สติปัฏฐาน กับ สติสัมปชัญญะ
สติปัฏฐาน คือ สติพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมี ความหมายว่า ให้พินิจในธรรมเหล่านั้น เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นรูปเห็นนาม โดยความ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
สติสัมปชัญญะ ก็หมายถึงว่าให้พินิจในประโยชน์ ให้พินิจในการควร เป็นต้น เมื่อพินิจเห็นว่ามีประโยชน์และพินิจเห็นว่าควรทำ จึงทำ ซึ่งมีความมุ่งหมายให้พินิจ เพื่อให้เกิดปัญญาเช่นเดียวกัน
ดังนั้น การเจริญสติปัฏฐานจึงต้องกระทำไปด้วยความมีสติสัมปชัญญะ คือให้ พินิจด้วยปัญญา เพื่อให้เกิดปัญญาภิญโญยิ่ง ๆ ขึ้นไป
อันว่าความพินิจที่ประกอบด้วยปัญญานี้ ถ้ามีแก่ผู้ใดแล้ว นับว่าผู้นั้นอยู่ใกล้ พระนิพพาน ดังปรากฏใน
ธรรมบท ว่า
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
ความพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ปัญญาเล่า ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ
ความพินิจและปัญญามีในผู้ใด
ส เว นิพฺพานํ สนฺติเก
ผู้นั้นแหละอยู่ในที่ใกล้พระนิพพาน
สติปัฏฐาน กับ สติสัมปชัญญะ
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 27 สิงหาคม 2013.
-
ถอดความแบบคนเรียนเอกภาษาอังกฤษได้อีกแบบครับ
นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
ฌานไม่เกิดกับคนไม่มีปัญญา
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ปํญญาไม่เกิดกับคนไม่มีฌาน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ
ผู้ใดมีฌานและปัญญา
ส เว นิพฺพานํ สนฺติเก
ผู้นั้นได้อยู่ใกล้พระนิพพาน -
ณาณ ทำไม่เป็น ก็ หาทางเปลี่ยน คำแปล ซะงั้น
มันไม่ได้ยากอะไรเลย เณร ในสมัยพุทธกาล ก็สอนไว้แล้ว -
-
ธรรมสูงสุด ในพุทธศาสนาคือ อริยสัจสี่ นะครับ
ไม่ใช่ฌาณ ในสมัยที่พระพุทธเจ้าได้ฝึกสมาบัตินั้น ท่านทรงเจริญสมาบัติ 8 ได้ แต่ทรงมีพระสติปัญญาว่า ทุกข์มิได้ดับไปเลย ยังสงสัย ยังไม่รู้แจ้ง จึงทรงค้นคว้าต่อด้วยตนเอง
ทรงตรัสรู้ธรรมคือ อริยสัจ 4 ประการ อันได้แก่
1. พระปัญญามองเห็นสภาพทุกข์ทั้งปวง ทั้งละเอียดหยาบ แม้แต่ องค์ฌาณก็อยู่ในสภาวะทุกข์นี้ด้วย
2. พระปัญญามองเห็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ต่างๆ จึงเอาจิตไปยึดไปจับสภาพทุกข์นั้น
3. พระปัญญามองเห็นการดับไปในสภาพทุกข์ทั้งปวง
4. พระปัญญามองเห็นทางดำเนินชีวิตเพื่อชำระทุกข์ และดับเหตุของทุกข์ทั้งปวง จนถึง จิตเข้าสู่พระนิพพาน
สภาวะฌาณนั้น คือ สภาวะนิ่ง เป็นเอกคตาจิต แต่ว่า จิตที่เป็นเอกคตาจิตในฌาณโดยทั่วไปนั้น ยังมีความไม่รู้ เมื่อออกจากการเพ่งฌาณแล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยังเป็นประตูเปิดรับสิ่งเย้ายวนภายนอก
จิตที่ยังขาดปัญญา ย่อมคว้าเอาสิ่งที่ชอบใจ ไม่ชอบใจมาเก็บเอาไว้ และดองจนเป็นอวิชชาในจิต ปิดทางสว่างทั้งปวง แล้วดำเนินวิถีชีวิตในทางซ้ำรอยเกวียนเดิม ไม่สามารถออกจากวัฏวนได้
พึงใช้สติไตร่ตรองธรรม อย่าปักใจเชื่อเสียทั้งหมด -
ฌานนั้นเป็นสิ่งสำคัญในพุทธศาสนาคู่กับปัญญา พระองค์จึงใช้คำว่าสมถะวิปัสนา จะแยกกันไม่ออก ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ยังไม่บรรลุธรรม แต่ฌานผู้ใดเสพมากทำให้มากผู้นั้นได้ชื่อว่าลาดเอียงโน้มเอียงไปทางนิพพาน
-
ผู้ที่ฝึกฝนสมาธิจนเกิดได้ฌาน ๑ - ๘ ไม่ใช่เป็นหนทางดับทุกข์ที่แท้จริง
ยังต้องเป็นผู้ที่ข้องกับสังสารวัฏฏ์ คือการเกิดอีก พระองค์ตรัสว่า ใน ๓๑ ภูมินั้น
เราไม่เคยไปเกิดนั้นมีอยู่ ๕ ภูมิคือสุทธาวาสภูมิ ๕ นอกนั้นเราเคยไปเกิดมาแล้ว
ทั้งสิ้น ฉะนั้นฌาน ๑ - ๘ เราก็ฝึกกันได้แล้วทั้งนั้นจึงต้องมาเกิดอีก แล้วก็มานั่งฝึกกันอีก
ยังไม่รู้จัก เบื่อเกิดเบื่อตาย กันบ้างเลย ทั้งที่ก็บอกว่าแสวงหาพระนิพพานกัน แท้จริงนั้น
ก็เป็นผู้ที่แสวงหาการเกิดอีกทั้งนั้น ทั้งที่พระองค์ก็ตรัสว่าเรามีความเกิดเป็นธรรมดา
พวกเราก็ยังก็พยายามจะฝึกสมาธิเพื่อให้ได้ฌาน เพราะฌานนั้นเป็นไปเพื่อการเกิดอีก
เป็นอันว่าการเกิดเป็นธรรมดาก็แสวงหาการเกิดเป็นธรรมดาอยู่อีกจนไม่รู้จบสิ้นไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ประโยชน์ของฌานที่สำคัญอย่างหนึ่ง
คือใช้เป็นทางผ่านไปสู่ปัญญาวิมุติ
ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้ฌานขั้นสูง
ควบคู่ไปกับสัมปชัญญะ
ถ้าไม่มีและไม่ใช้ฌานจะไปยังไงถูก -
ผมหยุดอยู่ที่ ฌาน 4 นานแล้ว เพราะว่าปกติใช้แค่นั้น
ขึ้นไปกราบพระ ด้วย มโนยิทธิ ท่านให้ฝึกถึง 8 ครับ
ยังไม่รู้ว่าต้องนำไปใช้ตอนไหนเหมือนกัน แต่คงสำคัญมาก ท่านถึงสั่งให้ฝึกต่อ -
.....อันที่จริง คำว่า สัญญา นั้นมาก่อน ญาน(ปัญญาความรู้)...สัญญานั้นก็คือ ฌาน(ชาน)...ในความคิดของผม ฌานเป้นสภาวะธรรม สภาพธรรม...เมื่อ จิตสงบปราศจากนิวรณ์ อกุศลธรรมทั้งหลาย...... ปฐมฌานย่อมปรากฎ(แต่คงต้องเข้าใจคำว่า นิวรณ์และอกุศลธรรม พอ)..