สมถะกับวิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 3 พฤษภาคม 2008.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>สมถะกับวิปัสสนา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาสนทนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้


    คำถาม

    เคยอ่านเจอจากที่ใดไม่ทราบ ลืมแหล่งไปแล้วค่ะ บอกว่าวิปัสสนาเป็นทางตรง สมถะทำให้แวะ

    ตอบ
    ขออธิบายเพิ่มเติมเรื่องสมถะ( สมาธิ) กับวิปัสสนา อีกนิดนะครับ (ป้องกันการเข้าใจผิด)
    ที่บางท่านกล่าวว่าสมถะเป็นทางอ้อม หรือเป็นการแวะพักผ่อนข้างทางนั้น ความจริงแล้วขึ้นกับการนำไปใช้ครับ (สังเกตได้ว่าไม่เคยเจอตรงไหนที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามการทำสมาธิเลยนะครับ) ขอแยกอธิบายเป็นกรณีดังนี้ครับ

    1. ถ้าทำสมาธิแล้วมัวหลงใหล เพลิดเพลินอยู่กับสมาธิ ไม่กระตือรือร้นที่จะเจริญวิปัสสนา อย่างนั้นก็เป็นทางอ้อมอย่างมากครับ หรืออาจเรียกว่าผิดทางเลยก็ได้ บางสำนักกลัวเกิดกรณีนี้ขึ้นจนถึงกับห้ามนั่งสมาธิเลยก็มีครับ
    หรือบางคนอาจถึงขั้นหลงผิด คือด้วยอำนาจของสมาธิที่สามารถข่มกิเลสบางตัวได้ชั่วคราวนั้น ทำให้เข้าใจผิดคิดว่ากิเลสตัวนั้นๆ หมดไปแล้วจริงๆ เลยคิดว่าตนได้บรรลุมรรค/ผล ขั้นนั้นขั้นนี้แล้วก็มี กรณีนี้ก็คงต้องเรียกว่าหลงทางนะครับ

    2. การทำสมาธิไปด้วย พร้อมกับเจริญวิปัสสนาไปด้วยควบคู่กันไป อย่างนี้ก็จะเกื้อหนุนกันครับ คือผลของสมาธิก็ทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญาได้ง่ายขึ้น และผลของวิปัสสนา (ความปล่อยวาง, ความไม่ยึดมั่น) ก็ทำให้นิวรณ์ (สิ่งขวางกั้นสมาธิ) เกิดน้อยลง หรือลดกำลังลงไป ทำให้สมาธิเกิดได้ง่ายขึ้นเช่นกันครับ อย่างนี้ก็คงไม่น่าเรียกว่าเป็นทางอ้อมนะครับ โดยเฉพาะคนที่มีพื้นฐานทางสมาธิอยู่ก่อนแล้ว

    3. การใช้สมาธิให้เป็นฐานของวิปัสสนาโดยตรง วิธีที่

    1. คือ การพิจารณาธรรมชาติของสมาธิ คือความไม่เที่ยง แปรปรวนไปตลอดเวลา ไม่อยู่ในอำนาจ เสื่อมได้ง่าย เอาแน่อะไรไม่ได้ ยึดมั่นอะไรไม่ได้ ฯลฯ (คือคนที่ได้สมาธิขั้นสูงนั้น ก็มักจะยึดมั่นในสมาธิ เหมือนกับว่าสมาธิเป็นที่พึ่งพิงทั้งหมดของชีวิต เห็นสมาธิเป็นสรณะ พอใช้วิธีนี้แล้วทำให้หมดความยึดมั่นในสมาธิไปได้ ก็จะส่งผลให้หมดความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไปด้วยเช่นกัน)

    4. การใช้สมาธิให้เป็นฐานของวิปัสสนาโดยตรง วิธีที่ 2.
    คือ วิธีที่เรียกว่าวิชชา 3 (วิธีเดียวกับที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า) คือเมื่อทำสมาธิจนถึงขั้นจตุตถฌาน (ฌานที่ 4.) ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของรูปฌานแล้ว ก็ฝึกอภิญญาต่อไป จนกระทั่งได้วิชชา 3 คือ

    1.) ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือระลึกชาติได้

    2.) จุตูปปาตญาณ คือได้ตาทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังตายบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง ตามกรรมของตน

    3.) อาสวักขยญาณ คือปัญญาที่ทำให้กิเลสทั้งหลายสิ้นไป

    กรณีที่ 3. และ 4. นี้ก็ขึ้นกับพื้นฐานของสมาธิที่มีอยู่เดิมครับ คือ ถ้าเดิมมีสมาธิถึงขั้นนั้นอยู่แล้ว ก็ใช้สมาธินั้นเป็นฐานเจริญวิปัสสนาได้ทันที อย่างนี้ก็ไม่เป็นทางอ้อมครับ แต่เป็นทางที่เร็วด้วยซ้ำไป แต่ถ้าพื้นฐานทางสมาธิเดิมมีไม่พอ ทำให้ต้องมาเสียเวลาฝึกสมาธิให้ถึงขั้นที่ต้องการซะก่อน แล้วถึงจะทำวิปัสสนา อย่างนั้นก็เรียกได้ว่าเป็นทางอ้อมครับ



    ที่มา ธรรมไทย


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2008
  2. supatach

    supatach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,638
    ค่าพลัง:
    +6,666
  3. อดีตโก

    อดีตโก สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +1
    พระธรรมเทศนาเรื่องสมถกับวิปัสนาของพระครูเกษมธรรมทัตินะครับแจ้งเลยผมไปเจอที่เวฟสังฆทานนิวส์หรือเปล่าครับเมื่อเช้าหาเจออยู่ที่เวฟเรานี่แหละมีสหายธรรมท่านโพสมาผมก็ว่าหน้านี้ด้วยตอนนี้หาไม่เจอกระเหรี่ยงงงครับหากผิดท่านสหายธรรมช่วยแก้ไขด้วยและผมเจอท่านที่เวฟอื่นด้วยท่านพระครูเกษมธรรมทัตฺแต่ตอนนี้มึนตึ๊บครับ
     
  4. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    ขอบคุณสำหรับบทความครับ
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นั่งสมาธิ จนตั้วมั่น ถ้ามีสติระลึกรู้ ตัวนี้คือ วิปัสนา
    นั่งสมาธิ จนตั้งมั่น ถ้าขาดการระลึกรู้ ตัวนี้เป็น สมถะ
     
  6. supatach

    supatach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,638
    ค่าพลัง:
    +6,666
    ขอความกรุณาช่วยอธิบายในแง่ของภาคปฏิบัติด้วยครับผม
    ขออภัยผมเป็นคนเข้าใจยากหากมีตัวอย่างจะดีมากๆเลยครับ
    ขอบคุณครับ
     
  7. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    ตอบคุณ supatach

    ลองเข้าไปอ่านความหมาย แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา สติปัฏฐาน 4 ได้จาก link ข้างล่างน่ะครับ

    วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ( แบบ 3 วัน 7 วัน )
    http://www.jarun.org/v6/th/home.html


    วัดภัททันตะอาสภาราม จ.ชลบุรี ( ไม่กำหนดเวลาการปฏิบัติ )
    http://bhaddanta.blogspot.com/2007/09/blog-post.html


    ศูนย์กลางการศึกษา วิปัสนาธุระ พุทธวิหาร จ.นครนายก ( แบบเป็นครอส ต้น กลาง และสูงสุด )
    http://www.buddhavihara.info/

    หรือหากสนใจเพิ่มเติม สามารถค้นหาเพิ่มได้ด้วยการค้นหาจาก www.google.com โดยพิมพ์หาคำว่า " วิปัสสนา " " สติปัฏฐาน 4 " เป็นต้นครับ มีหลายแหล่งข้อมูลทีเดียว

    ถ้าอยากไปเร็วนิดหนึ่ง ก็สามารถติดต่อตาม link ที่ให้ เพื่อเข้าไปปฏิบัติจริงจังสักระยะ แล้วจะเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติได้ถูกต้องครับ จะกลับมาต่อที่บ้าน หรือจะต่อที่วัดก็ได้หมดเลยทีนี้

    เจริญในธรรมน่ะครับ
     
  8. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    เพิ่มเติมนิดหนึ่ง...

    เท่าที่ทราบ การเจริญสมถะนั้น ถ้าเบื้องปลายใช้วิปัสสนาเข้ามา ก็สามารถประหารกิเลสได้เช่นกัน แต่ทำไมถึงไปทางวิปัสสนาจะตรงกว่า....

    เพราะการเจริญสมถะ เป็นเรื่องของวาสนา บารมีเดิมด้วย เข้ามาเกี่ยวค่อนข้างสูง บางคนนั่งเป็นปีๆ ฌาณก็ไม่ไปไหน กำลังก็ไม่มากพอประหารกิเลส นั้นก็คือ ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำสมถะถึงขึ้นฌาณสูงๆได้

    แต่การเจริญวิปัสสนา อาศัยความเพียรเป็นหลัก ถ้าตั้งใจปฏิบัติต่อเนื่อง ก็สามารถบรรลุธรรมได้ โดยไม่ต้องนั่งเป็นหลายปี ชนิดที่ว่า ทำไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ถึง

    อันนี้จากที่ทราบมาน่ะครับ ผิดถูกอย่างไรแยกแยะกันเอง เล่าให้ฟังเฉยๆ
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ก่อนจะเข้าวิปัส ก็ต้องเจริญสมถะ เป็นฐานก่อนแต่ไม่ต้องแนบสนิทมาก จึงมีกำลังดูการเกิดดับได้ การลุขั้นต้นคือ โสดาบัน เป็นการรู้แจ้งในกระบวนการเกิดดับของทุกข์ จนได้สัมผัสนิพพานชั่วขณะ สังโยชน์ดับ 3 ตัว อบายภูมิถูกปิดสนิท

    หลังจากนั้น จะถูกกระแสนิพพานดึงดูด อยากที่จะสัมผัสนิพพานอีกครั้ง จึงจะต้องใช้สมถะเข้าช่วยในการ ต่อสู้กับกิเลสอย่างมาก เพิ่งที่จะไถ่ถอนสังโยชน์ที่เหลือลำดับต่อไป

    กล่าวคือ ถ้าต้องการถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์ ก็ต้องเพียรให้ได้ทั้งสมถะและวิปัส^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2008
  10. supatach

    supatach เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,638
    ค่าพลัง:
    +6,666
    ขอขอบคุณ คุณ 16 มากๆครับสำหรับข้อมูลและคำอธิบาย
    แล้วการที่เรานั่งสมาธิ ภาวนา พุทธ โธ ๆๆๆๆๆ พร้อมกับตามดูลมหายใจ
    แบบนี้เรียก สมถะกรรมฐานใช่ไหมครับ แล้วในแง่การปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานทำอะไรที่แตกต่างจากนี้ครับ
     
  11. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    เท่าที่เคยอ่านเจอ แท้จริงสมถะกับวิปัสสนานั้นเกื้อกูลกัน ถ้าต้องการตัดกิเลสนั้น ในการเจริญสมถะก็มีช่วงวิปัสสนา ในการเจริญวิปัสสนาก็มีสมถะแทรกอยู่

    แต่ตอนนี้มักจะได้ยินบ่อยๆว่า สมถะได้ฌาณไปก็ไม่สามารถประหารกิเลสได้ ผ่านกรรมฐาน 40 กอง ตายไปก็เป็นพรหม ซึ่งจริงๆแล้ว ที่ทำวิปัสสนาก็มีสมถะเป็นฐานแท้ๆ และสมถะเอง เมื่อฝึกจนกำลังสมาธิดีแล้ว ก็สามารถถอยกลับลงมาให้วิปัสสนาตัดประหารกิเลสได้เช่นกัน

    ก็นานาจิตตังครับ....
     
  12. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    มาช่วยตอบครับ คุณ supatach

    แนะนำลองอ่านจากเว็ปที่ผม ลงให้น่ะครับ มีรายละเอียดการฝึก แล้วลองเอาวิธีฝึกมาเทียบเคียงดูกับวิธีการฝึกกรรมฐานจากเว็ปพลังจิตนี้ดูก็ได้ครับ บทความหลายบทความก็มีบอกถึงความแตกต่าง ( แต่ผมไม่ได้สนใจจำครับ โดยส่วนตัวเห็นว่าสองอย่างนี้เกื้อหนุนกันได้ วิธีปฏิบัติก็ชัดเจนดีอยู่แล้วครับ เลยไม่รู้จะไปจำความแตกต่างไปทำไม )

    เท่าที่นึกออก /// สมถะก็คือสมาธิแหละครับ เอาจิตไปเกาะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่สนใจฐานอื่น /// ส่วนวิปัสสนา ก็คือ รู้ตามจริง อะไรเกิดขึ้นก็ตามดูครับ

    ส่วนอื่นๆ รอเพื่อนสมาชิกท่านอื่นชี้แนะน่ะครับ ผมรู้วิธีปฏิบัติก็ปฏิบัติอย่างเดียวครับ เล่าได้แต่ที่เคยทำที่เคยเจอมาครับ อาจเรียบเรียงไม่ดีนักครับ


    ^-^ ^-^ ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2008
  13. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ชัดเจนดีมากเลยครับ แยกกันไม่ออก ^-^
     

แชร์หน้านี้

Loading...