ผมเข้าใจผิดว่าปรารถนาสิ้นภพชาติ ถ้างั้นตามปรารถนาครับพระคุณเจ้า
//// เจริญอานาปานสติแล้วจะมีผลอย่างไร ////
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย xeforce, 13 พฤษภาคม 2014.
หน้า 3 ของ 3
-
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลก
ที่น้อยคนนักจะสละและวางได้
จึงแย่งลาภแย่งยศกันอยู่เสมอ
เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน
แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย
หรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน
จิกตีกันทำลายกันจนพินาศไปทั้งสองฝ่าย
น่าสังเวชสลดใจจิตยิ่งนัก
ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง
มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี
ถ้าเขาลดโทสะลง
มีความเห็นอกเห็นใจกัน
มีเมตตากรุณาต่อกัน
และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย
ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและชีวิต
โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก
แต่ช่างเขาเถิด
หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ
คือลดความโลภ ความโกรธ
และความหลงของเธอเองให้น้อยลง
แล้วจะประสบความสุข
ความเยือกเย็นขึ้นมาก
เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใด
ความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น"
.............................
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน โดย อ.วศิน อินทสระ
-
ตอนเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ อาตมาก็ปรารถนาไม่เกิดอีกแล้วนั้นล่ะ..
แต่พอปฏิบัติไป มันก็รู้กำลังใจตัวเอง รู้ปรารถนาเดิมของตนเอง รู้หน้าที่ในการเกิดของตนเอง..
มันอธิบายยาก แม้อธิบายไปก็ไม่อาจเข้าถึงใจได้..
ต้องคนที่ปรารถนาเหมือนกันและปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตายเข้าแลก ถึงจะเข้าใจ. -
-
หลวงปู่มั่นบอกไว้แล้ว..
ถ้าปรารถนา สิ้นทุกข์ สิ้นภพ สิ้นชาติ ก็เอาตายเข้าแลก เลยสิโยม..
จะกลัวอะไร เกิดมาก็เพื่อตาย..
ถ้ามีวาสนาก็คงไม่ตาย แต่ จะได้พบธรรม เป็นสิ่งตอบแทน..
ถ้าถามว่า.. จะพบ ตถาคต ได้อย่างไร?
อาตมาก็จะตอบว่า.. พบได้ในความว่าง เมื่อเข้าถึงความว่าง อันว่างจากตัณหา อุปาทาน นั้นแหละ จึงได้พบตถาคต..
และอีกอย่าง ตถาคต ไม่ได้จากพวกเราไปไหน ตถาคต อยู่ในทุกสรรพสิ่ง..
แค่ผ่านรูปนามให้ได้เท่านั้น ก็จะได้พบ ตถาคต ดังปรารถนา.. -
-
-
-
สิ้นตัณหา คือนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
ที่เรียกว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้,
อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า !
ราธะ !
ความพอใจอันใด ราคะอันใด นันทิอันใด
ตัณหาอันใด
มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณ
เพราะการติดแล้ว ข้องแล้ว
ในสิ่งนั้นๆ เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ !
เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ
หรือกุมารีน้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่
ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก
มีความกระหาย มีความเร่าร้อน และมีตัณหา
ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ตราบนั้น
พวกเด็กน้อยนั้นๆ
ย่อมอาลัยเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ย่อมอยากเล่น
ย่อมอยากมีเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ว่าเป็นของเรา ดังนี้.
ราธะ !
แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อยๆ
หรือกุมารีน้อยๆ เหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว
ปราศจากฉันทะแล้วปราศจากความรักแล้ว
ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว
ปราศจากตัณหาแล้วในเรือนน้อย
ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ในกาลนั้น
พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ
ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
ให้กระจัดกระจายเรี่ยรายเกลื่อนกล่นไป
กระทำให้จบการเล่นเสีย
ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย
อุปมานี้ฉันใด.
ราธะ !
อุปไมยก็ฉันนั้น คือ :-
แม้พวกเธอทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออก
ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณจงขจัดเสียให้ถูกวิธี
จงทำให้แหลกลาญโดยถูกวิธี
จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธีจงปฏิบัติ
เพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.
ราธะ !
เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น
คือ นิพพาน ดังนี้แล.
........................
พุทธวจน ฉบับ ๑๑ ภพภูมิ ข้อ ๑๒๓ หน้า ๔๔๔
(ไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๑/๓๖๗.
หน้า 3 ของ 3