อาการคุมความรู้ไม่อยู่เป็นอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แค่พลัง, 1 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ คุณคือ "ไอ้ทึ่มปี้แปะ หรือป่าว...
    +++ ถ้าไม่ใช่ ก็ อย่าออกตัวดีกว่าม่ะ
    +++ ผม "ลุย" แมงทุกที่
    +++ จิง ๆ ผมชอบโพสท์ของคุณ นะ
     
  2. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ตรับ คุณ "ผิด" ผมไม่ใช่ตุณ ขันธ์ เหมือนหรือไม่ "ผมไม่สน" อะนะ
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ แมงมั่ว แลัวมั้ง
    +++ ผมว่าคุณ เป็นมิตร มากกว่าเป็น ศัตรู นะ
    +++ แต่ถ้าคุณ "เห็นว่าผมเป็น ศัตรู ก็ OK นะ"
    +++ ผมไม่ว่าอะไร แล้วแต่คุณจะ "มโน" เอาเอง
     
  4. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    คุณแมว(ขออนุญาติเรียกตามชาวบ้าน)
    ที่หมายนั่นนิพพานพรหมครับถ้าสติอ่อนจะเป็นพรหมลูกฟักหรืออสัญญีสัตตา
    ส่วนสตินั้นทำหน้าที่ได้แค่ระลึกรู้เท่านั้นครับตัดสินไม่ได้
    ต้องใช้ปัญญาครับ
    ส่วนลูกขวบกว่าๆก็
    ทำให้ดู
    อยู่ให้เห็น
    ชี้ให้เป็น
    เย็นให้สัมผัส
    ประมาณนี้แหละครับ
     
  5. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ขอบคุณมากครับ ผมก็ลืมคิดไป ทำให้ดูเลย
     
  6. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    สุขที่สัตว์โลกควรกลัว และไม่ควรกลัว

    …ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ)ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน

    ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้.ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูปที่เห็นด้วยตา, เสียง ที่ฟังด้วยหู, กลิ่นที่ดมด้วยจมูก, รส ที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ

    ภิกษุ ท.! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้, สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่า กามสุข อันเป็นสุขบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬหสุข)ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว.

    ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน…ทุติยฌานตติยฌาน…จตุตถฌาน…๑ แล้วแลอยู่. นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะเป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัว

    คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน นั้น คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้

    - อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๗/๖๕๙.
     
  7. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    เอาที่ชอบเลยครับ ขอบคุณที่ช่วยบอกคับ
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ OK แค่นี้นะครับ
     
  9. แค่พลัง

    แค่พลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    2,792
    ค่าพลัง:
    +1,565
    ช่วยอธิบายคำว่าบุคคลควรเสฟให้ทั่วถึง อ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจความหมายครับ
     
  10. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    จะว่าไปแล้วก็เป็นคำถามที่ดีคำถามหนึ่ง ถ้ามองในแง่ดีอะนะ

    ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดิน คำตอบนี้ก็มีอยู่ใน อุทเทสวิภังคสูตร
    แต่เพื่อไม่ให้เป็นการทุบดินจนละเอียดเกินไป
    ก็เลยขอยกตัวอย่างพระสูตรมาประกอบการสนทนา
    ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่
    ตั้งสงบอยู่ภายใน
    และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่
    ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความ
    เกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป

    ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่า ธรรมะพระพุทธองค์ ท่านจะเลือกกล่าวธรรม
    ตามความเหมาะสม ตามจริตผู้ฟัง และท่านจะเลือกกล่าวตามกาลที่เหมาะสม
    แม้ว่าธรรมมะของท่านจะลึกซึ้ง เป็นโลกุตระ ว่าด้วยเรื่องสุญญตา
    สัตว์ไม่อาจรู้เห็นตามได้โดยง่าย แต่พระพุทธองค์ท่านก็จะไม่กล่าวแต่เรื่องโลกุตระ
    หรือสุญญตาแต่เพียงถ่ายเดียว ธรรมฆราวาส ธรรมตามลำดับขั้น ๆลๆ
    ท่านก็เลือกที่จะกล่าวออกมาเป็นคราวๆไป เป็นกรณี สำหรับแต่ละบุคคลไป

    กรณีคุณแมว ที่แนะนำไปคราวก่อนคือ ให้อยู่กับ"กุศลปิติ" อย่ารีบด่วนไปทำให้เป็นสุญญตา
    ซึ่งก็ได้ยกตัวอย่างเหตุ และผลไปมากพอสมควรแล้ว
    จึงได้ยกพระสูตรมาประกอบเพื่อให้คุณแมวพิจารณา เพื่อให้คุณแมวพิจารณาให้ปฏิบัติธรรมเป็นไปตามลำดับขั้น ไม่อยากให้รีบร้อนกล่าวถึงสุญญตา จึงเป็นที่มาของคำถามใหม่งั้นก็เริ่มเลย


    กลับมาที่พระสูตรที่ยกมา "ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน"

    ฟังดูคุ้นๆเนอะ คล้ายคำสอนของหลวงปู่ดุลย์ เรื่องจิตส่งออกนอก
    แต่ประเด็น ไม่ฟุ้งไปภายนอก คือ
    อะไร?

    ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก คือการสำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) นักปฏิบัติธรรมมืออาชีพจะทราบดีถึงคุณประโยชน์ของการสำรวมอินทรีย์ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย การมีสติไม่ลืมหลง อาศัยสัมปชัญญะอยู่เนืองๆ เมื่อปฏิบัติอยู่เนืองๆเป็นนิจจนเป็นนิสัย ประกอบกับการเจริญสติปัฐฐาน 4 ให้มาก เมื่อทำให้มาก เจริญให้มาก ก็จะเป็นเหตุให้ธาตุรู้ หรือที่เรียกว่า "ญาณ" มาปรากฏเป็นปัจจตัง ให้แก่โยคีได้รู้จัก
    หลายท่านปฏิบัติธรรมมาทั้งชีวิต เช้านั่ง บ่ายนั่ง เย็นนั่ง แต่ปฏิบัติผิดแบบเป็นฌานฤาษี ได้ฌานก็อาจจะจริงอยู่ แต่ธาตุรู้ไม่เคยมาปรากฏ เพราะไม่เคยสดับเรื่องอินทรียสังวรมาก่อน

    หรือบางคนได้ไปบวช 15 วัน 20 วัน 30 วัน กลับรู้สึกแปลกใจมาก ทำไมเราปฏิบัติได้ดี ได้ลึก ได้ง่าย ได้ชำนาญ ทำไมตอนเป็นฆราวาสเราไม่สามารถทำได้แบบนี้ ก็พลอยคิดไปถึงความเป็นสัปปายะ ของเพศนักบวช ก็ถูกครึ่งหนึ่ง แต่ที่ถูกต้องจริงๆคือ ท่านได้สำรวมอินทรีย์ไปโดยที่ไม่รู้ตัว อินทรีย์มันเลยพาท่านไปได้เป็นปัจจตัง สึกออกมาเป็นฆราวาส ทั้งทีวี เฟสบุค ไลน์ ๆลๆ การสำรวมมันไม่เกิด จึงทำให้ปฏิบัติธรรมไม่ค่อยก้าวหน้า

    กลับมาที่เรื่องไม่
    ตั้งสงบอยู่ภายใน จะขอ"ตัดต่อ"พระสูตรมาประกอบให้เห็นภาพเลยก็แล้วกัน..

    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ
    นั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่วิเวก กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่
    วิเวก ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดวิเวก ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความ
    ยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน มีความ
    ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มี
    วิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่น
    ไปตามปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ผูกพัน
    ด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุข
    เกิดแต่สมาธิ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉยเพราะ
    หน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌาน ที่
    พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ
    นั้น แล่นไปตามอุเบกขา กำหนัดด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ผูกพันด้วยยินดีสุข
    เกิดแต่อุเบกขา ประกอบด้วยสัญโญชน์คือ ความยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา
    พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน อันไม่
    มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มี
    สติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตามอทุกขมสุข-
    *เวทนา กำหนัดด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ผูกพันด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา
    ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า จิตตั้ง
    สงบอยู่ภายใน ฯ


    มาถึงตรงนี้ก็น่าจะพอเข้าใจแล้วว่า "บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง" คืออะไร?
    เพราะตัวอย่างพระสูตรที่ยกมา ก็ประกอบไปด้วยความ"กำหนัดยินดี"ใน ปิติ สุข อุเบกขา อทุกขมสุขเวทนา
    แล้วจิตที่ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน เป็นไฉนเล่า ?

    [๖๔๗] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่
    ภายใน ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามปีติและ
    สุขเกิดแต่วิเวก ไม่กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่ผูกพันด้วยยินดีปีติ
    และสุขเกิดแต่วิเวก ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่
    วิเวก พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ฯ

    .
    .
    ตรัสคล้ายกันในทุติยฌาน-จตุตถฌาน



    ขอฝากท่อนของพระสูตรนี้ให้อ่านลองพิจารณา ก็น่าจะได้ข้อคิดเตือนใจไม่มากก็น้อยนะครับ


    [๖๔๙] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรย่อมเป็นอันไม่สะดุ้งเพราะ
    ไม่ถือมั่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้
    เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม
    ไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูป
    ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของท่านย่อมแปรปรวนเป็นอย่าง
    อื่นได้ เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของรูป ท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ปรวน-
    *แปรไปตามความแปรปรวนของรูป ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม
    อันเกิดความปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป ย่อมไม่ตั้งครอบงำจิตของ
    ท่านได้ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ ท่านจึงเป็นผู้ไม่หวาดเสียว ไม่คับแค้น ไม่
    ห่วงใยและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนา ... ย่อมไม่เล็งเห็น
    สัญญา ... ย่อมไม่เล็งเห็นสังขาร ... ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาใน
    วิญญาณบ้าง วิญญาณของท่านย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความแปรปรวน
    เป็นอย่างอื่นของวิญญาณ ท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ปรวนแปรไปตามความแปรปรวน
    ของวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความแปร
    ปรวนไปตามความปรวนแปรของวิญญาณ ย่อมไม่ตั้งครอบงำจิตของท่านได้ เพราะ
    จิตไม่ถูกครอบงำท่านจึงเป็นผู้ไม่หวาดเสียว ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย ไม่สะดุ้งเพราะ
    ไม่ถือมั่น ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นอันไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ฯ


    ดังนั้นสรุปเลยก็คือ การไม่กำหนัดยินดีในปิติ จะไปสลัดทิ้ง จะเข้าสุญญตาถ่ายเดียว ระวังขาดตัวรู้ การเป็นการเพ่ง ทำให้เกิดอาการ ซึม เฉย ทื่อ มึน (ในกระทู้นี้ สมาชิกท่านธรรมชาติได้กล่าวเรื่อง "รู้" ไปพอสมควรแล้ว)
    จะทำให้ปฏิบัติธรรมแล้วเหนื่อย ต้องตามแก้บ่อยๆนะครับ


    สรุปง่ายๆเลยก็คือ ให้ทำไปตามลำดับขั้น ให้ยินดีก่อน แล้วค่อยปล่อยทีหลัง นะครับ (ตามพระสูตรแรก คือให้ทำให้มาก สัตว์ไม่ควรกลัว ) เมื่อไม่ควรกลัวแล้ว ก็พัฒนาต่อมานะครับ อย่าข้ามขั้นเร็วไป (เหมือนที่พยายามบอกมาหลายคอมเมนท์แล้ว ลองกลับไปอ่านดู)



    พระสูตรเต็ม http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=8267&Z=8510



















     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2018
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ จาก 638 - 646 เป็นส่วนของ อุเทสวิภังค์ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง แต่ ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่เข้าใจ จึงพากันไปถาม ท่านพระมหากัจจานะ

    +++ 639 พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตดังนี้ ครั้นแล้วพระองค์ผู้สุคตจึงเสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร ฯ

    +++ 640 - 643 เป็นส่วนของ ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่เข้าใจใน อุเทสวิภังค์ จึงพากันไปถาม ท่านพระมหากัจจานะ

    +++ 644 ท่านพระมหากัจจานะ แสดง "ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก" ซึ่งในปัจจุบัน จะรู้จักกันในเรื่อง "จิตส่งออก" ไปในกามาวจร

    +++ 645 ท่านพระมหากัจจานะ แสดง "ความรู้สึก "ไม่" ฟุ้งไป "ไม่" ซ่านไปภายนอก" ซึ่งในปัจจุบัน จะรู้จักกันในเรื่อง "จิต "ไม่" ส่งออก" ไปในกามาวจร

    +++ 646 ท่านพระมหากัจจานะ แสดง "จิตตั้งสงบอยู่ภายใน" ซึ่งในปัจจุบัน จะรู้จักกันในเรื่อง "จิตอยู่ในฌาน 1-4"

    +++ 647 ท่านพระมหากัจจานะ แสดง "จิต "ไม่" ตั้งสงบอยู่ภายใน" ตรงนี้เป็นเรื่อง สติครองฌาน "จิตจึง "ไม่ตั้งอยู่" ในฌาน 1-4" (ฌานถูกรู้)

    +++ 648 ท่านพระมหากัจจานะ แสดง "สะดุ้งเพราะตามถือมั่น" ตรงนี้เป็นเรื่อง "ความแปรปรวนของวิญญาณ ครอบงำจิตได้" (วิญญาณขันธ์ "ตัวดู" เป็นตน)

    +++ 649 ท่านพระมหากัจจานะ แสดง ""ไม่"สะดุ้งเพราะ "ไม่" ตามถือมั่น" ตรงนี้เป็นเรื่อง "ความปรวนแปรของวิญญาณ ไม่ครอบงำจิตได้" (จิต พ้น วิญญาณขันธ์ "ตัวดู ถูกรู้")

    +++ 650 ดูกรภิกษุทั้งหลาย "ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน"

    +++ คำว่า "พิจารณา" ใน 650 นี้ ชี้ถึง "สภาวะรู้" ที่รู้ "ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน" ตรงนี้เป็น "อาการของ มหาสติ"

    +++ ดังนั้น คำว่า "พิจารณา" ในอุเทสวิภังค์ ชี้ไปที่ "มหาสติ" และไม่ได้หมายถึงคำว่า "พิจารณา ในยุคปัจจุบัน ที่ใช้อาการ สัญญา+สังขาร เพื่อความเข้าใจ" แต่อย่างไรทั้งสิ้น

    +++ คำว่า "พิจารณา" ในยุคปัจจุบัน จะตรงกับคำว่า "อยู่กับรู้" ของหลวงปู่ดูลย์ ตามนัยยะของ "อุเทสวิภังค์" นี้

    +++ 651 เป็นส่วนของ "ภิกษุทั้งหลาย" นำข้อความที่ ท่านพระมหากัจจานะแสดง ไปถาม พระพุทธองค์

    +++ 652 พระพุทธองค์ ตอบว่า "แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา" ก็จะได้คำตอบแบบเดียวกับที่ มหากัจจานะ ให้คำตอบเหมือนกัน

    +++ คุณ ศิษย์โง่ V2 ยก "อุเทสวิภังค์" มาได้ดี ทำให้ผม "เดินจิตตาม" เพื่อรู้ว่า อะไรเป็นอะไร

    +++ ตรงนี้ทำให้ผม "ชัดเจน" ณ ขณะที่ "ตัวดู ถูกรู้" ซึ่งตรงกันกับ "อุเทสวิภังค์" นี้

    +++ ขอบคุณ ศิษย์โง่ V2 ที่ยก "อุเทสวิภังค์" มา ณ ที่นี้ ด้วย

    +++ ที่ผมกด "ถูกใจ" มากกว่า "อนุโมทนา" เพราะมั่นใจว่า "คะแนน" ของถูกใจน่าจะ "สูงกว่า" อนุโมทนา ตามหลักของคะแนน "จากซ้าย ไป ขวา" นะครับ
     
  12. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ตรงหัวข้อ

    +++ 647 ท่านพระมหากัจจานะ แสดง "จิต "ไม่" ตั้งสงบอยู่ภายใน" ตรงนี้เป็นเรื่อง สติครองฌาน "จิตจึง "ไม่ตั้งอยู่" ในฌาน 1-4" (ฌานถูกรู้)

    +++ ในตอนที่คุณ ศิษย์โง่ ยังไม่เป็น V2 เคยคุยกันเรื่อง "เอโกทิภาวะ" มาก่อน

    http://palungjit.org/threads/เทคนิค...่สงบมีแต่ความคิด.611413/page-10#post-10396124

    +++ ลองอ่าน ลิ้งค์ ข้างบนประกอบไปด้วย ก็จะทำความเข้าใจได้มากขึ้น นะครับ
     
  13. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ไม่มีเหตุจะมีผลไม่ได้ ที่ท่านกล่าวนี้ หมายถึงว่าการพิจารณาที่แท้ ห้ามการพิจารณาด้วยสัญญา+สังขารเลยหรือเปล่าครับ
     
  14. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    มหาสติจะสหรคตหรือพ่วงด้วยมหาปัญญาครับ
    จึงอยู่เหนือสัญญาและสังขาร
    กล่าวคืออยู่เหนือขันธ์ทั้ง๕
    เพียงแต่ยัีงทรงขันธ์๕อยู่จึงอนุโลมแสดงตามสมมติที่ปรากฏในสมมติ
    เพราะที่เหนือกว่านั้นไม่มีอะไรใช้สมมติแทนได้เลย
    นอกจากว่า พระนิพพาน ธรรมธาตุ วิมุติ
     
  15. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    มันควรเกิดดับไหมครับ ตัวมหาสติมหาปัญญานี้ คือส่วนที่สืบต่อๆมาเป็นเรื่องของผลอันมาจากเหตุนั้น อย่างเช่น เราเอาดาบฟันต้นไม้ขาด มันขาดในทันที มันไม่ใช่ฟันซ้ำๆขาดแล้วก็ฟันซ้ำตลอดชีวิต หรือว่างอกใหม่ได้อีกเลยฟันไปเรื่อยน่ะครับ คือที่กล่าวเหมือนมันค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น แค่ประสงค์ทำความเห็นให้ตรงกันก่อนน่ะครับ
     
  16. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ที่ว่าเกิดดับน่ะท่านหมายว่าอาการของจิตที่ยังสหรคตด้วยอวิชชา
    จึงมีการสัมปยุทธกับสิ่งภายในและภายนอก
    จึงเรียกว่า จิตนี้คือมหาเหตุ
    แต่มหาสติมหาปัญญาไม่ใช่จิตครับ
    เขียนก็ไม่เหมือนนี่ครับ
     
  17. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,422
    ค่าพลัง:
    +3,195
    ที่จริงแล้วท่านธรรม-ชาติ ท่านต้องเป็นคนตอบคำถามนี้อาจจะเป็นความเห็นที่ท่านต้องการมากกว่า เพราะถ้าแนวทางการปฎิบัติแล้วสำเร็จตนเองนั้นเทียบท่านไม่ได้เลยค่ะ

    แต่อยากจะแสดงแนวทางของตนเองกับผลที่ได้เพื่อพิจารณาค่ะ

    โยโสมนสิการ กับ วิปัสสนา แตกต่างกันอย่างไร?

    โยนิโสมนสิการ - การใช้ความคิดพิจารณาอย่างแยบคาย
    วิปัสสนา - การรู้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ประกอบไปด้วยความคิด นึก ตรึกตรอง


    https://pantip.com/topic/36881618

    [2] โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ท่าน ปอ.ป

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
    “เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”
    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”
    “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

    ตรงนี้แหละค่ะที่ว่า ภิกษุผู้มีโยโสมนสิการย่อมกำจัดอกุศลได้และยังกุศลให้เกิดขึ้น คิดอย่างไร เห็นอย่างนั้น เห็นอย่างไร คิดอย่างนั้น กระทำกรรมไปตามที่คิดและที่เห็น จึงเกิดเป็นกรรมทั้งสาม การดำเนินมรรคมีองค์แปด สิ่งที่ตรวจสอบมรรค คือ สัมมาวายาโม คือ การละอกุศลกรรมทั้งหลาย การยังกุศลกรรมให้เจริญขึ้น

    ตราบใดที่เรายังไม่สมารถทำมหาสติให้มีในตนได้ตลอดเวลา การโยโสมนสิการ ที่พิจารณาโดยแยบคายจึงเป็นธรรมที่อยู่ในความไม่ประมาท "สิ่งทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจ"

    เท่าที่ตนเองได้รับผล การอบรมจิตด้วยโยโสมนสิการเป็นการเดินมรรคโลกิยะปัญญา เป็นธรรมเบื้องต้น และธรรมท่ามกลางที่จะนำไปสู่ธรรมที่สุดแห่งทุกข์

    คำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ "สัญญาเกิดขึ้นก่อนญาณ เพราะมีสัญญาเกิดขึ้นจึงมีญาณเกิดขึ้น ภิกษุย่อมรู้อย่างนี้ว่า เพราะสัญญาเป็นปัจจัย ญาณจึงเกิดขึ้นแก่เรา" โปฏฐปาทสูตร

    รู้อารมณ์ เข้าใจอารมณ์ เห็นอารมณ์ คลี่คลายอารมณ์กรรม นำมาซึ่งสัมมาทิฐิ ก่อนเป็นอันดับแรก โยโสมนสิการที่คุณตรงนี้ค่ะ ส่วนการฝึกสติปัฏฐาน เพื่อนำไปสู่มหาสติหรือเกิดมหาปัญญา เป็นสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ เพื่อก้าวไปสู่ วิปัสสนา ที่เป็นการรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งที่ไม่ประกอบไปด้วยการนึก คิด ตรีก ตรอง

    การอบรมจิตด้วยโยโสมนสิการ เปรียบดั่งการซักฟอก หรือ การขัดเกลาหรือข้ดหม้อที่เป็นสนิมในใจให้สะอาดขึ้น เงางามขึ้น เราจึงต้องใช้แพเพื่อข้ามฟากให้ถึงฝั่งค่ะ

    โยโสมนสิการ ต้องใช้ขันธ์ห้าเป็นกระบวนการเรียนรู้ค่ะ
    ส่วน วิปัสสนาญาณ ใช้มหาสติ หรือ สภาวะรู้ เข้าใจขันธ์ห้าตามจริง น่าจะเป็นการศึกษาลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับนะค่ะ
     
  18. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267

    อ้อครับ มหาสติมหาปัญญาที่แท้ท่านหมายถึงความที่พ้นอวิชชาไปแล้ว อวิชชาถูกไขให้แจ้งถูกทำให้สว่างกระจ่างแจ้งไปแล้ว จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นไปแล้วนะครับ จิตยังจะมีไหมช่างมัน ความมีตัวมีตนไม่ปรากฏเพราะความไม่ถือมั่น เอาเท่านี้พอ ถือว่าอธิบายในเชิงอุปโลก ขนานนามให้กันไปเท่านั้นนะครับ อย่างผู้ถึงซึ่งนิพพาน ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดแล้ว คือผู้มีปัญญาหรือเปล่าอันนี้ผมไม่แน่ใจ แต่ไม่ใช่ผู้มีปัญญาทรามแน่ๆ คือหมายถึงถ้าหมดเชื้อก็ต้องหมดเชื้อจริงๆ ไม่ใช่ยังมีมหาสติมหาปัญญาตรงข้ามอวิชชาอยู่ อันนี้อย่าสนใจผมกล่าวเลย กล่าวไปตามความเห็นส่วนตัวเฉยๆเท่านั้นครับ
     
  19. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    การที่เรียกอาการอย่างนั้นว่า
    มหาสติมหาปัญญานั้น
    เป็นอาการสมังคีธรรมของสติและปัญญาเข้าประหัตประหารกิเลสจอมกษัตริย์อวิชชาครับ
    ที่บางท่านใช้คำว่า ไกรวัลยธรรม
    ส่วนหลังจากนั้นก็ละทั้งเรือและพายแล้วขึ้นสู่ฝั่งเสีย
    รอเพียงเวลาละขันธ์อันเป็นภาระสุดท้ายที่ต้องแบกหามในช่วงเวลาที่เหลือเท่านั้นครับ
    ไม่ได้ยึดเอาว่า ทรงหรือครองมหาสติมหาปัญญาแต่อย่างใด


    ปล.อาการสมังคีนี้หนึ่ง อาการประหาน(ะ)นี้หนึ่ง ไกรวัลยธรรมนี้หนึ่ง
    ในธัมมจักรกัปปวัตนสูตรพระองค์ก็ได้ทรงแสดงลำดับอาการไว้ครับ
    ลองไปค้นดูเน้อ
     
  20. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ขอบคุณครับ นั่นแหละครับที่ผมถาม คือกว่าจะรู้อะไรเป็นอะไร กว่าจะเห็นถูกเห็นตรงลงใจ กว่าจะตัดจะละได้ มันคงไม่ใช่ไม่มีปี่มีขลุ่ย รู้ลอยๆ มาเลย มันต้องมีการสร้างเหตุมาก่อน แค่อยากถามให้แน่ใจว่าไม่ใช่จะไปยัดเยียดกันได้ว่าห้ามเอาสัญญามาปรุงร่วมกับสังขารนะไม่ได้เลยตั้งแต่ต้น อะไรทำนองนี้ครับ ไม่ได้ว่านะ แค่อยากให้ชัดเจนเท่าที่จะเป็นไปได้ ท่านพูดมาก็ดีละ เอาไปอีกคำ คำว่า ธัมมวิจยะ กับปัญญา ในโพชฌงค์ 7 มันต้องเป็นเหตุเป็นผลกันไปแบบนั้นเองครับ คล้ายๆ บัวเกิดจากตม ทำนองนี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...