หน้า155<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ถ้าเหตุการณ์นั้นเป็นนิมิตที่หลอกหลอนขึ้นมา รูปนั้นก็จะค่อยๆสลายไป เพราะกำลังปัญญาแก่กล้าขึ้นก็สามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะธรรม รูปเสียงเหล่านั้นก็จะเสื่อมไปด้วยเหตุที่ว่า ภาพนิมิตนั้นเกิดขึ้นด้วยอุปาทานของจิต ถ้าเราไปยึดหลงอยู่ในอารมณ์นิมิตนั้นนานๆ ครั้ง เมื่อคลายออกจากสมาธิแล้ว ก็จะไม่เกิดปัญญา หรือไม่เป็นกำลังหนุนให้สมาธิแข็งแกร่งขึ้น เพราะเป็นเพียงภาพหรือเสียงที่เกิดขึ้น เหมือนนอนหลับฝันไปเท่านั้น บางครั้งตื่นขึ้นหรือออกจากสมาธิแล้ว อาจจะเหนื่อยหอบใจสั่นเหมือนไปพบปะเหตุการณ์นั้นจริงๆ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า156<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แต่ถ้าภาพเหล่านั้นปลงอนิจจังเท่าใดก็ยังไม่หายไป ไม่ต้องตกใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ระลึกถึงหลวงพ่อโต น้อมระลึกว่าตัวเรานี้ ได้ถวายตัวแด่พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ หลวงพ่อโต แล้ว ตายเป็นตายแล้วพยายามตั้งสติให้ดีภาวนา “ พุท ” “โธ ” แผ่เมตตา อุทิศกุศลไปให้กับภาพหรือเสียงเหล่านั้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่ตกใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ภาวะที่จิตต่อสู้กับความกลัวนั้นจะเกิดเป็นกำลังหนุนให้สมาธิแน่นหนาแข็งแกร่งยิ่งขึ้น จิตก็จะค่อยๆมั่นคงแข็งแกร่งแน่วแน่มากขึ้น สามารถพัฒนาจิตให้ถึงในระดับสูงได้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในภาวะนั้นเหมือนอย่างคนที่ไปฝึกในป่าช้าหรือที่เปลี่ยว เพราะต้องการอบรมจิตในภาวะที่รู้สึกกลัวให้กล้าเผชิญต่ออารมณ์น่ากลัวจนไม่กลัว จิตก็จะนิ่งสงบแข็งแกร่งมีสติปัญญาคมกล้าขึ้นเป็นลำดับ<o:p></o:p>
เรื่องเด่น สมาธิ ทางสงบ ถอดจิต แนวคำสอนสมเด็จโต
ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 26 มีนาคม 2010.
หน้า 5 ของ 11
-
-
หน้า157<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ด้วยเหตุเดียวกันนี้ การฝึกจิตแบบนี้จึงต้องใช้สติปัญญาที่มั่นคง ความรู้แจ้ง ความกล้าหาญ ควบคุมความนึกคิดอยู่ตลอดเวลา<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จิตที่ได้สงบในภาวะเช่นนี้ จึงมีกำลังแน่นหนามั่นคงมาก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
อนึ่ง ท่านควรพิจารณาเหตุการณ์เช่นนี้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในวิธีการตั้งสติ และรักษาสมาธิให้มั่นนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในคราวฝึกต่อไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ซึ่งวิธีการฝึกแบบนี้เป็นข้อห้ามสำหรับคนขลาดดังต่อไปนี้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า158<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
วิธีการฝึกแบบนี้เป็นข้อห้ามสำหรับคนขลาด<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
การฝึกแบบนี้เป็นข้อต้องห้ามสำหรับคนที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนขี้ขลาดตาขาว จิตยังไม่แข็งแกร่ง ไม่ให้ไปฝึกในป่าช้าสุสานหรือที่เปลี่ยวที่ไม่มีคนคอยควบคุม เพราะเมื่อพบเห็นเหตุการณ์น่ากลัวแล้ว จะตั้งสติไม่อยู่ถึงกับเป็นบ้าได้ ให้ศึกษาเพิ่มเติมวิธีพอกกายทิพย์ในภาวะตกใจ (หน้า37 )<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จึงขอแนะนำว่า<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อพบเหตุการณ์นั้นเข้า ใจไม่สู้ ปราบไม่อยู่ไม่ต้องตกใจ ทำใจดีๆ ไม่ให้ลุกจากที่นั่ง ค่อยๆลืมตาขึ้น แล้วคลายออกจากสมาธิอย่างช้าๆ ไม่เข้าสู่การภาวนาด้วยการหลับตาอีก ลืมตาไว้เดินจงกรมแผ่เมตตา หรือหางานทำที่ต้องออกกำลังกายให้เหนื่อยจนรวมสมาธิไม่ติด ไม่นิ่งสงบ จิตใจยังคงมุ่งว้าวุ่นกับงาน เมื่อนั้น จิตใจก็จะไม่หวนกลับไปนึกคิดปรุงแต่งภาพหรือเสียงที่พบในนิมิตนั้นอีก รอจนกว่าข้ามวันหรือไปปรึกษาอาจารย์ผู้ควบคุมแล้วค่อยมาฝึกต่อ<o:p></o:p> -
หน้า159<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
วิธีส่งจิตเข้าไปสัมผัสกับนิมิตรูป เสียง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อเราฝึกจิตแล้วเกิดพบเห็น นิมิตภาพเหล่านั้นจนเป็นของเคยชิน เหมือนนายพรานผู้ฝึกการเดินป่าจนคล่องแล้ว ก็จะเกิดความเคยชินกับความเงียบวังเวงที่น่ากลัว แม้พบเห็นสัตว์ร้ายต่างๆ ก็ไม่กลัว สามารถตั้งสติมั่นอยู่กับตัว มีปัญญาพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาโดยหลบหลีกหรือกำจัดภัยนั้นได้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อนั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จงปล่อยจิตออกไปสัมผัสกับเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่นั้น ด้วยการตั้งสติสัมปชัญญะให้มั่นคงทนอยู่กับตัว ไม่หลงใหล ประมาทกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนถอนตัวไม่ขึ้น แล้วส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปเสริมที่ภาพนั้นมากขึ้นพยายามบังคับให้ภาพนั้นชัดเจนมากขึ้น ตั้งสติแล้วส่งจิตใจเข้าไปคลุกคลีไตร่ถามสารทุกข์สุขดิบก็จะได้เป็นประโยชน์ในการศึกษาเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้ดี<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า160<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แต่ทั้งนี้ พึงสำรวมจิตระวังแล้วตั้งสติพร้อมวิจารณาญาณที่สมบูรณ์ ด้วยการทบทวนตรึกตรองหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ด่วนตัดสินปักใจเชื่อแน่สนิทและอย่าไปปรุงแต่งขยายเรื่องราวในนิมิตให้มากจนเกินขอบเขต จะทำให้ลืมตัวจนเสียสติได้เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกหลุมอันตราย เพราะนิมิตเหล่านั้น มีทั้งจริงและไม่จริง ที่เหล่ามารสามารถเนรมิตขึ้นมาหลอกหลอนเราได้ ด้วยอำนาจแห่งการบำเพ็ญมาที่ไม่ได้คิดหวังดีต่อคนอื่นตามวิสัยของวิญญาณที่มีโทสจริตอยู่ในอนุสัย<o:p></o:p> -
หน้า161<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
บทที่4 ฝึกจิตสงบในขั้นสูงให้ได้ฌาน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในการฝึกสมาธิบทนี้ เป็นการฝึกสมาธิต่อเนื่องจากบทที่ 3 ซึ่งถ้าท่านฝึกจนเกิดความชำนาญแล้ว ก็นำสมาธิจิตระดับกลางมาเข้าฝึกต่อเนื่องบทนี้ได้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แต่ถ้ายังไม่เข้มแข็งพอแล้วควรจะฝึกบทที่ 1 , 2 , 3 ให้ชำนาญและหนักแน่นมั่นคงก่อนแล้วค่อยมาเรียนต่อบทนี้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า162<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เพราะว่า <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ถ้าพื้นฐานสมาธิไม่แข็งแกร่งแล้ว เมื่อฝึกต่อไปสมาธิเบื้องต้นที่ได้มาก็พลอยจะเสื่อม เพราะมัวแต่คิดฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ในความอยากได้ฌานระดับสูง ดังนั้นสมาธิระดับสูงก็ไม่ได้ เรียกว่า ต้นทุนก็หาย กำไรก็ไม่มี เท่ากับล้มละลายเหมือนสร้างบ้านลงรากฐานไว้ไม่แข็งแรง สมบูรณ์ เมื่อสร้างต่อเติมต่อไปสูงๆขึ้น ผลปรากฏว่าบ้านยุบหายจมลงไปในดินทั้งหลัง เกิดการเสียหายอย่างใหญ่หลวง ไม่ได้แล้วยังเสียหายอีก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
วิธีการฝึกจิตจากบทที่ 3 คือได้สมาธิในขั้นกลางแล้วจะขึ้นสู่การเจริญสมาธิขั้นสูงให้ได้ฌานนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการคุณธรรมอันนำไปสู่ความสำเร็จ 4 ประการ และเตรียมพร้อมหลายๆสิ่ง ทั้งวัตถุและจิตใจเพื่อเกื้อหนุนให้การฝึกสมาธิเจริญสู่ความนิ่งสงบแน่วแน่ดีขึ้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จึงขอแนะนำให้พิจารณาปฏิบัติตามบทต่อไปนี้<o:p></o:p> -
หน้า163<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
การฝึกจิตสงบขั้นสูงให้ได้ฌานไม่ใช่ฝึกชั่วโมงเดียว วันเดียวก็สำเร็จ ผลไม้จะสุกงอมก็ต้องใช้เวลาในการเติบโต<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฌานจะปฏิบัติทำให้แก่กล้า ก็จำเป็นต้องประกอบด้วยอิทธิบาท 4 คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ แห่งผลที่มุ่งหมาย 4 ประการ คือ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
1.ฉันทะ ความพอใจใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอและปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
2. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
3. จิตตะ ความคิดที่ตั้งจิตมั่น ทำในสิ่งนั้น ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
4. วิมังสา ความไตร่ตรองด้วยการหมั่นใช้ปัญญาใคร่ครวญพิจารณาทบทวน ตรวจหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผนวัดผลคิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า164<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
บุญกรรมก่อเกิดด้วย ดวงใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ผลเพิ่มเพื่อเชื้อไตร รัตน์แก้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
บุญบาปมากน้อยใน จะติด ตนนา<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ดังจักรเกวียนเวียนแล้ว ไล่เลี้ยว ตื่นโคฯ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
(สำนวนเก่า)<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
(จากประชุมโคลงโลกนิติ)<o:p></o:p> -
หน้า165<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
กุศลที่จะเกื้อหนุนให้สมาธิแน่วแน่ดีขึ้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
“ กุศล ” ในที่นี้หมายถึง “ ความดีทั้งปวง ” ที่ควรกระทำและสรรหาไว้ในวัตถุที่จำเป็นแก่การครองชีพรวมทั้งบุคคลที่ควรคบค้าสมาคม เป็นการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเกื้อหนุนให้สมาธิแน่วแน่ดีขึ้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เพราะว่า ถ้าสิ่งหนึ่งสิ่งใดขาดตกบกพร่องแล้ว ก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดอุปสรรคกีดขวางทางแห่งความเจริญของสมาธิให้สำเร็จตามเป้าหมาย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ดังนั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ท่านที่หวังฝึกสมาธิแก่กล้าแน่วแน่สู่ระดับฌานจึงควรเตรียมการและปฏิบัติตามกุศล 10 ประการนี้คือ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า166<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
1.ทำวัตถุในตัวและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสถานที่อยู่ให้เหมาะสม <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ พิจารณาร่างกายให้มีความพร้อม เช่น ตัดเล็บ ตัดผม ใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและการอาบน้ำชำระร่างกาย เพื่อจิตใจจะได้สดชื่นปลอดโปร่งเหมาะสมในการเจริญสมาธิ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
สิ่งแวดล้อมในที่อยู่อาศัยรวมหมายถึง สถานที่ที่เหมาะสม คือ เงียบสงบ ไม่รกรุงรัง ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทดี และอยู่ในแวดล้อมของคนที่คอยแต่สนับสนุนการปฏิบัติจิตของเรา ซึ่งเมื่อเข้าฝึกในที่นั้นแล้ว จะได้สมาธิจิตสงบได้เร็ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
2.การเดินทางสะดวก <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ สถานที่อยู่ในบริเวณที่จะเดินทางไปไหนมาไหนสะดวก เช่น สะดวกแก่การเดินทางไปธุระอันจำเป็นทั้งปวง ในการหายารักษาโรค หาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
3.การพูดคุยที่เหมาะสม <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ ควรที่จะสนทนาแต่เรื่องที่จะส่งเสริมให้นิมิตมั่นคงทนอยู่ โดยหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่กล่าวเพ้อเจ้อ นินทา<o:p></o:p> -
หน้า167<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
อาฆาตมาดร้าย และคำพูดอื่นอันจะทำให้จิตใจฟุ้งซ่านรวมทั้งการโต้เถียงอันไร้ประโยชน์ ที่มีผลทำให้นิมิตเสื่อมหาย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แม้จำเป็นต้องพูดคุย ก็สนทนาแต่น้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะคนพูดมากไม่ว่าพูดเรื่องดีหรือไม่ดี ล้วนแต่ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ทั้งนั้นและการพูดมากก็สิ้นเปลืองพลังภายในกายโดยไม่จำเป็นด้วย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
4.บุคคลที่ควรคบค้าสมาคม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ ควรคบหาเฉพาะบุคคลที่มีจิตเป็นสมาธิที่มั่นคง คลายจากความยึดมั่นถือตน พูดแต่สิ่งดีทำแต่สิ่งดี เมื่อคบหาด้วยก็มีแต่ช่วยชักจูงน้อมไปในทางที่ดี ให้จิตสงบเกิดสมาธิเร็วและดีขึ้นเป็นลำดับ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
อนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงคบหาบุคคลที่มีจิตใจโลเลไม่เป็นสมาธิ ชอบคุยฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อกล่าวนินทา ใส่ร้าย อาฆาตผู้อื่น ซั้ายังเป็นบุคคลที่เต็มไปด้วยการยึดมั่นถือมั่นหลงยกตนข่มท่าน เมื่อคบแล้วจะทำให้จิตใจเสื่อมทราม ตกต่ำ เสียสมาธิ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า168<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
5.การได้รับอาหารที่เหมาะสม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ การได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าอย่างสมบูรณ์พอควรแก่ความจำเป็นที่ร่างกายต้องการ ไม่ให้หิวหรืออิ่มเกินไป เรียกว่า “ กินด้วยความหิว ปฏิกูลบำรุงปฏิกูล เพื่อให้สังขารอยู่ใช้กรรม ไม่ใช่อยู่เพื่อกินด้วยความอยาก ” บำเรออาหารแก่ร่างกายสมบูรณ์เกินความจำเป็นจนอ้วนท้วมเกิดโรคต่างๆเป็นการไม่สะดวกในการปฏิบัติจิต ทั้งยังสร้างภาวะให้จิตลุ่มหลงห่วงกินจนจิตใจเสื่อมถอยจากสมาธิ <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
6. อยู่ในฤดูที่อยู่สบาย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ พยายามหาที่อยู่ที่จะมีอากาศร่มรื่นพอควรอันไม่ร้อน ไม่หนาวเกินควรจนร่างกายทนไม่ได้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้เกิดสมาธิดีขึ้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
7.อยู่ในอิริยาบถที่เหมาะสม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ ควรจะพิจารณาเลือกอิริยาบถที่เหมาะสมที่ตน เลือกเข้าฝึกแล้ว ได้สมาธิเร็ว จิตสงบ เห็นนิมิต และควรงดเว้นอิริยาบถที่ฝึกแล้วรู้สึกว่า ทรมานสังขารทำให้สมาธิตก นิมิตเสื่อมถอย<o:p></o:p> -
หน้า169<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
8.พละกำลังที่จะเสริมให้สมาธิ จิตสงบ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ ทำให้อินทรีย์ทั้ง 5 ให้มีพละกำลังเท่ากันเพราะถ้าอินทรีย์ใดแก่กล้าหรือยิ่งหย่อนกว่ากันก็จะทำให้จิตใจเกิดความไม่สมดุลย์ในการปฏิบัติ ความคิดและกำลังสมาธิก็จะเสื่อมถอย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
อินทรีย์ 5 ได้แก่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
8.1 ศรัทธาอินทรีย์ ความเชื่อมั่นเลื่อมใสผลแห่งการปฏิบัติสมาธิจะได้สำเร็จมรรคผล<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
8.2วิริยะอินทรีย์ ความขยันหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอที่ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไปในการปฏิบัติเจริญสมาธิให้จิตสงบเป็นอำนาจแห่งความพอใจใคร่จะทำการปฏิบัติ <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
8.3สติอินทรีย์ ความระลึกได้ที่คอยควบคุมให้จิตอยู่ในอารมณ์ปฏิบัติสมาธิให้จิตสงบ <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
8.4สมาธิอินทรีย์ ความตั้งใจให้มั่นอยู่ในอารมณ์สมาธิที่รวมเป็นหนึ่ง <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
8.5ปัญญาอินทรีย์ ความรู้ชัดแจ้งในวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องที่จะอบรมจิตให้สงบ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า170<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
9. ความฉลาดในนิมิต <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เป็นข้อเตือนสติให้เป็นคนช่างสังเกตพิจารณาในภาวะที่นิมิตเกิดปรากฏแล้ว มีวิธีใดที่เคยใช้ในการเจริญให้นิมิตมั่นคงยิ่งขึ้น จงจดจำนำมาใช้ และควรจะมีใจเฉลี่ยวเมื่อเหตุที่นิมิตเสื่อมหายไปแล้วปฏิบัติอย่างไรนิมิตจึงเกิดอีก และรักษาไว้ให้คงอยู่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ซึ่งวิธีต่อไปนี้ เป็นวิธีเสริมให้นิมิตคงอยู่และสมาธิเจริญยิ่งๆขึ้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
9.1 ยกจิตในสมัยที่ควรยก <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในขณะใดที่จิตใจหดหู่เกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากฝึกจิต พึ่งเจริญด้วยความขยันหมั่นเพียรมองพิจารณาฝึกสมาธิเป็นการปฏิบัติที่จะได้ความปีติอิ่มเอิบใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อนั้น ก็จะเป็นการสร้างภาวะที่ดีประคองให้จิตสบาย ยกระดับจิตให้สูงขึ้นเพื่อเกิดศรัทธาที่จะฝึกต่อไป<o:p></o:p> -
หน้า171<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
9.2 ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในขณะที่จิตใจเกิดอาการฟุ้งซ่าน คิดมากจนรวมสมาธิไม่ติด เราก็ต้องใช้สมาธิปัญญาพิจารณาเหตุที่ทำให้เกิดอาการฟุ้งซ่าน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เช่น <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ค้นพบว่า เพราะความอยากได้คิดเลยไปในอนาคตว่าทำอย่างไรจึงจะได้ฌานสูงๆขึ้นไป ก็ต้องข่มจิตด้วยการวางใจในอุเบกขาเฉยๆเสีย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
การข่มจิตนี้ ควรจะค่อยๆ โน้มน้าวดึงจิตให้เข้าทีละน้อยๆ ท่านควรพิจารณาให้รู้ถ่องแท้ว่า เมื่อฝึกถึงฌานสูงๆ สมาธิก็จะเจริญไปถึงเอง ไม่ต้องดิ้นรนใฝ่คว้าจนเสียสมาธิ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
9.3 ทำใจให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในโอกาสใดที่จิตใจมีปัญญาอ่อนแรงลง พิจารณาปลงสังเวชเศร้าสลดกับกายสังขารหรือมองไม่เห็นความสุขอันพึงได้จากการปฏิบัติก็ควรปลุก สร้างจิตใจให้เกิดความปลื้มปิติเลื่อมใสศรัทธาเคารพนบนอบระลึกถึง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า172<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้นำความสุขอันเที่ยงแท้มาเผยแพร่ให้เราได้พบกับความจริง ที่ว่า “ทุกข์ทั้งหลายก็อยู่ในกฏแห่งอนิจจัง ที่ไม่เที่ยงแท้ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่มีตัวตนที่ควรแก่การยึดมั่น ”<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อปัญญาเราเจริญแก่กล้าขึ้นเป็นลำดับ ก็จะทำให้เกิดความร่าเริงชื่นบานดูดดื่มเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น หมดสิ้นจากภาวะจิตใจที่ต่ำต้อยหดหู่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
9.4 คุมจิตในสมัยที่ควรคุม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ ในขณะที่จิตใจไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ทุกข์โศก ดำเนินปฏิบัติจิตไปตามวิถีแนวทางแห่งการฝึกสมาธิแล้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เราก็คุมเชิงอยู่เฉยๆ ดูจิตให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เหมือนม้าลากรถที่เดินไปสู่บนถนนที่ราบรื่นแล้ว คนขับรถม้าเพียงแต่จับเชือกเฉยๆ ไม่ต้องกระตุกหรือกระชักเชือกจิตก็จะพาไปถึงเป้าหมายแห่งความสงบเอง<o:p></o:p> -
หน้า173<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
10.โดยน้อมจิตไปในสมาธิในจังหวะที่เหมาะสม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือ เมื่อจิตใจเริ่มสงบนั้น ก็พยายาม ค่อยๆ น้อมน้าวตะล่อมจิตใจให้หน่วงลงสู่ในสมาธิมากขึ้น โดยพิจารณาในจังหวะที่จิตใจพร้อมแล้วจากการปฏิบัติตามข้อที่กล่าวข้างต้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อนั้น จิตก็จะฝังลงในความคิดที่จะเจริญมุ่งสู่ความสงบแน่วแน่มั่นคงอย่างแน่นอน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า174<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
น้ำใจสุขเลิศล้ำ เสน่หา<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ยากยิ่งจะนำมา กล่อมใช้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ความสุขแห่งใจพา สุขกว่า<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ความสุขอื่นหาได้ ไม่แท้สุขใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า175<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ยึดอุคหนิมิตฝึกต่อเนื่องให้ได้ปฏิภาคนิมิต<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อท่านฝึกได้สมาธิขั้นกลาง ก็ได้นิมิต “ ดวงสีขาว ” เป็นเครื่องหมายที่จำติดตาแล้วขอให้ฝึกต่อดังนี้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หลับตาลง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เจริญสมาธิให้จิตสงบแล้วมองไปที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว อุคหนิมิต “ ดวงสีขาว ” ก็จะปรากฏเกิดขึ้นตั้งอยู่เฉพาะหน้าเรา แล้วส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปประคองจับอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสีขาวคือ เหมือนถือดินสอเข้าไปจุดเป็นสีดำที่ศูนย์กลางของวงกลม เพื่อเป็นเป้าหมายของจิตใจที่จะส่งเข้าไปทับถมที่จุดนั้น<o:p></o:p> -
หน้า176<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อสร้างจุดเสร็จแล้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หายใจเข้าภาวนาว่า “ พุท ” แล้วหายใจออกก็ท่องต่อเนื่องด้วยคำภาวนาว่า “ โธ ” พอคำว่า “ โธ ” จะออกจากร่างกายพร้อมลมหายใจสลายไปในอากาศนั้น เราก็สมมติว่า นำตัว “ โธ ” พร้อมด้วยลมหายใจส่งเข้าไปที่จุดสีดำศูนย์กลางของดวงสีขาวนั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ถ้าท่านฝึกจนชำนาญแล้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ไม่ต้องภาวนา “ พุท ” “ โธ ” ก็ได้ แต่ใช้ส่งกระแสจิตใจความนึกคิดเข้าไป เป็นการฝึกต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไปยังศูนย์กลางดวงสีขาวนั้นให้มากขึ้นๆ อย่างช้าๆ เรื่อยๆ วางตัวเป็นสายกลางเหมือนน้ำในลำธารไหลรินเอื่อยๆเข้าไปสู่ศูนย์กลางดวงสีขาวอย่างไม่ขาดสาย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกไปเช่นนี้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ที่ไม่รีบเร่งอยากได้อันเป็นกิเลสที่จะทำให้ปวดขมับ และทำให้ไม่บรรลุผลสำเร็จ เพราะว่าภาวะรีบเร่งนั้นทำให้เกิดความเครียดถึงกับปวดศีรษะ มึนชา และสองข้างขมับมีอาการปวดเส้นประสาทจนกระตุก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า177<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ถ้าท่านมีอาการเช่นนี้แล้ว ขอให้คลายออกจากการจดจ่อแล้วถอยไปอ่านวิธีการรักษาด้วยวิธีการแก้ปวดประสาทสองข้างของขมับ(หน้า145)<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ขณะเดียวกัน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ท่านก็ต้องฝึกอย่างไม่ย่อหย่อน จนจิตใจหดหู่ท้อถอย เสียกำลังใจ จนไม่มีแรงพอที่จะเดินก้าวหน้าไปสู่มรรคผล<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
สรุปก็คือ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ใช้วิธีเดินสายกลาง บำเพ็ญด้วยสติ ควบคุมจิตให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ<o:p></o:p> -
หน้า178<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกเจริญสมาธิไประยะหนึ่ง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ความสว่างรอบๆดวง อุคคหนิมิตจะค่อยๆวิ่งเข้าไปรวมที่จุดศูนย์กลางของ “ ดวงสีขาว ” เนื้อในดวงสีขาวก็จะค่อยๆรวมเข้าไปอยู่ในจุดศูนย์กลาง คงเหลือแต่วงแหวนอุคหนิมิตล้อมรอบจุดศูนย์กลางนั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เราไม่ไปสนใจการเปลี่ยนแปลงนั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แต่เรายังคงปฏิบัติเหมือนแต่ต้นต่อไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จุดศูนย์กลางนั้นจะค่อยๆรวมตัวเป็นแก้วใสๆเท่าหัวเข็มมุดที่สวยงาม เกิดซ้อนขึ้นในศูนย์กลางของ “ ดวงสีขาว ” แล้วค่อยๆเปล่งรัศมีรอบตัวแผ่เป็นแสงออกโดยรอบดวงแก้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ด้วยกำลังของการภาวนา ลมหายใจขณะนั้นจะละเอียดยิ่งขึ้น จิตใจก็จะสงบระงับมากขึ้นโดยลำดับจนลมหายใจไม่ปรากฏว่ามีหรือไม่มี<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า179<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แสงจากดวงแก้วจะค่อยๆสว่างจ้ามากขึ้น ขณะนี้ดูไปเหมือนมองเห็นพระอาทิตย์ตอนกลางวัน แต่แสงจากดวงแก้วนี้อ่อนนุ่มสุขุมดังแสงจันทร์ แสงนั้นเจิดจ้าแต่ไม่แสบตาแบบแสงจากอาทิตย์ และจะมีอารมณ์ไหวๆ ในตอนแรกๆเท่านั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ขณะนี้อุคคหนิมิตที่เป็นวงแหวน ล้อมรอบดวงแก้วอยู่นั้นก็จะค่อยๆเลือนรางจางหายไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในที่สุด<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ก็จะเหลือแต่ดวงแก้วที่เปล่งแสง ที่เรียกว่า “ ปฏิภาคนิมิต ” คือ นิมิตเทียบเคียงเขยิบใกล้เข้าสู่ความแน่วแน่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
“ ปฏิภาคนิมิต ” นี้เป็นการรวมสมาธิได้กำลังแรงกว่าอุคหนิมิต จนกิเลสไม่สามารถที่จะขึ้นมารบกวนกระทบกระเทือนจิตใจขณะนั้นได้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p> -
หน้า180<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คนใดมักน้อยโลภ โลโภ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ระงับดับโกรโธ แช่มช้า<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
พยาบาทวิหิงโส สูญดับ ได้แฮ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
พักตรเพียงจันทร์แจ่มฟ้า เพริศแพร้วไพบูลย์ <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
(สำนวนเก่า)<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จากประชุมโคลงโลกนิติ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า181<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ยึดปฏิภาคนิมิตฝึกต่อเนื่องให้ได้ปฐมฌาน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อได้ฝึกจนปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้ว แสงสว่างที่อยู่รอบๆดวงแก้ว ก็จะแนบนิ่งไม่หวั่นไหว จิตก็จะผละออกจากการรับรู้ลมหายใจ แล้วมาตั้งอยู่ที่ “ ปฏิภาคนิมิต ” <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จิตประคองจับเฉพาะ “ ดวงแก้ว ” ไว้ ไม่สนใจสีแสงรอบดวงแก้ว เพราะบางครั้งสีแสงเหล่านั้นอาจจะเปล่งออกมาเป็นสีรุ้งแผ่รัศมีเป็นชั้นๆ หรือเป็นสีสันที่น่าสนใจ น่ารักใคร่ที่จะทำให้หลงยึดติดอยู่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อจิตประคองจับ “ ดวงแก้ว ” แล้วก็ตั้งเป็นเป้าหมาย ให้ส่งกระแสจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางของดวงแก้วอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ฝึกเช่นนี้ไปฝึกจนเข้าสมาธิทุกครั้งก็จะเห็น “ดวงแก้ว ” แล้วฝึกให้เห็นเสมอและเร็วขึ้นกว่าเก่า คือฝึกจนชำนาญที่จะใช้ระยะเวลาสั้นลงๆที่จะให้ได้เห็น “ ดวงแก้ว ”<o:p></o:p> -
หน้า182<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกจนหลับตาทุกครั้งก็จะเห็นดวงแก้วทันที<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกจนได้เห็นทุกครั้ง ที่จิตใจนึกต้องการจะเห็น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกจนลืมตา ก็ยังรู้สึกมีนิมิตดวงแก้วอยู่เฉพาะที่ข้างหน้าของหน้าผาก ตั้งอยู่เสมอกับระดับกึ่งกลางระหว่างคิ้วนั้น แล้วลืมตาส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปอย่างต่อเนื่องอีก ด้วย การอาศัยความมืดของเวลากลางคืน ลืมตาไว้แล้วมองไปข้างหน้าส่งจิตใจความนึกคิดรวมเป็นหนึ่ง ส่งเข้าไปกึ่งกลางระหว่างคิ้วแล้วค่อยๆผลักดันนิมิต " ดวงแก้ว " นั้นให้ไปปรากฏชัดที่ข้างหน้าเราในระยะที่สายตามองเห็นได้ ได้ถนัดเมื่อ “ดวงสีขาว ” เคลื่อนออกตั้งเป็นเป้าแล้วใหม่ๆจะเลือนรางและเคลื่อนไหวไม่อยู่กับที่ ให้ค่อยๆประคองจับไว้ให้นิ่งและบังคับให้อยู่กับที่ ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปตรงศูนย์กลางของนิมิตที่พอจะเห็นได้นั้น ส่งกระแสความนึกคิดเข้าไปอยู่ระยะหนึ่ง ดวงแก้วที่เห็นด้วยการลืมตานั้นก็จะค่อยๆชัดและเป็นจริงขึ้นมา จึงเป็นการฝึกที่เรียกว่า ฝึกจนลืมตาเห็นได้แม้ในเวลากลางคืน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า183<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกจนลืมตาเห็นนิมิตในเวลากลางวัน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อฝึกเห็นดวงแก้วในเวลากลางคืนจนชำนาญแล้ว ก็มาฝึกให้เห็นในเวลากลางวัน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ใหม่ๆควรจะฝึกในห้องที่มีผ้าดำหรือกระดานดำอยู่หน้าห้อง ภายในห้องเปิดประตูหน้าต่างให้แสงสว่างเข้ามาได้เต็มที่ แล้วส่งจิตใจความนึกคิดดึงภาพนิมิต “ ดวงแก้ว ” ให้ไปปรากฏที่หน้ากระดานดำ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อตั้งเป็นเป้าได้แล้ว ก็ส่งกระแสจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่เป้า “ ดวงแก้ว ” นั้น จนมองเห็นได้ชัด <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แล้วก็เปลี่ยนจากกระดานดำเป็นผ้าขาวผืนใหญ่หรือเป็นกระดานขาว ตั้งเป้าฝึกเหมือนวิธีแรก ด้วยการตั้ง “ ดวงแก้ว ” ที่เป็นสีขาวให้ไปปรากฏบนผ้าขาว จึงเป็นวิธีที่ยากขึ้นในการฝึกให้เห็นชัด แต่ไม่พ้นความพยายาม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในไม่ช้า ก็จะ ฝึกจนลืมตาเห็นได้ในเวลากลางวัน<o:p></o:p> -
หน้า184<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อฝึกจนคล่องชำนาญแล้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ก็ฝึกลืมตากำหนดให้นิมิต “ ดวงแก้ว ” เกิดให้เห็นได้ในทุกสถานที่ และพยายามฝึกด้วยการเพ่งโดยการส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่เป้าคือ “ ดวงแก้ว ” จนมองเห็นได้ชัดเจน ด้วยนิมิต “ ดวงแก้ว ” นี้ก็จะแจ่มชัดขึ้นตามลำดับต่อไปโดยไม่ต้องย้อนกลับไปอาศัยกสิณเพ่งวงกลมหรือดวงสีขาวอีก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า185<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ได้ปฏิภาคนิมิตแล้วควรหมั่นเจริญสมาธิ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ท่านที่ฝึกบรรลุได้ปฏิภาคนิมิตใหม่ๆ ควรจะขยันหมั่นเข้าฝึกอยู่ในอารมณ์สมาธิบ่อยๆ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จะก่อให้เกิดความเคยชินทางจิตใจให้สงบ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
สร้างความชำนาญในการบำเพ็ญฌาน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แต่อย่าใช้เวลานานไป เพราะถ้าใช้เวลาพิจารณานานไป จิตใจก็จะเมื่อยล้า องค์ฌานคือ “ ดวงแก้ว ” ก็จะปรากฏหยาบเป็นผลให้กลายเป็นองค์ฌานที่ไม่แข็งแกร่งพอที่จะไปบรรลุฌานขั้นสูงต่อไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ในขั้นนี้มีลักษณะเหมือนกินข้าวให้บ่อย แต่กินครั้งละไม่ต้องมากเพราะถ้ากินมาก จะจุกเสียดอึดอัดเกินไปไหนมาไหนไม่ได้อีก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกปฏิบัติต่อไปอีก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกจนสามารถบังคับให้จิตนิ่งทุกขณะที่เราต้องการ “ ดวงแก้ว ” ถูกบังคับให้อยู่เฉพาะหน้าเห็นชัดติดตาได้นานตามที่เราต้องการ ฝึกจนเป็นนิมิตที่ปรากฏอยู่ในใจที่ไม่เลือนจางหายไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกถึงขั้นนี้แล้ว<o:p></o:p> -
หน้า186<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกขยายและหดนิมิต<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ท่านก็ฝึกตั้งนิมิต “ ดวงสีขาว ” นั้นไว้เฉพาะหน้าเอาจิตใจความนึกคิดไปจับอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงแก้วทำใจให้สงบสำรวมเป็นหนึ่งอยู่กับที่กายเนื้อ ฝึกขยายและหดดังนี้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
1.ฝึกจับจากดวงเล็กขยายให้เป็นดวงใหญ่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ส่งจิตใจความนึกคิดจากกายเนื้อเข้าไปที่ศูนย์กลางของดวงแก้ว ส่งเข้าไปเรื่อยเรื่อย ด้วยใจที่คิดว่าเหมือนเป่าลมเข้าไปที่ปากลูกโป่งให้ค่อยๆโตขึ้นทีละน้อยๆ จิตใจจะได้ละเอียดไม่ทำให้สมาธิหยาบด้าน ค่อยๆขยายทีละครึ่งเซ็นต์ ทีละนิ้ว จนเป็นคืบเป็นศอก ขยายจนใหญ่ที่สุดที่เราสามารถมองเห็นก็พอ การขยายนี้จะต้องขยายตรงศูนย์กลางออกไปเท่ากันทุกด้าน แม้ขยายออกไปกว้างเท่าใดก็ยังเป็นวงกลมที่ไม่บูดเบี้ยว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ระหว่างที่กำลังขยายอยู่นั้น จิตใจมีอารมณ์สบายๆ ไม่ตื่นเต้นรีบเร่ง จะได้ไม่เปลืองพลังภายในกาย ทำให้เมื่อออกจากสมาธิแล้วไม่เหนื่อยอ่อนเพลีย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า187<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
2.ฝึกจับจากดวงใหญ่ให้หดเป็นดวงเล็ก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อฝึกจนนิมิตขยายเป็นดวงใหญ่ตามที่ต้องการแล้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ทำใจให้สงบรวมอารมณ์เป็นหนึ่ง ตั้งอยู่ที่กายเนื้อส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางของดวงแก้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เหมือนจุ่มหลอดกาแฟเข้าไปใจกลางดวงแก้วด้วยใจที่คิดว่า เหมือนดูดน้ำออกจากดวงแก้วกลับมาที่กายเนื้อ ดูดไป ๆอย่างช้าๆ ดวงแก้วก็จะค่อยๆหดลงมาทีละน้อยๆจนคืนสู่สภาพเดิมที่โตเท่าหัวเข็มมุด<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
3. ดวงนิมิตที่อยู่ใกล้ให้ออกไปอยู่ที่ไกลและถอยกลับมาอยู่ที่เดิม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อตั้งดวงนิมิตที่อยู่เฉพาะหน้าเรานั้นได้แล้ว ก็ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางของดวงแก้วค่อยๆส่งไป เหมือนค่อยๆผลักให้ดวงแก้วถอยออกห่างไปอย่างช้าๆค่อยๆห่างออกไปจนถึงระยะไกลพอที่เราจะจับตามองเห็น ระวัง อย่าผลักให้ถอยเร็วไปจะทำให้ตั้งสติตามไปไม่ทัน เกิดอาการตกใจได้<o:p></o:p> -
หน้า188<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อดวงแก้วถูกผลักออกไปไกลตามที่เราต้องการแล้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ตั้งใจให้จิตสงบรวมเป็นหนึ่งที่กายเนื้อ ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางของดวงแก้วที่อยู่ไกลนั้น แล้วค่อยๆดึงลากดวงแก้วให้กลับเข้าใกล้มาจนอยู่ในตำแหน่งเดิม คือ อยู่เฉพาะหน้าเรา<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
4.ที่อยู่ต่ำให้เลื่อนสูงขึ้นไป <o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ตั้งใจให้สงบรวมเป็นหนึ่งอยู่ที่กายเนื้อ ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางของดวงแก้ว แล้วค่อยๆหิ้วชักรอกให้ดวงแก้วสูงขึ้นๆ จนสายตาเราสามารถมองเห็นได้และตั้งอยู่คงที่ในความสูงนั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อตั้งดวงแก้วอยู่ที่สูงได้แล้ว ก็ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางดวงแก้วดึงหน่วงถ่วงให้ดวงแก้วนั้นเลื่อนต่ำลงมาสู่ตำแหน่งเดิม และค่อยๆกดให้ต่ำลงไปอีก แล้วจึงค่อยๆดึงขึ้นมาคืนตั้งอยู่เฉพาะหน้าเราอีกครั้ง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
5.อยู่ภายนอกให้เข้ามาปรากฏในตัวเรา<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ดวงนิมิตที่ได้ฝึกจนพบเห็นนั้น ปรกติจะมีความรู้สึกว่าอยู่ภายนอกกายเราตั้งอยู่เฉพาะหน้าคือ ตรงข้ามกับหน้าเรา โดยอยู่ในระดับเสมอกับกึ่งกลางระหว่างคิ้ว ห่างประมาณ 1 ฟุต หรือ 1 คืบ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เราตั้งจิตให้สงบรวมเป็นหนึ่งอยู่ที่กายเนื้อ แล้ว ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางของ " ดวงแก้ว " แล้วค่อยๆดึงลากเข้ามาที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว แล้วค่อยๆดึงต่ำลงมาที่หน้าอก หน้าท้อง แล้วก็วกผ่านทวารหนักขึ้นบั้นเอว ไปตามกระดูกสันหลังขึ้นไปผ่านท้ายทอย กลางกระหม่อม แล้วคืนสู่กึ่งกลางระหว่างคิ้วใหม่อีก ให้ฝึกหมุนเวียนอยู่หลายรอบจนชำนาญ แล้วก็ค่อยๆส่ง “ ดวงแก้ว ” นั้นคืนสู่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว ส่งคืนออกไปอยู่เฉพาะหน้าอีกครั้ง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ฝึกจนชำนาญแล้ว ก็จะสามารถตั้งดวงแก้วให้เคลื่อนไปไว้ที่ไหนก็ได้ตามความต้องการที่จิตใจความนึกคิดในขณะนั้นจะสั่งการ ผู้ฝึกก็จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นให้ดีขึ้นด้วยการพิจารณาโดยปัญญาตามลำดับ<o:p></o:p> -
หน้า190<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อฝึกจนสมาธิคมกล้าแข็งแกร่งมากขึ้นด้วยการตั้งปฏิภาคนิมิตอยู่เฉพาะหน้าแล้ว ยังคง ส่งจิตใจความนึกคิดเข้าไปที่ศูนย์กลางของดวงแก้ว ดวงแก้วจะเจิดจ้าสว่างยิ่งๆขึ้น สว่างจนท้องฟ้าแจ้งไปหมด ดวงแก้วที่เป็นปฏิภาคนิมิต ก็จะถูกความสว่างกลืนหายไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หายไปไหน<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ดวงแก้วยังคงอยู่เฉพาะหน้าเรา เพียงแต่ขณะนั้นมีลักษณะเหมือนดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน มองไปไม่มีพระอาทิตย์ แต่ต่อเมื่อเราอยากจะเห็นนิมิต “ ดวงแก้ว ” โดยเราส่งจิตใจความนึกคิดมองผ่านกึ่งกลางระหว่างคิ้วออกไปก็จะพบดวงแก้วตั้งอยู่เฉพาะหน้าเราอีก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ขณะนี้ จิตใจความนึกคิดได้รวมอารมณ์เข้าเป็นก้อนเดียวที่สมานอย่างสนิทแนบแน่นผ่องใส สว่างไสวเจิดจ้าอยู่ลำพังดวงเดียว ตั้งอยู่ที่กึ่งกลางระหว่างคิ้วสภาพจิตได้ละเอียดลงไปจนสลัดอารมณ์ อุปาทานทั้งหมด ไม่เกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับอารมณ์ทั้งภายในและภายนอกที่มากระทบ จิตใจปลอดโปร่งแช่มชื่นอิ่มเอิบ เกิดความ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า191<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เชื่อมั่นขยันหมั่นเพียรพยายามจะที่ปฏิบัติสมาธิต่อไป สติจึงได้รวมกำลังจากสมาธิที่จิตตั้งมั่นแน่วแน่ ผนึกกำลังอันน้อยนิดให้เกิดเป็นพละกำลังมหาศาลอย่างสมบูรณ์ในดวงจิต จิตนิ่งสงบผ่องใส ใจสว่าง ปัญญาย่อมเกิดเต็มเปี่ยม สมบูรณ์เต็มที่ ที่รู้ชัดเด่นอยู่ภายในดวงจิตโดยไม่ตกสู่ภวังค์ ไม่ห่วงยึดกายเนื้อ จึงทำให้ร่างกายที่เคยปรากฏก็เหมือนหายไป ลมหายใจก็ละเอียดสุขุมปรากฏอยู่เฉพาะแต่ในใจ ส่วนกายเนื้อนั้นเหมือนไม่หายใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อเจริญสมาธิต่อไป<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ขณะนี้ แม้จิตจะอยู่ในสมาธิ แต่ก็เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นอยู่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จิตใจอยู่ในภาวะที่ละเอียด สุขุม แน่วแน่ แน่นหนามั่นคงมากขึ้น ไม่โยกคลอนไม่ฟุ้งซ่านสอดส่ายออกไปภายนอก ยังคงรวมเข้านิ่งดิ่งลงสู่ภวังค์แล้วก็ถอนขึ้นมามีสติสมบูรณ์พร้อมเป็นการตัดภวังค์ครั้งเดียวแล้วจิตก็ตั้งอยู่ได้นานเป็นวันเหมือนคนหัดว่ายน้ำมาดีแล้วกระโดดลงน้ำ จะต้องจมดิ่งลงเพียงครั้งเดียวก่อน แล้วจึงลอยขึ้นมาอีกครั้ง สามารถลอยคอ<o:p></o:p> -
หน้า192<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ลอยตัวอยู่ได้นาน มีเวลามีโอกาสที่จะพิจารณาสภาวะสิ่งแวดล้อมหรือพิจารณาธรรมต่อไป เหมือนเด็กที่เจริญสมบูรณ์โตเต็มที่แล้ว เมื่อลุกขึ้นจากท่านั่งได้แล้ว ก็สามารถยืนตั้งหลักอยู่ได้นานเป็นวันก็ได้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
อารมณ์ขณะนี้เป็นสมาธิที่อบรมดีแล้ว ที่จะรวมให้ตั้งอยู่ได้นาน จะให้รวมหรือถอนขึ้นมาเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
สมาธิระดับนี้ เขาเรียกว่า “ อัปปนาสมาธิ ” คือ สมาธิที่ได้จากอารมณ์ของจิตรวมเข้าเป็นหนึ่ง สู่ความสงบมั่นคงแน่นหนานิ่งได้อย่างแน่วแน่<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ดังนั้น สมาธิระดับนี้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จึงเรียกว่า “ ได้สมาธิขั้นสูง ”<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
สมาธิระดับนี้ ย่อมมีกำลังแก่กล้า กำลังปัญญาย่อมเกิดแก่กล้าขึ้นตามกำลังสมาธิ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อจิตสงบนิ่งแน่วแน่เต็มที่เพียงนี้แล้ว สติก็อาศัยกำลังสมาธิ และความคิดเห็นแจ่มแจ้งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ เป็นกำลังปัญญารวมเป็นพลังที่เข้มแข็งสามารถขจัดนิวรณ์ธรรมที่เป็นกิเลสขัดขวางกั้นจิต<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า193<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
ไม่ให้พัฒนาถึงธรรมแห่งการกระทำความดี ภาวะนี้เป็นการขัดเกลาจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จิตขณะนี้อยู่ในภาวะผู้รู้ตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะไพบูลย์ที่สูงเฉียบแหลมกว่าเก่า คงอยู่ตลอดเวลาที่จะพิจารณาตัดนิวรณ์ธรรม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
1. ด้วยความไม่หลงใหลยินดี จึงได้พิจารณาเห็นโทษในรูปในสีที่ตาเห็นว่าสวยงาม เสียงที่หูได้ยินว่าไพเราะ กลิ่นที่จมูกได้ดมว่าชวนติดตาม รสชาติที่ลิ้นได้ชิมว่าอร่อย การสัมผัสทางกายกับสิ่งของและเพศตรงข้ามที่รู้สึกว่าอ่อนนุ่มน่ารัก น่าใคร่น่ายินดี และจิตใจที่ปรุงแต่งหลอกล่อให้เราก้าวไปไคว่คว้าใฝ่ใจแสวงหาเพื่อบำเรอความสุขอันไม่เที่ยงแท้<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จิตจึงสลัดละทิ้ง จากความพอใจรักใคร่ในกามฉันทะ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
2. ด้วยความไม่ยินร้าย ในสิ่งไม่พอใจที่เข้ามากระทบกระทั่งจิตใจ จึงไม่โกรธแค้นเกรี้ยวกราดคิดอาฆาตเกลียดชังที่จะไม่พอใจทุกรูปทุกนามที่มีกรรมของตนเป็นที่ตั้ง เพราะเราเจริญพร้อมด้วยพรหมวิหารสี่ คือ<o:p></o:p> -
หน้า194<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาที่จะให้อภัยแก่เขา ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีใครรู้ใจเราอภัยให้กับเรา เราก็สามารถตั้งจิตอภัยให้ตัวเราเองกับความคิดที่ไม่ดีในอดีตมั่นใจที่จะตั้งต้นใหม่ในการบำเพ็ญความดีที่ไม่ผูกใจเจ็บคิดอาฆาตแค้นจองเวรคนอื่นและเหยียดหยามตนเอง<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จิตจึงละทิ้งจากความพยาบาทคิดปองร้าย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
3. ด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นกำลังเสมอต้นเสมอปลาย ที่ประคองจิตให้พยายามปฏิบัติจิตจนถึงความสงบทั้งกายและใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จิตจึงละทิ้งจากความหดหู่ท้อแท้ความเกียจคร้านง่วงเหงาเคลิบเคลิ้ม<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
4. ด้วยจิตใจที่ฝึกจนสงบ ได้สมาธิ จิตตั้งมั่นคงอยู่ จึงผูกจิตยึดอารมณ์แห่งความสงบนั้นไว้ได้ จิตจึงละทิ้งจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
5. ด้วยภาวะจิตที่ฝึกได้สำเร็จมรรคผลแห่งสัมมาสมาธิที่ตั้งจิตมั่นชอบ โดยได้รวมความเห็นชอบวจีสุจริต เจรจาชอบ กายสุจริตกระทำชอบ ความเลี้ยงชีพชอบ ด้วยการเว้นจากมิจฉาชีพ พยายามชอบ<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
หน้า195<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
คือมีความเพียรชอบ ความระลึกชอบคือที่ตั้งกำหนดจิตพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความจริงของสิ่งนั้น<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เมื่อได้บรรลุเช่นนี้แล้ว<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
จึงเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในคุณพระรัตนตรัยที่นำไปสู่ความสงบสุขอันแท้จริง จิตจึงละทิ้งจากความลังเลสงสัย<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
สภาวะจิตที่ปฏิบัติอยู่ขณะนี้ จิตได้สงบมาก<o:p></o:p>
<o:p> </o:p>
เพราะ ได้รับความอิสระจากการสลัดหลุดพ้นจากกามและอกุศลทั้งปวง ชีวิตจิตใจดำเนินไปโดยความบริสุทธิ์ ไม่เห็นแก่ตัวที่จะเบียดเบียนผู้อื่น จิตใจจึงอยู่ในสภาวะได้เพ่งพินิจรู้เด่นชัดอยู่ด้วยปัญญาที่แก่กล้าขึ้น เกิดความคิดเห็นแจ่มแจ้งที่ผุดขึ้นภายในจิตใจ ด้วยจิตที่ผ่องแผ้วสงบสุขเป็นสมาธิแน่วแน่นิ่งที่ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ ปัญญาย่อมเกิดเป็นหนึ่งประภัสสรยิ้มผ่องใสอย่างอิ่มเอิบที่ได้ ปฐมฌาน อันเป็นภาวะจิตอันปลาบปลื้มปีติ สะอาด บริสุทธิ์ที่สมบูรณ์ครบพร้อมด้วยองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา<o:p></o:p>
หน้า 5 ของ 11