ในระหว่างลงพื้นที่สำรวจ ความเสียหายด้านอื่นๆ แล้วจะรายงานให้ทราบต่อไป

    89ae0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-e0b897e0b8b3-2.jpg

    89ae0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-e0b897e0b8b3-3.jpg

    89ae0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-e0b897e0b8b3-4.jpg

    ณชญาดา บุญยะกาญจน์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จังหวัดน่าน

    แผ่นดินไหว จังหวัดน่าน
    Shares :
    0b89ae0b888e0b8b2e0b881e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-e0b897e0b8b3.png

    ข่าวเกี่ยวข้อง


    ขอบคุณที่มา
    https://www.komchadluek.net/news/local/400216
     
  7. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b984e0b8a3e0b989e0b984e0b89fe0b894.jpg
    กฟผ.รับมืออยู่ แจงผลิตไฟฟ้าจากก๊าซทดแทนโรงไฟฟ้าหงสาที่หยุดผลิตจากเหตุแผ่นดินไหว สปป.ลาว ส่วนเขื่อน กฟผ.ทุกแห่งไร้ผลกระทบเช่นเดียวกัน

    นายจรรยง วงศ์จันทร์พงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงกรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์จุดศูนย์กลางบริเวณ สปป.ลาว เมื่อเวลา 04.03 น.ของวันที่ 21 พ.ย.ว่า เขื่อนทุกเขื่อนของ กฟผ.ในไทยไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวแต่อย่างใด รวมทั้งสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน ซึ่งอยู่ใกล้จุดเกิดแผ่นดินไหวจากการตรวจสอบแล้วไม่มีความเสียหายเช่นเดียวกัน รวมถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อไฟฟ้าดับในประเทศ เนื่องจาก กฟผ.สามารถผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าอื่นที่ใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาใน สปป.ลาวที่หยุดผลิตชั่วคราวจากผลกระทบแผ่นดินไหว

    “เหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวได้ส่งผลให้โรงไฟฟ้าหงสา เครื่องที่ 1 และ 2 หยุดการผลิตฉุกเฉินด้วยสัญญาณ Vibration high ขณะจ่ายโหลดรวม 985 MW และโรงไฟฟ้าหงสา เครื่องที่ 3 ลดการผลิตเหลือ 200 MW เหตุการณ์นี้ไม่มีไฟฟ้าดับเพราะ กฟผ.สามารถผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าอื่นที่ใช้ก๊าซทดแทน และต่อมาโรงไฟฟ้าหงสา เครื่องที่ 3 หยุดการผลิตฉุกเฉิน หลังเกิดแผ่นดินไหวเพิ่มเติม (After shock)” นายจรรยงกล่าว

    สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาตั้งอยู่ในเมืองหงสา แขวงไซยะบุรี มีกำลังผลิตติดตั้ง 1,878 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 3 หน่วย กำลังผลิตติดตั้งหน่วย ละ 626 เมกะวัตต์ โดยจะผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ประเทศไทย 1,473 เมกะวัตต์ จำหน่ายให้แก่ สปป.ลาว 100 เมกะวัตต์ และส่วนที่เหลือจะใช้สำหรับกระบวนการผลิตทั้งในส่วนของเหมืองและโรงไฟฟ้า


    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/business/detail/9620000111709
     
  8. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7-e0b8aae0b89be0b89b-e0b8a5e0b8b2e0b8a7-e0b984e0b8a1e0b988e0b881e0b8a3.jpg

    วันนี้ (21 พ.ย. 2562) จากการเกิดแผ่นดินไหวใน สปป.ลาว ตรงกันข้าม ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมาจนถึงรุ่งเช้านี้ ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในพื้นที่ จ.เชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียงงจนสามารถรู้ถึงการสั่นไหวได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงเวลา 04.25 ที่มีความแรงตามมาตราวัดริกเตอร์ 4.3 แม็กนิจูด ซึ่งตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ได้รับรู้ถึงการโยกไปมาและวัตถุเบาเลื่อนไหลจนสร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนเล็กน้อย

    [​IMG] [​IMG]

    อย่างไรก็ตามมีการสั่นไหวเพียงช่วงสั้นๆ ทำให้ไม่มีผลกระทบใดๆ มากนัก ล่าสุดทาง น.ส.ธณิกานต์ วรธรรมานนท์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ชายแดนไทย-สปป.ลาว ซึ่งมีที่ตั้งของโบราณสถานและวัดโบราณนับ 100 แห่ง ได้ให้เจ้าหน้าที่ได้ออกสำรวจตามโบราณสถานต่างๆ ว่าได้รับผลกระทบหรือไม่เบื้องต้นจากการตรวจที่วัดเชียงแสนน้อยซึ่งเป็นโบราณสถานที่ที่มีเจดีย์และอาคารอายุหลายร้อยปีไม่พบความเสียหายแต่อย่างใด

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับ อ.เชียงแสน เคยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวหลายครั้ง โดยเมื่อปี 2550 เกิดแผ่นดินไหวใน สปป.ลาว เช่นกันจนทำให้ยอดฉัตรของพระธาตุจอมกิตติ ต.เวียง อ.เชียงแสน หักโค่นลงมา และปี 2554 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในเขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมา ก็ได้ทำให้ยอดของพระธาตุเจดีย์หลวงที่มีความสูง 88 เมตร และฐานกว้าง 24 เมตร อายุเก่าแก่เกือบ 700 ปีหักโค่นลงมารวมทั้งมีโบราณสถานอีกหลายแห่งเสียหายทำให้กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะอย่างหนัก ทำให้เมื่อมีแผ่นดินไหวอีกครั้งเมื่อวันที่ 5 พ.ค.2557 มีศูนย์กลางที่ อ.พาน จ.เชียงราย วัดความแรงได้กว่า 6.1 ก็ไม่ได้รับความเสียหายจนถึงปัจจุบัน


    ขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/local-economy/news-393761
     
  9. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b899e0b8b7e0b8ad-e0b980e0b89de0b989e0b8b2e0b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b887e0b981e0b89ce0b988e0b899.jpg

    21 พฤศจิกายน 2562


    40

    นายอำเภอวังเหนือ จ.ลำปาง สั่งผู้นำพื้นที่ ประกาศเสียงตามสายเฝ้าระวังแผ่นดินไหวตลอด 24ชั่วโมงหวั่นเกิดเหตุซ้ำรอย


    เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2562 หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวบนบก ขนาด 6.4 ความลึก 3 กิโลเมตร บริเวณ สปป.ลาว ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 20 กิโลเมตร เบื้องต้นได้รับรายงานความรู้สึกสั่นไหวในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ในส่วนพื้นที่จังหวัดลำปางหลายอำเภอสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนของแผ่นไหว

    ล่าสุด น.ส.รฌทร สงวนพงศ์ นายอำเภอวังเหนือ จ.ลำปาง ได้สั่งการให้ นายไพรัช ผมไผ ปลัดอำเภอวังเหนือ ลงพื้นที่สำรวจและแจ้งให้ทางกำนันผู้ใหญ่ในพื้นที่อำเภอวังเหนือจำนวน 80 หมู่บ้าน ใน 8 ตำบล ประกาศเสียงตามสายให้เฝ้าระวังแผ่นดินไหวสำรวจความเสียหายและรายงานให้ทางอำเภอวังเหนือทราบทันที

    ด้านนายชาติ ลอยพระดวง ผู้ใหญ่บ้านแม่เลียบ ม.8 ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ จ.ลำปาง เปิดเผยว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ตนพร้อมคณะกรรมการหมู่บ้านได้เข้าตรวจสอบยอดฉัตรเจดีย์วัดพระเกิด ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อายุหลายร้อยปี ตั้งอยู่บ้านแม่เลียบ ม.8 ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ จ.ลำปาง และก่อนหน้านี้ได้เกิดเอียงตัวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อเดือน ก.พ. 2562 ที่ผ่านมา เกรงว่าจะเกิดผลกระทบซ้ำ จากการตรวจสอบเบื้องต้นอยู่ระหว่างเสียหาย แต่อย่างไรก็ตามตนได้ประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านในหมู่บ้านทราบและเฝ้าระวังตามคำสั่งของทางอำเภอวังเหนือ หากได้รับผลกระทบสามารถแจ้งตนทราบตลอด 24 ชั่วโมง

    นายชาติ กล่าวอีกว่า เมื่อช่วงเช้าตนและชาวบ้าน ประมาณ 10 คน ได้พากันออกบ้านเพื่อไปโม่ข้าวกลางทุ่งนา ขณะกำลังขนข้าวซึ่งเกี่ยวไว้ขนขึ้นรถกระบะ เพื่อไปที่รถโม่ข้าวปรากฏว่ารถกระบะที่ขนข้าวสั่นไหวอย่างเห็นได้ชัด ทุกคนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวก่อนจะพากันกลับบ้านทันทีและออกสำรวจในหมู่บ้านทันที

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง




    ข่าวอื่นๆ ในเครือ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855428
     
  10. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b1e0b8a2e0b8a5e0b887e0b89ee0b8b7e0b989e0b899e0b897e0b8b5e0b988e0b895e0b8b4e0b894e0b895e0b8b1.jpg
    นักวิจัยแผ่นดินไหวลงพื้นที่ติดตามการเกิดอาฟเตอร์ช็อคที่ จ.น่าน และติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียงการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ พร้อมแนะสำรวจอาคาร-ออกแบบตาม มยผ.ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดในแอ่งดินอ่อนเพิ่มขึ้น

    จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ผศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ นักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่าแผ่นดินไหวที่ ส.ป.ป.ลาว ในช่วงเวลา 06.50 น. ห่างจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ประมาณ 19 กม.

    เบื้องต้นเชื่อว่าเกิดบนรอยเลื่อนน้ำเป็งซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่อำเภอปัว เมื่อปี 2478 ที่ระยะห่างประมาณ 30 กม. ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่เป็นจำนวนมากจึงเกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้ง ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมามีแผ่นดินไหวขนาดกว่า 6.0 เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อประเทศไทย พม่า และลาวกว่า 7 ครั้ง รวมทั้งครั้งนี้ด้วย

    สำหรับผู้อยู่อาศัยบนอาคารสูงในกรุงเทพมหานครนั้น สามารถรับรู้ถึงแผ่นดินไหวได้ประมาณปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ระยะไกล เนื่องจากการพัฒนาอาคารสูงตามการพัฒนาของเศรษฐกิจในระยะหลัง บุคคลทั่วไปรับรู้แผ่นดินไหวได้มากขึ้นกว่าในอดีต ที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้ศึกษาผลกระทบดินอ่อนต่ออาคารในกรุงเทพมหานคร และพัฒนามาตรฐานการออกแบบแผ่นดินไหวครอบคลุมทุกอำเภอและกรุงเทพมหานคร

    มาตรฐานแผ่นดินไหว (มยผ 1302-61) ซึ่งเผยแพร่โดยกรมโยธาและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กำหนดค่าการออกแบบสำหรับวิศวกรในการออกแบบตึกสูงให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครได้ แต่แม้ว่าจะเผยแพร่มาตรฐานดังกล่าวแล้วประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจถึงการนำไปใช้ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของอาคารต่างๆ ที่จะต้องพิจารณาให้นำมาใช้ในการออกแบบอาคาร

    ผศ.ดร.ธีรพันธ์ระบุอีกว่า การวิจัยลดผลกระทบแผ่นดินไหวสำหรับอาคารในกรุงเทพมหานคร ยังจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดการสั่นไหวในบริเวณแอ่งดินอ่อนเพิ่มขึ้น เพื่อให้วิศวกรนำค่าดังกล่าวไปออกแบบอาคารให้ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เจ้าของอาคาร นิติบุคคล และผู้ใช้งานอาคารสามารถรับทราบถึงความปลอดภัยของอาคารในเวลาที่รวดเร็ว

    “จากผลการวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวที่วัดได้ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลยา พบค่าความเร่งสูงสุดเท่ากับ 0.002g ซึ่งเป็นค่าการสั่นไหวที่ต่ำแต่คนทั่วไปอาจรู้สึกได้ ทว่ายังมีความปลอดภัยจึงไม่จำเป็นต้องระงับการใช้งานอาคาร” ผศ.ดร.ธีรพันธ์กล่าว

    ขณะที่ รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสริมว่าโครงการปรับปรุงมาตรฐานและแก้ไขมาตรฐานความปลอดภัยอาคารต้านทานแผ่นดินไหว มีความสำคัญคือปรับปรุงความเสี่ยงภัยจากข้อมูลที่บันทึกได้มากขึ้น การออกแบบอาคารประเภทต่างๆ ทั้งอาคารขนาดเล็กและอาคารสูงที่พิจารณาพฤติกรรมของอาคารอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้นในทางปฏิบัติ สอดคล้องกับสภาพความรุนแรงของแผ่นดินไหวและสภาพการก่อสร้างอาคารของประเทศไทยในปัจจุบัน

    รวมถึงจัดทำคู่มือปฏิบัติประกอบมาตรฐาน เนื้อหาของการปรับปรุงในแต่ละประเด็น ได้แก่ (1) ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวในรูปของความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมทั่วประเทศ (2) ค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่พิจารณาแอ่งดินลึก (3) ข้อกำหนดในการใช้โครงสร้างแบบความเหนียวจำกัด (4) ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผนังอิฐก่อ (5) ข้อกำหนดการออกแบบฐานราก ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญคือการคำนวณผลรวมของแรงเนื่องจากแผ่นดินไหวและน้ำหนักบรรทุกอื่น ๆ อย่างถูกต้อง (6) การให้รายละเอียดเหล็กเสริมให้เหมาะสมกับประเทศไทย (7) การปรับปรุงวิธีการออกแบบโครงสร้างด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง เพื่อออกแบบกำลังต้านทานแรงเฉือนขององค์อาคารแนวดิ่งเป็นรายชิ้นส่วน (8) อื่น ๆ เช่น ข้อแนะนำการออกแบบกำแพงโครงสร้างคอนกรีต องค์อาคารที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก เป็นต้น

    ด้าน ศ.ดร.อมร พิมานมาศ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ในระดับกลางและระยะไกลแต่ส่งผลให้อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานครได้รับแรงสั่นสะเทือน ทั้งนี้อยากแนะนำให้เจ้าของอาคารตรวจสอบอาคารของตนว่ามีรอยร้าวที่บริเวณใดบ้าง เช่น เสา คาน ผนังอาคาร

    “หากพบรอยร้าวควรแจ้งวิศวกรเข้าตรวจสอบ และควรให้ความใส่ใจกับแผ่นดินไหวที่มาจากทิศตะวันตกและประเทศพม่าซึ่งมีรอยเลื่อนที่มีพลังคือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รวมถึงรอยเลื่อนสะแกงในประเทศเมียนมาซึ่งอาจเกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรงถึง 8.5 และส่งผลกระทบให้อาคารในกรุงเทพมหานครได้รับความเสียหาย”

    สำหรับงานวิจัยที่สำคัญจาก สกสว. อีกหนึ่งงาน คือ แนวทางเสริมกำลังโครงสร้างอาคารขนาดเล็กเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึ่งมี ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนานยางเทคโนโลยีแห่งสิงคโปร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยียพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจัดอบรมและพัฒนาความสามารถในการเสริมกำลัง เป็นแบบอย่างในการประยุกต์ใช้และเผยแพร่เทคโนโลยีในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอื่นๆ ในอนาคต พร้อมจัดทำคู่มือแนวทางการเสริมกำลังอาคารขนาดเล็กซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ โดยควรตรวจสอบความเสื่อมสภาพของวัสดุในอาคาร และลักษณะจุดอ่อนของอาคารด้วยการวิเคราะห์และประเมินเชิงวิศวกรรม แล้วจึงเสริมกำลังตามวิธีที่กำหนด เช่น พอกคอนกรีต ค้ำยันที่ไม่โก่งเดาะ พันด้วยแผ่นเรียบไฟเบอร์กลาส ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบ้านเรือนได้เช่นกัน

    “การเสริมกำลังที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นกับความรุนแรงของแผ่นดินไหว ลักษณะอาคาร และสมรรถนะของอาคารที่ต้องการ จึงควรดำเนินการภายใต้การดูแลและแนะนำของวิศวกรและช่างที่มีความชำนาญ โดยอาคารขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก เช่น บ้านพักอาศัย ตึกแถว โรงเรียน หอพัก สำนักงานขนาดเล็ก ฯลฯ ซึ่งถูกออกแบบไว้รับเฉพาะน้ำหนักตัวอาคารและน้ำหนักบรรทุกจากการใช้งานปกติ โดยไม่คำนึงถึงแรงจากแผ่นดินไหว อาคารที่มีชั้นที่อ่อนแอและเป็นต้นเหตุของการวิบัติ เช่น ชั้นบนของอาคารที่ก่อผนังอิฐทำให้แข็งกว่าชั้นล่าง เสาขนาดเล็ก มีขนาดหรือเสริมเหล็กเท่ากันตลอดความสูงทำให้เสาชั้นล่างไม่แข็งเพียงพอ ชั้นล่างเปิดโล่งจึงอ่อนแอเป็นพิเศษสามารถพังทลายได้โดยล้มพับไปด้านใดด้านหนึ่ง”

    ล่าสุดคณะนักวิจัยของ ผศ. ดร.ภาสกร ปนานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการการศึกษาสภาวะความเค้นของธรณีภาคบริเวณประเทศไทยและการตรวจสอบรูปทรงของรอยเลื่อนมีพลังแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ จากแผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก เพื่อการลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวของประเทศไทย กำลังเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียงการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้และติดตามการเกิดอาฟเตอร์ช็อค เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดได้อย่างไร รวมถึงประเมินผลกระทบจากแผ่นดินไหวเพื่อใช้วางแผนลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อไปในอนาคต

    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/science/detail/9620000111760
     
  11. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    21 พฤศจิกายน 2562


    598

    อำเภอเชียงคำ รับรู้แผ่นดินไหวได้ ชาวบ้านไม่มีอาการตื่นตระหนก ส่วนโรงพยาบาลไม่มีการอพยพผู้ป่วย ไร้ความแตกตื่น


    เมื่อเวลา 04.03 น. วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ประกาศจากทางกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องแผ่นดินไหว มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ประเทศลาว ที่ ลองติจูด 103.33 องศาตะวันออก ขนาด 5.9 ความลึก 5 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ บ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 19 กม. รู้สึกถึงความสั่นไหวบริเวณ จ.น่าน จ.พะเยา จ.เชียงใหม่ จ.เลย จ.ลำปาง ยังไม่มีความคืบหน้ารายงานความเสียหาย

    ด้าน อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ ตรวจสอบ ในตลาดเทศบาลเชียงคำ พบชาวบ้านกำลังพูดคุยถึงเรื่องแผ่นดินไหว ในครั้งนี้กันอย่างตื้นเต้นแต่ไม่มีอาการตื่นตระหนกแต่อย่างใด

    อ่านข่าว-เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ลาว รับรู้ความสั่นไหวถึงกรุงเทพ

    นางต่อม ประวัง อายุ 51 ปี แม่ค้าขายน้ำพริกผักนึ่ง เล่าว่า ตนเองมาตั้งแผงขายของ เวลาประมาณ 04.04 น. มีอาการเหมือนเวียนหัว ตัวโยกไปมาอย่างรุนแรง ถึง 2 ครั้งติดกัน เป็นเวลา 10-15- วินาที ที่เกิดอาการไหวโยก ข้าวของที่จัดวางไหวโยกตาม แต่ไม่มีสิ่งของใดตกหล่นเสียหาย คนที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด รวมถึงพ่อค้าแม่ค้า ต่างพากันเอะอะ ตกใจ กันทั้งตลาด และนี่ก็เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นและพบเจอกับตนเองเป็นครั้งแรก ทำให้ทำอะไรไม่ถกได้แต่ยืนงงและตกใจเล็กน้อย

    0b884e0b8b3-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b9e0b989e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984.jpg

    ต่อมา ผู้สื่อข่าว ไปสำรวจพื้นที่ โรงพยาบาลเชียงคำ พบบรรยายกาศในโรงพยาบาล เงียบ ไร้การอพยพ ผู้ป่วยลงมาจากตึกสูง ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยก็ดำเนินชีวิตเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    นายเดชา กองแก้ว อายุ 34 ปี ชาวบ้านใหม่ ม.5 ต.หย่วน ซึ่งมานั่งรอการรับคิวการรักษาตั้งแต่ เวลา 03.30 น. เผยว่า เวลาประมาณ 04.04 น. ขณะที่ตนเองนั่งๆนอนๆเล่น อยู่ๆก็เกิดการสั่นไหว เวียนหัว และได้ยินเสียง แผ่นเหล็กและแผ่นสังกะสี ที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารใหม่ของโรงพยาบาล ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังที่ตนเองนั่งอยู่ ถึง 2 ครั้งติดกัน ตนเองรู้สึกตกใจเล็กน้อย ส่วนเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและคนป่วยคนอื่น ก็ไม่มีใครตื่นตระหนกตกใจใดๆทั้งสิ้น ส่วนการอพยพคนป่วยที่อยู่ในอาคารสูง ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ

    884e0b8b3-e0b8a3e0b8b1e0b89ae0b8a3e0b8b9e0b989e0b981e0b89ce0b988e0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984-1.jpg

    ต่อมาเวลา 06.50น. ได้เกิดการสั่นไหวอีกครั้ง2-3ครั้งจนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง




    ข่าวอื่นๆ ในเครือ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855391
     
  12. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    วันนี้(21 พ.ย.62) จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศลาวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ผศ. ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ นักวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ( สกสว.) จากมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวที่ ส.ป.ป.ลาว ในช่วงเวลา 06.50 น. ห่างจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ประมาณ 19 กม. เบื้องต้นเชื่อว่าเกิดบนรอยเลื่อนน้ำเป็ง ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่อำเภอปัว เมื่อปี พ.ศ.2478 ที่ระยะห่างประมาณ 30 กม. ซึ่งมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่เป็นจำนวนมากจึงเกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยครั้ง ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมามีแผ่นดินไหวขนาดกว่า 6.0 เกิดขึ้นในบริเวณรอยต่อประเทศไทย เมียนมา และลาวกว่า 7 ครั้ง รวมทั้งครั้งนี้ด้วย

    ทั้งนี้สำหรับผู้อยู่อาศัยบนอาคารสูงในกรุงเทพมหานครนั้นสามารถรับรู้ถึงแผ่นดินไหวได้ประมาณปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ระยะไกล เนื่องจากการพัฒนาอาคารสูงตามการพัฒนาของเศรษฐกิจในระยะหลัง บุคคลทั่วไปรับรู้แผ่นดินไหวได้มากขึ้นกว่าในอดีต ที่ผ่านมาโครงการวิจัยได้ศึกษาผลกระทบดินอ่อนต่ออาคารในกรุงเทพมหานคร และพัฒนามาตรฐานการออกแบบแผ่นดินไหวครอบคลุมทุกอำเภอและกรุงเทพมหานคร โดยมาตรฐานแผ่นดินไหว (มยผ 1302-61) ซึ่งเผยแพร่โดยกรมโยธาและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กำหนดค่าการออกแบบสำหรับวิศวกรในการออกแบบตึกสูงให้ทนทานต่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพมหานครได้ แต่แม้ว่าจะเผยแพร่มาตรฐานดังกล่าวแล้วประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจถึงการนำไปใช้ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่จะต้องพิจารณาให้นำมาใช้ในการออกแบบอาคาร

    ผศ. ดร.ธีรพันธ์ กล่าวว่า การวิจัยลดผลกระทบแผ่นดินไหวสำหรับอาคารในกรุงเทพมหานคร ยังจำเป็นต้องมีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดการสั่นไหวในบริเวณแอ่งดินอ่อนเพิ่มขึ้น เพื่อให้วิศวกรนำค่าดังกล่าวไปออกแบบอาคารให้ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เจ้าของอาคาร นิติบุคคล และผู้ใช้งานอาคารสามารถรับทราบถึงความปลอดภัยของอาคารในเวลาที่รวดเร็ว โดยผลการวิเคราะห์คลื่นแผ่นดินไหวที่วัดได้ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลยา พบค่าความเร่งสูงสุดเท่ากับ 0.002 g ซึ่งเป็นค่าการสั่นไหวที่ต่ำแต่คนทั่วไปอาจรู้สึกได้ ทว่ายังมีความปลอดภัยจึงไม่จำเป็นต้องระงับการใช้งานอาคาร

    ขณะที่ รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสริมว่าโครงการปรับปรุงมาตรฐานและแก้ไขมาตรฐานความปลอดภัยอาคารต้านทานแผ่นดินไหว มีความสำคัญคือปรับปรุงความเสี่ยงภัยจากข้อมูลที่บันทึกได้มากขึ้น การออกแบบอาคารประเภทต่าง ๆ ทั้งอาคารขนาดเล็กและอาคารสูงที่พิจารณาพฤติกรรมของอาคารอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้นในทางปฏิบัติ สอดคล้องกับสภาพความรุนแรงของแผ่นดินไหวและสภาพการก่อสร้างอาคารของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมถึงจัดทำคู่มือปฏิบัติประกอบมาตรฐาน เนื้อหาของการปรับปรุงในแต่ละประเด็น ได้แก่ (1) ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวในรูปของความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมทั่วประเทศ (2) ค่าความเร่งตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่พิจารณาแอ่งดินลึก (3) ข้อกำหนดในการใช้โครงสร้างแบบความเหนียวจำกัด (4) ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผนังอิฐก่อ (5) ข้อกำหนดการออกแบบฐานราก ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญคือการคำนวณผลรวมของแรงเนื่องจากแผ่นดินไหวและน้ำหนักบรรทุกอื่น ๆ อย่างถูกต้อง (6) การให้รายละเอียดเหล็กเสริมให้เหมาะสมกับประเทศไทย (7) การปรับปรุงวิธีการออกแบบโครงสร้างด้วยวิธีสเปกตรัมผลตอบสนอง เพื่อออกแบบกำลังต้านทานแรงเฉือนขององค์อาคารแนวดิ่งเป็นรายชิ้นส่วน (8) อื่น ๆ เช่น ข้อแนะนำการออกแบบกำแพงโครงสร้างคอนกรีต องค์อาคารที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก เป็นต้น

    ด้าน ศ. ดร.อมร พิมานมาศ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ในระดับกลางและระยะไกลแต่ส่งผลให้อาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานครได้รับแรงสั่นสะเทือน ทั้งนี้อยากแนะนำให้เจ้าของอาคารตรวจสอบอาคารของตนว่ามีรอยร้าวที่บริเวณใดบ้าง เช่น เสา คาน ผนังอาคาร เป็นต้น หากพบรอยร้าวควรแจ้งวิศวกรเข้าตรวจสอบ และควรให้ความใส่ใจกับแผ่นดินไหวที่มาจากทิศตะวันตกและประเทศเมียนมา ซึ่งมีรอยเลื่อนที่มีพลังคือ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รวมถึงรอยเลื่อนสะแกงในประเทศเมียนมาซึ่งอาจเกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรงถึง 8.5 และส่งผลกระทบให้อาคารในกรุงเทพมหานครได้รับความเสียหาย

    สำหรับงานวิจัยที่สำคัญจาก สกสว. อีกหนึ่งงาน คือ แนวทางเสริมกำลังโครงสร้างอาคารขนาดเล็กเพื่อป้องกันภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึ่งมี ศ. ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนานยางเทคโนโลยีแห่งสิงคโปร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจัดอบรมและพัฒนาความสามารถในการเสริมกำลัง เป็นแบบอย่างในการประยุกต์ใช้และเผยแพร่เทคโนโลยีในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอื่น ๆ ในอนาคต พร้อมจัดทำคู่มือแนวทางการเสริมกำลังอาคารขนาดเล็กซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ โดยควรตรวจสอบความเสื่อมสภาพของวัสดุในอาคาร และลักษณะจุดอ่อนของอาคารด้วยการวิเคราะห์และประเมินเชิงวิศวกรรม แล้วจึงเสริมกำลังตามวิธีที่กำหนด เช่น พอกคอนกรีต ค้ำยันที่ไม่โก่งเดาะ พันด้วยแผ่นเรียบไฟเบอร์กลาส ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบ้านเรือนได้เช่นกัน

    “การเสริมกำลังที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปขึ้นกับความรุนแรงของแผ่นดินไหว ลักษณะอาคาร และสมรรถนะของอาคารที่ต้องการ จึงควรดำเนินการภายใต้การดูแลและแนะนำของวิศวกรและช่างที่มีความชำนาญ โดยอาคารขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก เช่น บ้านพักอาศัย ตึกแถว โรงเรียน หอพัก สำนักงานขนาดเล็ก ฯลฯ ซึ่งถูกออกแบบไว้รับเฉพาะน้ำหนักตัวอาคารและน้ำหนักบรรทุกจากการใช้งานปกติ โดยไม่คำนึงถึงแรงจากแผ่นดินไหว อาคารที่มีชั้นที่อ่อนแอและเป็นต้นเหตุของการวิบัติ เช่น ชั้นบนของอาคารที่ก่อผนังอิฐทำให้แข็งกว่าชั้นล่าง เสาขนาดเล็ก มีขนาดหรือเสริมเหล็กเท่ากันตลอดความสูงทำให้เสาชั้นล่างไม่แข็งเพียงพอ ชั้นล่างเปิดโล่งจึงอ่อนแอเป็นพิเศษสามารถพังทลายได้โดยล้มพับไปด้านใดด้านหนึ่ง”

    ล่าสุดคณะนักวิจัยของ ผศ. ดร.ภาสกร ปนานนท์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการ “การศึกษาสภาวะความเค้นของธรณีภาคบริเวณประเทศไทยและการตรวจสอบรูปทรงของรอยเลื่อนมีพลังแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ จากแผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก เพื่อการลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวของประเทศไทย” กำลังเดินทางเข้าพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อติดตั้งเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวในบริเวณใกล้เคียงการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้และติดตามการเกิดอาฟเตอร์ช็อค เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดได้อย่างไร รวมถึงประเมินผลกระทบจากแผ่นดินไหวเพื่อใช้วางแผนลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อไปในอนาคต

    ด้านศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่าขณะนี้ วช.ได้เตรียมนำผลงานวิจัยความเสียหายจากแผ่นดินไหว มาใช้เป็นบทเรียนในการเฝ้าระวัง โดยที่ผ่านมาวช.มีผลงานวิจัยที่เป็นข้อมูลอาคารที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งพบว่าอาคารที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่ เป็นอาคารที่ไม่ได้มีวิศวกรควบคุม (Non-engineered structures) ขณะที่อาคารที่ก่อสร้างถูกหลักวิศวกรรม ถึงแม้ว่าไม่ได้รับการออกแบบต้านแผ่นดินไหวก็ตามจะเกิดความเสียหาย น้อยกว่าประมาณ 2 เท่า
    e0b8b1e0b8a2e0b981e0b899e0b8b0e0b8ade0b8b2e0b884e0b8b2e0b8a3e0b8aae0b8b9e0b887e0b980e0b8a1e0b8b7.jpg
    “ในประเทศไทยมีอาคารจำนวนมากที่ถูกก่อสร้าง โดยไม่มีการควบคุมจากวิศวกร จึงอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายหรือพังทลายได้หากเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงในบริเวณใกล้เคียง จึงควรได้รับการดูแล จัดการ และแก้ไขอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน และสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากในเวลานี้ คือ อาคารสูงในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากสภาพชั้นดินของกรุงเทพมหานคร เป็นชั้นดินเหนียวอ่อน แม้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นจากระยะไกล แต่ด้วยสภาพชั้นดินของกรุงเทพมหานคร จะขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้แรงขึ้นได้อีก จึงทำให้อาคารสูงมากกว่า 10 ชั้น หลายแห่งในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะไม่ได้ออกแบบให้รองรับแผ่นดินไหว อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวดังกล่าวได้”




    ขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/it/742817
     
  13. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b981e0b884e0b8a7e0b899e0b989e0b8ade0b8a2e0b8a2e0b8b1e0b887e0b984e0b8a1e0b988e0b8a1e0b8b5e0b89c.jpg

    21 พฤศจิกายน 2562


    320

    ผอ.เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เผยแผ่นดินไหวที่ประเทศลาว แรงแผ่นดินไหว 6.4 ทริกเตอร์ ยังไม่ส่งผลให้ประเทศต่อเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ยืนยันเขื่อนสามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ถึง 7 ริกเตอร์


    เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 62 นายวรวุฒิ เนียมน้อย ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เปิดเผยว่า หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวศูนย์กลางที่ สปป.ลาว แรงแผ่นดินไหว 6.4 ทริกเตอร์ ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่ ซึ่งในส่วนของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนนั้น ในช่วงเช้าที่ผ่านมาได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการสำรวจผลกระทบในครั้งนี้อย่างละเอียด แต่เบื้องต้นไม่ได้รับรายงานความเสียหายแต่อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องจากทางเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนนั้นได้มีการออกแบบให้ตัวเขื่อนสามารถรองรับแผ่นดินไหวในศูนย์กลางถึง 7 ริกเตอร์ ซึ่งแผ่นดินไหวที่ประเทศลาวครั้งนี้ น่าจะได้รับผลกระทบน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้ง เพื่อความแน่ชัดในการได้รับผลกระทบดังกล่าว สำหรับเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ปัจจุบันมีปริมาณน้ำในการกักเก็บล่าสุดอยู่ที่ 484 ล้าน ลบ.ม. หรืออยู่ที่ 52 % น้ำใช้การได้จริง 47% ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะสามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 80 % ตามเป้าหมายของกรมชลประทาน

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง




    ข่าวอื่นๆ ในเครือ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/855401
     
  14. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b981e0b882-e0b895e0b881e0b983e0b888e0b882e0b8b1e0b989e0b899e0b8aae0b8b8e0b894e0b980e0b8a5e0b988.jpg

    จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สปป.ลาว เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (21 พ.ย.) วัดขนาดความรุนแรงได้ 5.9 แมกนิจูด แรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ถึงจังหวัดน่าน แพร่ พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง เลย ขอนแก่น อุดรธานี และจังหวัดกรุงเทพมหานครที่ตามอาคารสูงๆ สามารถรับรู้ได้ จากในโซเชียลมีการนำคลิปที่แรงสั่นสะเทือนสามารถรับรู้ได้มาเผยแพร่ให้เห็น

    รวมถึง ดีเจต้นหอม ที่พักอาศัยอยู่บนคอนโดย่านที่เจ้าต้วได้นำคลิปขณะที่ตนเองและเพื่อนสนิทคือ รัศมีแข พร้อมกับ น้องปกป้อง ลูกชายบุญธรรมของเธอกำลังนอนหลับพักผ่อนอยู่ แต่โคมไฟได้สั่นไหวและสั่นสะเทือนไปมาจนเธอตกใจ

    โดยเฉพาะ รัศมีแข ที่ตกใจมากได้อุ้ม น้องปกป้อง หนีลงมาด้านล่างเป็นการด่วน “ความลุง…กลัวมากสมองคิดถึงแต่หลาน กูอุ้มหลานหนีเลยจ้า รู้ตัวอีกทีอ่าวแม่อีมันอยู่ข้างบน

    ภาพดังกล่าว ต้นหอม ได้บันทึกไว้พร้อมกับเล่าถึงความพีคขั้นสุดทีว่า เพื่อนตกใจมากจนทิ้งเธอไว้เพียงลำพังในห้อง

    บอกเลยว่าเป็นแผ่นดินไหวที่คนเมืองกรุงต่างตกใจเป็นอย่างมาก เพราะรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนรวมถึงมีหลายคนที่มีได้สัมผัสถึงเหตุการณ์ร่วมกัน

    ขอบคุณที่มา
    https://www.sanook.com/news/7959766/
     
  15. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b8a7e0b984e0b8a1e0b988e0b984e0b894e0b989e0b881e0b8a3e0b8b0.jpg


    เชียงใหม่- สำนักงานชลประทานที่ 1 สำรวจเขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง หลังเกิดแผ่นดินไหวที่สปป.ลาว ไม่ส่งผลกระทบ สภาพยังมั่นคงแข็งแรง


    นายศุภมิตร กฤษณมิตร วิศกรชลประทานชำนาญการ หัวหน้าฝ่ายปลอดภัยเขื่อน สำนักงานชลประทานที่ 1 เปิดเผยว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด ขนาด 5.9 และขนาด 6.4 ที่สปป.ลาว ได้สำรวจผลกระทบต่อเขื่อนขนาดใหญ่ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางสำคัญ จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วยที่จังหวัดเชียงใหม่ 3 แห่ง คือ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง อ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง อ.ไชยปราการ อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ฮ่องสอน และอ่างเก็บน้ำโป่งอ่อน อ.เมืองแม่ฮ่องสอน และการสำรวจโดยผู้เชี่ยวชาญอีก 1 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มีสภาพทางกายภาพที่มั่นคง แข็งแรง และมีความปลอดภัย สามารถใช้งานได้ตามปกติ ขอให้ประชาชนในพื้นที่มั่นใจในความปลอดภัย

    การเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งแต่ไม่รุนแรงกลับส่งผลดีต่อพื้นที่ เนื่องจากเกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาเรื่อยๆ ไม่สะสม ซึ่งหากเป็นการปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างรุนแรงในครั้งเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-242822 ในวันและเวลาราชการ

    ข่าวอื่นๆ
    ข่าวที่เกี่ยวข้องในอดีต


    ขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/social/local/607035
     
  16. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    b8b2e0b8a7e0b980e0b8a7e0b8ade0b8a3e0b98c-e0b89ae0b8b5e0b881e0b8a3e0b8b4e0b8a1-e0b8a2e0b8b1e0b899.jpg
    โรงไฟฟ้าไซยะบุรี (แฟ้มภาพ)
    บี.กริม.ยืนยันแผ่นดินไหวไม่กระทบ 2 โรงไฟฟ้าในลาว เซกะตำ-น้ำแจ มาตรฐานสูง “ซีเค พาวเวอร์” ยันไม่ได้รับความเสียหาย โรงไฟฟ้าไชยะบุระ-น้ำงึม2 จ่ายไฟตามปกติ ฟากโรงไฟฟ้าหงสา เผยกำลังเร่งตรวจสอบผลกระทบ

    นายสุรศักดิ์ พันธ์เครือวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (ลาว) จำกัด เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศ สปป.ลาวเช้าวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ไม่ส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าของบริษัท ทั้งในส่วนของโรงไฟฟ้าเซกะตำ และน้ำแจ โดยแม้ว่ารัศมีจากจุดเกิดเหตุจนถึงโรงไฟฟ้าประมาณ 400-500 กม. ซึ่งใกล้กว่า รัศมีจากจุดเกิดเหตุถึงประเทศไทย แต่โรงไฟฟ้าอยู่บริเวณสันเขาอีกด้าน อีกทั้งโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กใช้ระบบรันออฟ และมีการออกแบบและวางมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัย (Safe Monitering Programe) ตามแบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ใช้ในเขื่อนใหญ่ๆของไทย ทั้งภูมิพล สิริกิติต์ จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัย



    “เมื่อเช้าหลังจากเกิดเหตุได้มีทีมลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว ไม่มีรายงานความเสียหาย ขณะนี้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าปกติ โดยมีการใช้กำลังการผลิตอยู่ประมาณ 50% เพราะเข้าช่วงฤดูแล้ง” นายสุรศักดิ์กล่าว

    รายงานข่าวระบุว่า โรงไฟฟ้าเซกะตำ ตั้งอยู่ที่แขวงจำปาสัก ประเทศสปป.ลาว มีขนาด 13.4 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (ลาว) จำกัด หรือ BGPL และบริษัท เอสวี กรุ๊ป จำกัด เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ให้กับการไฟฟ้าลาว ตั้งแต่ กรกฎาคม 2560 ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 25 ปี และโรงไฟฟ้าน้ำแจมีขนาด 15 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่เขตพิเศษไชยสมบูรณ์ สปป.ลาว เริ่มเปิดดำเนินการขายไฟเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 โดยบริษัท น้ำแจ ไฮโดร เพาเวอร์ จำกัด

    [​IMG] [​IMG]

    @แผ่นดินไหวไม่กระทบ 2 โรงไฟฟ้า CKP

    ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ทางบริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP ก็ได้ออกรายงานยืนยันว่า โรงไฟฟ้าไซยะบุรีและน้ำงึม 2 ของบริษัทก็ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวใน สปป.ลาว เช่นกัน โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์ ก็ได้สำรวจโครงสร้างโรงไฟฟ้าไปเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 21 พฤศจิกายนแล้ว ไม่ได้รับความเสียหาย และขณะนี้ได้เดินเครื่องผลิตและจ่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ตามสัญญาอย่างต่อเนื่องปกติ

    อย่างไรก็ตาม บริษัท ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดโดยโครงสร้างและอุปกรณ์ทุกส่วนของโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด

    @ โรงไฟฟ้าหงสา เร่งตรวจสอบผลกระทบแผ่นดินไหวลาว

    นายคฑายุทธ์ ชูพล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1/ 2019 ระบุว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ สปป.ลาว ในช่วงเช้าของวันนี้ (21 พ.ย.62) วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.9 ริกเตอร์ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านน้ำช้าง ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ประมาณ 19 กม. ขณะนี้หน่วยงานและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กำลังเข้าติดตามสถานการณ์และความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยจะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบต่อไป


    ขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/economy/news-393839
     
  17. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b989e0b8b2e0b8abe0b887e0b8aae0b8b2e0b8abe0b8a2e0b8b8e0b894e0b980e0b894e0b8b4e0b899e0b980e0b884.jpg
    USGS

    เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ออกแถลงการณ์ ระบุว่า จากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าวันที่ 21 พฤศจิกายน ซึ่งมีศูนย์กลางห่างจากโรงไฟฟ้าหงสาไปทางทิศใต้ราว 21 กิโลเมตร และยังมีาอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้งนั้น ระบบป้องกันความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือนของอุปกรณ์หลักในโรงไฟฟ้าได้ทำงานตามขั้นตอนปกติ เพื่อหยุดการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า ซึ่งขณนะ บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้หยุดการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว และได้เริ่มเข้าไปสำรวจความเสียหายของโรงไฟฟ้า ระบบสายส่งเหมืองถ่านหิน เหมืองหินปูน เขื่อนน้ำเลือก และเขื่อนน้ำแก่น ในเบื้องต้นยังไม่พบความเสียหายของโครงสร้างหลักของสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นในการดำเนินงาน และไม่มีผู้ได้รับความบาดเจ็บ พบเพียงแต่ความเสียหายเกิดขึ้นในส่วนของพื้นผิวของสิ่งปลูกสร้างเหล่านั้น

    โดยบริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ในการตรวจอสบเบื้องต้น และจะแจ้งความคืบหน้าของถสานการณ์และความเสียหายจากเหตุดังกล่าวให้ได้ทราบต่อไป

    ทั้งนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์และเอเอฟพีรายงานว่า เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นบริเวณชายแดนไทยกับลาว เมื่อช่วงเช้าวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหายรุนแรงใดๆเกิดขึ้น

    โดยสำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (ยูเอสจีเอส) แจ้งว่า เหตุรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 06.50 น. ของวันที่ 21 พฤศจิกายน ตามเวลาท้องถิ่น วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.1 แมกนิจูด โดยมีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 10 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองน่าน ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 92 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนรับรู้ไดทั่วตอนเหนือของประเทศไทย รวมทั้งตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวกว่า 600 กิโลเมตร ขณะที่มีรายงานเกิดแรงสั่นสะเทือนหลังแผ่นดินไหวหรืออาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้ง
    เอเอฟพีรายงานด้วยว่า กรุงฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม ก็รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น โดยก่อนหน้าที่จะเกิดแผ่นดินขาด 6.1 แมกนิจูด ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 5.7 แมกนิจูดขึ้นในบริเวณเดียวกันในประเทศลาว ซึ่งใกล้กับบริเวณโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานความเสียหายเกิดขึ้นกับเขื่อนไซยะบุรีแต่อย่างใด


    matichon


    ขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/foreign/news_1762622
     
  18. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b1e0b989e0b887e0b8a8e0b8b9e0b899e0b8a2e0b98ce0b895e0b8b4e0b894e0b895e0b8b2e0b8a1e0b8aae0b896.jpg

    21 พฤศจิกายน 2562


    30

    ผู้ว่าฯพะเยา สั่งการให้อำเภอทุกแห่ง ตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์และผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวใน สปป.ลาว


    นายศักดิ์ชัย โชติมานนท์ ปลัดจังหวัดพะเยา ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศ เรื่องแผ่นดินไหว สปป.ลาว เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 เวลา 04.03 น. เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศลาว ขนาด 5.9 ความลึก 5 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านน้ำช้าง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ประมาณ 19 กิโลเมตร และต่อมาในเวลา 06.50 น. ได้เกิดแผนดินไหวบริเวณใกล้เคียงจุดเดิม ขนาด 6.4 โดยปัจจุบันประเทศลาวยังคงมีแผ่นดินไหวตามมา (Aftershock) ต่อเนื่องหลายครั้ง ดังนั้น กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพะเยา ได้สั่งการให้นายอำเภอ ทุกอำเภอ ผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ ทุกอำเภอ นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา และนายกเทศมนตรีเมืองดอกคำใต้ จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ และผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศลาว เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง นอกนั้นให้ทำการสำรวจความเสียหายในพื้นที่ และให้การช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบ หลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยทันที พร้อมชี้แจง ทำความเข้าใจให้ประชาชน ทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดความตื่นตระหนก รวมถึงแนวทางการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ และแนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุให้รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบต่อไป

    ข่าวที่เกี่ยวข้อง




    ข่าวอื่นๆ ในเครือ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.bangkokbiznews.com/news...slide_recentnews&utm_medium=internal_referral
     
  19. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b2e0b899e0b8ade0b8ade0b881e0b8aae0b8b3e0b8a3e0b8a7e0b888e0b980e0b882e0b8b7e0b988e0b8ade0b899.jpg

    สำนักงานชลประทานที่ 1 ยืนยันเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ลาว ไม่ส่งผลกระทบต่อเขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางในพื้นที่

    นายศุภมิตร กฤษณมิตร วิศวกรชลประทานชำนาญการ หัวหน้าฝ่ายปลอดภัยเขื่อน สำนักงานชลประทานที่ 1 เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.9 แมกนิจูด ความลึก 5 กิโลเมตร เมื่อเวลาประมาณ 04.03 น. วันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 โดยมีจุดศูนย์กลางที่บริเวณชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวใกล้กับจังหวัดน่านของประเทศไทย

    ต่อมาในเวลา 06.52 น. เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งขนาด 6.4 แมกนิจูด ความลึก 3 กิโลเมตร จากจุดศูนย์กลางเดิม ที่สามารถรับรู้ความสั่นไหวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคอีสานเป็นวงกว้าง ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 1 โดยฝ่ายความปลอดภัยเขื่อน ได้ทำการสำรวจผลกระทบต่อเขื่อนขนาดใหญ่ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางสำคัญ จำนวน 6 แห่ง

    โดยมีการติดตั้งเครื่องมือวัดผลกระทบจากแผ่นดินไหวใน 5 แห่ง อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 3 แห่ง คือ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง อ่างเก็บน้ำแม่ทะลบหลวง อำเภอไชยปราการ อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ฮ่องสอน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอ่างเก็บน้ำโป่งอ่อน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และการสำรวจโดยผู้เชี่ยวชาญอีก 1 แห่ง คือ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

    เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 2 แห่ง และอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่ง มีสภาพทางกายภาพที่มั่นคง แข็งแรง และมีความปลอดภัย สามารถใช้งานได้ตามปกติขอให้ประชาชนในพื้นที่มั่นใจในความปลอดภัยของเขื่อนขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางดังกล่าว นอกจากนี้การเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งแต่ไม่รุนแรงกลับส่งผลดีต่อพื้นที่ และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-242822 ในวันและเวลาราชการ

    ขอบคุณที่มา
    https://www.sanook.com/news/7959935/
     
  20. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    ข่าวดี ลดค่าโดยสาร MRT สายสีม่วง จ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย


    ลดค่าโดยสาร MRT – นับเป็นข่าวดีของผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะในกรุงเทพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง MRT ล่าสุด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ MRTA ขานรับนโยบายรัฐบาล จัดโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร MRT สายสีม่วงจ่ายสูงสุด 20 บาทตลอดสาย และโปรโมชั่นเที่ยวเดินทางแบบ 30 วัน ใช้เดินทางเชื่อมระหว่าง MRT สายสีน้ำเงิน และ MRT สายสีม่วง เริ่มตั้งแต่ 25 ธันวาคม นี้ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน

    นโยบายดี ๆ นี้เกิดขึ้นหลังจาก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า โดยไม่มีผลกระทบต่อสัญญา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและเป็นการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน

    ต่อมา นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ รฟม. ครั้งที่ 9/2562 ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องแนวทางการปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า และโปรโมชั่นเที่ยวเดินทางแบบ 30 วัน ดังนี้

    โปรโมชั่นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ในวันธรรมดา (จันทร์ – ศุกร์) ช่วงเวลา 09.00 – 17.00 น. และวันหยุด (เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ทั้งวัน

    จากเดิมเก็บค่าโดยสารในอัตรา 14 – 42 บาทต่อเที่ยว สำหรับบุคคลทั่วไป โดยจะปรับค่าโดยสารเป็น 14 – 20 บาท สำหรับผู้ถือบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป รวมถึงผู้ซื้อเหรียญโดยสาร (Token) และใช้เดินทางภายในช่วงเวลาที่กำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • เดินทางเข้าสถานีแรก คิดค่าแรกเข้า 14 บาท
    • เดินทาง 1 สถานี คิดค่าโดยสารตามระยะทาง 17 บาท
    • เดินทาง 2 สถานี ขึ้นไป คิดค่าโดยสาร 20 บาท ตลอดสาย

    สำหรับผู้ถือบัตรโดยสารประเภทเด็ก อายุไม่เกิน 14 ปี (วันเกิดครบรอบ 14 ปี) และมีความสูงระหว่าง 91-120 ซม. และผู้สูงอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะได้รับส่วนลด 50% สำหรับผู้ถือบัตรโดยสารประเภทนักเรียน/นักศึกษา ที่มีอายุเกินวันเกิดครบอายุ 14 ปี แต่ไม่เกินวันเกิดครบ 23 ปี จะได้รับส่วนลด 10% จากอัตราค่าโดยสารดังกล่าวข้างต้น

    โปรโมชั่นเที่ยวเดินทางแบบ 30 วัน เพื่อใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และ/หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง)

    จากเดิมการเดินทางเชื่อม 2 สาย มีอัตราค่าโดยสารร่วมสูงสุด 70 บาทต่อเที่ยว โดยผู้ถือบัตรโดยสารประเภทบุคคลทั่วไป ได้แก่ บัตร MRT บัตร MRT PLUS บัตรโดยสารธุรกิจ และบัตรร่วมธุรกิจ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องออกบัตรโดยสารประจำสถานี เพื่อเติมโปรโมชั่นเที่ยวเดินทางแบบ 30 วัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    • เที่ยวเดินทาง จำนวน 15 เที่ยว ราคา 780 บาท
    • เที่ยวเดินทาง จำนวน 25 เที่ยว ราคา 1,250 บาท
    • เที่ยวเดินทาง จำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,920 บาท
    • เที่ยวเดินทาง จำนวน 50 เที่ยว ราคา 2,350 บาท

    ทั้งนี้ มีกำหนดการใช้เดินทางครั้งแรกภายใน 45 วันนับจากวันที่ซื้อ หากพ้นกำหนดจะไม่สามารถใช้เดินทางได้และสามารถใช้เดินทางได้เป็นระยะเวลา 30 วันนับจากวันที่ใช้เดินทางครั้งแรก ในกรณีผู้โดยสารเดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ในช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) จะคิดอัตราค่าโดยสารเป็นราคาต่อเที่ยว ไม่สามารถใช้อัตราโปรโมชั่นช่วงนอกเวลาเร่งด่วน (Off Peak) ของสายสีม่วงได้

    สำหรับโปรโมชั่นลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เฉพาะช่วงนอกเวลาเร่งด่วน และโปรโมชั่นเที่ยวเดินทางแบบ 30 วัน ข้างต้นนี้ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนตามนโยบายภาครัฐ ทั้งยังส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการเดินทาง และลดปัญหามลพิษทางอากาศ ติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044 และ ศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0 2624 5200

    0b899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b8a7-e0b980e0b882e0b8a2e0b988e0b8b2e0b8ad.jpg 899e0b894e0b8b4e0b899e0b984e0b8abe0b8a7e0b8a5e0b8b2e0b8a7-e0b980e0b882e0b8a2e0b988e0b8b2e0b8ad-1.jpg

    ติดตามรายละเอียดและข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0 2716 4044 และ ศูนย์บริการข้อมูล โทร. 0 2624 5200

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

    ติดตามข่าวสารจาก The Thaiger ได้ทางเฟซบุ๊ก.ขอบคุณที่มา
    https://thethaiger.com/thai/news-th/thailand-th/ภาพแผ่นดินไหวลาว-เขย่าอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...