สมถะ และ วิปัสนา สภาวะที่ เราจะรู้ได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Rupanama, 2 กันยายน 2009.

  1. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    เห็น เวลาตอบคำถาม มักจะมี คำว่า สมถะ และ วิปัสสนา เป็นสภาวะ

    เวลา เราเกิดสภาวะธรรม เราจะรู้ได้อย่างไร ครับ ว่าเกิด จากสมถะ หรือ วิปัสนา ครับ

    อนุโมทนาบุญน่ะครับ สาธุ
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    (ยกความเห็นของคนอื่นมาอีกทีนะประกอบการพิจารณา อ่านแล้วชอบเป็นการส่วนตัว)

    Kamen rider<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_98543", true); </SCRIPT>
    ฝ่ายปั่นสะท้านโลกา
    [​IMG]

    [​IMG]

    **** ความแตกต่างระหว่าง สมถะ และ วิปัสสนา ****


    เทฺว เม ภิกฺขเว วิชฺชาภาคิยา
    ** ดูก่อนภิกษุทั้งหลายวิชชามี ๒ อย่าง


    กตเม เทฺว
    ** ๒ อย่าง อะไรบ้าง


    สมโถ จ ๑ วิปัสฺสนา จ ๑
    ** สมถะ ความสงบระงับ ๑ วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง ๑


    สมโถ ภาวิโต กิมตฺถมนุโภติ
    ** สมถะเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    จิตฺตํ ภาวิยติ
    ** ต้องการทำจิตให้เป็นขึ้น


    จิตฺตํ ภาวิตํ กิมตฺถมนุโภติ
    ** จิตเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    โย ราโค โส ปหียติ
    ** ความกำหนัดยินดีที่อยู่แก่ใจ หมดไป


    วิปัสฺสนา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ
    ** วิปัสสนาแปลว่าความเห็นแจ้ง เป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    ปญฺญา ภาวิยติ
    ** ต้องการทำปัญญาให้เป็นขึ้น


    ปัญฺญา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ
    ** ปัญญาเป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    ยา อวิชฺชา สา ปหียติ
    ** ความไม่รู้จริงมีอยู่แก่ใจ ความไม่รู้จริงอันนั้นหมดไป




    ///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////




    **** ความแตกต่างระหว่าง สมถะ และ วิปัสสนา ****



    ๑. โดยสภาวธรรม

    สมถะ : มีสมาธิเกิดขึ้น คือ จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว

    วิปัสสนา : ทำให้เกิดปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา




    ๒. โดยอารมณ์

    สมถะ : มีนิมิตบัญญัติเป็น อารมณ์กรรมฐาน เช่น ปฐวีกสิณ เป็นต้น

    วิปัสสนา : มีรูปนามเป็นอารมณ์ เพราะรูปนามมีความเกิดดับซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติ




    ๓. โดยหน้าที่

    สมถะ : มีหน้าที่ในการกำจัดนิวรณ์ ๕ ทำให้จิตมีความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น

    วิปัสสนา : มีหน้าที่ในการกำจัด อวิชชา ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งสภาวธรรมตามความเป็นจริง




    ๔. โดยอาการที่ละกิเลส

    สมถะ : ละกิเลสโดยอาการที่ข่มไว้ เป็น วิขัมภนปหาน

    วิปัสสนา : ละกิเลสโดยอาการขัดเกลาเป็นขณะๆ เป็น ตทังคปหาน




    ๕. ชนิดของกิเลสที่ถูกละ

    สมถะ : ละกิเลสชนิดกลาง คือ ปริยุฏฐานกิเลส

    วิปัสสนา : ละกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยกิเลส




    ๖. โดยอานิสงค์

    สมถะ : ทำให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลสไว้ และให้ไปเกิดในพรหมโลก

    วิปัสสนา : ทำให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพาน และเข้าถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด


    ////////////////////////////////////////////////////////////////////////


    สมถะหรือวิปัสสนาก่อน

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า
    “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)


    ธรรมประทีป ๙<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_108254", true); </SCRIPT>
    จากไปเราใฝ่หา
    [​IMG]

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้
    ย่อมเจริญวิปัสสนา อันมีสมถะ เป็นเบื้องต้น
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนา เป็นเบื้องต้น
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะ และ วิปัสสนา คู่กันไป
    เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0

    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้

    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
    หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วยประการฉะนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1564&Z=1616&pagebreak=0

    ^
    ในการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ (ศีล สมาธิ ปัญญา ) หรือสติปัฏฐาน ๔
    สมถะและวิปัสสนา ต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้นควบคู่กันไปอยู่แล้ว
    เพราะเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้น
    ทำให้จิตปล่อยวางอารมณ์ออกไปได้...จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิมากขึ้น
    ...เกิดปัญญาขึ้นที่จิต ปล่อยวางอารมณ์ได้มากขึ้น...วนเวียนส่งเสริมกันและกัน
    เป็นมรรคสมังคี หรือสมถะ-วิปัสสนาไปพร้อมๆกันเป็นบาทฐานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    สมถะ กับ วิปัสสนา ไม่ใช่ชื่อของ สภาวะ หรือ เป็นสภาวะ แต่เป็นชื่อเรียกวิถีการปฏิบัติ

    คำว่า สภาวะ ก็คือ ตัวอารมณ์

    ตัวอารมณ์ ก็หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปรู้ เพราะจิตเป็นธาตุรู้ มีธรรมชาติคือ รู้อารมณ์
    หิวอารมณ์

    * * *

    สมถะ คือ การฝึกจิตให้ยึด ให้แนบ ให้ครอง อารมณ์เพียงอารมณ์เดียว ทำให้มากๆ จน
    มั่นใจว่า จิตแนบอยู่ในอารมณ์เดียว ทำได้ก็เรียกว่าเกิด สมาธิ เกิดฌาณ แล้วหลังจาก
    นั้นก็ปล่อยให้จิตออกมาจากอารมณ์เดียว ซึ่ง จิตก็จะเริ่มหิวอารมณ์ แล้วเข้าเสพอารมณ์
    มากกว่าหนึ่ง ก็จะทำให้เกิดการเห็น อาการของจิตเข้าเสพอารมณ์ หิวอารมณ์ ก็เรียกว่า
    ทำ วิปัสสนา ....แต่นักสมถส่วนใหญ่ลืมดู เพราะพอใจกับอารมณ์สงบที่เป็นวิบาก ทำให้
    จิตไปยึดอารมณ์สงบเป็นพื้นจิตเข้า ก็เลยลืมทำวิปัสสนา

    * * * *

    การทำวิปัสสนา แบบไม่ทำสมาธิแนบลงไปก่อน ก็จะเป็นการดูอารมณ์ที่หลากหลาย
    ไปเลย แต่โดยธรรมชาติของความอยาก มันจะพาไปรู้ชัดอยู่ไม่กี่อารมณ์ เพราะ
    จิตเองมันมีธรรมชาติที่รู้ได้เพียงอารมณ์เดียวในขณะจิตหนึ่งๆ ทีนี้เนื่องจากแรกๆ
    จะต้องมีเจตนา ยังไงก็ต้องเกิดเจตนา จึงเกิดการเลือกอารมณ์ที่ดู ท่านจึงกำหนด
    ให้ดูอารมณ์อกุศลไว้(กิเลส) เพราะเป็นของหยาบ ทำให้ดูง่ายๆ สังเกตง่ายๆ จึงทำ
    ให้เหมือนๆ ผลิกฟ้าผลิกดินกับการทำสมถะนำหน้า เพราะสมถะนำหน้านั้นจะต้องอาศัย
    อารมณ์กุศลเป็นอารมณ์ฌาณ

    แต่เนื่องจาก การวิปัสสนานั้น จริงๆแล้วไม่เลือกอารมณ์ อย่างเช่น สมถะเอง เวลาถอย
    ฌาณก็จะไม่เลือกอารมณ์ที่จะเห็น แต่จะปล่อยให้มันเกิดขึ้นไปตามจริง ไปตามธรรมชาติ
    ที่จิตเราติดข้อง(ภพ) เมื่อเห็นไปเรื่อยๆ อาศัยการพิจารณาเนืองๆ ก็จะทำให้เกิดการจด
    จำอารมณ์ได้ การจดจำอารมณ์ได้ ก็คือจิตมันแนบกับอารมณ์(สมถะ สมาธิ นั่นแหละ)
    แต่มันเกิดในขณะจิตเดียว ขณะที่เห็นอารมณ์ที่จำได้ ตรงนี้เลยเรียกว่า สติเกิด และทันที
    ที่สติเกิด สมาธิก็เกิดด้วย

    ....การจดจำอารมณ์ของนักวิปัสสนา ก็คือ การแนบอารมณ์แบบสมถะ แต่อาศัยการเพียร
    ฝ่าหมอกควัน(กิเลส นิวรณ์)ไปเลย จึงต้องทำเนืองๆ จนกว่าจะจดจำสภาวะธรรมได้มากๆ ก็จะทำให้เกิด
    สมาธิต่อเนื่องได้เหมือนสมถะยานิก แต่ต่อเนื่องไม่มาก และโดยธรรมชาติก็ไม่เกิน 2 3 ขณะจิต

    ตรงนี้ ต้องมาสังเกตุ ขณะที่สติเกิดในขณะจิตแรกนั้น ไม่ว่ามันจะแนบกับอารมณ์กุศล หรือ
    อกุศลก็ตาม (ไม่เลือก) หลังจากนั้น ดวงจิตที่เกิดภายหลังการเกิดสติ จะมีไม่กี่ประเภท
    ตรงนี้ก็เป็นเงื่อนที่ว่า ในขณะจิต ที่ 2 และ ที่ 3 นั้น มีอารมณ์ให้จดจำไม่มากชนิด จึงไม่
    เหลือบ่ากว่าแรง ที่จะจดจำเพิ่ม หรือ ทำสติแนบให้เกิดสมาธิเพิ่ม เพียงแต่ระวังการ
    สงสัย และการเติมรู้ และการอยากค้นคว้าว่าเห็นอะไรไว้ ก็จะมีสภาวะธรรมในขอบ
    ข่ายจำกัด จะทำให้เพียงพอต่อการตั้งมั่นรู้( สมาธิเกิด 2 3 ขณะจิต ต่อเนื่อง -- เป็นจำนวน
    วิถีจิตการเข้าออกฌาณเพื่อวสี เพื่ออธิฐานฤทธิ์ -- เพียงพอแล้วต่อการเห็นธรรมตามจริง)

    เมื่อจิตเกิดการตั้งมั่นรู้ ตรงนั้นก็จะเรียก สัมมาสมาธิ ก็จะมีผลเหมือนทำฌาณได้ หลัง
    จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการ ถอยออกจากฌาณมารู้สภาวะ ไม่ต่างกัน คือ มาลงรอย
    วิถีจิตในการปฏิบัติเหมือนกันก็ตรงนี้ ....แต่ต่างกันที่ สมถะยานิกจะตั้งมั่นได้นานกว่า
    แต่ก็มักเผลอไปเล่นญาณทัศนะ(อภิญญา)มากกว่า ไม่เหมือนวิปัสสนายานิกที่จะตั้ง
    มั่นในการทำให้เกิดปัญญาประหารกิเลสไปเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2009
  4. dokai

    dokai Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +71
    ข้อความด้านล่างนี้(ไม่ใช่ของผม) คงช่วยให้กระจ่างขึ้น

    ....." สมถะ คือ จิต อยู่กับจิต จึงได้ชื่อว่า รู้ตนเอง หรืออยู่กับตนเอง ผู้ไม่หลงเพลินไปกับมายาอันยั่วยุล่อลวง ย่อมสงบ

    วิปัสสนา คือ การพิจารณาในสิ่งที่เห็น เพื่อให้เข้าใจสัจจะ หรือหลักการ ของสิ่ง หรือสภาพที่เป็นไปแก่ตน ความเข้าใจนี้เป็น ปัญญา

    บุคคลบรรลุความเป็นสมถะได้ ด้วยปัญญาที่อบรมมาดีแล้วแห่งตน ดังนั้น จึงกล่าวว่า บุคคลเข้าถึงสมถะได้ ด้วยปัญญา

    บุคคลบรรลุความเป็นวิปัสสนาได้ ย่อมกระทำปัญญาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดแก่ตนได้ แต่ต้องอาศัยความรู้ตน ความอยู่กับตน คือความเป็นสมถะ เป็นองค์ประกอบ เป็นฐาน จึงจะสามารถกำหนดรู้ฐานะเดิมของตนได้ เพราะหากกำหนดฐานะเดิมของตนมิได้อย่างถูกต้องแล้ว สิ่งที่พิจารณาอยู่ก็จะไม่ตรงกับความเป็นจริงของตน ก็จะไม่สามารถเจริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมได้แก่ตน ด้วยเหตุนี้ คนบางพวก เฝ้าค้นคว้าครุ่นคิดอยู่กับสิ่งที่ตนเรียกว่าวิปัสสนา นานไป ก็รู้มากมาย แต่แก้ปัญหาที่ตนเองติดขัดมิได้ เช่น รู้ว่า โลกนี้เป็นมายาบ้าง รู้ว่า สิ่งใดๆในโลกเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตาบ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่ช่วยให้ตนพ้นความสุดโต่ง ไม่ได้ช่วยให้ตนปล่อยวางในสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ได้มากขึ้นอย่างแท้จริงเลย ก็กลายเป็นว่า รู้มากขึ้น แต่ทุกข์กลับไม่ลดลงเลย แม้เช่นนี้แล้ว บางพวกก็พยายามมองข้าม หรือครุ่้นคิดเหตุผลขึ้นมาหลอกลวงตนเองอยู่นั่นเอง เพราะไม่รู้สมถะ

    สมถะ และวิปัสสนา เป็นธรรมที่ควรเจริญคู่กันไป จึงจะบรรลุคุณประโยชน์อันสูงสุดอันพึงบรรลุได้ คือ อมตะธรรม

    ผู้เจริญสมถะฝ่ายเดียว โดยตลอด ไม่ประกอบด้วยวิปัสสนา อาจมีประโยชน์บางประการ แต่ไม่บรรลุประโยชน์อันบริบูรณ์

    ผู้เจริญวิปัสสนาฝ่ายเดียว โดยตลอด ไม่ประกอบด้วยสมถะ อาจมีประโยชน์บางประการ แต่ไม่บรรลุประโยชน์อันบริบูรณ์

    ดังนั้น บุคคลบางพวก อาจมีข้อสงสัยว่า หากเจริญสมถะอย่างเดียว ไม่ประกอบด้วยวิปัสสนา จะบรรลุพระนิพพานได้หรือไม่ หรือ อาจมีข้อสงสัยว่า หากเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ไม่ประกอบด้วยสมถะ จะบรรลุพระนิพพานได้หรือไม่ ปัญหาทั้งสองข้อนี้ มีคำตอบเดียวกัน คือ เป็นอฐานะ หมายถึง ไม่เป็นฐานะที่จะเป็นได้แก่บุคคลใดเลย

    จะเปรียบเปรยการเจริญสมถะ โดยไม่ประกอบด้วยวิปัสสนา ว่า เสมือนบุคคลปรารถนาจะเข้าใจแตกฉานรอบรู้วิชาการในตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง ก็เฝ้ามองแต่ตำรานั้น ท่องจำตำรานั้น แต่ไม่พิจารณาเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาในตำรานั้นเลยแม้แต่น้อย ก็ย่อมไม่เข้าใจหลักการในวิชาการนั้นๆ เป็นธรรมดา ครั้นเมื่อเจอโจทย์ที่พลิกแพลงไปจากที่ท่องจำมาได้นั้น ก็ไม่สามารถพิจารณาหาคำตอบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการนั้นได้

    หรือจะเปรียบเปรยการเจริญวิปัสสนา โดยไม่ประกอบด้วยสมถะ ว่า เสมือนบุคคลปรารถนาจะเข้าใจแตกฉานรอบรู้วิชาการในตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง แต่กลับเฝ้าพิจารณาสิ่งอื่น ตำราอื่น ไม่ใส่ใจอยู่กับตำราที่ตนต้องการจะรู้ ย่อมไม่อาจแทงตลอดในเนื้อหา และหลักวิชาการในตำราที่ตนต้องการจะรู้ได้เลย

    ต้นเหตุของการบัญญัติคำว่า สมถะยานิก และวิัปัสสนายานิก นั้น ไม่ได้หมายถึงผู้เจริญสมถะอย่างเดียว กับผู้เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว (อย่างที่บุคคลสุดโต่งบางจำพวกประกาศกัน) แต่ จำแนกโดยหลักการว่า ความเป็นสมถะเกิดก่อน หรือความเป็นวิปัสสนาเกิดก่อน แก่บุคคลผู้นั้นในขณะที่เจริญกรรมฐานภาวนาจิตอยู่ เท่านั้น."........
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เสริมของพี่ขวัญครับ เอาคำสอนครูบาอาจารย์ดีกว่าครับ ชัดเจนดีครับ ไม่เติมแต่งมากอ่านแล้วเข้าใจได้ด้วยตนเองครับ


    หลักของสมถะและวิปัสสนา<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:


    คัดจากหนังสือคู่มือการศึกษาพระพุทธศาสนาพื้นฐาน<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    โดยอาจารย์<?:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:<?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSoNNAME ProductID="วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี" w:st="on">วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี</ST1:pERSoNNAME><O:p></O:p>

    หลักของสมถะ เรื่องของ สมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตใจจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้น โดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้ <O:p></O:p>
    ส่วนการที่จะให้รู้อะไร หรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้วในด้านความรู้นั้นอย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ใน เหตุผล นั้น ไม่มีเลย <O:p></O:p>
    หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมาธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ใน เหตุผล ก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือหลักของ สมถะ หรือ สมาธิ <O:p></O:p>
    หลักของ วิปัสสนา ต้องการให้ ปัญญา รู้เหตุผลตามความเป็นจริงของสภาวธรรม ไม่ใช่ต้องการให้ นิ่ง หรือ สงบ หรือ สุขสบาย แต่ต้องการให้รู้ความจริงของธรรมชาติ ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์เท่านั้น <O:p></O:p>
    หลักของปัญญาในทางที่ถูกต้องนั้น ยิ่งเพ่งยิ่งรู้ ยิ่งเพ่งอารมณ์ที่เป็นความจริงได้มากเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งรู้เหตุผลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งเกิดความเห็นถูกมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความสงสัยและความเห็นผิด ก็จะยิ่งหมดไปมากเท่านั้น กิเลส คือ ความเห็นผิด และความสงสัย ถูกละไปหมดมากเท่าใด จิตใจก็จะบริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสมากขึ้นเท่านั้น <O:p></O:p>
    ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นชื่อของปัญญา ที่รู้ความจริง แล้วละกิเลสให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นี่คือ หลักการของ วิปัสสนา <O:p></O:p>
    สมถะเกี่ยว ข้องกับวิปัสสนาอย่างไร? <O:p></O:p>
    สมถภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์ มิใช่เป็นทางปฏิบัติ เพื่อพ้นความทุกข์โดยตรง ทั้งยังไม่เป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ๔ ประการ เช่นการปฏิบัติของท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ที่สำเร็จอรูปฌาน ถึงอากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเคยสอนการทำฌานแก่พระพุทธเจ้ามาก่อน ก็ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะสมถะไม่อาจหยั่งสู่สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง และไม่อาจทำลายวิปลาส คือ ความเห็นผิดที่คิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เป็นเราได้ <O:p></O:p>
    เมื่อไม่รู้จัก รูปนาม ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา มีอยู่ที่ รูปนาม แต่พระพุทธองค์ประสงค์จะอนุเคราะห์แก่บรรดาฌานลาภีบุคคล ที่เคยเจริญสมถภาวนาจนสำเร็จฌานชำนิชำนาญแล้ว ก็ให้ยกองค์ฌาน คือ สภาวะของ นามธรรม มีวิตก, วิจาร, ปีติ, สุข (เวทนา) เอกัคคตา (สมาธิ) ขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา โดยต้องออกจากฌานเสียก่อน และมีความชำนาญในวลี ๕ ประการด้วย นามธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ มีสภาพธรรมที่เป็นความจริง จึงจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ปรากฏได้ <O:p></O:p>
    อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌาน หรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา จึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาได้โดยหมายถึงการได้ฌานแล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมือเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนา โดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า “สมถยานิกกะ” แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ววิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นนามรูป ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา ผู้ใดเมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า “วิปัสสนายานิกกะ” <O:p></O:p>
    แต่ในปัจจุบันนี้ หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยาก เพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้ เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์ <O:p></O:p>
    ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่จะฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิด หรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนา ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า <O:p></O:p>
    เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่เป็นอันเดียวกัน นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง <O:p></O:p>
    สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐานเท่านั้น หรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา <O:p></O:p>
    ส่วนสมถะ หรือสมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้ <O:p></O:p>
    ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา ความแตกต่างระหว่าง สมถะ หรือ วิปัสสนา<O:p></O:p>
    ๑.โดยปรารภผล<O:p></O:p>
    สมถะ เพ่ง เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว<O:p></O:p>
    วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง <O:p></O:p>
    ๒.โดยอารมณ์<O:p></O:p>
    สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมากเพราะต้องการความมั่นคง<O:p></O:p>
    วิปัสสนา ต้องมีรูปนาม เป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการ เกิด-ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง <O:p></O:p>
    ๓.โดยสภาธรรม<O:p></O:p>
    สมถะ มีสมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์<O:p></O:p>
    วิปัสสนา มีปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา <O:p></O:p>
    ๔.โดยการละกิเลส<O:p></O:p>
    สมถะ ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส<O:p></O:p>
    วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส <O:p></O:p>
    ๕.โดยอาการที่ละกิเลส<O:p></O:p>
    สมถะ ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน<O:p></O:p>
    วิปัสสนา ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน <O:p></O:p>
    ๖.โดยอานิสงส์<O:p></O:p>
    สมถะ ให้อยู่สุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก<O:p></O:p>
    วิปัสสนา เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ พระนิพพาน และถึงความไม่เกิด เป็นที่สุด
    จาก
    ปล. ส่วนตรงสีแดงที่ขีดเส้นใต้นั้นโปรดใช้วิจารณญาณเป็นอันมากครับ มองหาความพอดีของตนเองครับ อย่าแปลความหมายออกมาเป็นความคิดของตน ตรงจุดนั้นน่าจะเป็นเพียงข้อคิดเห็นของท่านอาจารย์ผู้เขียนบทความนี้ครับ พิจารณาส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจของตนและนำไปใช้ครับ
    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2009
  6. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    "Do not accept any of my words on faith.
    Only accept what passes the test by proving useful and beneficial in your life."
    By The Buddha

    ก่อนที่จะยอมรับคำสอนใดๆ ของพระุพุทธองค์ จงศึกษาและฝึกฝนตามคำสอนไปพร้อมๆ กันเถิด เพื่อพิสูจน์คำสอนของพระพุทธองค์ เมื่อคุณเห็นว่าคำสอนของพระุพุทธองค์ยังประโยชน์และความสุขแก่ตัวคุณเอง จงนำคำสอนเหล่านั้นมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อยังผลถึงนิพพานเถิด

    อนุโมทนา สำหรับผู้เจริญในธรรม _/\_
     
  7. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    อนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่าน ที่ให้ธรรมทานน่ะครับ

    ตอนนี้ผมรู้แล้วล่ะ ว่าสมถะ กับ วิปัสนา ต่างกันอย่างไร ในกระบวนการ

    สาธุครับ
     
  8. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306
    นี่ ๆ จขกท. จ๋า อ่าน ใบลาน ในตะกร้าสามใบมาก็หลายโพสแล้ว
    อยากฟัง การจำแนก สมถะ กับ วิปัสนา
    ตามประสา บัวเหล่าที่ 5 มั่งป่ะ ? อิอิ


    มามะอิฉันจะเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน
    ชวนฟังถึงข้อแตกต่าง ของ สภาวะทั้งสองนั่น
    ตามประสบการณ์ที่อิฉันเคยพบเจอ
    ทั้งเรื่อง หนึ่งวันก่อนแหกค่ายปฏิบัติธรรม
    และเรื่องเดินจงกรมรอบโรงบาล


    1.ในแง่ของอารมณ์
    สมถะ - เหมือน การเดินแคทวอล์ก ในวัด
    เมื่ออิฉันหัดเดินจงกรมครั้งแรก
    ( ถูกบังคับให้ไปปฏิบัติธรรม โครงการ ทำมาทำไม ? )
    จิตมันติดเพ่งติดเพลิน จมดิ่งไปกับการรับรู้การก้าวของตีนเท่านั้น
    ไม่ได้สนใจสภาวะแวดล้อมอื่นเลย นอกจากการเคลื่อนไหวของตีน
    มันนิ่งงงงงงงงงง มั่ก ๆ จนติดเพลิน จมจ่อมอยู่กับอารมณ์ตรงนั้น
    เหมือนนักรบที่สร้าง เกราะไว้ป้องกันตัวเอง จากผัสสะ ( สิ่งเร้า ) ภายนอกอ่ะ
    ภาษาใบลาน ก็ประมาณ กลบทุกข์ หรือ ทบ. หญ้าทับหินมั้ง
    เอาหินออก หญ้าก็งอก


    ที่ตลกก็คือ อิฉันรู้จักสภาวะนี้
    โดยไม่รู้เลยว่า มันคือ สมถะ
    จนตอนหลังได้ยินพวกเสือใบลานเขาพูดกัน มั้ง
    ถึง รู้ว่า สภาวะที่เคยเจอคือ สมถะ



    ส่วน วิปัสนา เหมือน การเดินจงกรมรอบโรงบาล มั่ง
    อันนี้ จะประมาณ เอาสติไปไว้ที่ตีน
    แต่มันมีการไหลของจิต อ่ะ ตีนมันจะวื้บ ๆ กระทบรู้ กระทบรู้


    แล้วผัสสะภายนอกก็จะมาเพ่นพ่านให้เราเห็นเป็นเนือง ๆ
    ประมาณว่า ฟุ้งเป็นระยะ ๆ แหะ ...แหะ...
    แต่พอฝึกบ่อย ๆ มันจิตมันจะไว แล่นปราด ๆๆ เลยอ่ะ
    จากแค่ กระทบรู้ ๆ พอมีการปรุงแต่งของอุปทานขันทั้ง 5 ในตน
    มันจะ ตัดฉับ ๆ ไปเรื่อย ๆ เหมือน
    เหมือนนักรบที่มีดาบไว้ป้องกันตัวเอง จากผัสสะ ( สิ่งเร้า ) ภายนอกอ่ะ
    ภาษาใบลาน ก็ประมาณ ตัดทุกข์ หรือ ทบ. ขุดรากถอนโคนต้นหญ้าหินมั้ง
    ไม่จำเป็นต้องไปเมื่อยแบกหินมาทับต้นหญ้า
    ไม่จำเป็นต้องหลบอยู่ในกระดอง เอ๊ย อยู่ในเกราะ
    เพราะสามารถติดอาวุธ ( ทางปัญญา ) ไปเข่นฆ่าอุปทานขันทั้ 5 ใบ ได้

    แล้วพอฝึกบ่อย ๆ มันจะถูกจดจำไว้ในสัญญามั้ง
    ถึงไม่ได้อยู่ในกรรมฐาน มันก็ถูกเยกมาใช้ได้เสมอ


    ถ้าอิฉันบอกว่า อิฉันเห็น ดวงตาธรรม ตอนเดินจงกรมรอบโรงบาล
    แล้ว ได้กลิ่นดอกปีบ กับ ตอน รีบเดินผ่านกองขี้วัว
    พวกคุณจะเชื่อไหมล่ะ อิอิ

    ครั้นพอไม่ได้ปฏิบัติ ฯ นั่งรดน้ำปุ๋ยหมักให้ต้นโหระพา อยู่ดี ๆ
    เจ้าตัวรู้ที่เคยฝึกไว้ก็ถูกดึงมาใช้ได้

    นอนเล่นบนเปลญวนอยู่ดี ๆ ก็ เข้าใจคำว่า ปัจจุบันขณะ
    จนเอาไปใช้ แก้ ทุกข์ ให้ตัวเองในบางเรื่องได้
    ( ว่าง ๆจะเล่าให้ฟัง อิอิ )


    2. ในแง่รูปลักษณ์
    สมถะ เหมือน นักพรตผู้ทรงศีล
    ถ้าอาร์ทติ๊ส อธิบาย ก็ต้องบอกว่า มันเป็นเส้นตรง
    ถ้านักเคมีมาอธิบาย คงบอกว่า เหมือนการเคลื่อนที่ของแสง

    ส่วน วิปัสสนา จาเหมือน จิ๊กโก๋ อ่ะ
    ถ้าอาร์ทติ๊ส อธิบาย ก็ต้องบอกว่า มันเป็นเส้นหยักกระฉึกกระฉัก
    ถ้า นักเคมีอธิบาย ก็ต้องบอกว่า มัน คือการกระเจิงของแสง
    มันจึงแทงทะลุ และ เห็น ธรรมนิยามตามหลักไตรลักษณ์ ได้ชัดกว่า


    3.ในแง่ ฟามชอบ
    ส่วนตัวชอบ วิปัดนา นะ มันส์ดี อิอิ
    ส่วนสมถะนี่ มันน่าเบื่อ ทำง่ายเกินไป ไม่ท้าทาย 555

    อืม...การปฏิบัติอย่างเดียวกัน
    บางทีเราสามารถเปลี่ยนห้มันเป็น สมถะ หรือ วิปัดนา ก็ได้นะ

    ถ้าให้เดินจงกรม
    แบบ สมถะ ก็แค่ เอาจิตไปใส่ใจกับตีน
    แบบวิปัดนา ก็คือ การเอาสติไปไว้ที่ตีน



    ถ้าให้นั่งมาธิ
    แบบสมถะ ก็ ประมาณนักพรตโยคีผู้บำเพ็ญ
    ภาวนาเข้าไป ปู๊ดโธ่ ๆ เอ๊ย พุทธโธ ๆ
    ไม่งั้นก็ ยุบหนอพองหนอ ไม่ก็ โค้งหนอเว้า หนอ
    เป็นเต่าหดคอในกระดอง จิตสงบนิ่งสุขสบายอยู่ในฐานตลอด

    แบบวิปัดนา ก็ประมาณซามูไรพเนจร
    เป็นเจ้าไม่มีศาล คอยเพ่นพ่านออกจากฐาน ตลอด
    แต่ก็ได้เรียนรู้การฝึกทักษะวิธีรับมือกับ อุปทานขันทั้ง 5 ใบ เสมอ

    ถ้าเป็น แบบ สมถะ สำหรับอิฉัน ให้ทำทั้งวันก็ได้นะ
    แต่ไม่ใช่สเป๊ค อิฉันชอบ พ่อซามูไร รูปหล่อมากกว่า โยคีขี้เหร่อ่ะ อิอิ
     
  9. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306
    rabbit_jump
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2009
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อืม เก่ง เปรียบเทียบได้ดี ^-^
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    rabbit_jump
     
  12. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    .....ผลของสมถะ......สติ


    ....ผลของวิปัสสนา....ปัญญา
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    หูย...บัวเกรียน >>> rabbit_jump

    ส่วน K.KWAN >>> rabbit_sleepy
     
  14. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้ายังแยกจิตกับความคิดไม่ออก คิดอะไรก็ยังหลงอินจิตเกิดทุกที สุขบ้างทุกข์บ้าง จิตกับความคิดรวมกันเละ เวลาคิดก็มีอารมณ์ เวลามีอารมณ์ก็คิด จิตเกิดแล้วก็ไม่รู้ที่ที่เขาเกิด จะดับก็ดับไม่เป็นอีก ไม่เข้าใจ หาจุดปล่อยจุดวางไม่เจอ แบบนี้แม้จะว่าตัวเองเจริญวิปัสสนาอยู่ อย่างมากก็ได้แค่ความสงบใจชั่วคราวอยู่นั่นเอง เป็นแค่สมถะไป ส่วนวิปัสสนาจริง ๆ ยังไ่ม่เกิด ต่อเมื่อแยกจิตกับความคิดได้แล้วนั่นแหละ เมื่อเราไม่หลงความคิดง่าย ๆ แล้ว เมื่อเรารู้จักว่าอะไรคือความเป็นกลางไม่เป็นกลางแล้ว รู้ว่าอะไรคือการใช้ความคิดขณะจิตปกติ จิตว่าง หรือจิตไม่เกิด หรืออะไรคือการหลงใช้ความคิดขณะจิตเกิด ถ้าเข้าใจแล้ว รู้แล้ว เข้าถึงแล้ว วิปัสสนาจริง ๆ จึงจะเริ่มจากนี้ไป

    เชื่อหรือไม่ล่ะว่า ที่เรามีทุกข์ ทุกข์ ๆ กันทุกวันนี้ ก็เพราะการหลงสังขาร (ความปรุงแต่ง) นี้เอง ทำยังไงเราถึงจะไม่หลงสังขารต่อไปอีก เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแล้วเราควรจะคิดต่อไป หรือว่า เราจะลองหยุดคิดต่อกันก่อนดูบ้าง ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่า ความหลงคิดทำให้เราทุกข์ ทำไมเราไม่หยุดคิดก่อน เพื่อจะได้หยุดหลงตามความเคยชิน หยุดบ่อย ๆ เผลอแล้วรู้ ๆ หยุดบ่อย ๆ อีกหน่อยจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิขึ้นเอง พอจิตตั้งมั่นมากขึ้น สติมีมากขึ้น ต่อไปก็ลองหัดสังเกตอาการที่เป็นเหตุของความไม่ตั้งมั่นดูบ้าง ทำความเข้าใจกับเขา หาต้นตอให้เจอให้ได้ด้วยสติสัมปชัญญะ สติเข้าถึงเหตุ รู้เท่าทันตามความเป็นจริงได้เมื่อไหร่ก็ละเหตุเหล่านั้นได้เมื่อนั้นเอง คนเราพอรู้ว่าอะไรเป็นเหตุทำให้ใจเป็นทุกข์ เขาย่อมไม่ลีลอที่จะละเหตุแห่งทุกข์นั้นโดยไว การมีปัญญาละกิเลสนั้นจริง ๆ แล้วไม่ได้อยู่ที่ความสงบนิ่งอย่างเดียวเท่านั้น ความสงบนิ่งอาจเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาได้ แต่ตัวปัญญาจริง ๆ มันจะเกิดก็ต่อเมื่อมีความเข้าใจในกระบวนการที่เป็นเหตุแห่งความไม่สงบนิ่งได้อย่างชัดเจนแล้วต่างหาก ปัญญาตัวจริงมันอยู่ที่การเห็นและเข้าใจเรื่องความหลงตรงนั้นตามความเป็นจริงด้วยสติปัญญา ถ้าเห็นแล้วเข้าใจแล้ว ต่อไปถึงไม่อยากสงบมันก็สงบของมันเอง...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2009
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ก็ ถ้าสงบใจไป ไม่ต้องคิดอะไร มันก็ด้วยกำลังสมถะ

    แต่ถ้า วิปัสสนา มันใช้ปัีญญาไตร่ตรอง

    แต่ผลของวิปัสสนา คือ การปล่อยในเรื่องใดๆ ที่พิจารณาได้

    ปัีญหาคือ พิจารณาเพื่อปล่อย เช่น คนโมโห ก็ใคร่ครวญว่า อารมณโมโหนี่ทำไมจึงยังอยู่ได้ เมื่อเห็นเหตุ ปัจจัย ก็ปล่อยไปได้ ดับ โมโหได้

    ทีนี้ คนจะไปพิจารณาโมโหอย่างเดียวไม่ค่อยจะได้ หากว่าใจมันเต็มไปด้วย นิวรณ์ ธรรมมากมาย เพราะมันก็คลุมเครือว่า นี่โมโห เพราะว่าอะไร เพราะจิตใจมันเต็มไปด้วย กามฉันทะบ้าง พยาบาทบ้าง สงสัยลังเล ฟุ้งซ่าน ขี้เกียจ นี่ล้วนแล้วแต่เป็น นิวรณ์ ที่อยู่ในจิต มันก็จะมองโทสะ โมโห ไม่เห็นชัดเจน ก็รวมความคือ ปล่อยทุกข์ไม่ได้ เพราะไม่เห็นเหตุที่แท้จริง ว่าตกลงตัวใดกันแน่ ที่ทำให้เราทุกข์ใจอยู่
     
  16. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ผมเห็นด้วยกับท่าน <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->dokai<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2397893", true); </SCRIPT> และขออนุโมทนาสาธุ

    ผู้ที่ปฏิบัติตนและฝึกตนมาดี เมื่อกล่าวแสดงธรรม ธรรมนั้นจะครอบคลุมไร้ที่ติ

    ส่วนใหญ่ที่เข้ามาแสดงธรรมมีแต่ธรรมประเภทไม่ครอบคลุม เนื้อธรรมไร้แก่นธรรม

    ประเภทกล่าวธรรม อนุมานแสดงความคิดเห็นของตน ขัดหลักธรรมและวินัย

    โดยยกธรรมมาแสดงเพื่อสนับสนุน ความคิดเห็นของตน...เป็นสัทธรรมปฏิรูป

    ที่สำคัญการให้คะแนนตนเองสูงมาก ซึ่งเป็นผิดสิ่งปกติผิดวิสัยผู้ปฏิบัติธรรม

    สำหรับการให้คะแนนสมควรเป็นอย่างยิ่ง..

    หน้าที่ผู้ให้คะแนนควรเป็นพระสุปฏิปันโนผู้รู้ถึงหมดจดแห่งธรรม
     
  17. itoursab

    itoursab สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +11
    ข้อเสียของไอ้ตัวรู้ก็คือมันมักรู้ดีนี่ซิป้า แง่บๆ
     
  18. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    สมถะและวิปัสสนาต้องไปด้วยกันนะครับ อย่าลืม มีดขวาน(ปัญญา) ไม่มีกำลัง(สมถะ)ก็ตัดไม้ไม่ได้ มีกำลัง ไม่มีขวาน ก็ เหมือนกัน โชคดีมีสุขนะครับ
     
  19. อู๋ซิน

    อู๋ซิน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +45
    วิปัสสนา มีการเกิดดับของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมส์
    สมถะ มีสิ่งที่รู้ สิ่งที่รู้สึก สิ่งที่คิด สิ่งที่จำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมส์
     
  20. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306

    แท้งกิ้วที่ตามมาหั้ย โมทนากันซำเหมอ ^ - ^
    ช่วงนี้ ถูกเจี๋ยนอมยิ้มอยู่
    คุณบัวเกรี๋ยน เลยหันมาสะสม โมทนาแทน กิ๊บที่พันติ๊ป
    แบ่บว่า กินบ่ ได้ แต่ เท่ห์ 5555
    จิงดิ ไหน ๆ คุณก็ตาม ให้โมทนากันมาตลอด
    เลยมีเรื่องจาฟ้อง คุณอ่ะ
    เนี่ย ตอนนี้ เจ้า ผจก.ส่วนตัวของอิฉัน
    มันเริ่มล่อลวงให้อิฉัน งดอาหารยามวิกาล แล้วอ่ะ
    นี่ก็ไม่รู้จะไปได้สักน้ำ ทำมาได้สองวันแล้ว
    ไม่น่าบ้าจี้ตามมันเล๊ยยยยยยย อิอิ


    อ่ะ เอา ดอกปีบ กองขี้วัว และ เปลยวณมาฝาก
    ( เคย เกรียน ไว้ สมัยอยู่ พันติ๊ป อิอิ )



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224444 border=1><TBODY><TR><TD>
    • [​IMG] <!--WapAllow10=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 10 <!--InformVote=10--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[10], 10);</SCRIPT>[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=10--><!--EcardSend=10-->

      <!--MsgIDBody=10-->น่าเสียดายที่อิฉัน มันพวก ขี้เกียจ ปีนกระไดไปอ่าน พระไตรปิฎก น่ะ
      อิฉันกัว เจ้า ตระกร้าสามใบนี้อ่ะค่ะ
      ถ้าจำไม่ผิด เจ้าตระกร้าสามใบนี้ มันก็เคยแผลงฤทธิ์
      สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์มาแล้วนิ ( อ่านเจอ สมัย ม.ปลาย )


      เฮ้อ สำหรับคนที่ วาสนาจริต ติด ๆ ขัด ๆ
      และ อาภัพ ศรัทธาจริต อย่างอิฉัน นั้น
      ไม่เคยหวังจะ บรรลุธรรม หรอกนะ
      ไม่ว่าจะใน เจ็ดวัน... เจ็ดเดือน... เจ็ดปี... หรือ เจ็ดชาติ...
      อิฉันขอแค่มองเห็นและเข้าใจ ธรรม....ดาของโลก
      ใน ทุกสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวก็พอแล้ว

      อิฉันเป็นคนค่อนข้างมักน้อยจึงพอใจ ....
      แค่ได้ เรียนรู้ สติปัฏฐาน ผ่านจานข้าวผัดกระเพรา
      แค่ได้ เรียนรู้ การปรุงแต่งของขันธ์ 5 ผ่าน ดอกปีบ กับ กองขี้วัว
      แค่ได้เรียนรู้ ดูจิตให้เห็นการเปลี่ยนแปลง เสียงหัวเราะผ่านคราบน้ำตา
      แค่ได้เรียนรู้ ปัจจุบันขณะ ตอนนอนเล่นบนเปลญวณ
      แค่นี้ ก็เพียงพอแล้ว สำหรับอิฉัน ^ - ^


      <!--MsgEdited=10-->
      [SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 25 ม.ค. 52 15:25:33[/SIZE] <!--MsgEdited=10-->[SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 23 ม.ค. 52 19:47:44[/SIZE] <!--MsgFile=10-->


      จากคุณ : <!--MsgFrom=10-->นู๋บี - บัวเหล่าที่ 5 [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=10-->23 ม.ค. 52 19:45:43 <!--MsgIP=10-->] [​IMG]

      <!--pda content="end"-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
    • [​IMG] <!--WapAllow13=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 13 <!--InformVote=13--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[13], 13);</SCRIPT><A href="javascript:eek:penInformWindow(13)">[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=13--><!--EcardSend=13-->

      <!--MsgIDBody=13-->การคิดต่าง กับการจับผิด...หรืออวดภูมิ ดูเดี๋ยวก็รู้ว่าเจตนาคุณเป็นเช่นไร

      จากการสอนของ พ่อคุณ.เรื่องจับไฟ..ไม่ใช่พุทธแน่ วิธีสอนเป็นแบบชาวตะวันตก มิน่าคุณถึงบอกคุณเป็นพุทธตามทะเบียนบ้านเท่านั้น

      เจตนาที่แท้ของคุณต้องการหาช่องว่างของศาสนาพุทธ เช่นสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือการปฏิบัติไม่ตรง ของชาวพุธมาเผยแผ่ หรือมาต่อยอด ดัดแปลงคำสอนให้ง่ายเข้าในทางปฏิบัติ แล้วนำมาแพร่ไปตามแนวคิดคุณ...แต่ไม่กล้าเผยเจตนา

      ...สปายรึปล่าว แทรกซึม ขอมองแง่ร้ายหน่อยเถอะ เพราะคุณ ไม่ยอมเผยความคิดต่างจริงๆ...เช่น คุณคิดต่างในหัวข้อ หรือเรื่องอะไร ไม่ใช่มาสอนวิธีทำแบบโขมยเนื้อหามาดัดแปลง แบบพวกโจรวรรณกรรม ทางตะวันตก ดังที่คุณเสนอแบบผัดกระเพรามา...?

      มาจับผิด หรือ ยกเปรียบเทียบว่า เอดิสัน นิวตัน ก็ใช่เหมือนกัน โน่นก็ใช่เช่นกัน...เอาเป็นหัวข้อหลักมาเลยครับ เช่น อริยสัจ ปฎิจจสมุปบาท แนวทางที่ควรจะเป็นตามความคิดต่างของคุณเป็นอย่างไร

      อย่ามัวแต่ใช้วาทะศิลป์อักษร เป็นตัวดึงเจตนาแฝงของคนอ่านอยู่เลย ผมชักสนุก อยากเรียนรู้จากคุณ จะเป็นศาสดาใหม่อีกองค์ หรืออย่างไรก็เปิดมาเถอะ ..
      มันไม่น่านับถือเพราะคุณไม่เผยความต้องการจริงๆ..หรือ เล่นแต่จะหาทางทำลายศรัทธาผู้อื่น ก็ว่ามา จะได้ยลให้ถูกช่องครับ? <!--MsgEdited=13-->[SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 24 ม.ค. 52 08:31:22[/SIZE] <!--MsgFile=13-->


      จากคุณ : <!--MsgFrom=13-->เกิดเป็นคนช่างยากแท้ [​IMG] - [ <!--MsgTime=13-->24 ม.ค. 52 08:19:41 <!--MsgIP=13-->] [​IMG]

      <!--pda content="end"-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=13--><!--MsgIDTop=14-->

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=1><TBODY><TR><TD>
    • [​IMG] <!--WapAllow14=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 14 <!--InformVote=14--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[14], 14);</SCRIPT><A href="javascript:eek:penInformWindow(14)">[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=14--><!--EcardSend=14-->

      <!--MsgIDBody=14-->[​IMG] ตามความเข้าใจของแมวอ้วน ซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้เพราะแมวอ้วนเองก็เป็นเพียงผู้กำลังศึกษาตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่
      หากผิดไปหรือเข้าใจคาดเคลื่อนก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ ยินดี เปิดรับ ทุกคำแนะนำคะ

      แมวอ้วนขอยกคำพูดของคุณนู๋บี ในความเห็นที่ 10 มาขยายนิดนึงนะคะ

      อิฉันเป็นคนค่อนข้างมักน้อยจึงพอใจ ....
      แค่ได้ เรียนรู้ สติปัฏฐาน ผ่านจานข้าวผัดกระเพรา
      แค่ได้ เรียนรู้ การปรุงแต่งของขันธ์ 5 ผ่าน ดอกปีบ กับ กองขี้วัว
      แค่ได้เรียนรู้ ดูจิตให้เห็นการเปลี่ยนแปลง เสียงหัวเราะผ่านคราบน้ำตา
      แค่ได้เรียนรู้ ปัจจุบันขณะ ตอนนอนเล่นบนเปลญวณ
      แค่นี้ ก็เพียงพอแล้ว สำหรับอิฉัน ^ - ^

      จากข้อความด้านบนแมวอ้วนสังเกตุว่าคุณนู๋บี ได้น้อมเอาคำแนะนำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเข้ามาในชีวิตประจำวันแล้ว
      การทำชีวิตให้มีความสุขตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้บังคับว่าต้องทำอย่างไร ต้องคิดอย่างไร
      แต่พระองค์ทรงให้เราเข้าไปเรียนรู้ด้วยตนเอง อะไรพออะไรเหมาะกับตัวของแต่ละคน ก็ทำไปทำแล้วเป็นสุข เป็นดี

      การมีสติรู้ว่ารับประทานอาหารเพื่อทรงกายอยู่ รู้ว่ากินอะไรอยู่ อะไรมีประโยชน์ต่อร่างกาย พระองค์ท่านก็ให้พิจารณาคะ
      จะหยาบหรือละเอียดก็เป็นเรื่องของแต่หละบุคคล แต่ให้ รู้

      ดอกไม้ที่สวยงามกับมูลของมนุษย์หรือสัตว์ล้วนเป็นสิ่งซึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อนิจจังไม่เที่ยง
      ดอกไม้งามไม่นานก็เหี่ยวเฉา มูลสัตว์หรือมนุษย์ล้วนเดินเคยเป็นอาหารที่ทานเข้าไปและถูกขับออกตามสภาวะ มินานก็แห้งสะลายหายไป

      ดูจิตเมื่อสุข ก็ให้รู้ว่าสุข อย่าไปยึดมั่น ดูจิตเมื่อทุกข์ ก็ให้รู้ว่าทุกข์ อย่าไปยึดมั่น เป็นสิ่งปรุงแต่งที่เราสร้าง
      สุข-ทุกข์ ไม่มีอะไรจริงแท้แน่นอนมีแต่จิตมนุษย์ที่แต่งขึ้นมาแล้วเรียกว่าสุขเรียกว่าทุกข์

      แมวอ้วนคิดว่ามนุษย์ทุกคนที่ยังอยู่ในปัจจุบัน ล้วนแสวงหา บางคนรู้ว่ากำลังหาอะไร บางคนก็ไม่รู้แต่ก็ยังดิ้นรนกันไป
      คนที่เปิดใจกว้าง มักจะได้รับคำแนะนำเพื่อให้พบสิ่งที่แสวงหาได้เร็วกว่า แม้ว่าจะไม่ได้นำทั้งหมดมาทำตาม
      เพียงแต่ได้ฟัง เสียงนั้นจะซึมลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราเสมอ ปฎิเสธตนเองไม่ได้หลอกคะ

      พึ่งจะว่างงานมาไม่ถึงอาทิตย์ทำไมแมวอ้วนเพ้อเจ้อได้ขนาดนี้หนออออ คงต้องรีบไปหาที่เรียนทำสมาธิเร็วๆซะแล้วซิ [​IMG]

      อย่าซีเรียสกันมากนะคะ ความขัดแย้งนำมาซึ่งโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่แต่บางครั้งก็ทำลายสิ่งดีๆ เพียงเพราะต้องการเอาชนะกันคะ [​IMG]

      แมวอ้วนรักทุกคนนนนน [​IMG]

      ป.ล. ลืมตอบเกี่ยวกับหนังสือของคุณดังตฤณ สำหรับแมวอ้วนคิดว่าค่อนข้างเข้าใจยากกับหนังสือของท่านผู้เขียนท่านนี้คะ
      แมวอ้วนมี 2 เล่ม เล่มแรกเรื่องคู่แท้อะไรสักอย่างเนี้ยแหละจำไม่ได้
      เล่มที่สองเรื่องวิปัสสนานุบาล อ่านจบแหละ ดีนะแต่บางอย่างก็ไม่ค่อยเข้าใจคะ [​IMG]

      ทั้งสองเล่ิมถูกอ่านเป็นระยะๆ แมวอ้วนกำลังพยายามจะเข้าใจอยู่คะ [​IMG]

      เข้ามาเพิ่ม ป.ล. คะ <!--MsgEdited=14-->
      [SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 24 ม.ค. 52 11:25:10[/SIZE] <!--MsgEdited=14-->[SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 24 ม.ค. 52 11:24:24[/SIZE] <!--MsgFile=14-->


      จากคุณ : <!--MsgFrom=14--><< FatCatSlimDog -GG >> [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=14-->24 ม.ค. 52 10:52:41 <!--MsgIP=14-->] [​IMG]

      <!--pda content="end"-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!--pda tag="<hr align=center width=90%>"--><!--MsgIDBottom=14--><!--MsgIDTop=15-->
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=1><TBODY><TR><TD>
    • [​IMG] <!--WapAllow15=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 15 <!--InformVote=15--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[15], 15);</SCRIPT>[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=15--><!--EcardSend=15-->

      <!--MsgIDBody=15-->ความเห็นต่าง ความขัดแย้ง ที่อยู่ในกรอบ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ...การเรียนรู้ ก่อให้เกิดปัญญา หากผสมกับเมตตา จะเกิด สัมมาคารวะต่อสรรพสิ่งตามธรรมชาติ ยินดีครับ ท่าน FatCatSlimDog...ที่ได้สนทนาด้วย..!

      เพียงแต่ ผมไม่เคยเห็น การเรียนรู้แค่ผิวเผิน แล้วยกตน ยกตัวอย่าง ขึ้นตีเสมอ เปรียบเทียบ ทำนองไม่เคารพ หรือให้เกียรติ์ "ต้นฉบับ" ซึ่งเป็นศรัทธาของคนทั้งประเทศ ...นะครับ จขกท..นี่เข้ามาศึกษาพุทธ แต่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา แน่ผมสงสัย...

      เพราะใช้ภาษาอักษร อารมณ์ที่ถ่ายทอด ไปในทางยกอัตลักษณ์ ของตนเองและครอบครัว ว่าฉลาด...มีวิธีคิด และทำที่ดีกว่า คนอื่นๆที่ศึกษาพุทธศาสนาเหมือนตนเอง...ในขณะนี้..? <!--MsgFile=15-->


      จากคุณ : <!--MsgFrom=15-->เกิดเป็นคนช่างยากแท้ [​IMG] - [ <!--MsgTime=15-->24 ม.ค. 52 12:25:30 <!--MsgIP=15-->] [​IMG]

      <!--pda content="end"-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224444 border=1><TBODY><TR><TD>
    • [​IMG] <!--WapAllow20=Yes--><!--pda content="begin"-->ความคิดเห็นที่ 20 <!--InformVote=20--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[20], 20);</SCRIPT>[​IMG] [​IMG] <!--EcardManage=20--><!--EcardSend=20-->

      <!--MsgIDBody=20-->ส่วนเรื่องดอกดอกปีบ และ กองขี้วัว
      รวมทั้ง เปลญวนนั่น
      มันก็แค่ เวลาเดินจงกรมรอบโรงบาล
      มันต้องผ่านต้นดอกปีบกะ กองขี้วัว อ่ะ

      ก็เลย ได้รับ ผัสสะ ( กลิ่น ) จากทั้งสองสิ่ง
      เมื่อก่อนพอกลิ่นมันกระทบตะหมูก
      มันเก๊าะปรุงแต่งต่อ
      ว่า หอม หรือ เหม็น
      ว่า ปิติสุข หรือ ทุกข์
      แต่พอ เรียนรู้เรื่อง กลไกของ เจ้าขันทั้ง 5 ใบ
      ทุกอย่างเลยหยุดอยู่ที่
      จะดอกปีบ หรือ กองขี้วัว มันก็คือ กลิ่น

      ส่วนเรื่อง เปลญวณ น่ะ
      เป็นคนไม่ชอบ อะไรที่เคลื่อนไหวเป็นความถี่
      เช่น การนั่งเปลที่แกว่งไปแกว่งมา มันเสียว
      แต่วันหนึ่ง ขณะที่เผลอ แกว่งเปลไป ๆ มา ๆ
      มันกลับเฉย ๆ ไม่เสียว เหมือนเคย
      จึงเรียนรู้ว่า เออเฮ้ย ถ้าเรารู้จักมีสติอยู่ ณ จุด ปัจจุบัน
      ไม่ยึดติดกับอดีต ไม่คาดหวังกับอนาคต
      และ อยู่กับปัจจุบันขณะ ( แต่ก็ไม่จมปลักกับมัน )

      ความรู้สึกเสียว ๆ กลัว ๆ มันก็หายไปน่ะ
      หลังจากนั้น อิฉันก็เลยนอนเล่นบนเปลญวนที่แกว่งไปแกว่งมาได้
      และอยู่กับภาวะ ที่ อะไรที่เคลื่อนไหวเป็นความถี่ ได้

      นั้นแหล่ะ คือเรื่อง ราวของอิฉันล่ะ ^ - ^ <!--MsgEdited=20-->[SIZE=-1]แก้ไขเมื่อ 25 ม.ค. 52 15:26:56[/SIZE] <!--MsgFile=20-->


      จากคุณ : <!--MsgFrom=20-->นู๋บี - บัวเหล่าที่ 5 [​IMG] [​IMG] - [ <!--MsgTime=20-->25 ม.ค. 52 15:09:27 <!--MsgIP=20-->] [​IMG]

      <!--pda content="end"-->
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#403e68 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    catt2catt2catt2
     

แชร์หน้านี้

Loading...