เข้าสู่แดนนิพพาน : หลวงตาพระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 17 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    ทีนี้จิตเลยมุ่งมั่นถึงอรหัตบุคคล อยากเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในสมัยปัจจุบันนี้ คิดย้ำลงอีกว่า เอ้า ขอให้แน่ใจเถอะว่าในธรรมนี้มรรคผลนิพพานยังมีอยู่ แล้วเราจะเอาให้ได้ ไม่ได้เอาตาย มีเท่านั้นไม่มีอย่างอื่น ขอให้มีผู้หนึ่งผู้ใด ครูบาอาจารย์องค์ใด หรือผู้ใดก็ตามมาชี้แจงแสดงให้เราทราบ ว่ามรรคผลนิพพานยังมีอยู่เป็นที่ถึงใจเราแล้ว นั้นละการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานจะทำให้ถึงใจ เอา ให้ตายไม่ตายให้รู้ มีเท่านั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พอออกจากเรียนแล้วจึงโดดผึงเลย อยู่ต่อไปไม่ได้ ก็เรียนประโยคสามจบแล้วนี่ เรียนประโยคสี่ก็ผิดละซิจะว่าไง เรียนไปสอบไปก็ยิ่งผิด มันผิด ฝืนเรียนต่อไปไม่ได้ ถ้าลงคำสัตย์ได้ตั้งขนาดนั้นแล้ว ไม่มีอะไรใหญ่ยิ่งกว่าคำสัตย์ ให้ตายเสียดีกว่าถ้าลงคำสัตย์ได้ขาดไป นิสัยของเราเป็นอย่างนั้นมาดั้งเดิม
    <o:p></o:p>
    จึงต้องขโมยหนีจากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์องค์ที่อยู่วัดพระศรีมหาธาตุ มุ่งหน้าต่อพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น พอถึงท่านเท่านั้น ท่านชี้แจงแสดงเรื่องอะไร ไม่ว่าดูท่านทางตา ฟังท่านทางหู อะไรไม่มีคลาดมีเคลื่อนจากหลักธรรมหลักวินัย พูดอะไรตรงไปตรงมา เป๋งๆ ใจออกอุทานว่า โอโห นี่ละอาจารย์ของเรา นั่นลงละ แสดงเรื่องมรรคผลนิพพาน ไม่รู้เอามาจากไหน ถอดออกมาจากหัวใจเหมือนว่า นี่น่ะๆ มรรคผลนิพพานเห็นไหม เหมือนกับท้าทายอยู่ตลอดเวลาในการแสดงด้วย ท้าทายความจริงจังของท่าน ท้าทายด้วยความจริงของธรรม
    <o:p></o:p>
    ความจริงจังของท่านก็หมายถึงท่านเป็นผู้รู้ผู้เห็นเอง ไม่ใช่ผู้อื่นผู้ใดเป็นผู้เห็นแล้วท่านหยิบยืมมาพูดมาเทศน์ให้เราฟังนี่ ท่านเป็นผู้รู้เองเห็นเองในธรรมทั้งหลาย เวลามาแสดงให้เราฟังจึงถึงใจ พอเข้าถึงใจแล้วทีนี้เราจะจริงไหม มรรคผลนิพพานจะสงสัยอีกไหมที่นี่ ไม่มีทางสงสัย หมดแล้วเรื่องมรรคผลนิพพาน ยังมีอยู่หรือไม่นั้น เป็นอันว่าหมดปัญหาแล้วโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลืออยู่แม้เปอร์เซ็นต์เดียวเลย เชื่อแน่ว่ามรรคผลนิพพานมีอยู่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เอาละทีนี้เราจะจริงไหม จริงซิ ไม่จริงให้ตายเสีย อย่าอยู่หนักศาสนาและหนักแผ่นดินต่อไป ตั้งแต่บัดนั้นมาก็ฟัดกันใหญ่เลย
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น จึงสมบุกสมบันมากในการประกอบความพากเพียรของผม ทั้งมีนิสัยอย่างนี้ด้วย ไปไหนไม่เอาหมู่เอาเพื่อนไปด้วย อยู่คนเดียวดีดผึงๆ จนกระทั่งได้มาเป็นครูเป็นอาจารย์สอนหมู่เพื่อน เพราะนิสัยของเรามันนิสัยคนเดียวแท้ๆ ไม่ปรารถนาเรื่องมักใหญ่ใฝ่สูง มันไม่เคยปรากฏภายในจิตใจว่าอยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากเป็นนั้นเป็นนี้ มีแต่สบายๆ ไปตามประสาป่าอย่างนั้นเอง
    <o:p></o:p>
    การเดินจงกรมถ้าอยู่ในวงหมู่เพื่อน เช่น มาอยู่บ้านหนองผืออย่างนี้ ผมจะเดินจงกรมให้หมู่เพื่อนเห็นไม่ได้ โน่น ต้องเวลาสงัดสี่ทุ่มห้าทุ่มล่วงไปแล้ว หมู่เพื่อนเงียบหมดแล้วถึงจะลงเดินจงกรม กลางวันก็เข้าไปอยู่ในป่าโน่น ถ้าวันไหนออกมาแต่วัน เช่น ห้าโมงเย็นออกมาอย่างนี้ ก็เข้านั่งสมาธิเสียในกุฎี จนกระทั่งหมู่เพื่อนเงียบไปหมดแล้วถึงจะลงทางจงกรม เป็นนิสัยอย่างนั้นมาดั้งเดิม ไม่ให้ใครมาเห็นการประกอบความเพียรของเราว่ามากน้อยขนาดไหน แต่ธรรมดาใครก็รู้ ทางจงกรมจนเป็นขุมเป็นเหวไปใครจะไม่รู้ เดินจงกรมกี่ชั่วโมงมันถึงจะเป็นขนาดนั้น อยู่ในป่าก็ดีอยู่ภายในวัดก็ดีมองดูก็รู้ แต่หากนิสัยเป็นอย่างนั้น ถ้าภาษาอีสานเขาว่านิสัย คนหลักความ ลักๆ ลอบๆ ทำอยู่คนเดียว แต่เรามันไม่สนิทใจที่จะทำความเพียรให้ใครๆ เห็นอย่างโจ่งแจ้ง
    <o:p></o:p>
    แต่อะไรจะบังคับบัญชายากยิ่งกว่าจิตไม่มี ถึงยังไงก็ตามไม่หนีความมุ่งมั่น ไม่หนีความฝึกความทรมานไปได้ ต้องเอาจริงเอาจังกับจิต กิเลสมันเอาเรามันเอาจริงเอาจัง ทำไมเราเวลาจะแก้กิเลสไม่จริงไม่จัง มันจะทันกันเหรอ ต้องคิดข้อนี้เสมอผู้ปฏิบัติธรรมะ นี่ก็ได้ทำมาแล้วจึงได้มาสอนหมู่เพื่อน ความเข้มแข็งนั้นแหละเป็นสิ่งที่จะให้กิเลสค่อยหลุดลอยไปโดยลำดับ แต่ความท้อถอยอ่อนแอนี้ไม่มีทาง นอกจากเป็นการเพิ่มกิเลสเท่านั้น จงจำไว้อย่างถึงใจ
    <o:p></o:p>
    อย่าไปสงสัยว่ากิเลสจะหมดไปตามอัธยาศัย ประกอบความเพียรก็ตามอัธยาศัย ตามอัธยาศัยนั้นเป็นอัธยาศัยกิเลส กิเลสลากไว้ดึงไว้ไม่ให้เดิน ไม่ให้นั่ง ไม่ให้มีสติสตัง เผอเรออยู่ตลอดเวลา นั่นเรื่องของกิเลสเป็นอย่างนั้น เรื่องของธรรมต้องเป็นผู้เข้มแข็ง
    <o:p></o:p>
    อยู่ที่ไหนให้มีสติเสมอ นี้พูดอยู่เสมอ เราเห็นคุณค่าของสติมากทีเดียว สติเป็นธรรมสำคัญมากในการที่จะให้งานไหนจักรตัวใดวิ่งหมุนติ้ว ก็ต้องให้จักรตัวสตินี้หมุนไปก่อน สติต้องเป็นผู้ควบคุมงาน งานมีกี่มากน้อยที่จะทำ หนักเบาขนาดไหน มีคนงานกี่คน ต้องมีคนคุมคนหนึ่งจนได้เป็นอย่างน้อย นี่ต้องมีสติเป็นเครื่องควบคุมงานของตน อย่าท้อถอยอ่อนแอ
    <o:p></o:p>
    ไปไหนก็ตามอย่าไปหวังอะไรๆ กับโลกอันนี้ โลกนี้เราทราบอย่างถึงใจว่า โลก อนิจฺจํ รอบโลกธาตุ เต็มไปหมด ไม่มีสิ่งใดที่จะเว้นจากความเป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไปได้ เมื่อความเป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา มีอยู่ในสถานที่ใด สถานที่นั้นไม่เป็นฟืนเป็นไฟจะเป็นอะไร ไว้ใจกันได้ที่ไหน สิ่งที่เป็นน้ำให้ความร่มเย็นแก่เรา คือน้ำอรรถน้ำธรรม ให้เร่งเข้าไปความพากเพียร ให้จริงให้จัง ให้มีสติอยู่กับงานตลอดไป อย่าเสียดายความพลั้งเผลอว่าจะให้เราวิเศษวิโส นอกจากพาให้จมงมทุกข์<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    เดินจงกรมก็ให้มีสติ อย่าไปสนใจกับเรื่องอื่นใดว่าจะมีคุณค่ามีราคา อย่าไปเพลินกับความคิดความปรุงในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องโลกเรื่องสงสารที่เคยเป็นมาแล้วในอดีตก็ดี ที่จะเป็นไปในอนาคตก็ดี หรือมันเอาเรื่องอดีตมายุ่งอยู่ในวงปัจจุบันนี้ก็ดี มีแต่เรื่องของกิเลสทั้งมวล ทั้งๆ ที่เราเดินจงกรมอยู่นั้นแหละ นั่งสมาธิภาวนานั้นแหละ แต่กิเลสมันทำงานอยู่บนหัวใจเรา ตัวสมุทัยได้แก่ความคิดความปรุงแต่ง เรื่องอดีตอนาคตวุ่นไปหมด ถ้าคิดไปเพื่อความวุ่นเช่นนั้นไม่ใช่ทาง เป็นเรื่องการส่งเสริมกิเลสหรือสั่งสมกิเลสขึ้นอีก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ต้องอาศัยหลักปัจจุบัน คือ สติ ตัดความเสียดาย ความห่วงใยอาลัยทั้งหมดในเรื่องอดีตซึ่งเป็นโลกล้วนๆ เรื่องอนาคตถ้าเป็นโลกล้วนๆ เมื่ออดีตเป็นโลกล้วนๆ อนาคตมันก็ต้องเป็นโลกล้วนๆ เหมือนกัน ขาดสติเป็นไปได้ทั้งอดีตอนาคต หมุนติ้วอยู่ภายในหัวใจนั่นแหละ ให้ได้รับความทุกข์ความลำบาก ถ้าสติจ่อลงตรงไหนปัจจุบันมีอยู่ตรงนั้น เราหักห้ามกันได้ที่ตรงนั้น เคยหักห้ามมาแล้วนี่ไม่ใช่มาสอนหมู่เพื่อนเฉยๆ เคยฟาดกันลงบางครั้งถึงน้ำตาร่วงก็มี จนกิเลสมันท้วงติงเราว่า เฮ้อ เอาถึงขนาดนี้เชียวเหรอ ถ้าไม่ถึงขนาดนี้กิเลสมันจะหลุดลอยไปเหรอ ว่าอะไรเพียงน้ำตาร่วงเท่านี้วะ ตายก็ยังไม่ถอยนี่ อย่ามาพูดเลยเพียงน้ำตาร่วง เพียงกินเผ็ดน้ำตามันก็ร่วงไม่เห็นได้เรื่องอะไร ถูกควันไฟมันก็ร่วง หัวเราะมันก็ร่วง ร้องไห้มันก็ร่วง มันได้เรื่องอะไร ประสาน้ำตา น้ำไม่เป็นท่าเป็นทางก็คือน้ำตานั่นเอง ผู้จะฆ่ากิเลสไปสนใจเสียดายน้ำตาอะไรกัน เรื่องจริงเรื่องจังที่จะเป็นสาระแก่นสารแก่ตัวคืออะไร มันเหนือเรื่องเหล่านี้เป็นไหนๆ ฟาดกันลงไปให้หนักมือผู้ปฏิบัติเพื่อเอาตัวรอดน่ะ อย่าฟังเสียงกิเลสยิ่งกว่าเสียงธรรม
    <o:p></o:p>
    เราเห็นโทษเรื่องความเกลื่อนกล่นวุ่นวายกับหมู่คณะ ในเวลาอยู่ศึกษาอบรมกับครูบาอาจารย์ มาทำเหลาะๆ แหละๆ ให้เห็นต่อหน้าต่อตา เคยเห็นมาแล้วอย่าให้เห็นอีกนะ นี่ได้เห็นมาแล้วต่อหน้าต่อตา ถึงขนาดที่เคยพูดกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกับหมู่คณะในเวลานั้น มันก็เป็นอย่างที่พูดไม่เห็นผิดไปนี่ เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์มันซ่อนเล็บนะ มันไม่กางเล็บออกมา แต่ก็เห็นเล็บที่ซ่อนอยู่จนได้นั่นแหละ
    <o:p></o:p>
    เวลาปราศจากครูบาอาจารย์หรือห่างเหินจากครูบาอาจารย์ไปแล้ว มันจะกางเล็บออกเล่นเต็มเพลงนั่นแหละ “เพลงของกิเลส”น่ะ ใครมีของดิบของดีอยู่ในอุ้งเล็บที่เข้าใจว่าวิเศษวิโสยังไง ก็จะนำออกแสดงให้เต็มภูมินั่นแหละ ทั้งๆ ที่มันไม่วิเศษ คอยดูก็รู้กัน แล้วมันก็เป็นแล้วอย่างทุกวันนี้ นี่ถึงว่าไม่อยากพบไม่อยากเห็นอีก กลัวอกแตกตาย<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    มีจำนวนมากจำนวนน้อย ใครอย่าถือใครเป็นตัวอย่างนอกเหนือไปจากหลักธรรม ธรรมเท่านั้นที่จะทำให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข สันติสุขในหมู่คณะด้วยกัน อย่าเข้าใจว่าเรียนมากรู้มาก อย่าเข้าใจว่ามีฐานะดี อย่าเข้าใจว่าเป็นคนชั้นนั้นชั้นนี้น่าเกรงขาม มีสง่าราศี ซึ่งเป็นเรื่องของโลกเสกสรรกันตามอำนาจของวัฏวน อย่านำเข้ามาเกี่ยวข้องในวงของพระซึ่งมีแต่ธรรม คือ ความถูกต้องดีงามล้วนๆ เอาตรงนั้นเป็นแบบฉบับของผู้จะหนีทุกข์คือวัฏวน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อยู่ด้วยกันใครพูดให้ฟังโดยเหตุโดยผล ผู้พูดก็ให้พูดโดยเหตุโดยผล ผู้ฟังฟังหาความจริง อย่าฟังหาเอาเรื่องความมาทะเลาะกัน อย่าฟังเอาทิฐิมานะ เมื่อทิฐิมานะมันเกิดขึ้นภายในใจแล้ว มันอัดอั้นตันใจในหัวใจตัวเอง เดี๋ยวมันก็กระเด็นออกมา ระบาดออกมา ทะลักออกมาให้ได้รับความกระทบกระเทือนต่อเพื่อนฝูงด้วยกันจำนวนมากน้อยจนได้
    <o:p></o:p>
    วงปฏิบัตินี้ต้องเป็นเหมือนอวัยวะเดียวกัน มันถึงอยู่กันได้ด้วยความผาสุก ถ้าไม่เหมือนอวัยวะเดียวกันแล้วอยู่ด้วยกันไม่ได้ ธรรมนั้นแหละที่จะทำจิตใจของแต่ละท่านแต่ละองค์ที่อยู่จำนวนมากนี้ ให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ด้วยความสัตย์ความจริง ด้วยความมุ่งอรรถมุ่งธรรม ไม่ใช่อะไรจะพาให้รวม อย่างอื่นอย่าเอาเข้ามาเกี่ยวข้อง
    <o:p></o:p>
    แม้แต่ผมเองผู้ปกครองหมู่เพื่อนอยู่ที่นี่ ที่หมู่เพื่อนเสกสรรปั้นยอว่าเป็นครูเป็นอาจารย์ เข้ามาอาศัยให้แนะนำตักเตือนสั่งสอน ผมก็ไม่เคยถืออำนาจวาสนาให้นอกเหนือไปจากหลักธรรมหลักวินัยนี้เลย ผมประกาศตัวต่อหมู่เพื่อนอยู่เสมอ ถ้าผมผิดแล้ว ให้ว่าได้เลยไม่ต้องเกรงอกเกรงใจ เพราะธรรมเหนือผมนี่ ท่านผู้นำธรรมมาตักเตือนสั่งสอนผม ผมจะไปขัดข้องหาสมบัติอะไร ถ้าขัดข้องก็ไม่เป็นธรรม ก็ไม่ควรจะอยู่กับหมู่กับเพื่อนต่อไปละซิ สอนหมู่เพื่อนเพื่อประโยชน์อะไรเจ้าของไม่เป็นธรรม ถือทิฐิมานะ เอาทิฐิมานะมาเหยียบย่ำทำลายธรรม แล้วจะสอนหมู่เพื่อนให้เป็นสิริมงคลได้ยังไง นี่เราตระหนักเสมอในใจของเรา เราจะให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาไม่ได้ทั้งในตัวเราและในวงคณะที่อยู่ร่วมกัน ฉะนั้นการสอนหมู่เพื่อนที่อยู่ด้วยกัน ตนเองก็พึงปฏิบัติอย่างนั้น โดยถือหลักธรรมเป็นสำคัญ และให้อภัยกันเสมอ เมตตากันเป็นพื้นฐาน
    <o:p></o:p>
    อย่ามองกันในแง่ร้าย ให้มองกันในแง่เหตุผลและเมตตาต่อกันเสมอ เพราะคนเราความรู้และอัธยาศัยใจคอไม่เหมือนกัน ผู้มีความรู้มากก็มี ความรู้น้อยก็มี ผู้โง่ผู้ฉลาดมีสับปนกันไป ผู้หยาบผู้ละเอียดมี ให้ต่างคนต่างระมัดระวัง สิ่งใดที่มีอยู่ในตัวเรา ยิ่งสิ่งใดที่เป็นภัยต่อหมู่เพื่อนด้วยแล้ว ให้ระมัดระวังและกำจัดให้ได้ อย่าหวงไว้เผาตัวเองและวงคณะ และอย่าแสดงออกมาเป็นอันขาด ซึ่งเป็นการขายตัวอย่างเลวร้ายที่สุดให้อภัยไม่ได้เลย นี่แหละคือหลักของการปกครอง ของการอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้ จึงต้องได้ระมัดระวังเสมอ ประมาทไม่ได้ตลอดไป
    <o:p></o:p>
    และเคยพูดเสมอว่าการปกครองเป็นของสำคัญ ไม่ใช่มีเท่าไรมาเท่าไรก็เออๆ อยู่ไปๆ มันไม่ใช่อย่างนั้น ต่างคนต่างหามต่างคนต่างหาบกิเลสเต็มหัวใจมาด้วยกันทุกคน เพราะเป็นปุถุชนคนมีกิเลส ทำไมจะไม่หาบกิเลสหามกิเลสมาเต็มหัวใจล่ะ และกิเลสมันเคยลงกับอะไรที่ไหนเมื่อไหร่ กับธรรมมันยังต่อสู้ แม้จะแพ้ธรรมมันยังไม่ยอมถอยง่ายๆ สู้จนมันตายทลายลงไปหมดทุกตัว เรื่องของมันกับธรรมจึงยุติ แม้ขนาดมันตายต่อหน้าต่อตาของธรรม มีสติปัญญาเป็นต้น มันยังไม่ยอมออกปากพูดว่ายอมแพ้เลย ฟังซิ
    <o:p></o:p>
    กิเลสมันไม่กลัวอะไรนอกเหนือไปจากธรรม เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยธรรม คือสติเป็นสำคัญ ปัญญาเป็นเครื่องไตร่ตรองทดสอบพิจารณา เบิกทางเดินไปเพื่อความสงบเย็นใจแก่ตนเอง<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    ทางการปฏิบัติก็เอาให้จริงจัง อย่าเหลาะๆ แหละๆ อย่าเล่น อย่าสำคัญว่าวันคืนเดือนปีเป็นของมีค่ามีราคา มันมีค่ามีราคาที่ไหน มืดกับแจ้งเอาราค่ำราคามาจากไหน สถานที่โลกอันนี้ก็มีแต่แผ่นดิน ไปที่ไหนอยู่ที่ไหนก็อยู่แผ่นดิน ใครสูงใครต่ำที่ไหนก็อยู่กับแผ่นดินด้วยกันนี้ ใครจะวิเศษวิโสไปที่ไหนถ้าไม่ทำจิตใจให้วิเศษวิโสด้วยธรรม ซึ่งเป็นของประเสริฐอยู่แล้ว และเป็นของคู่ควรกับใจ นอกนั้นไม่มีสิ่งใดคู่ควรกัน ใจเป็นภาชนะอันเหมาะสมอย่างยิ่งกับธรรม มีเท่านี้ ให้พากันสนใจตั้งหลักตั้งเกณฑ์ลงให้ดี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จิตใจอย่างน้อยให้ได้รับความสงบ ทำไมจะสงบไม่ได้ เราฝึกฝนอบรมใจด้วยธรรมเพื่อความสงบ พระพุทธเจ้าสงบได้ด้วยธรรม ระงับได้ด้วยธรรม ปราบกิเลสให้ฉิบหายวายปวงไปได้ด้วยธรรม พระสงฆ์สาวกที่เราถือเป็นสรณะ ท่านก็ทุกข์ลำบากเพราะการปราบกิเลส ด้วยอรรถด้วยธรรมเหมือนกัน การเข้าสู่สงครามจะไม่ทุกข์ได้อย่างไร ต้องทุกข์ด้วยกัน จนได้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ใจบริสุทธิ์พุทโธเหมือนพระพุทธเจ้า เป็นแต่เพียงไม่เรียกศาสดา ส่วนความบริสุทธิ์นั้นเสมอกัน เหมือนกันหมด แต่อำนาจวาสนาความลึกตื้นหนาบางนั้น ต่างกันกับพระพุทธเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม นตฺถิ เสยฺโยว ปาปิโย หาความยิ่งความหย่อนต่างกันไม่มีในความบริสุทธิ์ นั่นแลครูของพวกเรา สรณะของพวกเราท่านดำเนินอย่างนั้น ต้องยอมรับ คือรับมาเป็นคติเตือนใจตัวเอง อย่าให้ลดละท้อถอย
    <o:p></o:p>
    จิตอย่าให้ดิ้นไปไหนได้ เราเป็นผู้ฝึกจิต จะยอมให้จิตดิ้นเหยียบหัวเราไปต่อหน้าต่อตามีเหรอ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่ใช่นักปฏิบัติ กิเลสรุนแรงขนาดไหน เราก็รุนแรงขนาดนั้น เอ๊า เป็นก็เป็นตายก็ตาย กิเลสมันดื้อขนาดไหนไม่กินก็ได้ข้าวนี่ว่ะ มีแต่ท่าจะฝึกทรมานมัน เอาจนอยู่หมัดนั่นแหละสมใจ
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าท่านยกอุปมาเรื่องนายสารถีฝึกหัดม้า ม้ามีถึงสี่ประเภท ประเภท ที่หนึ่ง เยี่ยม เกือบจะพูดได้ว่าเป็นประเภทอาชาไนย ฝึกได้ง่าย ใช้ได้ประโยชน์มากมาย รวดเร็วทันใจ ประเภทที่สอง ลดกันลงมา ประเภทที่สาม ฝึกยากพอประมาณ แต่ไม่ได้หนักหนานัก พอฝึกได้ทำประโยชน์ได้ ประเภทที่สี่ ไม่ได้เรื่องเลย ต้องฆ่า นายสารถีว่าเพราะไม่เกิดประโยชน์
    <o:p></o:p>
    เราตถาคตก็เหมือนกัน พอถึงตอนสุดท้ายก็บอกเราตถาคตก็ฆ่า เอ๊ะ พระพุทธเจ้าฆ่าได้ยังไง พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาไม่ได้ไปฆ่าสัตว์ ก็ชักสะพานยังไงล่ะ ท่านว่า ปทปรมะ มืดแปดทิศแปดด้านเหมือนไม่มีหูมีตา ใจก็มีแต่ความมืดบอดอยู่ภายในนั้น จะสอนให้เป็นอรรถเป็นธรรม รู้อรรถรู้ธรรม รู้บาปบุญคุณโทษได้อย่างไร ก็เหมือนกับคนตายแล้วทั้งๆ ที่มีชีวิตอยู่นั้นแล นั้นจึงชักสะพานไม่สอนให้เสียเวลาและอรรถธรรมไปเปล่าๆ อ๋อ ฆ่าอย่างนั้น เทียบกันกับสารถีฝึกหัดม้าสี่ประเภท
    <o:p></o:p>
    เราไม่ใช่ประเภทปทปรมะนี่นา เป็นประเภทที่ฝึกฝนอบรมได้ แต่เอาให้หนักหน่อย ให้มันได้ ฝึกเรา เราฝึกคนอื่นว่าคนอื่นยังมีเหตุมีอะไรๆ ภายในใจ ตัวเราเองผู้ว่าก็ยังมีความเกรงอกเกรงใจกันบ้าง เราเองฝึกทรมานเรานี้ เอาให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างใจหวังนั้นเลย ไม่ได้เกรงอกเกรงใจตัวเอง เพราะเห็นว่ากิเลสคือตัวแสบที่ขวางตัวเองต่างหาก ไม่ใช่เราขวางเรา กิเลสขวางเรา เราต้องสู้ เอาให้จริงให้จังให้พังทลาย จะได้ชมตัวเองว่าเก่งจริง สมนามว่านักบวชคือนักรบ
    <o:p></o:p>
    ถ้าลงได้ตั้งท่าสู้กันขนาดนั้นแล้ว ยังไงกิเลสก็ต้องหมอบให้เห็น ใจสงบจนได้ เห็นไหมเขาอยู่ในโลก เคยพูดให้ฟังเสมอ โลกนี้หมุนไปตามสิ่งที่ชอบใจทั้งนั้นแหละ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส เป็นสิ่งที่โลกต้องการและรักชอบที่สุดไม่มีวันอิ่มพอ และโลกก็ได้รับความฉิบหายล่มจม และบ่นเพ้อละเมอกันอยู่ทุกหย่อมหญ้า เพราะสิ่งเหล่านี้เองทำพิษน่ะ แล้วเราจะเอาคุณค่าอะไรจากสิ่งเหล่านี้
    <o:p></o:p>
    ส่วนผู้เห็นธรรมแล้วไม่มีใครที่จะบ่นนอกจากออกอุทานเท่านั้น อย่างพระมหากัปปินท่านว่า สุขํ วต สุขํ วต สุขหนอๆ นี่ท่านเคยเป็นพระมหากษัตริย์มาแต่ก่อนเสด็จออกบวชจนได้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้วท่านเปล่งอุทานว่า สุขํ วต สุขํ วต สุขหนอๆ นั่น แต่ก่อนท่านอยู่ในพระราชวังไม่เคยเห็นออกอุทานว่า สุขหนอๆ เวลาเสด็จออกจากสิ่งพัวพันทั้งหลายและสลัดภายในใจออกอีก จนกลายเป็นใจที่บริสุทธิ์แล้ว อยู่ไหนก็สุขหนอๆ สุขํ วต สุขํ วต
    <o:p></o:p>
    เราก็เอาให้ได้ซิ อยู่ที่ไหนก็ สุขํ วต ซิ ท่านมหากัปปินมิได้ผูกขาดนี่ นี่อยู่กับผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตั้งใจประพฤติปฏิบัติด้วยสติปัญญาอย่านอนใจ นี่แลทางแห่ง สุขํ วต อยู่ตรงนี้ กิเลสจะตายไปด้วยความเพียร หรือกิเลสจะค่อยหมดไปด้วยความเพียรไม่ได้หมดไปด้วยสิ่งใด ให้ทำความเข้าใจกับตนไว้เสมอ อย่าอ่อนแอในการปฏิบัติ<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    สมาธิที่เคยได้ยินแต่ชื่อก็จะปรากฏขึ้นที่ใจ มีความสงบเย็นภายในใจ มีความแน่นหนามั่นคงขึ้นที่ใจ ปัญญาเมื่อมีความสงบพอเป็นปากเป็นทางเป็นบาทเป็นฐานแล้ว ให้พิจารณาอย่าขี้เกียจ อย่าติดสุขในสมาธิ อย่าเข้าใจว่าสมาธิจะทรงคุณค่าให้เป็นของเลอเลิศประเสริฐ เพียงแต่ความสงบตะล่อมกิเลสเข้ามาสู่จุดรวม เพื่อง่ายแก่การถอดถอนด้วยปัญญาเท่านั้นเอง ถ้าไม่ฆ่ามันก็เพ่นพ่านไปได้อีก เมื่อตะล่อมเข้ามาสมควรแล้วก็คลี่คลายออกไปฆ่าทีละตัวสองตัว เหมือนกับเราไล่สัตว์เข้าคอก แล้วจะฆ่ามันทีละตัวสองตัว ฆ่าเรื่อยๆ ฆ่าจนหมดคอกก็ได้เมื่อไล่เข้าคอกแล้ว นี่สมาธิเหมือนกับไล่สัตว์เข้าคอก คือ ไล่กิเลสเข้ามาสู่ความสงบ แล้วคลี่คลายออกไปด้วยปัญญา แยกนั้นแยกนี้ออกพิจารณา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ดูให้เห็นอนิจฺจํเต็มร่างกายเต็มจิตใจทำไมจะไม่รู้ รูปทั้งรูปนี้มีอาการใดที่ไม่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เห็นเป็นพื้นอยู่ชัดๆ อย่างนี้ จะค้านความจริงไปไหน อนิจฺจํ แปรสภาพอยู่ตลอดเวลา ทุกขํ ใครเป็นทุกข์ ก็คือผู้แบกผู้หามอยู่นี้แหละ เวลานี้มันเป็นทุกข์ อะไรจะเป็นทุกข์ นอกจากผู้แบกผู้หามเป็นทุกข์ คือ หัวใจเราเอง เห็นโทษแห่งความหลงของตัวเองที่ไปแบกไปหามแล้วเกิดทุกข์ขึ้นมา อนตฺตา ปราศจากคำว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา เป็นของเราของเขาไปหมดแล้ว ภายในร่างกายก็ดี ภายในจิตเจตสิกธรรมที่แสดงออกมาก็ดี ล้วนแล้วแต่ตัว อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา หากหลงไปตามมัน เจตสิกธรรมที่แสดงมานี้ก็เป็นตัวสมุทัย ก่อตัวเป็นพิษเป็นภัยขึ้นมาแก่เรานั่นแหละ
    <o:p></o:p>
    ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญเข้าไป ให้เห็นเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ชัดแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ระงับดับไปๆ ดับไปเรื่อยๆ ไม่พ้นจากความจริง ขอให้พิจารณาหยั่งสติปัญญาลงไปถึงพื้นฐานแห่งความจริง คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เถิด นี้เป็นความจริงซึ่งเป็นพื้นฐานอยู่ภายในร่างกายจิตใจของเรา ในขันธ์ทั้งห้านี้มีอันนี้เป็นพื้นฐานอยู่ตลอดกาล ที่จะต้องพิจารณาให้เห็นตามความจริงของมัน เรียกว่า ปัญญา
    <o:p></o:p>
    หรือจะพิจารณาเรื่องอสุภะ ก็เอาให้มันเห็นชัดๆ ซิ ในตัวของเรานี้ มันมีชิ้นไหนเป็นของดีที่หอมหวนชวนให้ดม มีที่ตรงไหน แม้แต่ผิวหนังมันก็เหม็นจะว่าไง แล้วเยิ้มเข้าไปข้างในมีอะไรอีก หนังมันบางยิ่งกว่ากระดาษ กระดาษยังหนากว่าผิวหนังที่หลอกตาเสียอีก พิจารณาเข้าไปซิ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา แล้วยังไม่แล้ว ดูความอสุภะอสุภัง ป่าช้าผีดิบ ไม่ทราบว่าเป็ด ว่าไก่ ว่าหมู ว่าวัว ว่าควาย ว่าอะไร เต็มอยู่ในนี้หมดนั่นแหละ ในป่าช้าผีดิบนี้ มันรวมอยู่ตรงป่าช้าผีดิบนี้ เรายังไม่ตาย เอ๊า พวกนั้นตายแล้ว เข้ามาฝังอยู่ในนี้ เมื่อเราตายแล้วก็เป็นป่าช้าผีตาย ดูให้ชัดซิ สติปัญญามียอมอับจนอยู่ทำไม
    <o:p></o:p>
    แยกส่วนแบ่งส่วนดูให้มันชัด จิตหมุนติ้วๆ อยู่กับงานที่ทำ อย่าให้ออกไปเพ่นพ่าน บังคับให้ได้ ตายก็ตาย ในขณะที่จะประกอบความเพียรก็เหมือนกับขึ้นเวที เผลอไม่ได้เดี๋ยวถูกน็อก ชักหรือตายไปเลยไม่เพียงแต่สลบ อันนี้ก็ทำอย่างนั้นนักปฏิบัติ อนิจฺจํ ก็ให้เห็นอย่างถึงใจ ดูข้างนอกก็เหมือนกัน ทุกฺขํ อนตฺตา ดูอันนี้กับข้างนอกก็เหมือนกัน ไม่เห็นมีอะไรผิดกัน เพราะโลกนี้เป็นโลก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา คำว่าอสุภะอสุภัง พิจารณาดูเราแล้วก็เหมือนกันอีก<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    โลกวิทูเป็นคุณสมบัติของสาวกด้วย โลกวิทู คือ รู้แจ้งเห็นจริงภายในภายนอก เพราะเป็นสภาพเหมือนกันหมด อย่างนี้เรียกว่า โลกวิทู มีได้ทั่วไปในสาวกทั้งหลาย คือ เป็นคุณสมบัติของสาวกด้วย ส่วนคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าไม่มีแต่เพียงเท่านี้ ยังหยั่งทราบความจริงของสิ่งทั้งหลายและสัตว์ทั้งหลายทั่วโลกธาตุอีกด้วย โลกวิทู มีหลายขั้นหลายตอน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เราไม่ต้องคิดไปโน้นไปนี้กว้างขวางให้เสียเวล่ำเวลา หน้าที่ของเรามีแต่จะให้เป็นโลกวิทู รู้แจ้งเห็นจริงในธาตุขันธ์ที่มีอยู่ภายในตัว ที่ถูกกิเลสผูกมัดรัดรึงอยู่ด้วยอุปาทาน เพราะความลุ่มหลงนี้เท่านั้น โดยไปสำคัญมั่นหมายเอาเอง ทางท่านบอกไว้ไม่ยอมไป ชอบปลีกชอบแวะ ชอบปีนสองข้างทาง หกล้มก้มกราบขนาดไหนก็ยังไม่ยอมถอย ไม่ยอมไปตามทาง นั่นแหละที่เรียกว่า เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา ฉะนั้นต้องฝืนมัน ต่อสู้มันลงไปซิ ถอยเอาประโยชน์อะไร
    <o:p></o:p>
    เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องธาตุเรื่องขันธ์แล้ว กิเลสมันจะไปไหน กิเลสเกิดขึ้นจากความสำคัญ เมื่อแก้ความสำคัญด้วยความจริงแล้ว มันก็ถอนตัวไปๆ ฟาดกันให้สะบั้นหั่นแหลกลงไป กิเลสถอนเข้าไปไหน ก็เข้าไปหาจิตดวงเดียวเท่านั้นแหละ เมื่อมันหมดที่ยึดที่เกาะเข้าไปโดยลำดับแล้ว เพราะอำนาจของสติปัญญาตีตะล่อมเข้าไปๆ วงแคบเข้าไปๆ สุดท้ายมันก็ไปกองอยู่ในจิต ปล่อยนิวเคลียร์หย่อนลงในจิตอีกซิ สติปัญญาอัตโนมัติอย่างไรล่ะ ธรรมนิวเคลียร์
    <o:p></o:p>
    นิวเคลียร์ หมายถึงอะไร ปรมาณู หมายถึงอะไร จะทำลายข้าศึกวาระสุดท้ายเอาชัยชนะ ก็คือ มหาสติ มหาปัญญา ละซิ หยั่งลงไปตรงนั้นให้กิเลสขาดสะบั้นแตกกระจายไปหมด ทีนี้ภพชาติอยู่ที่ไหน เมื่อกิเลสซึ่งเป็นตัวภพ เป็นตัวให้ก่อภพก่อชาติ ถูกทำลายลงไปหมดด้วยอำนาจของอาวุธที่ทันสมัยได้แก่ มหาสติ มหาปัญญา แล้ว ข้าศึกก็หมดเท่านั้นแหละ นี่ละงานของพระ
    <o:p></o:p>
    งานของผู้ต้องการพ้นจากกองทุกข์ในวัฏสงสาร ไม่ต้องมาเกิดแก่เจ็บตายอีก คือ งานการประกอบความพากเพียร นับแต่ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ที่พระอุปัชฌายะมอบให้แต่เบื้องต้นจนถึงวาระสุดท้าย ตีแตกกระจายไปหมด งานนั้นแตกแขนงไปเรื่อยๆ ตามความฉลาดความสามารถของตัวเอง จะทำงานให้ได้มากและกว้างขวางขนาดไหนได้ทั้งนั้นเมื่อสติปัญญามีแล้ว เอาจนกระทั่งไม่มีอะไรเหลือเลย สิ้นสุดวิมุตติพระนิพพานภายในจิตใจ นั่นแหละเรียกว่าเสร็จงาน งานได้ทำสำเร็จแล้ว ไม่ต้องทำเพื่อการถอดถอนกิเลสตัวใดอีก นี่แลงานของพระ ให้พากันจำให้ถึงใจ ว่างานนี้คืองานแท้ของพระเรา
    <o:p></o:p>
    อย่าไปคิดว่าบวชมาแล้วได้ไปก่อนั้นสร้างนี้ไว้เป็นที่ระลึก สร้างวัดสร้างวาแล้วยังไม่แล้ว สร้างพระพุทธรูปปฏิมากร สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร สร้างศาลาโรงธรรม สร้างเจดีย์มหาเจดีย์ยุ่งไปหมด ก่อกวนบ้านเมืองยุ่งไปหมดด้วยเงินด้วยทอง ว่าเป็นงานเนื้องานหนังของพระ ว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป นั่นมันเป็นงานของประชาชนเป็นส่วนใหญ่จะขวนขวายกัน นั่นเป็นมรรคขั้นหยาบสำหรับประชาชนที่อยู่ในฐานะจะทำได้ เพราะเกี่ยวกับสมบัติเงินทอง ส่วน สัมมาสังกัปโป ขั้นละเอียดที่จะฆ่ากิเลสภายในจิตใจ เลยกลายเป็น มิจฉาสังกัปปะ ในมรรคส่วนละเอียดไปเสียโดยไม่รู้สึกตัว เพราะความกังวลวุ่นวาย ขยายกิเลสให้ออกวิ่งเพ่นพ่านเข้าบ้านเข้าเมือง ก้นไม่ติดพื้นกุฎีแต่ละวันเวลาที่ผ่านไป ย่นเข้ามาซิ ถ้าอยากทราบที่หลบซ่อนของกิเลสด้วยความฉลาดตามองค์มรรคจริงๆ <o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เห็นอะไรเห็นชอบ ให้เห็นชอบตามงานที่ท่านสอนไว้ซิว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ มันคืออะไร หยั่งลงไปทั้ง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา หยั่งลงไปทั้งอสุภะอสุภัง ให้เห็นชอบตามที่ท่านสอนไว้นี้ซิ งานเพื่อความเห็นชอบอย่างแท้จริงอยู่ตรงนี้ก่อนอื่น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สัมมาสังกัปปะ ความดำริเพื่อออกจากเครื่องผูกพัน อะไรเป็นเครื่องผูกพัน ก็ความหลงสิ่งเหล่านี้แหละเป็นเครื่องผูกพัน พิจารณาให้เข้าใจด้วยปัญญาแล้วมันถอนตัวเองโดยไม่ต้องบังคับขับไสแหละ
    <o:p></o:p>
    สัมมากัมมันตะ เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิภาวนาบ้าง อยู่ในท่าใดอิริยาบถใด มีแต่การทำงานด้วยความมีสติ เพื่อการถอดถอนกิเลสโดยถ่ายเดียว นั่นแหละสัมมากัมมันตะ
    <o:p></o:p>
    สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ด้วยอารมณ์อันเป็นธรรมของจิต อย่าไปคิดอารมณ์ที่เป็นพิษเป็นภัยขึ้นมาเผาลนตนเอง มีแต่อารมณ์แห่งอรรถแห่งธรรมเป็นเครื่องถอดถอนกิเลส เป็นเครื่องเลี้ยงจิตใจให้มีความรื่นเริงบันเทิง มีความสงบเย็นใจ มีความสง่าผ่าเผย มีความฉลาดรอบตัว ไม่นำอารมณ์อันเป็นพิษเข้าสู่ใจ นั่นแลสัมมาอาชีวะแท้
    <o:p></o:p>
    สัมมาวายามะ เพียรชอบ ท่านก็บอกว่าเพียรในที่สี่สถาน เพียรละบาป บำเพ็ญบุญ เพียรป้องกันบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพียรละกิเลสที่มันเกิดขึ้นแล้วให้มันดับไป แล้วอบรมธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับลำดา ไม่ให้เสื่อมเสียไป ปธาน ความเพียรสี่อย่าง ท่านก็พูดไว้แล้ว
    <o:p></o:p>
    สัมมาสติ ระลึกอยู่ที่ไหน ท่านบอก ถ้าจะไปทางสติปัฏฐานสี่ก็ระลึกอยู่ในกาย กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขุ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ, พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ, สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา กายสฺมึ วิหรติ, วยธมฺมานุปสฺสี วา กายสฺมึ วิหรติ,สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา กายสฺมึ วิหรติ.พิจารณากายในกายไปเรื่อย กายนอกก็มี กายในก็มี พิจารณาให้เห็นกายนอกก็ดี เห็นกายในก็ดี พิจารณาเห็นกายในกายของตัวเองก็ดี ไล่ลงไปโดยลำดับๆเมื่อเห็นแล้วก็อยู่ อยู่ด้วยความสงบสุขๆ นี่เรียกว่าพิจารณากายในกาย
    <o:p></o:p>
    ในบทสุดท้ายท่านย่นเข้ามาว่า อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ, ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปติสฺสติมตฺตาย. อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ. เอวํ โข ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ.ท่านพูดถึงเรื่องสติหยั่งลงไหน หยั่งลงกาย ถ้าจะพิจารณากายพิจารณาจริงๆ ให้มีสติรู้อยู่กับกายเท่านั้น สติควบคุมอยู่กับกายนี้เท่านั้น จะแยกไปส่วนใดอวัยวะใดแง่ใดของกาย ให้มีสติสืบเนื่องไปโดยลำดับ
    <o:p></o:p>
    แล้วพิจารณาเวทนาก็เหมือนกัน ให้สติติดแนบไปกับงานเลย ให้มีความรู้อยู่จำเพาะกับเวทนาเท่านั้น ไม่ให้แยกให้แยะไปไหน
    <o:p></o:p>
    เรื่องธรรมเรื่องจิตก็เหมือนกันกับกาย เวทนา ไม่ผิดกันอะไรเลย ลงอันเดียวกัน อตฺถิ กาโยติ, อตฺถิ เวทนาติ, อตฺถิ จิตฺตนฺติ, อตฺถิ ธมฺมาติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ. เหมือนกันนั่นแหละ ลงอันเดียวๆ กันหมด คือ สติให้ระลึกอยู่ในสถานที่นี้ สถานใดสถานหนึ่งก็ตาม ให้จริงจังในสถานที่พึงเป็นที่ระลึกของสติ นี่เรียกว่าระลึกชอบและถูกต้องด้วย หาความผิดเพี้ยนไปไม่ได้เลย
    <o:p></o:p>
    หรือจะพิจารณาถึงเรื่อง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มันก็อยู่ในวงสติปัฏฐานสี่อันเดียวกัน พูดอะไรก็เหมือนกัน เหมือนกับดูข้างหน้าข้างหลังของคนๆ เดียวนั่นแหละ ข้างหลังก็ของคนๆ นั้นเสีย ข้างหน้าก็ของคนๆ นั้นเสีย ข้างซ้ายข้างขวาก็ของคนๆ นั้นเสีย คนๆ เดียวนั่นแหละ วงสัจธรรมเหมือนกัน พิจารณาให้จริงจัง สำคัญอยู่ที่สติผู้ตามรับรู้งานนั้นๆ นี่แต่ก่อนก็ไม่เหมือนทุกวันนี้ มาพิจารณามันย้อนไปทุกแห่งทุกหนนั่นแหละตามประสีประสาของเรา นี่อ่านดู สติปัฏฐาน นี่แล้วกำหนดตาม แหมจิตมันคล้อยตาม
    <o:p></o:p>
    ตามความรู้สึกของผม ผมพูดตามความจริงทางการปฏิบัติมา อนัตตลักขณสูตร จิตใจยังขัดกัน มันเป็นจริงๆ ผมจึงทำความเข้าใจเอาว่า ผู้รจนานี้อาจตัดออกเสียตอนใดตอนหนึ่ง หรือจะว่าเทศน์ซ้ำๆ ซากๆ ปกิณกะอะไรอย่างที่ท่านว่าซ้ำๆ ซากๆ เลยขี้เกียจ ท่านย่นเอาย่อๆ เสียบ้าง
    <o:p></o:p>
    จะพูดไปตามแถว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็ไม่เหนือจิต ต้องไปเข้าจิตจนได้อยู่โดยดี รูปสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ, เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ, สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ, สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ, วิญฺญาณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ. เบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ. ย่อมคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ญาณความรู้แจ้งว่าจิตหลุดพ้นแล้วย่อมมี
    <o:p></o:p>
    เวลาเรามาเทียบมาพิจารณาตามนี้ มันไปไม่ได้ เมื่อไปถึงแค่ขันธ์ห้า คือรู้เท่าขันธ์ห้าพูดง่ายๆ รู้เท่าในขันธ์ห้า คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือเบื่อหน่าย ก็หมายถึงความเห็นโทษของมันอย่างชัดเจนนั้นเอง จะว่าการพิจารณานั้นเห็นชัด จากเห็นโทษแล้วก็เห็นเป็นความจริงแต่ละอย่างๆ แล้ว มันยังไม่แล้ว
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    การพิจารณาเห็นความจริงแต่ละอย่างๆ ไม่ยึดถือแล้ว มันวิ่งเข้าไปถึงใจ ไปยึดอยู่ในใจจนได้ เมื่อกิเลสวิ่งเข้าไปอยู่ที่ใจ ความยึดมั่นถือมั่นมันยังมีอยู่ที่ใจนั่นอีก จึงต้องพิจารณาฟาดฟันลงในจิตอีกทีหนึ่ง จนกิเลสในจิตพังทลายลงไปแล้วมันถึงหมดปัญหา นี่ละการปฏิบัติของเรามันขัดตรงนี้ เราเคยแย้มๆ ถามพวกปฏิบัติทั้งหลาย พูดไปแบบสุ่มๆ เดาๆ เราขี้เกียจพูดและฟังเลยหยุดเสีย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่หาที่ค้านไม่ได้ก็คือ อาทิตตปริยายสูตร นี่เราค้านไม่ได้เลย การปฏิบัติเวลาเอาสูตรนี้มาเทียบเคียงกันแล้ว กราบสนิท คือมันลงได้อย่างสนิท อะไรๆ ท่านก็ว่าไปอย่างละเอียด จกฺขุสมึปิ นิพฺพินฺทติ, รูเปสุปิ นิพฺพินฺทติ, จกฺขุวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ, จกฺขุสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ, ยมฺปิทํ จกฺขุสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ, สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา, ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ.คือเบื่อหน่ายในตา แล้วก็เบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายในวิญญาณที่เกิดจากนี้ เบื่อหน่ายในสัมผัส ในเวทนา สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุข ไม่ทุกข์ก็ดี นี่เราจะสรุปไปเลย คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นคู่ๆ กันไป
    <o:p></o:p>
    เมื่อเบื่อหน่ายในตาก็เบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายในหูก็เบื่อหน่ายในเสียง ออกไปอย่างนี้เลย ตลอดถึงความสัมผัสที่เกิดเวทนา เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นเฉยๆ เบื่อหน่ายเป็นลำดับๆ สุดท้าย มนสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ นั่นตรงนี้แหละเบื่อหน่ายในจิต ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ที่เกิดภายในจิต ออกจากนั้นก็เบื่อหน่ายทั้งเวทนาสุขทุกข์ไปเรื่อยๆ จนไม่มีอะไรเหลือเลย
    <o:p></o:p>
    เบื่อหน่ายในจิตแล้วยังเบื่อหน่ายสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับจิต ทั้งจิตแสดงออกมาเป็นผล คือเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นเฉยๆ ออกจากนั้นพอเสร็จแล้วก็ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ แล้วก็เรื่อยไปจนตลอดสาย วิราคา วิมุจฺจติ, วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ, ขีณา ชาติ, วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ, ไปเรื่อย อันนั้นเหมือนกัน แต่สำคัญไปลงที่จิตน่ะซิ
    <o:p></o:p>
    จิตเป็นของสำคัญ เป็นที่รวมของกิเลสทุกประเภท จะพิจารณาประเภทใดก็ตาม ลงไปอยู่ที่นั่นหมด หลักปฏิบัติเป็นอย่างนี้ นี่เราพูดจริงๆ เราพูดอย่างอาจหาญ เพราะเราปฏิบัติมาอย่างนั้น เวลาปฏิบัติมันค้านกันที่ตรงไหน มันแยกกันที่ตรงไหน เราพูดได้ตามความแยก ส่วนถูกหรือผิดแล้วแต่ใครจะนำไปพิจารณา
    <o:p></o:p>
    แต่สำหรับ อนัตตลักขณสูตร เราเป็นความไม่สนิทใจอย่างนั้นแหละตามความรู้สึกของเรา เรายกไว้เสีย ก็ไม่เห็นจะได้เรื่องได้ราวอะไร อันไหนที่มันลงกันอยู่แล้วก็ยอมรับกันไป เช่น อาทิตตปริยายสูตร นี้ลงกันร้อยเปอร์เซ็นต์หาที่ค้านกันไม่ได้ ตั้งแต่ต้นจนอวสาน มนสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ, ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ เรื่อย..มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ,มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ, ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ,สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา, ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ.นั่น รวมยอดมาก็เบื่อหน่ายเหล่านี้หมด
    <o:p></o:p>
    คำว่า ตสฺมึ นี้หมายถึง โยคเอาตัวที่พูดมาแล้วนั้นมาเป็นสรรพนาม โยคเอาว่าเขา คำเดียวนั้น เช่น นาย ก, นาย ข, นาย ค, นาย ง, พอสุดท้ายก็เขาเหล่านั้นหรือเขาเท่านั้น นี่ก็เหมือนกัน รวมปุ๊บปั๊บ ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ลงหมด นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ, ตลอดสายเลย
    <o:p></o:p>
    นี่เวลาปฏิบัติของเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ ก็เคยพูดให้หมู่เพื่อนฟังแล้วนี่ ต่อมา พิจารณาอะไรก็พิจารณาไม่ได้เรื่อง รูปพิจารณาก็ไม่ได้เรื่อง อสุภะอสุภังเคยพิจารณาเสียจนแหลกกระจัดกระจาย ชำนิชำนาญคล่องแคล่วแกล้วกล้า พิจารณาไปๆ เลยหมด อสุภะก็เลยหมดไม่มีเหลือที่จะพิจารณา ทีแรกมันไม่หมด พอย้อนเข้ามาถึงภาพภายในนี้แล้ว อสุภะภายนอกมันก็หมด ภายในมันก็หมด มันเลยว่าง จะพิจารณาอะไรมันก็ไม่ทัน มันดับไปเสียก่อน ถึงทันมันก็ไม่สนใจที่จะพิจารณา มันเป็นอย่างนั้น อะไรๆ มันก็ว่างไปหมดในร่างกาย และหมดความสนใจที่จะพิจารณาร่างกายอีกต่อไป<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนจริงย่อมถึงธรรมของจริง

    สุดท้ายกิเลสก็ไปอยู่ที่จิต ก็ไปหลงอยู่ที่จิต งงอยู่ที่จิต สงวนอยู่ที่จิต จะว่าแบกก็แบกหามอยู่ที่จิตไม่รู้ตัว รักสงวนจิต มีอะไรมาแตะต้องไม่ได้ ความสง่าผ่าเผยก็ตัวนั้นแหละ ตัวรักสงวนก็อยู่นั้นแหละ อย่างอื่นมันพิจารณาหมดแล้ว ปล่อยไปหมดไม่สนใจกับอะไร แต่ตรงจิตนั้นมันไม่ปล่อย มันยึดที่จิต
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ปล่อยนอกแล้วก็มายึดใน ปล่อยนอก รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส เป็นนอกอันหนึ่ง ปล่อยนอก คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เป็นนอกอันหนึ่ง แล้วมายึดภายในซึ่งเป็นตัวการสำคัญ คือยึดใจ นั่นกิเลสเข้าไปรวมอยู่ในนั้น หลอกให้ยึดอีกแล้ว ใครจะว่าอวิชชาไม่ละเอียดเหรอพิจารณาดูซิ ละเอียดขนาดไหนอวิชชา นั้นละตัวการสำคัญจริงๆ ทำให้หลงไม่ว่าสติปัญญาขนาดไหน มันจะต้องงงไปเสียก่อน แต่หลงไม่นานเท่านั้นแหละ เมื่อฟาดฟันลงไปตรงจุดนั้นพังทลายลงไปแล้ว ทีนี้ไม่เห็นว่าอะไรมีอะไรที่จะให้พิจารณา มีอะไรที่ตกค้าง มีอะไรที่ให้สงสัย ไม่มีเล๊ย
    <o:p></o:p>
    จะแยกไปถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้านิพพานกี่ปีกี่เดือนแล้วคืออะไร นิพพานอยู่ที่ไหน ตัวนิพพานนั้นคืออะไร มันก็หมดปัญหาโดยประการทั้งปวง พระสงฆ์สาวกจะกี่หมื่นกี่ล้านองค์ก็ไม่มีปัญหาอะไร พอเข้าถึงตรงนั้นแล้วเท่านั้น เป็นอันว่าลบไปหมด เรื่องความสำคัญมั่นหมายต่างๆ ไม่มีอะไรเหลือ ขึ้นชื่อว่าสมมุติในโลกนี้เข้าครอบจิตนั้นไม่ได้ นอกจากความจริงล้วนๆ ที่เป็นความจริงอันวิเศษเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    จะว่าอยู่ก็อยู่ จะว่าไปก็ไป ไม่ค้านใคร นี่แลผลของงานที่ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจัง ไปไหนไม่ได้ต้องมาลงตรงนี้ ฉะนั้นจงเชื่อธรรม อย่าเชื่อกิเลส เราเคยเชื่อกิเลสมากี่กัปกี่กัลป์แล้ว ไม่เฉพาะอัตภาพนี้เราก็เคยเชื่อมันมาแล้ว ความโลภมันเคยพาใครดี ความโกรธ ความหลงมันเคยพาเราได้ดิบได้ดีอะไรบ้าง ราคะตัณหามันพาเราได้ดิบได้ดีอะไรบ้าง การแก้สิ่งเหล่านี้ถึงจะยากลำบากขนาดไหนก็ไม่ถึงตายหรอกน่ะ พระพุทธเจ้าไม่เห็นตาย สาวกไม่เห็นตาย ทำไมเราจะตายคนเดียว มีป่าช้าแต่เราคนเดียวในเวลาประกอบความเพียรนี้หรือ มันเป็นเพราะเหตุไร ซักเจ้าของเข้าไปซิถ้าเป็นนักปฏิบัติ นักสติปัญญาที่จะค้นคว้าหาความจริง ต้องขุดต้องค้นเข้าไป ให้เป็นอุบายวิธีของแต่ละท่าน ๆ ที่พูดนี้เพียงแต่หยิบยกไม้ชิ้นใหญ่หรือไม้ทั้งดุ้นไม้ทั้งท่อนให้ไปเจียระไนเอง ให้ไปเลื่อย ไปไสกบลบเหลี่ยมกันเอง นี่ยกให้เท่านั้น

    เอาให้จริงให้จัง มรรคผลนิพพานคอยอยู่กับหัวใจทุกคนนั่นแหละ ไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจเป็นแต่เพียงตัวสมุทัยนี่มันครอบไว้หมด มันไม่ให้เห็นตัวมรรคผลนิพพานที่อยู่ภายในนั้น มันปิดม่านไว้หมดเสีย หุ้มห่อไว้หมดเสียไม่ให้เห็น หลอกเราเรื่อยมา อันไหนจะเป็นไปตามมัน มันหลอกเราไปลากจูงเราไป จงเข้าใจให้ดีนะ อย่าเสียกลให้กิเลสอีก

    <o:p></o:p>
    เอาเท่านี้ก่อน
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด


    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>


    เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๒



    <o:p></o:p>


    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ผู้ทรงประเพณี อันเป็นทางดำเนินเพื่อความพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้าไว้ได้คงเส้นคงวาไม่อ่อนข้อย่อหย่อน ต้องเป็นผู้เดินตามทางศาสดา ไม่ปลีกไม่แวะออกนอกลู่นอกทาง เฉพาะอย่างยิ่งงานจิตตภาวนาอันเป็นงานชั้นเอกของศาสดาและสาวกทั้งหลาย ต้องถือเป็นงานสำคัญมากยิ่งกว่างานอื่นใด นั่งก็ให้เห็นโทษของกิเลสภายในตัวอยู่เสมอ ยืน เดิน นอน ขบฉัน ตลอดอาการเคลื่อนไหวทุกสิ่งทุกอย่างให้มีความรู้สึกคือสติ อันเป็นลักษณะของผู้เห็นภัยอยู่เสมอ นั่นแหละเป็นความถูกต้อง เพราะฉะนั้นจึงได้พูดกับท่านสิงห์ทองว่า มันเป็นยังไงกันนี่ จึงพากันซดซ้ายซดขวาอย่างสนุกเพลิดเพลิน นี่ไม่ใช่พากันลืมครูอาจารย์และธรรมไปหมดแล้วหรือ มองดูถ้วยวางเป็นแถวกันอย่างนี้ นับแต่พระเถระเถโรลงมาจนถึงเณรหัวเท่ากำปั้น ไม่มีเว้นที่ไม่ซดกันน่ะ ไปเอาแบบไหนมาใช้ จึงวางไว้เป็นถ้วยๆ แล้วซดกันเป็นแถวๆ อย่างนี้ อร่อยดีไหม รสน้ำแกงพอจะกล่อมลิ้นให้เคลิ้มหลับในขณะกำลังนั่งฉันนั่งซดเพลินๆ ได้ไหม ลิ้นนับว่าเก่งมากธรรมตามไม่ทันเลย
    <o:p></o:p>
    เราเคยอยู่กับท่านอาจารย์มั่นมาแล้วด้วยกัน ทำไมจึงต้องให้เป็นอย่างนี้ เข้าใจว่าท่านอาจารย์มั่นโง่ไม่ฉลาดเหมือนเราอย่างนั้นหรือ นั่นมันโง่ต่อรสของตัณหา โง่ต่อลิ้นต่อปากต่อท้องต่างหากนี่ นั่นคือความเพลินในรส นั่นคือความไม่เห็นภัยตาม ปฏิสงฺขา โยนิโส ปิณฺฑปาตํ ปฏิเสวามิฯ ที่ท่านตีไว้ขนาบไว้นี่ นั่นคือความติดรสติดชาติ ความเห็นแก่ความเอร็ดอร่อยอันเป็นข้าศึกต่อธรรมต่างหาก เรื่องธรรมแล้วละเอียดสุขุมมากสุดจะกล่าวได้ถูกต้องกับความจริง นี่เราอย่าเข้าใจว่าเป็นธรรมดาของโลกนิยม นอกจากจะเป็นธรรมดาของผู้ดื้อด้านสันดานเลวไม่ยอมฟังครูอาจารย์ผู้มีธรรมนิยมเต็มหัวใจเท่านั้น อย่าพากันเอากิเลสมาแข่งธรรมอวดครูอาจารย์ จะเป็นพระสันดานดื้อแตกปลอกแหวกแนวแบบสัตว์ไม่มีเจ้าของและขึ้นเขียงได้อย่างง่ายๆ
    <o:p></o:p>
    อย่างท่านอาจารย์มั่นท่านแสดงออกมา เราซึ้งใจมากและฝังลึกไม่มีวันถอน ยิ่งซึ้งเข้าไปทุกวัน ท่านว่า ผมไม่ทราบเป็นยังไง พอเอาช้อนตักลงไปในบาตรมันขวางในจิตทันทีเลย นั่นฟังซิคำว่า “ขวางในจิต”จิตท่านอาจารย์มั่นกับจิตเรามันเป็นยังไงพิจารณาซิถ้าอยากทราบความจริง จิตท่านเป็นจิตไม่มีกิเลส สิ่งที่เป็นกิเลสกิริยาอันเป็นกิเลสแทรกเข้าไปท่านรู้ทันที การทำอย่างนั้นมันไม่ใช่ลักษณะของความเห็นภัย ท่านว่า มีอะไรก็ฟาดมันลงไปในบาตรใบเดียวนั้น มีมากมีน้อยไม่สนใจกับอาหารดีไม่ดี มีมากมีน้อยเท่าไรก็ฉันไปตามเรื่องของธาตุของขันธ์ พอยังชีวิตให้เป็นไปเท่านั้น ไม่ฉันเพราะอำนาจปากลิ้นฉุดลากไป นั่นจึงชื่อว่าผู้เห็นภัย
    <o:p></o:p>
    ระหว่างคำพูดของท่านผู้ไม่มีกิเลสพูด กับความรู้สึกของเราการกระทำของเราที่มีกิเลส มันขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลาดังที่รู้ๆ เห็นๆ อยู่นี่แล จงพากันฟังอย่างถึงใจ ถ้าเราจะเอา พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เป็นหลักใจ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ พระสงฆ์ที่เป็นสรณะในวงปัจจุบันนี้ ก็มีท่านอาจารย์มั่นเป็นหลักสำคัญ เป็น สรณํ คจฺฉามิ ได้อย่างตายใจไม่มีสงสัย เราไปอยู่กับท่านแล้วหายสงสัย ไม่มีอะไรเลยภายในจิต จึงได้น้อมรับถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ ตายก็มอบถวายท่านเลย กิริยาอาการของท่านที่แสดงออกทุกอย่าง เป็นลักษณะของผู้เห็นภัยคือตื่นตัวอยู่เสมอ นั้นแลคือผู้เห็นภัยรู้ภัยและพ้นภัยแท้<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    การขบการฉันมีอะไรใช้สอยไปตามเรื่องตามราวที่เกิดที่มี เมื่อความมุ่งมั่นอยู่กับธรรมแล้วอะไรก็ไม่กังวล การขบการฉันอะไรฉันได้หมด อาหารประเภทใดไม่ขัดกับหลักธรรมวินัยกับธาตุขันธ์ ไม่แสลงกับโรคภัยแล้วฉันได้หมด นั่นคือผู้เห็นภัย ดังพระพุทธเจ้าเสด็จออกทรงผนวช จากความเป็นกษัตริย์ลงถึงขั้นเป็นคนขอทานธรรมดาทั่วๆ ไปเหมือนโลกเขาซึ่งเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยม เพราะแต่ก่อนไม่มีศาสนานี่ ทำไมพระองค์ทำได้คิดดูซิ เวลาจะฉันเหมือนกับว่าลำไส้จะทะลักออกมาเพราะมันฝืน ท่านก็มีอุบายวิธีแก้ด้วยความฉลาดแหลมคมของท่าน ก็สิ่งของลงในบาตรว่าเป็นของปฏิกูล แล้วอยู่ในท้องจะไม่เห็นว่าเป็นปฏิกูลหรือ มันร้ายยิ่งกว่านั้น นั่น ท่านแก้ปั๊บทันทีและเสวยได้ในอาหารทั่วๆ ไปไม่ทรงเลือก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อาหารของคนขอทาน เขาจะได้ของดิบของดีแต่ที่ไหนมาให้ทานท่าน เนื่องจากศาสนาที่สอนว่าทำบุญให้ทานมีอานิสงส์มากอย่างนั้นอย่างนี้ยังไม่มี นักบวชที่เป็นหลักเป็นเกณฑ์อย่างพุทธศาสนานี้ในระยะนั้นยังไม่มี มีเพียงเป็นนักบวชอย่างที่เห็นนั่นแหละ เดียรถีร์นิครนถ์บ้าง ฤาษีดาบสบ้าง อย่างนั้น หาขอทานกินธรรมดาๆ เขาก็ให้แบบธรรมดาๆ นั่นแหละ ไม่ได้ให้ด้วยศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสความเคารพนับถืออะไร ไม่เหมือนคนให้ทานแก่พระเจ้าพระสงฆ์ที่อยู่ในพุทธศาสนาดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้เลย แล้วท่านจะได้ของดีและเหลือเฟือมาจากไหน
    <o:p></o:p>
    เราอย่าให้กิเลสเหยียบย่ำทำลายจิตใจได้ เป็นนักปฏิบัติต้องเป็นนักค้นคว้า เป็นนักเหตุผล เป็นผู้มีความรู้สึกเร็วต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับตน ผู้ท่านพ้นจากทุกข์และเป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเราท่านดำเนินอย่างนั้น ในครั้งพุทธกาลพระสงฆ์สาวกที่ออกมาบวชจากสกุลใดบ้างเราก็เห็นกันทุกคนในตำรา เป็นพระมหากษัตริย์ก็เยอะ เชื้อพระวงศ์กษัตริย์ก็ไม่น้อย เศรษฐี มหาเศรษฐี กุฎุมพี รองกันลงมา จนกระทั่งพ่อค้าประชาชนคนธรรมดา เมื่อออกมาบวชแล้ว เข็มทิศทางเดินของท่านตรงแน่วต่อมรรคผลนิพพานเหมือนกันหมด ในเมื่อเข็มทิศทางเดินตรงแน่วอย่างนั้น ความพากเพียรทุกสิ่งทุกอย่าง อากัปกิริยาที่แสดงออกจะไม่ตรงแน่วได้ยังไง เพราะเข็มทิศคือความมุ่งมั่นนั้นเป็นเหมือนแม่เหล็กเครื่องดึงดูดให้เป็นไปตามนั้น เครื่องสนับสนุนคือความเพียร ความพออกพอใจ ความอดความทน เครื่องบุกเบิกคือสติกับปัญญาบุกเบิกไปเรื่อยฟาดฟันไปเรื่อย จนทะลุดงหนาป่ากิเลสทั้งมวลถึงแดนพ้นทุกข์ และกลายมาเป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเรา นั้นแลครั้งพุทธกาลท่านดำเนินอย่างนั้น พวกเราไม่ยึดเอาท่านเป็นสรณะและดำเนินตามแล้ว จะหวังอะไรเป็นสาระภายในใจของพระ อันรสๆ ลิ้นๆ นั้นแม้ในสัตว์เดรัจฉานก็มีเกลื่อนไปไม่เป็นของแปลก อย่าเอามาอวดธรรม
    <o:p></o:p>
    แบบฉบับของท่านเราต้องคำนึงเสมอ อย่าส่งจิตออกไปคิดไปดู สิ่งที่จอมปลอมและอย่านำเข้ามาเป็นอารมณ์และเป็นแบบฉบับ เพราะสิ่งเหล่านั้นเคยมีเต็มโลก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา มานาน ไม่เคยพาให้ใครพ้นทุกข์ถึงแดนวิเศษได้ นอกจากผู้ฉลาดนำมาเป็นหินลับปัญญา สิ่งเหล่านั้นจึงจะเกิดประโยชน์ตามคุณภาพของตนและกำลังสติปัญญาของผู้นำมาใช้ พระพุทธเจ้าไม่ใช่ศาสดาจอมปลอม ธรรมไม่ใช่ธรรมจอมปลอม พระสงฆ์ที่เรานับถือเป็นสรณะก็ไม่ใช่พระสงฆ์ที่จอมปลอม ท่านเป็นหลักใจได้อย่างแน่ใจแม่นยำไม่มีเคลื่อนคลาด ไม่มีสิ่งใดที่น่าสงสัย ท่านเหล่านี้เป็นท่านผู้วิเศษตามหลักธรรมชาติด้วย เป็นผู้วิเศษตามคำเล่าลือที่ท่านรู้จากหลักธรรมชาตินั้นด้วย เราจึงยึดท่านนั้นเป็นหลักใจไว้เสมอ อย่าหันเหเร่ร่อนจะตายเปล่าไม่มีหลักยึด
    <o:p></o:p>
    หลักธรรมวินัยนั้นแลคือหลักศาสดา หลักของพระสงฆ์สาวกหรือดวงพระทัยของพระพุทธเจ้าและดวงใจของสาวกอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ที่พระธรรมพระวินัย ไม่อยู่กับกาลสถานที่หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้ยึดนี้เป็นหลัก อ่านไปตรงไหนท่านบอกไว้ว่าควรหรือไม่ควร ให้ถือเหมือนพระพุทธเจ้าทรงชี้บอกอยู่ต่อหน้าต่อตานั้น หรือพระสงฆ์สาวกท่านชี้บอกอยู่ต่อหน้าต่อตา ว่าอันนี้ควรอันนั้นไม่ควร อันนั้นทำอันนั้นอย่าทำ เหมือนประทานด้วยพระโอษฐ์อยู่ต่อหน้าเราในขณะนั้น ท่านประทานไว้ว่า “ธรรมวินัยที่เราตถาคตบัญญัติไว้นี้แล จะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลายแทนเราตถาคตเมื่อเวลาเราผ่านไปแล้ว”พระวาจานี้ไม่มีอะไรเคลื่อนคลาดแม้นิดหนึ่งเลย ซาบซึ้งมาก พระธรรมก็ดีพระวินัยก็ดีที่ประทานไว้ เหมือนองค์ศาสดาชี้บอกอยู่ต่อหน้าต่อตานั่นแล นี่คือทางดำเนินเพื่อความมั่นใจของพวกเรา จึงอย่าถือใครเป็นศาสดาเป็นเนติแบบฉบับ <o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    ดังที่ท่านอาจารย์มั่นท่านสอนไว้ในมุตโตทัย ตอนนั้นท่านได้รับความกระทบกระเทือนทางโลกธรรม เพราะท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้เริ่มบุกเบิก ไปที่ไหนจึงมักได้รับความกระทบกระเทือนเสมอ เพราะทีแรกเขาไม่เคยรู้เคยเห็น ก็ต้องคัดต้องค้านท่านต้องกีดต้องขวาง แต่ท่านเป็นจอมปราชญ์ ท่านมีอุบายสติปัญญาหลบหลีกจนได้ ท่านไม่ให้กระทบกระเทือนองค์ท่านเองและผู้หนึ่งผู้ใด บางทีจิตใจก็มีลักษณะแปลกๆ ขึ้นมาที่ถือว่าเป็นข้าศึกแก่ตัวเอง ท่านก็แก้ปุ๊บปั๊บไม่รั้งรอให้อารมณ์นั้นฝังจมในจิตไปนาน บางครั้งอุบายต่างๆ ก็แสดงขึ้นภายในจิตท่านว่า ให้ถือเราตถาคตผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเป็นศาสดา อย่าไปถือปากสกปรกปากที่เต็มไปด้วยกิเลสโสมมเป็นศาสดา เรื่องเขาสรรเสริญนินทาเป็นเรื่องของโลกธรรมซึ่งมีมาแต่ดั้งเดิม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ตถาคตก็เกิดในท่ามกลางแห่งโลกธรรม แต่ตถาคตไม่ตื่นโลกธรรมไม่ติดโลกธรรมอันเป็นเหมือนก้อนเมฆที่พัดไปผ่านมาเท่านั้น เราเป็นลูกศิษย์ตถาคตต้องดำเนินแบบตถาคต อย่าตื่นอย่าลุ่มหลงกับสิ่งใดที่มาสัมผัสสัมพันธ์ สิ่งเหล่านั้นมันคือโลกธรรมนั่นแล นี่คืออุบายที่สอนท่านเวลาจำเป็น ซึ่งเป็นความถูกต้อง เพราะโลกหาประมาณไม่ได้ ธรรมวินัยนั้นแลคือประมาณอันเหมาะสมอย่างยิ่ง ให้ยึดเป็นหลัก อย่าไปยึดสิ่งสกปรกโสมมทั้งหลายเหล่านั้น
    <o:p></o:p>
    ที่เขียนไว้ในมุตโตทัยนั้นสั้นนิดเดียว ท่านพูดให้ฟังหลายเรื่องและยืดยาวน่าจับใจมากทุกๆ ตอน เพราะอยู่กับท่านมาเป็นเวลาหลายปี ทำไมจะไม่ได้ฟังเรื่องสำคัญๆ ธรรมอันสำคัญๆ เล่า นี่แหละหลักท่านดำเนินท่านดำเนินอย่างนี้ ขอให้พากันยึดหลักเหล่านี้ให้ดี อย่าไปสนใจกับสิ่งใดในโลกมาเป็นเครื่องกีดขวางถ่วงธรรมภายในใจให้เนิ่นช้า ให้มุ่งต่ออรรถต่อธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้วอย่างเดียว ยึดเป็นหลักเป็นเกณฑ์ อยู่คนเดียวเป็นความสุขรื่นเริง ต่างองค์ที่อยู่ด้วยกันมีจำนวนมากน้อย มีความรู้ความเห็นอย่างเดียวกัน มีความรื่นเริงในธรรมเป็นเครื่องประดับกันให้มีความสวยงาม และเป็นเครื่องค้ำชูหนุนกันให้มีความอบอุ่นต่อกัน สำคัญที่จิตใจเป็นอรรถเป็นธรรมแล้วอยู่ด้วยกันเป็นผาสุกทั้งนั้นแหละคนเรา
    <o:p></o:p>
    อยู่ที่ไหนก็คนอยู่ที่ไหนก็พระ เราเข้าใจเรื่องคนเรื่องพระด้วยดีแล้วย่อมอยู่ด้วยกันได้ เฉพาะเราไม่ใช่โลก เราเป็นลูกศิษย์ตถาคต เกิดที่ไหนก็คน เกิดในบ้านก็คน เกิดในป่าก็คน เกิดในเมืองก็คน เกิดในกรุงก็คน เกิดนอกกรุงก็คน เกิดในป่าในเขาก็คน เกิดประเทศเขตแดนใดก็คน หลักแห่งคำว่าคนนี้คือความสมบูรณ์เต็มที่แห่งความเป็นมนุษย์แล้ว ถือเอาตรงนี้ นี่แหละพระพุทธเจ้าพาดำเนินมาอย่างนั้น ไม่ได้ถือชาติชั้นวรรณะใดทั้งนั้น เพราะฉะนั้นลูกศิษย์ตถาคตจึงมีทุกชาติชั้นวรรณะ เป็นลูกตถาคตทั้งนั้น ผู้ใดมีความเชื่อความเลื่อมใสปฏิบัติตามพระองค์ท่านแล้ว ไม่ว่าจะเกิดในที่ใดชาติชั้นวรรณะใด สามารถที่จะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้เช่นเดียวกันหมด และตถาคตก็ทรงโปรดเต็มที่เช่นเดียวกัน ไม่ทรงแยกเป็นสัดเป็นส่วนฝ่ายนั้นฝ่ายนี้แบบคนทะนงตัว แล้วเหยียบคนนั้นดูถูกคนนี้ เพื่อยกตัวขึ้นให้เหนือมนุษย์ตาดำๆ ด้วยกัน ราวกับตนเป็นเทวดามาจากแดนสวรรค์ชั้นพรหมไหนก็ไม่รู้
    <o:p></o:p>
    นั่นมันแบบอึ่งอ่างพองตัว แบบโลกที่เต็มไปด้วยความหยิ่งยโส ทั้งอยากเด่นอยากดัง อยากจะมีเกียรติยศชื่อเสียง อยากมีชาติชั้นวรรณะอันสูงส่ง แต่ธรรมชาติที่แท้ก็คือคนซึ่งต้องทำดีจึงจะเป็นคนดี ต้องทำชั่วจึงจะเป็นคนชั่วได้ มิได้เป็นได้เพราะความเสกสรรปั้นยอเอาเฉยๆ สิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องเสกสรรกันขึ้นมาต่างหาก ไม่ใช่เป็นเรื่องความจริง ความจริงตามสมมุติอันแท้จริงก็คือคน ย่อมมีความเสมอภาคแห่งความเป็นมนุษย์ด้วยกันหมด<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    คำว่าคนด้วยกันแล้ว ถึงจะเป็นภาษาใด ก็ตาม อยู่บ้านใดเมืองใดก็มีภาษาของตนเป็นเครื่องใช้ต่อกัน เข้าใจกันได้ก็เป็นอันใช้ได้ด้วยกัน แม้แต่นกและสัตว์ต่างๆ เขายังมีภาษาของเขาเอง เขาก็ใช้ต่อกันอย่างสะดวกสบายและเข้าใจซึ่งกันและกันได้ เหตุใดมนุษย์เราพูดรู้เรื่องของกันและกันดีอยู่แล้วจะไม่เข้าใจกันได้ ฉะนั้นมนุษย์เราจะเกิดมาจากสถานที่ใดๆ ก็ตาม เมื่อเข้าสู่หลักธรรมวินัยแล้ว ย่อมสนิทแนบเนียนต่อกันไปหมด เพราะธรรมวินัยเป็นสิ่งที่กลมกล่อมหล่อหลอมจิตใจให้มีความสนิทแนบเนียนต่อกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การปฏิบัติเคยพูดให้ฟังเสมอ นอกจากหลักการแห่งการปฏิบัติที่อธิบายมาแล้ว เบื้องต้นที่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกท่านพาดำเนิน ท่านดำเนินอย่างนั้น ถือจิตตภาวนาเป็นสำคัญยิ่งกว่างานใด สำหรับที่อยู่อาศัยพอบังแดดบังฝนพักผ่อนนอนหลับเท่านั้น แม้แต่สัตว์เขายังทำรวงทำรังเพื่ออยู่อาศัยตามสภาพของเขา มนุษย์เราที่มาบวชเป็นพระก็มาจากคน คนมีบ้านมีเรือนมีที่อยู่อาศัยมีเครื่องใช้ไม้สอย พระก็จำต้องมีตามสภาพของสมณะ อะไรขาดตกบกพร่องก็จำเป็นต้องขวนขวายในกิจที่สมควรแก่สมณะที่ควรจัดควรทำ แต่ไม่ถึงกับเป็นกิจการพร่ำเพรื่อวุ่นวาย จนถึงกับเป็นอารมณ์ขุ่นมัวมั่วสุมกับงานนั้นจริงๆ ซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นการเหยียบย่ำทำลายจิตใจของตนลงไป เพราะความกังวลกับงานภายนอก จนกลายมาเป็นข้าศึกต่องานจิตตภาวนา ผู้ปฏิบัติต้องระวังให้มากไว้นั่นแลพอดี เพราะพระเราส่วนมากชอบเลยเถิด จนกลายเป็นเตลิดเปิดเปิงแหวกแนวซึ่งมีมากต่อมากในวงปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    นี่จึงได้พยายามระวังเสมอ ที่คิดไว้ก็แน่ใจว่าไม่ผิด เช่น มีท่านผู้ศรัทธาจะถวายเงินเพื่อสร้างโบสถ์ทั้งหลัง เรายังไม่อาจรับได้ นั่น เคยมีบ้างไหมในประเทศไทยและองค์ไหนที่มีผู้ถวายเงินสร้างโบสถ์ทั้งหลังแล้วไม่รับ นอกจากขรัวตาวาสนาน้อยนี้เท่านั้น จึงไม่อาจรับได้ ที่ไม่อาจรับได้นั้นก็มีเหตุผลเหมือนกัน แต่เวลาพูดกับวงภายนอก ก็พูดว่าไม่มีวาสนาจึงไม่อาจรับได้ พูดเลี่ยงไปเสียพอให้เรื่องผ่านไป ความจริงหลักธรรมที่เราเล็งอยู่ยึดถืออยู่ กราบไหว้บูชาเป็นขวัญใจและเทิดทูนสุดจิตสุดใจอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นสิ่งที่ใหญ่โตมากยิ่งกว่าสิ่งใดในโลกธาตุ
    <o:p></o:p>
    สิ่งเหล่านั้นเราไม่ได้เทิดทูนเหมือนธรรม เพราะเป็นเพียงปัจจัยเครื่องอาศัยไปเป็นวันๆ เท่านั้น ส่วนธรรมเป็นเรื่องใหญ่โตมากที่ต้องรักสงวน เรื่องการสร้างโบสถ์สำหรับวัดนี้ยังไม่มีความจำเป็น สิ่งใดที่จำเป็นก็ทำสิ่งนั้น เช่น จิตตภาวนาเป็นงานจำเป็นอย่างยิ่ง นี่ต้องทำ การทำอุโบสถสังฆกรรมทำที่ไหนก็ได้ ตามร่มไม้ชายเขาที่ไหนก็ได้ไม่ขัดข้องอะไร ตามหลักพระวินัยจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรขัดข้อง การสร้างโบสถ์สร้างวิหารควรให้เป็นที่เป็นฐานที่เหมาะที่ควร ไม่ใช่จะสร้างดะไปหมด
    <o:p></o:p>
    การสร้างโบสถ์หลังหนึ่งเป็นยังไง นับตั้งแต่เริ่มแรกตกลงกับช่างในการสร้างโบสถ์เป็นยังไง ถนนหนทางเข้าไปในวัดจนถึงบริเวณที่จะสร้างโบสถ์ จะต้องเปิดโล่งตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งถึงวันสร้างโบสถ์สำเร็จ ต้องบุกเบิกไปหมดยิ่งกว่าโรงงาน คนงานก็ต้องมีทั้งหญิงทั้งชายจำนวนมากมายที่จะเข้ามานอนกองกันอยู่นี้ ทั้งช่างทั้งคนงานไม่ทราบมาจากแห่งหนตำบลใด บางรายหรือส่วนมากก็ไม่เคยรู้เลยว่าศาสนาเป็นยังไง พระเณรในวัดท่านปฏิบัติยังไง แล้วเขาจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย พอเป็นความสงบงามตาแก่พระเณรในวัดได้ยังไง มันต้องเหมือนกับเอายักษ์เอาเปรตเอาผีเข้ามาทำลายวัดนั่นเอง<o:p></o:p>
    ในขณะที่เปิดโอกาสตกลงกันเรียบร้อยแล้วนั้นน่ะ ไม่ว่าผู้คนหญิงชาย รถราต่างๆ ต้องเข้าต้องออกกันตลอดเวลา ประตูวัดปิดไม่ได้เลย และสถานที่ที่จะสร้างโบสถ์ขึ้นมาให้เป็นของสง่างามแก่วัดแก่พระสงฆ์ในวัด แต่พระกลับตายกันหมดจากจิตตภาวนา จากมรรคจากผลนิพพานที่ควรจะได้จะถึงจากสมณธรรมคือจิตตภาวนา แล้วจะเอาอะไรมาเป็นความสง่างามอร่ามตา ลองพิจารณาดูซิ นี่เราคิดอย่างนั้นและพูดอย่างนี้นะ จะเป็นความคิดผิดพูดผิดหรือถูกประการใดบ้าง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    ธรรมเป็นสิ่งสำคัญมากมาตลอดอนันตกาล พระพุทธเจ้าก็ดีสาวกก็ดี ไม่ใช่นักสร้างโบสถ์สร้างวิหาร สร้างสิ่งรโหฐานสำราญตาอะไรเลย แต่เวลาท่านรู้อรรถรู้ธรรมภายในใจของท่านแล้ว เป็นยังไงบ้างการประกาศธรรมสอนโลกของท่านน่ะ ยกตัวอย่างสมัยปัจจุบัน ท่านอาจารย์มั่นท่านสร้างอะไร นอกจากท่านสร้างจิตสร้างใจท่านอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เต็มสติกำลังความสามารถด้วยจิตตภาวนา จนเป็นผู้ฉลาดแหลมคมเต็มภูมิแล้วย้อนมาสั่งสอนโลกอย่างเต็มภูมิ เป็นยังไงเราดูเอา คนนับถือท่านอาจารย์มั่นทั่วประเทศไทยเราจนตลอดถึงเมืองนอก นั่นผลแห่งการปฏิบัติธรรม รู้ธรรมเห็นธรรม มีใจเป็นหลักเป็นเกณฑ์ด้วยอรรถด้วยธรรมแล้ว สั่งสอนโลกได้ลึกซึ้งกว้างขวางขนาดไหน พิจารณาดูซิ นี่ละธรรมภายในใจ สมบัติภายในใจแท้เป็นอย่างนี้ ผิดกับสมบัติกาฝากเป็นไหนๆ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ใจเป็นสิ่งสำคัญ มีอำนาจมาก สามารถทำประโยชน์ได้มากมายเมื่อมีคุณสมบัติอยู่ภายในใจแล้ว แล้วโบสถ์หลังไหนที่มีอำนาจวาสนามากไปเที่ยวประกาศศาสนาสอนโลกสงสารให้คนเข้าถึงธรรม ธรรมถึงใจซาบซึ้งเป็นคนดีขึ้นมาได้ เราเคยเห็นโบสถ์หลังไหนบ้าง ทั้งนี้เราไม่ได้ประมาท แต่แยกมาเทียบเคียงตามหลักเหตุผล เราไม่ได้ประมาทและไม่ได้ห้ามว่าไม่ให้สร้างโบสถ์ สถานที่ควรสร้างเราไม่ว่า แต่สถานที่ที่ไม่ควรสร้างก็ไม่ควรมาทำลาย สถานที่นี่เป็นสถานที่สร้างจิตใจ ด้วยจิตตภาวนาให้มีหลักฐานมั่นคง พระองค์หนึ่งๆ ได้ประโยชน์ทางด้านจิตใจแล้ว จะทำประโยชน์ให้โลกได้รับกว้างขวางมากมายเพียงไร เราคิดหมดแล้วเรื่องเหล่านี้
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้นบรรดาท่านทั้งหลายที่มาสู่สถานที่นี่ มาจากภาคต่างๆ กัน ผมจึงเห็นใจและอุตส่าห์พยายามอบรมสั่งสอนอยู่เสมอ ไม่ละไม่ปล่อยไม่วาง แม้จะสอนประชาชนไม่ได้ในบางกาลเพราะเกี่ยวแก่สุขภาพไม่อำนวย ผมก็พยายามหาเวล่ำเวลาอบรมพระ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของพระโดยตรง เวลาพระได้รับประโยชน์จากการได้ยินได้ฟังแล้วปฏิบัติตนเต็มเม็ดเต็มหน่วย จนเป็นหลักเป็นเกณฑ์ภายในจิตใจแล้ว การประกาศศาสนานั้นหากเป็นไปเองตามภูมินิสัยวาสนา เมื่อมีสมบัติแล้วย่อมแจกจ่ายได้อย่างไม่อัดไม่อั้น ตามแต่เหตุการณ์สถานที่จะอำนวย แต่แบบขายก่อนซื้อ แบบสุกก่อนห่ามนั้นมันจมทั้งนั้นแหละ ตนยังไม่รู้เรื่องอะไร สอนตนก็ยังไม่ได้ แต่อวดฉลาดแหวกแนวไปสอนคนอื่นนั้น ตนและธรรมเลยกลายเป็นโลก แล้วก็ร้ายยิ่งกว่าโลกไปอีก จะจัดว่าเป็นอุบายวิธีที่น่าชมเชยได้ยังไง นั้นไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทางของสาวกท่านที่พาดำเนินมา
    <o:p></o:p>
    ท่านรู้เสียก่อน องค์ไหนๆ ก็เหมือนๆ กัน ก่อนที่จะนำธรรมไปสอนโลก รู้เห็นเสียก่อน ไม่อย่างนั้นเอาอะไรไปสอนเขา เอาแต่คำพูดเฉยๆ ไปสอนเขามีหลักมีเกณฑ์อะไร ก็ไม่มีที่ซึมซาบ ไม่มีที่ยึดที่เหนี่ยว ไม่เป็นเครื่องดึงดูดจิตใจของผู้ฟัง ไม่เหมือนผู้มีคุณธรรมเต็มหัวใจแล้วไปสอนคน นั่งอยู่เฉยๆ ก็เป็นคุณสมบัติอยู่ในตัว ผู้มีธรรมภายในใจอยู่ไหนก็มีธรรมอยู่นั้นแหละ การอบรมจิตใจมีคุณค่าอย่างนี้ ฉะนั้นขอให้พากันตั้งอกตั้งใจ เอาให้จริงให้จัง ฝังใจลงให้ถึงธรรม นับแต่สมาธิธรรมขึ้นไปโดยลำดับ
    <o:p></o:p>
    มรรคผลนิพพานอย่าไปคาดไปหมายที่ใด มีอยู่ในวงกายกับจิตนี้ อยู่ในวงขันธ์ห้านี้ เอาให้ดี สิ่งใดมีส่วนเกี่ยวข้องกับใจก็พิจารณาไป เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส เพราะความสัมผัสความพัวพันความติด ทั้งรักทั้งชัง มันติดได้ทั้งนั้นแหละจิตใจ มันติดทั้งรักติดทั้งชัง ติดทั้งโกรธทั้งเกลียด ติดไปหมดติดไม่เลือก กินไม่เลือก เพราะฉะนั้นจึงต้องแยกแยะคลี่คลายออกให้รู้เรื่องของมันด้วยสติปัญญา จนจิตหายสงสัยแล้วถอนตัวเข้ามาที่เรียกว่าปล่อยวาง เพราะความเข้าใจแล้วด้วยการพิจารณา ผลสุดท้ายก็ไม่ไปที่ไหน ลงมารวมที่ใจ เมื่อใจไม่กังวลวุ่นวายเพราะปัญญาหว่านล้อมให้ทราบเรื่องราวหมดแล้ว ใจก็หายกังวล ทีนี้จะทำสมาธิภาวนาเมื่อไร ใจก็สงบสะดวกสบาย ใจมีแต่ความสงบร่มเย็นเป็นเรือนอยู่<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    เอ้า คลี่คลายทางด้านปัญญา อย่าอยู่เฉยๆ เมื่อถึงกาลเวลาที่ควรพิจารณาต้องพิจารณา ปัญญาเป็นสิ่งสำคัญอยู่มาก สติเป็นภาคพื้นเป็นเครื่องควบคุมงานให้เป็นไปด้วยความเจาะจง เป็นไปด้วยความรู้สึกตัว เป็นไปด้วยเจตนา ปัญญาก็ทำหน้าที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อเห็นผลแห่งการพิจารณามากน้อยแล้ว ปัญญาก็เขยิบไปเรื่อยๆ เพราะความมีแก่ใจ เหมือนกับเราค้าขายที่มีกำไรขึ้นมา นักการค้าก็มีความขยันหมั่นเพียร ถ้าค้าอะไรก็มีแต่ลักษณะซื้อสิบขายห้าๆ ขาดทุนๆ คนเราก็ขี้เกียจ เมื่อซื้อห้าขายสิบๆ ได้กำไรก็ขยันไปเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ใจก็เหมือนกัน เมื่อพยายามตั้งอกตั้งใจภาวนาแล้ว จะต้องเป็นลักษณะซื้อห้าขายสิบไม่สงสัย แต่การนั่งอยู่เฉยๆ เหมือนหัวตอ ไม่มีความรู้สึกอะไร ใจลอยไม่มีสติกับอรรถกับธรรม แต่ใจไปวุ่นวายอยู่กับโลกภายนอกซึ่งเป็นเรื่องของกิเลสตัณหา ล้วนๆ นั้นแหละเป็นงานสั่งสมกิเลสมาทับถมจิตใจให้มีความอับเฉายิ่งขึ้นไป แถมยังมัวเมาเสียด้วยซ้ำ คือมัวคิดมัวอ่านกับอารมณ์อันเป็นพิษอยู่อย่างนั้น ไม่รู้อรรถรู้ธรรมว่าเป็นยังไง เดินจงกรมก็มีแต่ก้าวขาไป นั่งสมาธิก็สักแต่ว่ากิริยา มีแต่กิริยา ความทำจริงๆ คือจิต มันเป็นไปตามโลกตามสงสาร รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส อดีต อนาคตวุ่นไปหมดภายในใจ จะเอาอะไรมาเป็นกำไร ก็มีแต่ขาดทุนป่นปี้ละซิ
    <o:p></o:p>
    ทีนี้เจ้าของก็ขี้เกียจ เพราะเจ้าของหากทำทางขี้เกียจให้ตัวเองเจ้าของก็เดินเอง ผลแห่งความขี้เกียจคือกองทุกข์ถมหัวใจทุกภพทุกชาติไม่มีที่สิ้นสุด เพราะจิตที่ขี้เกียจทางหนึ่งย่อมขยันในอีกทางหนึ่ง เมื่อขี้เกียจทางความเพียรเพื่อการชำระกิเลส ก็ต้องขยันในการสั่งสมกิเลสไม่มีทางหยุดหย่อนเกียจคร้านเลย ผลคือกองทุกข์ทางใจจึงต้องพอกพูนหนาแน่น เพราะฉะนั้นจงเห็นความขี้เกียจเป็นโทษแก่เราเอง แล้วพยายามพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงสติปัญญา เพื่อลบล้างความขี้เกียจด้วยอุบายต่างๆ นั้นแหละจึงจะมีวันรู้เห็นธรรมไปโดยลำดับ
    <o:p></o:p>
    การสร้างตัวเราเองนี่แหละสำคัญมากยิ่งกว่าสร้างสิ่งอื่นใด จะหนักจะเบาก็ช่างเถอะ มันเท่าตัวของเรานี่แหละ ไม่สุดวิสัยกำลังของเราไปได้ พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ให้พอเหมาะพอสมกับเราอยู่แล้ว ปริมาณแห่งธรรมที่พอประมาณก็ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ สรุปลงแล้วก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ก็ไม่เห็นมากมายจนเกินความสามารถ และอยู่ในวงกายกับจิตของเรานี้ทั้งนั้น ทำไมเราจะทำไม่ได้รู้ไม่ได้เล่า
    <o:p></o:p>
    เดินจงกรมก็ให้สืบเนื่องไปโดยลำดับด้วยสติ นั่งสมาธิก็ให้สืบเนื่องไปโดยลำดับด้วยสติ การบังคับบัญชาตนอยู่เสมอนั้นแลคือผู้มีความเพียร ความเห็นว่าการบังคับบัญชาจิตใจเป็นเสี้ยนเป็นหนามแล้วไม่อยากทำ อยากอยู่เฉยๆ เหมือนคนสิ้นท่าและปล่อยตามอำเภอใจนั้นเป็นคุณงามความดี นั้นแหละคือกองทัพกองแทรกแซงของกิเลสมันเข้ากระซิบกระซาบภายในใจ จนหลงเคลิ้มไปตามมันและลืมเนื้อลืมตัวไปแล้ว กลับเห็นว่าความเพียรเป็นข้าศึกแก่ตน เห็นว่ากิเลสนั้นเป็นมิตรเป็นสหาย นั้นแหละคือหนทางเกิด-ตายไม่มีหยุดมียั้ง เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด วกไปเวียนมาเพราะถูกมนต์ขลังของกิเลสเข้าเต็มเปา เขลาไม่มีวันสร่าง ธรรมซึ่งเป็นยาแก้แต่กลับเห็นว่าเป็นยาพิษ สิ่งที่ผิดเห็นว่าเป็นคุณ นี่คือมนต์ขลังของกิเลสทำแก่สัตว์โลกเรื่อยมาอย่างได้ผลเกินคาด พากันทราบเสียถ้าไม่ต้องการให้มันกล่อมอยู่เรื่อยไป และนอนจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
    <o:p></o:p>
    สถานที่อยู่นี้ก็รู้สึกว่าพอเหมาะสม แม้ว่าจะไม่เป็นมหาวิทยาลัยดังครั้งพุทธกาลที่ท่านอยู่ตามป่าตามเขาอันเหมาะสมอย่างยิ่ง แต่ก็เป็นป่าเป็นที่เหมาะสมพอประมาณ เราก็พยายามช่วยเหลือทุกด้านทุกทาง เพราะเห็นใจหมู่เพื่อนผู้มาบำเพ็ญ เราพอพูดได้ไม่ว่าชาติชั้นวรรณะใดที่เข้ามาเกี่ยวข้องที่นี่ เหตุผลที่ควรพูดมีอยู่เราพูดได้ เราไม่เกรงผู้ใดในโลกอันนี้ให้นอกเหนือธรรมไป เคารพธรรมมากยิ่งกว่าเคารพผู้ใดสิ่งใดในโลก เมื่อถึงกาลที่จะพูดโดยอรรถโดยธรรมแล้วเราพูดได้ เพื่อไม่ให้ใครไปรบกวน เวลานี้ท่านภาวนาอย่าไปกวนท่าน เวลานี้ท่านกำลังทำงานคือเดินจงกรมบ้างนั่งสมาธิภาวนาบ้าง เวลาแสดงเสียงเอ็ดตะโรโฮเฮไป ท่านได้ยินเสียงท่านก็หลบหลีกหนีเสีย นั่งภาวนาอยู่ก็หลีกหนีเสีย กำลังเดินจงกรมก็หลีกหนีไปเสีย ทำให้เสียงานเสียการของท่าน ไม่ควรไปรบกวนในเวลาเช่นนี้<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    เวลาไหนที่เหมาะสมเราก็บอกเขาให้เป็นที่เข้าใจ ใครจะโกรธจะเคียดเราไม่ติดใจ เพระถือว่าการพูดลงไปด้วยเหตุด้วยผลนั้นเป็นความถูกต้องดีงามแล้วทั้งฝ่ายเขาฝ่ายเรา ไม่มีอะไรเป็นความเสียหาย หากจะเกิดเป็นความเสียหายภายในใจเขา ก็เพราะเหตุของเขาคิดขึ้นในทางไม่ดีของเขาต่างหาก แต่ใครจะไปถือโกรธถือเคียดเล่า แน่ใจว่าไม่มี เพราะต่างก็มามุ่งอรรถมุ่งธรรมอยู่แล้ว การบอกเตือนก็บอกเตือนโดยธรรมย่อมเข้ากันได้สนิทไม่สงสัย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลานั่งถ้ารู้สึกร่างกายมันหนักให้เดินมากๆ ไม่ได้ทำงานก็ให้เดินมากๆ เป็นการทำงาน ตั้งสติให้ดี ความเพียรอยู่กับสติเป็นสำคัญ การพิจารณาก็ถือร่างกายของเราหรือร่างกายของสัตว์ของคนหญิงชายได้ทั้งสิ้น เป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา เวลาพิจารณาให้เห็นตามความจริงของสิ่งนั้นๆ จริงๆ ด้วยสติปัญญา มรรคมีได้ทั้งภายนอกภายใน เพราะสมุทัยคือตัวกิเลสมันมีได้เกิดได้ทั้งภายนอกภายใน เช่น ติดรูป ติดเสียง กลิ่น รส เป็นต้น ก็เป็นสมุทัยแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหลายมันอยู่ข้างนอก จิตไปติดสิ่งนั้นไปติดสิ่งนี้ ไปติดคนนั้นไปติดคนนี้ แก้เหตุติดข้องนั้นด้วยปัญญาจนเป็นที่เข้าใจก็เป็นมรรค เพราะฉะนั้นการพิจารณาจะพิจารณารูปใด หญิงใด ชายใด สัตว์ตัวใดได้ทั้งนั้น พิจารณาให้เป็นธรรม เช่น พิจารณาให้เป็นอสุภะอสุภังปฏิกูลโสโครกป่าช้าผีดิบ หรือพิจารณาเป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ซึ่งเป็นความจริงด้วยกันได้ทั้งนั้น ข้างนอกก็ได้ข้างในก็ได้ถ้าพิจารณาเป็นมรรค
    <o:p></o:p>
    การพิจารณาต้องขัดต้องขืนกันฟัดเหวี่ยงกันระหว่างกิเลสกับธรรม เพราะทั้งสองนี้เป็นข้าศึกกันมาแต่กาลไหนๆ อยู่ในใจดวงเดียวกันมันก็เป็นข้าศึกกันอยู่อย่างนั้น ส่วนมากมีแต่กิเลสเป็นฝ่ายได้เปรียบอยู่เสมอโดยเราไม่รู้สึกตัว ถ้ารู้สึกตัวอยู่บ้างว่า เออ..วันนี้เราแพ้กิเลสประเภทนั้นๆ ก็จะพอมีอุบายวิธีหรือมีแก่ใจฟิตสติปัญญา ศรัทธา ความเพียรขึ้นให้กล้าแข็งและต่อสู้กันจนได้ชัยชนะ ย่อมสมนามว่านักรบ
    <o:p></o:p>
    การขึ้นเวทีไม่รู้แพ้รู้ชนะ มีแต่ถูกน็อกลงไปๆ สลบลงไปไม่รู้เนื้อรู้ตัว มันดูได้หรืออย่างนั้น เอาให้เห็นความแพ้ความชนะบ้าง จึงชื่อว่าผู้มีสติปัญญาทดสอบตัวเอง วันไหนเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนาเท่านั้นๆ แต่ไม่ได้เรื่องอะไรเป็นเครื่องสะดุดใจ ความสงบก็ไม่ปรากฏให้เป็นเครื่องสะดุดใจ อุบายสติปัญญาควรที่คิดขึ้นมาก็ไม่พอเป็นผลให้เป็นเครื่องสะดุดใจ จะเรียกว่าทำงานได้ผลอย่างไรกัน เพราะมีแต่ขาดทุนโดยถ่ายเดียว
    <o:p></o:p>
    ต้องฟิตสติปัญญาขึ้นมาใหม่ พลิกอุบายขึ้นมาใหม่และพิจารณาต่อไปใหม่จนเห็นผลประจักษ์ใจ ไม่มีคำว่าถอยหลังนั่งเซ่อตาเหม่อมองแบบถูกน็อกจากกิเลส เพราะไม่ใช่วิถีทางของนักรบเพื่อชัยชนะ ถึงกาลเวลาเด็ดก็ต้องเด็ด เวลาธรรมดาก็ธรรมดาบ้าง เมื่อกิเลสมันโผนออกมาเราก็โผนเข้าใส่กันและรบกัน เอ้า จะตายก็ตายอย่าเสียดายชีวิตธาตุขันธ์ยิ่งกว่าธรรมคือแดนพ้นทุกข์ ซึ่งรอรับนักรบผู้กล้าหาญชาญชัยอยู่แล้ว นี่เคยเป็นมาแล้ว ไม่ได้พูดแบบลมๆ แล้งๆ นะ ถึงเวลาควรจะเอากันอย่างเต็มที่สุดเหวี่ยงก็ทำอย่างนั้นจริงๆ ถ้าได้ทำอย่างนั้นแล้วมันแน่ใจจุใจทุกๆ ครั้งที่ทำ และพูดได้อย่างเต็มปากว่าได้ผลคุ้มค่า ไม่เสียทีของการพลีชีพแบบสู้ตาย พร้อมทั้งรู้หน้ากิเลสตัวผาดโผนได้อย่างเต็มตาเต็มใจ (สติปัญญา)
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นอุบายต่างๆ ที่สอนนี้จงนำไปแยกแยะไปพิจารณาเอาเอง ผู้ปฏิบัติมีจริตนิสัยไม่เหมือนกัน แต่พึงทราบว่ากิเลสมันชอบความอ่อนแอเสมอนะ ธรรมะชอบความเข้มแข็ง ความเข้มแข็งเครื่องชนะความอ่อนแอคืออุบายของกิเลส ความฉลาดเป็นเครื่องชนะความโง่ กิเลสพาคนให้โง่พาจิตใจให้โง่ ตัวกิเลสนั้นไม่ได้โง่ สติปัญญาจึงต้องนำไปใช้เพื่อปราบปรามความโง่อันเป็นตัวกิเลสฝังใจนั้นให้หมดไปๆ ความสง่างามของใจไม่ต้องถามไม่ต้องบอกละ จะค่อยปรากฏขึ้นมาเอง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    ธรรมสมบัติเป็นสิ่งสำคัญมาก โลกขาดธรรมสมบัตินี้แลโลกถึงได้ร้อน สมบัติภายนอกไม่เป็นประโยชน์อะไรพอที่จะให้โลกได้รับความร่มเย็น ถ้าไม่มีธรรมสมบัติอยู่ภายในใจเป็นคู่เคียงกัน จะรักษาตัวรักษาโลกให้มีความสงบร่มเย็นไปไม่ได้มนุษย์เรา ด้วยเหตุนี้ศาสนาจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์ทุกเพศทุกวัย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อย่างที่พวกทำลายโลกทำลายความเป็นมนุษย์ลงให้เป็นสัตว์เสมอกันหมด เขาโจมตีนั้น ชาวพุทธบางรายก็แก้เขาไม่ได้ ที่เขาหาว่าศาสนาเป็นยาเสพติด เหมือนกับศาสนามีความบกพร่อง ทั้งที่ไม่มีอะไรผู้ใดจะสมบูรณ์เทียมเท่าศาสนาเลย ถ้าคนไม่เคยอ่านไม่เคยปฏิบัติศาสนาไม่เคยรู้ศาสนา ก็ไม่ทราบความจริงของศาสนาและหาทางแก้เขาไม่ได้ ว่าพระกินแรงงานส่วนเกินของคนอย่างนั้นอย่างนี้ พระอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรแก่โลกเขาว่าอย่างนั้น หม้อแกงไปไถนาให้คนเหรอ แต่เวลาได้ข้าวได้อาหารมาก็มาหุงต้มที่หม้อแกง มันงานคนละหน้าที่ๆ เช่น ไฟฟ้าเครื่องชาร์จแบตเตอรี่มันไปทำงานให้ใคร กระแสไฟที่ส่องสว่างทั่วดินแดนนั้นมันออกจากไหนถ้าไม่ออกจากที่ชาร์จหรือโรงไฟฟ้าน่ะ การสั่งสอนอบรมคนให้มีหลักเกณฑ์ให้รู้ความผิดถูกชั่วดี และเพื่อเป็นกำลังใจในการประกอบกิจการต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นมาแต่ไหนแต่ไร โดยที่ผู้สั่งสอนไม่จำต้องไปประกอบกิจการต่าง ๆ ดังผู้มาศึกษาอบรม การอบรมสั่งสอนเพื่อผลของงานอันถูกต้องดีงามไม่ผิดพลาดซึ่งเหมือนกับชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าไม่ใช่เรื่องศาสนาจะเป็นเรื่องอะไร
    <o:p></o:p>
    คนไข้ไม่ติดยาไม่ติดหมอ ไม่เกี่ยวข้องกับยาไม่เกี่ยวข้องกับหมอ จะหายจากโรคกลับเป็นคนดีได้ยังไง ยิ่งกว่านั้นมันก็เป็นคนตายเท่านั้นเอง พิจารณาดูซิ คนไข้ต้องพัวพันกับยาพัวพันกับหมอ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเกี่ยวข้องกัน ถ้าคนไข้ถือว่า การรับประทานยาจากหมอการติดต่อเกี่ยวข้องกับหมอเป็นยาเสพติดแล้ว คนไข้คนนั้นมันก็ต้องตาย คนมีกิเลสก็เป็นคนไข้แต่ละคนแต่ละประเภทๆ เพราะมีความผิดเต็มตัวมีโทษเต็มใจ ไม่มียาธรรมโอสถคือศาสนาช่วยบำบัดรักษา ไม่มีครูอาจารย์แนะนำสั่งสอนแล้ว มันจะหาความดีงามมาจากไหนคนเรา โรคคือความโลภมันก็รุนแรง โรคคือความโกรธก็รุนแรง โรคคือความหลงไม่มีขอบเขตเหตุผลก็รุนแรง จนทำโลกให้แตกได้ถ้าไม่มียาคือธรรมบำบัดรักษาเลย
    <o:p></o:p>
    เมื่อนำศาสนาเข้ามาแก้ไขดัดแปลง หรือชะล้างสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบสุขของโลกให้เบาบางลงพอมนุษย์อยู่ด้วยกันได้ด้วยความสงบสุข มันเป็นความเสียหายที่ตรงไหน คนดีขึ้นทุกวัน อาการทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น โลกได้รับความร่มเย็น เพราะศาสนธรรมกล่อมเกลาขัดถู แล้วศาสนาเป็นยาเสพติดทำให้คนเสียคนที่ตรงไหน เหมือนอย่างคนไข้หายจากโรคด้วยยา หายจากโรคด้วยหมอ มันเป็นยาเสพติดทำให้คนเสียคนที่ตรงไหน หาที่ตำหนิว่าไม่ถูกไม่ดีที่ตรงไหน นอกจากคำกล่าวหาเหล่านั้นเป็นการอุตริหาเรื่องก่อกวน และทำลายความสงบสุขของโลกให้ฉิบหายโดยถ่ายเดียว ไม่มีสารคุณแม้แต่นิดเลย จะเป็นคำพูดวิเศษวิโสมาจากเทวดาตนใด จึงจะพอลงใจเชื่อถือได้
    <o:p></o:p>
    ยาเสพติดเป็นสิ่งที่ทำให้คนเสียคนต่างหาก ศาสนาไม่ได้ทำให้คนเสียคน นอกจากทำคนให้ดีและดีเยี่ยมโดยถ่ายเดียวเท่านั้น ผู้ไม่ถืออะไรเลยนั่นแหละคือคนตายหมดสารคุณ ผู้ไม่ได้ติดอะไรไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรเลยคือคนตายไร้คุณค่า เพราะคนตายไม่รู้สึกสนใจกับอะไรทั้งสิ้น เราเป็นคนดีๆ ยังมีชีวิตอยู่ ต้องมีความจำเป็นในสิ่งที่เห็นว่าจำเป็นอยู่ร่ำไปทั่วโลกดินแดน จนชีวิตหาไม่แล้วจึงไม่ถืออะไรไม่สนใจกับอะไรเพราะสุดวิสัย<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    ร่างกายมีความจำเป็นกับวัตถุ เช่น ข้าว อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยปัจจัยประเภทต่างๆ ส่วนใจมีความจำเป็นกับศาสนธรรมเป็นอย่างยิ่งทีเดียว เพราะธรรมเป็นเครื่องเสวยของใจโดยตรง วัตถุไม่ใช่วิสัยของใจ ธรรมเป็นทั้งเครื่องส่องทางเป็นทั้งเครื่องเสวย เป็นที่อบอุ่นของใจ ใจต้องพึ่งพิงธรรมตลอดไปจนถึงจุดที่หมายซึ่งไม่ต้องอาศัยอะไรมาส่งเสริมเพิ่มเติม เหมือนคนเดินทาง เมื่อยังไม่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร ทางย่อมมีความจำเป็นตลอดไป หรือเช่นเดียวกับคนไข้เมื่อยังไม่หายจากโรค ยากับหมอต้องมีความจำเป็นที่คนไข้จะต้องเกี่ยวข้องอยู่ตลอดไป จะว่าติดหรือไม่ติดความจริงก็เป็นอย่างนี้ นั้นมันเป็นเรื่องใจสกปรก ปากสกปรก ใจมืดใจบอดใจไม้ไส้ระกำ ใจไม่มีความรู้ไม่มีความหมาย จึงไม่รู้จักคิดสนใจในสิ่งที่เป็นสารคุณ จึงพูดเพื่อทำลายมนุษย์ผู้มีจิตเป็นกุศลให้ขาดผลขาดประโยชน์ ยิ่งกว่านั้นก็ทำให้คนโง่หลงและเสียไปด้วยอย่างน่าเสียดาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จิตคนเราเมื่อยังมีกิเลสตัณหาอาสวะครอบงำอยู่ เรากำลังดำเนินเพื่อการแก้ไขถอดถอนยังไม่ถึงจุดหมายปลายทางตราบใด ธรรมต้องเป็นของจำเป็นอยู่ตราบนั้น เพื่อเป็นเครื่องชี้แนวทางอยู่เรื่อยไป จนกระทั่งถึงที่สุดจุดหมายปลายทางแล้ว ปุญญปาป ปหินบุคคล นั่น ใจย่อมปล่อยเอง เพราะเป็นผู้มีบุญและบาปอันละเสียแล้ว เหมือนเราเดินขึ้นมาบนศาลานี้ เมื่อขึ้นถึงที่แล้วบันไดก็หมดปัญหาไปเอง ใครไปกอดบันไดไว้มีไหมเมื่อถึงที่แล้ว นี่ศาสนาก็ไม่ได้สอนให้คนกอดแบบนั้นนี่ คนที่หายจากโรคแล้วก็ไม่ใช่จะมากอดยากอดหมอไว้ เมื่อหายจากโรคแล้วก็ปล่อยวางกันไปเองกับยากับหมอ นี่เมื่อธรรมเข้าถึงใจอย่างเต็มภูมิแล้ว ก็เป็นเหมือนคนไข้กับยากับหมอนั่นเอง หากปล่อยวางกันเอง แล้วศาสนาเป็นยาเสพติดที่ตรงไหน
    <o:p></o:p>
    เวลานี้ศาสนธรรมกับใจเรา จงเอาให้เต็มที่ ให้ติดพันกันอยู่อย่างนั้นอย่าลดละ สติปัญญาเอาให้ติดพันกับกิเลสตัวแสบ ตัวเป็นยาเสพติดกันทั่วโลกธาตุ กิเลสพาให้สัตว์ทำชั่วมัวหมองถึงกับมืดบอดไม่มองเห็นบุญเห็นบาปอะไรเลย ไม่อายเด็กๆ ที่เขามีศาสนาประจำใจบ้างก็นับว่าเป็นโรคประเภทไอ.ซี.ยู. หมดหวังทั้งที่ลมหายใจยังฟอดๆ อยู่ กิเลสมันเป็นยาเสพติดทำคนให้เป็นสัตว์ไปมากต่อมากไม่เห็นพูดกัน ส่วนธรรมะที่นำมาแก้กิเลสจะกลับเป็นยาเสพติดที่ตรงไหน ตัวกิเลสมันเป็นยาเสพติดต่างหาก มันติดมาตั้งกัปตั้งกัลป์แล้วจนนับภพนับชาติไม่ได้ ผู้หนึ่งมันกี่กัปกี่กัลป์ เรื่องเกิดเรื่องตาย เพราะอำนาจของกิเลสพาให้เป็นไป นั่นมันเป็นยาเสพติดหรือไม่ติด ใครปล่อยกิเลสได้สักคน เบื่อหน่ายในกิเลสได้สักคน หลุดพ้นจากกิเลสได้สักกี่คน ไม่เห็นมี กิเลสมันติดอยู่ในหัวใจนี่จนมองดูใจไม่เห็นเลย ทำไมไม่พูดตรงนี้ไม่ตำหนิตรงนี้ไม่แก้ตรงนี้ ถ้าเป็นนักกีฬาจริงต้องพูดต้องยอมรับความจริงกัน โลกเขาโลกเราจะได้มีวันสงบเย็นบ้างสมกับมีมนุษย์ครองโลก ไม่ปล่อยให้ความชั่วครอบหัวใจมนุษย์โดยถ่ายเดียวดังที่เป็นอยู่ทั่วดินแดน
    <o:p></o:p>
    สติเป็นของสำคัญ พูดเสมอสติ ปล่อยไม่ได้เพราะเป็นธรรมจำเป็นอย่างยิ่งกับตัวเราผู้ประกอบความเพียรเพื่อความหลุดพ้น ไม่ใช่เพียรเพื่ออยู่ในวัฏวน จงมีสติประจำตัว อุบายวิธีเปลี่ยนแปลงของการภาวนานั้น มันแล้วแต่จะปลุกใจตนเองด้วยอุบายวิธีใด ที่จิตจะมีความสนใจจดจ่อและสติจะสืบเนื่องกัน ต้องพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงหลายท่าหลายทาง แม้คำบริกรรมก็มิใช่จะเป็นคำเดียวแต่ต้นจนตลอดไป ผู้ฉลาดต้องหาอุบายเปลี่ยนแปลงไปตามที่เห็นควรในจังหวะนั้นๆ ทั้งนี้แล้วแต่อุบายของสติปัญญา นี่ก็เคยทำมาอย่างนั้นเหมือนกันไม่ใช่ไม่เคยทำ สิ่งที่นำมาสอนมีแต่สิ่งที่เคยปฏิบัติดำเนินและเห็นผลมาแล้วทั้งสิ้น จึงกล้าสอนตามความเป็นจริง ไม่คิดกลัวว่าจะผิดไป
    <o:p></o:p>
    การพิจารณาทางด้านปัญญาก็ไม่ว่าภายนอกภายในในสติปัฏฐานสี่ กาเยกายานุปสฺสี วิหรติ. อชฺฌตฺตา วา กาเยกายานุปสฺสี วิหรติ, พหิทฺธา วา กาเยกายานุปสฺสี วิหรติ. อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. พิจารณาทั้งกายนอกกายใน พิจารณากายนอกบ้างกายในบ้าง พิจารณาทั้งกายนอกกายใน ย่อมเป็นมรรคทั้งนั้นถูกต้องทั้งนั้นแหละ เวทนาก็เหมือนกัน เวทนานอกเวทนาใน เวทนานอกที่เขาเป็นทุกข์กัน แต่เวทนานอกของคนอื่น เวลาเป็นทุกข์เป็นสุขถ้าเขา ไม่แสดงอาการออกมาเราก็ไม่รู้ แต่สำหรับการปฏิบัติแล้วเราถือกายเวทนาเป็นเวทนานอก จิตเวทนาเป็นเวทนาใน สำหรับการปฏิบัติเรามีความรู้สึกแน่ใจอย่างนี้
    <o:p></o:p>
    ก็ไม่ปฏิเสธเรื่องเวทนานอก เช่น เขาร้องห่มร้องไห้แสดงทุกขเวทนาขึ้นมา แต่อันนั้นมันห่างไกลมากต่อสติปัฏฐาน ๔ ที่มีอยู่กับตัวของเราอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าเวทนาในเวทนานอกไม่มีอยู่ในกายในจิตนี้ จะมีอยู่ที่ไหน สติปัฏฐาน ๔ ก็ไม่สมบูรณ์ละซิ นี่สติปัฏฐาน ๔ มีสมบูรณ์แต่ละคนๆ นอกจากไม่ฟื้นขึ้นมาพิจารณาให้เห็นเด่นชัดเท่านั้น เช่น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็มีอยู่ในกายในจิตอันเดียวกันนี้มีสมบูรณ์อยู่แล้ว สติปัฏฐาน ๔ ก็มีอยู่ในกายในจิตสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าลงเป็นที่แน่ใจว่าสมบูรณ์อยู่แล้วนี้ แม้จะพิจารณาเรื่องนอกเข้ามาประกอบกันดังที่เคยได้อธิบายไว้แล้วก็ไม่มีอะไรขัดข้อง แต่ให้เห็นอย่างนั้น อย่าไปเห็นขัดแย้งต่อธรรม ใครจะพิจารณาไปทางไหนได้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความฉลาด พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนคนให้โง่<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    เอาให้จริงให้จังซิ ให้เห็นกิเลสหลุดลอยไปด้วยสติปัญญาของเราจริงๆ เพราะเป็นไปได้จริงๆ เช่น พิจารณาอสุภะก็เอาจริงๆ จนเกิดความสลดสังเวชน้ำตาร่วง อสุภะเป็นอย่างนี้เหรอๆ เห็นกายเห็นอย่างนี้เหรอ มันออกอุทานภายในใจขึ้นมาเอง เพราะมันเป็นจริงๆ รู้เห็นจริงๆ และสลดสังเวชขึ้นมาภายในใจ แล้วร่างกายก็เปื่อยพังทลายลงไปๆ สติปัญญาจ่อลงไปตรงไหนเหมือนกับเอาไฟเผาพร้อมๆ กันไป กระจายลงไปเปื่อยลงไปให้เห็นอย่างชัดเจน จากอสุภะก็แปรลงไปเป็นธาตุ มีแต่ธาตุกับจิตเท่านั้น เมื่อร่างกายสลายลงไปหมดแล้ว


    แต่อย่าไปคิดคาดคิดหมายกับการอธิบายนี้นะไม่ถูก จะเป็นสัญญาอารมณ์ พิจารณาจนมันลงถึงที่สุดของมันในขั้นนี้แล้ว จิตจะเข้าใจได้อย่างชัดเจนพร้อมด้วยความอัศจรรย์เกินคาด ว่า.โธ่มีแต่ของปฏิกูลเต็มร่างกายทุกส่วน จากนั้นก็แปรเป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มันหลงอะไรเมื่อเป็นอย่างนี้ ไปเสกสรรปั้นยอมันหาอะไร ความจริงมันมิได้เป็นไปตามความเสกสรรนั่นเลย มันเป็นดังที่พิจารณารู้เห็นอยู่เดี๋ยวนี้ต่างหาก ความเสกสรรนั้นมันคือของปลอมจากกิเลสล้วนๆ เพราะกิเลสมีอำนาจมากแหลมคมมากทีเดียว ของไม่สวยไม่งามมันก็เสกสรรว่าสวยว่างาม เราก็เชื่อมัน ของ อนิจฺจํ เป็นของไม่เที่ยงแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา มันก็เสกเป่าว่าเป็นของจีรังถาวร เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขาไปได้อย่างไม่อายความจริงคือธรรมบ้างเลย ทุกฺขํ อนตฺตา พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เขาไม่ใช่ของเขาไม่ใช่ของใคร กิเลสก็ไปลบล้างให้เป็นตามมันเสียสิ้น


    เหมือนเทวทัตที่ลบล้างศาสดาลบล้างศาสนานั่นแล ทุกวันนี้มันกำลังลบล้างอย่างนั้นแหละ เช่น หาว่าศาสนาเป็นยาเสพติดเป็นต้น มันลบล้างแบบกิเลสลบล้างธรรมนั่นแล ปากว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา แต่จิตไม่ได้รู้เห็นไปตามอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา แต่มันไปตามแบบกิเลสกันทั้งนั้น และลบล้างธรรมของตัวเองให้งอกเงยขึ้นไม่ได้ อสุภะอสุภังความจริงก็เห็นกันอย่างชัดๆ ไม่ปิดบังเลย มีอยู่ทุกตัวสัตว์บุคคล แต่ใจก็ไม่เห็นว่าเป็นอสุภะอสุภัง มันเห็นเป็นของสวยของงามไปเสีย จึงเป็นเรื่องของกิเลสลบล้างธรรมทั้งนั้น ถ้าได้รู้ตามเรื่องของธรรมจริงๆ ที่ท่านสอนไว้ ใครจะมาฝืนแบกหามอุปาทานให้มันกดถ่วงจิตใจ ให้ทุกข์ร้อนแทบล้มแทบตายทั้งวันทั้งคืนอยู่อย่างนี้ล่ะ มันต้องสลัดปัดทิ้งด้วยกันทั้งนั้นแหละคนเรา ถ้าเห็นโทษเห็นภัยจากการพิจารณาจริงๆ ตามหลักธรรมไม่สงสัยแล้ว เมื่อไม่มีกิเลสตัวจอมปลอมร้ายแรงขัดแย้งหลักธรรมภายในใจแล้ว จะเห็นความจริงโดยลำดับๆ ใจจะปล่อยวางว่างเปล่าไปเรื่อยๆ มีความสบาย หวิว ปัญญาก็พุ่งตัวได้สะดวก เอ้า มันขัดที่ตรงไหน มันข้องที่ตรงไหน ตามแก้ตามปลดมันจนได้


    รูป
    กายทั้งกายก็คือกองรูปอยู่แล้ว แยกแยะออกดูทั้งเรื่องอสุภะอสุภังตลอดเส้นเอ็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ต่อกันเป็นร่างกาย มันก็เห็นทุกชิ้นทุกอันน่ะซิ อวัยวะส่วนต่างๆ ที่ติดต่อกันเป็นก้อนเป็นกลุ่มจนเป็นร่างเป็นกายอยู่เวลานี้ ก็อาศัยเส้นเอ็นรัดรึงไว้ หนังหุ้มห่อไว้เท่านั้น มันเหมือนผ้าคลุมศพนั้นแล ผ้าคลุมศพมันเป็นของดิบของดีอะไรบ้าง ฟังว่าศพๆ อันนี้มันก็หนังหุ้มกระดูก หุ้มเนื้อ หุ้มของสกปรกโสโครกไว้ มันจึงเหมือนผ้าห่อศพไว้นั้นแหละ ผิดอะไรกับผ้าหุ้มห่อศพ พิจารณาหยั่งปัญญาลงให้ถึงความจริงให้เห็นความจริงอย่างนี้ซิ ใจก็ถอนของมันเอง อุปาทานจะหนาแน่นขนาดไหน มันก็เหมือนกับความมืดนี่แหละ จะมืดขนาดไหน มืดมานานกี่กัปกี่กัลป์ก็ตาม พอเปิดไฟจ้าขึ้นเท่านั้นความมืดแตกกระจายไปหมด นี่เมื่อปัญญาความสว่างได้หยั่งลงตรงไหนแล้ว ความมืดคือกิเลสมันแตกกระจายไปหมด นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา ท่านว่า แสงสว่างเสมอด้วยปัญญานี้ไม่มี ไม่มีอะไรสว่างเสมอด้วยปัญญา พระอาทิตย์ก็ส่องมาแต่ที่แจ้งเท่านั้น แต่ที่มืดพระอาทิตย์ไม่ตามส่องได้ ส่วนปัญญานี้ส่องได้ตลอดทะลุปรุโปร่งไปหมด จึงเรียกว่า โลกวิทู รู้แจ้งเห็นจริงโลกทั้งสาม


    เราพิจารณารู้เห็นในขันธ์ในใจเราแจ้งชัดฉันใด สิ่งภายนอกเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันไปหมด แทงทะลุไปหมดด้วยปัญญาที่ซึ้งภายในใจ การพิจารณากายพิจารณาอย่างที่ว่านี้ กายในกายนอกเหมือนๆ กัน รู้ในรู้นอกทะลุถึงกันหมด เราถนัดทางไหน ถนัดทางอสุภะก็ฟาดลงไปให้เห็นเป็นกองอสุภะอสุภังปฏิกูลโสโครกเต็มเนื้อเต็มตัวไปหมด มีแต่กองอสุภะทั้งนั้น ถ้าเราไม่นอนใจถูกกล่อมจากกิเลสให้หลับอยู่ตลอดเวลาเท่านั้นมันต้องรู้ เวลาพิจารณาเข้าใจแล้วก็ปล่อย มันไม่ฝืนถือต่อไปได้หรอก ที่ยึดถือก็เพราะความไม่รู้ เพราะความสำคัญมั่นหมายไปตามกิเลสให้มันมัดแน่น โดยสำคัญว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นของเราเสียทุกชิ้นทุกอัน อะไรก็เหมาว่าเป็นเราเป็นของเรา อุปาทานเข้าไปแทรกไปสิงอยู่หมดทุกสรรพางค์ร่างกาย ธรรมเลยหาที่แทรกไม่ได้ ใจทั้งดวงกายทั้งร่าง สิ่งเกี่ยวข้องทั้งมวลมีแต่กิเลสตัวเป็นเราเป็นของเราเข้ามัดไว้หมด ไม่มองเห็นของจริงแม้นิดบ้างเลย
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยึดแบบฉบับของผู้เห็นภัย

    เมื่อปัญญาสอดแทรกเข้าไปตามที่ท่านสอนไว้แล้ว สิ่งเหล่านั้นก็ค่อยกระจายออกไปๆ สุดท้ายก็เข้าใจได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย รู้รอบขอบชิด สละคืน ปฏินิสฺสคฺโค ตามของเดิมเขาเสีย อนาลโย หมดความห่วงใยอาลัยเสียดาย เพียงขั้นนี้ก็เป็นความสุขมากแล้ว ใจเบาแล้ว ใจเบาแสนเบา ถ้าพูดถึงการค้าขายก็มีกำไรมาก ตั้งตนเป็นเศรษฐีได้แล้วในขั้นนี้


    ที่นี่ขั้นมหาเศรษฐี เอ้า สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร ฟาดลงไป ความสุขความทุกข์มันมีอยู่ในขันธ์ มันก็สักแต่เวทนา ฟังซิท่านพูด เวทนาคือความเสวย มันแสดงขึ้นมาให้เราผู้ยังหลงยังยึดเสวย สุขเกิดขึ้นก็ดับไป แน่ะ เอาสาระอะไรกับมัน ทุกข์เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป อุเบกขาเฉยๆ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ทั้งทางกายและจิตใจ เอาเป็นสัตว์เป็นบุคคล เอาเป็นเราเป็นของเราที่ไหนได้ ถ้าหยั่งลงด้วยปัญญาแล้ว มันต้องเห็นเป็นความจริงแต่ละอย่างๆ ไปโดยลำดับไม่สงสัย



    สัญญา
    สัญญานี้เป็นของละเอียดมาก ในวงขันธ์ห้ารู้สึกสัญญาละเอียดมากทีเดียว ในวงผู้ปฏิบัติทั้งหลายต้องได้พิจารณาอย่างละเอียดลออกว่าจะเข้าใจและปล่อยวางได้ มันค่อยซึมซาบออกไปวาดภาพหลอกเจ้าของได้อย่างแยบยลมาก สังขารยังมีกระเพื่อม ขณะที่จะปรุงมันรู้สึกมีอะไรๆ ภายในจิต แล้วกระเพื่อมตัวออกมาเป็นความปรุง แต่สัญญานี้ไม่กระเพื่อมเลย ค่อยๆ ซึมซาบออกไปด้วยความละเอียด เวลากำหนดลงไปจะปรากฏเป็นภาพหลอกเจ้าของอยู่แล้ว


    จิตใจก็อยู่กับขันธ์ห้านี้แหละ เอาขันธ์ห้านี่เป็นเครื่องหลอกตัวเอง หลอกเรื่องนั้นหลอกเรื่องนี้ หลอกเรื่องสัตว์เรื่องบุคคล เรื่องอะไรต่ออะไร สัญญานี่หมายวาดภาพไว้ สังขารก็คิดไปปรุงไปตามมัน โน่นเวลาถึงขั้นที่ควรรู้ได้มันรู้เองเพราะอำนาจของปัญญานั่นแล สัญญาจะวาดภาพไปไหน พอกำหนดรู้ทันด้วยปัญญามันก็ถอยตัวเข้ามา เข้ามาอยู่ที่จิตนี้ ภาพก็หายไป ภาพอะไรขึ้นมาปรากฏ เวลาตามกำหนดพิจารณาเข้าจริงๆ ภาพเหล่านั้นจะย่นเข้ามาๆ สู่จิต จึงเป็นความจริงว่าภาพเหล่านี้ออกไปจากจิต เห็นได้อย่างชัดเจน จะภาพอะไรๆ ก็ตามมันออกไปจากใจ ใจเป็นผู้ไปปรุงหลอกตัวเองต่างหาก ภาพอันแท้จริงนั้นไม่มี มันมีอยู่กับสัญญา สังขารที่ปรุงหลอกตัวเองต่างหาก ภาพที่เราวาดขึ้นนั้นมันเป็นขึ้นจากใจ แล้วก็หลงและตื่นเงาจากภาพที่เกิดขึ้นกับตนไม่มีวันเบื่อหน่ายอิ่มพอ ใจถือเอาอาการของขันธ์ห้าที่แสดงอยู่นี้มาเป็นเครื่องเพลิดเพลินลุ่มหลงเศร้าโศกเสียใจ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกัปตลอดกัลป์
     

แชร์หน้านี้

Loading...