สติต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต สติเกิดขึ้นเองไม่ได้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสวนัง, 29 พฤศจิกายน 2009.

  1. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    สติแบบที่คนในโลกเข้าใจ ...ระลึกรู้เรื่องอะไร(อารมณ์)ขึ้นมา ก็เรียกว่า มีสติ
    รู้แล้วยึด(อารมณ์) ปรุงแต่งไปตามเรื่อง(อารมณ์)ที่ระลึกรู้ขึ้นมา
    เป็นกระบวนการเกิดของขันธ์ ๕ ตลอดเวลา ไม่ได้เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
    จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


    สติแบบที่เข้าใจนี้ มีในคนทุกคน ทุกชาติ ทุกศาสนา


    สติแบบที่พระพุทธองค์ทรงสอน = สัมมาสติ ต่างจากสติแบบที่คนในโลกเข้าใจ
    เพราะสัมมาสติ เป็นมรรคจิต เป็นทางเดินของจิตเพื่อความพ้นทุกข์

    สัมมาสติ คือ ระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่อง( สติปัฏฐาน)
    จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาปรุงแต่งจิต
    เป็นกระบวนการยับยั้งการเกิดของขันธ์ ๕ ที่จิต เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์
    เพราะเมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป
    จิตก็ไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป


    (smile)
     
  2. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    ● พระพุทธองค์ตรัสว่า

    จำเ้พาะในธรรมวินัยนี้(ศาสนาพุทธ)เท่านั้น ที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘

    สัมมาสติ อยู่ในองค์อริยมรรค ๘

    ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทรงแสดงกิจที่พึงทำในอริยสัจ ๔ คือ
    ทุกข์ เป็นปริญเญยยะ ควรกำหนดรู้
    สมุทัย เป็นปหาตัพพะ ควรละ
    นิโรธ เป็นสัจฉิกาตัพพะ ควรกระทำให้แจ้ง
    มรรค เป็นภาเวตัพพะ ควรเจริญ

    เพราะฉะนั้น สัมมาสติ คือ สติในองค์มรรค เกิดขึ้นเองไม่ได้
    ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

    นั่นคือ ต้องปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือสติปัฏฐาน ๔ ตามเสด็จเท่านั้นจึงจะเกิดสัมมาสติ


    (smile)
     
  3. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    การปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ คืออย่างเดียวกัน
    เป็นการปฏิบัติทางจิต เป็นทางเดินของจิต
    เป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะนำจิตให้พ้นจากทุกข์ได้

    ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้

    คาถาธรรมบท มรรควรรค (มรรค ๘)

    ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี
    เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ
    เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง
    ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

    มหาสติปัฏฐานสูตร (สติปัฏฐาน ๔)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
    เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฯ

    (smile)
     
  4. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    บรรพะแรกในการเจริญสติปัฏฐาน ดังแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า...ฯลฯ...


    ขั้นตอนเริ่มแรกของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ
    ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสมาธิ(นั่งสมาธิ) เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
    ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน๔ = สัมมาสติ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    โดยอาศัยความเพียรประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สัมมาวายามะ)จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ(จิตตั้งมั่นชอบ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์แล้ว
    ก็ย่อมได้ศึกษารู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง
    เกิดญาณรู้ตามความเป็นจริง (ปัญญา) คือ รู้อริยสัจ ๔ (สัมมาทิฐิ)
    และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางความยึดถืออารมณ์ต่างๆออกไปจากจิตได้ตามลำดับ (สัมมาสังกัปปะ)

    อนึ่ง ในการเจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ) นั้น จิตจะบรรลุปฐมฌานได้
    ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล)ด้วย

    ครบ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ดังนั้นจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    เป็นวิธีปฏิบัติทางจิตเพื่อให้จิตพ้นจากทุกข์
    เป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

    เกิดเองไม่ได้

    (smile)
     
  5. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    การเจริญสติในชีวิตประจำวัน

    เมื่อฝึกเจริญสติปัฏฐาน โดยการหลับตานั่งสมาธิ จนชำนาญแล้ว
    หรือก็คือ พิจารณากายในกาย...เวทนาในเวทนา...จิตในจิต..ธรรมในธรรม...เป็นภายใน

    จากนั้น เมื่อออกจากสมาธิมาประกอบกิจกรรมการงานในชีวิตประจำวัน
    เราก็ใช้ความชำนาญที่ฝึกปล่อยวางอารมณ์ ตอนนั่งสมาธินั้น
    มาใช้ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
    อันเป็นการพิจารณากายในกาย...เวทนาในเวทนา...จิตในจิต..ธรรมในธรรม...เป็นภายนอกนั่นเอง


    ● สรุป
    สติ(สัมมาสติ) เป็นองค์มรรค ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต
    สติเกิดขึ้นเองไม่ได้

    (smile)
     
  6. Nok Nok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +3,297

    เจริญสติทุกอริยาบถ
    กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
     
  7. วจีทุจริต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +263
    สติจำเป็นในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ...
    ทำให้มาก เจริญให้มาก ..



    รู้โทษรู้ละชั่ว ........ ..หม่นหมอง สติมี
    รู้รักษาตนครอง ........ความดี สติเลิศ
    รู้ผ่องใสจรด ............วางกาย สติมหา
    รู้เครื่องดำเนินนี้ .........ตราบสู่ นิพพาน
     
  8. เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    อ้างอิง คุณธรรมะสวนัง
    การปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ คืออย่างเดียวกัน
    เป็นการปฏิบัติทางจิต เป็นทางเดินของจิต
    เป็นทางเดียวเท่านั้นที่จะนำจิตให้พ้นจากทุกข์ได้

    ___


    ทุกที บอกสัมมาสมาธิ
    วันนี้ ทำไมมาแปลก


    *
     
  9. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,256
    อ้างอิงจากคคหที่ ๔

    การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    บรรพะแรกในการเจริญสติปัฏฐาน ดังแสดงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า...ฯลฯ...


    ขั้นตอนเริ่มแรกของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ
    ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสมาธิ(นั่งสมาธิ) เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)
    ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สติปัฏฐาน๔ = สัมมาสติ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    โดยอาศัยความเพียรประคองจิตให้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ(สัมมาวายามะ)จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ(จิตตั้งมั่นชอบ) ไม่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์แล้ว
    ก็ย่อมได้ศึกษารู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง
    เกิดญาณรู้ตามความเป็นจริง (ปัญญา) คือ รู้อริยสัจ ๔ (สัมมาทิฐิ)
    และเกิดพลังปัญญาปล่อยวางความยึดถืออารมณ์ต่างๆออกไปจากจิตได้ตามลำดับ (สัมมาสังกัปปะ)

    อนึ่ง ในการเจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ) นั้น จิตจะบรรลุปฐมฌานได้
    ต้องสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ = ศีล)ด้วย

    ครบ อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ดังนั้นจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    เป็นวิธีปฏิบัติทางจิตเพื่อให้จิตพ้นจากทุกข์
    เป็นภาเวตัพพะ ต้องเจริญ ต้องทำให้มาก ต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

    เกิดเองไม่ได้

    (smile)
     
  10. เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    อ้อ..
    ขั้นตอนเริ่มแรกของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ
    ต้องเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสมาธิ(นั่งสมาธิ) เจริญฌาน ๔ (สัมมาสมาธิ)

    แสดงว่ายังเป็นดังเดิม เหอๆๆ
    หวังว่าจะได้ฌานสี่ในเร็ววันนะคุณธรรมะสวนัง
    แค่เริ่ม ก็ไม่หมูแล้ว

    :boo:
     
  11. เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ก็ปล่อยเขาไป นะ ผมว่า

    พวกนี้ พวกที่เน้นว่า เจริญฌาณ4 ตะพึดตะพือนี่ หากพวก
    นี้พิจารณาอุปทานขันธ์ผิดหลักไปนิดเดียวนะ จะเป็นประโยชน์
    ต่อศาสนาพุทธสมัยพระศรีอารย์มาก

    เพราะพวกนี้ จะยังไม่มาเกิด ศาสนาของพระศรีอารย์ที่ว่าจะไม่
    ปรากฏพวก มิจฉาทิฏฐิ เลยนี่ สงสัยจะมีเหตุปัจจัยแบบนี้ อย่างนี้
     
  12. โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    เมื่อทำสมาธิถึงระดับหนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่าจิตตั้งมั่น สงบสุข และไม่ไหวตามอารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่งจิต

    และัเมื่ออารมณ์เข้ามาได้ ทำให้จิตตนเองหวั่นไหวสูญเสียความตั้งมั่น ก็ยกจิตกลับสู่ฐาน เพือให้จิตสงบดังเดิม

    ผู้ปฏิบัติจะรู้ว่าอารมณ์ภายนอกนั้นไม่เที่ยง แปรปรวนไปมาอยู่เสมอ คิดว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดใดแล้ว

    แต่ตนเองลืมไปว่า ยังมีความยึดมั่นบางอย่างไม่เสื่อมคลาย นั่นคือตนเอง และยิ่งจะทำสมาธิให้สูงๆขึ้นไป

    รวมทั้งคิดว่าตนเองสามารถบังคับจิตตนให้สงบ สุข ได้ดั่งใจต้องการ

    เป็นการใช้สัมมาสมาธิ แต่ละเลยการรู้เห็นตามความจริง แนวนี้ไม่ต่างจากฤาษีชีไพรนอกศาสนาเลย


    วันหนึ่งข้างหน้าในอนาคตอันไกลโพ้น......เมื่อสติสมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นพระปัจเจกแล้ว

    ท่านจะรู้สึกทีละน้อยว่า... บางครั้งเราบังคับจิตไม่ได้ดั่งคิด บางวันทำสมาธิได้ดี บางวันทำได้ไม่ดี

    จะค่อยๆละคลายความถือมั่นในตัวตนทีละน้อยทีละน้อย...จนกระทั่ง...เห็นธรรม..
     
  13. โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    ท่านละเลย...แนววัดป่าของบรมครูหลวงปู่มั่น...ภูริทัต ที่นำกำลังสมาธิมาพิจารณาร่างกาย ผม ขน ฟัน เล็บ ให้เห็นว่าเป็นสิ่งของไม่เที่ยงแท้

    พิจารณาร่างกายให้จิตยอมรับว่า เป็นสิ่งของเน่าเหม็น และถึงเวลาก็เสื่อมสลายไป อันเป็นอุบายให้จิต คลายการยึดถือร่างกาย ปล่อยวางเข้าไปในจิต

    ต่อจากนั้น...ปล่อยวางสมาธิ ไม่กอดหวงแหนสมาธิเหมือนเดิมแล้วปล่อยให้จิตเห็นความเป็นจริง

    ว่าการเกิดอารมณ์เป็นอย่างไร มีต้นตอมาจากอะไร โดยปราศจากการบังคับ เรียกว่า " การรู้เห็นตามความจริง "

    สมาธิเป็นเพียงส่วนหนึ่งในอีกหลายๆส่วน ไม่ได้สำคัญเหมือนเมื่อก่อนแล้ว สำหรับในชั้นนี้

    กรรมฐานมีหลายแนวทาง บางคนทำได้แบบไหน ก็ทำไป ทำเพื่อให้เข้าไปสู่ใจและคลายความยึดมั่นถือมั่น

    บางคนที่ทำได้แบบท่าน...ก็ทำไปส่วนของตนเอง แต่หากยืนยันและเผยแพร่ว่า ทางของท่านเป็นทางเดียวที่ถูกต้อง ก็ไม่ควร

    เพราะบางคนที่มีวาสนาบารมีหรือผู้เริ่มต้น อาจจะท้อถอยในการทำสมาธิให้ถึงณานตามท่่านสอนได้

    ขออภัย...ที่แย้งมา
     
  14. โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    เห็นด้วยครับ เพราะในช่วงไม่มีพระพุทธเจ้า
    ฤาษีชีไพรก็สอนการทำสมาธิกันอยู่แล้ว
    แต่ไม่มีใครหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารได้

    ต้องรอพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ เพื่อโปรดหมู่สัตว์
    ของดีมีอยู่ คำสอนที่ถูกต้องก็มีอยู่ นะครับ
     
  15. โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    เมื่อฝึกเจริญกรรมฐาน ปล่อยวางร่างกายจนเข้าไปถึงในจิตแล้ว จะเห็นบางสิ่งไหวไป ไหวมา ไม่เที่ยงแท้ตลอดเวลา ทั้งเวทนา จิต ความคิด อารมณ์

    นั่นคือเห็นสติปัฐฐานแล้ว เห็นกายในกาย...เวทนาในเวทนา...จิตในจิต..ธรรมในธรรม...

    เมื่อนั้นไม่ต้องตั้งท่านั่งสมาธิ ใจผู้ปฏิบัติจะแวบไปทำสมาธิเองเมื่อกำลังในการเห็นตามจริงหมด เช่นอาจจะจับลมหายใจสักครู่ ให้มีกำลัง


    แล้วใจจะเข้าไปรู้เห้นตามจริงต่อต่อไป จนย้อนเข้าไปถึงตัวต้นของการเกิดอารมณ์ ใจจะรู้ว่าการเกิดอามณ์ การเกิดความถือมั่นในสิ่งใดใด ล้วนเป็นทุกข์

    และใจจะไม่ออกไปแส่ส่ายหาทุกข์ที่ใด จะอยู่กับใจตนเองโดดๆ โดยไม่ต้องบังคับ เหมือนนั่งมองสายน้ำไหล อยู่ริมตลิ่ง

    และรู้เห็นเองว่า..การกระทำใดใด อันเป็นการบังคับคือการไม่รู้เห็นตามความจริง

    และ ความรู้ตัวที่พอเหมาะพอดีที่เรียกว่าสติ อารมณ์กลางๆ ปราศจากการบังคับ จะเกิดขึ้นเอง เกิดดับเป็นคราวๆ
     
  16. ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    :cool: ฌาน ๔
     
  17. ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แถมอีกนิดนึง

    ความหมายของ "สติปัญญา" คืออะไรหนอ
     
  18. ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075

    เจริญสติทุกอริยาบถ
    กราบอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
    <!-- google_ad_section_end -->
    (smile)
     
  19. สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    มาอนุโมทนากับ ท่านธรรมสวณังครับ...สิ่งที่ละเอียดเข้าใจยาก คนหยาบๆ มีรึจะเข้าใจ สาธุ
     
  20. วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

แชร์หน้านี้