@ วิปลาส @

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 12 กันยายน 2019.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    _oc=AQl6WyFRtf5Qc_GoaBXWlBwLP8eB-ZlgmG0RRn86Ys_lTZZYPoHPFKbFPWrmjqvm0As&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg _oc=AQm8xlirbKMmL8eIYJZJXBEzwKqT2Nh6i_3GtQi1u2XCfBXPLv2YRsXnw-mCaU5dqss&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg

    @ วิปลาส @​
    @ “ พระพุทธรูป “ • หรือ• “ พระพุทธปฏิมากร “ • คือ • รูปเปรียบ หรือ รูปเคารพ พุทธสัญลักษณ์ แทนองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า • หลังจากพุทธปรินิพพาน ล่วงเลยมานานแล้ว • สร้างขึ้นตาม ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ที่ปรากฏใน มหาปุริสลักษณะ •
    @ “ •พระพุทธรูป “ มิใช่การทำให้เหมือนพระพุทธเจ้า • แต่สร้างขึ้นมา “ เพื่อน้อมรำลึกถึง “ พระพุทธคุณ “ : พระพุทธจริยา แห่งพระองค์ • ผู้ทรงเป็น “ พระบรมศาสดา “ เอกของโลก ( อเทวนิยม) • ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ สั่งสอนเวไนยนิกร •ในครั้งพุทธกาล • เพื่อสักการะบูชา แทนพระองค์ • อันเป็น “ บุคคลาธิษฐาน “ • นำไปสู่ “ ธรรมาธิษฐาน “ • น้อมนำใจยึดเหนี่ยว พัฒนา ยกระดับจิตใจให้ • ปฏิบัติตามพระองค์ • ตลอดจนเป็น พุทธศิลป์ สิ่งจรรโลงสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา สืบต่อกันมาหลายยุคสมัย จวบจนปัจจุบันกาล

    @ “ ป า ง “ ในนัยยะหนึ่ง หมายถึง “ ครั้ง “ : หรือ : “ เมื่อนั้น “ : หรือ : “ ครั้งนั้น “ • คือ : เป็นการบอกเล่า : เมื่อนำมากำหนดใช้กับ “ ปางพระพุทธรูป “ • ซึ่งเป็น “ รูปเคารพพุทธสัญลักษณ์ สมมุติแทนองค์พระพุทธเจ้า : ( อุเทสิกเจดีย์ ) @

    @ พระพุทธรูปปาง ต่าง ๆ • จึงหมายถึง • “ พระพุทธองค์ เมื่อครั้ง : เสด็จประทับอยู่ ณ สถานที่นั้น : ทรงบำเพ็ญ หรือ ทรงกระทำพุทธกิจ อย่างนั้น มีพระกริยาอย่างนั้น “ นั้นเอง

    @ การสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ขึ้นมา ในแต่ละยุคสมัย • จึง “ นิยมสร้าง ตามแบบอย่างของ พระอิริยาบถต่าง ๆ ของ พระพุทธเจ้า ตามเหตุการณ์ที่ทรง บำเพ็ญพระพุทธจริยา 3 ( โลกัตถจริยา - ญาตัตถจริยา - พุทธัตถจริยา ) • ตามที่ปรากฏใน “ พุทธประวัติ “

    @ คำว่า “ ป า ง “ นอกจากจะหมายถึง • กริยา ท่าทาง ของพระพุทธรูปที่แสดงพระอิริยาบถต่างๆ แล้ว • ยังหมายรวมถึง พระพุทธจริยาของพระองค์ ด้วย

    @ “ ม ทุ ร า “ • เป็น ภาษาสันสกฤต • มีความหมายเมื่อนำมาใช้กับ “ งานพุทธศิลป์ “ • ว่า • “ เป็นการแสดงความหมายด้วยพระหัตถ์ : หรือ : การแสดงท่วงท่าด้วยมือ : หรือ : การแสดงปางด้วยพระหัตถ์ เรียกว่า “ ม ทุ ร า “ ซึ่ง มีด้วยกัน 6 ท่า. เป็นต้น

    @ กรณี “ • ผลงานศิลปะ “ พระพุทธรูปอุลตร้าแมน “ ที่ กำลังก่อให้เกิดปัญหา แตกแยก ร้าวฉานทางความคิดอยู่ ในสังคมอยู่ในขณะนี้ • คือ วิกฤตที่น่าจับตา. • จึงขออนุญาต แสดงความคิดเห็น เพื่อประเทืองปัญญา • ในฐานะ เป็น • “ ค รู “ • คนหนึ่งของสังคมไทย ดังนี้

    ( 1.) • “ พระพุทธเจ้า “ • ทรงชนะพญามาร ทั้งปวง ด้วย • (“ ธ ร ร ม ม า วุ ธ “ ) • พระพุทธองค์ มิได้ทรงใช้ •. “ อาวุธวิเศษ “ ใด ๆ หรือ “ กริยา ท่าทาง หรือ ใช้กำลัง เข้าต่อสู้.ใดๆ เลย • ในการปราบมาร ทั้งปวง เฉกเช่น • “ ยอดมนุษย์ “ • “ อุลตร้าแมน “ • หรือ • “ แบทแมน “ • “ สไปเดอร์แมน “ เลยแม้แต่น้อย •
    @ หากศึกษาให้กระจ่างแจ้ง แล้วจะพบเห็นได้ว่า • เป็นการ จินตนาการ สร้างผลงานการวาด • ที่ ปราศจากความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างแท้จริง

    ( 2) • “ พระพุทธเจ้า “ • ทรงได้รับการยกย่อง ว่า • เป็น ครูของมนุษย์และเทวดา • เพราะทรงบำเพ็ญ “ โลกัตถจริยา “ : หรือ: “ พุทธกิจ 5 “ หรือ “ เบญจกิจจา “ • ดังปรากฏในบทสรรเสริญพระพุทธคุณ 56 ประการ • วรรคสุดท้ายของบท อิติปิโส • คำว่า “ สัตถา เทวามนุสสานัง พุทโธภควาติ •
    ผิดกับ • “ ยอดมนุษย์วิเศษ • อุลตร้าแมน หรือ สไปเดอร์แมน หรือ แบทแมน • ล้วนแล้วแต่เป็น • ( ก า ร์ ตู น ) • ที่ถูกสร้างขึ้นมา เขียนขึ้นมา ด้วยกันทั้งสิ้น • ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ พระมหาบุรุษ ที่มีตัวตน ชัดเจน เฉกเช่น พระสมณโคดม
    เป็นการบัง ควร หรือ • ที่ จะนำ การ์ตูน : มาเปรียบเปรย เปรียบเทียบ กับ พระพุทธองค์. ผู้เป็น พระบรมศาสดา เอกของโลก ( อเทวนิยม ) • ตรงนี้คือ ภูมิรู้ - ภูมิธรรม - ภูมิปัญญา • อันเป็น “ พื้นฐานแห่ง • ความคิด • หรือ • จินตามยปัญญา • ต้องไม่มืดบอด •และ เป็น • มิจฉาทิฐิ • ( ความเห็นผิด ) เป็นที่ตั้ง จึง คิด ผิด ( ดำริ) • พูดผิด • ทำผิด

    (3 ). ภาพวาด. : พระพุทธรูปอุลตร้าแมน • ที่ วาด พระพุทธรูป อัลตร้าแมน • ทำกริยา ท่าทาง ในการต่อสู้ • ในรูปแบบท่าทางงต่างๆ. ตามจินตนาการ ของศิลปินผู้วาดรังสรรค์ชิ้นงาน • มัน บ่งบอก หรือ สะท้อน ถึง • “ พระพุทธจริยา “ • ที่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดา ทรงบำเพ็ญหรือทรงกระทำ ปรากฏในตอนใด ส่วนใดของ พุทธประวัติ หรือ บ่งบอกถึง• “ พระพุทธคุณ “ • ในข้อใด
    อย่างไร
    ประการ สำคัญยิ่ง • พระพุทธองค์ • ทรง บวช (งดเว้น ออกจากสิ่งที่ ฆราวาส ปฏิบัติ ) • ถือสมณเพศ แสวงหาโมกขธรรม จนตรัสรู้ • ทรงนุ่งห่ม • ด้วย • ผ้าสามผืน •
    เหตุไฉนภาพวาดศิลปะ ชุดนี้ • จึง วาดเอาชุดอุลตร้าแมน ( สวมชุดเสื้อแขนยาว สวมกางเกงขายาว ) • แล้ววาด พระเศียรพระพุทธรูป ต่อเติมประยุกต์ลงไป • ซึ่ง ชุดเสื้อผ้า กางเกง อุลตร้าแมน • มิใช่ ชุดในวิสัยของ สมณเพศ •
    พระพุทธรูป ในแต่ ละยุคสมัย ของชาวพุทธ ยังคงรูปแบบของ. • จีวร ผ้าห่ม ไว้อย่างชัดเจนยิ่งนัก • ประติมากรแต่ละยุคสมัย ก็จะรังสรรค์ รายละเอียดของ ริ้วจีวร ที่ อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง เป็น อัตลักษณ์ของตนและสื่อยุคสมัย • แต่ไม่มี พระพุทธรูป ยุคสมัยใด. เลยเถิด• สวมกางเกงขายาว เสื้อแขนยาว. เฉกเช่น ภาพที่ เขียนชุดนี้. • นี้หรือ คือ • สุนทรียศาสตร์ ในศิลปะ • ต้องมีความถูกต้อง ทั้งในคติโลกและคติธรรมด้วย • มิเช่นนั้นจะกลายเป็น • องค์ความรู้ที่ผิดๆ. บิดเบือน บิดเบี้ยว จากภาพ ได้ในกาลต่อไป ยังให้เกิดความสับสนแก่สังคมได้. ในความฟั่นเฟือนเช่นนี้ ซึ่งเป็น การไม่บังควร ยิ่ง นัก
    ตรงนี้ “ ศิลปิน • ผู้สร้าง ผลงานศิลปตามจินตนาการ หรือ ประยุกต์ศิลป์ • ต้อง ตอบคำถามให้ได้. และ ชัดเจน ด้วย • ในฐานะ เป็น • “ ช า ว พุ.ท ธ • สร้างสรรค์ หรือ ทำลาย • มันเสมือนเส้นด้ายครับ กรณีนี้
    ศาสนาพุทธ. เป็น • วิถีทางแห่งปัญญา • มิใช่ จินตนาการ แบบมืดบอด ครับ

    ( 4 ) . วิกฤตนี้ : สะท้อน หรือ บ่งบอกว่า • สังคมไทย • คนเริ่ม แยกแยะ ไม่ออก • ว่า “ อะ ไ ร ค ว ร “ • อะ ไ ร ไ ม่ ค ว ร “ • อะไรคือ คุณงามความดี ที่ บรรพชน สร้างสม สืบสาน สืบทอดจนมาถึง พวกเราในทุกวันนี้.
    อะไร คือ ของสูง • อะไร คือ สิ่งที่ เทิดทูนบูชา • แยกแยะไม่ออก • จนเกินเลย ขอบเขตความดีงาม ไปอย่างน่าเสียดาย. วิถีไทยที่แห้งเหือดหายไป

    ( 4 ). “ วิปลาส “ คือ ความรู้เห็นที่คลาดเคลื่อนหรือความรู้เข้าใจอันผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็• ให้ความหมายของคำว่า “ วิปลาส “ ไว้ว่า • "คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ" •
    วิปลาสในทางพระพุทธศาสนานั้นมี 3 ลักษณะคือ
    1. สัญญาวิปลาส คือสัญญาคลาดเคลื่อน, หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู
    2. จิตตวิปลาส คือจิตคลาดเคลื่อน, ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหาร
    3. ทิฏฐิวิปลาส คือทิฏฐิคลาดเคลื่อน, ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเชื่อถือไปตามสัญญาวิปลาส หรือจิตตวิปลาสนั้น เช่น มีสัญญาวิปลาสเห็นเชือกเป็นงู แล้วเกิดทิฏฐิวิปลาส เชื่อหรือลงความเห็นว่าที่บริเวณนั้นมีงูชุม หรือมีจิตตวิลาสว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีผู้สร้าง จึงเกิดทิฏฐิวิปลาสว่า แผ่นดินไหวเพราะเทพเจ้าบันดาล
    @ วิปลาสทั้ง 3 ลักษณะนี้ แต่ละลักษณะ มีทั้งสิ้น 4 ประเภท คือ

    วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
    วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
    วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน
    วิปลาสใน • “ สิ่งที่ไม่งาม ว่างาม “ • ดังคำว่าของเหม็นบางชนิดออกฤทธิ์เป็นของหอม โลกนี้วิจิตรสวยงามดุจราชรถ
    จินตนาการ ของบุคคล • จะต้องไม่ • ก้าวล่วง • หรือ • กระทบ • ศรัทธา • ของ ผู้อื่น • และ • คนส่วนใหญ่
    คือ วิถีพุทธ วิถีไทย

    ( 5 ). พระพุทธศาสนา เป็น พื้นฐานของศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันดีงามของชาวไทยมายาวนาน กว่า 2,000 ปี • ปู่ย่าตายาย กลัว บาปกลัวกรรม ที่ อาจจะไปก้าวล่วง ละเมิด หรือ จาบจ้วง พระรัตนตรัย ในห้วงหนึ่งห้วงใดได้ •จึงเป็นคตินิยม. ที่จะกล่าวบทขอขมาพระรัตนตรัยในเวลากราบพระ ว่า

    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง พุทโธ ปฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ
    ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป

    @ คุณงามความดี. ที่ บรรพชน สร้างสม ถ่ายทอดมา ดีงามเฉกเช่นนี้. แห้งเหือด เจือจาง หายไปจาก. เม็ดเลือด คนไทยรุ่นใหม่บางคนไปเสียดอกกระมัง • ถึงพากันมองข้ามไปอย่างหน้าเสียดายยิ่ง. อนิจจัง อนิจจา • ทุกคนในสังคมต้องช่วยกัน แก้ไข ร่วมกัน ครับ @

    @ หมอน • ใช้หนุนศรีษะ : หนุนหัว
    @ คงไม่มีใคร เอา หมอน ใบนี้ ไป รองก้น หรือ รองเท้า
    @ คนโบราณ : มี “ ขันล้างหน้า “: ใช้ล้างหน้าโดยเฉพาะ
    @ ไม่มีใคร วิปลาส. : นำ “ ขันล้างหน้า” • ไปใช้ ล้างก้น
    @ กระดูกพ่อแม่ ใส่โกศ ตั้งในที่สูง บูชาระลึกคุณ
    @ คงไม่มีลูกคนไหน วิปลาส นำไปตั้งในที่ ต่ำกับพื้น หรือ หลังตู้กับข้าว ในครัว คือ กตัญญูตาธรรม
    @ รูปพ่อแม่. วาดสวย ถ่ายงาม ใส่กรอบติดในที่สูง ประกาศคุณท่าน
    @ คงไม่มีใครอุตริ หรือ. อุบาทว์. นำ ไปภาพพ่อแม่ ไปเพ็นท์ เป็นงานศิลป์ ลงในที่ต่ำ เบื้องล่าง
    @ คุณงาม ความดีของสังคมไทย ที่ บรรพชน บ่มเพาะปลูกฝัง สั่งสอน ลูกหลานมา • ให้รู้จัก ที่สูง ที่ต่ำ • อะไรคือสิ่งที่ควรบูชา ไม่ควรก้าวล่วง• อะไรควร อะไรไม่บังควร • บัณฑิต ผู้เจริญ ย่อมรู้ดี และไม่พึงกระทำ

    # โยนิโสมนสิการ • ใ้ช้ปัญญาพิจารณาให้แยบคาย #

    @ ขอเป็น. ส ติ. หรือ. เ บ ร ค ร ถ ให้ สังคม • @

    พุทธคารวตา
    ที่มา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2019
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,977
    สาธุ กับการอดทน ใช้พรหมวิหาร ที่จะชี้แจง อธิบาย สนทนา เพื่อให้ผู้ไม่เข้าใจ ให้ได้เข้าใจ ตรงประเด็น เพื่อหงายภาชนะที่คว่ำให้รองรับน้ำคือกระแสบุญสัมมาทิฐิได้
     
  3. SP6580

    SP6580 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +1,550
    เรื่องพระพุทธศาสนานี้สำคัญดังเจ้าของกระทู้บรรยายครับ ทำเป็นเรื่องเล่นไม่ได้ นับวันเวลาผ่านไปพระศาสนายิ่งต้องทำความเห็นให้ถูกต้องย้อนคืนของเดิมให้มากที่สุด
     
  4. SP6580

    SP6580 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +1,550
    ตอนเด็กปู่ย่า ตายายมักสอนว่าความสำรวมมักจะถูกสอนมาจากพระตั้งแต่ปฐม กอ กา ยิ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นี่เป็นต้นแบบแห่งความสำรวม สงบ สะอาด ถ้าไม่ชี้แจงให้คนสมัยนี้เข้าใจ ไม่นานอาจได้มีพระพุทธปางอุลตร้ามาแขวนคอบูชากันบ้างล่ะคนไทย
     

แชร์หน้านี้

Loading...