สอบถามผู้รู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิ (เพิ่งเริ่มต้นทำ่่ค่ะ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thep05, 25 ตุลาคม 2012.

  1. thep05

    thep05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2011
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +401
    สอบถามผู้รู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิ นั่งภาวนาพุูธโธไปเรื่อยๆ แล้วก็ตัวก็เริ่มหนักขึ้นจากท่อนล่างของร่างกายขึ้นมาท่ีอนบน และ หลังจากนั้น ก็สงบไปเลย อาการอย่างนี้ ใครเคยเป็นบ้างคะ
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ปฏิบัติดีแล้วครับ เป็นปกติธรรมดาของกำลังสมาธิที่แน่วแน่ขึ้น
    ในผู้ที่กำลังสมาธิสูง บางทีนั่งเฉยๆ ฟังธรรม หรือ สวดมนต์ ตัวแข็งไม่ขยับเป็นชั่วโมงเลยก็ทำได้ครับ

    แต่ ถ้าไม่เรียนรู้สติปัฎฐาน 4 ก็จะไปตันอยู่กับความสงบเฉยๆ ครับ
     
  3. biww

    biww เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    84
    ค่าพลัง:
    +202
    ลองหาหนังสือสอนกรรมฐานของพระวิปัสนาจารย์ที่เราเคารพนับถือมาอ่านสักเล่ม แจ่มแน่ครับ...
     
  4. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    ดีๆๆ แต่สงบแล้วอย่าลืมเอาจิตมาใช้งานนะครับ
     
  5. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    ผู้รู้ อย่างหลวงปู่พุธ ฐานิโย ได้ลองทำตามพระพุทธเจ้า แล้วแนะนำต่อ

    ลองฟัง โหลดไปฟังไปอ่านดู เกี่ยวกับ วิธีการฝึกครับ

    http://palungjit.org/threads/จิตตะภาวนา-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.280415/
     
  6. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ เป็นปรากฏการณ์ที่ดีอย่างยิ่งครับ หากมีได้ครบตั้งแต่ ขาทั้งหมด ท่อนล่าง ท่อนบน หลัง แขนทั้งหมด ตลอดจน ศีรษะ จนประกอบกันเป็นตัวเต็ม ๆ ทั้งร่างประดุจเป็นเนื้อเดียวกันทั้งตัว เมื่อได้เต็มทั้งตัวเมื่อไรเมื่อนั้นเป็น เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน แบบเต็มใบ มี สัมปัญชัญญะเต็มตัวอยู่ในทุกอณูของร่าง แบบเต็มฐาน

    +++ ที่สำคัญที่สุดคือ พยายามระลึกย้อนกลับให้ได้ว่า ก่อนอาการนี้จะเกิด อะไรเกิดก่อน พยายามไล่ทวนย้อนหลังไปยังอาการที่พอจะจับได้ก่อนอาการนี้จะเกิด แล้ว "ทำ" จากตรงนั้นขึ้นมาเลย เพื่อความชำนาญ เมื่อทำได้เต็มตัวแล้วให้ "อยู่" กับอาการนี้จนชำนาญ

    +++ อาการนี้เป็น ฐาน ที่หนักแน่นที่สุดในการฝึกสมาธิ ทั้งภาคสมถะและวิปัสสนา ยิ่งชำนาญในฐานนี้มากเท่าไรยิ่งมีอานิสสงค์มากขึ้นเท่านั้น ทำได้แล้วกลับมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่ต้องสนใจ อาการต่างๆในร่างกาย ที่เกิดขึ้น

    อารมณ์ จับแต่ คำภาวนา พุธโธ เป็น อารมณ์หนึ่ง

    อย่าเอา จิต ไป จับ อาการต่างๆภายนอก เพราะ จะเป็นการ ส่งออก

    จิต จะส่งออก เคลื่อนออกจาก กรรมฐาน ที่ ปฏิบัติอยู่ ครับ

    อาการต่างๆ พวกนี้ เป็นปรกติ ของคนที่ปฏิบัติ แต่ละคนเจอไม่หมือนกัน

    ดังนั้น เมื่อมี อาการต่างๆใดๆ ไม่ต้องไปสนใจครับ

    ปฏิบัติไปเรื่อยๆ พอผ่าน อาการตรงนี้ไปได้ เดี่ยวรับรอง จะเจออาการอย่างอื่นๆ อีกเยอะแยะ ไปหมด มาขัดขวางผลของการปฏิบัติ

    เจออาการแบบนี้ แบบนั้น เยอะแยะไปหมด

    ดังนั้น เจออาการต่างๆใดๆ ไม่ต้องไปสนใจครับ

    ปฏิบัติ ดีแล้ว ต่อไป ถ้าเจออาการใดๆ ก็ไม่ต้องไปสนใจ ครับ



    ส่วนใหญ่ อาการ ตัวแข็ง ต่างๆนาๆ นี้ จะเป็นพวกคนที่ปฏิบัติ อานาปานสติ + พุทโธ ส่วนใหญ่ นะ

    ไล่ไปจาก อาการตามร่างกาย ขยับไม่ได้ หรือ ตัวเริ่มแข็ง จากตรงนั้นตรงนี้ ลมหายใจ หยาบ ไปละเอียด จนเหมือนไม่หายใจ หยุดหายใจ (แต่ไม่ตายนะ ธรรมคุ้มครองผู้ปฏิบัติ) สติมีอยู่ จดจ่ออยู่กับคำภาวนา

    ทำสมาธิ เอา จิตสงบ จนจิตตั้งมั่น รวมลงเป็น สมาธิ นะครับ อาการทางกายต่างๆนาๆ แนะนำว่า ไม่ต้องไปสนใจใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงอาการทาง จิต ต่างๆนา พวก ปิติ ต่างๆ ก็ไม่ต้องสนใจเหมือนกันครับ


    เป็นเรื่องปรกติ ของผู้ปฏิบัติ ที่เจอเกือบทุกคน ครับ เว้นบางคนที่ไม่เจอ

    ถ้าเจอแรกๆ ใหม่ๆ อาจแปลกใจ อาการต่างๆนาๆ เพราะไม่เคยเจอ เลยสงสัย บลาๆๆ แต่ถ้า ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เจอบ่อยๆ เดี่ยวก็ชินไปเอง เข้าใจไปเอง ครับ

    .
    .
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  8. ์NewEnergy

    ์NewEnergy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +49
    ขออนุญาตเจ้าของกระทู้ สอบถาม ผู้รู้ทุกๆท่านด้วยครับ

    แล้วถ้าหาก ว่านั่งๆไปแล้วมันเคลิ้มๆอาการคล้ายจะหลับจะเห็นภาพคนสิ่งของสถานที่ต่างๆ อะไรแบบนี้ ถ้าเราคล้ายๆตามดูมันจะสัปหงกเหมือนจะหลับเลย เป็นบ่อยจนต้องใช้ คำภาวนา
    คือ ภาวนา ไปด้วยและให้คำ ภาวนา คิิดเป็นภาพเป็นคำๆ ไปด้วย เช่น อรหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง (ของท่านพ่อลี) ผมก็จะคิิดเป็นคำๆเป็นตัวหนังสือ พอไปถึงช่วงดังที่ว่า จะใช้ความพยายาม มาก จนผ่านช่วงดังที่กล่าวข้างบน พอผ่านมันจะความรู้สึกสบายไปหมด ไม่ง่วง แต่จะเบา ผมก็ปล่อย มันอยู่อย่างนั้น สักพักมันก็จะรู้สึก ปวดขาแต่ปวดแบบ เบาๆ แค่รู้สึกว่าปวด แต่ก็ยังอยู่ในอาการ สบายอยู่ ก็อยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆอีกอันคือว่ามันเหมือนคล้ายๆกับว่าเรากับอาการปวด มันอยู่ห่างกัน มันยังไงดี ผมบอกไม่ถูก หมายถึงว่าถ้าเรา ไปดูที่เราปวดขาอะไรทำนองนี้ แต่ว่าพอสักพักก็จะเหมือนกับว่าพอละ ความรู้สึกตัวก็จะเพิ่มมากขึ้น(ไม่ใช่ว่าตอนอารมณ์สบายไม่รู้สึกตัวนะครับ ก็รู้สึกอยู่แต่มันสบายเลยไม่อยากทำอะไร ผมไม่รู้จะอธิบายยังไง) อาการปวดนี่จะปวดยิ่งกว่าเดิมมาก ก็ทำมาถึงตรงนี้ แล้วไม่รู้จะทำยังไงต่อครับ ขอผู้รู้และผู้มีประสบการณ์กรุณาด้วยครับ

    ขอ อนุโมทนาในบุญกุศลของทุกท่านด้วยครับ
     
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จิต คนเรา เสวยอารมณ์ ได้แค่หนึ่ง เท่านั้นครับ

    ถ้า เรา ภาวนาอยู่ แล้วส่งจิตออกไปรับรู้ เวทนาทางกาย จิต ก็เลยไปจับ อาการต่างๆ

    พอ สติ ทันความคิด ก็เลยกลับมา ภาวนาต่อ


    1.การเห็นภาพต่างๆ แล้วไปตามดูนั้น เพราะ สติไม่มี สติไม่ทัน พอเห็นภาพต่างๆนาๆ ก็เลยไปจับ เอาภาพนั้นๆ เข้ามาแทน คำภาวนา

    พอสติ ทัน รู้ตัวว่าไม่ได้ ภาวนา ก็เลยมี สติ กลับมา ภาวนา เหมือนเดิม

    แนะนำว่า เวลาภาวนา ถ้า เจอภาพต่างๆนาๆ ให้ตัดทิ้ง ให้หมด อยู่กับ คำภาวนา ครับ

    เว้นแต่... บางคน ที่มี ธรรม เข้ามาให้เห็น ก็ใช้ สติปัญญา พิจารณา ธรรม เหล่านั้น ถ้า สติแข็งแรงพอ


    2.การปฏิบัตินั้น มีหลายแบบ หลายแนวทางให้เดินครับ ถ้า จริต ของ คุณ ถูกแบบไหน ก็ ปฏิบัติตามนั้นครับ

    เวลา เพ่ง จดจ่ออยู่กับ คำภาวนา ในคำ ในตัวหนังสือ นั้น จิตมัน รับอารมณ์หนึ่ง อยู่

    แล้วพอคลายออก ไม่ได้ จดจ่อ นั้น จิตมันเลย ไปจับ อาการทางกาย แทน ไป เสวย เวทนา สัญญาทางกาย แทน เลยรู้สึก ปวด ตามที่กล่าวมาแบบนั้น ครับ

    ถ้าสติแข็งๆ ไม่ไปเสวยอาการ ปวด นั้นได้ เราก็จะไม่รู้สึก ปวด เท่าไหร่ เพราะใช้กำลัง สติ ของจิต กดเอาไว้ อยู่ ไม่ได้ ไปเสวย อาการเต็มๆ เลย รู้สึก ปวดไม่เท่าไหร่ อยู่ห่างกัน

    ดังนั้น ถ้าพอตัวคุณ ไป จับ อาการ เวทนาทางกายมากขึ้น ส่งออกไป จับ สัญญาทางกาย อาการปวด เลย เพิ่มมากขึ้น เจ็บมากขึ้น เพราะ จิตมัน ส่งออก ไปจับ อาการทางกาย เพราะตัวคุณ ส่งออกไป นั้นเองครับ

    3.ทำอย่างไรต่อไปนั้น

    ทำตามเดิมเหมือนที่ปฏิบัติ มาตอนแรก ครับ ทำไปเรื่อยๆ แล้วตอนหลัง ก็ไม่ต้อง เอาจิต ออกไป จับอารมณ์ทางกาย หรือ ส่งออกไป จับ เวทนาทางกาย ครับ


    เพราะ ยิ่ง ทุกข์ เวทนา มีกำลังมากเท่าไหร่ แล้ว ตัวเราเองนั้น สติ ไม่ทันเท่าไหร่ สติ ไม่แข็งเท่าไหร่

    ความเจ็บปวด จาก ทุกข์ เวทนาทางกาย ก็ ยิ่งส่งผลให้ มากขึ้นเท่านั้น นั้นเอง

    บางคน ที่ สติ ดีๆแข็งๆ ก็สามารถ ใช้ กำลัง สติ ระงับ ทุกข์เวทนา ทางกาย ให้ ลดลง ไปได้

    ใช้ กำลัง สติ ระงับ ไม่ให้ จิต ไป เสวย สัญญาทางกาย เวทนาต่างๆ ลงไป มันก็จะไม่เจ็บ หรือ ลดน้อยลงไปได้ครับ



    และสิ่งสำคัญ

    เราทำ สมาธิ เอา จิต รวมลง เป็น สมาธิ ครับ


    ไม่ใช่ทำสมาธิแล้ว ดันไป ส่งออกไปจับ อาการทางกาย เวทนาต่างๆ เจ็บปวดต่างๆ แทน ครับ


    ดังนั้น ให้มีสติ จดจ่อ อยู่กับ คำภาวนา อย่าส่งออกไปรับรู้ อาการทางกาย ครับ

    ทำไปเรื่อย จน เวลา จิต รวมลงเป็น สมาธิ จิตเข้าสมาธิ กาย กับ จิต มันจะ ตัดขาดออกจากกัน

    กาย ส่วน กาย จิต ส่วน จิต ครับ แล้วจะเจอ ผู้รู้ ครับ

    เวทนาทางกาย ก็ไม่มี เพราะ มัน ตัดขาดจากกัน เวลา จิตลงสมาธิ ครับ

    .

    .

    เราทำ สมาธิ เอา จิต รวมลง เป็น สมาธิ ครับ

    เป็นเบื้องต้น ของผู้ปฏิบัติ ทำให้ จิต เป็น สมาธิ ให้ได้

    เพื่อเป็น ฐาน ในการ วิปัสสนา ต่อไป ครับ


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  10. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    กรุณาอ่าน
    http://www.palungjit.org/smati/k40/smabat.htm

    เรื่องของสมาธิ ให้พิจารณาที่จิต เรื่องร่างกายนั้นช่างมัน
     
  11. ์NewEnergy

    ์NewEnergy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +49
    ขอบคุณ เจ้าของกระทู้ และ คุณ Saber , คุณ firstini และกัลยาณมิตรทุกท่าน ครับ
    สาธุครับ
     
  12. thep05

    thep05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2011
    โพสต์:
    255
    ค่าพลัง:
    +401
    ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยแนะแนวทางการปฏิบัติให้คะ
     
  13. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    นั่งสมาธิโดยไม่ได้ใช้คำภาวนาใดๆ กำหนดความรู้สึกเต็มตัวตามที่คุณธรรม-ชาติแนะนำ มีสติสัมปชัญญะ รู้ตามลมหายใจเข้าลมหายใจออกแบบสบายๆ พอนั่งได้สักพัก หลังจากหายใจออกสุดแล้วก็นิ่งไปเลยค่ะ นิ่งอยู่อย่างนั้นแหล่ะโดยที่ไม่หายใจเข้า ความรู้สึกยังเต็มตัว จิตไม่ปรุงแต่งอะไรนะคะ นิ่งก็ปล่อยนิ่ง พอนิ่งได้สักพักใหญ่ก็ยังไม่หายใจเข้าน่ะค่ะ พอรู้ว่านิ่งนานไปเลยหายใจเข้าเองเลย เลิกนั่งสมาธิ ตอนที่นิ่งนี้ไม่ใช่นิ่งเพราะกลั้นหายใจนะคะ และตอนนิ่งก็ยังรู้สึกตัวสบายเหมือนตอนที่หายใจเข้าออกปกติน่ะค่ะ ลักษณะนี้ไม่เคยเป็นมาก่อนน่ะค่ะ
     
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ยินดีด้วยครับ และมาได้ถูกต้องแล้ว ตรงนี้เป็นฐานสำคัญมากเพราะเป็นรอยต่อหลักระหว่าง สมถะที่จะก้าวเข้าสู่ฌาน กับวิปัสสนาที่จะก้าวเข้าสู่ญาณ เป็นความพร้อมแล้วของสัมปัญชัญญะแบบเต็มใบ ไร้การรบกวนของการปรุงแต่ง รู้สภาพทุกอย่างแห่งตนตามความเป็นจริงที่ชัดเจน และเป็นความสงบตัวจริงที่มาจากสัมปัญชัญญะ

    +++ การนิ่งของคุณเกิดจาก ลมหายใจละเอียดตามจิตที่ละเอียดจนเหมือนหยุดหายใจนั่นเอง เปรียบเทียบกับโพสท์นี้ได้ครับ
    http://palungjit.org/posts/6556246

    +++ หากมีปรากฏการณ์อะไรเกิดขึ้นให้แจ้งให้ผมทราบด้วยนะครับ เพื่อเป็นบันทัดฐานในการกำหนดการฝึกต่อไป
     
  15. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    +++ ผมจะสรุปองค์ประกอบในอาการของคุณก่อนดังนี้นะครับ
    1. รู้ชัดเจนว่า "เราอยู่อย่างนี้ ก็อยู่ได้"
    2. รู้ชัดเจนว่า "ลมหายใจ ไม่ใช่ความจำเป็นในขณะนี้"
    3. รู้ชัดเจนว่า "จิตไร้ความปรุงแต่ง และ บริสุทธิ์จากคำภาวนาทั้งปวง"
    4. รู้ชัดเจนว่า "นี่ไม่ใช่แค่รู้ตัว แต่เป็น รู้สึกตัวอย่างชัดเจน"
    5. รู้ชัดเจนว่า "เราสบายดี และเป็นปกติทุกประการ"
    6. รู้ชัดเจนว่า "เรารู้สภาวะแห่งความเป็นเรา ในขณะนี้ ชัดเจน"

    +++ หากสภาพคร่าว ๆ ดังกล่าวมาทั้ง 6 ประการ เป็นสภาพหนึ่งเดียวของคุณในขณะนั้น คุณก็พร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ขั้นต่อไป

    ใช่ค่ะ ตอนที่หายใจออกแล้วนิ่งไปเลย จิตไม่ได้ปรุงแต่งอะไร แต่สังเกตุจิตจะไปเพ่งตรงท้องที่ยุบน่ะค่ะ ที่หายใจเข้าเองคงเป็นเพราะอยากรู้น่ะค่ะว่า อาการอย่างนี้พอเราหายใจเข้าเองแล้วร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร

    +++ จากการที่คุณ "พอนิ่งได้สักพักใหญ่ก็ยังไม่หายใจเข้าน่ะค่ะ พอรู้ว่านิ่งนานไปเลยหายใจเข้าเองเลย" ผมพิจารณาว่า คุณควรจะซักซ้อมอยู่ในรอยต่อนี้สักพักหนึ่งก่อน เพื่อความชำนาญ และเพื่อเป็นการฝึกความไวของจิตเบื้องต้น เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ ในสถานการณ์ที่จิตละเอียดกว่านี้ในระดับ "ไม่มีตัวเอง" ได้ในขั้นลึก ๆ ต่อไป

    สังเกตุจะมีอาการแตกต่างกันนะคะ บางครั้งจะมีอาการรู้สึกตัวหายเหลือแต่หัวน่ะค่ะ แต่บางครั้งก็รู้สึกแขนขาลีบเล็กนิดเดียว ต้องลืมตาแล้วค่อยหลับตาใหม่น่ะค่ะ
     
  16. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าจะตอบคุณแบบตรงไปตรงมา อ่านแล้วกรุณาใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาให้ดีนะขอรับ

    ที่คุณบอกว่าร่างกายของคุณเริ่มหนัก คุณรู้ได้อย่างไรว่าหนัก คุณเอาร่างกายไปชั่งหรือขอรับ ถ้าคุณไม่ได้เอาร่างกายแต่ละท่อนของคุณไปชั่งน้ำหนัก นั่นแสดงว่า คุณฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ มีอาการทางจิตประสาท ที่ข้าพเจ้ากล่าวเช่นนี้ ก็เพราะ คุณก็นั่งสมาธิอยู่ แล้วคุณบอกว่าตัวท่อนล่างของคุณหนัก ฯ มันหนักได้อย่างไร คุณคิดพิจารณาได้ไหม แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่ามันหนัก อ่านแล้วคิดพิจารณา ทบทวนได้ดีว่า เวลาคุณนั่งสมาธิอยู่นั้น นั่งทับเส้นจนเกิดอาการชา แล้วคิดเพ้อเจ้อไปว่า ตัวหนัก ลอง
    คิดพิจารณาดูให้ดีขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2012
  17. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    ใช่ค่ะ ตอนที่หายใจออกแล้วนิ่งไปเลย จิตไม่ได้ปรุงแต่งอะไร แต่สังเกตุจิตจะไปเพ่งตรงท้องที่ยุบน่ะค่ะ ที่หายใจเข้าเองคงเป็นเพราะอยากรู้น่ะค่ะว่า อาการอย่างนี้พอเราหายใจเข้าเองแล้วร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร

    สังเกตุจะมีอาการแตกต่างกันนะคะ บางครั้งจะมีอาการรู้สึกตัวหายเหลือแต่หัวน่ะค่ะ แต่บางครั้งก็รู้สึกแขนขาลีบเล็กนิดเดียว ต้องลืมตาแล้วค่อยหลับตาใหม่น่ะค่ะ

    +++ วิเคราะห์ คุณมีความกล้าพอที่จะใช้วิธีทดสอบและประเมินผลในขณะที่กำลังอยู่ในสมาธิได้ด้วยตนเอง เมื่อรู้สึกผิดสังเกตุ สามารถลืมตาแล้วหลับตาใหม่ เพื่อการตรวจสอบที่แน่ชัดได้ด้วยตัวเอง นี่เป็นธรรมชาติของจิตที่อยู่เลยออกไปจากสุขขะวิปัสโก และวิสัยนี้ไม่ใช่ ศรัทธาจริต แต่เป็น พุทธจริต รวมทั้งความละเอียดในการสังเกตุปรากฏการณ์ (สภาวะธรรม) ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้้นกับตนได้ด้วยตนเอง สำหรับคุณ การอธิบายแบบยาว ๆ ย่อมไม่ถูกจริต และเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย หากจำเป็นต้องอ่าน คุณสามารถหาสาระออกมาได้เอง ดังนั้นผมพิจารณาว่า การฝึกของคุณน่าจะใช้วิธี เรียนรู้ด้วย การกำหนดจิต และตรวจสอบผลลัพธ์จากการกำหนดจิตนั้น ๆ น่าจะตรงกับจริตของคุณ

    +++ การสอบจิตเบื้องต้น ผมอยากทราบว่าในเวลาที่คุณ ลืมตาแล้วหลับตาใหม่ นั้น ในขณะลืมตา จิตย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง แต่ในขณะที่กลับมาหลับตาใหม่นั้น จิตของคุณสามารถกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ทันทีหรือไม่ หากได้ แสดงว่ามีความมั่นคงสูง แต่หากไม่ได้ในทันที คุณใช้การกำหนดประมาณกี่ครั้งจนกว่าจะกลับเข้าสู่ที่เดิมได้ (นับแบบประมาณคร่าว ๆ พอ) ตรงนี้สำคัญมาก เพราะเป็นบทเริ่มต้นในการแรกเริ่มรู้ วาระจิตของคุณเอง และเป็นเรื่องโดยตรงของ จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน

    +++ ให้ทดลองเล่น ๆ กับการ ลืมตาและหลับตา ในขณะที่สติทรงตัวได้แล้วดู รวมทั้งการตรวจสอบประเมินผลการทำงานของจิตออกมาอย่างคร่าว ๆ รวมทั้งการกำหนดในแต่ละครั้งได้ผลลัพธ์อย่างไรที่มีต่อความรู้สึกตัว แล้วแจ้งให้ผมทราบด้วยนะครับ
     
  18. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    +++ การสอบจิตเบื้องต้น ผมอยากทราบว่าในเวลาที่คุณ ลืมตาแล้วหลับตาใหม่ นั้น ในขณะลืมตา จิตย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง แต่ในขณะที่กลับมาหลับตาใหม่นั้น จิตของคุณสามารถกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ทันทีหรือไม่ หากได้ แสดงว่ามีความมั่นคงสูง แต่หากไม่ได้ในทันที คุณใช้การกำหนดประมาณกี่ครั้งจนกว่าจะกลับเข้าสู่ที่เดิมได้ (นับแบบประมาณคร่าว ๆ พอ) ตรงนี้สำคัญมาก เพราะเป็นบทเริ่มต้นในการแรกเริ่มรู้ วาระจิตของคุณเอง และเป็นเรื่องโดยตรงของ จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน

    +++ ให้ทดลองเล่น ๆ กับการ ลืมตาและหลับตา ในขณะที่สติทรงตัวได้แล้วดู รวมทั้งการตรวจสอบประเมินผลการทำงานของจิตออกมาอย่างคร่าว ๆ รวมทั้งการกำหนดในแต่ละครั้งได้ผลลัพธ์อย่างไรที่มีต่อความรู้สึกตัว แล้วแจ้งให้ผมทราบด้วยนะครับ[/QUOTE]

    กราบขอบพระคุณมากค่ะ คุณธรรม-ชาติ ที่ช่วยวิเคราะห์ ตัวดิฉันเองยังวิเคราะห์ตัวเองไม่ถูกเลยค่ะว่าตัวเองจะไปทิศทางไหน เคยมีเพือนรุ่นน้อง(ลูกศิษย์หลวงพ่อจำเนียญ)พูดเปรยๆว่า " หลวงพ่อท่านพูดว่านู๋น่ะมีพลัง เข้าสมาธิเห็นโน่นเห็นนี่ได้ แต่พี่ใช้ปัญญา" ก็ เลยยัง งงๆ น่ะค่ะ

    เห็นคำถามของ คุณธรรม-ชาติ แล้วไม่รู้ว่าจะตอบอธิบายอย่างไรดี เพราะบางครั้งเหตุการณ์ที่ประสบ+ความรู้สึกบางอย่าง นำมาเปลี่ยนเป็นคำพูดเพื่ออธิบายให้เข้าใจชัดเจนไม่ได้ เอาแบบขออธิบายคร่าวๆก็แล้วกันนะคะ

    จากที่สังเกตุตัวเองนะคะ ขณะก่อนหลับตานั่งสมาธิ จะอยู่กับความรู้สึกเต็มตัว มีสติสัมปชัญญะ รู้ตามลมหายใจเข้าออกสบายๆ มีอารมณ์ปล่อยวาง แต่พอหลับตาปุ๊บ ความรู้สึกเต็มตัวมันหายไปเฉยๆ เหลือแต่รู้สึกมีแค่หัว ตัวหาย พยายามนึกให้มีความรู้สึกเต็มตัวเหมือนตอนลืมตา ทำยังไงก็ทำไม่ได้ สักพักก็เลยต้องลืมตาทำใหม่ พอลืมตาปุ๊บความรู้สึกเต็มตัวกลับมาทันที พอลืมตาได้สักสองอึดใจก็หลับตาอีกครั้ง ความรู้สึกนั้นก็ยังคงที่คือมีแต่หัว ตัวยังหายไปอยู่เหมือนเดิม แต่ถ้าหากลืมตาแล้ว ขยับตัวเล็กน้อยเพื่อให้รู้สึกเต็มตัว แล้วทิ้งช่วงระยะห่างสักพักก่อนหลับตาใหม่ อาการที่เล่ามาถึงจะหายไปน่ะค่ะ

    มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ไปนั่งสมาธิที่วัดทุกเย็น มีพระคุณเจ้าสอนวิธีการปฏิบัติ มีครั้งหนึ่งขณะที่กำลังนั่งสมาธิอยู่น่ะค่ะ รู้สึกว่าหัวตัวเองค่อยๆก้มลง ก้มลงเรื่อยๆจนสุดเหมือนนั่งคอตกแล้วรู้สึกหายใจอึดอัดไม่คล่อง ก็เลยขยับหัวเงยหน้าขึ้นให้ตั้งตรง แต่สังเกตุว่าระยะที่ขยับหัวเงยหน้าขึ้นให้ตรง ทำไมขยับหัวแค่นิดเดียวแล้วรู้สึกหน้าตรง พอขยับหัวให้หน้าตรงแล้วสักพักก็เป็นอีก หน้าค่อยๆก้มลงเรื่อยๆจนสุด ทีนี้ก็มาสังเกตุดูน่ะค่ะว่า จะใช้ระยะขยับหัวประมาณเท่าไหร่ความรู้สึกหน้าตรงจะกลับมา ปรากฏว่าแค่ขยับหัวนิดเดียวจริงๆค่ะ ประมาณ 1-2 เซนน่าจะได้ พอครั้งที่สามเป็นอีก หน้าก้มลงเรื่อยๆจนสุด ครั้งนี้ก็เลยปล่อยให้หน้าก้มอยู่อย่างนั้นแหล่ะค่ะ จนกระทั่งได้ยินเสียงพระคุณเจ้าพูดว่าได้เวลาพอสมควรแล้ว ตอนนั้นก็ยังไม่ขยับหัวให้หน้าตรงนะคะ เพราะอยากจะดูว่าถ้าลืมตาทั้งๆที่รู้สึกกับอาการอย่างนี้ จะเห็นหน้าตัวเองก้มลงจนสุดจริงหรือเปล่า พอค่อยๆลืมตาขึ้น ความรู้สึกที่ว่าหน้าก้มอยู่ก็หายไป และยังเห็นหน้าตัวเองตั้งตรงอยู่ปกติน่ะค่ะ ไม่ได้ก้มหน้าเหมือนที่เรารู้สึกตอนนั่งสมาธิ

    ทีนี้มาเปลี่ยนเรื่อง เกี่ยวกับการเห็นนิมิตร ตรงนี้ก็จะคล้ายๆกันค่ะ ถ้าหลับตาแล้วเห็นนิมิตร ก็จะลองลืมตาขึ้นแล้วหลับใหม่ ก็ยังเห็นต่อเนื่องเหมือนเดิมค่ะ แต่ถ้าลืมตาแล้วทิ้งช่วงห่างระยะแล้วค่อยหลับตาถึงจะไม่เห็นค่ะ เมื่อวันจันทร์ช่วงกลางวัน กะจะหลับตาพักผ่อนนิดหน่อย แต่พอเอนหลังหัวถึงหมอนหลับตาปุ๊บก็เห็นนิมิตรทันทีเลยน่ะค่ะ เป็นนิมิตรดอกไม้ อาการดูจะอยู่ในอารมณ์อุเบกขา ดูก็สักแต่ดู แต่พอดูไปดูมาภาพที่เห็นชัดขึ้นชัดขึ้นเป็นดอกไม้ที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านน่ะค่ะ ทีนี้ก็เลยคิดว่า ไหนลองขยับหน้าหันไปอีกทิศสักหน่อยดูซิว่ายังจะเห็นภาพนิมิตรนี้อยู่ไหม พอขยับหน้าหันประมาณคืบหนึ่งได้น่ะค่ะ ภาพนิมิตรก็หายไป ทีนี้ลองหันหน้ากลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม ปรากฏว่าภาพนิมิตรกลับมาและฉายให้เห็นอย่างต่อเนื่องน่ะค่ะ

    และก็มีอยู่ วันหนึ่ง ต่อสายยางเปิดน้ำรดต้นถั่วฝักยาวที่ปลูกทิ้งไว้หลังบ้านน่ะค่ะ พอดีบังเอิญน้ำไปรดโดนรังมดแดงที่ใช้ใบถั่วทำรังอยู่ประมาณ 2-3 รังได้มังคะ ก็เลยหยุด หลังจากนั้นก็หาอย่างอื่นทำจนลืมไปแล้วน่ะค่ะ พอบ่ายๆออกมานั่งพักผ่อนที่สนามหญ้า แค่หลับตาปุ๊บ เห็นนิมิตรมดแดงไต่เต็มพื้นไปหมดน่ะค่ะ เห็นชัดมาก นึกขึ้นมาได้ว่าคงไปเบียดเบียนเขาให้เขาเป็นทุกข์ เลยกำหนดจิตแผ่เมตตาให้และขอโทษเขา และก็บอกเขาว่าขอยกค้างถั่วฝักยาวนี้ให้หมดเลย ก็ไม่เดินไปที่ตรงนั้น 2 วันค่ะ พอเช้าวันที่ 3 เดินไปดูก็หาไม่เจอแล้ว เขาย้ายหนีไปอยู่ที่อื่นหมดเลยค่ะ
     
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ จากนี้ไปผมจะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนที่ละเอียดแล้วนะครับ ผมจะเอาสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นกับคุณมาเป็นตัวฝึกตรง ๆ แล้วนะครับ สภาวะนี้คือ "ขณะก่อนหลับตานั่งสมาธิ จะอยู่กับความรู้สึกเต็มตัว แต่พอหลับตาปุ๊บ ความรู้สึกเต็มตัวมันหายไปเฉยๆ เหลือแต่รู้สึกมีแค่หัว ตัวหาย พอลืมตาปุ๊บความรู้สึกเต็มตัวกลับมาทันที ก็หลับตาอีกครั้ง ความรู้สึกก็ยังมีแต่หัว ตัวยังหายไปอยู่เหมือนเดิม"

    +++ ในขณะที่ยังมีความรู้สึกเต็มตัวนั้น ให้ "อยู่" กับความรู้สึก แต่คราวนี้ไม่ต้อง "หลับตา" ให้ "ปิดเปลือกตา" ลงมาเฉย ๆ ให้ "อยู่" กับความรู้สึก อย่า "อยู่" กับการ "ปิดเปลือกตา" ตรงนี้เป็นการฝึกการ "อยู่" เมื่อ "อยู่เป็นแล้ว" ให้ทดสอบทั้งการ "ปิดและเปิด เปลือกตา"

    +++ หาก "เห็น" การหดตัวของความรู้สึก ให้ใช้ "จิต" ขยายความรู้สึกนั้นด้วย "เจตนา" ห้ามใช้การ "นึก" โดยเด็ดขาด จนกว่าจะกลับไปเป็นสภาพเดิม และให้นับอย่างคร่าว ๆ ว่า "จิต" ต้องใช้ "เจตนา" กี่ที จึงจะกลับไปเป็นสภาพเดิมได้สำเร็จ

    +++ ส่วนเรื่อง "นิมิต" นั้น หาก "ผ่าน" การฝึก "การอยู่" และ "รู้วาระจิตตน" แล้ว อาจจะเข้าไปฝึกในกองจิตตรง ๆ เลยก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่สถานการณ์จะนำไป นะครับ

    +++ เวลาในการฝึก ไม่ใช่เรื่องจำเป็น ความถูกต้องในการฝึก เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
     
  20. จิตวิญญาณ

    จิตวิญญาณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +679
    กราบขอบพระคุณอีกครั้งค่ะที่ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติให้ แต่ละแนวทางที่แนะนำมาสามารถนำไปใช้ในแต่ละสถานการณ์ได้ ทุกคำชี้แนะที่ผ่านมา จะปริ้นเก็บรวบรวมทุกบทความของคุณนำมาอ่านซักซ้อมเพื่อทำความเข้าใจแล้วจึงเริ่มฝึกจริงน่ะค่ะ เรื่องฝึกให้เห็นนิมิตรนี่ดูใจแล้วใจไม่ให้เลยค่ะ อยากมาให้เห็นก็เห็น ไม่มาให้เห็นก็ไม่เห็น ถ้าบังเอิญเห็นนิมิตรอะไรแล้วก็มักจะใช้สติเตือนตัวเองว่า ตอนหลับตาเห็นน่ะจริง แต่พอลืมตาแล้วก็ไม่จริง จริงแต่ไม่จริง แค่นี้ก็สามารถปล่อยวางได้ทันที มีเรื่องหนึ่งที่ขบคิดมานานแล้วยังหาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้น่ะค่ะ อย่างเช่น ถ้าปรารถนาไม่ขอกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว จำเป็นไหมที่จะต้องฝึกให้ได้จนเห็นนิมิตรฝึกให้ได้จนมีฤทธิ์ทางใจ เพราะที่ปฏิบัติอยู่ทุกขณะนี้คือตามดูจิตดูใจตัวเองว่าทุกขณะจิตมันไปกระทบกิเลสตัวไหนหรือกิเลสตัวไหนมากระทบ และตามให้รู้เท่าทันเพื่อดับมันน่ะค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...