เสียงธรรม 'รู้ทุกข์ บรรลุธรรม' / พระอาจารย์ชยสาโร live

ในห้อง 'ธรรมเทศนาทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 30 กันยายน 2017.

  1. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  2. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    2565.03.04 พุทธคือเพียร โดย พระอาจารย์ชยสาโร

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Jun 21, 2022
    โอวาทธรรม โดย พระอาจารย์ชยสาโร ปฏิบัติธรรมออนไลน์ ครั้งที่ ๑ ณ ภาวนาราม วัฒนา กรุงเทพมหานคร วันที่ ๔-๖ มีนาคม ๒๕๖๕

     
  3. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    2565.03.04 สุขทุกข์เพราะเหตุ โดย พระอาจารย์ชยสาโร

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Jun 23, 2022
    พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร

    ปฏิบัติธรรมออนไลน์ ครั้งที่ ๑ ณ ภาวนาราม วัฒนา
    กรุงเทพมหานคร วันที่ ๔-๖ มีนาคม ๒๕๖๕
     
  4. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  5. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : หลักสำคัญของพุทธศาสนา

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Jun 27, 2022
    หลักที่สำคัญที่สุดในพุทธศาสนาคืออะไร? ในพุทธศาสนาเราถือว่าเป็นระบบการศึกษา ระบบองค์รวม ซึ่งเราไม่สามารถจะดึงข้อใดข้อหนึ่งออกจากบริบท แล้วบอกว่าข้อนี้แหละสำคัญที่สุด เพราะต้องปฏิบัติทั้งหมด เหมือนกับถามว่า ในคอมพิวเตอร์ส่วนไหนนี่สำคัญที่สุด ก็แม้แต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เล็กๆ น้อยๆ ถ้าเสียไปคอมพิวเตอร์ก็ไม่ทำงาน พุทธธรรมก็คล้ายกันต้องปฏิบัติ ต้องปฏิบัติทั้งด้านพฤติกรรม ทั้งด้านจิตใจ ทั้งด้านปัญญาพร้อมๆ กัน แต่คำสอนที่เป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนาทุกนิกายก็น่าจะอยู่ที่อริยสัจ ๔


    อริยสัจ ๔ เป็นการกล่าวว่า ชีวิตของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ยังไม่สามารถเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้ แต่ความสุขที่แท้จริงเป็นสิ่งที่มนุษย์เข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือการฝึกอบรมทางกาย วาจา ใจ

    มุมมองต่อชีวิตว่าชีวิตถ้าปล่อยไปไม่ฝึกตน ก็ไม่พ้นทุกข์สักที มีทุกข์ร่ำไป แต่มนุษย์มีศักยภาพสูงในการฝึกตน และการฝึกตนตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ก็นำไปสู่สิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้ บางครั้งท่านก็เรียกว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง ความสุขเหนือที่คนทั่วไปจะได้รู้จะได้สัมผัส พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาแห่งการฝึกตน มนุษย์กลายเป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึกตน ฝึกตนเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของตน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ผู้อื่น
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  6. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    2565.03.05 กระต่ายในพระจันทร์ โดย พระอาจารย์ชยสาโร

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Jun 29, 2022
    พระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ชยสาโร ปฏิบัติธรรมออนไลน์ ครั้งที่ ๑ ณ ภาวนาราม วัฒนา กรุงเทพมหานคร วันที่ ๔-๖ มีนาคม ๒๕๖๕

     
  7. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  8. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  9. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : การตัดกิเลสกับการบวช

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro

    Jul 4, 2022

    ถ้าเราไม่บวชเป็นพระ จะสามารถทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงหมดไปได้ไหม? การที่จะทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ดับไปโดยสิ้นเชิง ก็หมายถึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ยากมาก แม้แต่ในวัดซึ่งมีสิ่งแวดล้อมที่ออกแบบเพื่อเอื้อต่องานนี้โดยเฉพาะ ยังเป็นสิ่งที่ยากมาก เพราะฉะนั้นการที่จะทำให้ โลภ โกรธ หลง ดับไปทีเดียวในชีวิตของผู้ครองเรือน อันนี้มันจะยากที่สุด แต่ในขณะเดียวกันตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมานี้ มีผู้ครองเรือน ผู้ถือศีล ๕ เป็นประจำที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน แล้วก็ที่บรรลุเป็นพระสกิทาคามี พระอนาคามี ก็มีบ้าง แต่ผู้ที่ดำเนินชีวิตในโลกที่ชวนโลภ ชวนโกรธ ชวนหลง จะมีสิ่งที่เป็นอุปสรรคเกิดขึ้นเป็นประจำ ทว่ามีผู้ที่ชนะโลภ โกรธ หลง ได้ถึงระดับโสดาบันมีตลอดมา พระพุทธองค์เคยเปรียบเทียบว่า ความทุกข์ที่ดับไปแล้วของพระโสดาบัน ก็เหมือนดิน ขี้ดินทั้งหมดในโลก ซึ่งความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่สำหรับพระโสดาบัน เปรียบเทียบเหมือนกับขี้ดินที่อยู่ใต้เล็บ มันเหลือนิดเดียว ถึงแม้ว่าผู้ครองเรือนอาจจะไม่ทำให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ดับไปโดยสิ้นเชิง อาจจะทำให้ได้ดับไป ๙๙.๙๙ % ด้วยการบรรลุเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันถือศีล ๕ เป็นหลัก แต่ถือศีล ๘ เป็นระยะๆ เป็นกรณีพิเศษ อย่างเช่น ไปพักปฏิบัติธรรมที่วัด หรือว่าอย่างน้อยทุกวันพระ หรือทุกวันอุโบสถ เป็นฐานที่พอจะไปได้
    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  10. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  11. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : ไม่อยากร่วมกิจกรรมทางศาสนา

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Jul 11, 2022

    หากเราเป็นนักเรียนที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ แต่ทางโรงเรียนจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ เช่น ไหว้พระหน้าเสาธง ไหว้พระทุกวันศุกร์ หรือมีพระสงฆ์มาอบรม ฯลฯ เราควรทำอย่างไรเพื่อให้ไม่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้ได้บ้าง
    หนึ่ง ถ้ามองในแง่เวลาที่ใช้กับกิจกรรมเหล่านี้ ในแต่ละอาทิตย์มันน้อยมาก แล้วถ้าเทียบกับเวลาที่เราใช้ในเรื่องไร้สาระต่างๆ นานา นี่อาจจะไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ หรือศูนย์จุดหนึ่งเปอร์เซ็นต์ มันน้อยมาก
    ข้อที่สอง การที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ คนไทยมากกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์นับถือพุทธศาสนาตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศไทย การที่เราสนใจทำความรู้ความเข้าใจในหลักพุทธศาสนา น่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญถ้าเราจะใช้ชีวิตในเมืองไทยต่อไป
    การนับถือพุทธศาสนาคืออย่างไร ถ้าปฏิเสธ ปฏิเสธด้วยเหตุผลอะไรบ้าง คือถ้าหากว่ามีข้อคิดที่ขัดแย้งกับหลักพุทธศาสนาชัดเจน เราถือว่าทนไม่ได้ที่จะต้องไหว้พระ เป็นต้น ก็ค่อยไปคุยกับคุณครู แต่อาตมาว่า หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตที่เรายังไม่เข้าใจ หรือว่าเรายังไม่ค่อยจะชอบเท่าไร เราก็ทำเพื่อความสามัคคีของหมู่ การที่จะดำเนินชีวิตโดยที่ไม่ต้องปรับตามความเชื่อถือของคนส่วนมากส่วนใหญ่ นี่มันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นในโอกาสที่มีกิจกรรมอะไรที่เราไม่ให้ความร่วมมือ เอ้า...ก็นั่งไปคิดอะไรที่เป็นประโยชน์อยู่ในใจก็ได้ มันก็ไม่เห็นจะยาก ส่วนมากก็จะเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ปล่อยให้จิตเพ้อฝันเรื่องนั้นเรื่องนี้ไป ก็แล้วแต่ แต่ทางกาย วาจา รักษาไว้เพื่อความสามัคคี เพื่อไม่ให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องวุ่นวาย และที่สำคัญคืออยากให้สนใจพุทธศาสนาเพียงพอที่จะสามารถตอบคำถามว่า แล้วทำไมจึงไม่ศรัทธา
    พระอาจารย์ชยสาโร

     
  12. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  13. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  14. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : ตัณหา กับ ฉันทะ

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Jul 18, 2022
    ความอยากที่เป็น ‘ตัณหา’ และความอยากที่เป็น ‘ฉันทะ’ แตกต่างกันอย่างไร?
    ความอยากที่เกิดจากหรือเกิดพร้อมกับอวิชชา ความไม่รู้ ความไม่เห็นตามความเป็นจริง ท่านให้ชื่อว่าตัณหา ตัณหามี ๓ อย่าง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กามตัณหาคืออยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ถูกใจที่ชอบ ภวตัณหา อยากมีอยากเป็น คืออยากมีชื่อเสียง อยากมียศ อยากมีอำนาจ อยากให้เขารัก อยากให้เขาเคารพ อยากให้เขารู้จัก มันเป็นความอยากที่เกี่ยวกับอัตตา ตัวตน วิภวตัณหา คือไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ เหมือนการปฏิเสธ ตัณหาเกิดเมื่อไรความยึดมั่นถือมั่นที่ให้ชื่อว่าอุปาทานก็จะเกิดขึ้นตรงนั้น แล้วก็จะนำไปสู่ความทุกข์ พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า ทุกข์เกิดเพราะตัณหา ตัณหาเกิดเพราะอะไร เกิดเพราะอวิชาหรือเกิดพร้อมกับอวิชชา ความอยากที่เกิดขึ้นเพราะวิชชา ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง หรือไม่เกี่ยวกับอัตตาตัวตน ไม่เกิดกับความบันเทิงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เรียกว่าเป็นฉันทะ ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ ก็คือ ฉันทะก็จะมุ่งที่การกระทำ โดยที่ตัณหามุ่งที่ผลการกระทำ ฉันทะอยากทำให้ดี หรือว่าได้ข่าวว่ามีใครเดือดร้อน มีความทุกข์ อยากช่วยเขา อันนั้นก็เรียกว่าเป็นฉันทะ อยากทำ อยากทำสิ่งที่ดีที่งาม ที่เป็นประโยชน์ อยากฝึกตน ฉันทะกับตัณหามันสลับกันได้ บางคนอาจจะเริ่มทำอะไรบางอย่างด้วยตัณหา อยากได้ อยากมี อยากเป็น แต่พอทำไปทำมา จิตเป็นบุญเป็นกุศลเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันบางทีอาจจะทำงานหรือว่าอาจจะปฏิบัติธรรมด้วยฉันทะ แต่ว่าเผลอไปแล้วตัณหาเข้ามาครอบงำ อยากได้สมาธิ อยากได้ฌาน อยากได้ญาณ อยากได้นั่นอยากได้นี่ พอมาปฏิบัติโดยมุ่งที่ผลของการปฏิบัติมากกว่าตัวการปฏิบัติ อันนี้ก็จะเป็นตัณหา ตัณหากับฉันทะ สรุปง่ายๆ ว่า ตัณหานี่มุ่งที่ผลการกระทำ ฉันทะก็อยู่ที่การกระทำ ตัณหาเกิดจากอวิชชา ฉันทะเกิดจากวิชชา
    พระอาจารย์ชยสาโร


     
  15. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  16. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : วิญญาณทำอะไรเราได้บ้าง

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Jul 25, 2022
    วิญญาณคืออะไร คำว่าวิญญาณมีสองความหมาย วิญญาณในความหมายของพุทธธรรม และวิญญาณในความหมายของภาษาไทย เอาวิญญาณในความหมายทางพุทธธรรมก่อน นั้นหมายถึงความรู้ ที่เกิดขึ้นที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น เราได้ยินเสียง อันนั้นก็เป็นวิญญาณ วิญญาณหนึ่ง เราเห็นรูป ก็เป็นวิญญาณ เราได้กลิ่นอะไรสักอย่างก็เป็นวิญญาณ เป็นเรื่องความรู้ที่เกิดขึ้น ความรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สลับกัน หมุนๆ ไป ทำให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียว เหมือนกับอันไหนที่มันหมุนๆ มันจะดูเป็นวงกลม ที่จริงมันก็ไม่ใช่ เพราะมันหมุนเร็ว มันจึงรู้สึกว่าเป็นสิ่งเดียวกัน วิญญาณในความหมายทางภาษาไทย ก็คือผี ผีก็อยู่ในกลุ่มอมนุษย์ สิ่งที่มีชีวิตแต่ไม่ใช่มนุษย์ พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า ผู้มีเมตตาอยู่ในใจ เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องไปเถียงกันว่า ผีมีจริงหรือไม่มีจริง ซึ่งอาตมาว่ามีจริง แต่คนที่เห็นนี่ส่วนมากไม่จริงหรอก มันเป็นเรื่องอุปทานเสียส่วนใหญ่ แต่ว่าข้อนี้ไม่ต้องเถียงกันดีกว่า แต่ขอให้ทราบง่ายๆ ว่า ถ้าเรามีเมตตาธรรม เราจะเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย และไม่ต้องกลัวว่าจะมาทำร้ายเรา แล้วถ้าผีไม่มีจริง เราก็มีเมตตาธรรมก็ได้กำไร ผีมีจริงหรือไม่มีจริง เจริญเมตตาภาวนานี่ได้กำไรชีวิตมหาศาล ก็อยากให้ถือนี่เป็นหลัก การที่เรากลัวผีกันมาก กลัววิญญาณกันมาก มักจะเป็นเพราะสัญญาที่ได้จากการดูละคร ดูการ์ตูน ดูอะไรต่ออะไร เรื่องนิทานต่างๆ เป็นเรื่องของสัญญา ความทรงจำ ขอให้รู้เท่าทันสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ รู้เท่าทันแล้วก็ปล่อยวาง

    พระอาจารย์ชยสาโร
     
  17. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : เล่นเกมเป็นสมาธิไหม

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Aug 1, 2022

    เด็กติดเกม เล่นเกมอย่างตั้งใจ ถือเป็นสมาธิไหม หากไม่ใช่ จะทำอย่างไรให้กลายเป็นสัมมาสมาธิ?
    สมาธิแนวพุทธก็ต้องอยู่ในบริบทของไตรสิกขา มีศีลเป็นฐาน แล้วเป็นสมาธิที่นำไปสู่ปัญญา การที่จิตใจจะอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ โดยไม่คิดจะทำอย่างอื่น อันนั้นไม่ได้ถือว่าเป็นสมาธิ ไม่มีคุณสมบัติของสมาธิ ในความหมายของพุทธธรรม การที่จิตหมกหมุ่นหรือว่าหลงอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มันก็ไม่ใช่สมาธิ เพราะขาดสติ ขาดหิริโอตตัปปะ ความละอายต่อบาป ความเกรงกลัวต่อบาป ขาดสัมปชัญญะ รู้ว่ากำลังทำอะไรเพื่ออะไรอยู่ ที่กำลังทำอยู่เหมาะสมไหม อะไรเป็นต้น คือขาดปัญญานั่นเอง ผู้ที่เล่นเกมเป็นชั่วโมงๆ ได้ทั้งคืนนี่ พอออกจากสมาธิก็ไม่มีผลดีต่อจิตใจเลย ไม่ทำให้เบิกบาน ไม่ได้ทำให้จิตใจมีสุขภาพ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สมรรถภาพ ที่ดีขึ้นเลย มันคนละเรื่องกับสัมมาสมาธิ
    สัมมาสมาธิเป็นผลของการเจริญสติและสัมปชัญญะอย่างต่อเนื่อง สติสัมปชัญญะต่อเนื่องทำให้มีอาการตั้งมั่น ผ่องใส เบิกบาน สงบ มีกำลัง ควรแก่งาน คือการใช้ปัญญา สัมมาสมาธิจะเกิดจากการเจริญสติในรูปแบบอย่างที่เราเรียกว่า ทำสมาธิ เดินจงกรมด้วย และการดูกาย ดูใจ การรักษากาย วาจา ใจ ในชีวิตประจำวันไปด้วย อยู่ที่การปลีกวิเวกออกจากสิ่งวุ่นวายเป็นระยะๆ เพื่อจะได้ทำแบบเข้มข้น มันเป็นเรื่องทั้งชีวิตเลย ต้องกาย ต้องวาจา ใจ ต้องสอดคล้องกันไปในทางเดียวกัน มันจึงจะเป็นสัมมาสมาธิได้
    พระอาจารย์ชยสาโร

     
  18. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
  19. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : ช่วงสุดท้ายของชีวิต

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Aug 8, 2022
    ถ้ามีอาการเจ็บปวดในร่างกาย ควรปฏิบัติภาวนาอย่างไร เพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับช่วงสุดท้ายของชีวิต?


    เริ่มต้นด้วยการฝึกจิตไม่ให้กลัวความลำบากทั่วๆ ไป เพราะการที่เราจะทนหรือจะตั้งสติ จะไม่ให้จิตใจเป็นทุกข์กับเวทนาทางกาย ก็เริ่มจากการฝึกจิตกับความทุกข์เล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน คือไม่ให้จิตไปยุ่งกับมัน ไม่ให้จิตไปหดหู่เพราะความทุกข์เล็กๆ น้อยๆ ในจิตใจ ทำให้จิตใจเราเข้มแข็ง
    เมื่อมีความเจ็บปวด มีโรคประจำตัว หรือว่าเกิดอุบัติเหตุ หรือว่าเป็นโรคร้ายแรงอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่เราควรจะจำไว้ก็คือ เวทนานั้นมี ๒ ส่วน ส่วนประกอบทางกายก็มี ซึ่งเราก็ทำอะไรไม่ได้หรอก อันนั้นเรียกว่าเป็นกรรมเก่าก็ได้ แต่สิ่งที่เราแก้ได้ ป้องกันได้คือปฏิกิริยาทางจิตใจต่อเวทนาทางกาย ซึ่งประกอบด้วยความกลัว ความรังเกียจ ความวิตกกังวล ความน้อยใจสารพัดที่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก จนกระทั่งคนทั่วไปที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมจะเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
    แต่ถ้าเราตั้งสติให้ดี ฝึกจิตให้ดี เราก็สามารถแยกอาการทางกายกับอาการทางใจ สามารถปล่อยวางอาการทางใจ ปรากฏว่าความทรมานหายไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้เราโล่งใจ เราจึงได้รู้ว่า ถ้าเราดูแลจิตใจเราก็มีหลักในการปฏิบัติต่อทุกขเวทนาที่เราจะได้ใช้ได้ตลอดชีวิต ในจนกระทั่งวาระสุดท้าย
    การยอมรับการไม่รังเกียจ ไม่ให้เกิดสิ่งที่พระเราเรียกว่า วิภวตัณหา ในขณะที่เกิดทุกขเวทนานั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะสนใจฝึก เพราะถ้าฝึกได้ ปล่อยวางความรู้สึกที่เป็นอกุศลต่อเวทนาที่ไม่ชอบได้ ก็เป็นกำไรชีวิตอย่างมหาศาล
    พระอาจารย์ชยสาโร

     
  20. supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    42,224
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,022
    ธรรมละนิด : ทุกข์หนัก

    ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/ Dhamma by Ajahn Jayasaro
    Aug 15, 2022
    ในช่วงเวลาที่เรากำลังมีความทุกข์มาก ทำสมาธิก็ฟุ้งซ่านมาก จะวนเวียนคิดแต่เรื่องที่ทำให้ทุกข์ ทำอย่างไรจึงจะทำให้จิตใจกลับมาเบิกบาน มีความสุขได้อีกครั้ง? ถ้าจิตเป็นทุกข์แล้ว แล้วคิดจะทำสมาธิเพื่อจะได้ลืมความทุกข์ เพื่อจะพ้นทุกข์ชั่วคราว แต่ก็จะเป็นความคิดที่นำไปสู่ความคับข้องใจพอสมควร เพราะมองสมาธิเป็นผลที่เราต้องการ ก็กลายเป็นการปฏิบัติด้วยตัณหา ถ้าเราสังเกตเห็นว่าความคิดปรุงแต่ง ความฟุ้งซ่านต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จิตใจเราทุกข์เหลือเกิน เราก็ใช้เครื่องมือ ใช้ข้อวัตรปฏิบัติของพระพุทธเจ้าก็ค่อยๆ ขัดเกลา ซึ่งการทำความเพียรเพื่อปล่อยวาง อันนี้ตัวนี้ที่เป็นตัวบุญ ตัวกำไร ก็ไม่ต้องเอาผล คือความสงบเป็นหลัก เอาการทำความเพียร ถ้าเราทำความเพียรความพยายามอย่างต่อเนื่อง เราจะค่อยๆ ได้ผล

    แต่ถ้าจิตฟุ้งซ่านวุ่นวาย ไม่อยากให้ฟุ้งซ่านวุ่นวาย อยากให้มันสงบอยากให้มันเป็นอย่างใจ อันนี้ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่ทางออกจากปัญหา แล้วเป็นสิ่งที่จะทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำไป แต่เมื่อเราดูเหตุปัจจัยของความทุกข์ความเดือดร้อน คิดว่าเดี๋ยวนี้เราทำอะไรได้ ที่จะทำให้มันลดน้อยลง ควรจะทำอย่างไร
    ความเบิกบานใจมันก็จะเกิดขึ้นได้ มันก็แล้วแต่กรณีแล้วแต่บุคคล อย่างเช่น มันเป็นปัญหาเกิดเพราะอะไร เกิดเพราะการกระทำของตัวเอง หรือเกิดเพราะการกระทำของคนอื่น มันเป็นปัญหาเรื่องทางศีลธรรม เป็นปัญหาอย่างไร ถ้าไม่มีรายละเอียดเราก็ตอบในรายละเอียดไม่ได้
    แต่ขอให้ทราบว่าการทำสติ การฝึกสติ ก็เป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด เพราะจิตที่ขาดสติมีทางเลือกน้อย จิตที่ตั้งสติมีทางเลือกมาก การที่จะรู้เท่าทัน ที่จะจับประเด็น ที่จะเริ่มแก้ไขทุกอย่าง มีเงื่อนไขสำคัญก็คือการตั้งสติ ก็ไม่ต้องเอาถึงสมาธิหรอก เอาการฝึกสติ ให้การตั้งสติเหมือนกับตุ๊กตาล้มลุก ล้มแล้วก็ลุก ล้มแล้วก็ลุก ล้มแล้วก็ลุก ล้มแล้วก็ลุก ในที่สุดแล้วก็จะได้พ้นจากปัญหา
    พระอาจารย์ชยสาโร
     

แชร์หน้านี้