รูปนาม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 15 พฤษภาคม 2015.

  1. hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    รู้ก็ส่วนรู้ แค่รู้

    ต้องทำให้วิบากหมดไปด้วย

    ต้องเรียนรู้เพิ่มว่าวิบากเกิดได้อย่างไร ลดได้อย่างไร ทำให้หายไปได้อย่างไร
     
  2. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    ยุ่งยากจินๆนะชีวิตนี้ :d ถ้าไม่ไหวก็ธาตุน้ำแดงไปเลยครับ เขย่าๆขวดก่อนดื่ม
     
  3. ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อ้อ!!ฮะ
     
  4. ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    อ้อ!!ครับ
     
  5. ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เคยอ่านโจทย์ที่เคยเข้าใจมาแล้ว
    แต่มาเจอคำตอบใหม่ๆ ก็เลยเกิดสงสัยใหม่
    ก็ต้องหาคำตอบใหม่

    จะให้กินยาธาตุน้ำแดงทำไมล่ะ!!?คิกคิก
    ท่านแผงลอยล้อเลื่อน!!!?
     
  6. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    การแสดงขันธ์ ๕ ผู้ศึกษาต้องเรียนรู้เข้าใจทั้งสองแบบ

    อย่างที่ลุงหมานนำชาร์ตมาแสดงนี่แบบหนึ่ง กับ ที่ท่านแสดงแนวปฏิจจสมุปบาทอีกแบบหนึ่ง



    ของลุงหมาน อุปมาเหมือนแสดงเรื่องรถซึ่งจอดอยู่กับที่ แล้วแยกส่วนประกอบทั้งหมดอธิบายส่วนประกอบของรถว่ามีอะไรบ้าง ... เช่น นี่ เรียก ล้อ นี่ เรียก เบรค เป็นต้น แยกออกทั้งหมด

    ส่วนแบบที่สองอุปมาเหมือนรถที่ใช้งานจริงวิ่งปุเหล่งๆๆไป เครื่องเคราส่วนประกอบทุกอย่างทำงานร่วมกันไปด้วยกัน (แบบนี้เหมือนชีวิตทั้งชีวิตทีี่ดำเนินไป)
     
  7. มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ตัวอย่างที่ผมนำมาส่วนมาก เหมือนชีวิต (รถ) ซึ่งดำเนินไป เป็นไปตามสภาพของมัน

     
  8. ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    รู้ตอนพิจรณาความเกิด-ดับของรูปนาม ด้วยจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ สมาธิชอบ ในมรรคข้อที่ 8
     
  9. ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ขยายความ คำว่าดูความเกิด-ความดับหมายความว่าทำสมาธิให้จิตตั้งมั่นชอบ กำหนดสติและอารมณ์สมาธิให้ปราศจากเหตุรบกวน ให้กำหนดสติไปที่ฐานศูนย์กลางกายแยกรูปแยกนามออกจากกันคือให้จิตสงบและสงัด ความเกิดแห่งรูปอยู่ที่อารมณ์ละเอียดพร้อมกับดับไป ความเกิดแห่งนามคืออารมณ์ต่างๆอยู่ที่อารมณ์ละเอียดของจิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิพร้อมกับดับไป เหลือใจล้วนที่เป็นจิตคือองค์ธรรมที่ลอยเด่นเป็นสง่าในใจ ที่ใจสงัดและสงบ ทำด้วยสภาวะง่ายๆคืออุเบกขาหรือปล่อยวาง เมื่อสติครบบริบูรย์สัมมาญานย่อมเกิด ตามด้วยสัมมาวิมุติ คือจิตที่หลุดพ้นได้ใจตน เพิ่มเติมสังโยชน์ข้อที่ 3 ศีลัพรตปรามาสหมายความว่าควรถือศีล 5 คือไม่มีเจตนาละเมิดศีล ทำควบพร้อมกับกุศลกรรมบท 10 เป็นทางเจริญ
     
  10. ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    633
    ค่าพลัง:
    +790
    ขออภัยนะครับ ขอให้พิจารณาความต่อไปกัน และลองศึกษาจากที่อื่นเพิ่มก็ได้นะครับ ผมยกมาจากที่อื่น
    ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350) เพราะฉะนั้น นิพพานจึงไม่ใช่จิต หรือสัมปชัญญะบริสุทธิ์ ซึ่งนั่นเป็นลักษณะของพรหมันหรืออาตมันของปรัชญาฮินดู ทั้งยังไม่ใช่เจตสิกที่อาศัยจิตเกิดขึ้น เพราะทั้งจิตและเจตสิกนั้นล้วนเป็นสังขตธรรม ซึ่งต้องอาศัยปัจจัยปรุงแต่ง มีธรรมชาติเกิดดับ มีการเปลี่ยนแปร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ แต่นิพพานอยู่เหนือสภาพเช่นนี้ และว่างเปล่าจากสิ่งเหล่านี้ ขณะเดียวกัน นิพพานก็ไม่ใช่ความดับสูญอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นลักษณะของอุจเฉททิฏฐิการใช้ภาษาอธิบายนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นอัตตาเที่ยงแท้ (สัสสตทิฏฐิ) หรือว่าเป็นความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งเป็นทัศนะที่คลาดเคลื่อนจากพระบาลีทั้งสิ้น

    พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" (ที.สี.14/90) ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่สมมติว่าเป็น ตัวตน สัตว์ บุคคล เราเขา นี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุด ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปก็เป็นอันยุติลง สภาพความสิ้นสุดกระบวนการแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยงแปรปรวนอยู่ทุกขณะนี้ เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามดับ นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานตั้งอยู่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่าอสังขตธรรมในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตั้งใจพิจารณาตามเราให้ดีๆ

    คันธัพพะ มันคือตัวทุกข์ ในบุรุษ รังไข่เป็นตัวทุกข์ ในสตรี ต่างคนต่างเอาขันธ์๕ ของตนมาประชุมกัน จึงเป็นทุกข์คูณ ๓๔๕๖๗๘๙๑๐ฯ
    ขันธ์๕คือทุกข์รูปนามเป็นเช่นเดียวกับ มหาไตรลักษณะคือ ธรรมชาติธรรมดาของมันอย่างนั้น ! เป็นอยู่แล้ว แต่มันจะเป็นช่องว่างระหว่าง การจะเป็นรูปนามจริงๆ อุปมาเสมือนผู้เดินทาง แต่ยังเดินทางไม่ถึง ทุกข์นี้จึงหมดไปก่อน คันธัพพะจึงจัดอยู่ในสิ่งที่ไม่เที่ยงด้วย คันธัพพะจึงเป็นสิ่งอยู่ระหว่างการเกิด และการไม่เกิด คันธัพพะก็คือกามด้วย เป็นสิ่งที่ควรละ เพราะคันธัพพะนั้นเกิดจากกาม หลั่งเอง ฝันเปียกก็ว่า นี่เป็นผู้ไม่มีสติ ท่านก็ทรงตรัสไว้แล้ว ว่าผู้มีสติย่อมไม่หลั่งอสุจิ ที่สุดของคันธัพพะคือทุกข์


    คันธัพพะจะเริ่มมีวิญญานเมื่อปฎิสนธิ จึงจะสามารถเป็น นาม ก่อนเป็นรูป หรืออาจเป็นรูป ก่อนนามก็ได้ แล้วแต่ว่า จองครรภ์ไว้หรือยัง ?
    จำไว้นะ จองครรภ์ คือ รู้ว่าจะต้องไปเกิดกับคนนั้นคนนี้ คือรู้ก่อนและเลือกได้สำหรับผู้มีบุญฯ ไม่มีบุญฯก็เลือกไม่ได้ จองไม่ได้ มีแต่เขาไล่ไปเกิดและผลักไสจำใจไปเกิด



    เดี๋ยวหาว่ามั่วมา นี่คือการจองครรภ์
    (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้
    เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง(ยังเวียนว่ายในสังสารวัฏ)
    อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ
    กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือละเอียด เป็นที่ ๑
    ผัสสาหารเป็นที่ ๒
    มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓
    วิญญาณาหารเป็นที่ ๔.)


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ
    เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ
    ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้


    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้น ถูกละ พวกเธอกล่าวอย่างนั้น
    แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น คือ
    (ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรม ฝ่ายสมุทยวารหรือฝ่ายเกิดทุกข์ )
    เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม รูปจึงมี
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
    เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
    เพราะชาติเป็น ปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี
    ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้ อย่างนี้.

    ชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยขันธ์ ๕ แต่ย่อลงคงได้แก่รูปกับนาม

    ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่,ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์
    คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ ๕ ส่วน หรือ ๕ ขันธ์ คือ

    ๑. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
    ๒. เวทนา ได้แก่ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบหรือไม่ชอบ และเฉยๆ
    ๓. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
    ๔. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
    ๕. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ต้องแยก
    ขันธ์นี้ รูปจัดเป็นรูปธรรม เวทนา,สัญญา,สังขาร, วิญญาณจัดเป็นนามธรรม เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม
    วิญญาณขันธ์ จัดเข้าใน จิต ๘๙
    เวทนาขันธ์ ,สัญญาขันธ์ ,สังขารขันธ์ จัดเข้าในเจตสิก ๕๒
    รูปขันธ์ จัดเข้าในรูป ๒๘
    การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จัดเข้าในนิพพาน

    การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่ออะไรต้องเข้าใจ ก็เป็นการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์
    ทุกข์นั้น คือ อะไร ได้แก่ ขันธ์ ๕ (รูปนามที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย และวนเวียนอยู่ในขณะนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น)

    จะพ้นทุกข็ได้ด้วยการเห็นอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
    อริยสัจจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    จะเห็นอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ ได้ต้องทำกิจ คือ

    ทุกข์ ได้แก่ ขันธ์ หรือ รูปนาม เป็นกิจที่ควรกำหนดรู้อย่างเดียว
    สมุทัย ได้แก่ กิเลส ตัณหา ๓ เป็นกิจที่ควรทำให้หมดไป
    นิโรธ ได้แก่ นิพพาน เป็นกิจที่ควรทำให้แจ้งด้วยการเรียนคันถธุระ และทำให้ถึงด้วยการปฏิบัติ
    มรรค ได้แก่ มรรค ๘ เป็นกิจที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พอจะพิจารณาตามได้ไหม? ลุงหมานตอบให้แล้วนะ!

    {O}มหาปัญญา{O}
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รู้โดยปรมัตถ์

    ก่อนจุติ ขณะจุติ หลังจุติ
    รู้ตัวมีสติก่อนก้าวลงสู่ครรภ์ อาศัยในครรภ์ก็รู้ตัวมีสติ ออกจากครรภ์ก็รู้ตัวมีสติ จนเข้าสู่พระนิพพานก็รู้ว่าเป็นบรมสุข
    นี่คือรู้แบบสุดยอดแบบพระมหาโพธิสัตว์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่าวิญญาณอาศัย ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
    พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.



    ที่สำคัญคือเห็นเพื่ออะไรต่างหาก! เห็นเพื่อจะทำอะไร? เห็นเพื่อประโยชน์อะไร? เห็นเพื่อหยั่งรู้อะไร?

    เห็นตอนมีขันธ์ ๕ ขันธปัญจก แล้วเท่านั้น!

    สฬายตนะ หมาย ถึง อายตนะภายในหกอย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้
    เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง(ยังเวียนว่ายในสังสารวัฏ)
    อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? อาหาร ๔ อย่าง คือ
    กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือละเอียด เป็นที่ ๑
    ผัสสาหารเป็นที่ ๒
    มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ ๓
    วิญญาณาหารเป็นที่ ๔.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    อาหาร ๔ เหล่านี้ มีตัณหาเป็นเหตุ มีตัณหาเป็นสมุทัย มีตัณหาเป็นชาติ มีตัณหาเป็นแดนเกิด.
    (กล่าวคือ อาหาร ๔ มีตัณหาที่เป็นเหตุหรือสิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น กล่าวคือจึงเกิดการแสวงหาอาหาร ๔ ต่างๆขึ้น, อาหาร ๔ มีตัณหาเป็นเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น, อาหาร ๔ มีตัณหาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิด(ชาติ)ขึ้น, อาหาร ๔ ต้องอาศัยตัณหาป็นถิ่นหรือแดนเกิด)
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ตัณหานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นชาติ มีเวทนาเป็นแดนเกิด.
    (กล่าวคือ ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุหรือสิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น, ตัณหา มีเวทนาเป็นเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น, ตัณหา มีเวทนาสิ่งที่ทำให้เกิด(ชาติ)ขึ้น, ตัณหา ต้องอาศัยเวทนาเป็นถิ่นหรือแดนเกิด)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    เวทนา มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นสมุทัย มีผัสสะเป็นชาติ มีผัสสะเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นสมุทัย มีสฬายตนะเป็นชาติ มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    สฬายตนะ มีนามรูปเป็นเหตุ มีนามรูปเป็นสมุทัย มีนามรูปเป็นชาติ มีนามรูปเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นามรูปนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    นามรูป มีวิญญาณเป็นเหตุ มีวิญญาณเป็นสมุทัย มีวิญญาณเป็นชาติ มีวิญญาณเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    วิญญาณ มีสังขารเป็น เหตุ มีสังขารเป็นสมุทัย มีสังขารเป็นชาติ มีสังขารเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขาร ทั้งหลายนี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด?
    สังขาร ทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นสมุทัย มีอวิชชาเป็นชาติ มีอวิชชาเป็นแดนเกิด.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
    วิญญาณมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
    นามรูปมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
    สฬายตนะมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
    ผัสสะมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
    เวทนามี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย
    ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
    อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
    ภพมี เพราะอุปทานเป็นปัจจัย
    ชาติมี เพราะภพเป็นปัจจัย
    ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสมี เพราะชาติเป็นปัจจัย
    ด้วยประการ ฉะนี้แล ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้.


    ถ้าคิดว่ามีธาตุรู้อื่นที่รู้ก่อนมีขันธ์และไม่มีขันธ์ นั่น อนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว คิดซะใหม่

    ที่สำคัญ ธาตุรู้ที่ว่า ต้องมาจากขันธ์๕ เป็น ขันธปัญจกแล้วเท่านั้น
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆเกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    กล่าวคือ วิญญาณเกิดแต่เหตุมาเป็นปัจจัยกันดังนี้ อายตนะภายใน ไปกระทบกับ อายตนะภายนอก การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ วิญญาณ๖
    อันเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ที่แจงไว้ในเรื่องขันธ์ ๕ อยู่เสมอๆ กล่าวคือ
    วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ หรือเป็นไปดังนี้ จักษุ(ตา) ไปกระทบกับ รูป การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ จักษุวิญญาณ
    วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ โสต(หู) ไปกระทบกับ เสียง การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ โสตวิญญาณ
    วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ ฆานะ(จมูก) ไปกระทบกับ กลิ่น การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ ฆานวิญญาณ
    วิญญาณ อาศัยชิวหาและรส ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ ชิวหา(ลิ้น) ไปกระทบกับ รส การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
    วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ กาย ไปกระทบกับ โผฏฐัพพะ การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ กายวิญญาณ
    วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ มนะ(ใจ) ไปกระทบกับ ธรรมารมณ์ การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด วิญญาณ มโนวิญญาณ
    เปรียบเหมือนไฟอาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ
    ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้
    ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า
    ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า
    ไฟอาศัยโคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่าไฟโคมัย
    ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ
    ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ
    วิญญาณอาศัยจักษุและรูปทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า จักษุวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยโสตและเสียงทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า โสตวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ฆานวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยชิวหาและรสทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ชิวหาวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า กายวิญญาณ
    วิญญาณอาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่า มโนวิญญาณ.


    คงตาสว่างแล้วนะ เราไม่เคยพิจารณาหรอก ถ้าเราใช้มหาปัญญาตอบ นั้นคงตอบได้ไม่กี่วินาที บางทีก็มึนขอตั้งตัวก่อนเหมือนกัน ไม่เก่งไปทุกๆเรื่องหรอก แต่ถ้าวันใดเราได้ปาฎิหาริย์๓ และปฎิสัมภิทา๔ แตกฉาน วันนั้นแหละ รู้ทุกเรื่องเท่าที่จะมีลมหายใจและเวลาเพียงพอให้รู้ได้ รู้ไม่หมดหรอกทั้งชีวิตเราเกิดๆตายๆอย่าง
    มีปฎิสัมภิทา๔ ล้านครั้งก็ไม่พอที่จะรู้พระธรรมได้ทั่วถึง


    ว่างๆหาเอาคำถามนี้ ไปหลอกถามคนเก่งๆบ้าง ว่าเขาตอบได้ไหม? เอาแบบสุดยอดอาจาร์ยน่ะ เดี๋ยวจะหาว่าเราอวดเก่ง อวดรู้ คนเขาตอบเพื่อเป็นธรรมทาน และเพื่อตนเองจะได้รู้ตามด้วยต่างหาก เพื่อประโยชน์ทั้งท่านทั้งหลายฯกับตัวเราเอง!

    นอนดึกอีกแล้วสิเรา _Love+U_
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ตอบไปแล้วนะ พิจารณาเอา

    ทำใจให้ใสๆไม่ต้องรีบ ค่อยๆย่อย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จะดึงพระสูตรไปโดยปรมัตถ์ธรรม นามรูป คันธัพพะ วิญญาน


    หากไม่มีไม่ได้ในฌาน จะเข้าสู่ฐานการตรัสรู้และนิพพานในชาตินั้นๆไม่ได้

    ไม่มีช่องว่างสำหรับดวงวิญญานในสหโลกธาตุ เพราะการเกิดดับนั้นรวดเร็วมาก จากที่หนึ่งไปปยังอีกที่หนึ่ง วิญญาณนั้นไม่ใช่ดวงคิดดวงรับ ในขณะที่ถูกสภาวะดึงดูดด้วยมหาภพมหาชาติชรามรณะ เมื่อกำเนิดโอปาติกะ เกิดในกอบัวบ้าง โคนต้นไม้บ้าง จุติคันธัพพะในรังไข่อันปฎิสนธิขันธ์๕ บ้างฯลฯ จึงจะมีจะเกิดสภาวะจิตที่สามารถรับรู้ได้ เพราะอาศัยขันธ์ ส่วนที่เข้าใจไปเองยังชีวะนั้นก่อน ก็เหมือน หางจิ้งจกที่ถูกสบับหลุดขาดออกมาดิ้นอยู่ แม้ทารกในครรภ์ก็ถืออาการอย่างนั้น มีชีวิตตามระบบกลไก แต่ยังไม่จุติวิญญานก็ได้ เพราะฉนั้นความเข้าใจผิดที่คิดว่า จะมีอะไร?ที่สามารถรับรู้ได้นั้น ไม่ใช่ดวงวิญญาน แต่เป็นดวงจิตประภัสสรแท้อันแต่เดิมเพียงเท่านั้น และดวงนี้เท่านั้นอย่าไปคิดว่ากำเนิดมาจากไหน?เพราะอจิณไตย อย่าไปค้นหาว่ามาจากไหน?

    พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ แต่ว่าจิตนี้เศร้าหมองแล้ว เพราะกิเลสที่เป็นอาคันตุกะเข้ามา"

    เราขอพิจารณาตั้งข้อสงสัยเป็นเนยยัตถะ ในข้อนี้เป็นข้อเดียว ข้อแรกในโลกนี้ว่า จิตประภัสสรนี้ อาจมากจากชั้นพรหม และอาจไม่แน่ในอรูปพรหมนั้นด้วย เมื่อสิ้นอายุขัยของพรหมและอรูปพรหมแล้ว จึงกลายเป็นดวงจิต ประภัสสร เพราะสภาวะนั้นต้องเป็นผู้มีฌานมาก่อนจึงจะเข้าอิทัปปัจจยตาหรือปฎิจสมุปบาทได้ในฐานองค์ตรัสรู้ธรรมได้
    ผู้ไม่มีฌานไม่ได้ฌาน ย่อมไม่สามารถเข้าสู่ฐานการตรัสรู้ได้ ไม่สามารถนิพพานได้ ถ้าไม่รู้จักไม่เคยบำเพ็ญไม่เคยมี ไม่เคยได้ ย่อมไม่มีวันเข้าถึง


    และถ้าเราคิดถูกเพราะใช้มหาปัญญาพิจารณาแล้ว อย่างเด่นชัดที่สุดนี้โดยปรมัถต์ ว่านี่คือสถานะจริงๆของการเกิด การเวียนว่ายในวัฎสงสารในวงจรของ ปฎิจสมุปบาท อันเป็นฐานแห่งการตรัสรู้ นั่นก้ต้องหมายความว่าต้องอาศัยจากรูปพรหมหรืออรูปพรหมนั้น ดังที่พระมหาโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหลายภพหลายชาติ จนได้เป็นท้าวมหาพรหมคือที่สุดแห่งสภาวะ ไม่อยู่ในอำนาจของใครๆจากการบำเพ็ญฌานสมาบัติมาตลอดอสงขัยและมหากัปป์ ในอดีตที่ผ่านมา

    ที่สำคัญคือสถานะของผู้สำเร็จธรรมไม่มีฌานไม่บรรลุแม้ปฐมฌาน ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ จึงต้องปลีกวิเวกไปปฎิบัติ เพื่อให้ได้ฌานในตน นั่นแหละจึงถูกต้องที่สุด และไม่มีใคร?คัดค้านได้ในข้อนี้ เพราะมีพระสูตรรองรับอยู่มาก แต่ไม่เคยมีใครพิจารณาในข้อนี้ไว้ เพราะอวิชชาและกิเลสตัณหาบดบัง จนไม่สามารถเข้าถึงและทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ในพระธรรมคำสั่งสอนและในฌานได้

    ไม่แปลกหรอกที่เป็นเช่นนี้ เข้าใจในความโหดร้าย ในเหตุอดีตกาลปัจจุบันเวลา

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

    สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?
    สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.(อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ)
    (เป็นความเข้าใจในลักษณะของเจตภูตที่สามารถท่องเที่ยวล่องลอยไปแสวงหาที่เกิด หรืออัตตา(อาตมัน) หรือปฏิสนธิวิญญาณ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ)

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ ที่เราแสดงแก่ใครเล่า(หมายถึงท่านไม่เคยแสดงธรรมเยี่ยงนี้เลย)
    ดูกรโมฆบุรุษ (ที่เราตถาคตกล่าวแสดงไว้มีดังนี้ คือ)วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น
    เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี
    ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย
    จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว
    ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ (แต่เป็นไป)เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รูปพรหม
    รูปพรหม หรือ รูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่พระพรหมผู้วิเศษมีรูป หากแต่เป็นรูปทิพย์ มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถ มองเห็นได้ จักเห็นได้ก็โดยทิพยวิสัยเท่านั้น ประกอบด้วยวิมาน 16 ชั้น

    สามชั้นแรก รวมเรียกว่า ปฐมฌานภูมิ ด้วยพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยปฐมฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
    ชั้นที่ 4 - ชั้นที่ 6 รวมเรียกว่า ทุติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยทุติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
    ชั้นที่ 7 - ชั้นที่ 9 รวมเรียกว่า ตติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยตติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต
    ตั้งแต่ชั้นที่ 10 ขึ้นไป รวมเรียกว่า จตุตถฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยจตุตถฌาน ชั้นที่ 10-11 ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่กันอยู่ และมีระยะห่างไกลกันมาก
    หากแต่เฉพาะเหล่าพระพรหมในชั้นที่ 12 – 16 เรียกว่า ปัญจสุทธาวาส หรือ สุทธาวาสภูมิ อันเป็นชั้นที่เหล่าพระพรหมในชั้นนี้ ต้องเป็นพระพรหมอริยบุคคลในพุทธศาสนา ระดับอนาคามีอริยบุคคล เท่านั้น ต่างจาก 11 ชั้นแรก แม้พระพรหมทั้งหลายจะได้สำเร็จฌานวิเศษเพียงใด ก็อุบัติในสุทธาวาสภูมิไม่ได้อย่างเด็ดขาด สุทธาวาสภูมินี้มีอยู่ 5 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ตามลำดับภูมิไม่ตั้งในระดับเดียวกันเช่นชั้นแรกๆที่ผ่านมา

    ปฐมฌาณภูมิ3
    ชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นบริวารแห่งท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ เป็นพรหมโลกชั้นแรก เป็นพรหมชั้นล่างสุด ตั้งอยู่เบื้องบนสูงกว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ขึ้นไปถึง 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ คือไกลจากมนุษยโลกจนไม่สามารถนับได้ ซึ่งหากเอาก้อนศิลาขนาดเท่าปราสาทเหล็ก (โลหปราสาท) ทิ้งลงมาจากชั้นนี้ ยังใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะตกถึงแผ่นดิน พระพรหมในที่นี้มีคุณวิเศษ โดยเคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ปฐมฌาน อย่างสามัญมาแล้วทั้งสิ้น เสวยปณีตสุขอยู่ มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะสุขนักหนา ตราบจนหมด พรหมายุขัย มีอายุแห่งพรหมประมาณส่วนที่ 3 แห่งมหากัป (1 ใน 3 แห่งมหากัป)

    ชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นปุโรหิต (อาจารย์ใหญ่) ของท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้ทรงฐานะประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่านมหาพรหม ความเป็นอยู่ทุกอย่างล้ำเลิศวิเศษกว่าพรหมโลกชั้นแรก รัศมีก็รุ่งเรืองกว่า รูปทรงร่างกายใหญ่กว่า สวยงามกว่า พรหมทุกท่านล้วนมีคุณวิเศษ ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลาง มาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณครึ่งมหากัป

    ชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ พรหมโลกชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ ที่อยู่แห่งท่านพระพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย มีความเป็นอยู่และรูปกายประเสริฐยิ่งขึ้นไปอีก ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌานขั้น ปณีตะคือขั้นสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1 มหากัป




    ทุติยฌาณภูมิ3 (ฉบับกรุงศรี)
    ชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน ได้เจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2 มหากัป

    ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีรุ่งเรืองหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ เคยเจริญภาวนาการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4 มหากัป

    ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีเป็นประกายรุ่งเรือง พรหมโลกชั้นที่ 6 อาภัสสราภูมิ เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปณีตะ คือ ประณีตสูงสุดมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8 มหากัป

    ชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย คือน้อยกว่าพระพรหมในพรหมโลกที่สูงกว่าตนนั่นเอง ได้เคยเจริญภาวนากรรม บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุตติยฌาน ขั้นปริตตะ คือขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16 มหากัป

    ชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้รัศมีสง่างามหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มี ประมาณ สง่าสวยงามแห่งรัศมีซึ่งซ่านออกจากกายตัว มากมายสุดประมาณได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 32 มหากัป

    ชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามสุกปลั่งทั่วสรรพางค์กาย พรหมโลกชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี ที่ออกสลับ ปะปนกันอยู่เสมอเป็นนิตย์ ทรงรัศมีนานาพรรณ เป็นที่น่าเพ่งพิศทัศนาได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปณีตะ คือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 64 มหากัป

    ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้รับผลแห่งฌานอันไพบูลย์ พรหมโลกชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป

    อนึ่งผลแห่งฌานกุศล ที่ส่งให้ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 9 ชั้นแรกนั้น ไม่เรียกว่า มีผลไพบูลย์เต็มที่ ทั้งนี้ก็โดยมี เหตุผลตามสภาวธรรมที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้

    เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น พรหมภูมิ 4 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
    เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยน้ำนั้น พรหมภูมิ 6 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
    เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยลมนั้น พรหมภูมิทั้ง 9 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปไม่มีเหลือเลย
    ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้หาสัญญามิได้ (คือมีแต่รูป) พรหมโลกชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคภาวนา เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จจตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุดสถิตย์อยู่ในปราสาท แก้ววิมานอันมโหฬารกว้างขวาง มีบุปผชาติประดับประดาเรียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว มีหน้าตาสวยสง่าอุปมาดังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไหว จักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาล มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป


    อวิหาสุทธาวาส อตัปปาสุทธาวาส
    สุทธาวาส
    ชั้นนี้เป็นที่เกิดของพระอนาคามี

    ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติแห่งตน สูงขึ้นไปจากอสัญญีสัตตาภูมิประมาณ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลที่ไม่ละทิ้งสมบัติ เป็นผู้มีวาสนาบารมี กิเลสธุลีเหลือติดอยู่ในจิตสันดานน้อยมาก ด้วยได้เคยเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ พบพระบวรพุทธศาสนาแล้วมีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร อุตสาหะจำเริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนยังตติยมรรคให้ เกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลจะสถิตย์อยู่จนอายุครบกำหนด ไม่จุติเสียก่อน ต่างจากพระพรหมในสุทธาวาสภูมิที่เหลืออยู่อีก 4 ภูมิ คือพระพรหมในอีก 4 สุทธาวาสภูมิที่เหลือ ซึ่งอาจมีการจุติหรือนิพพานเสียก่อนอายุครบกำหนด มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1000 มหากัป

    ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้ละซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อน ทั้งทางกาย วาจาและใจเลย ย่อมเข้าฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อนไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ฉะนั้นจิตใจของท่านเหล่านั้นจึงมีแต่สงบเยือกเย็นได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีวิริยินทรีย์ คือมี วิริยะแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2000 มหากัป


    สุทัสสาสุทธาวาส สุทัสสีสุทธาวาส
    ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้ง สูงขึ้นไปต่อจากอตัปปาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความแจ่มใส สามารถเห็นสภาวธรรมได้โดยแจ้งชัดเพราะบริบูรณ์ ด้วยประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ธัมมจักษุและปัญญาจักษุ จึงเห็นสภาวธรรมได้แจ่มใส ชัดเจน ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีสตินทรีย์ คือมี สติแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4000 มหากัป

    ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้งยิ่ง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า มีประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ทั้ง 3 นี้มีกำลังแก่ กล้ากว่าพระพรหมในสุทัสสาสุทธาวาสภูมิ ทำให้ท่านมีความเห็นในสภาวธรรมได้ชัดเจนแจ่มใสยิ่ง ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยังตติยมรรค ให้บังเกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มี สมาธินทรีย์ คือมีสมาธิแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8000 มหากัป


    ทุสสะเจดีย์ ชั้นอกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
    ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
    ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ทรงคุณพิเศษไม่มีใครเป็นรอง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสีสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีวาสนาบารมี มีกิเลสธุลีเหลือติดอยู่น้อยนักหนาโดยท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์ คือมี ปัญญาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น ฉะนั้น ท่านพระพรหมอนาคามีบุคคลที่อุบัติเกิดในอกนิฏฐพรหมโลกนี้ จึงมีคุณสมบัติวิเศษยิ่งกว่า บรรดาพระพรหมทั้งสิ้นในพรหมโลกทั้งหลายรวมทั้งสุทธาวาสพรหมทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16000 มหากัป

    พรหมโลกนี้ มีพระเจดีย์เจ้าองค์สำคัญ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นพรหมโลกที่เคารพนับถือพระบวรพุทธศาสนา องค์หนึ่งมีนามว่า ทุสสะเจดีย์ ซึ่งเป็นที่บรรจุผ้าขาวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จออกผนวช โดยพระพรหมทั้งหลายได้นำบริขารและไตรจีวรลงมาถวาย และพระองค์ได้ถอดผ้าขาวที่ทรงอยู่ยื่นให้ พระพรหมจึงรับเอาและนำมาบรรจุไว้ยังเจดีย์ที่นฤมิตขึ้นนี้ และเป็นที่สักการบูชาของพระพรหมทั้งหลายในปัจจุบัน

    พระพรหมอนาคามีทั้งหลายในสุทธาวาสพรหมแรกทั้ง 4 หากยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน พอสิ้นพรหมายุขัย ก็ต้องจุติจากสุทธาวาสพรหมภูมิที่ตนสถิตอยู่มาอุบัติในชั้นที่ 16 นี้ เพื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานโดยทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมินี้ เป็นพรหมภูมิที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ อยางประเสริฐล้ำเลิศยิ่งกว่าพรหมโลกชั้นอื่นๆ ทั้งหมด

    อรูปพรหม
    อรูปพรหม หรือ อรูปาวจรภูมิ สมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา บรรดาโยคี ฤๅษี ชีไพรดาบส ที่บำเพ็ญตบะเดชะภาวนา รำพึงว่าอันว่าตัวตน กล่าวคืออัตภาพร่างกายนี้ไม่ดีเป็นนักหนา กอปรไปด้วย ทุกข์โทษหาประมาณมิได้ ควรที่ตูจะปรารถนากระทำตัว ให้หายไปเสียเถิด แล้วก็เกิดความพอใจเป็นนักหนา ในภาวะที่ไม่มีตัวตนไม่มีรูปกาย ปรารถนาอยู่แต่ในความไม่มีรูป

    อรูปภูมิมี 4 ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมในชั้นนี้ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิตเจตสิก เพราะเห็นว่าหากมีร่างกายอยู่นั้นจะมีแต่โทษ อาจจะไปทำร้ายซึ่งกันและกันได้ จึงบริกรรมด้วยความว่างเปล่า ยึดเอาอากาศซึ่งเป็นความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ จนได้ฌานที่มีอากาศเป็นอารมณ์เรียกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ซึ่งมีอายุอยู่ได้สองหมื่นกัปป์ จากนั้นก็อาจภาวนาเพื่อจะได้ไปอยู่ในพรหมโลกขั้นสูงต่อไปอีกได้ อายุของพรหมเหล่านี้จะยืนอยู่ได้สี่หมื่น หกหมื่น และแปดหมื่นสี่พันกัปป์ ตามลำดับ


    อรูปพรหม (ฉบับกรุงธน)
    ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ
    ชั้นที่ทรงอากาศไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอา อากาศ เป็นอารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่แห่งพระพรหม ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติ ไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ ตั้งอยู่พ้นจากอกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 20000 มหากัป

    ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ
    ชั้นที่ทรงภาวะวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึด วิญญาณ เป็นอารมณ์ พ้นจากอากาสานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย วิญญาณบัญญัติ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต มีอายุแห่งพรหมประมาณ 40000 มหากัป

    ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ
    ชั้นที่ทรงภาวะไม่มีอะไรเลย ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอาความไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิบากจิตพ้นจากวิญญานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 60000 มหากัป

    ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
    ชั้นที่ทรงภาวะที่มีสัญญาไม่ปรากฏชัด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้เข้าถึงภาวะมี สัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ 4 มาแล้ว มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตทั้ง อยู่พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 84000 มหากัป

    พอตายจากพรหมบ้าง ตายจากอรูปพรหมบ้าง ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน กามาวจรภูมิ อันเป็นโลกียภูมิ โดยเฉพาะ มนุษย์โลกก็เป็นหนึ่งในโลกียะภูมินั้นและเป็นฐานะที่ครองเพศพรหมจรรย์ได้เพียงโลกธาตุเดียว

    วิปัสสนา เป็นการปฏิบัติทางจิต เพื่อยกจิตให้สูงขึ้นขนาดที่ความทุกข์ใจครอบงำไม่ได้ จึงพ้นทุกข์ด้วยอำนาจของการรู้แจ้งว่าไม่มีอะไรที่น่ายึดถือ แล้วสิ่งต่าง ๆ ในโลกก็จะไม่มีอิทธิพลทำใจเรา ให้หลงรักหรือหลงชังอีกต่อไป เรียกว่าจิตอยู่เหนือวิสัยของชาวโลกขั้นถึงฐานะอันใหม่ ที่ท่านเรียกว่า “โลกุตรภูมิ” การที่จะเข้าใจ โลกกุตรภูมิได้ชัดเจน เราจำเป็นต้องรู้เรื่องที่ตรงกันข้ามกล่าวคือ “โลกกิยภูมิ” ด้วยเหมือนกัน


    โลกิยภูมิ ก็คือระดับของจิตที่สิ่งต่าง ๆ ในโลกมีอิทธิพลเหนือจิต แบ่งโดยสรุปที่สุดออกเป็น 3 พวกกล่าวคือ “กามาวจรภูมิ” หมายถึงระดับของจิตที่ยังพอใจอยู่ในกามทั้งปวง ถัดไปคือ รูปาวจรภูมิ ได้แก่ ฐานะของจิตที่ไม่ต่ำ จนถึงกับพอใจในกามคุณ แต่ว่ายังพอใจในความสุขซึ่งเกิดจากสมาบัติที่เพ่งรูปเป็นอารมณ์ อันไม่เกี่ยวกับกาม, ภูมิที่ถัดไปอีกคือ อรูปาวจรภูมิ นี้คือสถานะของจิตที่ยังพอใจในความสุขสงบที่สูงขึ้นไปกว่านี้อีกชั้นหนึ่ง เกิดความสงบโดยยึดสิ่งไม่มีรูปเป็นอารมณ์

    ถ้าจะจัดให้เป็นคู่ ๆ ระหว่างภูมิกับภพ ก็มีทางที่จะทำได้ “ภูมิ” หมายถึงสถานะหรือระดับแห่งจิตใจของผู้นั้น ส่วน “ภพ” หมายถึงภาวะเป็นอยู่ที่เหมาะสมแก่ผู้ที่มีภูมิแห่งจิตใจเช่นนั้น ๆ ฉะนั้นผู้ที่ติดอยู่ในกามาวจรภูมิ ก็คู่กับกามาวจรภพ รูปาวจรภูมิก็คู่กับรูปาวจรภพ และอรูปวจรภูมิคู่กับอรูปวจรภพ, คำว่าภูมินั้นหมายถึงสถานะทางจิตใจ คำว่าภพหมายถึงภาวะเป็นที่อยู่ที่อาศัยของผู้ซึ่งมีจิตใจต่าง ๆ กัน จึงแบ่งได้เป็น 3 ภูมิ 3 ภพ

    โลกิยภูมิ คือสถานะทางใจของสัตว์สามัญทั่ว ๆ ไป ไปแม้จะสมมติเรียกชื่อต่างกัน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดาพรหมสัตว์เดรัจฉาน หรือเป็นสัตว์นรกก็ตาม ก็รวมอยู่ใน 3 ภูมินั้น, คนหนึ่ง ๆ ในโลกนี้อาจจะมีจิตใจอยู่ในภูมิใดภูมิหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ด้วยกันทั้งนั้นไม่เป็นการเหลือวิสัย แต่ส่วนมากจะต้องตกอยู่ในกามาวจรภูมิเป็นธรรมดา คือจิตของมนุษย์เราโดยปกตินั้น ตกอยู่ใต้อิทธิพลของความเอร็ดอร่อยทางรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • icmy26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      370.2 KB
      เปิดดู:
      64
  18. เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
    สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ


    การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
    รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง
    ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวง
    ความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง
    ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คนทั้งหลาย


    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้