อย่าบอกว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ เพราะสิ่งที่ผมพูด มีเหตุผลและมีเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นได้
เคยมีหรือไม่ที่ พระโพธิสัตว์บางท่าน ลาพุทธภูมิ ตัดละกิเลสได้เกือบหมด ที่เคยทรงอารมณ์ก็ไม่ทรงอารมณ์แล้วแต่สามารถละได้เลย แต่พอปั้นปลายชีวิต สัญญาโพธิญาณกลับแสดงตัวออกมาคือ มันยังละไม่ขาดจริงๆ แล้วอย่างนี้ก็ไปนิพพานไม่ได้แล้วอย่างนี้จะเป็นอย่างไรแล้วท่านจะไปไหนละครับ สาธุ
สงสัยเรื่องพระอนาคามี ครับ ใครเชี่ยวชาญช่วยตอบทีครับ
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย bankzar, 21 มิถุนายน 2013.
หน้า 6 ของ 8
-
-
คำถามของเรา ไม่มีอธิบายในพระคาถา หรือแม้แต่อรหันต์ครูอาจารย์ก็ไม่มีอธิบายเรื่องนี้ไว้ แล้วท่านจะตอบอย่างไรคิดว่าอย่างไร หรือว่าเป็นคำถามที่ไม่สามารถอธิบายได้เพราะ มันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะเหตุใด อย่างไร
แต่ในคำถามที่กระผมถามไปกระผมรู้คำตอบทุกอย่าง แต่อยากทราบว่าท่านจะคิดอย่างไร หากท่านถามกลับให้กระผมอธิบาย โดยที่ท่านไม่พยายามอธิบายอะไรใดๆ กระผมก็จะไม่ตอบคำถามนี้แก่ท่าน จนกว่าจะมีผู้ที่อยากรู้จริงๆและมีส่วนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมของเขาจึงจะกล่าวอธิบายให้ฟัง ในเหตุแห่งการเกิด ตลอดจนความเคลื่อนไปของจิตพระโพธิสัตว์ดวงนั้น -
ผู้จะละ หรือตั้งความปราถนาพุทธภูมิ หากมีบารมีสั่งสมมามากพอเพื่อลดละ หรือต่อเติม
ไม่ใช่ตั้งความปราถนาลดละ หรือต่อเติม ต่อหน้าพระพุทธรูป กราบไหว้ปะหลกๆ เท่านั้นแล้วจบ
ต้องตั้งจิตให้อยู่ในอารมณ์สังขารุเปกขาญาณ โน้นล่ะ
เปรียบเสมือนทางสามแยก ทีนี้จะเป็นไปตามกรรม.... -
-
แต่กลับไม่รู้ความเป็นอารมณ์ความเป็นกลางต่อสังขาร -
รู้ครับทำไมจะไม่รู้ ก็เพราะรู้ แต่ฌาณก็คือฌาณ ไม่ใช่ญาณ นี่ครับ
แม้ญาณมี ท่องไปมากแล้วก็จริง รู้แจ้งแล้วก็จริง แต่ปณิธาณมันฝังอยู่ลึกมาก พอมันผุดขึ้นมา ประกอบกับแรงแห่งวิบากกรรมดีที่เคยสั่งสมไว้มันกระทุ้งออกมาในปณิธาณที่แรงกล้า ชัดเจน มันดับไม่ลงปลงไม่ได้ละไม่มี อย่างนี้จะเรียกว่าอะไร ครับ สาธุ -
และคุณบอกว่าชอบใน จริยะวัตรของพระสารีบุตร ตรงที่ท่านฉลาดมาก
ดังนั้น สังขารุเปกขาญาณ เป็นเช่นไร คุณจะต้องน้อมใจเชื่อในปัญญาของพระสารีบุตร หากไม่ต่อต้านตำรา
ละการวิตกวิจาร...ก็คงจะไม่งง กับคำว่า ฌาน กับ ญาณ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1434&Z=1583 -
ท่านบอกเหตุผลแล้วว่า ที่เป็นไปไม่ได้ เพราะกิเลสและความยึดมั่นในกามภพมันขาดอย่างสิ้นเชิงแล้ว จึงไม่กลับมาเกิดในกามภพอีก
เพราะนิยามของพระอริยบุคคล ของ พระพุทธศาสนา คือ ละกิเลส อย่างเป็นสมุทเฉทประหาร คือ ตัดได้อย่างเด็ดขาดไม่กลับกำเริบอีกเลย ไม่ใช่ เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มีแบบที่คุณ tjs เข้าใจผิด
ถ้ากิเลส (เช่น ความอยากเป็นพระพุทธเจ้า) กลับมาอีก เช่นนั้น ที่ผ่านมาต้องเรียกว่า ข่มกิเลส ด้วยอำนาจแห่งฌาน (เหมือนหินทับหญ้า) ไม่ใช่ เป็นการละกิเลส (ถอนหญ้าออกไป) การที่แค่ข่มกิเลสแต่ยังละไม่ได้แบบสมุทเฉทประหาร ยังไม่เรียกว่าพระอริยบุคคลครับ นี่คือ บัญญัติสากลที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ดีแล้ว คุณ tjs กำลังเข้าใจผิดอยู่นะครับ ผมเตือนด้วยความหวังดี
พระโพธิสัตว์ที่ลาพุทธภูมิและบรรลุธรรม อย่างมาก ก็เหลือแค่นิสัยวาสนา เท่านั้น เช่น จะชอบช่วยเหลือ คนหมู่มาก เช่น หลวงตามหาบัว แต่ทั้งนี้ ที่ทำลงไปนั้น ท่านไม่ได้ทำเพื่อหวังจะเป็นพระพุทธเจ้า แต่ทำเพราะเห็นว่ามีประโยชน์แก่มหาชนหมู่มากต่างหาก -
คำตอบคือเพราะปัญญายังไม่ถึงที่สุด นั่นเอง จึงยังไม่สามารถละวางสัญญามโนปณิธาณ ได้
ปัญหาเกิดแล้วมีทางเดียวคือ อาศัยความเพียร เข้าไปเจริญสังขารุเปกขาญาณให้มากเพื่อให้เกิดปัญญาขั้นสูงสุด นั่นเอง
หากทำได้สำเร็จ สัญญามโณปณิธาณก็ดับ ก็ละได้ เป็นผู้เข้าถึงสังขารุเปกขาได้สำเร็จ เพราะ เป็นผู้มีปัญญารู้แจ้งแล้วจึงวางเฉย ปล่อยวางแล้วโดยสมบูรณ์นั่นเองครับ
แต่ก็อย่างที่เคยถามไว้ ด้วยความเพียรไม่พอ ด้วยบารมียังไม่มากพอ ด้วยเหตุปัจจัยบางประการ ปัญญาในสังขารุเปกขาญาณยังไม่แจ้งถึงที่สุด ไปนิพพานไม่ได้แล้วอย่างนี้ท่านจะไปไหนครับเนี้ยะเพราะติดแค่ตรงนี้ ครับ สาธุ -
กับแทนที่จะยกขึ้นพิจารณาอริยสัจ มีทุกขสัจ เป็นต้น เพื่อหลุดจากแปด
นี่แสดงว่า ไม่ได้อ่าน หรืออ่านแต่ไม่พิจารณาโดยแยบคายในลิ้งที่แนะนำ
ในปฏิสัมภิทามรรค โดยท่านพระสารีบุตร
ปัญญาที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่มีทางเดียว คือ อาศัยความเพียร
แต่ต้องอาศัยทั้งสัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิ ประกอบกันด้วย
ในสติปัฏฐานจึงได้บอกไว้เป็นบาลีว่า "อาตาปี สติมา สัมปชาโน" เคยได้ยินหรือผ่านตามาบ้างไหม
แม้ในมหาจัตตารีสกสูตร ก็บอกไว้ มรรคทั้งสามสิ่งนี้ จะห้อมล้อม มรรคอีกแต่ละตัวเพื่อให้เกิดสัมมาปฏิบัติให้ไพบูลย์ -
แต่ถ้าไม่ผ่านสังขารุเบกขาญาณแล้ว อย่าว่าแต่พระอรหันต์เลยครับ
พระโสดาบันก็ยังไม่สามารถบรรลุได้เลย
และพระโพธิสัตว์ทุกองค์ ถ้าไม่ถอนความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า เสียก่อน นั้น ก็จะไม่สามารถที่จะ ข้ามจุดนี้ไปได้ ทำไม่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ครับ -
เรากำลังพูดถึงสัมมาสมาธิ ความเข้าถึงสัมมาสมาธิด้วยสมบูรณ์ ความเข้าถึง ฌาณ4โดยสมบูรณ์ ความเข้าถึงวิปัสสนาโดยสมบูรณ์ เรากำลังพูดถึงความเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณโดยสมบูรณ์ มันก็เป็นไปอย่างนั้น เพราะอาศัยมรรคองค์อื่นประกอบอย่างนั้น ครับ
-
-
การกล่าวตามพระคาถาหรือพระไตรปิฏกย่อมกล่าวได้อย่างนั้นอย่างนี้ตามที่มีการบันทึกไว้
แต่การกล่าวถึงการปฏิบัติเมื่อติดปัญหาในจุดนั้นๆ จึงไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปทั้งหมด เพียงแต่ให้รู้เหตุว่า จุดนั้นที่ติดขัดนั้นคืออะไร อยู่ในสภาวะธรรมขั้นใด มีมูลเหตุรากเหง้าของปัญหาอย่างไร ควรจะแก้ไขอย่างไร ควรประกอบสิ่งใดอาศัยสิ่งใดเพื่อนำไปสู่การแก้ไข ก็ควรอธิบายหรือกล่าวแสดงแก้ไขในจุดนั้นอย่างนั้นก็เท่านั้นครับ -
สรุป สนทนากับคุณ tjs มักจะได้ยินศัพท์ใหม่เสมอๆ เช่น
1.อตีตังสัญญาเจตสิก
2.ปัจุบันนังสัญญาเจตสิก
3.สัญญามโณปณิธาณ
4.สัญญาอุปกิเลส
แต่หากแปลความหมายแล้ว ก็พอหยวนๆ -
ขอบคุณครับที่เข้าใจครับ ยังมีศัพท์แปลกๆอีกมากครับ
ภาษาอาจมีมากมายหลากหลายให้เราเห็น แต่ภาษาจิตมีภาษาเดียวครับ
-
แต่ครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอริยเจ้า ท่านใช้ภาษาเรียบง่าย
และหากหยิบจับคำบาลี ก็ไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรม
ก็อย่าไปภาษาเทพก็แล้วกัน เพราะเมื่อนั้นชาวบ้านเค้าจะฮา -
สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
หัดตายก่อนตาย
จะได้ปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย
ก่อนที่จะถูกความตาย
บังคับให้ปล่อย
คติธรรมคำสอนหลวงปู่บุดดา ถาวโร -
ตายก่อนตาย นี่ต้นตำรับ มาจากท่านพุทธทาสภิกขุ นะครับ ไม่ใช่ หลวงปู่บุดดา
-
ที่กล่าวนี้ไม่ใช่ว่าพระองค์นั้นๆผิด เลวหรือว่าอย่างไร มันก็ให้อภัยกันไปตามที่ควร แต่ผิดที่โลโก้ ซึ่งตามจริงแล้วเราไม่ควรยึดติดกับโลโก้ด้วยซ้ำ ไม่ต้องมานั่งนิยามว่าพระองค์ไหนเป็นอะไร เอาแค่ว่า "เรานับถือพระองค์นี้ด้วยการกระทำจากอดีตถึงปัจจุบันนี้ของท่าน" แค่นี้ก็พอแล้วครับ
สำหรับที่บางท่านกล่าวว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงบางเรื่อง
ผมก็ไม่ได้จะกล่าวว่าพระพุทธศาสนาจะกล่าวครอบคลุมทุกเรื่อง (เพราะไม่อาจมาพิสูจน์ให้เห็นได้ และคิดว่าตนก็ไม่รู้ด้วย เพราะอย่างน้อยก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง)
แต่อยากให้ลองพิจารณาดูก่อนว่าเรื่องนั้นๆ ไม่มีจริงหรือไม่
ขอยกตัวอย่างข้อความคุณรณจักร
คุณรณจักรกล่าวว่า "ข้อเท็จจริงที่ผมยกมานั้น ก็เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ส่วนความเห็นล่าสุดของคุณนั้น ตรงกับเรื่องเล่าของเซน..."
(เห็นด้วยนะครับ แค่ขอยืมมายกตัวอย่างเฉยๆ)
จริงๆเรื่องล่าสุดก็มองในทางพุทธได้ คือ สมมุติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ
ถ้าถามหนึ่งบวกหนึ่ง ก็เป็นสอง ไม่ต้องมาถกกันว่ามันจะเรียกหนึ่งจริงใหม่ หรือคนถามศาสนาพุทธสอนว่ามีกี่ภพ เขาบอกกี่ภพหลายๆคนก็บอกมาถูกแล้ว ไม่ต้องเข้าเรื่องว่ารู้ได้ไงมีที่นั้นจริงๆและมีเงื่อนไขอย่างไร เคยตายเข้าไปทุกภพแล้วหรือ (คุณๆก็รู้กันอยู่ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่คนไทยชอบใช้ตอนไหน จริงหรือไม่?)
ในเมื่อคำถามมันเป็นคำถามด้านนั้น คำตอบโดยมากก็อิงตำราแล้วก็จบ (ไม่งั้นจะมีตำราไว้ทำไม)
ปฏิบัติคือการกระทำ ตำราก็เป็นเครื่องมือ ผู้ปฏิบัติเป็นย่อมรู้จักใช้ตำรา ปฏิบัติสิเปิดตำราไง แม้แต่เปิดตำรายังไม่เป็นจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ปฏิบัติได้อย่างไร ในเมื่อเรามีเราก็ต้องรู้จักใช้ นี่จึงถือว่าเป็นผู้ทำเป็น
ผู้ปฏิบัติย่อมต้องรู้จักใช้ตำราตามแต่ควรฉันใด ก็เหมือนการคดข้าวใส่จากที่ผู้ทำเป็นย่อมรู้จักใช้ทัพพีฉันนั้น
คนที่ใช้ทัพพีหรือช้อนไม่เป็นแล้วเอามือตนควักๆ ข้าวใส่จาน ทั้งๆที่ช้อนหรือทัพพีก็วางอยู่ข้างกายตนนั้น จะเรียกว่าคดข้าวเป็นไหม
แต่แน่นอนท่านก็อาจจะกินข้าวได้ แต่อาจจะเลอะเทอะหรือลำบากไปบ้าง
เหมือนเรื่องภพถ้าเรามองว่าเป็นกุศโลบาย จะเห็นได้ว่า
กามภพก็ดี อรูปพรหมก็ดี ล้วนแต่สุดโต่งไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ท่านสอนเรื่องทางสายกลางคือ รูปพรหมที่นำไปสู่เป้าหมาย อย่าติดในรูป ในความมีมากไป (กามภพ) อย่าติดความไม่มีมากไป (อรูปพรหม)
ซึ่งถามว่าแนวความคิดนี้มีแต่พุทธหรือ
ไม่ใช่เช่นนั้นหรอก
คำกล่าวที่ว่า "Meden Agan" คือ "Nothing in Excess" ที่ Delphi
อริสโตเติลก็มีเรื่อง golden mean
กรีกมีสอนเรื่อง symmetry, proportion และ harmony สิ่งที่สวยงามคือสิ่งที่รักษาสมดุลสิ่งเหล่านี้
จะเห็นว่าเรื่องโดยมากไม่ใช่ว่าความรู้หรือความคิดเรื่องเหล่านั้น "มันไม่มีอยู่" แต่อยู่ที่ว่า เราสามารถมองสิ่งเหล่านั้นออกมาได้หรือไม่
และจะเห็นว่าผู้ที่รู้รอบมากขึ้น ย่อมหยิบสิ่งที่มีประโยชน์มาใช้กับตนง่ายขึ้น เช่นเรื่องชนิดความจริงข้างต้นผมไม่ได้คิดถึงเซน(จริงๆ ผมไม่ได้อิงอะไรเลยตอนคิดอันนั้น ฮ่ะๆ) แต่คุณรณจักรสามารถจับใจความได้เร็วทันที เพราะรู้เซนด้วย เอามาพิจารณาได้ ผมหยิบพุทธมาให้ดูด้วย เผื่อบางคนจะสนใจถ้าเป็นพุทธเท่านั้นแต่มองจุดไม่ออก เป็นต้น
หน้า 6 ของ 8