เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Dec 16 2010, 6:03 AM
    JimmySiri: ทีเด็ดที่ "<WBR>Operation Wikileaks"<WBR> จะปล่อยออกมาเพิ่มอีก คงจะประมาณต้นปีหน้า โดยเฉพาะเรื่องธนาคารของสห<WBR>รัฐ ที่เค้าคาดหมายว่าน่าจะทำใ<WBR>ห้ธนาคารขนาดใหญ่ล้มได้ซัก 2-<WBR>3 แห่ง และคาดกันว่าอาจจะเป็น BofA หรืออาจจะเป็นหนึ่งในนั้น ถ้าทำสำเร็จล่ะก็.<WBR>.<WBR>.<WBR>



    Dec 16 2010, 8:29 AM
    JimmySiri: วิกฤติของ EU น่าเป็นห่วงครับ คงจะลากยาวไปจนล้มในที่สุด และ Moody กำลังจะ downgrade สเปนในไม่ช้า จับตาดูประเทศต่างๆเหล่านี<WBR>้ หรือถ้าอังกฤษประกาศ Martial Law ออกมาก่อนจะเป็นสัญญาน "<WBR>ลบ"<WBR> ที่รุนแรงมากๆ และมีความเป็นไปได้สูงเช่น<WBR>เดียวกันครับ

    Dec 16 2010, 3:00 PM
    JimmySiri: Low 1,<WBR>362.<WBR>30 ใครที่เตรียมช้อนไว้ รอก่อนนะครับ ไม่ต้องรีบ อาจจะมีเด้งบ้างไม่ต้องตกใ<WBR>จ มันดื้อครับ รอดูกันไป ยังอีกหลายวันเลย.<WBR>.<WBR>.<WBR>


    Dec 16 2010, 3:08 PM
    JimmySiri: เรื่อง CFCT จะออกกฏควบคุม "<WBR>ปริมาณสัญญา"<WBR> ที่นักลงทุนจะถือครองได้ ดูแล้วน่าจะทุบตลาดลงอีก คงจะออกมาครับแต่จะดึงเวลา<WBR>บังคับใช้ไปให้พวกขาใหญ่ปิ<WBR>ดช๊อตให้เสร็จก่อน เรื่องนี้มีผลต่อตลาด Comex มากพอสมควรเลยครับ ทำไมมาประชุมกันตอนนี้แต่ไ<WBR>ม่บังคับใช้เลยเหมือนที่ผ่<WBR>านๆมา favor พวกขาใหญ่อีกแล้ว ตามระเบียบ.<WBR>.<WBR>.<WBR> ระวังวิชามารครับ




    Dec 16 2010, 3:09 PM
    JimmySiri: CFTC limits commodity traders,<WBR> eases some rules http://www.reuters.com/<WBR>article/<WBR>idUSNLLGNE6Q120101216

    ....."The Gold War phase II" by Jimmy Siri
     
  2. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หาก Facebook เป็นประเทศ ก็มีประชากรอันดับ 3 ของโลกแล้ว

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    วันที่ 17 ธันวาคม 2553 01:00
    <DD class=columnist-name>กาแฟดำ </DD>ผมเดาเอาว่าคณะบรรณาธิการของนิตยสาร Time คงจะต้องถกเถียงกันหนักหน่วงพอสมควร ก่อนที่จะตัดสินให้ผู้ก่อตั้ง Facebook
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20101214/show_ads_impl.js"></SCRIPT> ได้ตำแหน่ง "Person of the Year" ของปีนี้ มิใช่ผู้ก่อตั้ง Wikileaks ที่เพิ่งจะมาเป็นข่าวร้อนแรงช่วงก่อนจะสิ้นปี
    เพราะถ้าจะใช้เกณฑ์ของไทม์ มาตลอดในการกำหนดว่าใครเป็น "บุคคลหรือองค์กรที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลกมากที่สุดในปีที่ผ่านมา" (ไม่ว่าจะเป็นทางร้ายหรือทางดี) ทั้งนาย Mark Zuckerberg ของ Facebook กับนาย Julian Assange แห่ง Wikileaks ก็มีคุณสมบัติให้ต้องเปรียบเทียบกันมากมาย
    แต่อาจจะเป็นเพราะกรณีของนายจูเลียน อัสซานจ์ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพิสูจน์ว่าจะมีผลต่อโลกอย่างไร และอิทธิพลของเฟซบุ๊ค ในฐานะ social media ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมโลก อย่างกว้างขวางและลุ่มลึกอย่างชัดเจน ไทม์จึงตัดสินว่าอย่างน้อยปีนี้ ต้องให้หนุ่มอายุ 26 ปี ผู้ต้องเลิกเรียนกลางคันจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่ออายุ 19 ปี คนนี้เป็นบุคคลที่สร้างความหมายต่อวิถีชีวิต ของผู้คนทั้งโลกอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง
    ปีหน้า เจ้าของวิกิลีกส์ จะได้เข้าประกวดแน่ แต่ต้องเฝ้าดูความเป็นไปของโลกในปีใหม่นี้อีกรอบหนึ่ง
    ผมไม่แปลกใจว่าทำไม นายมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก จึงควรจะเป็น "บุคคลแห่งปี" ของไทม์ ในปีนี้ เพราะหลายปีก่อน นิตยสารไทม์ก็ยกให้ YouTube เป็นบุคคลแห่งปีเช่นกัน เพราะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งนี้ ทำให้คนทั้งโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันอย่างกว้างขวาง คล่องแคล่ว ไร้พรมแดนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
    วันนี้ ประชากรใน Facebook มีถึง 550 ล้านคน เปรียบเทียบกับจีน และอินเดียแล้ว หากเฟซบุ๊คเป็นประเทศก็จะใหญ่อันดับสามของโลก
    แปลว่าทุกหนึ่งใน 12 คนบนโลกใบนี้เป็นสมาชิกของเฟซบุ๊ค
    ผู้คนที่เข้ามาเป็นสมาชิกในเฟซบุ๊คเพิ่มขึ้นวันละ 700,000 คน และพูด 75 ภาษา และเมื่อรวมกันแล้ว ประชากรชาวเฟซบุ๊คใช้เวลา 700 พันล้านนาที ในเว็บไซต์แห่งนี้ทุกเดือน
    และซักเคอร์เบิร์ก ใช้เวลาเพียง 7 ปีในการสร้างเครือข่ายสังคมที่ใหญ่ที่สุดของโลกบนอินเทอร์เน็ต
    ไม่ต้องสงสัยว่าเขาคนเดียวทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในวิถีแห่งการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์บนโลกใบนี้
    ผมอ่านหนังสือชื่อ "The Facebook Effect" ที่เขียนโดย David Kirkpatrick ที่เพิ่งวางขายในเมืองไทย...เขายืนยันว่า จากการได้สัมผัสกับเด็กหนุ่มคนนี้มาตลอดเขาเป็นคนขี้อาย ถ่อมตน ชอบถกเถียงและไม่ยอมแพ้ในการถกแถลงประเด็นสังคมออนไลน์ง่ายๆ
    ทุกเดือน จะมีข้อความที่ชาวเฟซบุ๊คส่งขึ้นไปในเว็บไซต์นี้ไม่น้อยกว่า 20,000 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นบทความ ข่าว รูป เว็บลิงค์ และวีดิโอที่กลายเป็นสมบัติของมนุษยชาติตลอดไป
    ทุกเดือนมีรูปโพสต์ขึ้นเฟซบุ๊คประมาณ 3 พันล้านรูป
    และเชื่อไหมว่าร้อยละ 70% ของคนที่เข้าไปเล่นเฟซบุ๊คนั้นอยู่นอกสหรัฐ
    ซึ่งแปลว่าเว็บไซต์แห่งนี้มิใช่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง หากแต่เป็นสมบัติของชาวโลก
    นิตยสารไทม์บอกว่า Facebook ได้สร้าง "สังคมโลกออนไลน์" แห่งใหม่อันถาวรนี้แล้ว... และคนที่พาเรามาถึงจุดนี้ คือ หนุ่มคนที่ชื่อ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก นี้แหละ
    และอย่าแปลกใจถ้าหากนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ของการปฏิวัติใหญ่แห่งโลกข่าวสาร ที่คนไทยทุกคนจะต้องเกาะติด และปรับตัวให้ทันอย่างไม่มีข้ออ้างใดๆ ทั้งสิ้น

     
  3. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'ดาวเด่น'โกลด์แมนแซคส์ขยับตั้ง'เฮดจ์ฟันด์'ใหญ่สุดในเอเชีย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>16 ธันวาคม 2553 21:25 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอเอฟพี - มอร์แกน เจ๋อ (Morgan Tse) เทรดเดอร์ดาวเด่น ของ โกลด์แมนแซคส์ กิจการยักษ์ใหญ่ด้านการธนาคารสัญชาติสหรัฐฯ กำลังเตรียมตัวลาออกมาจัดตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ซึ่งจะใช้ฮ่องกงเป็นฐาน โดยที่กองทุนดังกล่าวน่าจะมีขนาดเม็ดเงินมากที่สุดรายหนึ่งในเอเชียทีเดียว ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ฉบับวันพฤหัสบดี(16)

    ไฟแนนเชียลไทมส์บอกว่า เจ๋อกำลังจะออกจากตำแหน่งหัวหน้าโต๊ะซื้อขาย “ยุทธศาสตร์หลัก” (Principal Strategies trading desk) ของโกลด์แมนแซคส์ ทั้งนี้เมื่อตอนที่รุ่งโรจน์ที่สุดนั้น มีรายงานว่า เจ๋อเป็นหนึ่งในบรรดาเทรดเดอร์ที่ได้รับผลตอบแทนสูงที่สุดในโลก โดยคาดกันว่าเขามีรายได้เป็น 2 เท่าตัวของผลตอบแทนที่ ลอยด์ แบลงก์เฟน ซีอีโอของโกลด์แมนแซคส์ ได้รับอยู่

    อย่างไรก็ดี โกลด์แมนแซคส์ ซึ่งเคยเป็นวาณิชธนกิจยักษ์แล้วต้องเปลี่ยนฐานะมาเป็นธนาคารที่ในช่วงวิกฤตภาคการเงินที่ผ่านมา กำลังถูกบังคับให้ต้องยุบเลิกหน่วยงานชนิดที่เจ๋อดูแลอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทำตามกฎหมายสหรัฐฯฉบับใหม่ที่ห้ามธนาคารใหญ่ๆ ซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินทุนของตนเอง

    หนังสือพิมพ์ด้านการเงินทรงอิทธิพลฉบับนี้ระบุว่า กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่เจ๋อกำลังระดมเงินเพื่อจัดตั้งขึ้นมา จะใช้ชื่อว่า “อาเซนตุส” (Azentus) โดยน่าจะเริ่มทำการซื้อขายได้ในช่วงปลายไตรมาสแรกของปีหน้า ด้วยเม้ดเงินเริ่มต้นระหว่าง 1,000 - 1,500 ล้านดอลลาร์

    ไฟแนนเชียลไทมส์ชี้ด้วยวา นอกเหนือจาก อาเซนตุส แล้ว เวลานี้มีกองทุนเฮดจ์ฟันด์จำนวนมากโยกย้ายเข้ามาตั้งฐานอยู่ที่ฮ่องกง ซึ่งตอกย้ำให้เห็นทิศทางการปรับเปลี่ยน ที่อุตสาหกรรมเฮดจ์ฟันด์กำลังพากันทิ้งฐานเดิมอย่าง นิวยอร์ก และ ลอนดอน
    http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000177093
     
  4. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    The Return of the Economic Naturalist
    กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2552
    สังคมสหรัฐ คือ สังคมที่ยกย่องเชิดชูความคิด หรือวิธีคิดส่วนบุคคล รวมทั้งมีการพัฒนาทางสังคมที่ไม่เหมือนกับการพัฒนาของสังคมไทย
    นับตั้งแต่สงครามเย็นระหว่าง สหภาพโซเวียตและสหรัฐได้สิ้นสุดลงในปี 1991 โลกก็เหลืออภิมหาอำนาจเพียงชาติเดียวซึ่งก็คือสหรัฐ ที่ทุกคนหรือนักวิชาการทางด้านเศรษฐกิจเคยพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจของสหรัฐไม่มีวันล่มสลาย เพราะเศรษฐกิจสหรัฐได้พัฒนาไปสู่สังคมแห่งความรู้ หรือ Knowledge Economy แล้ว <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ครับสหรัฐเป็นชาติเดียวในโลก ที่ได้รับอภิสิทธิ์พิมพ์ธนบัตรได้เอง โดยไม่ต้องมีอะไรมาค้ำประกัน เพราะสกุลเงินดอลลาร์ของสหรัฐฯ ได้กลายเป็นสกุลเงินของโลกไปแล้ว แทบทุกชาติต้องสำรองสกุลเงินดังกล่าวไว้ในคลังของตน <O:p></O:p>
    ยิ่งไปกว่านั้นสกุลเงินดอลลาร์ ที่หมุนเวียนอยู่นอกเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีมากกว่าเงินดอลลาร์ที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึง 7 เท่า ดูเหมือนว่าระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ คงไม่มีทางล่มสลายอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายพยากรณ์ไว้ <O:p></O:p>
    แต่แล้วในปีที่แล้ว (2008) ระบบเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (ประมาณหนึ่งในสี่ของเศรษฐกิจโลก) ก็ล้มครืนลงอย่างหมดท่า หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น เพราะคนอเมริกันใช้จ่ายเงินเกินตัว ไม่มีวินัยในการใช้เงิน ยังผลให้สหรัฐกลายเป็นชาติลูกหนี้ที่ใหญ่โตที่สุดในโลก หรือ 75% ของรายได้ประชาชาติ <O:p></O:p>
    พูดง่ายๆ ก็คือ ใช้เงินมากกว่ารายได้นั่นเอง <O:p></O:p>
    นี่เองคือเหตุผลว่าทำไมเศรษฐกิจสหรัฐจึงล่มสลายเมื่อปีที่แล้ว เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่มย่อมส่งผลสะเทือนไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย <O:p></O:p>
    ประเทศที่เป็นเจ้าหนี้ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ก็คือจีน อภิมหาอำนาจชาติใหม่นั่นเอง สมัยสงครามโลกครั้งที่สองจบลงใหม่ๆ อังกฤษคือเจ้าหนี้ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ถัดจากอังกฤษก็คือญี่ปุ่น และกลายเป็นจีนในที่สุด จนกระทั่งปัจจุบันนี้ <O:p></O:p>
    ด้วยเหตุนี้สหรัฐฯ จึงจัดให้มีการประชุมระหว่างสหรัฐ และจีนเมื่อเร็วๆ นี้ หรือการประชุม 2G โดยสหรัฐฯ ยอมสละบทบาทผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกให้แก่จีน <O:p></O:p>
    หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณ Robert H. Frank ผู้เขียนหนังสือชื่อ The Economic Naturalist หรือเศรษฐกิจธรรมชาติ ซึ่งเป็นหนังสือที่ขายที่ดีที่สุดในโลก <O:p></O:p>
    น่าเสียดายที่รัฐบาลไทยไม่ได้ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงหรือ The Sufficiency Economyของในหลวงของเราอย่างจริงจัง มิเช่นนั้นในหลวงของเราคงได้รับรางวัลโนเบิลอย่างแน่นอน เพราะเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน คือทางเลือกใหม่ของเศรษฐกิจนานาชาติ เพราะแก่นของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ซึ่งมีสหรัฐเป็นผู้นำได้ล่มสลายไปแล้ว ทั่วโลกกำลังมองหาทฤษฎีทางเศรษฐกิจใหม่มาเป็นทางเลือก <O:p></O:p>
    ท่านนายกฯ ครับ นี่คือโอกาสทองสำหรับประเทศไทย ประเทศไทยโชคดีเพราะเรามีระบบเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงที่พระองค์ค้นคิดขึ้นมาเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว หลังจากที่พระองค์ท่านทรงเป็นประมุขปกครองไทยนานกว่า 60 ปี แต่สิ่งที่พระองค์ท่านคิดนั้นยังเป็นเพียงหลักปรัชญาทางเศรษฐกิจ <O:p></O:p>
    นายกฯ ของไทยน่าจะหานักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์จากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ นิด้า ศิลปากร และมหิดลไปรับฟังวิธีคิดของพระองค์ท่าน แล้วนำมาพัฒนาเป็นหลักทฤษฎีทางเศรษฐกิจ แล้วนำไปปฏิบัติ ต่อไปในหลวงของเราจะเป็นพระประมุขชาติแรกของโลกที่ได้รับรางวัลโนเบลสายเศรษฐศาสตร์ เพราะทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านจะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาติต่างๆ ในโลกนี้ และประเทศไทยจะได้มีโอกาสก้าวสู่ความเป็นชาติผู้นำของโลก <O:p></O:p>
    นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีอาจารย์จ้าวเมี่ยวกว่อ วิศวกรหญิงของจีน เดินทางเข้ามาเผยแพร่หลักธรรมสายเต๋า (เต้าเต๋อซิ่นซี) ตามคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของเหลาจื่อในประเทศไทย เหตุที่ท่านอาจารย์เลือกไทย คงเป็นเพราะท่านมองเห็นว่าสังคมไทยเป็นสังคมเปิด ต่างจากประเทศจีนบ้านเกิดของท่านซึ่งยังคงเป็นสังคมปิด และปกครองด้วยระบบการเมืองแบบพรรคเดียว หรือพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งปฏิเสธศาสนาทุกศาสนา หรือความเชื่อแทบทุกความเชื่อ หากมีความแตกต่างจากวิธีการคิดของมาร์กซ์ หรือเหมาฯ <O:p></O:p>
    ครับสังคมสหรัฐแตกต่างจากสังคมไทย เพราะสังคมสหรัฐฯ คือสังคมที่ยกย่องเชิดชูความคิดหรือวิธีคิดส่วนบุคคล รวมทั้งมีการพัฒนาทางสังคมที่ไม่เหมือนกับการพัฒนาของสังคมไทย แทบทุกอย่างปัจเจกบุคคลเป็นผู้ทำหรือริเริ่มแม้แต่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสหรัฐ อย่างเช่น ฮาร์วาร์ด หรือปรินซ์ตัน รวมถึงระบบการปกครอง <O:p></O:p>
    ขณะที่ไทยเราสถาบันกษัตริย์เป็นผู้ทำหรือริเริ่ม อย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือมหิดล หรือเกษตรศาสตร์ตลอดจนศิลปากร พูดได้ว่ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากการริเริ่มของกษัตริย์ทั้งสิ้น ซึ่งแตกต่างจากมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ โดยสิ้นเชิง พูดอีกนัยหนึ่งก็คือสหรัฐผู้ริเริ่ม ก็คือ คนธรรมดาสามัญ ขณะที่ไทยคือผู้ริเริ่มก็คือผู้ที่อยู่ในสถาบันกษัตริย์ <O:p></O:p>
    เมื่อสังคมทั้งสองมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ก่อนที่เราจะไปลอกเลียนแบบอะไรจากสหรัฐก็ควรศึกษาอย่างรอบคอบเสียก่อนว่า อะไรจะเหมาะสมกับสังคมไทย ไม่ใช่คิดง่ายๆ ว่าทุกอย่างของสหรัฐนั้นดีหมด <O:p></O:p>
    คุณ Robert ยืนยันว่า การเรียนการสอนทางเศรษฐศาสตร์มีปัญหา เพราะผู้สอนไม่เคยเรียนวิธีการสอนหนังสือมาก่อน อย่างเช่นผู้ที่จบทางครุศาสตร์ หรือผู้ที่จบทางกฎหมาย หรือผู้ที่จบทางแพทยศาสตร์ เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์ หรือถูกฝึกมา ฉะนั้นพวกเขาจึงสอนไม่เป็น หรือถ่ายทอดไม่เป็นนั่นเอง ด้วยเหตุนี้คนอเมริกันจึงใช้จ่ายไม่เป็นใช้เงินมากกว่ารายได้ของตนเอง <O:p></O:p>
    ซึ่งว่าไปแล้วก็เหมือนคนไทยนั่นเอง หรือคนไทยถูกคนอเมริกันครอบงำโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่น คนไทยทุกวันนี้ก็เหมือนกับคนอเมริกันเมื่อ 20 ปีก่อนคือ มีบัตรเครดิตคนละ 6-8 ใบหรือนำเงินอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน ผลลัพธ์ก็คือมีหนี้สินรุงรังจนทำให้สหรัฐล่มจมในปี 2008 <O:p></O:p>
    แน่นอนลำพังการใช้เงินเกินตัว ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่ม ความโลภ (ต้องการรวยเร็ว) การขาดวินัยในการปล่อยกู้ การเก็งกำไร คือปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกต้องล่มสลายในปี 2008 <O:p></O:p>
    หรือสรุปก็คือ เมื่อนักธุรกิจขาดจรรยาบรรณ ปล่อยเงินกู้โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
    <O:p>The Return of the Economic Naturalist</O:p>
    <O:p></O:p>
     
  5. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เมื่อสังคมล่มสลาย: กรณีศึกษา Zimbabwe (16 มีนาคม 2550)

    "ถ้าเราไม่เรียนประวัติศาสตร์จากคนอื่น เราก็จะเป็นประวัติศาสตร์ให้คนอื่นเรียน"

    มีคำกล่าวหนึ่ง ที่ผมคุ้นหูมานาน ไม่แน่ใจว่าของใคร
    "วิกฤติทางเศรษฐกิจ จะเกิดเมื่อการเมืองล้มเหลว
    วิกฤติการเมือง จะเกิดเมื่อเศรษฐกิจล้มเหลว"
    ในอดีต เราอ่านประวัติศาสตร์ชาติต่าง ๆ พบเรื่องราวสังคมกลียุค เรามักมองว่า เป็นเรื่องปัญหาการเมืองล้วน ๆ
    แต่สืบสาวให้ดี มักมีคู่แฝดคือปัญหาเศรษฐกิจซ่อนอยู่เบื้องหลัง เป็นฉากหลังที่ช่วยเร่งให้เรื่องราวสุกงอม เร็วขึ้น แรงขึ้น
    มองเห็นแต่การเมือง มองไม่เห็นฉากหลังปัญหาเศรษฐกิจ จะทำให้เราอ่านประวัติศาสตร์ด้วยความงงงัน และจะเกิดแต่คำถาม "เอ๊ะ ทำไม ?" มากมาย ตามมา
    แต่หากอ่านประวัติศาสตร์การเมือง ควบประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ก็จะทำให้เรารู้สึกอีกแบบ ว่า "อ๋อ! มิน่าล่ะ !"
    การเปลี่ยนแปลงการเมืองครั้งใหญ่ของโลก มักมีประเด็นเศรษฐกิจเป็นตัวโหมโรงมาก่อน และมักถึงขั้นรุนแรง จึงเป็นแหล่งเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเมืองตามมา ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ มีมากมาย ไม่ว่าการขึ้นผงาดของนาซี การเปลี่ยนเป็นจีนคอมมิวนิสต์ ฯลฯ
    ถ้าำไม่ใช่เป็นเพราะเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อยู่ในสภาพแร้นแค้นแสนสาหัส ไม่แน่ว่า จะมีที่ยืนให้ฮิตเลอร์ได้ฉกฉวย
    หรือแม้แต่กรณีของไทยเอง ผลกระทบจากปี 2540 ยังไม่จบเลย จนถึงแม้วันนี้ เป็นการสืบสายของเหตุการณ์และตัวบุคคลที่ไหลเนื่องกันเป็นสายธารเดียว เพียงแต่เปลี่ยนโฉมหน้าไปบ้างเท่านั้น
    การเมือง และ เศรษฐกิจ เป็นคู่แฝดที่ป้อนกลับ (feedback) กันและกัน เป็นปรากฎการณ์ bootstrap ของกลียุค โดยมีเงินเป็นตัวกลาง
    แต่ปรากฎการณ์ bootstrap ไม่ได้มีแต่ 'ขาเข้า'
    'ขาเข้า' ก็คือการผุดบังเกิด (emergence )
    'ขาออก' ก็คือการล่มสลายไปจากการดำรงอยู่ (collapse หรือ implosion)
    ถ้าเกิดกับภาคสังคม ก็จะเรียก 'social collapse' (สังคมล่มสลาย)
    ใครที่สนใจว่า สังคมล่มสลายยังไง คงจำได้ว่าท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช เคยแนะนำหนังสือชื่อ Collapse ของ Jared Diamond ไว้ ซึ่งเป็นหนังสือที่ขายดีมากเล่มหนึ่งในเมืองไทย เพราะผมเคยตระเวนหาหนังสือบางรายการ ในกรุงเทพ เจอเล่มนี้บ่อยมาก วางในแผงหนังสือขายดี ก็เลยซื้อมาอ่าน แต่ยังไม่จบ แต่มีประเด็นที่น่าคิดมากที่เขาเกริ่นต้นเล่ม ว่าการล่มสลายของสังคม ตัวที่จะกำหนดจริง ๆ อาจอยู่ที่คำว่า "เจตจำนง" ของคนในสังคมนั้น ๆ เองก็ได้ ว่า จะพลิกไปด้านที่ล่มสลาย หรือพลิกไปด้านที่ผงาดขึ้นมาโดดเด่นกว่าเดิม
    กรณีศึกษาของปรากฎการณ์ที่ว่านี้คือ Zimbabwe
    ซิมบับเวปกครองโดยโรเบิร์ท มูกาเบ ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีมาเมื่อ 20 ปีก่อน แล้วก็อยู่ยื้อไปจนแปลงร่างเป็นเผด็จการได้อย่าง 'เนียน' คือไม่มีใครจำได้ว่าเปลี่ยนตอนไหน
    สิ่งที่ตามมาคือความสับสนทางการเมือง
    เมื่อภาคการเมืองส่อเค้าวุ่นวายยืดเยื้อไม่จบ ค่าเงินก็ตกต่ำ เงินเฟ้อจนเริ่มไร้ค่า เฟ้อแบบทะยานโลด แบบอภิมหาเฟ้อ (hyper-inflation) ถึงขั้นผู้คนไม่มีปัญหาหาซื้ออาหารมากิน ทั้ง ๆ ที่ของซื้อของขายพอมี เฟ้อจนเงินเกือบไร้ค่า ต้องใช้วิธีแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้าบริการกันโดยตรงแบบไม่ต้องใช้เงิน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตรอด
    BBC ไปสัมภาษณ์ผู้คนว่ามีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร คำสัมภาษณ์ (คลิกที่นี่) ฉายให้เห็นว่า เมื่อสังคมกำลังสลายตัว จะเกิดอะไขึ้น
    พอชาติตะวันตกเริ่มอ้าปากว่า เอ๊ะ จะแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรมดีมั้ย มููกาเบก็ประกาศจะไสหัวนักการทูตตะวันตกที่มาจุ้นจ้านทันที
    (ฟังดูคุ้น ๆ แฮะ..)
    ซิมบับเวกำลังอยู่ในช่วงการเกิดสังคมล่มสลาย เพราะความล้มเหลวจากภาคการเมือง (อ่านข่าวของฝรั่ง) ซึ่งสะท้อนออกมาด้วยการล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
    นักดาราศาสตร์มักตื่นเต้นเมื่อเกิดคราสฉันใด นักสังคมวิทยาก็มักตื่นเต้นเมื่อเกิด social collapse ให้เห็นฉันนั้น
    เพราะแม้เกิดไม่บ่อย แต่ถ้าดูไม่ทัน ก็อดดูการถ่ายทอดสด หากดูเป็นข่าวเก่า ก็ไม่เร้าใจแล้ว
    ข่าวเกี่ยวกับซิมบับเวมีมาก แต่เป็นข่าวภาษาอังกฤษเป็นหลัก สื่อมวลชนไทยไม่ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ อาจคิดว่าข่าวขายไม่ออก เลยไม่ขายซะงั้น (ไม่เชื่อก็ลองอ่านข่าวนี้ ดูสิครับ)
    จะเรียกว่า กรณีนี้ สื่อมวลชนตกข่าว ก็คงไม่ผิด
    ข่าวเก่าอย่างเช่นปัญหายูโกสลาเวีย (ต้นตอของประเทศใหม่เช่น บอสเนีย เฮอเซโกวินา ฯลฯ ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างที่การเมืองวิบัติ ทำให้เศรษฐกิจล้มเหลว ซึ่งก่อนแตกสลาย เงินเฟ้อไป 3 ล้านเท่า) ซาจากความทรงจำผู้คนแล้ว ตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีสโลโบดาน มิโลเซวิก ตัวต้นเรื่องของการเกิดสังคมแตกสลาย เกิดประเทศเล็กประเทศน้อยเต็มไปหมด และตายปริศนาในคุกศาลโลกก่อนถูกตัดสินเมื่อปีก่อน
    ตอนประมาณมีนาคม 2550 เงินเฟ้อไปแล้วราว 60 เท่า ถือเป็นสัญญาณเตือนว่า สังคมกำลังเริ่มกระบวนการล่มสลาย
    ข่าว VOA เมื่อต้นปี 2551 นี้เอง เล่าว่า ธนาคารกลางซิมบับเวเลิกรายงานตัวเลขเงินเฟ้อไปแล้ว
    แต่ก็มีผู้ประมาณอย่างไม่เป็นทางการว่า หนึ่งปีที่ผ่านมา เฟ้อไป หนึ่งแสนเปอร์เซนต์ หรือหนึ่งพันเท่า
    ขนมปังปอนด์ ก้อนละหนึ่งล้านซิมบับเวดอลลาร์

    ไทยเราเคยเห็นปรากฎการณ์นี้มาแล้วอย่างเบาะ ๆ
    ตอนลอยแพค่าเงินปี 2540 ไทยเราเจอเงินเฟ้อ 2 เท่าเศษ ก็กระอักเลือดไปถ้วนหน้าแล้ว
    เงินเฟ้อหนึ่งพันเท่าต่อปีที่คนซิมบับเวเจอ เป็นอย่างไร คนนอกคงยากจะซาบซึ้ง
    ความตื่นตระหนกที่ผู้คนจะเผชิญ คนนอกคงยากที่จะเข้าใจ
    เพราะเมื่อสังคมใกล้ถึงจุดล่มสลายสิ้นเชิง ก็กลายเป็นระบบปิดที่แทบจะไม่มีข้อมูลเล็ดลอดออกมา เสมือนหนึ่ง ไม่มีสังคมนั้นอยู่ในโลก
    เป็น สังคม ที่อยู่ใน หลุมดำ ไปเรียบร้อย
    สูตรน้ำเน่า คงมีสงครามกลางเมืองตามมา และอาจมีประเทศเพื่อนบ้าน หรือไกลบ้าน มาร่วมผสมโรง ด้วยเหตุผล "เพื่อมนุษยธรรม" หากซิมบับเวมีทรัพยากรธรรมชาติมากพอ หรืออยู่ในทำเลภูมิศาสตร์การเมืองที่ "สวย ๆ"
    ....
    หนังเลิกแล้วครับ กลับบ้านได้
    อาจเก็บมาคิดต่ออีกนิดหน่อย ถ้าหนังถ่ายทำดี
    ....
    เรามักมองว่าเรื่องพวกนี้ไกลตัวเมื่อเกิดแบบสด ๆ
    เรามักมองว่าเรื่องพวกนี้ไม่เกี่ยวกับเราเมื่อเกิดข้ามทวีป
    ...
    และเราจะไม่รู้ตัวเท่าไหร่ เวลาเดินตามรอยเท้าเขาไปหลุมดำเดียวกัน
    เหตุผลเดียวที่เรามองแบบนั้นก็คือ เราอ่อนประวัติศาสตร์
    เราชอบลงทะเบียนเรียนประวัติศาสตร์ด้วยค่าเรียนที่แสนแพง..

    ประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต สอนเราได้อย่างลึกซึ้งสมจริง โดยไม่ต้องเจอกับตัวเองก็ได้ ค่าเรียนจะถูกกว่าเยอะ ถูกมาก ๆๆๆๆ
    แต่เรายอมจ่ายค่าลงทะเบียนที่แพงเท่ากับชีวิตเราเอง
    อือม์ ... ก็คนมันรวย...

    wwibul - เกลียวขวั้น - เมื่อสังคมล่มสลาย: กรณีศึกษา Zimbabwe
     
  6. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผลของความสมานฉันท์ระหว่างชนชั้น ผู้ดี กับ ไพร่ที่ร่ำรวย ในอังกฤษ

    พุธ มีนาคม 2552

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ได้รับบทความนี้ได้รับจาก Forward mail จาก Thai mail.com ที่มีเพื่อนส่งมาให้นานแล้วเห็นว่าน่าสนใจดีจึงได้นำมาแบ่งกันอ่าน ...[/FONT]
    ^_^
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif][/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ถึงแม้ว่าความขัดแย้งทางชนชั้นอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการผลิตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ขุนนางและ "ผู้ดี" ในชนบทที่สูญเสียพลังการนำทางอำนาจ ต้องแสดงความไม่พอใจต่อ “ไพร่ที่ร่ำรวย” ออกมา แต่โดยภาพรวมแล้ว มีการยอมรับกันในระดับหนึ่งว่า สังคมที่ยืดหยุ่นของอังกฤษได้ก่อให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างพวกพ่อค้ากับพวกผู้ดีในมหานครลอนดอนมากขึ้นเรื่อยๆ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ความจำเป็นที่จะยอมรับความจริงว่าพลังทางเศรษฐกิจ คือเป้าหมายสำคัญที่ทำให้ความขัดแย้งได้รับการเชื่อมต่อ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]หลังสงครามนโปเลียน การถดถอยทางเศรษฐกิจของยุโรปกลายเป็นปัญหาใหญ่สุดที่อังกฤษต้องรับมือ ในมหานครลอนดอน การล่มสลายของตลาดหุ้น และปัญหาสินค้าล้นเกินความต้องการของตลาด เกิดขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก

    เริ่มตั้งแต่การล้มของธนาคาร จอห์น นิวแมน ปี ค.ศ. 1816 ตามด้วยสงครามราคา และการล้มละลายของลูกหนี้ทั่วประเทศซึ่งกินเวลายาวนานถึง 4 ปีเศษ

    ระหว่างนั้นเอง ที่นายธนาคารและนักค้าเงินในตลาดหุ้นลอนดอน ได้เริ่มเรียนรู้ที่จะ “ลี้ภัย” ด้วยการส่งเงินออกไปยังต่างประเทศเพื่อความปลอดภัยและหากำไรเพิ่มเติมชั่วคราว ทำให้พวกนักการเมืองมองเห็นว่า เงินและพ่อค้าเหล่านี้มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของเศรษฐกิจอังกฤษอย่างที่ยากจะปฏิเสธได้อีกต่อไป
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เมื่อถึงขั้นนี้ กระบวนการดูดกลืน “ไพร่ที่ร่ำรวย” ของสังคมอังกฤษก็ได้เริ่มต้นทำงานอย่างมีประสิทธิผลชนิดที่สังคมยุโรปอื่นๆ ไม่เคยกระทำมาก่อน
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จุดเริ่มต้นของการสะท้อนให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างพวกขุนนางผู้ดีอังกฤษกับพวกชนชั้นกลาง พบได้ในนวนิยายของ เจน ออสเตน (เช่น Pride and Prejudice) จนอาจกล่าวได้ว่า สังคมได้ขับเคลื่อนครั้งสำคัญให้ผู้ดีกลับกลาย เป็นนักทุนนิยม ขณะที่พ่อค้าและนักอุตสาหกรรมทุนนิยม ก็กลายเป็นสุภาพชน แม้ว่าทั้งสองฝ่ายดูเหมือนจะยังคงมีความไม่แน่ใจในตัวเองด้วยกันอยู่ [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การถอนตัวออกจากแฟชั่นความเป็น "ผู้ดี" ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 (การปฏิรูปเกษตรกรรมในเขตชนบท) เพื่อ “เข้าไปในเมืองเพื่อแสวงหาความร่ำรวย” ได้กลายเป็นกระแสใหม่ของผู้ดีหนุ่ม ซึ่งในอดีตถือว่าเป็นการล่มสลายของศักดิ์ศรี ความกล้า และความเป็นชายชาติทหารของชนชั้นผู้ดีอังกฤษ
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในทางตรงกันข้าม “ไพร่ที่ร่ำรวย” ก็ได้เรียนรู้ว่า การเติมเต็มเกียรติยศของตนเองนั้น ไม่จำเป็น เสมอไปที่ต้องต่อสู้กับชนชั้นผู้ดี เพราะพวกเขามีทางเลือกในการเลื่อนชนชั้น 2 ทาง คือ ทางแรก เข้าไปมีที่นั่งในรัฐสภา แล้วสามารถสร้างความร่ำรวยจากสัมปทาน หรือ นโยบายรัฐ ส่วนทางเลือกที่สองคือ แต่งงานกับลูกหลานพวกผู้ดี ไม่ว่าทางไหนก็ช่วยให้พ่อค้าหรือนายธนาคารหลุดเข้าไปสู่วงจรของอำนาจได้ง่ายดาย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตัวอย่างของความก้าวหน้าของ “ไพร่ที่ร่ำรวย” ในทางสังคม นอกจากพวกยิวตระกูลรอธไชลด์ แล้วยังมีความก้าวหน้าทางสังคมของแซมสัน กิเดียน การแปรสถานภาพจากนักธนาคารของโดรเบิร์ต สมิธ ไปเป็นลอร์ด คาร์ริงตัน และ ฟรานซิส แบริ่ง ลูกของยิวลี้ภัยที่กลายเป็นนายธนาคารใหญ่ได้รับยศเป็น “เซอร์” เมื่อได้รับเลือกตั้งเดินเข้าสู่สภาล่าง[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในสมัยนั้น เก้าอี้ในสภาล่างของอังกฤษ ถือเป็นสิ่งที่ “ซื้อได้” ด้วยเงินอย่างเป็นเรื่องปกติ (เดวิด ริคาร์โด นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ก็จ่ายเงินซื้อเก้าอี้ดังกล่าวเพื่อได้สิทธิเข้าไปพูดในสภานี้ในช่วงดังกล่าว) ดังนั้น การเลื่อนชั้นทางสังคมในลอนดอน จึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพ่อค้าและนายธนาคาร[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]และพ่อค้าและนายธนาคารที่เดินเข้าสู่สภาเหล่านี้ ด้วยเงินที่ซื้อเก้าอี้ ต่างเข้ามีเอี่ยวในผลประโยชน์มหาศาล พร้อมกับใช้เส้นสายสร้างอำนาจผูกขาดอย่างซ้ำซ้อนในสายงานการเงินการธนาคารของลอนดอน

    เป็นต้นว่าอามีผู้อำนวยการทำงานในธนาคารแห่งชาติอังกฤษเดียวกันมากถึง 12 คน ในบริษัท อินเดียตะวันออก มีผู้อำนวยการถึง 6 คน และอีก 6 คนในบริษัททะเลใต้ (ก่อนที่จะล่มสลาย) โดยผู้อำนวยการเหล่านั้นเกือบทั้งหมดมาจากพ่อค้า
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ความพ่ายแพ้ที่ถือเป็นจุดจบของความเหนือกว่าทางอำนาจอย่างเป็นทางการของพวก "ผู้ดี" อยู่ที่ กรณีวิกฤตทางการเงิน ที่เรียกว่า “The Beginning of Restriction” ซึ่งธนาคารแห่งชาติอังกฤษประกาศหยุดการจ่ายทองคำเพื่อแลกเปลี่ยนกับธนบัตรเพื่อป้องกันการไหลออกของทองคำสำรอง ซึ่งต่อมาก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจการเมืองในอีกครึ่งศตวรรษถัดมา และเกิดคำถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบของธนาคารแห่งชาติอังกฤษอย่างรุนแรง ในช่วงนี้เอง ที่ตำราเศรษฐศาสตร์ของ ริคาร์โด อันโด่งดัง ได้แบ่งชนชั้นที่สำคัญสุดของชุมชนเศรษฐกิจออกมาว่าประกอบด้วย

    1) เจ้าที่ดิน
    2) กรรมกร
    3) นายทุน

    ซึ่งแนวคิดนี้ได้กลายเป็นรากฐานของการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มาจนถึงวันนี้
    [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ความแตกต่างระหว่าง “ผู้ดี” กับ “ไพร่ที่ร่ำรวย” ในสังคมอังกฤษเหลือไว้แต่เพียงในนวนิยายอย่าง เรื่อง “Wuthering Heights” ของพี่น้องบรอนเต้ และเรื่องราวกะปริดกะปรอยเป็นครั้งคราวในหนังสือพิมพ์ข่าวเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในห้วงเวลาของความยากลำบาก 4 ปีเศษของวิกฤตเศรษฐกิจนี้ คนที่ได้รับประโยชน์เป็นกอบเป็นกำมากที่สุดในสังคมอังกฤษ ได้แก่ พวกนายทุนที่ส่งทุนออกนอก และพ่อค้าส่งออกที่ระบายสินค้าของตนไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรปกลาง เอเชีย และละตินอเมริกา [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]คนทั้งสองกลุ่มนี้ ได้เรียนรู้ในการสร้างพันธมิตรธุรกิจร่วมกันว่า ลำพังการส่งออกทุน (ผ่านสินเชื่อ หรือ หุ้น) หรือ สินค้าเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง มิใช่หลักประกันสำหรับความมั่งคั่งได้เลย[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ผู้นำของกลุ่มที่มีแนวคิดเช่นนี้ คือต้นตอของ ลัทธิจักรวรรดินิยม แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 และต่อๆมาจนถึงปัจจุบันอย่างแท้จริง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การตกต่ำทางเศรษฐกิจและการซบเซาของตลาดหุ้นครั้งแรกของอังกฤษ ในยุคทุนนิยมสมัยใหม่ครั้งนั้น ที่เรียกกันว่า "The South Sea Bubbles" ซึ่งเกิดจาก “การสูญเสียความเชื่อมั่นในทุน” เป็นครั้งแรกนี้ในที่สุดก็ได้ได้สิ้นสุดลงประมาณกลางปี ค.ศ.1821 เมื่อตลาดหุ้นกลับฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ และกลไกทางเศรษฐกิจเริ่มเดินหน้าไปได้อีกครั้ง
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การฟื้นตัวครั้งใหม่นี้ ได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ยุคของการส่งทุนออกต่างประเทศ” ด้วยการที่นายธนาคารแห่งลอนดอนได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับบริษัท หรือชาติเกิดใหม่ข้ามทวีปเพื่อนำตราสารการเงิน (หนี้หรือทุน) ออกมาขายในตลาดหุ้นลอนดอนซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ตลาดลอนดอน เพิ่มบทบาทที่สำคัญยิ่งในฐานะศูนย์กลางการเงินของโลกแล้ว ยังทำให้นายธนาคารเหล่านี้กลายเป็นนายธนาคารของโลกด้วย[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กลุ่มตระกูลแบริ่ง คือนายธนาคารที่นำหน้ารายอื่นๆ ในนวัตกรรมการเงินดังกล่าวนี้ และทำให้พวกเขา แซงหน้า ตระกูลรอธไชลด์ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น นายธนาคารของยุโรป ไปได้อย่างขาดลอยในเวลาอันรวดเร็ว[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แบริ่ง ซึ่งในชั้นแรกถูกเรียกในสมญาว่า “นายธนาคารแห่งลอนดอน” ได้ปรับฐานะกลายเป็นต้นตำนานของ world financial bonanza ตัวจริงรายแรกของโลกมาจนถึงก่อนสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 [/FONT]

     
  7. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จอร์จ โซรอส เตือนยุโรปล่มสลาย


    พ่อมดการเงินเตือนยุโรปล่มสลาย หากเยอรมนียังคงใช้นโยบายงบประมาณที่เน้นการประหยัด แนะให้ประเทศที่เหลือออกจากสหภาพการเงิน เพื่อความอยู่รอด

    24 มิ.ย.53 : นายจอร์จ โซรอส นักลงทุนมหาเศรษฐีพันล้าน เจ้าของฉายาพ่อมดการเงิน ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ได เซอิต หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของเยอรมนี เมื่อวานนี้ว่า นโยบายงบประมาณที่เน้นการประหยัดของเยอรมนี เป็นอันตรายต่อยุโรปและอาจทำลายโครงการของยุโรป

    นอกจากนี้ นายโซรอส ซึ่งมีรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2535 จากการโจมตีค่าเงินปอนด์อังกฤษ กล่าวเพิ่มเติมว่า เขาอาจไม่ปฏิเสธการล่มสลายของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร หรือยูโรโซน หากเยอรมนีไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนโยบายงบประมาณ และการออกจากสหภาพการเงินจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศที่เหลือในยุโรป

    พ่อมดการเงิน กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ เยอรมนีกำลังลากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยระยะยาว และนำไปสู่การเกิดลัทธิชาตินิยม ความวุ่นวายในสังคมและโรคเกลียดกลัวชาวต่างชาติ และในที่สุดแล้วประชาธิปไตยอาจตกอยู่ในความเสี่ยง

    ด้านนางอังเกลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอมนี ประกาศแผนการลดงบประมาณ 80,000 ล้านยูโร หรือ 107,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน 4 ปีข้างหน้า เมื่อต้นเดือนนี้ ซึ่งแผนการดังกล่าว นางเมอร์เคลหวังว่าจะช่วยลดยอดขาดดุลของเยอรมนีให้อยู่ภายในกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรปภายในปี 2556

    โดยนางเมอร์เคล ปกป้องแผนการลดงบประมาณของเธอเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ แนะนำให้อดทนในการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเยอรมนีกล่าวเมื่อวันอังคารว่า เยอรมนีไม่คาดว่าจะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันในที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศจี-20 ในนครโตรอนโต ประเทศแคนาดาสุดสัปดาห์นี้
    TNN 24
     
  8. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    •••โรมันอันเกรียงไกรล่มสลายเพราะ

    มิถุนายน 22, 2010
    ปัจจุบันอารยธรรมของพวกเราซึ่งเป็น อารยธรรมที่ต้องพึ่งพิงพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก กำลังมาถึงจุดเปลี่ยนหรือจุดหักเหทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง การที่เราจะทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับอารยธรรมของเราที่กำลังเผชิญกับ วิกฤตหลากมิติ ในขณะนี้ได้ เรามีความจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปศึกษา บทเรียนจากความรุ่งเรืองและการล่มสลายของอารยธรรมในอดีต โดยมองผ่านมุมมองของพลังงาน และเอนโทรปีเสียก่อน
    จะว่าไปแล้ว อารยธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เมื่อเทียบกับความยาวนานแห่งประวัติศาสตร์ของโลก อารยธรรมแตกต่างจากสังคมธรรมดาทั่วๆ ไปตรงที่มีการจัดลำดับ การแปรรูป และการบริโภคพลังงานจำนวนมหาศาล เพราะในอดีต เมื่อหกพันปีก่อน อารยธรรมมีความเป็น ระบบจักรวรรดิ มากกว่าเป็นแค่สังคมบุพกาลที่มักเป็นแค่ชุมชนเล็กๆ ที่เป็นระบบเครือญาติ กล่าวคือ มีการแบ่งเขตแดนเป็นรัฐหรือแคว้น มีการจัดการปกครองแบบมีการควบคุมจัดการอย่างมีลำดับชั้น โดยมีกลุ่มผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มปัญญาชนที่กุมอำนาจ มีรัฐบาลกลางเป็นผู้จัดลำดับ และควบคุมดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดระบบราชการขึ้นเพื่อจัดการกับชีวิตประจำวันของประชาชน มีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อควบคุมความประพฤติของพลเมือง
    อย่างไรก็ตาม มีปริศนาอยู่ 2 ข้อซึ่งรบกวนจิตใจของนักประวัติศาสตร์อารยธรรมตั้งแต่สมัยกรีกโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ปริศนาข้อที่หนึ่งคือ ทำไมจึงมีอารยธรรม (ระบบจักรวรรดิ) เกิดขึ้นบนโลกนี้น้อยมาก เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอันยาวนาน ส่วนปริศนาข้อที่สองคือ เพราะเหตุใด อำนาจที่รวมศูนย์ไว้จนเป็นปึกแผ่น และก่อเกิดเป็นสถาบันซึ่งดูแข็งแกร่งยิ่งกลับแตกสลายลงอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่การล่มสลายลงของอารยธรรมนั้นอย่างฉับพลันในที่สุด
    มีการวางระเบียบกลไกต่างๆ ในการจัดเก็บภาษีจากผลผลิตทางการเกษตร มีการเกณฑ์ทหารไปยึดครองดินแดนของเพื่อนบ้าน เสริมสร้างความมั่นคงในดินแดนของตนเพื่อป้องกันผู้รุกรานต่างชาติจากภายนอก และรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน ด้วยเหตุนี้ อำนาจจึงถูกกระจุกตัวอยู่ในเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลาง และกระจายออกไปสู่หัวเมืองตามชายแดนของอาณาจักรซึ่งเป็นจักรวรรดิ

    การล่มสลายลงของอารยธรรมจาก มุมมองของพลังงาน นั้นเกิดขึ้นจาก การหมดพลังของสังคมนั้น ที่ไม่สามารถระดมพลังของผู้คนในสังคมได้พอเพียงสำหรับการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่กำลังคุกคามระบบของสังคมนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพียงพอ กรณีล่มสลายของ จักรวรรดิโรมัน ถือเป็นตัวอย่างของอารยธรรมในอดีตที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเราในการทำความเข้าใจเรื่อง การล่มสลายของอารยธรรมจากมุมมองของพลังงาน
    เมื่อเทียบกับการล่มสลายของอารยธรรมอื่นๆ เช่น อียิปต์ ขอม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะว่า จักรวรรดิโรมันมีลักษณะคล้ายคลึงกับโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะโลกตะวันตกซึ่งเป็นตัวแทนของอารยธรรมปัจจุบันมากยิ่งกว่าอารยธรรมใดๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทั้งในแง่วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ด้วยเหตุนี้ บทเรียนจากความรุ่งเรืองและการเสื่อมสลายของจักรวรรดิโรมันจึงน่าจะเป็นอุทาหรณ์ในการเผชิญกับอนาคตของพวกเราได้เป็นอย่างดี

    จักรวรรดิโรมันในอดีตเมื่อเกือบสองร้อยปีก่อนคริสตกาลนั้น ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ด้วยการพิชิตอาณาจักรอื่นๆ ด้วยกองทหารที่เก่งกาจ ท้องพระคลังของกรุงโรมในตอนนั้นมีทรัพย์สมบัติที่ได้จากการยึดครองอาณาจักรอื่นๆ มากมายจนทางการหยุดเก็บภาษีจากประชาชน การทำสงครามยึดดินแดนอย่างต่อเนื่องให้ผลดีทางเศรษฐกิจแก่จักรวรรดิโรมันเป็นอย่างมาก กล่าวคือ มันทำให้จักรวรรดิโรมันสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และยังมีพลังงานเหลือเฟือพอให้ออกไปใช้ทำสงครามอย่างต่อเนื่องต่อไปอีก

    แรงงานทาส แหล่งทรัพยากรแร่ ป่าไม้และพื้นที่เพาะปลูกมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณพลังงานในจักรวรรดิโรมันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การแผ่ขยายอำนาจของจักรวรรดิโรมันมาสิ้นสุดลงเมื่อสามารถยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ จากนั้นจักรวรรดิโรมันก็เปลี่ยนสถานะจาก รัฐผู้พิชิต กลายมาเป็น รัฐที่มีอาณานิคมในครอบครองมากมายซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมาก เนื่องจากไม่มีรายรับใหม่ๆ เข้ามาอีกจากดินแดนที่ตนยึดครองในขณะที่จักรวรรดิโรมันต้องใช้พลังงานเพื่อการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการบำรุงรักษาจักรวรรดิของตนมากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

    จากนั้นไม่นาน จักรวรรดิโรมันก็เริ่มพบว่า ตนเองไม่มีเงินทุนพอที่จะจัดบริการขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนได้ จึงจำต้องมีการเรียกเก็บภาษีที่ไม่เคยเรียกเก็บกันมานานจนเคยชิน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก
    มิหนำซ้ำ การบำรุงกองทหารได้กลายเป็นภาระหนักอึ้งสำหรับจักรวรรดิโรมันที่ไม่ได้ทำสงครามยึดดินแดนอีกต่อไปแล้ว เพราะกองทหารประจำการได้ดูดพลังงานไปจากจักรวรรดิ และดึงเอาความสุขสบายของประชาชนไป การที่การบำรุงรักษา “จักรวรรดิอันยิ่งใหญ่” มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จักรวรรดิโรมันต้องใช้พลังงานในการส่งกองทหารไปรักษาการณ์พื้นที่รอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และยุโรปทั้งหมด
    ในขณะที่พลังงานที่เก็บเกี่ยวได้จากดินแดนอาณานิคมของตนกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่สามารถพิชิตดินแดน หรือใช้กำลังเข้าไปยึดครองทรัพย์สินของอาณาจักรอื่นๆ ได้อีกต่อไป จักรวรรดิโรมันจึงจำเป็นต้องหันไป พึ่งพลังงานแหล่งเดียวที่เหลืออยู่ซึ่งก็คือ เกษตรกรรม
    ความเสื่อมสลายที่ค่อยๆ กัดกร่อนจักรวรรดิโรมันอย่างช้าๆ นั้น เกี่ยวข้องกับความเสื่อมสลายของการผลิตในภาคเกษตรกรรมของอาณาจักรโรมันเป็นอย่างมาก การที่จักรวรรดิโรมันเสื่อมสลายลงนั้น สาเหตุหนึ่งมาจากความตกต่ำเสื่อมทราม และการคอร์รัปชันของชนชั้นปกครองก็จริง แต่สาเหตุหลักๆ ของความเสื่อมสลายของจักรวรรดิโรมันน่าจะอยู่ที่ ผืนดินมีความสมบูรณ์ลดลง และผลผลิตการเกษตรที่ลดต่ำลง มากกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแรงกดดันให้ชาวนาทิ้งที่ดินในชนบท และบากหน้าเข้าสู่เมืองเพื่อพึ่งสวัสดิการจากรัฐ

    การที่จำนวนประชากรในชนบทของจักรวรรดิโรมันลดน้อยลง ยังทำให้เกิดผลกระทบตามมาอีกหลายอย่าง ผืนดินที่ถูกทิ้งร้างขาดการดูแลผืนดินจึงยิ่งถูกกัดกร่อน และเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ ไม่มีการระบายน้ำออกจากพื้นที่นาที่มีน้ำขัง จึงกลายเป็นหนองน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และทำให้เกิดการระบาดของโรคมาลาเรีย จะเห็นได้ว่า จักรวรรดิโรมันเริ่มประสบกับ “ความจริงอันโหดร้าย” ตามทฤษฎีเทอร์โมไดนามิกส์ ที่เราได้กล่าวไปแล้ว เพราะในขณะที่จักรวรรดิโรมันต้องการพลังงานปริมาณมหาศาลในการบำรุงธำรงความเป็นจักรวรรดิของตนเอาไว้ แต่การณ์กลับเป็นว่า แหล่งพลังงานที่จักรวรรดิโรมันมี และพึ่งพาอยู่นั้นกำลังร่อยหรอลงเรื่อยๆ โดยที่ไม่สามารถหาแหล่งพลังงานใหม่มาทดแทนได้
    เมื่อเป็นเช่นนี้ พอถึงจุดหนึ่ง จักรวรรดิโรมันก็เริ่มทรุดโทรมลงเพราะระบบพลังงานร่อยหรอ และเข้าสู่กระบวนล่มสลายลงทีละน้อย เริ่มจากการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของอาณาจักรโรมัน ก็เริ่มทรุดโทรมทำให้กองกำลังทหารไม่สามารถต้านทานผู้รุกรานที่เข้าโจมตีทางน่านน้ำได้อีก

    กลุ่มโจรต่างชาติผู้รุกรานจึงเริ่มกัดกร่อนทำลายจักรวรรดิโรมันที่กำลังเสื่อมสลาย โดยเริ่มจากรอบนอกก่อน ในที่สุดเมื่อสิ้นศตวรรษที่หก ผู้รุกรานต่างชาติได้บุกรุกเข้ามาจนถึงประตูกรุงโรม และแล้วจักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่มากว่าเจ็ดร้อยปี ก็ล่มสลายลงในที่สุด

    เครดิต : http://<CITE>suvinai-dragon.com/วิชั่นพันธมิตร08.html</CITE>
    •••โรมันอันเกรียงไกรล่มสลายเพราะเหตุใด•••
     
  9. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หลังสหภาพโซเวียตล่มสลายสู่มหาอำนาจของรัสเซีย

    G-man โพสเมื่อ 2010-10-25

    หลังสหภาพโซเวียตล่มสลายเมื่อปี 1985-1991 ทำให้เศรษฐกิจ การทหาร การคลัง ร่วงลงหมดและมีกลุ่มคนประท้วงจำนวนมากที่ส่งทหารรัสเซียไปสู้รบแถบชายแดน หลังจากปี 2000 บารอส เยลซินลาออกจากนายกแล้ว วลาดีมีย์ ปูตินขึ้นครองเป็นนายกในปี 2000 เขาได้ปราศัยว่า
    รัสเซียจะลุกขึ้นจากกองเถ้าถ่านสู่ชัยชนะอีกครั้ง
    แล้วปูตินก็คิดระบบศึกษาชื่อว่า การศึกษาปลูกจิตสำนึกรักชาติ โดยให้นักเรียนอายุ 7-18 ปีเรียนการทหารอายุ 7-11 ปีเรียนทั่วไป อายุ 12 ปีขึ้นไปเรียนการถอด-ประกอบ-ใช้อาวุธสงครามได้แก่ AK-47 Dragunov Panzerdraft ตั้งแต่อายุ 15-18 ปีจะได้ฝึกการวางแผน ควบคุมสนามรบและฝึกเดินสวนสนาม หลักจบการศึกษาก็จะได้เรียนวิชาเหล่านี้
    -วิชายุทธวิถีขีปนาวุธ ใช้วิชาฟิสิกซ์เป็นหลัก
    -วิชาวางแผน-ควบคุมสนามรบ ใช้หลักการความน่าจะเป็น
    -วิชาทหารราบกองกำลังพลอาวุธหนัก ใช้ความแข็งแรงของร่างกาย
    -วิชาทหารราชนาวี ใช้ความแข้งแรงเช่นกัน
    -วิชาทหารอากาศ ใช้ความแข็งแรงเหมือนกัน

    วันที่ 8 สิงหาคม 2008 เป็นวันที่โอลิมปิคที่ปักกิ่งเริ่มขึ้นแต่ทางรัสเซียเป็นวันประกาศสงครามกับจอร์เจียทำให้เกิดการสู้กันและรัสเซียก็เป็นฝ่ายชนะ รัสเซียต้องการประกาศอำนาจของตนทำให้อเมริกาต้องยอมรับในรัสเซียและโอบาม่าก็ปราศัยว่าเราต้องการความสงบสุข ในแง่คิดของรัสเซียคิดว่าโอบาม่าไม่รักชาติและในปี 2008 ปูตินจัดการเดินสวนสนามที่ใหญ่ที่สุดหลังจากรัสเซียล่มสลาย ปูตินได้สร้างยุทธโภกรณ์ทางการทหารต่างๆจนตอนนี้รัสเซียเป็นผู้ขายอาวุธอันดับ 1 ของโลกถึงแม้ว่าตอนนี้ปูตินไม่ได้เป็นนายกแต่เขาก็ยังควบคุมกองกำลังทหารอยู่ทำให้ตอนนี้โซเวียตเป็นประเทศมหาอำนาจส่วนการที่รัสเซียบุกจอร์เจียตอนนี้ก็เป็นข่าวเงียบไม่มีอะไรเปิดเผย

    เอามาจากเว็บไซด์ของรัสเซียครับ เป็นเว็บที่เขียนเกี่ยวกับการทหารของปูติน

    หลังสหภาพโซเวียตล่มสลายสู่มหาอำนาจของรัสเซีย(หน้า 1) - WAR 2 - INI3 Board - Powered by Discuz! Archiver
     
  10. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จีนรั้งอันดับ 6 ชาติสำรองทองคำมากสุดในโลก
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>17 ธันวาคม 2553 </TD></TR></TBODY></TABLE>


    การจัดอันดับอัตราสำรองทองคำล่าสุด สหรัฐฯยังครองแชมป์ ขณะที่ จีนซึ่งมีอัตราทองคำสำรอง 1,054 ตัน รั้งอันดับที่ 6 (ภาพเอเยนซี)

    เอเยนซี - สภาทองคำโลก เผย การจัดอันดับอัตราสำรองทองคำล่าสุด สหรัฐฯยังครองแชมป์ ขณะที่ จีนซึ่งมีอัตราทองคำสำรอง 1,054 ตัน รั้งอันดับที่ 6

    สภาทองคำโลกได้เผยการจัดอันดับอัตราสำรองทองคำล่าสุด จนถึงช่วงกลางเดือนธ.ค.ปีนี้ พบว่า สหรัฐฯยังครองตำแหน่งชาติที่มีอัตราสำรองทองคำมากที่สุด ขณะที่ จีนซึ่งมีอัตราสำรองทองคำ 1,054 ตัน อยู่ในอันดับที่ 6 ส่วนรัสเซียสามารถขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 8 เนื่องจากอัตราสำรองทองคำนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2552 ได้เพิ่มขึ้น 167.5 ตัน ขณะที่ ซาอุดิอาระเบีย ขยับขึ้นมาติดใน 20 อันดับแรก

    ขณะนี้กลุ่มประเทศและภูมิภาคที่กำลังพัฒนา ซึ่งรวมทั้ง ซาอุฯ และแอฟริกาใต้ ได้กลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่ผลักดันให้อัตราสำรองทองคำขยายตัว โดยในบรรดาชาติที่มีอัตราสำรองทองคำมากสุด 100 อันดับแรก มาจากประเทศหรือภูมิภาคที่กำลังพัฒนา ถึง 67 อันดับ เทียบกับปีที่แล้ว มี 62 อันดับ

    กองทุนการเงินโลก หรือ ไอเอ็มเอฟ และธนาคารกลางยุโรป เป็นผู้จำหน่ายทองคำรายหลัก และอัตราสำรองทองคำของไอเอ็มเอฟ ได้ลดลง 158.6 ตัน

    เป็นที่น่าสังเกตุ ว่า ในช่วงที่ผ่านมา ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ไม่มีการจำหน่ายทองคำเลย และบรรดาประเทศกำลังพัฒนาก็ได้ลดปริมาณการซื้อทองคำลงเมื่อเทียบกับปี 2552

    แม้ว่า จีนจะมีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศขนาดใหญ่ แต่อัตราสำรองทองคำจีนมีเพียง 1.7 เปอร์เซ็นต์ของอัตราสำรองทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ในบรรดาชาติสำรองทองคำมากสุด 20 อันดับแรก เมื่อเทียบในแง่ของอัตราส่วน จีนมีอัตราสำรองทองคำน้อยสุด

    ขณะที่ บรรดาชาติพัฒนาแล้ว ล้วนมีสัดส่วนของอัตราสำรองทองคำที่สูง อาทิ สหรัฐฯ มีอัตราสำรองทองคำสูงถึง 74 เปอร์เซ็นต์ และเยอรมณี มีอัตราสำรองทองคำสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระบบการจัดการทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของบรรดาชาติมั่งคั่งและชาติกำลังพัฒนาที่มีความแตกต่างกัน

    บรรดาเจ้าหน้าที่ ซึ่งรวมทั้ง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ได้กล่าวว่า จีนไม่สามารถเพิ่มอัตราส่วนสำรองทองคำได้มากนัก และด้วยเหตุนี้ ราคาทองคำโลกอาจไม่ได้รับผลกระทบจากจีน

    และหากจีนได้เพิ่มสัดส่วนของอัตราสำรองทองคำ แนวโน้มตลาดทองคำโลกอาจปรับตัวมีสภาพ เช่นเดียวกับเมื่อตอนสิ้นปี 2552 ที่อินเดียได้เพิ่มอัตราสำรองทองคำ และราคาทองคำโลกอาจปรับตัวสูงขึ้นจากฐานปัจจุบัน อีก 15 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1,600 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนช์
    China - Manager Online -
     
  11. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รุดสอบ!รัฐสภายูเครนฉาวตะลุมบอนอุตลุต ส.ส.ฝ่ายค้านเจ็บสาหัส
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 ธันวาคม 2553
    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="center">
    </td><td class="date" align="left" valign="center">
    </td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="middle" valign="center">
    </td></tr></tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="middle" valign="top"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline"><iframe marginheight="0" src="http://video.foxnews.com/v/video-embed.html?video_id=4466561&w=466&h=263" marginwidth="0" frameborder="0" height="263" scrolling="no" width="466"></iframe>
    <noscript></noscript>




    เอเอฟพี - อัยการยูเครนเมื่อวันศุกร์(17) ลงมือดำเนินการสอบสวนหลัง ส.ส.ฝ่ายค้านได้รับบาดเจ็บสาหัสในเหตุทะเลาะวิวาทนองเลือดระหว่างประชุม รัฐสภา อันมีทั้งออกหมัดตะลุมบอนและขว้างปาเก้าอี้

    เหตุทะเลาะวิวาทเมื่อค่ำวันพฤหัสบดี(16) เป็นอีกความรุนแรงฉาวโฉ่ที่เกิดขึ้นอีกครั้งกับรัฐสภาของยูเครน และมีขึ้นท่ามกลางกลางความตึงเครียดหลังจากเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ได้มีการเริ่มตรวจสอบความผิดทางอาญาต่อ ยูเลีย ทีโมเชนโก ผู้นำฝ่ายค้าน

    ส.ส.จากพรรค BYuT-Batkivshchyna ของทีโมเชนโก และพรรค Regions Party ของประธานาธิบดีวิคตอร์ ยานูโควิช ตะลุมบอนกันอย่างดุเดือดหลายนาทีด้านหลังเก้าอี้ของประธานรัฐสภา ส่งผลให้ ส.ส.จากฝ่ายค้านได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 3 ราย

    "ผู้แทนของเราถูกส.ส.จาก Regions Party ทำร้ายอย่างทารุณและเราจะยื่นฟ้องเพื่อเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ" แกนนำพรรคฝ่ายค้านระบุ

    มีคาอิโล โวลีเนตส์ ส.ส.ของฝ่ายค้าน ถูกหามออกจากสภาในสภาพได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะอย่างรุนแรง ส่วน ยูรี นัตเคฟยิค เพื่อนร่วมพรรคต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเช่นกัน ขณะที่อีกคนคือ โวโลดีมีร์ บอนดาเรนโก ได้รับบาดเจ็บที่ข้อมือ

    อัยการเคียฟได้เปิดการสืบสวนและทุกหลักฐานที่รวบรวมได้จะถูกส่งไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด

    รายงานข่าวระบุว่าเหตุทะเลาะกันครั้งนี้ปะทุขึ้นหลัง ส.ส.ฝ่ายค้านพยายามขังตนเองภายในรัฐสภาและแขวนป้ายประท้วงการดำเนินคดีทีโม เชนโก มีข้อความว่า "อย่ายุ่งกับทีโมเชนโก" และ "หยุดปราบปรามทางการเมือง"

    เรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่ ส.ส.พรรค Regions Party ที่ตัดสินใจทุบทำลายประตูและบุกเข้าไปภายในจนเกิดเหตุตะลุมบอนกันจนมีผู้ได้ รับบาดเจ็บดังกล่าว ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลตัดสินใจนอนค้างคืนในรัฐสภาโดยมีเป้าหมายเสริมมาตรการรักษา ความปลอดภัย

    เหตุการณ์นี้มีขึ้นตามหลังเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงทีโมเชนโก ซึ่งพ่ายแพ้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างฉิวเฉียดเมื่อช่วงต้นปี ถูกสั่งห้ามเดินทางออกนอกกรุงเคียฟ หลังได้มีการเปิดการสอบสวนเธอฐานต้องสงสัยใช้อำนาจในทางที่ผิดระหว่างดำรง ตำแหน่ง

    ทั้งนี้ในการประชุมรัฐสภาเมื่อวันศุกร์(17) ดำเนินไปอย่างสันติ แต่บรรดา ส.ส.ฝ่ายค้านต่างพากันวอล์คเอาต์ในช่วงเริ่มประชุม หลังประธานรัฐสภาไม่อนญาตให้พวกเขาจุดเทียนบนโต๊ะเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ใน คืนก่อน
    Around the World - Manager Online - </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  12. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ไต้หวันเสี่ยงแตก

    วันพุธ ที่ 15 ธ.ค. 2553
    ไทเป 15 ธ.ค.- ราคาอสังหาริมทรัพย์ในไต้หวันเพิ่มสูงขึ้นเพราะหลายปัจจัย จนหลายคนเกรงว่าฟองสบู่ที่สะสมจนขยายใหญ่มาเรื่อย ๆ จะแตกในอีกไม่นาน และจะส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไต้หวัน

    ข้อมูลของสำนักงานอสังหาริมทรัพย์ไต้หวัน เผยว่า สิ้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงไทเปเฉลี่ยที่ตารางเมตรละ 4,614 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 138,420 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทำให้กรุงไทเปเป็นเมืองแพงอันดับ 5 ในเอเชียรองจากฮ่องกง กรุงโตเกียว สิงคโปร์ และกรุงโซล นักวิเคราะห์ชี้ว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงไทเปทะยานขึ้นเพราะหลายปัจจัยประกอบกันได้แก่ อัตราดอกเบี้ยต่ำท่ามกลางสภาพคล่องล้นทั่วโลก รัฐบาลประกาศลดภาษีมรดกทำให้เงินที่อยู่นิ่งในต่างประเทศไหลกลับเข้ามา และความตึงเครียดกับจีนที่ลดลงอย่างมากหลังจากนายหม่า อิงจิ่ว ขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2551

    ทางการไต้หวันเผยข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคมว่า สัดส่วนราคาบ้านปานกลางต่อรายได้ต่อปีของครัวเรือนปานกลางอยู่ที่ 11.5 สูงขึ้นจาก 9.9 เมื่อสิ้นปี 2551 หมายความว่า ครัวเรือนปานกลางต้องใช้เวลานานถึง 11.5 ปีกว่าจะซื้อบ้านได้ 1 หลัง นักวิเคราะห์มองว่า ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์สะสมตัวมาระยะหนึ่งแล้วและกำลังขยายใหญ่ขึ้น แต่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เห็นว่า เป็นราคาที่เหมาะสม ด้านสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวันเตือนว่า การเก็งกำไรระยะสั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาวะฟองสบู่ เพราะการซื้อขายมากกว่า 1 ใน 5 เป็นการเก็งกำไรระยะสั้น ปัญหาจะรุนแรงกว่านี้ในปีหน้าหากรัฐบาลไม่ดำเนินการใด ๆ เพื่อควบคุมราคา ส่วนนักวิชาการประเมินว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ของกรุงไทเปสูงกว่าความเป็นจริงถึงร้อยละ 43 แล้ว เมื่อใดที่ฟองสบู่แตกจะเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ.-สำนักข่าว ไทย

    ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ไต้หวันเสี่ยงแตก
     
  13. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    August 30, 2010
    Posted by KOBSAK (ADMIN)

    ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง


    ช่วงปีนี้ ท่ามกลางปัญหาการฟื้นตัวในสหรัฐและวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรป ประเด็นหนึ่งที่หลายคนเริ่มจับตามองมากขึ้นมาเรื่อยๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็คือ ปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่นับแต่ต้นปีที่แล้วเป็นต้นมา ที่ราคาของอสังหาริมทรัพย์ในบางที่ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย ไต้หวัน ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งวันนี้ก็ขอนำกรณีตัวอย่างของฮ่องกงมาเล่าวิเคราะห์ให้ฟัง
    อยากให้เล่าให้ฟังคร่าวๆ ถึงสถานการณ์ล่าสุดของภาคอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง
    ฮ่องกงเป็นเกาะที่มีพื้นที่ไม่มากนักอยู่ที่ทางตอนใต้ของจีนมีประชากรประมาณ 7 ล้านคน
    มีอยู่ 2 ฝั่ง คือ ฝั่งเกาลูน และฝั่งเกาะฮ่องกง คนไทยเราชอบไปเที่ยวช็อปปิ้งกันที่ที่นี่มาก

    ที่น่าสนใจก็คือ จากข้อมูลของ Global Property Guide จากการสำรวจพบว่า ฮ่องกงเป็นที่ที่มีราคาที่อยู่อาศัยแพงที่สุดในเอเชีย ราคาอสังหาริมทรัพย์สำหรับอพาร์ตเมนต์ขนาด 120 ตารางเมตรในใจกลางเมืองของเกาะฮ่องกง มีราคาสูงลิ่วตกตารางเมตรละ 530,000 บาท นำแซงหน้าญี่ปุ่น สิงคโปร์ ได้รับอันดับหนึ่งมาครองในเอเชีย

    ใน ด้านของอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ ฮ่องกงเป็นเศรษฐกิจที่อัตราการเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์สูงเป็นที่ 2 ของเอเชีย รองจากสิงคโปร์

    ในช่วงที่ผ่านมา ราคาของอสังหาและที่ดินที่มีการซื้อขายกันก็แพงลิ่ว บางพื้นที่ที่มีการซื้อขายกัน สูงถึงตารางเมตรละ 1 ล้านบาท และมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนเริ่มกังวลใจว่าฮ่องกงจะเป็นฟองสบู่ใหม่ของเอเชีย

    ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงเริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อตอนไหน

    ถ้าเราย้อนกลับดูในอดีตถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง แบ่งเป็น 4 ช่วง

    ช่วงแรก หลังจากปี 1997 เป็นช่วงที่ราคาตกต่ำมาก ปัญหาเงินฝืด
    ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่ราคาปรับฐานแล้วฟื้นตัว ก่อนฟื้นใช้เวลาพอสมควร แต่ก็เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดก่อนเกิดวิกฤต 2008 ช่วงนั้นคนก็เริ่มกังวลว่ามีฟองสบู่หรือไม่
    ช่วงที่ 3 ช่วงวิกฤต Subprime ตกลงมาอย่างรวดเร็ว
    ช่วงที่ 4 ที่เราอยู่กันในปัจจุบัน คือช่วงของการฟื้นตัวของราคาบ้านที่ปรับตัวดีขึ้นมาก ดีขึ้นจนคนเริ่มกังวลใจว่าจะเป็นฟองสบู่หรือไม่
    ทำไมราคาบ้านในฮ่องกงถึงขึ้นรอบนี้
    ที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็นผลจากทั้ง demand และ Supply ในตลาด จาก 4 ปัจจัย
    หนึ่ง พื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีของฮ่องกง ตรงนี้ต้องเริ่มจาก ข้อเท็จจริงที่ว่า พื้นฐานของฮ่องกงดีมาก ไม่ได้มีวิกฤตสถาบันการเงิน หลังจากช่วงวิกฤตผ่านไปเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีมาก กำลังซื้อยังมีอยู่ พอความเชื่อมั่นกลับคืนมา ก็พร้อมที่จะไปลงทุน
    สอง – ปัจจัยเฉพาะของฮ่องกง เกาะที่เล็ก พื้นที่จำกัด ทั้งที่ดินเป็นของรัฐบาล ซึ่งในช่วงก่อนวิกฤตรัฐบาลขายที่ดินออกมาน้อยมาก ทำให้มีโครงการออกมาน้อย จะเห็นได้ว่าจำนวนโครงการที่ออมาก่อน 2008 ลดลงมาก ด้วยเหตุนี้ ไม่น่าแปลกใจว่า พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้น กำลังซื้อกลับมา แต่ supply มีจำกัด ก็ไปออกด้านราคา ทำให้ราคาเพิ่มขึ้น

    สาม – ความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นที่มาจากต่างประเทศที่ เสริมกับกำลังซื้อจากภายใน ตรงนี้ ช่วงที่เกิดวิกฤตทางการฮ่องกงพยายามออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่ประมาณ 5.2% ของ GDP และออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ ตรงนี้ช่วยเพิ่มกำลังซื้อในตลาด
    แต่ที่น่าสนใจก็คือ แผนกระตุ้นจากจีน เม็ดเงินสินเชื่อที่ออกมาเมื่อปีที่แล้วจำนวนมากได้ทำให้ความต้องการซื้อ อสังหาในฮ่องกงจากคนจีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ถ้าจำกันได้ทางการจีนบังคับให้แบงก์ในจีนปล่อยสินเชื่อออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เม็ดเงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งได้ไหลมาที่ฮ่องกง เพราะคนจีนมองว่าการมีบ้านที่ฮ่องกงเป็นสัญญลักษณ์ของความมั่งคั่ง ไม่น่าแปลกใจว่า ในช่วงปีหลังๆ สัดส่วนของคนจีนที่ซื้อแต่ละโครงการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปีนี้บางโครงการถึงกับมีคนจีนซื้อถึงประมาณ 30 % ของโครงการ ด้วยความต้องการซื้อที่มีมากจากทั้งภายในและจากจีน ราคาจึงเพิ่มขึ้น
    สี่ – ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าปกติ ล่าสุดดอกเบี้ยกู้สำหรับซื้อบ้านอยู่ที่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก จากดอกเบี้ยที่ปรับลดลงมามากในช่วงที่ผ่านมา

    ทำไมกรณีของฮ่องกงน่าสนใจ ทางการฮ่องกงทำอะไรได้บ้าง
    ที่น่าสนใจ ก็เพราะทางการฮ่องกงมีเครื่องมือจำกัด เลยทำให้น่าสนใจว่าจะสู้อย่างไร

    ขณะที่เริ่มเห็นฟองสบู่ และเห็นเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทางการฮ่องกงทำอะไรไม่ได้มากนัก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ที่ เป็นเช่นนี้ก็เพราะฮ่องกงผูกค่าเงินไว้กับสหรัฐ และพยายามที่จะรักษาระบบนี้ซึ่งได้ใช้มาเป็นเวลา 27 ปีแล้ว จึงไม่สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ย หรือปล่อยให้ค่าเงินแข็งได้ แม้เศรษฐกิจจะดีมาก
    ทุกอย่างจะขึ้นกับสหรัฐ เรียกได้ว่าทางการฮ่องกงถูกมัดมือมัดแขนไว้หมด ตรงนี้มีนัยอย่างยิ่ง เพราะหมายความว่า ดอกเบี้ยบ้านที่ต่ำในฮ่องกง ก็จะต่ำไปอีก หลายเดือนมาก ยิ่งอเมริกามีปัญหา ฮ่องกงก็ต้องทนกับดอกเบี้ยที่ต่ำไปอีก ไม่น่าแปลกใจว่า สำนักวิเคราะห์หลายแห่งคิดว่าราคาบ้านในฮ่องกงจะยังไม่จบลงตรงนี้ อาจจะขึ้นไปอีกประมาณ 35% ภายในสิ้นปี 2011
    ยิ่งความแตกต่างของโอกาสทาง เศรษฐกิจของฮ่องกงที่ปีนี้น่าจะโตได้ประมาณ 5-6% กับสหรัฐและยุโรป รวมไปถึงผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในอสังหาที่ได้ผลตอบแทนที่ดีพอสมควรเทียบ กับอัตราดอกเบี้ยบ้านที่อยู่ต่ำมาก ตรงนี้ก็เลยเป็นแหล่งในการลงทุน เก็งกำไรเพิ่มเติมของเงินที่มีอยู่ในเศรษฐกิจโลก ไหลเข้ามาที่ฮ่องกง ซึ่งจากมือที่ถูกมัดไว้จึงทำอะไรไม่ได้มาก
    สิ่งที่ทางการฮ่องกงทำก็คือ เข้าไปดูแกกระบวนการปล่อยสินเชื่อของแบงก์โดยตรง ล่าสุด
    (1) สั่งเพิ่มเงินดาวน์จาก 30% เป็น 40% สำหรับบ้านที่เกินกว่า 12 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (2) สั่งให้แบงก์ทดสอบความสามารถในการจ่ายของผู้ซื้อบ้าน ถ้าดอกเบี้ยเงินกู้บ้านเพิ่มขึ้นอีก 2% ซึ่งภาระจากสินเชื่อบ้านไม่ควรเกินกว่า 60% ของรายได้ (3) การขยายที่ดินให้กับผู้ประกอบการเพิ่ม และการเพิ่ม Public Housing Projects
    นอกจากนี้ การที่จีนออกมาตรการดึงสินเชื่อกลับเมื่อตอนต้นปีก็มีส่วนช่วยเช่นกัน
    ตรงนี้ คงต้องติดตามดูว่า มาตรการเหล่านี้จะพอหรือไม่ และเงินทุนที่พร้อมจะไหลเข้ามาจากสหรัฐและยุโรปจะทำให้ปัญหาแย่ลงหรือไม่ และฮ่องกงจะออกจากปัญหานี้อย่างไร เพราะดูเหมือนกับว่า รอบที่แล้ว Fed คงดอกเบี้ยต่ำไว้เป็นเวลานานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังปัญหา dot.com ท้ายสุดก็สร้างฟองสบู่ Subprime ขึ้น รอบนี้ Fed คงดงดอกเบี้ยต่ำอีก แต่กำลังจะสร้างปํญหาฟองสบู่ในเอเชีย โดยเฉพาะฮ่องกง ก็ได้แต่เอาใจช่วยครับ ว่าศึกครั้งนี้จะจบอย่างไร
    Posted Under Money Channel

    ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกง | BLOG Dr. KOB
     
  14. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    HONG KONG:IMF ยันฮ่องกงไม่เผชิญภาวะฟองสบู่อสังหาฯ ขณะหนุนระบบผูกติดค่าเงิน
    « เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2010

    HONG KONG:IMF ยันฮ่องกงไม่เผชิญภาวะฟองสบู่อสังหาฯ ขณะหนุนระบบผูกติดค่าเงิน
    ฮ่องกง--18 พ.ย.--รอยเตอร์

    กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุในวันนี้ว่า
    ฮ่องกงควรออกนโยบายด้านสินเชื่อเพิ่มเติมและควรใช้นโยบายทางการคลัง
    ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ แทนที่จะใช้วิธีปรับเปลี่ยน
    นโยบายผูกติดค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงกับดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ระบุว่าฮ่องกง
    ไม่ได้เผชิญกับภาวะฟองสบู่ด้านอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้
    ทั้งนี้ กระแสเงินร้อนที่หลั่งไหลเข้าสู่ฮ่องกงมากยิ่งขึ้นในช่วงนี้
    ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า ทางการฮ่องกงอาจจะปรับเปลี่ยนนโยบายผูกติด
    ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงกับดอลลาร์สหรัฐเพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อและหลีกเลี่ยง
    ภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
    นายไนเจล ชอล์ค หัวหน้าแผนกฮ่องกงในไอเอ็มเอฟกล่าวว่า
    "นี่ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นในฮ่องกงเพียงที่เดียว เพราะปัญหาเงินเฟ้อในราคา
    อสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ทั้งใน
    สิงคโปร์, ออสเตรเลีย และไต้หวัน โดยประเทศเหล่านี้ใช้ระบบอัตรา
    แลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันมาก แต่ประเทศเหล่านี้ต่างก็ประสบภาวะเงินเฟ้อ
    ในราคาอสังหาริมทรัพย์"
    ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฮ่องกงอาจขยายตัว 6.75 %
    ในปี 2010 ก่อนจะชะลอตัวสู่ 5-5.5 % ในปี 2011 ในขณะที่การบริโภค
    ฟื้นตัวขึ้น
    นายจอห์น ซาง รมว.คลังฮ่องกง ระบุในแถลงการณ์หลังการ
    แสดงความเห็นของไอเอ็มเอฟว่า "เราจะยังคงเฝ้าระวังต่อไป และจะ
    ยังคงรับมือกับปัญหาที่เกิดจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ
    ในประเทศที่พัฒนาแล้ว"
    ราคาที่อยู่อาศัยในฮ่องกงพุ่งขึ้นราว 50 % นับตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว
    ในขณะที่ย่านใจกลางธุรกิจของฮ่องกงกำลังแข่งขันกับย่านเวสต์เอนด์ใน
    กรุงลอนดอนในฐานะย่านที่มีค่าเช่าพื้นที่สำนักงานแพงที่สุดในโลก
    อย่างไรก็ดี ไอเอ็มเอฟระบุว่าฮ่องกงไม่ได้เผชิญกับภาวะฟองสบู่
    ด้านอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้
    "เราไม่เห็นว่ามีภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และเรา
    ไม่เห็นว่าราคากำลังเบี่ยงเบนออกจากปัจจัยพื้นฐาน" นายชอล์คกล่าว
    ไอเอ็มเอฟคาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจอยู่ที่ 5 % ในช่วงสิ้นปี 2011
    ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ส่งผลกระทบไปถึงการเพิ่มขึ้น
    ของราคาผู้บริโภค
    นายชอล์คกล่าวว่า "ทางออกของเราคือการจัดการกับตลาดอสังหา
    ริมทรัพย์โดยตรง แทนที่จะปรับเปลี่ยนระบบผูกติดค่าเงิน"
    เนื่องจากราคาที่ดินย่านหรูหราในตลาดฮ่องกงขณะนี้เพิ่มขึ้น 10 %
    จากปี 1997 ไอเอ็มเอฟจึงเสนอแนะว่า ควรมีการปรับลดสัดส่วนสินเชื่อ
    ต่อมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน (LTV) สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ในวงกว้าง
    ยิ่งขึ้น และควรคุมเข้มเพดานอัตราส่วนภาระการชำระหนี้ต่อไป
    นายชอล์คกล่าวว่า รัฐบาลฮ่องกงควรพิจารณาเรื่องการปรับเพิ่ม
    ค่าอากรแสตมป์สำหรับที่อยู่อาศัยต่อไป โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์ราคาแพง
    ถ้าหากอัตราเงินเฟ้อของราคายังคงเพิ่มขึ้นต่อไป--จบ--

    (รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
    ((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 0-2648-9741;
    Reuters Messaging: jit.phokaew.reuters.com@reuters.net))

    HONG KONG:IMF
     
  15. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไต้หวันสะดุ้งฟองสบู่ราคาอสังหาฯ เมื่อเศรษฐีเสนอซื้ออพาร์ตเมนต์ $9 ล้านเหรียญ
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 ธันวาคม 2553


    ในภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน ณ กรุงไทเป ไต้หวัน ทั้งนี้ รายงานเผย(15ธ.ค.) ลูกชายมหาเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ไต้หวัน ได้ซื้ออพาร์ทเม้นท์สุดหรู ในกรุงไทเป สนนราคาสูงเป็นประวัติการณ์ 280 ล้านเหรียญไต้หวัน (9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จุดชนวนกระแสความกังวลฟองสบู่อสังหาฯแตก (ภาพเอเอฟพี)

    เอเอฟพี - ลูกชายมหาเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ไต้หวัน เสนอซื้ออพาร์ตเมนต์สุดหรู ในกรุงไทเป สนนราคาสูงเป็นประวัติการณ์ 280 ล้านเหรียญไต้หวัน (9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) จุดชนวนความกังวลต่อกระแสฟองสบู่อสังหาฯแตก

    เอเอฟพี เผยวันนี้ (15 ธ.ค.) ว่า การเสนอราคาในการประมูลซื้อห้องชุดหรูขนาด 450 ตร.ม.ดังกล่าวของ อี้ว์ ชังเจ๋อ ลูกชายมหาเศรษฐีอสังหาฯไต้หวัน เป็นข่าวพาดหัวในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และสื่อโทรทัศน์ต่างๆ ในไต้หวัน พร้อมโหมกระพือกระแสความกังวลต่อการเก็งกำไรระลอกใหม่อาจปะทุขึ้นอีกครั้ง แต่สุดท้าย นายอี้ว์ ก็ยกเลิกการทำธุรกรรมดังกล่าว

    ในปี 2551 ที่เกิดวิกฤตทางการเงินที่ขึ้นทั่วโลก ราคาตลาดอสังหาฯไต้หวันได้พุ่งสูง และได้จุดชนวนกระแสวิตกกังวลต่อการเกิดสภาวะฟองสบู่แตก

    ข้อมูลจากสำนักงานอสังหาริมทรัพย์ไต้หวัน ณ ปลายเดือน ต.ค.2551 ระบุว่า ราคาอสังหาฯในกรุงไทเปโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 4,614 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตารางเมตร เพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อนหน้า และส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในกรุงไทเป แพงสุดเป็นอันดับ 5 ตามหลังฮ่องกง โตเกียว สิงคโปร์ และ กรุงโซล และแซงหน้าเซี่ยงไฮ้ กับ กรุงปักกิ่ง

    นักวิเคราะห์ มองว่า ราคาอสังหาฯที่พุ่งสูงนี้ มีสาเหตุจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเกินไป ท่ามกลางสภาพคล่องล้นเกินที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และยังมีปัจจัยที่ยิ่งดันราคาพุ่งขึ้นอีกคือ การตัดสินหั่นภาษีมรดก ซึ่งทำให้เงินฝากในต่างแดนหลั่งไหลเข้ามา แต่ราคาในตลาดอสังหาฯก็ลดความร้อนแรงลงบ้าง เนื่องจากความสัมพันธ์กับจีนดีขึ้นหลังจากที่ หม่า อิงจิ่ว ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีไต้หวันในเดือน มี.ค.2551

    ข้อมูลรัฐบาลไต้หวัน เผยในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ว่า สัดส่วนราคาที่อยู่อาศัยต่อรายได้ พุ่งสูงแตะระดับ 11.5 จากที่ระดับ 9.9 ในช่วงสิ้นปี 2551 ซึ่งหมายความว่า แม้ครอบครัวชาวไต้หวันโดยทั่วไป จะไม่ใช้จ่ายในด้านอื่นเลย แม้กระทั่งอาหาร เสื้อผ้า ก็ยังต้องใช้เวลาออมเงินนับ 10 ปี จึงจะซื้อบ้านได้สักหลัง

    ขณะที่ประชาชนไต้หวันต่างวิตกกังวลต่อราคาที่อยู่อาศัยที่พุ่งสูงลิบ ธนาคารกลางไต้หวันได้ประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว 2 ครั้ง พร้อมคุมเข้มสินเชื่อเพื่อการกู้ซื้อบ้านในปีนี้ แต่จนถึงตอนนี้ ยังไม่ส่งผลเท่าใดนัก

    จัง จิ้นเอ่อ ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเจิ้งจื้อในกรุง ไทเป กล่าวว่า “ฟองสบู่ภาคอสังฯ เกิดขึ้นมาได้พักหนึ่งแล้ว และมันกำลังใหญ่ขึ้นๆ” พร้อมกล่าวว่า “ราคาอสังหาฯในกรุงไทเป อยู่ที่ 43 เปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งสูงกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับรายได้โดยเฉลี่ยและอุปสงค์บ้านเช่าในปัจจุบัน”

    หลิว เพ่ยเจิน นักวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวัน ได้กล่าวเตือนว่า “การค้าเพื่อการเก็งกำไรระยะสั้น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ภาวะฟองสบู่ ได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของการทำธุรกรรมทั้งหมด ขณะที่ ในปีหน้าความเสี่ยงที่ฟองสบู่จะแตก อาจชัดเจนยิ่งขึ้น หากรัฐบาลไม่ออกมาตรการใหม่มาควบคุมราคา”

    China - Manager Online -
     
  16. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอเซียตื่นฟองสบู่! อสังหาฯพุ่ง เก็งกำไรทะลัก

    ในปีนี้มีปรากฏการณ์ที่คาดไม่ถึง หลายอย่างเกิดขึ้นในเอเชีย ตั้งแต่การแย่งชิงตำแหน่งมหาอำนาจเศรษฐกิจระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ไปจนถึงการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ภายหลังผ่านพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เพียงไม่ถึง 1 ปี
    หนึ่งในปรากฏการณ์ที่นักลงทุนจับตาเป็นพิเศษ คือ ความร้อนแรงของระดับราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และปริมาณทุนที่หลั่งไหลเข้ามาในตลาดนี้
    การขยายตัวของระดับราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างหวือหวาจนกระทั่งน่าตกใจ
    จีนมีอัตราการขยายตัวของราคาในตลาดอสังหาฯ ระหว่างปี 2550 ถึงไตรมาสแรกของปีนี้ถึง 30 เท่า เฉพาะในกรุงปักกิ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่า 46 เท่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ แต่ยังนับว่าน้อยกว่าเมืองหางโจวที่ถีบตัวขึ้นมาถึง 65 เท่า
    ฮ่องกง อัตราปรับเพิ่มถึง 42% นับตั้งแต่ต้นปีที่แล้วจนถึงปีนี้ และช่วงครึ่งแรกของปีอาจพุ่งขึ้นมาอีก 10% หากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ ยังผลให้ฮ่องกงยังครองแชมป์ตลาดอสังหาฯ ที่ราคาแพงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ยืนยันถึงความมั่งคั่งของฮ่องกง แต่ในขณะเดียวกันอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วเกินไป กำลังกลายเป็นแนวโน้มที่อันตราย
    ที่ไต้หวัน ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ราคาอสังหาฯ ดีดตัวขึ้นมาถึง 19.97% ยังผลให้ไต้หวันเป็นประเทศที่มีอัตราปรับเพิ่มของระดับราคาในตลาดอสังหาฯ สูงที่สุดในโลก เป็นรองก็แต่เพียงฮ่องกงและสิงคโปร์ อีกทั้งยังมีสัญญาณอัตราที่ภาวะฟองสบู่ในไต้หวันอาจรุนแรงกว่าฟองสบู่อสัง หาฯ สหรัฐที่ระเบิดไปเมื่อปี 2551
    ที่สิงคโปร์ ในราคาที่พักอาศัยส่วนบุคคลปรับขึ้นมาถึง 38% ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ทำลายสถิติสูงสุดที่เคยทำไว้เมื่อปี 2539 หรือก่อนที่เอเชียจะประสบกับวิกฤตการเงินเมื่อปี 2540 ขณะที่อัตราการขยายตัวของสิงคโปร์รวดเร็วไม่แพ้กัน เพราะคาดว่าจะโตถึง 13-15% ในปีนี้
    อัตราการขยายตัวเช่นนี้ยิ่งเป็นแรงดึงดูดให้กระแสทุนเข้ามาลงทุนใน สิงคโปร์ รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะจีนที่โตในอัตราเฉลี่ย 9% และฮ่องกงกับไต้หวันที่ร้อนแรงไม่แพ้กันเพราะกำลังเกาะกระแสจีนอย่างเหนียว แน่น
    สาเหตุที่เอเชียกำลังก่อภาวะฟองสบู่อย่างรวดเร็ว ก็เพราะทุนที่กำลังหนีสหรัฐและยุโรปกำลังหลั่งไหลเข้ามาเอเชีย ในฐานะพื้นที่ทดแทนการลงทุนที่ให้ดอกให้ผลดีกว่า และมีเสถียรภาพมากกว่า
    แต่ในขณะเดียวกันเสถียรภาพของเอเชียกลับถูกบั่นทอนโดยกระแสทุนเหล่านี้ รวมถึงทุนภายในที่มั่งคั่งขึ้นและต่างพากันแสวงหาความมั่งคั่งยิ่งๆ ขึ้นด้วยวิธีการที่สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง นั่นคือการเก็งกำไร

    ในกรณีนี้ ทุนที่ไหลเข้าเอเชียจึงเป็นดาบสองคมอย่างไม่ต้องสงสัย
    สิ่งที่เป็น “คุณ” สำหรับกองทุนที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาเก็งกำไรในเอเชีย คือ ภูมิภาคนี้ยังขาดมาตรการควบคุมกองทุนดังเช่นสหรัฐและยุโรป ซึ่งบัดนี้ลงมือ“ล้อมคอก” ตลาดทุนอย่างขมีขมัน ภายหลังรอดชีวิตจากวิกฤตการเงินได้อย่างหวุดหวิด
    แน่นอนว่า สิ่งที่เป็นคุณสำหรับกองทุนเก็งกำไร ย่อมเป็นโทษสำหรับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ แต่ด้วยความร้อนแรงและความมั่งคั่งที่ได้รับ ทำให้เอเชียตระหนักในแนวโน้มของปัญหาน้อยมาก
    จีนเป็นหัวหอกที่วางมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ นับตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นมา ล่าสุด คือคำสั่งจากธนาคารกลางให้ธนาคารที่ปล่อยกู้เข้าสู่ระบบทำการทดสอบสมรรถภาพ ทางการเงิน ในกรณีที่ระดับราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ทิ้งตัวลงต่ำกว่า 50%
    อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่ออกมายังสับสนจนยากจะประเมิน เพราะแม้ระดับราคาจะปรับลดลงในช่วงเดือน ก.ค. และ ส.ค. แต่นักลงทุนยังกังวลกับปัญหาฟองสบู่อยู่ดี ขณะที่รัฐบาลยังคงย้ำด้วยคำพูดถึงการนำมาตรการมาใช้เพิ่มเติม รวมถึงการขึ้นภาษีการขายอสังหาฯ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมาก เพราะอาจกระทบต่อภาคธุรกิจ
    โดยสรุปก็คือ จีนยังพะว้าพะวังกับการควบคุมระดับราคาอย่างเต็มที่เพราะเกรงผลกระทบด้านการ ลงทุน แต่ขณะเดียวกันหากไม่รีบป้องกันภาวะฟองสบู่อย่างจริงจัง สถานการณ์อาจยิ่งเลวร้ายลง
    ในส่วนของฮ่องกงยังมีท่าทีที่คลุมเครือเช่นกัน โดยมีข่าวแว่วออกมาตั้งแต่เดือนมิ.ย. ว่าอาจขึ้นภาษีการขายอสังหาฯ แต่จนขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เช่นเดียวกับเมื่อต้นเดือนที่แล้ว ที่รัฐบาลฮ่องกงประกาศจะควบคุมกระบวนการปล่อยเงินกู้ พร้อมเพิ่มพื้นที่สำหรับก่อสร้างที่อยู่อาศัย
    กระนั้นก็ตาม ทางการฮ่องกงอาจเห็นว่า การปล่อยเพียงข่าวนำร่องออกมาจะมีส่วนทำให้ระดับราคาปรับลงมาโดยไม่ต้องใช้ มาตรการจริงๆ ก็เป็นได้ เพราะจะกระทบต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ที่กำลังขยายตัวและเป็นกำลังหลักของเศรษฐกิจฮ่องกง
    ไต้หวันนับเป็นประเทศที่ใช้มาตรการอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานควบคุมทางการเงินได้สั่งการให้ธนาคารเข้มงวดกับกระบวนการพิจารณา ปล่อยเงินกู้ยิ่งขึ้น ขณะที่ธนาคารของรัฐอีก 2 แห่ง ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาฯ และลดปริมาณเงินกู้สำหรับซื้อที่พักอาศัยราคาแพง อีกทั้งรัฐบาลยังอยู่ระหว่างพิจารณาขึ้นภาษีอสังหาฯ นับว่าไต้หวันมีความรัดกุมค่อนข้างมาก
    เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ที่เพิ่งกำหนดให้ธนาคารสามารถปล่อยเงินกู้สำหรับซื้อหาอสังหาฯ ได้ในสัดส่วนเพียง 70% ของราคาซื้อเท่านั้นจากเดิมที่จะปล่อยกู้ให้ลูกค้าได้ถึง 80% นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังต้องจ่ายเงินดาวน์เป็นเงินสดในสัดส่วน 10% ของราคาซื้อ จากเดิมที่จะต้องจ่ายเพียง 5%
    มาตรการนี้มิใช่เพื่อกดดันประชาชน แต่เพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรที่อยู่อาศัยที่เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น พร้อมๆ กับที่เศรษฐกิจของสิงคโปร์กำลังขยายตัวเร็วจนน่าวิตก เพราะสูงถึง 24% ช่วงไตรมาส 2
    กระทั่งนายกรัฐมนตรี ลีเซียนลูง ยังอดแสดงความวิตกไม่ได้ว่า อัตราการขยายตัวที่สูงถึงเพียงนั้น จะทำให้สิงคโปร์ปราศจากเสถียรภาพ และทางที่ดีควรโตในอัตราเฉลี่ย 3-5% ต่อปีเท่านั้น อีกทั้งสิงคโปร์ยังไม่ควรรับประชากรชาวต่างชาติเพิ่มมากเกินไป เพราะยิ่งจะเข้ามาแย่งที่อยู่อาศัยจนราคาพุ่งสูงลิ่ว จากเดิมที่สิงคโปร์อ้าแขนรับทรัพยากรบุคคลจากทั่วโลกด้วยความยินดี
    ถ้อยคำของนายกรัฐมนตรีลีเซียนลูงเป็นภาพสะท้อนแนวทางการขยายตัวของเอเชีย ได้เป็นอย่างดี เพราะสิ่งที่ดีที่สุดไม่ใช่ความมั่งคั่งถ้วนหน้าที่มาพร้อมมูลค่าทาง เศรษฐกิจที่ยิ่งแพงขึ้น
    แต่สิ่งที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดสำหรับประเทศในเอเชียที่มีรากฐานมั่นคงอยู่แล้ว คือการขยายตัวอย่างพอเหมาะพอเจาะ
    หาไม่แล้วฟองสบู่ที่เริ่มก่อตัวทั่วภูมิภาคจะทำให้ความหวังอันยิ่งใหญ่ของเอเชียต้องสลายลงไปกับตา

    MSN
     
  17. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    IMFแนะจีน-ฮ่องกง หาทางสกัดฟองสบู่อสังหาฯ

    3 ธ.ค. 53 11.25 น
    รายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศ เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกแถลงการณ์ ระบุ จีนและฮ่องกง จำเป็นต้องดำเนินมาตรการเพิ่มเติม เพื่อสกัดภาวะฟองสบู่ ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ กำลังก่อตัวขึ้นในบางส่วนของตลาด พร้อมทั้งระบุด้วยว่า ยังมีตลาดอสังหาริมทรัพย์อีกหลายประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ และอินเดีย กำลังจะเกิดปัญหาฟองสบู่ ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ประกอบกับเงินทุนไหลเข้าจากต่างชาติจำนวนมาก
    IMFแนะจีน-ฮ่องกง หาทางสกัดฟองสบู่อสังหาฯ
     
  18. พลอยรุ้ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +2,088
    จะติดตามไปเรื่อยๆค่ะ (แอบ)มาอ่านเกือบทุกวันค่ะ
    โผล่มาให้กำลังใจค่ะ chearr สู้ๆๆๆๆๆๆ ค่ะ
     
  19. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รั่วสนั่นอาเซียน "บิ๊กลี" ก่นไม่ควรรับพม่า ลาว เขมร เวียดนาม เข้ากลุ่ม
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2553



    รั่วสนั่น-- ภาพแฟ้มวันที่ 16 ม.ค.2550 นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ให้การต้อนรับ นายลีกวนยิว (Lee Kuan Yew) รัฐมนตรีอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ที่เรือนรับรองรัฐบาลในกรุงฮานอย ปีเดียวกันนี้นายลีได้วิจารณ์อาเซียน ว่าไม่ควรรับเอาลาว กัมพูชา พม่าและเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิก แต่รัฐบุรุษก็มองเวียดนามในแง่ที่ดี ผู้คนมาก ทรัพยากรสมบูรณ์ และคนขนยันขันแข็ง แต่ก็มองลาวกับพม่าเป็น "สายลับ" จีน และ การเมืองในเขมรแย่ที่ทุกอย่างรวมกันอยู่รอบๆ ฮุนเซนคนเดียว.--REUTERS.

    ASTVผู้จัดการ ออนไลน์-- รั่วลือลั่นสนั่นเมืองอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่สิงคโปร์กำลังแก้ตัวพัลวันกับมาเลเซียเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับวาทะของอดีตผู้นำ วิกิลีคส์เว็บไซต์อื้อฉาวรั่วข่าวนายลีกวนยิว (Lee Kuan Yew) ซ้ำอีก อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์และรัฐบุรุษก่นอาเซียนทำลายค่านิยมของกลุ่ม รับเอาลาว เขมร พม่าและเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก ทั้งๆ ที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมายกับสมาชิกดั้งเดิม 6 ประเทศ

    นายลีระบุดังกล่าวระหว่างการสนทนาแบบ "เป็นความลับ" กับนางแพริเชีย แอล เฮอร์โบลด์ (Patricia L Herbold) ซ่างปรากฏในโรพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในเว็บไซต์ New Temasek Review วันพฤหัสบดี 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา

    ก่อนหน้านี้วิกิลีคส์ได้เผยแพร่โทรพิมพ์ฉบับหนึ่งของสถานทูตสหรัฐฯ ซึ่งได้อ้างคำพูดของนายลีว่า มาเลเซียกำลังเสื่อมถอยเนื่องจากได้ผู้นำที่ "ไร้ประสิทธิภาพ" (Incompetent) ซึ่งหมายถึงดาโต๊ะเสรีนาจิบดับดุลราซัค (Datuk Seri Najib Tun Razak) นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ความเห็นนี้ได้ทำให้บรรดาผู้นำในกรุงกัวลาลัมเปอร์ออกตอบโต้

    บางคนเช่น นายอันวาร์ อิบรอฮิม ได้ท้าทายให้สิงคโปร์แสดงหลักฐานเพื่อยืนยันคำปรามาสของรัฐบุรุษอาวุโส

    รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์จอร์จ เยียว (George Yeow) ได้พยายามกล่าวแก้ว่า วิกิลีคส์ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ขณะเดียวกันก็กล่าวอีกว่า เรื่องเช่นนี้เป็นเสมือน "ข่าวซุบซิบในงานเลี้ยงค็อกเทล" หรือ "ข่าวซุบซิบในอินเตอร์เน็ต"

    แต่สำหรับมาเลเซียไม่ได้คิดว่า วาทะของนายลีเป็นเพียงเรื่องซุบซิบ เนื่องจากโทรพิมพ์รหัส “VZCZCXRO3881" ที่วิกิลีคส์เปิดเผยออกมานั้่น สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ส่งไปยังสถานทูตอีกหลายแห่งคือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ และ ถึงกระทรวงการต่างประเทศในกรุงวอชิงตันดีซีด้วย

    ระหว่างพบปะกันในปี 2550 นายลีได้บอกกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่ร่วมวงด้วยว่า "อาเซียนไม่ควรยอมรับเอาพม่า กัมพูชา ลาว กับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกในช่วงทศวรรษที่ 1990"

    "สมาชิกเก่าอาเซียนได้มีค่านิยมร่วมกัน และการต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ ค่านิยมเหล่านี้ ถูกทำให้ขุ่นมัวลงโดยประเทศสมาชิกใหม่ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขา ได้ทำให้น่าสงสัยว่า พวกเขาจะสามารถประพฤติปฏิบัติเหมือนสมาชิกเก่าได้หรือไม่" นายลีกล่าว

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="600"> </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">
    มหา มิตร-- ภาพแฟ้มวันที่ 11 พ.ย.2543 อดีตประธานาธิบดีจีน เจียงเจ๋อหมิน (Jiang Zemin) เดินทางถึงท่าอากาศยานนครเวียงจันทน์ ในการเยือนครั้งปฐมฤกษ์ สองฝ่ายเคยนเป็นปรกปักษ์กันในยุคสงครามเย็น แต่หลังจากนั้นความสัมพันธ์ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ต้นปีหน้านี้จีนจะเริ่มสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงจากนครคุนหมิงเข้าลาว ทะลุถึง จ.หนองคาย เชื่อมกับระบบของไทย เมื่อ 3 ปีก่อนหน้านี้ นายลีกวนยิว อดีตนายกฯ สิงคโปร์มองว่า ลาวจะเป็น "หน้าด่าน" ของจีน. --AFP PHOTO. </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top"></td> </tr> </tbody></table> ความวิตกกังวลของอดีตผู้นำสิงคโปร์ดูจะเป็นจริงไม่มากก็น้อย เพราะในปัจจุบัน ประเทศสมาชิกใหม่ทั้ง 4 ได้ร่มตัวกันขึ้นมาเป็น "มุ้งเล็ก" ภายในกลุ่มอาเซียน โดยเรียกชื่อกลุ่มตามลำดับตัวอักษรว่า CMLV มีความตกลงความร่วมมือระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ไม่เกี่ยวกับอาเซียนทั้งสมาคม

    ขณะที่สามประเทศคือ ลาว กัมพูชาและเวียดนาม แสดงความเห็นอกเห็นใจเผด็จการทหารในพม่า ประเทศสมาชิกเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซีย ที่ตกอยู่ใต้เผด็จการทหารมานานหลายสิบปี ต่อต้านรัฐบาลทหารในพม่าอย่างไม่ปิดบัง

    ก่อนหน้านี้ไม่กี่วันวิกิลีคส์ได้รั่วโทรเลขสถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์อีกชิ้นหนึ่ง ที่นายลีให้ความเห็นว่า ผู้นำพม่าคือ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วยเป็นคน "ทื่อ" (dense) และ "โง่เง่า" (stupid) และ พูดกับผู้นำพม่า "เหมือนพูดกับคนตาย"

    แต่นายลีมองในแง่ดีมากที่สุดกับเวียดนาม ขณะที่กล่าวถึงลาวว่าเป็นเสมือน “หน้าด่าน” ของจีน และลาวจะรายงานจีนเกี่ยวกับขบวนการต่างๆ จากประเทศสมาชิกอาเซียน ขณะที่ระบอบการเมืองของกัมพูชา รวมศูนย์อยู่ที่ตัวบุคคลคือ ฮุนเซนมากเกินไป

    นายลีเคยกล่าวถึงพม่าคล้ายๆ กับลาว คณะปกครองทหารจะประพฤติตัวเป็นสายลับให้จีน ความตกลงอะไรที่สามารถบรรลุได้ในอาเซียน จะรั่วไปถึงปักกิ่งไม่นานหลังจากนั้น

    นายลีมีความคิดว่าอาเซียนน่าจะตั้งให้ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย นายสุสิโลบัมบังยุทโยโน หรือที่ดรียกันสั้นๆ ว่า SBY เป็นผู้เจรจาภายใน (interlocutor) ของอาเซียน เพื่อติดต่อเจรจากับระบบทหารพม่าโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นทหารมาด้วยกัน ส่วนสิงคโปร์ไม่เหมาะจะทำหน้าที่นี้ เนื่องจากพม่ามองว่าใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากเกินไป

    ยังไม่มีการกล่าวแก้ใดๆ จากอดีตผู้นำที่ครั้งหนึ่งมีอำนาจมากที่สุดในสิงคโปร์ และ นายลีได้หายหน้าไปจากสาธารณชน นับตั้งแต่วิกิลีคส์ได้ปูดข่าวร้ายๆ กับประเทศเพื่อนบ้านออกมา.

    http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000177607
     
  20. k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จับเข่า (ดามเหล็ก) คุยกับ อมาตยา เซน เรื่องความอยุติธรรม

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    กาแฟดำ


    นักคิดนักเขียนนักวิพากษ์สังคมโลกอย่าง อมาตยา เซน มาเมืองไทยทั้งที ผมก็ต้องขอไปนั่งสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดล่าสุด
    อย่างที่เคยมีเวลาจับเข่าซักถามเมื่อเจ็ดปีก่อน
    "ผมเจอนายกฯ อภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) ท่านบอกแกว่าผมไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลของเขา..." อมาตยาบอกผมอย่างนิ่มนวลแต่แข็งขัน
    "นายกฯ อภิสิทธิ์ บอกผมว่าแกเข้าใจเหตุผลของผม และแกก็อธิบายให้ผมฟังว่า ทำไมแกจึงคิดอย่างนั้น... แล้วเราก็แลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างตรงไปตรงมาได้"
    อมาตยา เซน เป็นปราชญ์หลายด้าน สามารถจะถกเรื่องปรัชญาก็ได้ เรื่องเศรษฐศาสตร์ ก็เอา หรือแน่นอนว่า ประเด็นสังคมระดับโลกก็เป็นเรื่องที่เขาพร้อมจะถกแถลงได้อย่างคล่องแคล่ว
    อมาตยา เซน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 1998 เพราะผลงานด้านแนวคิดช่วยเหลือคนรากหญ้าและแก้ปัญหาความยากจนของคนชั้นล่าง ของสังคม เขาเคยประกาศไว้เป็นทฤษฎีที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า "ที่ใดมีประชาธิปไตย ที่นั่นไม่มีคนอดอาหารตาย" เพราะเขาเชื่อว่าสังคมใดที่ประชาชน สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี และข่าวสารสามารถส่งถึงกันได้อย่างสะดวก รัฐบาลไหนก็ตามจะต้องฟังเสียงประชาชน และพวกนักการเมืองฉ้อฉลกับข้าราชการโหลยโท่ย ก็ไม่สามารถจะทำให้เกิดสภาวะที่ผู้คนจะไม่มีข้าวปลาอาหารกินได้ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่แร้นแค้นเพียงใดก็ตาม
    เขาเพิ่งได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็น 1 ใน 100 "นักคิดที่มีอิทธิพลต่อโลก"
    แต่ใครที่ได้เจอและสนทนาด้วยจะรู้ว่าเขาเป็นคนถ่อมตน พูดคุยสนุกสนาน เป็นกันเองและพร้อมจะแลกเปลี่ยนความเห็นที่แปลกแยก โดยไม่มีความรู้สึกแบ่งแยกแต่อย่างไรเลย
    เขาเรียกตัวเองว่าเป็น "นักยุยง" (agitator) เพื่อให้ประชาคมโลกแก้ไขปัญหาความอยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนหิวโหยและสิทธิมนุษยชน
    มาเมืองไทยคราวนี้ ("ผมคิดว่าผมมาเมืองไทยเกือบ 200 ครั้งแล้วกระมัง...") อมาตยา เซน ได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้มาปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ความยุติธรรม : จากแนวคิดสู่วิธีปฏิบัติ" วันนี้ (เสาร์ที่ 18 ธ.ค. ระหว่าง 08.30-11.00 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์)
    เพราะเขาเชื่อจริงๆ ว่าปัญหาความอยุติธรรมของโลกนั้น ไม่ใช่แก้กันเพียงแค่การพูดถึงหลักการและทฤษฎีเท่านั้น แต่จะต้องนำมาใช้ในภาคปฏิบัติที่มีผลในชีวิตประจำวันของคนจริงๆ จึงจะถือว่าเป็นกระทำเพื่อมนุษยชาติอย่างแท้จริง
    ที่น่าชื่นชม คือ เขาไม่ได้เป็นแค่อาจารย์สอนหนังสือมหาวิทยาลัยระดับโลกจาก "หอคอยงาช้าง" อย่างฮาร์วาร์ด ของสหรัฐ และเคมบริดจ์ ที่อังกฤษ หากแต่ยังลงมือกระตุ้นรัฐบาลและเอกชน ให้แก้ปัญหาความไม่เท่าเทียม และยากไร้ของคนด้อยโอกาสในประเทศยากจนหลายประเทศ
    เขามอบเงินรางวัล ที่ได้จากโนเบลไปตั้งกองทุนช่วยเหลือเด็กยากไร้ที่บังกลาเทศ และส่งเสริมให้มีทุนสำหรับอาหารกลางวันสำหรับเด็กหิวโหยโดยไม่หวังพึ่งพารัฐ บาลใดๆ
    เขาบอกผมว่า "ถึงเวลาแล้วที่คนในโลกจะต้องก้าวออกมาร่วมมือกัน แก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมและความอยุติธรรม ที่ยังไม่อย่างกว้างขวางในทุกมุมโลก..."
    เขารับไม่ได้เลยกับพฤติกรรมของผู้มีอำนาจที่กอบโกยทั้งอำนาจและ เงินทอง เพื่อคงอำนาจทางการเมืองอย่างที่เขาเห็นในพม่าวันนี้ และยืนยันว่า การเลือกตั้งในพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ มิอาจจะถือว่าเป็นการทำให้ "นายพลเผด็จการ" มีความชอบธรรมด้านประชาธิปไตยมากขึ้นแต่อย่างใดทั้งสิ้น
    ผมถามเขาว่า อายุใกล้ 80 ปี ยังคึกคักในกิจกรรมเพื่อสังคมระดับมากมายเช่นนี้ได้อย่างไร
    "ปีนี้ผม 77 ผมไม่เล่นสกี ไม่ตีกอล์ฟ ไม่สูบบุหรี่...ผมมีเวลาทำในสิ่งที่ผมเชื่อว่าสำคัญต่อมวลมนุษย์ก็เป็นความสุข..." อมาตยา เซน บอกผมอย่างอารมณ์ดี
    ได้พูดคุยสัมภาษณ์ "คนจริง" อย่างนี้ จิตใจก็ผ่องใส ทำให้ผมมีความหวังในมนุษยชาติมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพราะอมาตยา เซน ทำให้ผมเห็นว่าปัญญากับการทำจริงนั้นไปด้วยกันได้จริงๆ
    (ใช่ครับ ผมจับเข่าคุยกับท่านนักคิดระดับโลกคนนี้จริงๆ เพราะเขาบอกผมว่าเคยออกกำลังกายด้วยการวิ่ง แต่ตอนหลังเข่ามีปัญหา ต้องผ่าตัด ตอนนี้ดามเหล็กแล้ว แข็งแรงไร้ปัญหาแม้จะต้องเคลื่อนไหวช้าลงบ้าง...แต่สมองทำงานว่องไวปราด เปรียวเหลือร้ายจริงๆ)

     

แชร์หน้านี้