อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    กรณี วัดนาป่าพงอ้างว่า รักษาปาฏิโมกข์ เพียงแต่แค่ไม่ได้สวดตอบว่าการไม่ยอมสวดให้ครบนี้ ก็ถือว่า ต้องอาบัติตามพระวินัยครับพระคึกฤทธิ์และพระทุกรูป วัดนาป่าพง "ต้อง อาบัติทุกกฏ ตลอด ๒๔  ชั่วโมง ตลอด ๓๖๕ วัน "-----------------------------------------------------------------------------------------ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดปาติโมกข์ย่อ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=4420&Z=4480

    ------------------------------------------------------------------------------------มีท่านผู้รู้ให้ความเห็นไว้ว่าการต้องอาบัติทุกกฏ ในกรณีพระวัดนาป่าพงเช่นนี้เป็นการต้องอาบัติทุกกฏอยู่ตลอดเวลายืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกกิริยา ทุกอริยาบถต้องอาบัติทุกกฏอยู่ตลอด เพราะแสดงปาฏิโมกข์ไม่ครบจำนวนตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ แม้จะแสดงอาบัติก็ไม่ผ่านเพราะยังยึดถือความเห็นอยู่เช่นนั้น ไม่ได้ทำการแก้ไขและสำนึกในโทษนั้นเลย แม้จะมีภิกษุด้วยกันตักเตือนแล้วแต่ก็ยังดื้อด้าน คงถือปฏิบัติอยู่เช่นเดิม ถ้าเป็นเช่นนี้พระกลุ่มนี้ก็จะต้องอาบัติที่มีโทษสูงเพิ่มขึ้นไปอีกหนึ่งข้อ คือต้องอาบัติปาจิตตีย์ข้อ 54 ความว่า เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ-----------------------------------------------------------------------------------------ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๑๐๓. ๔.เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.http://www.84000.org/tipitaka/pitak...------นอกจากนี้ยังโยงไปถึงการทำให้เกิดสังฆเภท อันเป็นอาบัติสังฆาทิเสสการศึกษา พุทธวจนะ การสนทนาธรรมของ พระวัดนาป่าพงนั้น ไม่มีความบริสุทธิ์เลยเพราะ พระทุกรูป "ต้อง อาบัติทุกกฏ ตลอด ๒๔  ชั่วโมง ตลอด ๓๖๕ วัน "ไม่ว่าจะ ยืนเดินนั่งนอนดื่มเคี้ยวสนทนาธรรมและ การละเมิดอาบัติทั้งหลาย แม้จะเพียงอาบัติทุกกฏนี้ก็ตาม พระอรรถกถาจารย์ท่านได้ตักเตือนไว้ว่า เป็นโทษที่สามารถทำอันตรายต่อมรรคผลของผู้ละเมิดได้เลย พระไตรปิฏก ในชุด 91 เล่ม 18 หน้า 84  ความว่าจริงอยู่ กองอาบัติที่แกล้งล่วงละเมิดแล้ว โดยที่สุดแม้ทุกกฏและทุพภาษิต ก็ทำอันตรายแก่มรรคและผลทั้งหลายได้.edit เพิ่มเติม 3 [12 มิย.]-------------------------------------------------------------ผมได้สรุป เรื่อง ปาฏิโมกข์ ๒๒๗ และทำ link ไว้คร่าวๆอย่างครบถ้วนตามพระวินับปิฎกสองเล่มแรก (คือ มหาวิภังค์ เล่ม ๑ เล่ม ๒) นะครับท่านที่เป็นห่วงในพระศาสนา สามารถดูได้ใน ความคิดเห็นที่ #184 หรือดูได้ใน กระทู้พระวินัยปิฎก๒เล่มแรก ก็คือ ปาฏิโมกข์ ๒๒๗นี่เองhttp://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10676377/Y10676377.html

    โดยจะได้แสดงให้เห็นว่า อนิยตะ ๒ และ เสขิยะ ๗๕ นั้นเป็นพุทธบัญญติที่ทรงให้ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงและสิกขาบทเหล่านี้เป็นสิกขาบทที่มาสู่อุเทศทั้งนั้นเลย

    PANTIP.COM : Y10662595 กรณีวัดนาป่าพงตัดปาฏิโมกข์ 227 เหลือ 150 - สรุปว่า 150 พระพุทธองค์ตรัสไว้ช่วงกลางพุทธกาล{แตกประเด็นจาก Y10660106} []

     
  2. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    มหาเถร ครับ ไม่ใช่หมาเถร ที่แปลว่าเกินกว่าคือ พระอาจารย์ ปยุต ปยุตโต แปลกว่า พร้อมทั้งส่วนที่เกิน แสดงว่ามากกว่า 150 ไม่ใช่ 150 ถ้วน ส่วนฉบับที่แปลว่า 150 ถ้วนนั้นไม่ได้หมายความว่าพระทุกรูปเห็นด้วย แต่เพราะแบ่งกันแปลเป็นส่วนๆแล้วเอามารวมกัน

    ถามว่าเกืนเท่าไหร่ ก็ดูในวินัยปิฎกครับ ในพระสูตรเน้นเหตุการณ์ บทสนทนาจึงไม่ได้กล่าวละเอียดเป็นข้อๆ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒มหาวิภังค์ ภาค ๒  ข้อ [๘๘๑] ---------------------------------------------------------------------[๘๘๑] ท่านทั้งหลาย นิทานข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
    ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย (75 ข้อ) ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว.
    ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ ประการ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล
    สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มีเท่านี้ มาในพระปาติโมกข์นับเนื่องในพระปาติโมกข์ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน.พวกเราทั้งหมดนี้แล พึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระปาติโมกข์นั้น เทอญ.http://84000.org/tipitaka/read/?2/881
    (เสขิยะ มี ๗๕)-------------------------------------------------------------------------บวกรวมกันง่ายๆดังนี้คือ4 + 13 + 2 + 30 + 92 + 4 + 75 + 7 = 227

    เข้าใจว่า ทางวัดนั้น ตัด เสขิยะ 75 กับ อนิยต 2 ทิ้งไป เลยเหลือ 150 แต่ถ้ายึดตามพระวินัยจริงๆก็ ตัดไม่ได้เพราะท่านให้สวด เสขิยะ และ อนิยต รวมเข้าไปในปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือนด้วยนี่

    อันนี้ไม่ได้ชวนทะเลาะอะไรนะครับ ถกกันตามหลักฐานข้อเท็จจริง
     
  3. newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    อย่ากล่าวเช่นนั้นเลยเรื่องความผิด ไว้รอการพิสูจน์ต่อไปในเรื่องปาฎิโมกข์คุยกันมันก็ไม่จบ ดูไปเรื่อยๆ
     
  4. newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    เรื่องของเรื่องถ้าท่านเรียงตามเก่า ก็คงจะเป็นอย่างนั้นถ้าอยากหายสงสัยว่าท่านสวด150ข้อลองไปถามท่านดูนะครับ เพราะสาเหตุใด เพื่อจะได้ตำตอบดีนะครับ
     
  5. opateng สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    หิงห้อยกำลังจะอับแสง เพราะพระอาทิตย์กำลังจะขึ้น
    โธ่ลุงนี่ก้อน่าสงสารอีกคน ยังไม่รู้เลยว่าอันไหนพุทธวจนะอันไหนคำแต่งใหม่ แกจะรู้มั้ยเนี่ยว่า วิสุทธิมรรคมันก้อคำแต่งใหม่ แล้วเหมาเอาหมดที่เป็นภาษาบาลีเป็นพุทธวจนะ มาลองศึกษาซักหน่อยดีมั้ยเนี่ย ไม่ต้องไปฟังพระศึกฤทธิ์ก้อได้ อ่านเอาในบาลีสยามรัฐโลด หรืออ่านบาลีน่ะแปลเอาเอง มันแต่งมาเป็นพันๆปีแล้วถ้าลุงยังแยกแยะชั้นข้อมูลไม่ถูกนะ ลุงก็จะค้านคำของพระพุทธเจ้าไปตลอด
    อย่าสังคายนาเลย สังคายนาทีไรมีคำแต่งใหม่เพิ่มขึ้นตลอดมีแต่ ธรรม + วินัย ก้อพอแล้วมั้ง ไม่ต้องเอาอถรรกถา แต่แม่งก็จะมีคนมาค้านบอกคำที่แปลเป็นอถรรกถาไล่เอาไปอ่านบาลีอีก อันนั้นก้อไม่มีพัฒนาการทางความคิดไปนิสนึง you know
     
  6. newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ก็ให้มหาเถระบอกออกมาซิครับแปลว่า กว่า เพราะมหาเถรแปลไว้นะครับ จะเอาแต่ท่าประยุตคนเดียวเหรอครับ
     
  7. opateng สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +11
    ศีล 3 กลุ่ม ไปหาอ่านในพุทธวจนะ นะ
    1.สัมปันนะสีลา เช่น เดรฉานวิชา ทำมนต์ ทำยันต์ ดูหมอ ทำนาย ฯลฯ
    2.สัมปันนะปาฏิโมกขา ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุตา ตรัสไว้แค่ 150 ข้อ เช่น ขุดดิน รับเงิน รับทอง ฉันมื้อเดียว
    3.อาจาระโคจะระสัมปันนา มากว่า 1940 ข้อ เกี่ยวกับมารยาทและการโคจร
     
  8. พรานยึ้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    591
    ค่าพลัง:
    +682
    ธรรมเมา



    พูดไป พูดมา ก็ไม่พ้นในสิ่งที่ผมกล่าวไปข้างต้น

    ธรรมะ ปฏิบัติให้ อย่ามัวหลงระเริง เริงร่ากับธรรมเมาอยู่เลย

    คุณน่ะ ระวังจะเมาคำพูดตัวเอง
     
  9. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คุณลองไปถามพระมหาเถรสิครับว่ามีรูปไหน บ้างที่สวด ปาฏิโมกข์ 150 ข้อนอกจากวัดนาฯ

    ไม่ใช่แค่ท่านประยุตคนเดียว อังกฤษบางฉบับก็แปลแบบนี้ คุณจะยึดแต่พระสูตรที่แปลผิดอย้างเดียว โดยไม่สนใจพระวินัยปิฎกที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเลยหรือ ศาสนาแต่ก่อนเรียก พระธรรมวินัย คือพระธรรมและพระวินัย ที่ว่า227 ข้อตามแบบเก่า ก็แบบที่พระสงฆ์อรหันต์เถระ 500 รูปมีพระมหากัสสปะ เป็นประธาน ท่านสังคายนา ไม่ใช่หรือ และผู้ที่วิสัชนาเรื่องพระวินัยก็คือพระอุบาลีที่พระพุทธเจ้ายกให้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุทั้งปวงด้านทรงจำพระวินัย ซึ่งท่านก็ยังกล่าวไว้ในพระวินัยว่า ที่สวดทุกกึ่งเดือน มีเสขิยะวัตร ด้วย พระเถระเหล่านั้นมีมติที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ว่าจะไม่เพิ่มไม่ลดสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว ถ้าไม่เชื่อยังเรียกตนเองว่า เป็นเถรวาทอยู่หรือ?

    คุณจะเชื่อพระสูตรที่แปลผิดหรือจะเชื่อพระวินัยที่ทรงจำมาจากผู้ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะด้านทรงจำพระวินัย ก็ ลองคิดดูละกันนะครับ
     
  10. Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตร
    ทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ศึกษากันอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้น
    รวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ นั้นเป็นไฉน คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญา
    สิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    หน้าที่ ๒๒๐/๒๙๐ - หน้าที่ ๒๒๑/๒๙๐
     
  11. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จุดประสงค์ของการสังคายนา

    จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการสังคายนา คือการรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เพื่อธำรงรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ไม่ให้สูญหายหรือวิปลาสคลาดเคลื่อนไป เพราะพระธรรมวินัยนั้นคือหลักของพระพุทธศาสนา หากปราศจากคำสอนแล้วพระพุทธศาสนาก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ดังพุทธวจนะในคราวจะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา. แปลว่า : ดูกรอานนท์ ธรรมแลวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป (ที.ม.10/141/178) พระเถระทั้งปวงเห็นความสำคัญของพระธรรมวินัยซึ่งจะสืบทอดพระศาสนาต่อไปในภายหน้า หากละเลยปล่อยไว้กระทั่งพระธรรมวินัยเกิดความคลาดเคลื่อนไปจะเป็นอันตรายต่อพุทธศาสนา จึงได้เริ่มสังคายนารวบรวมพระธรรมคำสอนขึ้นเป็นหมวดหมู่ภายหลังพุทธปรินิพพานไปแล้ว 3 เดือน
     
  12. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    จะเห็นว่า การทำสังคายนา พระพุทธองค์ทรงมีพระดำริก่อนจะทรงปรินิพพาน
    พระสารีบุตรได้แสดงธรรมไว้ จัดเป็นพระสูตรหนึ่งเรียกว่าสังคีติสูตร (พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือสังคีติ) เป็นตัวอย่างที่พระอัครสาวกคือพระสารีบุตรได้กระทำไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรเองได้ปรินิพพานไปก่อนพระพุทธเจ้า จึงตกเป็นหน้าของท่านมหากัสสปะ
    แต่การจะถ่ายทอดพระพุทธวจนด้วยความเข้าใจนั้น จะใช้ตาสีตาสาหรือปุถุชนไม่ได้
    ผู้ร่วมปฐมสังคายนา.. ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งหลายซึ่งทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้


    ........

    ..ขณะนั้นล่วงปลายพุทธกาลแล้ว นิครนถนาฏบุตรผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนได้สิ้นชีวิตลง สาวกของท่านไม่ได้รวบรวมคำสอนไว้เป็นหมวดหมู่ และไม่ได้ตกลงกันไว้ให้ชัดเจน ปรากฏว่าเมื่อศาสดาของศาสนาเชนสิ้นชีวิตไปแล้ว เหล่าสาวกก็แตกแยกทะเลาะวิวาทกันว่า ศาสดาของตนสอนว่าอย่างไร ครั้งนั้น พระจุนทเถระได้นำข่าวนี้มากราบทูลแด่พระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวง ร่วมกันสังคายนาธรรมทั้งหลายไว้เพื่อให้พระศาสนาดำรงอยู่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน (ที.ปา.11/108/139) เวลานั้น พระสารีบุตรอัครสาวกยังมีชีวิตอยู่ คราวหนึ่งท่านปรารภเรื่องนี้แล้วกล่าวว่า ปัญหาของศาสนาเชนเกิดขึ้นเพราะว่าไม่ได้รวบรวมร้อยกรองคำสอนไว้

    เพราะฉะนั้นพระสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ควรจะได้ทำการสังคายนา คือรวบรวมร้อยกรองประมวลคำสอนของพระองค์ไว้ให้เป็นหลักเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อปรารภเช่นนี้แล้วพระสารีบุตรก็ได้แสดงวิธีการสังคายนาไว้เป็นตัวอย่าง โดยท่านได้รวบรวมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อธรรมต่าง ๆ มาแสดงตามลำดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ คือเป็นธรรมหมวด ๑ ธรรมหมวด ๒ ธรรมหมวด ๓ ไปจนถึงธรรมหมวด ๑๐ เมื่อพระสารีบุตรแสดงจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานสาธุการ (ที.ปา.11/225-363/224-286)

    หลักธรรมที่พระสารีบุตรได้แสดงไว้นี้ จัดเป็นพระสูตรหนึ่งเรียกว่าสังคีติสูตร (พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือสังคีติ)เป็นตัวอย่างที่พระอัครสาวกคือพระสารีบุตรได้กระทำไว้ แต่ท่านพระสารีบุตรเองได้ปรินิพพานไปก่อนพระพุทธเจ้า ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วภาระจึงตกอยู่กับพระมหากัสสปเถระ ซึ่งตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้น เป็นพระสาวกผู้มีอายุพรรษามากที่สุด
    ...

    พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำนวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระมหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุบวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้กล่าวขึ้นว่า "หยุดเถิด หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะ นั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้อง เกรงบัญชาใคร"

    พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคหกรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน และดำริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำการสังคายนาและจะชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้[2] จากนั้นท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
     
  13. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 1
    จึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยในครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระเป็นประธานทำสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนาแสดงพระธรรมวินัยในหมวดพระสุตตันตปิฎก (ธรรมเทศนา) และ พระอภิธรรมปิฎก (คำสอน) พระอุบาลีเถระ เป็นองค์วิสัชชนาพระวินัยปิฎก ซึ่งแนวการวางระเบียบพระธรรมวินัยในครั้งนั้นจัดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังคงมีการรักษาสิ่งที่ได้จัดรวบรวมในครั้งปฐมสังคายนาอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับเถรวาทโดยไม่มีการปรับแก้มาจนปัจจุบัน

    การสังคายนาครั้งที่สอง
    เมืองเวสาลี สถานที่ทำทุติยสังคายนาการทำสังคายนาครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ได้แก่ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาจีนกะ) พระเรวตะ พระสัมภูตะ สาณวาสี พระยสะ กากัณฑกบุตร และพระสุมนะ (ทั้งสี่รูปนี้เป็นชาวปาฐา) ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น

    ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พระยสกากัณฑกบุตร พบเห็นข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของภิกษุวัชชีบุตร[3] เช่น ควรเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อรับประทานได้ ควรฉันอาหารยามวิกาลได้ ควรรับเงินทองได้ เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตรจึงชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้

    โดยรายละเอียดของปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สอง มีกล่าวถึงในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค[4] แม้ในวินัยปิฎกจะไม่กล่าวถึงคำว่าพระไตรปิฎกในการปฐมสังคายนาและการสังคายนาครั้งที่สองเลย แต่ในสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาอธิบายวินัยปิฎกนั้น บอกว่าการจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างพระไตรปิฎกนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนาแล้ว

    และครั้งต่อๆไป..
    อ่านที่..
    http://th.wikipedia.org/wiki/สังคายนาในศาสนาพุทธ
     
  14. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การทำหน้าของครูบาอาจารย์มีมาแต่พุทธกาล เป็นระดับพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาสี่และอภิญญาหก (ไม่ใช่ใครก็มาถ่ายทอดพระวจนะได้ตึความได้)
    รวมถึงครูบาอาจารย์ที่เป็นนักปฏิบัติต่อๆมา ซึ่งควรเป็นพระอรหันต์หรือพระอริยะไล่ลงมา หรืออย่างน้อยที่สุดควรเป็นผู้มีปัญญาเป็นผู้ศึกษาและมีคุณธรรมพอควร(กัลยาณปุถุชน)
    เพราะนอกจากการจดจำคำสอนได้ยังต้องตีความได้ตรงหรือใกล้เคียง จึงถ่ายทอดได้
    ไม่ใช่ใครๆก็ได้ มาบอกพระวจนเป็นอย่างนั้นนี้ ตีความไปตามตนเข้าใจ แถมจะไปตรวจสอบครูว่าท่านกล่าวถูกพุทธวจนะไหม จะทำได้หรือถ้าขาดการปฏิบัติและปัญญา แต่การตรวจสอบนั้นจะเป็นผลและมีประโยชน์ตนก็ต่อเมื่อตัวเองปฏิบัติและเข้าใจ


    ข้อกำหนดในการปฐมสังคายนา

    ในการสังคายนามีข้อกำหนดที่สามารถเป็นเหตุผลยืนยันถึงความจริงความถูกต้องของพระธรรมวินัย ดังนี้

    1. ผู้เข้าร่วมสังคายนาต้องเป็นพระอรหันต์ และต้องมีปฏิสัมภิทา 4 ( เป็นความเชี่ยวชาญเกิดจากปริยัติธรรม ได้แก่ 1. เชี่ยวชาญในสารประโยชน์ 2. เชี่ยวชาญในหลักธรรม 3. เชี่ยวชาญในภาษา 4. มีความเชี่ยวชาญในการมีไหวพริบ) และต้องมีอภิญญา 6 (เป็นคุณธรรมพิเศษที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมจนได้ฌาน ได้แก่ 1. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ 2. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ 3. ทิพพโสต มีหูทิพย์ 4. เจโตปริยญาณ การล่วงรู้จิตใจผู้อื่น 5. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ 6. อาสวักขยญาณ การหลุดพ้นจากอาสวะ

    2. จะต้องทำสังคายนาที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เพราะเป็นแคว้นใหญ่ พระเจ้าอชาตศรัตรูกำลังเรืองอำนาจ และที่นั่นก็มีพระเถระหลายรูป

    3. เพื่อขอให้พระเจ้าอชาตศรัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์เพื่อความราบรื่นในการสังคายนา

    วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล - นานาสาระ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเถรวาท
     
  15. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แล้วคำของพระตถาคต ไม่ต้องใตร่ตรองหรือ
    แล้วสมารถใช้ปัญญาไตร่ตรองครูบาอาจารย์ได้หรือ ถ้าไม่ปฏิบัติ
     
  16. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    แม้ปฐมสังคายนาก็เป็นการสังคายนาระดับพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาสี่อภิญญาหกที่จดจำพระวจนะมาอีกที
    ลองอ่านดูใหม่นะ
    ที่บอกว่าอุตส่าห์ยกบาลีมาด้วย ไม่ได้หมายถึงต้องเป็นพระวจนะเดิมหรือไม่
    แต่อย่างน้อยไม่ใช่คำแปล และอาจเป็นส่วนต้องยืนไว้คงเดิมจากการจดจำในพระวจนะ (คือไม่ใช่ส่วนขยาย)
    เพื่อที่จะอธิบายต่อไปว่า ...แม้แต่การทำสังคายนา
    ก็เป็นการจดจำคำสอนโดยมหาสาวกทั้งหลายเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เพื่อการศึกษาต่อไป ซึ่งก็มีการแปลต่อไปๆอีก
    ซึ่งแนวการวางระเบียบพระธรรมวินัยในจัดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังคงมีการรักษาสิ่งที่ได้จัดรวบรวมในครั้งปฐมสังคายนาอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับเถรวาทโดยไม่มีการปรับแก้มาจนปัจจุบัน

    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ปุณฑ์
    บอกหน่อย พุทธวจนะ แปลว่า อะไร (อุตส่าห์ยกบาลีมาด้วย)
    แล้วคำแปล แปลว่าอะไร
    ต้องแปลอย่างบาลีสยามรัฐ แล้วเป็นพระวจนเลยเท่านั้น..??

    บอกหน่อยใครแต่งใหม่ (ก็คงสังคายนาหลายครั้งทีเดียว)
    และการสังคายนา ก็เป็นการจดจำคำสอนโดยมหาสาวกทั้งหลายเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่เพื่อการศึกษาต่อไป ซึ่งก็มีการแปลต่อไปๆอีก
     
  17. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เห็นว่ามีกระทู้เรื่อง ฟังแต่พระพุทธเจ้า องค์เดียวเท่านั้น
    อยู่ที่ห้องพุทธศาสนา-ธรรมะ
    แลการเกิดของ กลุ่ม150 ขึ้นมา(ใครนะเข้าใจตั้ง)
    ใครสนใจพิจารณาเหตุผลของประเด็นนี้ไปได้ที่
    หน้า 3
    http://palungjit.org/threads/ฟังแต่พระพุทธเจ้า-องค์เดียวเท่านั้น.432348/page-3
     
  18. tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ผมสงสัยขอถามตรงนี้หน่อยท่านผู้รู้


    ตรงหนังสือสีๆทำไมถึงอยู่ข้างนอกหล่ะท่าน
    ก็ในที่พระชุมสงฆ์ ท่านก็บอกว่าสิกขาบทที่มาสู้อุเทสมีเพียงเท่านี้
    ใยท่านถึงเอาคำที่ท่านกดเองเเล้วเอาไปบวกรวมอีกหละท่าน

    ขอสูตรที่ชัดเขนกว่านี้หน่อย
     
  19. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    อีกอย่างต่อให้พระสูตรแปลถูกว่าเป็น 150 ข้อถ้วนก็จริง แต่เหตุการณ์ในพระสูตรก็เป็นช่วงกลางพุทธกาลซึ่งยังมีอะไรที่ปรับเปลี่ยนได้อีกเยอะ เช่น แต่ก่อนห้ามสวมรองเท้า ต่อมาพระพุทธเจ้าก็ให้สวมรองเท้าได้ เป็นต้น แต่ก่อนตัดต้นไม้ได้ พอชาวบ้านเห็นแล้วไม่ชอบเพราะคิดว่าต้นไม้มีจิตใจ ท่านก็ห้ามตัดต้นไม้

    แต่ก่อน บวชปุ๊บเป็นพระอุปัชฌาย์ได้เลย ต่อมาแก้เป็นต้องอย่างน่อย 10 พรรษาถึงเป็นได้

    แต่พระวินัยที่สังคายนานั้น ทำในช่วงพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 3-10 เดือน จึงเป็น version ล่าสุดที่พระพุทธเจ้าได้ประทานไว้โดยไม่มีใครที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงได้แล้ว ถ้ายึดคติตามหลักเถรวาท ที่จะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรท่่ีพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
     
  20. Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ที่อยู่ข้างนอกเพราะต้นฉบับข้อความนั้นผมคัดลอกมาจากเว็บพันทิพย์
    ส่วนที่ว่าเป็นพระวินัยครับไม่ใช่พระสูตร

    ดูได้จากต้นฉบับที่

    http://84000.org/tipitaka/read/?2/881

    ซึ่งในพระวินัยกำหนดเสขิยวัตรไว้ 75 ข้อ
    แต่ถึงแม้ว่าจะกี่ข้อก็ตาม ท่านก็ให้สวดเสขิยะเข้าในพระปาฏิโมกข์ด้วย ซึ่งต้องเกิน 150 ข้อแน่นอน
     

แชร์หน้านี้