[FONT="]ผมเกิดในครอบครัวที่ลำบากยากจนมาก ๆ ในหมู่บ้าน บ้านที่เราอยู่อาศัยเป็นเรือนฟากไม้ไผ่ทั้งพื้นบ้านและฝาบ้าน หลังคามุงด้วยหญ้าคา แต่ที่เราไม่จนเหมือนครอบครัวอื่น ๆ คือความอบอุ่น ถึงแม้เราจะมีพ่อคนที่สองหลังจากพ่อของเราเสียไปตั้งแต่ผมเพิ่งได้ 4 ขวบ พอผมอายุ 7 ขวบ แม่ก็มีพ่อคนที่สองให้เรา พวกเราก็ยังได้รับความอบอุ่นอย่างเหลือเฟือ[/FONT][FONT="]เรื่องผี ๆ[/FONT]
[FONT="]เล่าจากความทรงจำของสันยาสี
[/FONT]
[FONT="]
ถึงแม้แม่จะเป็นม่ายที่สุดสวย อายุยี่สิบกลาง ๆ มีเรือพ่วงอีก 4 คือพวกเรา แต่ก็ยังมีหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ มาด้อม ๆ มอง ๆ ทุกวัน ครูอาจารย์ ทหาร ตำรวจ ขี้ยา ชาวนา พ่อค้า สารพัดอาชีพ แต่แม่กลับตกลงปลงใจกับหนุ่มวัยเดียวกันที่ไม่มีสมบัติพัสถานและการงานอะไรสักอย่าง นอกจากความรักและความจริงใจด้วยคำพูดว่า [/FONT]“[FONT="]ถึงแม้ผมจะจนแต่ผมจะรักลูก ๆ ทุกคน และเลี้ยงดูพวกเขาเหมือนลูกของผม[/FONT] ”[FONT="] หลังจากอยู่กันมาพ่อคนนี้ก็รักพวกเราเหมือนลูกของเขาจริง ๆ พวกเราทุกคนก็เรียกเขาว่า [/FONT]“[FONT="]พ่อ[/FONT]”[FONT="] อย่างเต็มปากเต็มคำ[/FONT]
[FONT="]
หลังอาหารมื้อค่ำของทุกวัน บนกระท่อมไม้ไผ่หลังน้อย ๆ ท่ามกลางแสงไฟจากตะเกียงน้ำมันก๊าด ไร้เสียงวิทยุและเสียงรถมอเตอร์ไซด์จากท้องถนน ยกเว้นเสียงจิ้งหรีดเรไรร่ำร้องระงมทั่วทุกหัวระแหง ทั้งพ่อและแม่จะมีเรื่องแปลก ๆ มาเล่าให้พวกเราฟังเสมอ บางเรื่องก็ตลกขบขันจนหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง บางเรื่องก็ลี้ลับน่ากลัว ชวนขนลุกขนพอง บางเรื่องก็เกิดขึ้นกับพวกเราทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะกับพ่อซึ่งปั่นสามล้อหาเงินมาเลี้ยงพวกเราในช่วงกลางวัน พอตกกลางคืนพ่อก็สวมบทบาทเป็นนายพรานส่องกบ โดยใช้ตะเกียงแก๊สซึ่งมีหน้าไฟเป็นทองเหลืองขัดเป็นเงาวาววับ เขาจะใช้แก๊สเป็นก้อนใส่กระป๋องด้านล่าง เติมน้ำลงไปนิดหน่อย ก้อนแก๊สถูกน้ำก็จะมีไอแก๊สพุ่งขึ้นไปตามท่อเล็ก ๆ พุ่งออกที่หน้าจานทองเหลืองซึ่งบานคล้ายหน้าไฟมอเตอร์ไซด์เดี๋ยวนี้ มีรูเล็ก ๆ ตรงกลางเขาเรียกนมหนู เขาจุดไฟตรงนั้น แสงไฟจะพุ่งออกมา ถ้าปรับไม่เป็นจะมีควัน ไฟที่ได้ไม่สว่าง ถ้าปรับเป็นจะได้แสงสีฟ้า ไฟจะสว่างจ้า แสงจะพุ่งไปไกลหลายสิบเมตร นั่นคือแสงไฟที่สว่างที่สุดที่คนไทยบ้านนอกได้ใช้เมื่อหลายสิบปีก่อน แม้ไฟฉายสามท่อนก็ยังสู้แสงจากตะเกียงแก๊สไม่ได้ [/FONT]
[FONT="]
ที่หมู่บ้านของเรามีผีที่เฮี้ยนที่สุด คนหวาดผวากันที่สุด เรียกกันว่า [/FONT]“[FONT="]ผีปู่เจ้า[/FONT]”[FONT="] ที่สถิตของผีปู่เจ้าจะอยู่ตรงกอไผ่สีสุก ติดทางระหว่างหมู่บ้าน และอยู่ใกล้ป่าช้าประจำหมู่บ้าน ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ใครเดินผ่านตรงนั้นก็จะเกิดอาการขนหัวลุกด้วยความหวาดหวั่นพรั่นพรึง เพราะแม้กลางวันปู่เจ้าก็จะแสดงตัวตนให้คนเห็นจนวิ่งหนีผ้าหลุดลุ่ยมาแล้ว เช่น น.ส.แสงมอญ ซึ่งมีบ้านห่างจากบ้านของเราประมาณ 100 เมตร วันหนึ่งเธอหาบกระบุงใส่ข้าวเปลือกเพื่อเอาไปสีที่โรงสีอีกหมู่บ้านหนึ่ง ทางจะไปต้องผ่านกอสีสุกกอนั้น แสงมอญหาบข้าวเปลือกไปถึงกอสีสุกก็ต้องทิ้งกระบุงวิ่งหนีจนผ้าซิ่นหลุด เพราะเธอเห็นคนลอยตัวอยู่ที่กอสีสุก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเธอก็กลายเป็นคนครึ่งคนคือบ้า ๆ บอ ๆ ไม่เต็มบาท [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
ศักดิ์สิทธิ์ ลี้ลับ ผีสาง เทวดา พระเครื่อง
ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Kingkong1, 30 ตุลาคม 2012.
หน้า 1 ของ 4
-
[FONT="]พ่อใหม่ของเรามาจากต่างหมู่บ้าน ยังไม่รู้จักฤทธิ์ของผีปู่เจ้าดี พอตกกลางคืนก็ถือตะเกียงแก๊สส่องกบไปตามคลองจนถึงสะพานใกล้ ๆ กับกอสีสุก ก็พบหมูตัวหนึ่งร้องอู๊ด ๆ วิ่งนำหน้า พ่อก็เดินตามไป คิดว่าคงเป็นหมูของชาวบ้านแถว ๆ นั้นที่หลุดมา ตามไปสักพักหมูตัวนั้นก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย พ่อก็ส่องหากบหาเขียดต่อไป จนไปพบแอ่งน้ำเล็ก ๆ ข้างคลอง พบกบตัวโตขนาดฝ่ามือกาง พ่อก็ใช้ไฟส่องหน้ามัน มันก็กบดานนิ่ง ตาก็จ้องแสงไฟไม่กระพริบ พ่อพุ่งฉมวกซึ่งทำจากซี่จักรยาน 3 ซี่ ฝนปลายให้คม ฝังที่ปลายไม้ไผ่ ระยะใกล้ ๆ ไม่พลาดแน่ แต่ก็พลาด กบตัวนั้นเบี่ยงตัวหลบอย่างชาญฉลาด พ่อแทงพลาดก็จ้วงแทงอีก กบก็เบี่ยงตัวหลบอีก แต่ก็ไม่หนีจากแอ่งน้ำไปไหน พ่อแทงอยู่หลายที เห็นกบไม่กระโดดหนีไปที่อื่น ก็เลยกระโดดตะครุบหวังจับเป็น ๆ แต่กบที่เห็นกลับกลายเป็นใบไม้ไปได้ พ่อขนหัวลุก นึกขึ้นได้ว่า คงตรงนี้แหละหนอที่เขาเรียกว่า [/FONT]“[FONT="]ผีเจ้าปู่[/FONT]”[FONT="] พ่อเลยพูดว่า พ่อปู่เอ๊ย ลูกลำบากยากจน ต้องทำมาหากินทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ อย่าได้ถือสาลูกเลย ว่าแล้วก็รีบขึ้นฝั่งกลับบ้านเล่าเรื่องให้พวกเราฟัง[/FONT]
[FONT="]ช่วงกลางวันพ่อปั่นสามล้อก็ต้องผ่านกอสีสุกทุกวัน เพราะพ่อรับพระที่วัดไปเรียนหนังสือในเมือง อยู่มาวันหนึ่ง ขากลับจากในเมือง พระนั่งอยู่ในสามล้อ เมื่อมาถึงตรงนั้นก็เกือบมืดแล้ว เหมือนมีคนมาดึงสามล้อไว้ พ่อออกแรงเต็มที่ก็ไม่สามารถถีบสามล้อให้เคลื่อนไปได้ พระที่นั่งมาก็เลยพูดว่า [/FONT]“[FONT="]เอ...เฒ่านี่ อย่าล้อเล่นสิ คนเขากำลังรีบกลับบ้านกลับช่อง[/FONT]”[FONT="] สิ้นเสียงพระ สามล้อก็พุ่งไปข้างหน้าเหมือนมีคนผลักเต็มแรง พ่อรีบปั่นสามล้ออย่างไม่คิดชีวิต ส่งพระถึงวัดก็รีบกลับบ้าน พอมาถึงบ้านพ่อก็เปิดเบาะพิงหลังสามล้อเพื่อเอาถุงข้าวสารที่ซื้อมาให้พวกเรากินทุกวัน แต่ไม่พบถุงข้าวหลังเบาะพิง พ่อมั่นใจว่าไม่ได้หลงลืมแน่ ต้องโดนผีเจ้าปู่แกล้งแน่ ๆ จึงชวนกันหลายคนจุดตะเกียงเดินไปที่กอสีสุก ซึ่งห่างจากบ้านของเราเกือบ 1 กิโลเมตร พบถุงข้าวสารวางอยู่ข้างทางใกล้ ๆ กอสีสุกนั่นเอง[/FONT] [FONT="](ถนนหนทางสมัยก่อนจะมีที่ลาดยางก็เฉพาะในเขตเทศบาลตัวจังหวัดเท่านั้น นอกนั้นล้วนเป็นทางลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่อ แม้สนามบินพานิชย์ที่จังหวัดของเราทางรันเวย์ก็ยังเป็นทางลูกรัง เวลาเครื่องบินโดยสารมาลงทุกวันก็จะมองเห็นฝุ่นปลิวฟุ้งจนมองไม่เห็นอะไร)บ้[/FONT]
[FONT="]สมัยก่อนนั้นผีเจ้าปู่เฮี้ยนมาก แม่เล่าว่า ผีเจ้าปู่ชอบเอาสร้อยทองบ้าง แหวนทองบ้าง ออกมาล่อคนโลภ เวลาเขาทำไร่ทำสวนแถว ๆ นั้น มักจะพบสร้อยคอบ้าง แหวนทองบ้าง ถ้าใครถือเอาไปจริง ๆ ก็จะตายโดยไม่รู้สาเหตุ ต่อมาชาวบ้านรู้ เวลาพบแก้วแหวนเงินทองก็จะเอามาใส่เล่น พอจะกลับบ้านก็ถอดวางไว้ที่เดิม ก็จะไม่เป็นไร [/FONT]
[FONT="]ค่ำคืนวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ แสงเดือนยามค่ำคืนสว่างจ้า พอตะวันล่วงลับไปไม่นาน ชาวบ้านยังไม่หลับไม่นอนกัน ก็จะมีเสียงม้าวิ่งไปมาทั่วหมู่บ้าน สุนัขพากันเห่าหอนรับกันเป็นทอด ๆ มีคนกล้าบางคนแง้มฝาดูเวลามีเสียงม้าวิ่งผ่าน ก็เห็นชายรูปร่างสูงใหญ่นั่งเด่นเป็นสง่าอยู่บนหลังม้าสีขาว นั่นคือผีปู่เจ้า[/FONT]
[FONT="]ต่อมามีวิญญาณหลวงปู่ซึ่งประจำอยู่ที่วัดร้างใกล้ป่าช้าลงองค์แม่ ผมจึงถามหาประวัติว่า หลวงปู่คือปู่เจ้าที่คนเล่าลือกันหรือ ท่านว่าไม่ใช่ ท่านเป็นพระ ส่วนที่เขาเรียกปู่เจ้า หรือผีปู่เจ้านั้นเป็นผีไอ้สักกะ มันมาอยู่ที่นี่พร้อมกับปู่ตั้งแต่สมัยห้าร้อยปีกว่ามาแล้ว ปู่เป็นเจ้าเดินทางมาจากทางใต้ (สุโขทัย) มาพร้อมกับไอ้สักกะ เขาจะเอาปู่เป็นเจ้าเมืองแต่ปู่ไม่ยอมเป็น จึงหนีมาพร้อมกับม้าต่างและสมบัติส่วนหนึ่ง มาบวชเป็นพระอยู่ที่นี่ ส่วนไอ้สักกะมันเป็นบริวารติดตามปู่ ต่อมามันก็เอาสมบัติของปู่ไปหมด พอตายมันก็เป็นผีอยู่ที่นี่ แล้วใช้ชื่อปู่เจ้าเป็นชื่อของมัน เที่ยวทักคนกินเป็นอาชีพ คือทำให้เขาป่วย ถ้าเขาเลี้ยงมันก็ทำให้เขาหาย คนไหนไม่เลี้ยงมันก็แกล้งให้เจ็บป่วยอยู่อย่างนั้น จนถึงตายก็กลายเป็นบริวารของมันไป[/FONT]
[FONT="]ถ้าถ้อยคำของหลวงปู่ซึ่งออกจากปากแม่เป็นความจริง ก็แสดงว่าผีเจ้าปู่เป็นผียักษ์ ที่มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายให้แก่ผู้คนในหมู่บ้าน (เฉพาะคนที่ขาดศีลธรรม) ผีเหล่านี้เป็นยักษ์บริวารของท้าวกุเวร ได้รับพรจากท้าวกุเวรว่าให้จับคนที่ไม่มีศีลไม่มีธรรมกินได้ ก็คงเป็นเช่นนี้เอง [/FONT]
[FONT="]มีอยู่คราวหนึ่งมีการรวมพลคนทรงเจ้าที่บ้านผม โดยผมเป็นเจ้าภาพ เชิญคนทรงในหมู่บ้านใกล้เคียงมาร่วมด้วย คนทรงของปู่เจ้าเป็นผู้หญิงอายุราว 65 ปีเมื่อได้รับคำเชิญแล้วก็สะพายห่อเครื่องทรง(เสื้อผ้า)ปั่นจักรยานมา แต่ไม่ทันใจเลยทิ้งจักรยานระหว่างทาง ถือห่อผ้าวิ่งมาที่บ้านผม ตอนนั้นผมสร้างบ้านยังไม่ทันเสร็จดี ยังไม่ใส่เพดาน (2537) พอแกวิ่งเข้าบ้านก็เขวี้ยงห่อผ้าไปวางบนขื่อ อย่างแม่นยำแล้วรำป้ออยู่ข้างหน้าคนทรงคนอื่น ๆ แกดุนะ ตานี่ขวางเชียว ไม่เป็นมิตรกับใครหรอก ใครทักทายถามอะไรแกก็ตอบแบบไม่มีน้ำยา ด่าปึง ๆ ปัง ๆ แต่เวลาผมถามแกตอบดี คุยดี พ่อยังงั้นพ่อยังงี้ รู้สึกเกรงอกเกรงใจผมเป็นกรณีพิเศษ ผมเลยถามว่าทำไมเวลาคนอื่นถามต้องดุด่าเขาด้วย แกตอบว่าไอ้พวกนั้นมันไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เวลาถามมันก็ถามแบบโง่ ๆ เหมือนวัวเหมือนควาย ก็เลยไม่อยากจะพูดกับมัน [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--> [FONT="]ตั้งแต่ผีเจ้าปู่มีร่างทรงแล้วก็ลดความดุร้ายก้าวร้าวลง และได้เข้าสมาคมกับผีองค์อื่น ๆ ด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งที่วัดในหมู่บ้านมีงานฉลองศาลาหลังใหม่ ทางผีหรือเทพเทวาที่ปกปักรักษาหมู่บ้านก็ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ให้กับหมู่บ้านด้วย เพราะระยะนั้นคนในหมู่บ้านตายบ่อยผิดปกติบรรดาร่างของผีหรือของเทพทั้งหลายก็พากันมาชุมนุมกันที่บ้านผม (แม่เป็นหัวหน้าคนทรง) แล้วเดินเป็นแถวไปวัด พอถึงลานวัดก็พากันสวดมนต์ แปลกมากครับ ร่างทรงหลายคนสามารถสวดมนต์ได้ และสวดได้พร้อม ๆ กัน สวดเร็วด้วย โดยเฉพาะร่างเจ้าพระยาพิชัยดาบหัก ร่างเจ้าปู่ และแม่ของผม นอกนั้นก็เป็นอันดับหงึก ๆ หงัก ๆ ไปกับเขา ผมถึงบางอ้อ ผีเจ้าปู่นี่นะไม่ใช่ธรรมดา เป็นผีมีการศึกษา มีวิชาความรู้ แก่วิชาเลยทีเดียวจึงสามารถสวดมนต์ได้คล่องแคล่ว เพราะความแก่วิชานี่เองจึงเป็นผียักษ์ที่เก่งกล้าสามารถจนผู้คนกลัวกันทั้งตำบล ตัวแม่ผมเองสวดมนต์ไม่ได้ครับ แต่เวลาผีลงนี่สวดเก่ง (คำว่าผีนี้คนเหนือใช้เป็นคำกลาง ๆ เรียกวิญญาณไม่ว่าจะเป็นผีสางเทวดาที่มาลงร่างคนว่าผีทั้งนั้น เขาจึงมีคำว่า[/FONT]”[FONT="]นับถือผี)[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]นอกจากผีเจ้าปู่แล้วยังมีผียักษ์อีกตนหนึ่งอยู่ในหมู่บ้านใกล้ ๆกัน ที่ค่อนข้างเฮี้ยน ชื่อผีกะช้าง แต่ผีตนนั้นเป็นผีปอบยักษ์ หรือผีกะยักษ์ (อีสานเรียกผีปอบ เหนือเรียกผีกะ) แต่ก่อนผียักษ์ตนนั้นก็อยู่ตามประสาของเขา อยู่บ่อน้ำซึมหรือน้ำซับ ติดทุ่งนานอกหมู่บ้าน ตรงไหนมีน้ำซับไหลทั้งปีตรงนั้นจะมีผี ในตำราทางพุทธศาสนาจึงมีปรากฏ ว่าผียักษ์มักอยู่เฝ้าสระอโนดาต (สระน้ำธรรมชาติ) คอยดักจับคนที่ลงมากินน้ำหรือเล่นน้ำในสระ ใครไม่มีศีลไม่มีธรรมยักษ์ก็จับไปกินได้ [/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]อยู่มาก็มีชายผู้หนึ่งในหมู่บ้านให้ความเคารพนับถือผีตนนั้นมาก จึงอัญเชิญมาอยู่ด้วยที่บ้าน หาอะไรเลี้ยงทุกวัน เวลากินข้าว กินเหล้าก็เรียกกินด้วย ผีก็ช่วยทำมาค้าขายจนร่ำรวยกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เวลาชายผู้นั้นไปทำมาค้าขายต่างเมือง เมื่อจะกลับถึงบ้าน ต้นไม้ในบ้านก็สั่นไหวโดยไม่มีลมพัด แสดงให้คนในบ้านรู้ว่าพ่อบ้านกำลังกลับมาแล้ว ต่อมาชายผู้นั้นตาย ก็ไม่มีใครในบ้านหลังนั้นเลี้ยงผีอีก ตั้งแต่นั้นมาผีก็เที่ยวไปสิงคนนั้นสิงคนนี้ แล้วออกชื่อคนในครอบครัวของชายที่ตายไปนั้น คือเวลาไปสิงใครก็จะร้องโหยหวน เขาก็จะถามว่าเป็นใคร ผีก็จะบอกว่ากูคืออีหรือไอ้ (ออกชื่อคนในบ้านที่เคยเลี้ยงผีนั้นแหละ) ทำให้คนในบ้านหลังนั้นอับอายขายหน้า ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย เพราะหวาดกลัว[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]ตอนที่ผมเป็นสามเณรน้อยอายุราว 12 ปี อาศัยอยู่วัดห่างจากหมู่บ้านที่แม่อาศัยอยู่ราว 4 กิโลเมตร มีหมู่บ้านผีกะช้างนี่กั้นอยู่ระหว่างกลาง ผมกลับไปเยี่ยมแม่พร้อมกับสามเณรน้อยอีกรูปเป็นเพื่อนเดินทาง ขาเดินกลับวัด เมื่อผ่านหมู่บ้านที่ผีกะช้างอยู่ก็ผ่านป่าละเมาะใหญ่ พบผู้หญิงจากบ้านผีกะช้างนั่งอยู่ข้างทาง เฝ้าหาบกระบุงอยู่ พอเราเดินผ่านไปได้สัก 100 เมตรก็ได้ยินเสียงหญิงคนนั้นหัวเราะลั่นอยู่คนเดียว เราสองคนมองหน้ากันเลิ่กลั่ก ปากพูดพร้อมกัน [/FONT]“[FONT="]ผีกะ[/FONT]”[FONT="] พร้อมกันนั้นก็โกยอ้าวอย่างไม่คิดชีวิต ราว 1 กิโลเมตรก็หยุดเพราะซี่โครงแทบหลุด หายเหนื่อยก็เดินต่อจนถึงบ้านป้า พี่สาวของพ่อใหม่ แวะกินน้ำกินท่า ไม่ได้เล่าอะไรให้เขาฟังเลย พอถึงตอนเย็นมีคนไปบอกว่าผีกะเข้าสิงป้าเล็ก บอกว่าชื่อ[/FONT]”[FONT="]พอ[/FONT]”[FONT="] ขี่คอเณรน้อยมา [/FONT]“[FONT="]พอ[/FONT]”[FONT="] ก็คือผู้หญิงที่เราพบนั่งอยู่ข้างทาง ป้าเล็กและใคร ๆ ในบ้านก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าเราพบผู้หญิงชื่อพอ แต่ผีมาเข้าสิงออกชื่อ[/FONT]”[FONT="]พอ[/FONT]”[FONT="] ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เขาก็ต้องหาหมอผีมาขับออก[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]การขับผีหรือไล่ผีของแต่ละที่แต่ละแห่งคงแตกต่างกันไปตามความเชื่อ เพราะความเชื่อนั่นแหละที่ก่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ คนไม่เชื่อไม่ศรัทธาใช้คาถาไม่ขึ้น ถ้าเชื่อ ถือขึ้น คือศักดิ์สิทธิ์ [/FONT] [FONT="]ถ้อยคำที่เป็นคาถาจะมีความหมายอย่างไรหรือไม่ไม่สำคัญ ขอให้ครูอาจารย์สั่งสอนมาว่าให้ใช้อย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าศิษย์เชื่อถือก็จะเป็นไปตามนั้น [/FONT][FONT="]ไล่ผี-เลี้ยงผี[/FONT]
[FONT="]ทางบ้านผมเวลาไล่ผีกะ(ผีปอบ)หมอผีบางคนใช้ตะขอช้าง คือตะขอที่ควาญช้างใช้บังคับช้าง ผมเห็นหมอผีบางคนพอเข้าหาผีปอบ มือจิกผมดึงทันที ถามว่ามึงจะออกมั้ย ถ้าผีว่าไม่ออก หมอผีก็เอาตะขอช้างกดลงที่คอ บริกรรมคาถาหมุบหมิบ ๆ คนที่ถูกผีเข้าก็อ๊วกแตก รู้สึกตัว ผีก็ออกแล้ว หมอผีบางคนคุยกันดี ๆ ก่อน ไม่ออกก็ทำน้ำมนต์ให้กิน ไม่กินก็พ่นใส่หน้าใส่หัว ผีบางตนก็ออกอย่างว่าง่าย บางตนก็ดื้อไม่ยอมออก บางตนก็หลอกหมอผี ทำท่าออกแล้ว แต่ก็กบดานอยู่ในร่าง พอหมอผีไปแล้วก็เอะอะอาละวาดขึ้นอีก ผีบางตนออกจากร่างไม่ได้ เขาเล่าว่าเป็นผีกะยักษ์ มันติดหงอนจึงออกไม่ได้ ก็เล่ากันมาอย่างนั้น แท้จริงผีเก่งกว่าคน ไม่มีหมอผีที่เก่งกว่าก็ขับเขาออกไม่ได้ แต่ถ้าบนถูก ผีพอใจข้อเสนอก็จะออก [/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]โดยทั่วไปแล้วผีเข้าสิงคนก็อยากได้ของกินอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนมากที่เห็นเลี้ยงกันก็มีเหล้าไหไก่คู่ ถ้าผีเก่ง ๆ มีศักดิ์ใหญ่ขึ้นมาบ้างก็ต้องเซ่นสังเวยด้วยหัวหมู เหล้าไห ไก่คู่ หมากพลูบุหรี่ ต้องถวายให้พร้อม ถ้าทำไม่ถูกใจผีคนป่วยก็กำเริบขึ้นจนถึงตาย ญาติคนป่วยบางคนหัวหมอ ผีบอกเอาเหล้าไห ไก่คู่ ก็เอาเหล้าใส่กระบอกไม้เล็ก ๆ เป็นไหเหล้า ไก่คู่ก็เอาไข่ 2 ฟอง แทนไก่ ถ้าผีไม่มากเรื่องก็จบกันไป แต่ผีบางตนก็นิสัยเหมือนคน ทำไม่ถูกต้องเป็นไม่ยอม คือไม่ได้ตามข้อเสนอก็ต้องระรานกันไม่มีที่สิ้นสุด [/FONT]
[FONT="] ถ้าผีเก่งมาก ๆ มีฤทธิ์อำนาจมากระดับหัวหน้ายักษ์ จะกินคน กินวัว กินควาย ต้องล้มเป็นตัว ๆ เลย เช่นผีเจ้าพ่อเหล็กลอง ที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ตรงนั้นเป็นบ่อเหล็กที่ขึ้นชื่อมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนเม็งราย เป็นแหล่งเหล็กคุณภาพที่เหล่าแม่ทัพนายกองทางภาคเหนือใช้ตีมีดดาบ (ความเหนียวของเหล็กตรงนั้นดีถึงขั้นทำดาบใบหลิวได้ คือดาบบาง ๆ สามารถม้วนเป็นวงเก็บไว้ในกล่องข้าว เมื่อถึงคราวจะใช้ก็ดึงออกมาสะบัด ดาบก็เหยียดตรง ใช้ฟาดฟันข้าศึกได้ ท่านครูบาสมจิตมีดาบเล่มนี้) แต่เมื่อจะเอาแร่เหล็กตรงนั้นก็ต้องทำพิธีขอจากเจ้าพ่อเหล็กลอง สมัยโบราณคงฆ่าทาสเซ่นสังเวย[/FONT] [FONT="]ต่อมาผียักษ์เคยกินคนก็คงติดใจรส เมื่อถึงประเพณีเลี้ยงผีประจำปีก็ต้องหาคนมาฆ่าเซ่นสังเวย จึงมีการล่าจับคนเป็น ๆ นำมาเข้าพิธีเซ่นผี[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
[FONT="]หลวงพ่อครูบาสมจิตร วัดสะแล่ง เล่าให้ฟังว่า วิธีเลี้ยงผีเจ้าพ่อเหล็กลอง เขาจะเอาคนที่หามาได้นั้นอาบน้ำให้สะอาด ทาด้วยขมิ้น ใส่เสื้อผ้าให้สวยงาม แล้วนั่งกลางพิธี จากนั้นก็ขับกล่อมด้วยดนตรีสะล้อซอซึง คนที่เป็นเครื่องเซ่นสังเวยก็จะหลับตายไปเอง [/FONT]
[FONT="]ต่อมาราวสมัยรัชกาลที่ 6-7 ประเพณีเอาคนเลี้ยงผีก็ถูกทางการเข้าห้ามปรามเด็ดขาด เขาจึงเอาหมู วัว ควาย ทดแทน และสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละปี ปีที่ผมไปร่วมดูพิธีนั้นน่าจะ พ.ศ.2537 มีการเซ่นสังเวยด้วยหมู แทงหมูตายกันตรงนั้นเลย แล้วเอาเนื้อหมูมาทำอาหารสด ๆ เป็นลาบ ลู่ เลี้ยงกันตรงนั้น เลี้ยงทั้งผีทั้งคน คนไหนกินไม่ได้ก็แอบหนีไปก่อน ในงานก็มีเจ้าหน้าที่ระดับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ เข้าร่วมด้วย เพราะเป็นพิธีระดับเมือง ถือกันมาอย่างนั้น ใครไปเป็นเจ้าเมืองก็ต้องเข้าร่วมกับเขา[/FONT]
[FONT="]ประเพณีเลี้ยงเจ้าพ่อเหล็กลองนั้นดูเหมือนตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๒ คือเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี ถึงวันนั้นเขาก็จะขอของดีจากเจ้าพ่อเหล็กลอง นั่นคือก้อนแร่เหล็กลอง สีดำเงางามมันวับคล้ายเหล็กไหล ความศักดิ์สิทธิ์ก็น้อง ๆ เหล็กไหล (ใครอยากได้ครอบครองไปขอเช่าบูชาได้ที่วัดสะแล่ง ท่านแกะเป็นพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ไว้แล้ว) เมื่อขอเสร็จก็เที่ยวเอาไม้คุ้ยเขี่ยดินแถว ๆ ที่ตนนั่ง ก็จะพบแร่เหล็กลองคนละก้อนสองก้อน แล้วแต่ท่านจะให้ใคร ถ้าไม่ทำพิธีอย่าหวังว่าจะพบนะครับ ผมทดสอบกับตัวเอง วันที่ไปทำพิธีนั้นผมพบว่าที่นั่นเป็นดงกวาวเครือขาว 2-3 วันต่อมาผมก็พาพวกญาติ ๆ มือขุดไปด้วย นำเหล้าขาวไป 2 ขวด ไก่ต้ม 2 ตัว ไปเลี้ยงเจ้าพ่อ เอ่ยปากขอหัวยากวาวเครือ แต่ถ้าเจ้าพ่อจะให้ของดีวิเศษอย่างอื่นก็เอา ถ้าพบก็จะเอา ถ้าเจ้าพ่อไม่ให้ก็อย่าให้พบ ถือเป็นสัจจะระหว่างผีกับคน ผมเอ่ยปากไปอย่างนั้น ถ้าไม่พูดไว้ก่อนเดี๋ยวได้เรื่อง เกิดมีใครขุดไปพบแร่เหล็กลองแล้วเอากลับบ้าน นอนหลับตายขึ้นมาก็ยุ่งกันใหญ่ ผมกันไว้ผีก็ไม่กล้าทำ ถ้าให้เห็นก็ถือว่ายกให้ [/FONT]
[FONT="]วันนั้นเราขุดได้หัวยากวาวเครือตั้ง 3-4 กระสอบ หัวโต ๆ ทั้งนั้น แต่ไม่มีใครพบแร่เหล็กลองแม้แต่ก้อนเดียว แล้วทำไมเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาเอาไม้คุ้ยดินเล่น ๆ ก็ยังพบและได้เป็นเจ้าของอย่างง่าย ๆ [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
[FONT="] ผีตายโหง ส่วนมากไม่ได้เข้าสิงคนโหยหวนเหมือนผีปอบ แต่มักทำให้เจ็บป่วยแบบไม่รู้สาเหตุ ญาติคนป่วยต้องไปถามหมอผีประจำหมู่บ้าน ถ้าถามได้ความว่าผีตนไหนทำ ต้องการอะไร ถ้าเลี้ยงก็หาย[/FONT] [FONT="]ไม่เห็นต้องวิ่งหาหมอหายากิน[/FONT] [FONT="] หมู่บ้านผมสมัยก่อนมียายผมเก่งเรื่องนี้ ยายตายไปก็มีแม่ผมทดแทน ใครเจ็บป่วยเป็นอะไรก็ต้องมาหา เอาดอกไม้ธูปเทียน หมากพลูบุหรี่ ข้าวสาร 1 ทะนาน มาทำพิธีถามผีหม้อนึ่ง [/FONT][FONT="]พิธีถามผี[/FONT]
[FONT="]พิธีถามผีหม้อนึ่งต้องทำกัน 2 คน ต้องใช้...เขาเรียกว่าอะไรนะ ที่เป็นเครื่องจักสานที่เขาใช้ม้วนด้ายเวลาทอหูกสมัยก่อน มีช่องตารอบตัว ยายเอาไม้ไผ่สอดเข้าไปก็กลายเป็นแขน ส่วนที่โผล่ก็เป็นหัว ใส่เสื้อเข้าไปก็ดูเหมือนคนหรือหุ่นไล่กา สมมติให้เป็นผีหม้อนึ่ง ข้าวสารใส่กระด้ง ดอกไม้ธูปเทียน หมากพลูบุหรี่วางในกระด้ง อาจมีเงินบ้างนิดหน่อย สมัยก่อนเงินสตางค์ เงินสลึงมีความหมายก็ใส่กันแค่นั้น ต่อมาก็กลายเป็นเหรียญบาท เหรียญห้าบาท สิบบาท ก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ตามศรัทธาของผู้มาทำพิธี ยายกับป้าจะช่วยกันถือหุ่นผีหม้อนึ่งที่ด้านล่างคนละข้าง[/FONT]
[FONT="]
เริ่มต้นยายก็เอาแขนหุ่นแตะหม้อนึ่ง ไหข้าว เตาไฟ แตะข้าวในกระด้ง กล่าวขออนุญาต บอกกล่าวความเป็นมา นายนั้นนางนี้เจ็บป่วย อยากรู้ว่าเป็นเพราะอะไร จึงมาถามผีหม้อนึ่งให้ช่วยบอกกล่าว หากว่าถามได้ถูกต้องก็ขอให้สั่น ถ้าถามไม่ถูกก็ให้เฉยเสีย จากนั้นก็ช่วยกันถาม ป่วยเป็นไข้หรือ ถ้าถูก หุ่นผีก็ผงกหัวหงึก ๆ ถ้าไม่ถูกก็ส่ายหัวไปมา ถ้าถูกต้องที่สุดก็กระโดดผึง ๆ จนคนถือเหนื่อยเอาทีเดียว[/FONT] [FONT="]บางคนถามทำนองดูถูกดูหมิ่น ผีไม่ชอบใจก็กระดกก้นใส่ หรือเอาไม้ตีหัวก็มี ถ้าไม่พอใจมาก ๆ ผีออกไปเลย พิธีล้มครับ ถ้าถามเลขหวย ผีก็เขียนตัวเลขลงในข้าวสารในกระด้ง แต่ไม่เคยมีใครถูก ก็โถ ผีบ้านผีเรือน ศักดิ์และสิทธิ์น้อยนิด จะไปรู้อะไร แต่พวกเราก็สนุกดี[/FONT]
[FONT="]
วิธีถามผีมีอีกวิธีหนึ่งคือห่วงข้าว แต่ก่อนยายเป็นคนทำ เมื่อสิ้นยายแม่ก็สืบวิชา แม่เอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมผูกที่ปลายด้ายดิบที่นับรวมกันให้ได้ 9 เส้น ก็ต้องมีข้าวสารดอกไม้ธูปเทียนใส่ในกระด้งหรือถาดเช่นกัน แม่ก็นั่งถามคนเดียว แต่ทำพิธีกับแม่ธรณี แม่ถือด้ายที่มีข้าวเหนียวผูกไว้ที่ปลาย แขวนให้ห้อยต่องแต่ง แม่ถามไปเรื่อย ๆ ถ้าถูกขอให้แกว่ง ด้ายก็แกว่งนะครับ แม่บอกว่าแม่ไม่ได้แกว่ง มันแกว่งของมันเอง มันแกว่งหมุนติ้วจนข้าวเหนียวหลุดก็มีนะครับ[/FONT]
[FONT="]ด้วยวิธีดังกล่าวนี้ก็จะรู้ว่าใครป่วยเป็นอะไร ถูกผีที่ไหนทำ ผีจะกินอะไร จะให้เลี้ยงตรงไหน ถ้าทำพิธีเลี้ยงคนป่วยก็มีโอกาสหาย ถ้าไม่หายหมายถึงผีหม้อนึ่งบอกไม่ถูก[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapedefaults v:ext="edit" spidmax="1027"/> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapelayout v:ext="edit"> <o:idmap v:ext="edit" data="1"/> </o:shapelayout></xml><![endif]--> -
[FONT="]ความจริงผีกะของคนเหนือและผีปอบของคนอีสานมีข้อแตกต่างกันอยู่ คนเหนือมีความเชื่อว่าผีกะคือผีที่มาอาศัยคน แอบอ้างชื่อคนด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ไม่ใช่คน ๆ นั้นเป็นผีกะหรือปอบ เช่นผีกะช้างที่เล่ามาแล้วก็เป็นผียักษ์ที่คนอัญเชิญมาอยู่บ้าน ทำพิธีเลี้ยงขอให้ช่วยทำมาหากิน ต่อมาเมื่อไม่เลี้ยง ผีเคยได้อยู่ได้กินอย่างสบาย เมื่อไม่เลี้ยงเขา ๆ ก็เลยแกล้งเอาชื่อไปขาย คนในครอบครัวทุกคนก็ต้องกลายเป็นผีกะไปโดยปริยาย แต่ถ้ามีสติปัญญาคิดแก้ไขโดยละมุนละม่อม ใช้บุญกุศลนำทางแก้ไขให้ผีมีภพภูมิที่ดีขึ้น ผีร้ายก็กลายเป็นผีดีได้ ไม่ต้องมาอ้างชื่อไปสิงสู่ผู้อื่นให้อับอายขายหน้า[/FONT][FONT="]กำเนิดของผีกะหรือผีปอบ[/FONT]
[FONT="]บางคนกลายเป็นผีกะเพราะครองทรัพย์สมบัติของผี สถานที่แห่งใดที่ผีอาศัยอยู่ ถ้ามีคนไปลุกล้ำแสดงตนเป็นเจ้าของ ถ้าไม่ตายเพราะผีทำร้ายก็จะถูกผีแอบอ้างชื่อไปทำร้ายผู้อื่น เวลาสิงคนร้องโหยหวน เมื่อมีคนถามก็จะเอาชื่อคนที่ลุกล้ำที่ผืนนั้นไปอ้างว่าเป็นคนนั้น เรื่องนี้เกิดขึ้นที่หมู่บ้านที่ผมอาศัยอยู่วัดตอนเป็นสามเณรน้อย[/FONT]
[FONT="]ที่หมู่บ้านมีสถานที่รกร้างอยู่แห่งหนึ่งหลายไร่พอสมควร ไม่มีใครกล้าครอบครองหรือเข้าไปทำประโยชน์ เพราะเจ้าของที่ผืนนั้นเป็นผีกะ และไม่มีญาติสืบมรดก เขาเรียกว่าที่ของส่างตา คำว่าส่างหมายถึงเจ้าของเป็นเงี้ยวหรือไทยใหญ่ อาศัยอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่พม่าครองภาคเหนือแล้ว เมื่อส่างตาตายแล้วที่ผืนนั้นก็กลายเป็นป่าละเมาะผืนใหญ่ที่คนค่อนข้างหวาดกลัว ไม่แตะต้องมาหลายสิบปี แต่มีอยู่คนหนึ่งไม่กลัวคือตาสม[/FONT]
[FONT="]ตาสม บ้านแกอยู่หน้าวัดนั่นแหละ ฐานะทางสังคมค่อนข้างดี มีคนนับหน้าถือตา ความคิดก้าวหน้าแบบคนสมัยใหม่ ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยเฉพาะเรื่องผีสางเทวดาแกคิดว่าเป็นเพียงความเชื่อที่หาเหตุผลไม่ได้ ดังนั้นแกจึงไม่เชื่อเรื่องผีส่างตา แกเห็นที่ของส่างตาว่างเปล่าไม่มีใครกล้าเข้าไปปลูกอะไร วันหนึ่งแกจึงเอาต้นฉำฉาต้นเล็ก ไปปลูกไว้หลายต้นโดยไม่ให้ใครเห็น [/FONT]
[FONT="]วันเดือนปีผ่านไป ต้นฉำฉาโตวันโตคืน สูงท่วมหัว ผีส่างตาเข้าสิงคนในหมู่บ้าน ร้องโหยหวน เขาถามว่า มึงเป็นใคร มาจากไหน ผีส่างตาบอกว่า [/FONT]“[FONT="]กูคือไอ้สมปิ[/FONT]”[FONT="] (สมคือชื่อ แต่ปิเป็นสร้อยฉายาให้รู้ว่าคือสมคนไหน เพราะคนชื่อสมมีหลายคน ผู้ใหญ่บ้านก็ชื่อสม มีน้อยสม หนานสม ดังนั้นชาวบ้านจึงมีวิธีเรียกให้ต่างกันโดยเอาลักษณะ หรือประวัติการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนนั้นกระทำ มาห้อยท้ายชื่อ คนไทยภาคกลางเรียกว่าชื่อล้อ เจ้าของชื่อบางคนก็ไม่ชอบที่มีคนเรียกชื่อล้อ ถือเป็นการดูถูกกัน บางคนก็ยอมรับเป็นเรื่องตลกไป)[/FONT]
[FONT="]ตาสมรู้ข่าวผีเอาชื่อตนเองไปแอบอ้าง ก็เลยเอามีดไปฟันต้นฉำฉาทิ้งหมด ทั้งเอาจอบเอาเสียมไปขุดรากถอนโคนทิ้งเสียสิ้น ผีส่างตาก็เลิกเอาชื่อแกไปแอบอ้างเช่นกัน เขาจึงว่าผีมีสัจจะกว่าคน คนหลอกผีได้ แต่ผีไม่เคยหลอกคน คือตรงไปตรงมาเสมอ ถ้าผีรับปากว่าไม่ก็คือไม่
เดี๋ยวนี้สถานที่ของส่างตาก็ถูกใช้เป็นที่ทำการหมู่บ้าน ทั้งศาลาประชาคม ประปา สนามกีฬา ผีส่างตาก็ไม่ว่าไร เพราะเป็นของส่วนรวม หรือแกอาจไปผุดไปเกิดแล้วก็ได้ และตาสมก็เชื่อเรื่องผีมาตั้งแต่นั้น[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
[FONT="]ครอบครัวผีกะ คือทุกคนในครอบครัวนั้นเป็นผีกะหมด ผีไปสิงคนก็เอาชื่อคนในบ้านนั้น สับเปลี่ยนกันไป ไอ้บ้าง อีบ้าง ผู้พี่บ้าง ผู้น้องบ้าง ผู้พ่อบ้าง ผู้แม่บ้าง ไม่ให้เสียเปรียบกัน เพราะทุกคนได้อยู่อาศัยที่ตรงนั้นเพราะเป็นสมบัติของผีมาก่อน เมื่อไม่ยอมเลี้ยงผีให้อยู่ดีกินดีผีก็ต้องทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่เรื่องแบบนี้ชาวบ้านยังไม่เข้าใจกันจึงแก้ไม่เป็น บางคนก็หลุดออกนอกโคจรไปเพราะออกไปตั้งครอบครัวที่อื่น ไม่อาศัยทรัพย์สมบัติดั้งเดิมทำมาหากิน ผีก็ไม่กลั่นแกล้ง เพราะผีมีสัจจะกว่าคนดังกล่าวมาแล้ว เขามีกฎของเขา ผู้รักษากฎก็คือท้าวกุเวรซึ่งเป็นพญายักษ์ หรือราชาแห่งยักษ์หรือราชาแห่งผีทั้งหลายนั่นเอง เพราะท่านเป็นใหญ่เหนือภูตผีปีศาจทั้งหลายในชั้นจาตุมหาราชิกา [/FONT](อ่านประวัติใน www.sanyasi.org)[FONT="]ครอบครัวผีกะ[/FONT]
[FONT="]ในจังหวัดของผม ผีกะมีแทบทุกหมู่บ้าน มากันเป็นสายตระกูลหรือครอบครัว ก็เกิดจากสาเหตุดังกล่าว สมัยผมเป็นเด็กมีคนถูกผีกะสิงอยู่เสมอ เดี๋ยวก็ร้องไห้โหยหวนทางทิศใต้ ทิศเหนือ ทิศตะวันตก ตะวันออก โดยเฉพาะฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว และปลูกข้าว ซึ่งคนในครอบครัวผีกะก็ต้องไปช่วยเขาด้วย เมื่อเจอคนอื่นผีกะก็แสดงฤทธิ์ไปสิงเขา ถามไปถามมาก็ออกชื่อคนเดิมหรือครอบครัวเดิม ๆ นั่นแหละ นาน ๆ จึงมีผีปอบจากถิ่นอื่นหลงมาเสียทีหนึ่ง เป็นพ่อค้าต่างเมือง มาพบสาวงามถูกใจก็มาสิง บอกอยากได้เป็นเมียว่างั้น เจอหมอผีเอาตะขอช้างกดคอเดี๋ยวเดียวก็อ๊วกแตกออกไปแล้ว [/FONT]
[FONT="]ส่วนทางอีสานนั้นเชื่อกันว่าผีปอบเกิดจากพันธุกรรม คือพ่อแม่ปู่ย่าตายยายเป็นปอบ ลูกหลานก็ต้องเป็นปอบ ใครเป็นปอบก็จะถูกเกลียดชัง คนไม่คบหาสมาคมด้วย บางแห่งต้องถูกขับออกจากหมู่บ้านไปรวมอยู่ด้วยกันเป็นหมู่บ้านผีปอบ เรื่องนี้มีฝรั่งชาวอังกฤษเข้ามาท่องเที่ยวศึกษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เที่ยวไปทางเหนือและอีสาน ไปพบหมู่บ้านผีปอบ ที่คนเป็นปอบถูกขับออกจากหมู่บ้านมาอยู่ร่วมกัน แต่เขาไม่บอกว่าเป็นเขตแดนจังหวัดอำเภออะไร แต่ผมมั่นใจว่าเป็นเขตแดนอีสาน เพราะความเชื่อเช่นนี้ไม่อยู่ในประเพณีความเชื่อของคนเหนือ [/FONT]
[FONT="]และคนอีสานเชื่อว่าผีปอบคือคน ๆ นั้นนั่นเองเป็นผีปอบ ไม่ได้แยกส่วนแบบคนเหนือ ถ้าจะฆ่าปอบก็ต้องฆ่าคน ๆ นั้นให้ตาย ผีปอบจึงตาย ความเชื่อนี้ยังหลงเหลือมาทุกวันนี้ ตั้งแต่โคราชขึ้นไปจนถึงทุกจังหวัดในภาคอีสาน [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]หมู่บ้านผีปอบ[/FONT] [FONT="]ในมิติความเชื่อ สังคม[/FONT] [FONT="]และวัฒนธรรม[/FONT][FONT="]ช่วงที่มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการขับไล่[/FONT] "[FONT="]ผีปอบ" ออกจากคนในหมู่บ้านทางภาคอีสาน ซึ่งมีหลายจังหวัดด้วยกัน[/FONT] [FONT="]ทั้งจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสกลนครนั้น เป็นเรื่องฮือฮาสำหรับคนในภาคอื่น[/FONT] [FONT="]แต่ในภาคอีสานเองนั้นความเชื่อในเรื่องนี้เป็นความเชื่อที่ฝังรากลึกในจิตใจ[/FONT] [FONT="]และเห็นว่าผีปอบมีอยู่จริง[/FONT][FONT="]เว็บไซด์กรมสุขภาพจิต[/FONT]
[FONT="]ดังนั้น เมื่อไม่นานมานี้[/FONT] [FONT="]ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ตลิ่งชัน จึงจัดบรรยายเรื่อง[/FONT] "[FONT="]หมู่บ้านผีปอบในมิติความเชื่อ สังคม และวัฒนธรรม" โดยมี อาจารย์สมชาย นิลอาธิ[/FONT] [FONT="]ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[/FONT] [FONT="]เป็นวิทยากร[/FONT]
[FONT="]หมู่บ้านผีปอบที่นำเสนอในการบรรยายครั้งนี้ คือ[/FONT] *[FONT="]หมู่บ้านนาสาวนาน* ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร[/FONT] [FONT="]ซึ่งสมาชิกของหมู่บ้านล้วนเป็นคนที่เคยถูกกล่าวหาว่าเป็น "ปอบ"[/FONT] [FONT="]และถูกขับออกจากหมู่บ้านเดิม คือ[/FONT] [FONT="]หมู่บ้านโนนเรือ[/FONT]
[FONT="]อาจารย์สมชายเริ่มต้นโดยการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปรากฏการณ์ความเชื่อเรื่องผีปอบของคนอีสานว่า[/FONT] [FONT="]คนอีสานเชื่อเรื่องผีปอบว่ามีจริง ซึ่งเชื่อว่าปอบมี [/FONT]2 [FONT="]ประเภท คือ "ปอบเชื้อ"[/FONT] [FONT="]จะเกิดจากคนที่มีญาติพี่น้องเคยเป็นปอบมาก่อนตนเองจึงสืบเชื้อสายของความเป็นปอบมาด้วย[/FONT] [FONT="]และ "ปอบมนต์" จะเกิดกับคนที่เคยเรียนวิชาเวทมนต์คาถาอาคมของขลัง และมนต์เสน่ห์[/FONT] [FONT="]แล้วไม่สามารถปฏิบัติตามสิ่งที่ครูสอนหรือห้ามไว้ได้ เชื่อกันว่าคาถาจะ "เข้าตัว"[/FONT] [FONT="]แล้วทำให้กลายเป็นปอบ[/FONT]
[FONT="]สำหรับประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านนาสาวนานมีอยู่ว่า[/FONT] [FONT="]เมื่อประมาณปี พ.ศ.[/FONT]2465 [FONT="]ครอบครัวของนายทองคำ ไชยตะมาตย์ หรือ "พ่อใหญ่คำ"[/FONT] [FONT="]เป็นชาวญ้อ บ้านโนนเรือ ตำบลนาหัวบ่อ ได้มาสร้างเถียงเหย้าอยู่กันตามลำพัง[/FONT] [FONT="]เพราะถูกชาวบ้านโนนเรือกล่าวหาว่าเป็นปอบ[/FONT] [FONT="]ด้วยเหตุที่นายทองคำเป็นคนมีวิชาอาคม ไม่กลัวผี[/FONT] [FONT="]เมื่อครอบครัวของพ่อใหญ่คำอยู่มาได้ระยะหนึ่ง ก็มี "ตาผ้าขาว" เดินทางมาพบ[/FONT] [FONT="]แล้วให้พ่อใหญ่คำขุดบ่อน้ำไว้แห่งหนึ่งในบริเวณที่มีตาน้ำใต้ดินผุดขึ้นมา[/FONT] [FONT="]ชาวบ้านนาสาวนานเรียกบ่อน้ำนี้ว่า *บ่อน้ำทิพย์* เชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์[/FONT] [FONT="]ไม่ว่าจะเป็นปอบหรือผีอะไร หากดื่มกินหรืออาบน้ำจากบ่อนี้แล้วจะหายหมด[/FONT] [FONT="]ดังนั้น แม้บ้านนาสาวนานจะถูกกล่าวขวัญว่าเป็น "หมู่บ้านผีปอบ"[/FONT] [FONT="]แต่ชาวบ้านนาสาวนานเอง มองว่าหมู่บ้านของตนเป็น "หมู่บ้านรักษาผีปอบ" ต่างหาก[/FONT]
[FONT="]ปัจจุบันหมู่บ้านนี้มีประชากร [/FONT]1,780 [FONT="]คน จำนวน [/FONT]270 [FONT="]หลังคาเรือน มีวัด [/FONT]2 [FONT="]แห่ง[/FONT] [FONT="]และโรงเรียนประถม [/FONT]1 [FONT="]แห่ง คนในหมู่บ้านนี้มีพื้นเพมาจากหลายอำเภอ หลายจังหวัดในอีสาน[/FONT] [FONT="]และหลายชาติพันธุ์[/FONT]
[FONT="]อาจารย์สมชายเล่าว่า[/FONT] [FONT="]ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นปอบที่ต้องการขอเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านนี้[/FONT] [FONT="]จะถูกซักประวัติโดยกลุ่มผู้นำชุมชน ว่าเป็นมาอย่างไรจึงอยู่หมู่บ้านเดิมไม่ได้[/FONT] [FONT="]มีวิชาอาคมอะไรบ้าง ห้ามโกหกปกปิดเด็ดขาด[/FONT]
[FONT="]เมื่อการซักถามเสร็จสิ้นและกลุ่มผู้นำยอมรับให้คนคนนั้นมาอยู่ร่วมกันได้แล้ว[/FONT] [FONT="]ก็จะมีการทำพิธีกรรมดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบ่อน้ำทิพย์ ซึ่งปัจจุบัน *พ่อใหญ่แก*[/FONT] [FONT="]ลูกชายของพ่อใหญ่คำ เป็นผู้สร้างกติกาขึ้น มีการกำหนดข้อห้ามสำคัญคือ[/FONT] [FONT="]ห้ามนับถือบูชาผีทุกชนิด[/FONT] [FONT="]และให้ยึดมั่นในคำสอนของพระพุทธศาสนาเท่านั้น[/FONT]
[FONT="]ฉะนั้น[/FONT] [FONT="]พิธีกรรมที่บ่อน้ำทิพย์จึงเป็นเสมือนการ "ปรับสถานภาพ" ให้ทุกคนมาอยู่จุดเดียวกัน[/FONT] [FONT="]เพราะทุกคนที่เข้ามาอยู่ใหม่จะต้องทิ้งความเชื่อเรื่องผี เครื่องรางของขลัง[/FONT] [FONT="]และไสยศาสตร์ต่างๆ แล้วเริ่มต้นชีวิตใหม่โดยยึดเหนี่ยวสิ่งเดียวกัน คือ พุทธศาสนา[/FONT]
[FONT="]สำหรับคนที่ไม่ยอมทิ้งความเชื่อเดิมนั้น[/FONT][FONT="] [/FONT][FONT="]เชื่อกันว่าจะมีชีวิตอยู่ในหมู่บ้านได้ไม่เกิน [/FONT][FONT="]3 [/FONT][FONT="]ปีก็ต้องตาย[/FONT][FONT="] [/FONT]<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]ข้อมูลต่อไปจากเด็กดีด็อทคอม[/FONT]
[FONT="]เรื่องของ[/FONT] "[FONT="]ปอบ" จะเป็น "ความเชื่อ" หรือ "ความจริง" ยังคงถกเถียงกันไม่สิ้นสุด[/FONT] [FONT="]เมื่อถึงยุคดิจิตอล เรื่องราวของ "ปอบ" ก็ยังคลอดออกมาเป็นระยะ จะว่าไปแล้ว พวกที่[/FONT] "[FONT="]เชื่อ" ก็จะเชื่ออยู่วันยันค่ำ[/FONT] [FONT="]ส่วนที่ไม่เชื่อก็วิจารณ์กันไป[/FONT]
[FONT="]และที่หมู่บ้านนาสาวนาน ต.นาหัวบ่อ[/FONT] [FONT="]อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นหมู่บ้านที่ถูกเรียกว่า "หมู่บ้านผีปอบ" ทั้งนี้[/FONT] [FONT="]นายเข็มทอง คำภูแสน ผอ.ร.ร.บ้านนาสาวนาน เล่าให้ฟังว่า[/FONT] [FONT="]หมู่บ้านแห่งนี้มีพื้นที่ติดเทือกเขาภูพาน ใกล้กับวัดถ้ำขามของพระอาจารย์ฝั้น[FONT="] [/FONT]อาจาโร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี[/FONT] [FONT="]เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำโขง[/FONT]
[FONT="]ครั้งแรกมีชาวบ้านที่อพยพขึ้นมาทำนาทำสวนครอบครัวหนึ่ง[/FONT] [FONT="]ชื่อหมู่บ้านเรียกตามชื่อของครอบครัวนั้น ที่มีลูกสาวชื่อ [/FONT]“[FONT="]นาน[/FONT]” [FONT="]ต่อมาชาวบ้านจากหลายแห่งได้อพยพขึ้นมาอยู่ด้วยกัน[/FONT] [FONT="]ซึ่งทราบว่าแต่ละครอบครัวที่มามักถูกตราหน้าหาว่าเป็น "ผีปอบ"[/FONT] [FONT="]จึงถูกขับไล่ออกมาจากหมู่บ้านมุ่งมาอยู่ที่นี่[/FONT]
[FONT="]หมู่บ้านแห่งนี้เป็นถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้[/FONT] [FONT="]ชาวบ้านจึงได้มีการรวมกันขุดบ่อน้ำขึ้น[/FONT] [FONT="]เมื่อพระอาจารย์ฝั้นทราบข่าวก็มอบพระเครื่องและสิ่งที่เป็นมงคลให้[/FONT] [FONT="]ชาวบ้านจึงนำมาไว้ในบ่อน้ำกลางหมู่บ้าน[/FONT] [FONT="]โดยให้เหตุผลว่าเป็นของดีที่พระให้มาและแช่น้ำไว้[/FONT] [FONT="]เพื่อให้ชาวบ้านดื่มกินและนำไปอาบจะได้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต[/FONT] [FONT="]และเชื่อว่ายังจะช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ ได้อีกด้วย[/FONT]
[FONT="]นอกจากนี้[/FONT] [FONT="]ชาวบ้านได้จัดหาไม้แผ่นทำเป็นแผงกั้น [/FONT]4 [FONT="]แผ่น[/FONT] [FONT="]พร้อมนำไปให้พระสงฆ์ลงอักขระเป็นภาษาขอม เชื่อว่าเป็นคาถาอาคมป้องกันภูติผี[/FONT] [FONT="]ต่อมาข่าวแพร่กระจายออกไปว่าหมู่บ้านนี้มีบ่อน้ำรักษาคนที่เป็นผีปอบให้หายได้[/FONT] [FONT="]จึงทำให้บุคคลทุกสารทิศทั้งที่ถูกขับไล่ออกจากสังคมหาว่าเป็นปอบ[/FONT] [FONT="]และคนที่ต้องการรักษาปอบที่สิงอยู่ในตัวเองให้ออกไป[/FONT] [FONT="]ได้เดินทางมาเพื่อรักษาตัวเอง[/FONT]
[FONT="]เมื่อมาถึง[/FONT] [FONT="]หัวหน้าหมู่บ้านที่ได้รับการถ่ายทอดการรักษามาจากพระธุดงค์ ก็จะให้ครอบครัวนั้นมาพบ[/FONT] [FONT="]สอนให้นับถือพระ ทำแต่สิ่งดีๆ และทำพิธีแต่งขัน [/FONT]5 [FONT="]พร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปที่บ่อน้ำแล้วตักขึ้นมาอาบ มาดื่มกิน[/FONT] [FONT="]พร้อมกับจัดแบ่งที่ดินให้อยู่เป็นสัดส่วน จนทำให้หมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้น[/FONT] [FONT="]จนทางการต้องเข้ามาตั้งโรงเรียนให้จนถึงปัจจุบัน[/FONT]
[FONT="]ในวันนี้ก็ยังมีผู้ที่ถูกหาว่าเป็น[/FONT][FONT="] “[/FONT][FONT="]ผีปอบ[/FONT][FONT="]” [/FONT][FONT="]เดินทางมาขออาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก "หมู่บ้านผีปอบ"[/FONT][FONT="] [/FONT][FONT="]จึงถูกเรียกขานเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม เรื่องราว "ผีปอบ"[/FONT][FONT="] [/FONT][FONT="]แทบไม่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้เพราะชาวบ้านเชื่อว่ามาจากน้ำศักดิ์สิทธิ์ และอีกไม่นาน[/FONT][FONT="] "[/FONT][FONT="]หมู่บ้านผีปอบ" คงกลายเป็นเพียงตำนานให้เล่าขานเท่านั้น!![/FONT]<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]ชาวบ้านหมู่บ้านโนนหงษ์[/FONT] [FONT="]หมู่ [/FONT]10 [FONT="]ตำบลขี้เหล็ก อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน [/FONT]63 [FONT="]ครัวเรือน [/FONT]277 [FONT="]คน[/FONT] [FONT="]ลงขันเชิญคณะหมอธรรม [/FONT]“[FONT="]หลวงปู่หลวง (ถาวร) บ้านท่าตูม ตำบลท่าตูม[/FONT] [FONT="]มาทำพิธีทางไสยศาสตร์ไล่จับผีปอบที่ออกอาละวาดหลังมีคนตายในหมู่บ้านโดยไม่ทราบสาเหตุไปหลายราย[/FONT] [FONT="]เชื่อว่าถูกผีปอบกินตับ ไต ไส้พุง[/FONT][FONT="]ข้อมูลต่อไปมาจากเว็บบ้านมหาด็อทคอม[/FONT]
[FONT="]โดยวันนี้ ได้เชิญ นายเสริม ด้วงคำจันทร์[/FONT] [FONT="]อายุ [/FONT]68 [FONT="]ปี หัวหน้าคณะหมอธรรม [/FONT]“[FONT="]หลวงปู่หลวง (ถาวร) พร้อมลูกทีม จำนวน [/FONT]20 [FONT="]คน[/FONT] [FONT="]ทำพิธีขับไล่ผีปอบในลานอเนกประสงค์กลางหมู่บ้าน มีเครื่องบูชา ได้แก่ ผึ้งเทียน [/FONT]400 [FONT="]ห่อ[/FONT], [FONT="]ธูป [/FONT]75 [FONT="]ห่อ[/FONT], [FONT="]หม้อดิน [/FONT]30 [FONT="]ใบ[/FONT], [FONT="]ผ้าขาว [/FONT]10 [FONT="]วา ([/FONT]20 [FONT="]เมตร) ผ้าแดง [/FONT]4 [FONT="]วา[/FONT], [FONT="]ธงหน้าวัว[/FONT], [FONT="]ธงแดง[/FONT], [FONT="]ดอกไม้[/FONT], [FONT="]เซียงข้อง [/FONT]10 [FONT="]คู่ ซึ่งมีปลายทั้งสองข้างผูกติดกัน[/FONT] [FONT="]และไม้พระกรรมใช้สำหรับจับผีปอบ จำนวน [/FONT]10 [FONT="]อัน นอกจากนี้ ได้ลงคาถาอาคมที่มีดดาบ [/FONT]7 [FONT="]เล่ม ค้อน [/FONT]7 [FONT="]อัน หอก [/FONT]7 [FONT="]อัน และผ้ายันต์ปิดฝาหม้อดิน[/FONT]
[FONT="]นายบุญหลา ปุราชะ อายุ[/FONT] 47 [FONT="]ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ [/FONT]10 [FONT="]บ้านโนนหงษ์ ได้ถือขันธ์ [/FONT]5 [FONT="]ขันธ์ [/FONT]8 [FONT="]พร้อมเงิน [/FONT]9,900 [FONT="]บาท[/FONT] ([FONT="]ค่าคายหรือค่าทำพิธี) ไปให้หัวหน้าคณะหมอธรรมสวดบริกรรมคาถา โดยมีเครื่องบายศรี [/FONT]1 [FONT="]ชุด ดาบอาคม [/FONT]2 [FONT="]เล่ม และตุ่มน้ำมนต์ [/FONT]2 [FONT="]ใบ พร้อมหม้อจำนวน [/FONT]30 [FONT="]หม้อ ผ้าขาวลงยันต์[/FONT] [FONT="]และผ้าแดงลงยันต์จำนวน [/FONT]30 [FONT="]ผืน โดยมีลูกทีมอีก [/FONT]2 [FONT="]คนและลูกศิษย์ประมาณ [/FONT]20 [FONT="]คน[/FONT] [FONT="]คอยให้ความช่วยเหลือ เสร็จแล้วให้ลูกทีม [/FONT]2 [FONT="]คนจับคู่กันใช้ไม้ม้าหลวงปู่[/FONT] [FONT="]ไล่ต้อนผีทั้ง [/FONT]4 [FONT="]ทิศของหมู่บ้าน[/FONT] [FONT="]ให้มารวมตัวกันอยู่ในหมู่บ้านทั้งหมดโดยไม่ให้หนีรอดไปแม้แต่ตัวเดียว[/FONT]
[FONT="]หลังจากนั้นจะทำพิธีจับผีปอบโดยเตรียมไม้ม้าปู่หลวงไว้ จำนวน [/FONT]7 [FONT="]คู่[/FONT] [FONT="]ปรากฏว่าทั้งหมู่บ้านจับได้ทั้งสิ้น [/FONT]25 [FONT="]ตัว[/FONT] [FONT="]ใส่ลงไปในหม้อดินและปิดฝาด้วยผ้ายันต์สีขาว ซึ่งช่วงบ่ายเวลาประมาณ [/FONT]13.00 [FONT="]น.จะแห่นำหม้อผีปอบทั้งหมดไปทำพิธีทำการเผาส่งวิญญาณเพื่อความสบายใจให้กับชาวบ้านในหมู่บ้าน[/FONT] [FONT="]ที่เมรุวัดบ้านโนนหงษ์ โดยในภาคค่ำจะนิมนต์พระสงฆ์ [/FONT]9 [FONT="]รูปมาเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวบ้านสืบไป มีชาวบ้านในหมู่บ้าน[/FONT] [FONT="]หมู่บ้านใกล้เคียงและอำเภอต่างๆที่ทราบข่าวแห่มาพิสูจน์ความจริงกว่า [/FONT]500 [FONT="]คน [/FONT]1 [FONT="]ในจำนวนนั้นมีนายทองปลิว บุราณรมย์ อายุ [/FONT]60 [FONT="]ปี บอกว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่[/FONT] [FONT="]ส่วนตัวคิดว่าเป็นกลยุทธ์ และวิธีการปลอบขวัญให้กำลังใจแก่ชาวบ้าน[/FONT] [FONT="]ให้คลายความหวาดกลัวมากกว่า[/FONT]
[FONT="]ด้านนายบุญหลา ปุราชะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ [/FONT]10 [FONT="]กล่าวว่า ในหมู่บ้านมีผู้เสียชีวิตผิดปกติและผิดธรรมชาติ [/FONT]4 [FONT="]คน คือ นายไพฑูรย์[/FONT] [FONT="]สังฆะวันนา อายุ [/FONT]47 [FONT="]ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโนนหงษ์ หมู่ [/FONT]10 [FONT="]ชักกระตุก ตัวซีดเขียว[/FONT] [FONT="]ล้มฟุบขณะนั่งรับประทานอาหารกับลูกเมีย เสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาล ส่วนอีก [/FONT]3 [FONT="]คนเป็นผู้หญิง ชื่อ แมว[/FONT], [FONT="]บุ้ง[/FONT], [FONT="]และลำพูน (นามสมมุติ ) เกิดผิดปกติชอบแต่งตัว[/FONT] [FONT="]เสริมสวย และเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่มีการเข้าฝันบรรดาญาติๆว่า[/FONT] [FONT="]ผีปอบโกรธแค้นชาวบ้านไม่หาข้าว หาน้ำและอาหารให้กิน[/FONT] [FONT="]ชาวบ้านจึงยิ่งมั่นใจว่ามีผีปอปมาเอาชีวิตคนในหมู่บ้าน[/FONT] [FONT="]จึงได้ช่วยบริจาคเงินลงขันบ้านละ [/FONT]50-100 [FONT="]บาท ทั้งนี้มีนายฉลาด ขามช่วง ส.ส.ร้อยเอ็ด[/FONT] [FONT="]ร่วมบริจาคด้วย [/FONT]3,000 [FONT="]บาท[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]ข้อมูลต่อไปจาก [/FONT]BlogGang.com[FONT="]ดิฉันเคยได้ยินเรื่องผีปอบมามากมายหลายสิบเรื่อง[/FONT] [FONT="]คิดว่าคงจะมีผีชนิดนี้อยู่ทั่วไปแทบทุกจังหวัด ทางภาคอีสานบ้านเกิดดิฉัน[/FONT] [FONT="]ดูเหมือนจะมีเรื่องผีปอบมากกว่าทุกๆ ภาคนะคะ[/FONT]"[FONT="]แพร"[/FONT] [FONT="]เล่าประสบการณ์ขนหัวลุกเมื่อไปจับผีปอบ[/FONT]
[FONT="]เชื่อกันว่าคนที่[/FONT] [FONT="]กลายเป็นปอบเพราะสืบสายพันธุ์มาจากแม่หรือยาย อ้อ! ส่วนมากเข้าใจว่าผู้หญิงล้วนๆ[/FONT] [FONT="]ที่เป็นปอบ แต่ความจริงไม่ใช่หรอกค่ะ[/FONT] [FONT="]ผู้ชายที่เป็นปอบก็มี...ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า[/FONT] [FONT="]คนที่เป็นปอบมักจะเรียนวิชาไสยศาสตร์ แล้วละเมิดข้อห้ามต่างๆ ของครูบาอาจารย์[/FONT] [FONT="]ซึ่งมักจะเป็นคนเขมร...ข้อห้ามนี้เรียกว่า "ขะลำ" คือห้ามเป็นชู้เมียเขา[/FONT] [FONT="]ห้ามลักขโมย และห้ามกินอาหารในงานศพ เป็นต้น[/FONT]
[FONT="]ปอบ มักชอบกินของสดๆ คาวๆ[/FONT] [FONT="]คล้ายผีกระสือ เช่น เป็ดไก่เป็นๆ เนื้อหมูและเนื้อวัวที่เจ้าของเก็บไว้มิดชิด[/FONT] [FONT="]รวมทั้งแม่ลูกอ่อนที่น้ำคาวปลาจะส่งกลิ่นยั่วใจให้ปอบหรือกระสือหาช่องทางมา กินรก[/FONT] [FONT="]และเด็กอ่อนๆ จนต้องตัดกิ่งไผ่ กิ่งพุทรา[/FONT] [FONT="]และกิ่งมะขามเทศมาล้อมรั้วไว้เพื่อป้องกันปอบมาทำอันตราย[/FONT] [FONT="]ปอบที่กล้าแข็งจะดุร้ายขนาดแฝงตัวเข้าไปกินตับไตไส้พุงของคนเจ็บป่วย[/FONT] [FONT="]หรือไม่ก็ใช้วิธีสิงสู่คนเจ็บจนล้มตายไป[/FONT] [FONT="]แล้วจึงออกจากร่างไปหาเหยื่อรายใหม่[/FONT] [FONT="]ตำบลใดมีคนล้มตายติดๆ กัน [/FONT]3-4 [FONT="]คนขึ้นไปด้วยสาเหตุไม่แน่ชัด[/FONT] [FONT="]ชาวบ้านจะสันนิษฐานว่ามีปอบอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน![/FONT]
[FONT="]คนที่เป็นปอบส่วนมากมักจะนอนซมอยู่ในบ้านตอนกลางวัน[/FONT] [FONT="]ใครมาเยี่ยมก็ทำเป็นครางฮือฮือเป็นเชิงว่าเจ็บไข้ได้ป่วย[/FONT] [FONT="]แต่ถ้าสังเกตจะพบว่าชอบนอนซุกอยู่ในที่มืดสลัว[/FONT] [FONT="]มีกลิ่นเหม็นสาบเหม็นสางเพราะไม่ยอมอาบน้ำอาบท่ามาเป็นเวลานาน[/FONT] [FONT="]ถ้ามี[/FONT] [FONT="]ใครจับได้คาหนังคาเขาว่าเป็นปอบ ก็จะถูกทุบตีแล้วขับไล่ออกไปจากหมู่บ้าน[/FONT] [FONT="]ทางภาคอีสานมีเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง[/FONT] [FONT="]ส่วนมากจะไม่ยอมรับแม้ว่าโดนขับไล่ไปแล้ว[/FONT] [FONT="]แต่มีหมู่บ้านที่ปอบมาปลูกกระท่อมอยู่ได้โดยต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้หัว[/FONT] [FONT="]หน้าหมู่บ้านเรียกว่า "หมู่บ้านผีปอบ" ก็คงไม่ผิดหรอกค่ะ![/FONT]
[FONT="]ต่อมามีพวกหมอผีมาบอกกล่าวว่าหมู่บ้านนั้นๆ มีปอบสิงสู่[/FONT] [FONT="]เรียกร้องเงินทองเป็นหมื่นในการพิสูจน์และขับไล่ออกไป[/FONT] [FONT="]ถ้าผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันไม่ยอมจ่ายก็จะลดหย่อนลงมาเหลือจำนวนสามพัน-ห้าพัน[/FONT] [FONT="]จนกว่าจะตกลงกันได้[/FONT] [FONT="]เชื่อว่าต้องมีทั้งปอบจริงและคนบริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อของแก๊งต้มตุ๋น[/FONT] [FONT="]ชาวบ้านที่อ่อนด้อยการศึกษาก็ต้องตกเป็นเหยื่อไปตามๆ กัน[/FONT]
[FONT="]สมัย เด็ก[/FONT] [FONT="]ดิฉันเคยอยู่บ้านดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์[/FONT] [FONT="]ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นกิ่งอำเภอเหมือนทุกวันนี้ หมู่บ้านที่ห่างจากตัวจังหวัดเพียง[/FONT] 16 [FONT="]กิโลเมตร[/FONT][FONT="] แต่ว่าทุรกันดารมากขนาดไม่มีไฟฟ้าใช้ ตกค่ำก็ต้องจุดตะเกียงกัน[/FONT] [FONT="]หรือไม่ก็รีบเข้านอนเพื่อเอาแรงไว้ทำไร่ทำนาในวันรุ่งขึ้น[/FONT] [FONT="]จู่ๆ[/FONT] [FONT="]ก็มีข่าวลือว่าในหมู่บ้านเรามีปอบอาศัยอยู่![/FONT] [FONT="]สาเหตุ มาจากมีคนชราล้มตายไป [/FONT]2 [FONT="]คน ต่อมาไม่นานก็มีหญิงสาวกับวัยกลางคนล้มตายไปอีกโดยหาสาเหตุไม่พบ[/FONT] [FONT="]ความหวาดกลัวเริ่มแผ่ซ่านเข้ามาปกคลุมแทบทุกหลังคาเรือน[/FONT]
[FONT="]มีเสียงลือ[/FONT] [FONT="]ปากต่อปากว่าผีปอบรายนี้คือยายฮวด หญิงชราวัยหกสิบเศษ[/FONT] [FONT="]อยู่บ้านใต้ถุนสูงคนเดียวที่ท้ายบ้าน ผัวตายมาหลายปีแล้ว[/FONT] [FONT="]ลูกเต้าทั้งหญิงและชายออกไปหางานทำในเมือง บ้างก็ว่าเลยไปกรุงเทพฯ แล้วหายสาบสูญไป[/FONT] [FONT="]แต่ยายฮวดไม่เดือดร้อนเพราะมีไร่นาให้เขาเช่าหลายสิบไร่[/FONT] [FONT="]ฐานะดั้งเดิมก็จัดว่าดีกว่าเพื่อนบ้านทั่วๆ ไป[/FONT]
[FONT="]ผู้ใหญ่ขินมาบอกคน[/FONT] [FONT="]ในหมู่บ้านว่าจะต้องไปจับยายฮวดมาสอบถามให้รู้แน่[/FONT] [FONT="]ไม่ต้องรอพวกหมอผีที่จะวนเวียนมาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้[/FONT] [FONT="]พ่อแม่ดิฉันยังสงสัยว่าผู้ใหญ่ขินมีหลักฐานะอะไรว่ายายฮวดเป็นปอบ[/FONT] [FONT="]แต่ก็ตกลงว่าจะไปพิสูจน์พร้อมกัน[/FONT]
[FONT="]เพื่อนบ้านราวสิบคนจุดไต้กับถือไฟฉายไปที่นั่น[/FONT] [FONT="]ดิฉันก็เกาะมือแม่ไปด้วยเพราะไม่ยอมอยู่บ้านคนเดียวเด็ดขาด![/FONT] [FONT="]ถึง จุดหมาย[/FONT] [FONT="]บ้านยายฮวดตั้งเด่นอยู่ใต้แสงดาว ผู้ใหญ่ขินส่องไฟฉายไปที่บ้านก็เห็นเงียบเชียบ[/FONT] [FONT="]ลมหนาวพัดวู่หวิวเหมือนเสียงใครคร่ำครวญ...มองเห็นกระไดลิงห้อยลงมาจนน่า[/FONT] [FONT="]สงสัยว่ายายฮวดแกจะรู้ตัวแล้วหลบหนีไปเสียก่อน[/FONT] [FONT="]ผู้ใหญ่บ้านร้องเรียก[/FONT] [FONT="]ยายฮวดอยู่หลายคำ แต่ก็ไม่มีเสียงตอบ จนกระทั่งผู้ใหญ่ขินชักหัวเสีย[/FONT] [FONT="]ฉายไฟไปจับกระไดลิงให้แน่ใจ...แต่แล้วก็ต้องยืนตะลึงไปตามๆ กัน[/FONT] [FONT="]เพิ่ง[/FONT] [FONT="]เห็นชัดว่านั่นไม่ใช่กระไดลิงหรอกค่ะ[/FONT] [FONT="]แต่เป็นขาผอมลีบสองข้างห้อยลงมาจากนอกชาน...ชาวบ้านร้องเอะอะด้วยความตกใจ[/FONT] [FONT="]ดิฉันหันไปซบหน้ากับแขนแม่ที่กอดไว้แน่นได้ยินเสียงร้องโวยวายกับเสียงแช่ง ด่า[/FONT] [FONT="]จนกระทั่งเข้าไปใกล้ๆ[/FONT] [FONT="]ช่วยกันปีนไปปล่อยกระไดลิงลงมาจึงได้เห็นว่ายายฮวดนอนตายห้อยขาลงมาจากนอก[/FONT] [FONT="]ชานนั่นเอง[/FONT]
[FONT="]ไม่มีใครรู้แน่ว่าแกเป็นปอบหรือเปล่า[/FONT]? [FONT="]แต่ภาพสยองที่เห็นในตอนแรกคือสองขาของยายฮวดห้อยจากชานลงมาเกือบถึงพื้นดิน[/FONT] …[FONT="]นึกถึงแล้วยังขนลุกเลยค่ะ![/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if !mso]> <style> v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);} </style> <![endif]--> [FONT="]เป็นไงครับ ตัวอย่างจากอินเตอร์เน็ต 2-3 เรื่อง ยัง...ปรื๋อ... คนอีสานนี่เป็นเอาจริง ๆ [/FONT]
[FONT="]การขับผีปอบของคนเหนือกับอีสานก็แตกต่างกัน หมอผีอีสานขับปอบโดยใช้ต้นว่านไฟ (ไพล) ตีคนป่วย หรืออาจมีวิธีอื่น ๆ อีกผมไม่ทราบ แต่คนป่วยที่ถูกผีหรือปอบเข้าสิง โดนหมอผีอีสานเล่นงานนี่ย่ำแย่ทุกราย ไม่ตายก็เจ็บหนัก คนป่วยบางคนป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ญาติ ๆ ลงความเห็นว่าถูกปอบเข้าสิง หาหมอผีมาเฆี่ยนตีปางตายก็มีมาก ภาพยนตร์ไทยบางเรื่องถ่ายทำเรื่องผี ส่วนมากใช้ความเชื่อทางอีสานมากกว่าทางเหนือ แต่ก็ดูสนุกดี[/FONT]
[FONT="]เมื่อยุคที่เครื่องยนต์กลไกไม่มากเหมือนปัจจุบัน รถยนต์ไม่ค่อยมี ผีจะอาละวาดกว่าสมัยนี้มากนัก ผีลดจำนวนลงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2506 เมื่อรถขุดไปขุดคลองชลประทานที่จังหวัดของเรา รถขุดผ่านตรงไหนผีที่เคยอยู่ก็หวาดกลัวยักษ์เหล็ก โดยเฉพาะกระทะที่ใช้ตักดินแขวนโตงเตงแกว่งไปแกว่งมา ส่งเสียงโครมครามดังไปไกล ผีกลัวมือยักษ์จะตกใส่หัวก็เลยพากันหอบลูกจูงหลานอพยพหนีไปอยู่บนป่าเขาเสียเกือบสิ้น นั่นคือผีที่เคยอาศัยตามหัวไร่ปลายนา เคยเฝ้าแหล่งน้ำซับอันอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ปีนั้นผียักษ์ตามบ่อน้ำซับน้ำซึมก็ไม่มาทำให้คนเจ็บป่วยคอยให้เขาเลี้ยงเหมือนก่อน คงเหลือแต่ผีกะที่อยู่ตามครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง[/FONT]
[FONT="]สาวในครอบครัวผีกะ ถ้าไม่สวยเลอเลิศจริง ๆ โอกาสได้ผัวนี่ยาก เพราะเขารู้กันก็ไม่ค่อยไปเที่ยว แต่คนสวยนี่ถึงแม้เป็นลูกผีกะก็มีหนุ่มหน่วยหน้ากล้าตายกล้าเสี่ยงไปเที่ยวหาเหมือนกัน โดยเฉพาะหนุ่มต่างหมู่บ้าน เล่ากันว่าเวลาไปเที่ยวหาสาวผีกะ ขากลับจะมีนกเค้าแมวบินตามมาส่งถึงบ้าน หนุ่มบางคนโดนนกเค้าแมวบินโฉบจับหัวระหว่างทาง นอนจับไข้ไปหลายวันก็มี [/FONT]
[FONT="]แต่ที่หมู่บ้านผมมีหนุ่มคนหนึ่งไม่กลัวผีกะ เที่ยวหาสาวผีกะจนได้เป็นผัวเขาจริง ๆ เพราะสาวนางนั้นสวยจนหนุ่มอดใจไม่ไหว แต่เมื่ออยู่กันไป หนุ่มนายนั้นฉลาด รู้จักเลี้ยงผีทุกเดือนทุกปี ปรากฏทำมาหากินรุ่งเรือง จนได้เป็นเจ้าของโรงสี มีรถยนต์ 2-3 คัน นั่นถือว่ารวยที่สุดในหมู่บ้านแล้ว ตอนแกเป็นหนุ่มโสดก็มักไปเที่ยวที่บ้านผมทุกวันเพราะเป็นเพื่อนกับน้าชาย ก็เลยไปเที่ยวทางเดียวกัน ได้เมียผีกะอยู่หมู่บ้านเดียวกันกับน้าชาย [/FONT]
[FONT="]แต่น้าชายของผมยากจนจนตาย เพราะแม้ผีของตัวเองแกก็ไม่เคยเอาใจใส่ ผีที่ไหนจะช่วยแก (ผีคือเคหะเทวดานั่นเอง)[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapedefaults v:ext="edit" spidmax="1027"/> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapelayout v:ext="edit"> <o:idmap v:ext="edit" data="1"/> </o:shapelayout></xml><![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]คนหลอกผี[/FONT]
[FONT="]แม่เล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนผ่านมาไม่กี่สิบปีมานี่เอง กลางทุ่งนาแห่งหนึ่ง ห่างจากตำบลของเราก็ไกลมากอยู่ มีผีปู่แก้วรูปหล่อ อาศัยอยู่ ตรงนั้นจะเป็นบ่อน้ำไหลหาง คือน้ำซับหรือน้ำซึม ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี มีต้นไม้ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง เป็นที่อาศัยของผีปู่แก้วรูปหล่อ แต่ผีปู่แก้วนี้เป็นผีใจดีนะ มีทรัพย์สมบัติเยอะ โดยเฉพาะถ้วยโถโอชาม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคนจะจัดงานทำบุญใหญ่ต้องไปยืมถ้วยชามต่าง ๆ จากวัดในหมู่บ้านนั้น แต่คนที่อยู่ใกล้กับผีปู่แก้วก็มักไปขอยืมจากผีปู่แก้ว [/FONT]
[FONT="]วิธียืมก็เพียงแต่นำดอกไม้ธูปเทียนไปวางที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ผีปู่แก้วอาศัยอยู่ เอ่ยปากขอยืมสิ่งที่ต้องการ เมื่อเสร็จงานแล้วจะเอามาส่ง แล้วก็นัดหมายเวลาจะมาเอา เมื่อถึงเวลามาเอา สิ่งที่ต้องการยืมก็จะวางอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่นั้น แต่ถ้าใช้เสร็จต้องคืนนะครับ คนไหนไม่คืนต้องมีเรื่องเดือดร้อนแน่ แต่ถึงกระนั้นผีปู่แก้วก็ไม่วายโดนคนร้ายหลอกเอาจนได้[/FONT]
[FONT="]อยู่มาวันหนึ่ง มีชายคนหนึ่งปากเบี้ยว พูดจาไม่ชัด เดินลากขา มาขอยืมถ้วยชามของผีปู่แก้ว บอกว่าบ้านอยู่ตรงนั้นตรงนี้ จัดงานเสร็จแล้วจะเอามาส่ง ปู่แก้วก็ให้เหมือนทุกครั้ง แต่คราวนี้ไม่เหมือนคราวก่อน ของไม่กลับมาคืนเหมือนคนอื่น ๆ ยืม ผีปู่แก้วก็ตามหาชายคนดังกล่าวก็หาพบไม่ เพราะไปตามหาคนลักษณะที่เห็นคือปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ทั้งยังเดินลากขาอีก ลักษณะอย่างนี้หาตัวง่าย แต่หาไปกี่ตำบลที่อยู่รอบ ๆ ก็ไม่พบ แท้จริงแล้วปู่แก้วถูกชายคนนั้นหลอก เขาอมมะนาวไว้ที่แก้มข้างหนึ่ง แล้วทำปากเบี้ยว แกล้งพูดเหมือนคนปากเบี้ยวพูด แล้วแกล้งทำเดินลากขาเหมือนคนขาพิการ แต่เมื่อได้ของไปแล้วเขาก็คายเอามะนาวออก เดินแบบปกติ แล้วก็เอาถ้วยของผีปู่แก้วไปขาย เอาเงินไปกินเหล้ากินยาเสีย คน ๆ นั้นเป็นคนเก่งวิชา มีคาถาอาคมบังตัวด้วย ผีปู่แก้วเลยโดนหลอก ผีปู่แก้วหาชายคนนั้นไม่พบก็ไปเข้าสิงชาวบ้าน บอกเล่าเรื่องราวดังกล่าว เรื่องนี้จึงถูกเล่าต่อ ๆ กันมา ตั้งแต่นั้นมาผีปู่แก้วก็ไม่มีถ้วยไหให้ใครยืมไปจัดงานอีก [/FONT]
[FONT="]ผีปู่แก้วรายนี้มีเรื่องเล่าลือกันมากว่าเป็นผีเจ้าชู้ ชอบไปเที่ยวหาหญิงสาวตามหมู่บ้าน คือตามประเพณีวัฒนะธรรมของชาวเหนือแต่โบราณมา พอตกค่ำผู้ชายจะไปเที่ยวบ้านหญิงสาวที่ตนเองชอบ ฝ่ายหญิงสาว ตกค่ำก็ต้องหางานทำ เช่นจักสาน ทอผ้า เย็บผ้า จุดตะเกียงนั่งทำกัน 2-3 คน ในกลุ่มพี่ ๆ น้อง ๆ พอหนุ่มมาเที่ยวหาสาว ก็มานั่งเฝ้าพูดจาปราศรัยกันไป หนุ่มก็ช่วยงานจับนั่นทำนี่ไปด้วย แต่สมัยโน้นเขาชอบพูดเป็นค่าวเป็นเครือ คือเป็นบทเป็นกลอนนั่นเอง คนเป็นหนุ่มสาวต้องหัวไว วัน ๆ ก็คงคิดแต่หาคำพูดให้คล้องจองกันไว้โต้คารมกัน ส่วนพ่อแม่พอตกค่ำเวลาหนุ่มสาวเขาจะมาเที่ยวหากัน พ่อแม่ก็เข้านอนก่อน คอยฟังอยู่ในห้อง ปล่อยให้หนุ่มสาวเขานั่งโต้คารมกันที่ชานเรือน ผมเกิดไม่ทันสมัยนิยมดังกล่าว เลยไม่รู้ถ้อยคำที่เขาใช้โต้คารมกัน[/FONT]
[FONT="]ผีปู่แก้วก็ไปเที่ยวกับเขา แต่งตัวภูมิฐาน(ตามสมัยนิยมเวลาโน้น) หวีผมแปล้ กลิ่นน้ำหอมโชยกรุ่นทีเดียว แต่ชอบนั่งห่าง ๆ ไม่พูดไม่จา แต่ส่วนมากจะไปกับหนุ่มคนอื่น ๆ ปล่อยให้เขานั่งคุยกัน ปู่แก้วก็นั่งเป็นเพื่อน จนดึกดื่นค่อนคืนเมื่อเขากลับปู่แก้วก็กลับพร้อม ๆ กับเขา บางวันก็ไม่ได้ไปกับเขา สาวก็ถามหนุ่มว่าวันนี้พี่มาคนเดียวหรือ หนุ่มก็ตอบว่า[/FONT]”[FONT="]พี่ก็มาคนเดียวทุกคืนนี่นา[/FONT]”[FONT="] สาวว่า [/FONT]“[FONT="]แล้วเพื่อนที่เคยมาด้วยล่ะ เป็นใครถ้าไม่มาด้วยกัน[/FONT]”[FONT="] หนุ่มถามกลับด้วยความแปลกใจ [/FONT]“[FONT="]เพื่อนที่ไหนมี พี่ก็มาคนเดียวทุกวัน[/FONT]”[FONT="] สาวว่า [/FONT] “[FONT="]จริง ๆ นะ พี่มาสองคน อีกคนก็นั่งอยู่ข้างหลังพี่ ไม่เห็นพูดคุยอะไรเลย เอาแต่นั่งยิ้ม หน้าตาดี หล่อกว่าพี่อีก หวีผมแปล้เชียว ชายหนุ่มเคยได้ยินมามั่งว่าผีปู่แก้วชอบตามหนุ่มไปเที่ยวสาว เมื่อได้ยินดังนั้นก็ขนหัวลุก [/FONT]“[FONT="]น่ากลัวผีปู่แก้วตามพี่มาซะแล้ว อึ๋ยยยย...แล้วพี่จะกลับบ้านยังไงเนี่ย[/FONT]”[FONT="] [/FONT]
[FONT="]ถ้าเป็นท่านผู้อ่านล่ะ จะมีความรู้สึกอย่างไรหากพบเหตุการณ์ดังกล่าว เหวอออออ.....[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if !mso]> <style> v\:* {behavior:url(#default#VML);} o\:* {behavior:url(#default#VML);} w\:* {behavior:url(#default#VML);} .shape {behavior:url(#default#VML);} </style> <![endif]-->
[FONT="] แต่ดั้งเดิมมา[/FONT][FONT="]คนไทยเราไม่มีนามสกุลใช้ การนับสายตระกูลของคนไทยแต่โบราณน่าจะนับเอาข้างฝ่ายมารดาเป็นหลัก ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์และสัตว์ เพราะฝ่ายอุ้มท้องเลี้ยงดูบุตรเป็นหน้าที่ของมารดา มารดาจึงมีความชิดใกล้บุตรมากกว่าบิดา แม้เลือดเนื้อร่างกายของบุตรก็เป็นของมารดา ส่วนของบิดานั้นมีเพียงน้ำเชื้อที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นเท่านั้น ดังนั้นในฝ่ายคนไทยล้านนาจึงถือฝ่ายมารดาเป็นต้นตระกูลโดยใช้ผีเป็นหลัก ถ้าจะสืบหาต้นตระกูลเขาจะถามกันว่านับถือผีไหน เพราะแต่ละตระกูลมีผีของตนเอง เป็นผีปู่ย่าตายายนั่นเอง ถ้ารู้ว่าผีเดียวกันก็ยอมรับว่าเป็นสายญาติกัน ความเชื่อนี้หลงเหลือมาถึงรุ่นแม่ของผมเป็นรุ่นสุดท้าย หลังจากนั้นมาก็ไม่ถามกันเรื่องผีอีก ต้นเหง้าเค้าเดิมความเชื่อเรื่องผีประจำตระกูลก็ใกล้จะมอดดับหายไปกับกาลเวลา[/FONT] [FONT="]แม้คนรุ่นเดียวกับผมซึ่งมีอายุเลข ๕ นำแล้ว จะมีสักกี่คนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้พอที่จะตอบสังคมได้[/FONT][FONT="]ผีต้นตระกูล[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]ทุก ๆ ปี ผีประจำตระกูลจะลงประทับทรง โดยมีกำหนดวันเดือนของแต่ละตระกูลตายตัว เช่นผีข้างฝ่ายแม่ของผมโดยมีแม่ผมเป็นคนทรงรุ่นสุดท้าย (เดี๋ยวนี้คงไม่มีแล้ว) จะมีวันเข้าผี(ลงองค์)ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งตรงกับเดือนมีนาคม เป็นเดือน ๔ ของภาคอื่น ๆ เมื่อถึงกำหนดวัน บรรดาลูกหลานที่นับถือผีเดียวกันก็จะมารวมตัวกัน อัญเชิญผีปู่ย่า หรือผีประจำตระกูลลงประทับทรง เยี่ยมลูกหลาน ใครเดือดร้อนเรื่องอะไรก็ปรึกษาผี ใครเกกมะเหรกเกเรอย่างไรก็อาศัยผีเป็นผู้อบรมบอกกล่าว ซึ่งได้ผลดีกว่าใช้คนอบรม เพราะพวกหนา ๆ นี่ต้องใช้อิทธิฤทธิ์กำราบ คนเราไม่มีอิทธิฤทธิ์เพียงพอที่จะให้เชื่อถือกัน แต่ผีหรือเทวดาท่านสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์บางอย่างให้คนยอมรับได้ว่าผีมีจริง พอรู้ว่าผีมีจริงก็ยอมรับว่าการเวียนว่ายตายเกิดมีจริง โลกหน้าหลังจากตายมีจริง บาปบุญคุณโทษมีจริง กรรมเวรมีจริง คนเกเรก็เชื่อฟังผี กลับเนื้อกลับตัวทำท่าน่ารักขึ้น [/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]ก่อนที่แม่ผมจะเป็นคนทรง ต้นผีของตระกูลฝ่ายแม่ของผมอยู่ถึงอำเภอสอง จังหวัดแพร่โน่น ซึ่งรุ่นผมนี่ไม่รู้แล้วว่าอยู่ตรงไหน หมู่บ้านตำบลอะไร แต่ยายกับแม่จะไปมาหาสู่กับต้นตระกูลอยู่ เวลาถึงประเพณีลงผียายผมเดินทางจากเมืองแพร่ไปเมืองสอง ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร รถราไม่มีครับ ต้องเดินลูกเดียว แต่ผีฝ่ายพ่อของผมอยู่หมู่บ้านของพ่อ ห่างจากบ้านของเราประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่ผมใช้ชีวิตอยู่นานที่สุด (คืออยู่ในวัด) บ้านต้นผีก็รู้จักเพราะแม่บอก แต่พวกลูก ๆ มักไม่ได้ผูกพันกับผีฝ่ายพ่อ ไม่ว่าจะเป็นลูกหญิงหรือชาย ซึ่งมันก็เหมือนการใช้นามสกุลนั่นเอง แม้แม่ของเราเกิดมาใช้นามสกุลอะไร แต่หลังจากแต่งงานจดทะเบียนกับพ่อแล้วแม่ก็เลิกใช้นามสกุลของตนเอง เมื่อมีลูก พวกลูก ๆ ก็ไม่ได้ใช้นามสกุลของแม่ ลูกบางคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสกุลเดิมของแม่คือสกุลอะไร[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]ผีประจำตระกูลก็น่าจะเป็นเคหะเทวดากระมัง เพราะท่านจะมีที่อยู่ตรงมุมใดมุมหนึ่งของบ้านต้นตระกูล มีขันเช่นขันโตก อาจทำด้วยไม้หรือเครื่องจักสาน วางอยู่มุมใดมุมหนึ่ง มีดอกไม้ธูปเทียน และของเก่าแก่ดั้งเดิมวางอยู่ด้วยกัน ผมเห็นสิ่งเหล่านี้ที่บ้านยายตั้งแต่เป็นเด็กน้อย มีหอก ดาบ สามง่าม ซึ่งล้วนเป็นอาวุธ มีหมวกโบราณที่เหมือนเจ้าสวม ทำด้วยไผ่สานทรงบานยอดแหลม เคลือบด้วยครั่งหรือรัก(ไม่แน่ใจ) เขียนลวดลายไทยเป็นดิ้นทองสวยงามรอบหมวก ถ้าเข้าไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจะเห็นหมวกนี้ ที่พระรูปของพระพุทธยอดฟ้าที่สะพานพุทธทรงสวมใส่นั่นแหละ (ต่อมาผมนำหมวกนี้ไปถวายเจ้าอาวาสวัดพระธาตุถิ่นแถนหลวงให้เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ (เมื่อปี 2548) เพื่อเป็นคู่กับหมวกอีกใบที่ท่านมีอยู่ซึ่งสืบทอดมาจากเจ้าเมืองแพร่ กลัวว่าถ้าแม่จากไปแล้วสมบัติเก่าแก่นี้จะถูกลูกหลานบางคนเอาไปขายเป็นของเก่า)เช่นดาบและหอก สามง่าม ซึ่งหายไปอย่างไร้ร่องรอย)[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]ผมเคยถามยายว่าหมวกใบนี้เป็นของใคร ยายว่าเป็นของทวด พ่อของแม่ของยายอีกที ทวดเป็นทหาร ไปรบถึงเมืองลาวเวียงจันทร์ (สมัยรัชกาลที่ ๓ สงครามเจ้าอนุวงศ์ ) ทวดกลับมาพร้อมกับหญิงลาว 2 คน เอามาเป็นทาสรับใช้อยู่ในหมู่บ้าน แม่ยังทันเห็นหญิงลาว 2 คนนั้น ซึ่งแก่แล้ว [/FONT] [FONT="](ถ้าผมจะขยายความเรื่องนี้ก็จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ล้านนาไปแล้วครับ)[/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]แต่ตาทวดคงไม่ใช่ผีปู่ย่าหรอกครับ เพราะผีท่านชื่อเจ้าอ้น ถามอายุของท่านสมัยเป็นมนุษย์ ท่านบอกว่าจำไม่ได้แล้ว ท่านรู้สึกว่าท่านเป็นเทวดาอย่างนี้มาตลอด จำไม่ได้ว่าเคยเกิดเป็นคนบ้างหรือไม่ นั่นแสดงว่าท่านเป็นเทพมาหลายหมื่นหลายแสนปีแล้วกระมัง เพราะท้าวกุเวร (องค์พ่อจิตรา ในหนังสือ [/FONT]“[FONT="]อภินิหารองค์ญาณแก้วมณีโชติ[/FONT]”[FONT="] สำนักพิมพ์เดียวกัน หรือในเว็บ [/FONT]www.sanyasi.org [FONT="]) ซึ่งเป็นเทวราชา หรือท้าวโลกบาล อยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ชั้นที่ ๑๔-๑๕ ท่านยังจำได้ว่าเมื่อ 4-5 พันปีมาแล้ว ท่านเกิดเป็นกษัตริย์กรุงเวสาลี เมื่อราวพันปีที่แล้วท่านลงมาเกิดเป็นพระเจ้าชัยวรมัน กษัตริย์เขมรที่สร้างนครวัด แต่เจ้าอ้น และเจ้าบรวงศ์ ซึ่งเป็นเทพบนสวรรค์ชั้นที่ ๘ (ชั้นเดียวกับจตุคามรามเทพ) ที่ลงมาประทับทรงร่างของแม่บอกว่าท่านไม่เคยเกิดเป็นคน หรือเคยเกิดก็จำไม่ได้ เพราะนานเหลือเกิน[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapedefaults v:ext="edit" spidmax="1027"/> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <o:shapelayout v:ext="edit"> <o:idmap v:ext="edit" data="1"/> </o:shapelayout></xml><![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]ผมว่าเรื่องผีนี้แต่ละชาติแต่ละภาษาคงมีความรู้สึกกับผีแตกต่างกัน คนไทยรู้สึกถึงผีหมายถึงคนตายแล้วจึงเป็นผีมาหลอกหลอน ดังนั้นคนไทยจึงกลัวคนตายทุกคนแม้กระทั่งคนที่รักที่สุดในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ สามี ภรรยา ลูก หลาน อันเป็นสุดที่รัก เมื่อตายแล้วก็เกิดความรู้สึกกลัวหวาดผวาที่จะได้พบเจอ จึงเมื่อคนที่รักตายก็หาพระหรือหมอผีมาสวดปัดรังควานไล่ผีให้หนีไป แม้เสื้อผ้า ของที่คนตายเคยรักและหวงแหนก็ไม่อยากให้เหลืออยู่ในบ้าน กลัวคนตายจะตามมาเอาของรักของหวงเหล่านั้น ก็ต้องใส่โลงเผาให้ไหม้พร้อมกันไป ขณะที่ศพยังอยู่ในบ้านก็หวาดกลัวผีคนตายเป็นที่สุด จนกระทั่งหาเพื่อนมานอนด้วย ดังนั้นการเล่นการพนันต่าง ๆ ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าหาเพื่อนมาอยู่ด้วยเพราะกลัวผีคนตายนั่นเอง นับเป็นความหวาดกลัวที่ไร้เหตุผลที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้ที่ตายไปแล้วก็รู้สึกเสียอกเสียใจกับผู้ที่ตนเคยรักสมัยยังไม่ตาย พอตนตายเขาก็หาพระหาหมอผีมาขับไล่ ความเศร้าโศกเหล่านี้ได้ถมทับความรู้สึกของผู้ตายราวกับตกนรกทีเดียว [/FONT][FONT="]คนเป็นรังแกคนตาย[/FONT]
[FONT="]ความยึดมั่นในประเพณีที่ทำตาม ๆ กันมาก็ส่งผลให้เกิดฤทธิ์อำนาจขึ้นมาเช่นกัน เมื่อเป็นคนเห็นพระหรือหมอผีทำพิธีไล่ผีคนตาย เมื่อตนเองตายเห็นเขาทำพิธีนั้นก็เกิดความหวาดกลัวด้ายสายสิญจน์บ้าง น้ำมนต์บ้างที่พระหรือหมอผีทำขึ้น จึงเข้าบ้านไม่ได้ ก็ต้องเดินร้องไห้ลัดเลาะไปตามรั้วบ้าน เข้าใกล้สายสิญจน์ก็เร่าร้อนดุจไฟแผดเผา ความรักความอาลัยในคนที่รักเล่าก็กัดกร่อนอยู่ในหัวอก ใครหนอจะรู้ว่าคนตายนั้นทุกข์ระทมขนาดไหน แม้ไม่ตกนรกก็ทุกข์เพราะนรกที่มนุษย์ที่ตนเองรักพากันสร้างขึ้น [/FONT]
[FONT="]ผมว่าคนจีนน่าเคารพนับถือนักในเรื่องนี้ คนจีนไม่กลัวผีคนตาย ไม่กลัวร่างคนตาย ไม่กลัวกระดูกคนตาย พ่อแม่ตายคนจีนบางคนเอาศพฝังไว้ในเรือกสวนไร่นา หรือในบริเวณบ้าน กราบไหว้บูชาด้วยซ้ำไป เพียงแต่คนจีนกลัวความตาย กลัวตัวเองตายพวกเขาไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ถึงหลักความจริงของชีวิต จึงพากันหวาดหวั่นต่อความตาย แต่คนไทยเราไม่สู้จะกลัวตายเท่าไรนัก แต่กลับกลัวผีคนตายมาหลอกหลอน น่าสงสารจริง ๆ [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]เมื่อปี พ.ศ.2544 ผมท่องเที่ยวอยู่แถวนครพนม ได้ไปกราบพระคุณเจ้าที่คนเคารพนับถือ ณ วัดป่าแห่งหนึ่ง พระคุณเจ้าได้แนะนำให้รู้จักคนระลึกชาติได้คนหนึ่ง ชื่อแม่บัวเงิน ภูมริน แม่บัวเงินเล่าว่า ชาติก่อนเป็นสาวน้อย ยังไม่ทันได้แต่งงาน แต่ก็มีคนรักแล้ว ต่อมาเป็นไข้ กินแตงโมที่พ่อซื้อมา เกิดแสลงไข้ก็เลยตาย พอตายก็ไม่รู้สึกตัวว่าตนเองตาย เห็นเขาหามร่างคนตายใส่หีบไม้ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นร่างตนเอง เพราะตนเองก็ยังมีชีวิต รู้สึกหนาว ร้อน รู้สึกหายใจ ใครพูดอะไรก็ได้ยินหมด ใครทำอะไรก็เห็นหมด ใครไปใครมาในบ้านนั้นก็รู้เห็นหมด จึงไม่รู้สึกว่าตนเองตาย เพียงแต่แปลกใจที่ทักทายใครเขาก็ไม่พูดด้วย จับแขนจับตัวใครเขาก็ไม่รู้สึกตัว ไม่หันมามอง เขานิมนต์พระมาสวดก็อยู่ในพิธี เมื่อถึงวันที่เขาหามศพไปป่าช้าก็ตามเขาไปด้วย เมื่อเขาเผาศพก็ยืนดูจนกลุ่มผู้ชายกลุ่มสุดท้ายจะออกจากป่าช้า จึงเดินตามเขากลับบ้าน แต่ผู้ชายที่ออกคนสุดท้ายเป็นสัปเหร่อ เมื่อออกพ้นเขตป่าช้าก็ตัดต้นไม้เล็ก ๆ เสกคาถาวางขวางทางไว้ [/FONT][FONT="]คนระลึกชาติเล่าชีวิตหลังจากตาย[/FONT]
[FONT="]เป็นเรื่องอัศจรรย์ หญิงสาวเดินตามเขาห่างไม่กี่ก้าว เมื่อเขาตัดไม้ปิดทางก็ไม่สามารถเดินข้ามกิ่งไม้เล็ก ๆ นั้นได้ เมื่อจะเดินข้าม กิ่งไม้เล็ก ๆ ก็กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ขวางทาง ก็ข้ามไม่ได้ จึงเดินไปทางโคนไม้ ไม้นั้นก็ยาวออก ๆ ขวางทางไว้ เดินไปทางปลายไม้ มันก็ยืดยาวออกไปไม่มีที่สิ้นสุด เธอจึงออกจากป่าช้าไม่ได้ ร้องไห้อยู่ในป่าช้า มองไปทางไหนก็เปล่าเปลี่ยว ก็รู้สึกหวาดกลัวสารพัด กลัวสัตว์ร้ายพวกเสือ หมี หมาป่า จะมากัด กลัวผู้ชายมาพบเข้าเขาจะปลุกปล้ำ เธอเดินร้องไห้มองหาที่หลบภัย จนพบไม้ต้นหนึ่งที่มีกิ่งก้านสาขา มีคาคบไม้พออาศัยได้ จึงปีนขึ้นไปอยู่บนต้นไม้นั้น เธอร้องไห้จนหลับไปบนคาคบไม้นั่นเอง ตื่นขึ้นมาก็รู้สึกหิว จึงลงจากต้นไม้หาของกิน ก็ไม่รู้จะกินอะไร มองเห็นก้อนดินใต้ต้นไม้ ก็หยิบกินพอประทังความหิว กินเสร็จก็ปีนขึ้นอยู่บนต้นไม้เหมือนเดิม ง่วงก็หลับ [/FONT]
[FONT="]จนผ่านไป 3 ราตรี ก็มีผู้ชายคนหนึ่งใส่ชุดเหมือนลิเก เดินเข้ามาหา เงยหน้าถามจากข้างล่างว่า [/FONT]“[FONT="]อีนาง มึงอยากกลับบ้านมั้ย มึงมาได้ 3 วันแล้วนะรู้รึเปล่า[/FONT]”[FONT="] เธอก็ตอบด้วยความยินดีว่า [/FONT]“[FONT="]อยากกลับเจ้าค่ะ[/FONT]”[FONT="] ชายคนนั้นก็เรียกเธอลงมา บอกว่าให้เดินนำหน้า เขาจะเป็นคนบอกทางเอง และถามว่า ในหมู่ญาติพี่น้องเธอคิดถึงใครมากที่สุด เธอตอบว่าคิดถึงพี่ชาย (ลูกของป้า) ชายคนนั้นก็พาเธอไปส่งจนถึงประตูบ้าน แต่บอกว่า อย่าเพิ่งเข้าไปนะ รอให้ค่ำก่อนพี่ชายเธอจะเดินออกมาปิดประตูบ้าน เธอค่อยเดินเข้าไปกับเขาเถิด แล้วชายคนนั้นก็ลากลับ เธอยืนรอจนค่ำจึงเห็นพี่ชายเดินมาที่ประตูรั้วบ้าน เธอก็เข้าไปกับเขา พอเข้าถึงตัวบ้านเธอก็หมดความรู้สึก มารู้ตัวอีกทีก็เมื่ออายุประมาณขวบกว่า ๆ จำเรื่องราวทั้งหลายได้ ตั้งแต่นั้นก็รบเร้าพ่อในชาตินี้ซึ่งคือพี่ชาย ลูกของป้าในชาติก่อน ให้พาไปหาแม่ชาติก่อน บอกว่าพี่พาไปหาแม่ที พ่อก็บอกว่าแม่ก็อยู่ที่นี่แหละ แล้วจะให้พาไปหาแม่ที่ไหนอีก เธอก็บอกชื่อแม่ในชาติก่อน ทำให้พ่อในปัจจุบันแปลกใจ จึงบอกว่า มันดึกแล้ว พรุ่งนี้เช้าค่อยไปนะ[/FONT]
[FONT="]เธอรีบตื่นแต่เช้ารบเร้าให้เขาพาไปบ้านแม่ ซึ่งอยู่ห่างกันราว 300 เมตร ปัจจุบันอยู่คนละซอย ในหมู่บ้านเดียวกัน เมื่อได้พบแม่และพี่ ๆ ในชาติก่อนก็ดีใจกระโดดกอดคนนั้นคนนี้ จากนั้นก็เล่าเรื่องต่าง ๆ ให้เขาฟัง ปีที่ผมพบและสัมภาษณ์แม่บัวเงินนั้นแกยังจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผ่านมา 11 ปี ผมไม่ทราบว่าเป็นยังไงกันแล้ว[/FONT]
[FONT="]เรื่องราวของแม่บัวเงินทำให้ผมเข้าใจความรู้สึกและชีวิตหลังจากตายได้ดี แม่บัวเงินบอกว่าเธออยู่ป่าช้าต้องกินดินเป็นอาหาร เพราะตอนเป็นมนุษย์ไม่เคยได้ทำบุญให้ทานเลย มีอยู่ครั้งเดียวคราวสร้างวัดได้ช่วยเขาขนดินไปถมวัดปรับพื้นที่เพื่อจะสร้างวัด ผลบุญนั้นทำให้ได้กินดินเป็นอาหาร[/FONT]
[FONT="]ในภพภูมิของกายทิพย์นั้นทุกอย่างได้มาด้วยบุญกุศล ชีวิตมนุษย์มีเงินทองที่สมมติกันขึ้นเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ใครจะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับเงินทองเป็นหลัก แต่ชีวิตในโลกทิพย์ ต้องอาศัยบุญกุศลเป็นตัวกลาง จะมีอยู่มีกิน ที่อยู่ อาหาร เสื้อผ้า ได้มาเพราะบุญที่ได้ทำสมัยเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น[/FONT]
[FONT="]คราวที่ผมสัมภาษณ์แม่บัวเงินนั้นมีลุงคนหนึ่ง อายุ 80 ปี ฟังอยู่ด้วย ได้เล่าให้ผมฟังว่าแม่ยายของเขาก็ระลึกชาติได้ เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว มีอยู่วันหนึ่งแกไปนามาถึงบ้าน ภรรยาบอกว่าแม่ยายมาเยี่ยม ผมก็แปลกใจ แม่ยายตายไปแล้วมาเยี่ยมได้อย่างไร เมียก็บุ้ยปากไปที่เด็กน้อยอายุยังไม่ถึง 3 ขวบ ที่นั่งอยู่ที่ชานเรือน เด็กน้อยบอกว่าอาบน้ำกินข้าวเสียก่อน เดี๋ยวมีเรื่องเล่าให้ฟัง[/FONT]
[FONT="]เมื่อผมอาบน้ำแล้วพวกเราก็ล้อมวงกินข้าวกัน เด็กน้อยกินไปก็เล่าไปว่า ฉันตายแล้วไปตกนรก ต้องไปแช่อยู่ในสระน้ำคลำดำปี๋ ด้วยผลกรรมนิดหน่อยคือทำมะเหง็กใส่ผัวตนเอง ฉันอยู่ไปวัน ๆ จะขึ้นจากสระไปไหนก็ไม่ได้ จนวันหนึ่งรู้สึกอยากกินหมากจึงขออนุญาตผู้คุม อยากไปหาลูก ไปขอหมากเขากิน ผู้คุมบอกว่าจะไปก็รีบไป แล้วรีบกลับ ฉันได้รับอนุญาตแล้วจึงขึ้นจากสระนั้น เดินกลับไปหาลูกที่บ้าน ไปเข้าฝันขอหมากลูก ฝ่ายลูกสาวคนโตฝันว่าแม่มาขอหมากพลูกิน ก็หาข้าวปลาอาหารพร้อมหมากพลูบุหรีไปถวายพระที่วัด อุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ [/FONT]
[FONT="]แกได้กินข้าวอิ่มหนำสำราญพร้อมอาหารการกินก็รีบกลับไปแช่น้ำคลำเหมือนเดิม แต่อาจเป็นด้วยบุญกุศลที่ลูกทำส่งให้ แกเลยพ้นจากนรกเร็วขึ้น เมื่อขึ้นจากสระน้ำคลำแกก็อาบน้ำในสระที่สะอาดจึงเดินทางไปหาลูก จนที่สุดพบลูกชายมีอาชีพเป็นนักมวย แกก็ตามลูกชายไปทุกหนทุกแห่ง จนมาวันหนึ่งลูกชายเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง แกจะตามเข้าไป หมาในบ้านนั้นก็พากันเห่าหอนกระโดดใส่แก แกกลัวหมา มองเห็นกองขี้วัวอยู่กองหนึ่งก็เลยกระโดดเข้าไปในกองขี้วัว หมดความรู้สึก จนมารู้สึกเมื่อเป็นเด็กน้อยนี่แหละ[/FONT] [FONT="]แกไปเกิดที่อำเภอนาแกโน่น มีอายุในชาตินี้ได้ 30 ปีก็ตายไปไม่กี่ปีมานี่เอง [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]ถึงแม้คนไทยจะนับถือพุทธศาสนามาตั้งแต่ยุคทวาราวดีศรีวิชัย ซึ่งลงรากปักฐานที่ภาคใต้ โดยมีเมืองชัยยาเป็นศูนย์กลาง (หรืออาจก่อนนั้นก็ได้) แต่การนับถือผีก็มีมานานก่อนรับพุทธศาสนาเสียอีก ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ก็เช่นชาวเขาบนภูเขาสูง ถึงแม้เขาไม่ได้นับถือพุทธหรือคริสต์มาก่อนเขาก็ถือผีมาก่อน ผีนั่นเองคือศาสนาที่พึ่งทางใจของพวกเขา เขามีหมอผีเป็นเสมือนพระ หมอผีก็เหมือนร่างทรง มีประเพณีเลี้ยงผี ลงผีเช่นเดียวกับคนไทยภาคพื้นอื่น ๆ การถือผีเป็นที่พึ่งนี้นับเป็นธรรมชาติของคนโดยแท้ เพราะมันเป็นแบบเดียวกันทุกมุมโลก [/FONT][FONT="]ถือผีถือพุทธ[/FONT]
[FONT="]ไม่ว่าชาวป่าขาวเขาเผ่าไหนก็ล้วนมีผีของตน มีประเพณีของตน ต่อมาเมื่อประเทศที่มีวัฒนธรรมและกำลังเข้มแขงกว่าเข้าปกครองก็เข้าไปบีบบังคับให้ละทิ้งความเชื่อถือดั้งเดิม ให้มานับถือสิ่งที่ตัวเองนับถือ โดยเชื่อว่าทำให้เป็นคนสิวิไลส์ทันสมัยกว่า แต่แท้จริงแล้วมันก็ไม่ได้แตกต่างกัน เพียงแต่ละทิ้งประเพณีหนึ่งไปยึดเอาอีกประเพณีหนึ่งมาถือกันไป ตาม ๆ กันไปเท่านั้นเอง ยกเว้นคนที่เข้าถึงความจริงของชีวิตเช่นผู้ฝึกฝนทางจิต มองเห็นธรรมชาติของชีวิตจิตใจแจ่มแจ้งแล้ววางตัวเป็นกลางในสิ่งทั้งปวง มองทุกอย่างด้วยความเข้าใจ คนประเภทนี้ไม่ยึดมั่นประเพณีแบบไหน แต่เอาความจริงเป็นหลักเหมือนนักวิทยาศาสตร์ แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต คนกลุ่มนี้มีพระสมณะโคดมคือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเที่ยวสั่งสอนความจริงให้คนศึกษาตามจนเห็นความจริง ก็หลุดพ้นจากลัทธิประเพณีทั้งปวงโดยอัตโนมัติ คือพ้นจากศีลพรตนั่นเอง แต่ท่านเหล่านั้นไม่เคยบังคับให้ใครละทิ้งคำสอนหรือสิ่งที่ตนเองเคยนับถือมาแล้วมานับถือท่าน แต่ท่านสอนให้เรียนรู้ให้ศึกษา จนเห็นเช่นที่ท่านเห็นก็จะละทิ้งสิ่งเหลวไหลเดิมมานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งเอง [/FONT]
[FONT="]แต่มายุคนี้ คนที่ประกาศว่าเป็นศิษย์ของพระตถาคตกลับเที่ยวทำลายล้างลัทธิประเพณีความเชื่อของผู้อื่น เที่ยวชักชวนกันไปรื้อหอผีของชาวบ้านชาวเขา ให้มานับถือสิ่งที่ตนเองนับถือ ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็เข้าไม่ถึงสิ่งที่ตนเองนับถือสักน้อยนิด นอกจากทำไปตามประเพณีที่ทำสืบ ๆ กันมาเท่านั้น นี่เป็นสิ่งที่น่าหัวเราะเยาะเป็นอย่างยิ่ง คนเหล่านี้ชอบยัดเยียดความถูกต้องของตนเองให้ผู้อื่น และดูถูกความคิดความเห็นของเขา ไม่ว่าจะเป็นพวกที่นับถือศาสนาพุทธหรือคริสต์ เหมือนกันหมด [/FONT]
[FONT="]แท้จริงแล้วความหลากหลายเป็นความสวยงามอย่างหนึ่งของสังคม เหมือนดอกไม้ต่างชนิดและต่างสีเกิดขึ้นบนพื้นแผ่นดิน มันจะเป็นดอกอะไร สีอะไร จะกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นหอม มันก็คือดอกไม้ ถ้ารู้จักมองมันก็สวยงาม ไม่เห็นต้องไล่ถอนทิ้ง หรือเอายามาไล่ฉีดฆ่าทำลาย ลัทธิประเพณีแต่ละที่แต่ละแห่งล้วนน่าศึกษา น่าดูน่าชม ยิ่งเป็นยุคนี้ ยุคที่การท่องเที่ยวเฟื่องฟู ใครมีลัทธิประเพณีของตน ล้วนเป็นสื่อชักนำให้คนเข้าไปชมไปศึกษา ไม่มีใครเขารังเกียจกัน [/FONT]
[FONT="]คนที่มีการศึกษาก้าวหน้าย่อมยอมรับในความคิดเห็นและความเคารพเชื่อถือของผู้อื่น ถ้าเห็นว่าสิ่งที่ตนเองมีคุณค่าเหนือกว่าก็เพียงแต่แทรกเข้าไปเท่านั้น ไม่ควรรื้อถอนของดั้งเดิมของเขา เช่นคนไทยเราแต่ดั้งเดิม เรานับถือทั้งพุทธ นับถือทั้งผี ก็ไม่เห็นมันจะเสียหายตรงไหน เพราะพุทธศาสนาที่ชาวบ้านนับถือก็เป็นเพียงการนับถือตามประเพณีเท่านั้น มิใช่การเข้าถึงธรรมแต่อย่างใด [/FONT] [FONT="]มันไม่ได้แตกต่างจากคนนับถือผีแต่อย่างใด เช่นเดียวกับที่เราไปบังคับให้ชาวเขานับถือพุทธแล้วทิ้งลัทธิถือผี มันก็เพียงแต่ละทิ้งประเพณีถือผีมาถือประเพณีของชาวพุทธเท่านั้น สติปัญญาการเข้าถึงศาสนาระหว่างคนที่บังคับให้ถือและคนถูกบังคับเท่าเทียมกัน [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]เมื่อราวพันกว่าปีมาแล้ว ดินแดนไทยนี้เป็นที่อยู่ของพวกมอญ พวกขอม และพวกสยาม (คือคนไทยเรา)นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และถือผี ผสมปรนเปกันไป พุทธศาสนาที่ถืออยู่นั้นหนักไปทางลัทธิประเพณียิ่งกว่ายุคนี้มากนัก เพราะหลักธรรมคำสอนตำรับตำรายังไม่แพร่หลาย พุทธศาสนาที่ชาวบ้านเห็น รู้จัก และเคารพ ก็คือพระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ มีพระสงฆ์บวชอยู่เฝ้าวัด เป็นศูนย์กลางสังคม คอยรับสังฆทานเพื่ออุทิศให้ผู้ตาย เป็นศูนย์กลางของจารีตประเพณี แต่ผู้ที่เข้าถึงคำสอนนั้นหายากยิ่งนัก จนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรเพื่ออะไร พระจึงไม่ใช่ที่พึ่งทางใจอย่างแท้จริง [/FONT][FONT="]พุทธศาสนากับชาวบ้าน[/FONT]
[FONT="] ฤาษีชีผ้าขาวกลับมีบทบาทในการเป็นผู้นำทางจิตยิ่งกว่าพระในวัด แต่ฤาษีชีผ้าขาวเหล่านั้นก็นับถือพระพุทธเจ้า ออกบวชอุทิศต่อพระพุทธเจ้า นั่งสมาธิภาวนาอยู่ในป่าในดง มีอิทธิฤทธิ์ให้ผู้คนเห็นและยอมรับ ดังนั้นเราจึงพบร่องรอยในประวัติศาสตร์ว่ากษัตริย์ในแต่ละหัวเมืองส่งลูกหลานไปศึกษาวิชากับฤาษีชีผ้าขาวเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นพ่อขุนรามคำแหง พระยางำเมือง ล้วนเป็นศิษย์ของฤาษีแห่งสมอคอน จังหวัดพิจิตร พระนางจามเทวีเป็นศิษย์ของสุเทวฤาษี ทั้งเวลาสร้างบ้านสร้างเมืองก็ต้องอาศัยท่านฤาษีเหล่านั้นเป็นศูนย์รวมทางจิตเรียกคนมาช่วยสร้างบ้านเมือง แผ้วถางสถานที่ หนทาง เช่นเดียวกับท่านครูบาศรีวิชัย เป็นศูนย์รวมใจของชาวล้านนาในยุคที่ผ่านมานั่นเอง[/FONT]
[FONT="]ฤาษีชีผ้าขาวในยุคนั้นเก่งกล้าวิชาอาคมยิ่งนัก เพราะยุคนั้นเป็นยุคที่พุทธศาสนาตันตระได้หลากเข้ามามีอิทธิพลครอบงำในลุ่มแหลมทองแห่งนี้ ฤาษีจึงเป็นทั้งพุทธและพราหมณ์ผสมปนเปกันไป [/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]พุทธตันตระ เป็นนิกายที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิตันตระของศาสนาฮินดู นิกายนี้ถือกำเนิดในราวสมัยราชวงศ์คุปตะ แต่มาแพร่หลายหลังพุทธศตวรรษที่ 10-11 โดยซึมซับเอาความเชื่อดั้งเดิมในจารีตวรรณกรรม และผสมปรัชญาพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาแบบตันตระถือเป็นวิวัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ในอินเดียมีชื่ออื่นอีก เช่น มนตรยาน รหัสยาน คุยหยาน สหัชยาน เน้นเวทมนตร์คาถามากกว่านิกายอื่นๆ[/FONT]
[FONT="]เราเชื่อกันว่าผู้ที่นำพุทธศาสนาเข้ามายังแหลมทองคือพระโสณะและพระอุตตระ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พุทธศักราช 300 โดยประมาณ) โดยเข้ามาทางลังกา พม่า มอญ นครปฐม โดยมีเจดีย์นครปฐมเป็นหลักฐาน แต่แรกเริ่มก็คงจะมีพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด เพราะการเข้ามายุคแรกพระอรหันต์ได้นำพระไตรปิฎกเข้ามาด้วย เมื่อผ่านไปหลาย ๆ ร้อยปี คำสอนก็ค่อย ๆ แปรเปลี่ยนไป เพราะผู้เข้าถึงหลักธรรมมีน้อย ศาสนาที่ยังหลงเหลือก็เป็นเพียงประเพณีนิยมเท่านั้น ต่อมาเมื่อลัทธิพุทธตันตระแพร่เข้ามาทางภาคใต้พร้อมกับฮินดู ความเชื่อเหล่านี้ก็แทรกเข้าสู่จิตใจของชาวพุทธดั้งเดิม กลายเป็นพุทธตันตระ แต่นักบวชยุคนั้นน่าจะเหลือพระสงฆ์อยู่ไม่มาก ที่เหลือก็เป็นเพียงผู้เฝ้าศาสนสถานมากกว่าพระสงฆ์ผู้ทรงศีล จึงมีนักบวชนอกรูปแบบที่เรียกว่าฤาษีหรือชีผ้าขาว ได้แหวกกลุ่มออกไปหลีกเร้นอยู่ตามป่าเขา ปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างเข้มงวด จนมีความสามารถพิเศษเกิดขึ้น จนประชาชนให้การยอมรับเป็นที่พึ่งอันสูงสุด ตั้งแต่ประชาชนรากหญ้าจนถึงเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ [/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]การปฏิบัติของฤาษีชีผ้าขาวในยุคนั้นก็หนีไม่พ้นแนวของตันตระ คือถือเวทมนต์คาถาควบคู่กันไป แต่เวทมนต์เหล่านั้นใช้คาถาอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่มีจุดมุ่งในด้านอิทธิฤทธิ์ด้านใดด้านหนึ่ง เช่นถ้าอยากให้เกิดฤทธิ์ด้านมหาเสน่ห์ก็จะมีถ้อยคำหยาบโลนเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าจะให้เกิดด้านขลัง มหาอุด แคล้วคลาด ก็มีถ้อยคำอีกอย่าง ถ้าจะให้เกิดมหาโชคมหาลาภ ทำมาค้าขายดี ก็มีถ้อยคำอีกอย่าง ดังนี้เป็นต้น [/FONT]
[FONT="] [/FONT]
[FONT="]ร่องรอยที่หลงเหลือให้เห็นของพุทธตันตระยุคนั้นคือ การสร้างพระรอดลำพูน และตำราเดียวกันก็นำมาสร้างพระซุ้มกอกำแพงเพชร พระผงสุพรรณ พระนางพญาพิษณุโลก และหลวงปู่โตได้ตำรานั้นมาสร้างพระสมเด็จ ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตำราไสยเวทย์เหล่านี้ได้ถ่ายทอดมาหลายยุคหลายสมัย เมื่อผมเป็นสามเณรน้อยอยู่วัดบ้านนอก ผมค้นตู้ธรรมซึ่งจารึกด้วยอักษรล้านนา ได้พบตำราไสยเวทย์ผสมกับตำราพุทธศาสนาอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากเป็นชาดกที่แต่งขึ้นโดยพระนักปราชญ์ชาวล้านนาประมาณ พ.ศ. 1900-2100 ซึ่งยุคดังกล่าวพระภิกษุชาวล้านนาเชี่ยวชาญภาษาบาลียิ่งนัก แต่ถึงกระนั้นพุทธศาสนายุคนั้นก็ยังอยู่ในตำรา เพราะกษัตริย์เลื่อมใสนักปราชญ์ที่เจนจบตำราจึงมีพระที่เชี่ยวชาญภาษาบาลีและชาดกเป็นจำนวนมาก แต่หาผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนายาก เรื่องนี้มีประวัติของวัดอุโมงค์เถรจันทร์ (สวนพุทธธรรมเชียงใหม่) เป็นหลักฐานยืนยัน[/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> -
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]-->
[FONT="]วัดอุโมงค์เถรจันทร์[/FONT]
[FONT="]วัดอุโมงค์ เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นสวนพุทธธรรมเดี่ยวนี้แต่ดั้งเดิมเป็นป่าไผ่ 11 กอ เมื่อพระเจ้าเม็งรายมาสร้างนครเชียงใหม่เมื่อปี 1839 ได้สร้างพระอารามขึ้นที่นี่เพื่อให้พระมหากัสปะพร้อมพระเถระอีก ๔ รูปซึ่งนิมนต์มาจากเกาะสิงหล (ลังกา) ได้อยู่จำพรรษา ทรงตั้งนามว่า [/FONT]“[FONT="]วัดเวฬุกัฏฐาราม[/FONT]”[FONT="] แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า[/FONT]”[FONT="]วัดไผ่สิบเอ็ดกอ[/FONT]”[FONT="] [/FONT]
[FONT="] ต่อมา ในสมัยของพระเจ้ากือนา กษัตริย์รัชกาลที่ ๖ ( พ.ศ. 1898 - 1928 ) แห่งราชวงศ์เม็งราย ซึ่งเป็นผู้สร้างพระบรมธาตุดอยสุเทพขึ้นนั่นเอง ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ในสมัยของกษัตริย์พระองค์นี้มีพระมหาเถระผู้หนึ่งมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่งคือ [/FONT]“[FONT="]พระมหาเถรจันทร์[/FONT]”[FONT="] ซึ่งประวัติบ่งไว้ว่า แต่เดิมเป็นเด็กอยู่บ้านวัว มาบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดไผ่สิบเอ็ดกอเมื่ออายุได้ 16 ปี ต่อมาได้มาจำพรรษาเล่าเรียนที่วัดโพธิ์น้อยอีก 3 ปี อุปสมบทที่วัดโพธิ์น้อยอีก 3 ปี [/FONT]
[FONT="] ต่อมาครูบาเจ้าอาวาสวัดไผ่สิบเอ็ดกอป่วยหนัก ท่านจึงกลับไปอยู่อุปัฏฐากอาจารย์ อาจารย์จึงมอบคัมภีร์มันตระญาณชื่อ [/FONT]“[FONT="]มหามันตรประเภท[/FONT]”[FONT="] ให้ บอกว่าถ้าสามารถท่องมหามนต์นี้เจนจบจะทำให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ในวิทยาการทั้งปวง และจะตรัสรู้ธรรมได้รวดเร็ว[/FONT]
[FONT="] หลังจากท่านครูบาผู้เป็นอาจารย์ถึงแก่มรณภาพและปลงศพเสร็จแล้ว พระภิกษุจันทร์ก็เที่ยวแสวงหาสถานที่อันสงัด เพื่อจะท่องเวทย์มนต์ที่อาจารย์ได้มอบให้ ชาวบ้านจึงนำท่านไปอยู่ ณ ศาลาสุเทวฤาษี ซึ่งห่างจากวัดประมาณ พันวา ณ สถานที่นั้นพระภิกษุจันทร์ได้ท่องมนต์[/FONT]”[FONT="]มันตรประเภท[/FONT]”[FONT="]ได้พันคาบ จิตสูตร พันคาบ มหาสมัยสูตรพันคาบ ธรรมจักรพันคาบ พอถึงคืนที่ 3 ก็ย้อนกลับมาท่องมหาสมัยสูตรอีก พอสวดถึงบทว่า [/FONT]“[FONT="]เขมิยา ตุสิตา ยามา[/FONT]”[FONT="] ท่านก็เห็นแสงสว่างส่องตรงมา แสงนั้นเคลื่อนเข้ามาใกล้จนแลเห็นเป็นรูปกายมนุษย์ที่สวยงามยิ่งนักยืนอยู่ตรงหน้า ถามท่านว่า [/FONT]“[FONT="]ท่านมาทำอะไรที่นี่ เพื่ออะไร[/FONT]”
[FONT="]พระภิกษุจันทร์ตอบว่า [/FONT]“[FONT="]เราท่องมนต์เพื่อให้เกิดสติปัญญาเฉียบแหลม[/FONT]”
[FONT="] เทวดาจึงถามอีกว่า [/FONT]“[FONT="]ท่านจะอยู่ในพรหมจรรย์จนตลอดชีวิตหรือจะลาสิกขาหลังจากเรียนจบแล้ว[/FONT]”
[FONT="] พระภิกษุจันทร์จึงตอบว่า [/FONT]“[FONT="] เราถวายชีวิตของเราแด่พระศาสนา มิได้ปรารถนาสิ่งอื่นเลย[/FONT]”
[FONT="] เทวดาจึงกล่าวว่า [/FONT]“[FONT="]เราจะถวายของสิ่งหนึ่ง ท่านจงยื่นมือมารับเอาเถิด[/FONT]”
[FONT="] เมื่อเทวดายื่นสิ่งหนึ่งคล้ายหมากเคี้ยวให้ พระภิกษุจันทร์มองเห็นมือที่ยื่นมาสวยงามเหลือเกิน จึงรวบเอาทั้งหมากและมือนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า [/FONT]“[FONT="]อสติ กโรติ จงหาสติมิได้เถิด[/FONT]”[FONT="] แล้วหายวับไปกับตา ตั้งแต่นั้นภิกษุจันทร์ก็กลายเป็นคนหลง ๆ ลืม ๆ เพราะคำสาปของเทวดานั้น[/FONT]
[FONT="] เมื่อเรื่องกลับกลายไปเช่นนั้นภิกษุจันทร์ก็ลงมาอยู่ที่วัดโพธิ์น้อย เวลาใดที่สติกลับคืนมาท่านก็ท่องบ่นพระไตรปิฎกได้เชี่ยวชาญ เวลาใดที่รู้ตัวว่าหลง ๆ ลืม ๆ ท่านก็หนีเข้าป่าหาที่ท่องบ่นแต่ผู้เดียวตามลำพัง [/FONT]
[FONT="]กาลครั้งนั้นในเชียงใหม่มีพระภิกษุผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก 6 รูปด้วยกันคือ พระธัมมเทโว พระติกขปัญโญ 2 ท่านนี้ประจำอยู่วัดสวนดอก พระวาจเมโท พระจักขปัญญคุฑเถโร เป็นชาวพุกาม อยู่วัดเสขาน พระพุทธติสโสริยะ พระโสมาติสโสริยะ มาจากสุโขทัย (ตำราว่าเป็นชาวใต้) อยู่วัดปุยันโต ท่านเหล่านี้แม้จะรอบรู้พระไตรปิฎกก็หาเก่งเสมอมหาเถรจันทร์ไม่ [/FONT]
[FONT="] ในครั้งนั้นมักมีพระเถระจากต่างเมืองมาสนทนาไต่ถามปัญหาธรรมอยู่เสมอ เมื่อมีการถกปัญหาธรรมกันหาข้อยุติไม่ได้ก็ต้องนิมนต์ท่านมหาเถรจันทร์เป็นผู้เฉลย จึงจะได้รับความพอใจด้วยกันทุกฝ่าย พระเจ้ากือนาจึงโปรดปรานยิ่งนัก แต่ความที่มหาเถรจันทร์ชอบหายเข้าไปในป่าเสมอ เวลาต้องการตัวก็หาตัวลำบาก พระเจ้ากือนาจึงให้สร้างอุโมงค์เป็นถ้ำจำลองไว้ที่วัดไผ่สิบเอ็ดกอ มีหลากหลายห้องและช่องทาง เพื่อให้พระมหาเถระได้อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ตามความพอใจ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็พากันเรียกวัดนี้ว่าวัดอุโมงค์ [/FONT]
<!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
หน้า 1 ของ 4