เรียนถามท่านผู้รู้การทำสมถะ100ละ100เพ่งจริงเหรอครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผู้หลง, 24 มิถุนายน 2009.

  1. มัชชิ

    มัชชิ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +0
    ไม่ว่าจะสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี ย่อมอาศัยประกอบด้วยความเพ่งอยู่เป็นธรรมดา เพียงแต่เพ่งอยู่ด้วยลักษณะที่แตกต่างกัน ด้วยการตั้งเจตนาที่แตกต่างกัน ให้ผลแตกต่างกัน แต่ไม่ก้าวล่วง ไม่ขัดแย้งกัน เป็นไปเพื่อกิจเดียวกัน แต่อย่างไรก็ดี ความหมายของคำว่าสมถะ และวิปัสสนา ไม่ใช่หมายถึงการเพ่งโดยตรง

    พระศาสดาทรงตรัสถึง สภาพไม่ฟุ้งซ่าน แห่งสมถะ สภาพพิจารณาเห็น แห่งวิปัสสนา สภาพตั้งมั่น แห่งสัมมาสติ และสภาพมั่นคง แห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ

    การเพ่ง ไม่ได้หมายถึงสมถะ ถึงแม้ว่าผู้เจริญสมถะจะประกอบความเพ่งอยู่บางเวลาก็ตาม

    สิ่งที่จิตอาศัยเป็นเครื่อง หรือเป็นอารมณ์ในการเพ่งเล็งอยู่นั้น เรียกว่า นิมิต และนิมิตนั้น มีทั้งที่งาม และที่ทราม มีทั้งที่หยาบ และที่ประณีต มีทั้งที่เป็นไปเพื่อกุศล และที่เป็นไปเพื่ออกุศล ฯลฯ แน่นอนว่า การเพ่งนิมิต ที่เป็นไปเพื่อกุศล ย่อมดีกว่า และการเพ่งไปในนิมิตที่เป็นไปเพื่ออกุศล ย่อมไม่ดี นิมิตอย่างไรที่เป็นไปเพื่อกุศล? ก็นิมิตที่น้อมไปแล้ว เพ่งเล็งไปแล้ว แล่นไปแล้ว ศรัทธาไปแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ละอกุศล ย่อมเป็นเหตุให้ระงับ หรือบรรเทากิเลส ตัณหา ความยินดีในกาม ทั้งหลายนั้น ย่อมเป็นกุศล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ นิมิตอย่างไรที่เป็นไปเพื่ออกุศล? ก็นิมิตที่น้อมไปแล้ว เพ่งเล็งไปแล้ว แล่นอาศัยไปแล้ว ศรัทธาไปแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้กุศลธรรมเสื่อมไป ย่อมเป็นไปเพื่อความพอกพูนในกิเลส ตัณหา ความยินดีในกาม ทั้งหลายนั้น ย่อมเป็นอกุศล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่อความเป็นโทษภัย

    ผู้ยังประกอบเจตนาในการเพ่งอยู่ ย่อมยังไม่ได้ชื่อว่า บรรลุผลในการเพ่ง คือ ฌาน
    ผู้ยังประกอบเจตนาในการพิจารณาอยู่ ย่ิอมยังไม่ได้ชื่อว่า บรรลุผลในการพิจารณา คือ ปัญญา

    ส่วนผู้ประกอบความเพ่งอยู่ แล้วมีอาการตึงเครียด มักเป็นผลจากเหตุสองประการ ประการแรกก็คือ เพ่งไม่ถูกต้อง หรือประการที่สอง คือ ยังเพ่งไม่เป็นผล คือ ยังไม่บรรลุฌาน และปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดในการเพ่ง ก็ได้แก่ นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ บางทีก็เรียกรวมๆไปว่า ความฟุ้งซ่าน อันแต่ละบุคคลมีอยู่ไม่เท่ากัน หรือแม้แต่บุคคลเดียวกัน ในเวลาหรือสถานการณ์ที่ต่างกัน ก็มีอยู่ไม่เท่ากัน ดังนั้น คนบางพวกประกอบความเพ่งแล้วมักตึง บางพวกประกอบความเพ่งแล้วมักไม่ตึง หรือบุคคลเดียวกัน เมื่อประกอบความเพ่งในเวลาหรือสถานการณ์ที่ต่างกันแล้ว บางทีก็ตึง บางทีก็ไม่ตึง แต่อย่างไรก็ดี หากเพ่งแล้วตึง ก็ยังไม่ได้หมายความว่าผิด เสมอไป เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า นิวรณ์ ยังไม่หมดไป อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดโดยร่างกาย กับความตึงเครียดในจิตใจ ยังไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

    สำหรับผู้เพ่งในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือนิมิตใดนิมิตหนึ่ง จนเป็นผล คือ ฌานแล้ว สมถะย่อมเกิด ย่อมไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์อื่น นิมิตอื่น หรือสิ่งอื่นด้วยอำนาจแห่งกิเลสนิวรณ์ ผลคือ ความสงบระงับ ครั้นเมื่อน้อมจิตพิจารณาเพ่งเล็งไปเพื่อความรู้ชัด เพื่อความเห็นชัด ในสภาพ และหลักการแห่งความเป็นจริงในอารมณ์นั้น ในนิมิตนั้น ในสิ่งนั้น หรือในธรรมนั้น อันเป็นไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์ วิปัสสนา ย่อมเกิด ผลคือ ปัญญา ผลคือ ความรู้ชัดในการปล่อยวางสภาพธรรมอันปรากฏอยู่แก่ตน

    พระนิพพานธรรม เป็นธรรมอันจำเพาะ รู้ด้วยการคาดเดา หรือโดยประมวลเอา มิได้ ดังนั้น จึงยังไม่ควรเชื่อถือตามเพียงเหตุเพราะผู้นั้นประกาศอ้าง หรือเพียงเพราะเหตุว่าผู้อื่นเชื่อถือตามกันมา บุคคลควรจำแนกให้แยบคายว่า สิ่งใด เป็นศรัทธา สิ่งใด คือปัญญา

    อีกประการหนึ่ง ความปรารถนายินดีต้องการได้ในสิ่งใด หรือในธรรมใดนั้น มีทั้งที่เป็นไปเพื่อโลภะ เป็นความเสื่อม เป็นอกุศล และมีทั้งที่เป็นไปเพื่ออโลภะ เป็นความเจริญ เป็นกุศล ไม่ใช่ว่า ความต้องการทุกอย่างจะต้องเป็นโลภะทั้งหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2009
  2. มัชชิ

    มัชชิ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +0
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



    สีลสูตร
    การหลีกออก ๒ วิธี
    [๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี แต่ละอย่างๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ หลีกออกด้วยกาย ๑ หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.
    [๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.
    [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว
    [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
    [๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.
    [๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
    [๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว มีความสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น ด้วยดี.
    [๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมั่นแล้ว อย่างนั้น ด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.



    อานิสงส์การเจริญโพชฌงค์
    [๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน?
    [๓๘๒] คือ (๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน (๒) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย (๓) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอานาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้
    บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้
    ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

    จบ สูตรที่ ๓
     
  3. มัชชิ

    มัชชิ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +0
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค



    อานันทสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์
    [๑๓๘๐] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.
    [๑๓๘๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ ... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์เป็นไฉน?
    พ. ดูกรอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.
    [๑๓๘๒] ดูกรอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออกย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ในสมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๘๓] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ... หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๘๔] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ... หายใจเข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๘๕] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก ... หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ... หายใจเข้า ในสมัย
    นั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
    [๑๓๘๖] ดูกรอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.
    [๑๓๘๗] ดูกรอานนท์ ก็สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์? ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ ในสมัยนั้น เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา.
    [๑๓๘๘] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียร
    ไม่ย่อหย่อน
    [๑๓๘๙] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด เมื่อภิกษุค้นคว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่า ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.
    [๑๓๙๐] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ.
    [๑๓๙๑] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.
    [๑๓๙๒] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความสุข ย่อมตั้งมั่นในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.
    [๑๓๙๓] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี ในสมัยนั้นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.
    [๑๓๙๔] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... เห็นจิตในจิต ... เห็นธรรมในธรรม ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม.
    [๑๓๙๕] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น) เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.
    [๑๓๙๖] ดูกรอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่า เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.
    [๑๓๙๗] ดูกรอานนท์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
    [๑๓๙๘] ดูกรอานนท์ ก็โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... วิริยสัมโพชฌงค์ ... ปีติสัมโพชฌงค์ ... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์.

    จบ สูตรที่ ๓
     
  4. สาละ

    สาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +328
    ไตรลักษณ์ นี้จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด จะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
    ถึงแม้ว่าบุคคลใดจะทำสมาธิได้ดี จะได้รับความสุขขนาดไหนก็ตามหรือจะได้อภิญญาเพียงใดก็ตาม

    ถ้าไตรลักษณญาณยังไม่เกิดแล้ว ก็ยังนับว่าเป็นมิจฉาสมาธิ ยังอยู่ในวงเขตที่ผิด

    เมื่อพิจารณาขันธ์ 5 ธาตุ 4 เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว
    จนเกิดญาณ ความรู้พิเศษ เมื่อเกิดความรู้พิเศษแล้ว วิปัสสนูกิเลสหรือวิปลาส ก็เกิดขึ้นไม่ได้

    เมื่อสิ่งใดหรือความรู้ใดเกิดขึ้นก็จะเอาไตรลักษณ์เป็นเครื่องตัดสิน

    การพิจารณาให้ถือเอารู้รูปกายตามความเป็นจริง รู้เวทนาตามความเป็นจริง รู้จิตตามความเป็นจริง
    ให้ยึดถือความรู้นี้เป็นหลัก ความรู้อย่างอื่นไม่สำคัญ

    ถึงจะเกิดอภิญญารู้ในเหตุผลต่างๆ ครั้งแรก ๆ ก็อาจเป็นจริง
    แต่ถ้าเรายึดถือในสิ่งเหล่านั้นต่อไป ก็จะกลายเป็นเรื่องหลอกลวงเรา ท่านจึงห้ามไม่ให้ถือเอานิมิตเป็นสิ่งสำคัญ

    ท่านจึงว่า ถ้าไตรลักษณญาณยังไม่เกิด ก็ยังเป็นมิจฉาสมาธิต้องทำการศึกษาและเร่งความเพียรยิ่งขึ้นไป

    พระธรรมเทศนาโดย
    หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่(อัฐิได้แปรเป็นพระธาตุยืนยันถึงคุณธรรมขั้นสูง)
     
  5. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    เอาเวอชั่นเต็มมาลงให้ครับ

    โดยหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่


    เมื่อได้ฌานแล้วบางครั้งก็จะได้ถึงขั้นอภิญญา ซึ่งเป็นความรู้พิเศษ ผู้ที่เวลาปฎิบัติเกิดนิมิตมากๆมักจะได้อภิญญา

    เมื่อมีเหตุการณ์ใดๆที่จะเกิดขึ้น ท่านมักจะรู้ล่วงหน้าก่อนเสมอ เช่น จะรู้ล่วงหน้าว่าวันนี้จะมีผู้มาหา เป็นต้น

    อภิญญาเกิดจากฌานสมาธิ อภิญญานี้ไม่แน่นอนมักจะเสื่อมได้ หรืออาจจะเป็นวิปลาสจะพูดไม่ตรงต่อธรรมวินัย

    เมื่อผู้ที่ได้อภิญญาแล้ว ถ้าไม่รู้ทัน ก็จะทำให้เกิดความหลงได้
    ในสายของหลวงปู่มั่นนี้ ท่านที่ได้อภิญญาที่สำคัญ คือ ท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร

    ท่านสามารถที่จะพูดกันได้กับท่านหลวงปู่มั่นเวลาท่านไปเยี่ยมกัน
    ท่านมักถามเป็นปัญหาว่า “เมื่อคืนรับแขกมากไหม”

    คำว่า “แขก” ในที่นี้ก็หมายถึงพวกเทพยดาในสวรรค์ชั้นต่างๆตลอดจนถึงพรอินทร์ที่ลงมากราบมาเยี่ยม

    สำหรับท่านพระอาจารย์ฝั้น ท่านประสบเหตุมามาก ท่านเคยเล่าให้อาตมาหลายเรื่อง ถ้าเขียนเป็นหนังสือ ก็จะได้เล่มหนาทีเดียว

    ท่านอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม ท่านเคยอยู่กับท่านอาจารย์ฝั้นหลายปี

    ท่านเคยเล่าให้อาตมาฟังว่า มีนกฮูกตัวหนึ่งมันร้องกุ๊กๆกู้ฮูก จับอยู่ที่ต้นไม้ใกล้กับที่พักของท่าน

    เมื่อได้เวลาประมาณ 2 ทุ่ม มันก็ร้องอยู่อย่างนั้นทุกคืน
    ท่านมีฌาน ท่านเลยเพ่งนกฮูก ปรากฏว่าพอท่านเพ่งไปเท่านั้นแหละ
    ขนของนกฮูกก็หลุดกระจุยเลย และก็มีเสียงตกลงดิน

    ท่านก็คิดว่ามันจะเป็นหรือตายอย่างไรหนอ ท่านกลัวจะเป็นโทษ ท่านเดินไปค้นหาซากของมัน ก็ไม่ปรากฏเห็น

    หลวงปู่มั่นท่านก็ประสบเหตุทำนองนี้เหมือนกัน คือมีบ่างใหญ่ตัวหนึ่งมาร้องอยู่บนต้นไม้ใกล้ๆกับท่านทุกวัน

    พอท่านเพ่งไปที่บ่าง บ่างก็ตกดินเลย แต่ปรากฏว่าไม่ตาย
    หลวงปู่มั่นท่านว่า หลังจากที่ผมเพ่งวันนั้นแล้ว ไม่ปรากฏเห็นบ่างตัวนั้นมาร้องอีก
    แสดงว่านกหรือบ่างอาจจะกระเทือนจิตใจของมันเหมือนกัน

    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ก็เป็นอีกองค์หนึ่งที่แตกฉานในธัมมปฏิสัมภิทา

    แตกฉานในการพูด การแสดงธรรม การแต่งหนังสือ
    โดยเฉพาะการแต่งหนังสือนั้น ท่านได้เขียนเกี่ยวกับประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไว้ได้อย่างละเอียดมาก ตลอดทั้งหนังสือที่เกี่ยวกับธรรมปฎิบัติอีกหลายเล่ม

    อย่างท่านเจ้าคุณนิโรธ ฯ (พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี) ก็เคยได้ไปกราบเยี่ยมท่าน

    พักอยู่กับท่านครั้งละหลายๆวัน ท่านให้เคยให้นโยบายเทศน์ให้ฟัง แต่ท่านไม่ได้เล่าเกี่ยวกับอภิญญา
    โดยท่านมักจะปกปิด ไม่เล่าให้ฟังทั่วๆไป

    ท่านหลวงปู่มั่น หรือท่านอาจารย์ฝั้นก็เช่นเดียวกัน ท่านก็จะพูดให้ผู้ที่ไว้ใจได้ฟังเท่านั้น

    ในขณะที่มีพระเณรญาติโยมมากๆ ท่านก็จะไม่พูด เพราะท่านว่าถ้าพูดไปเขาไม่เชื่อ
    เกรงว่าเขาจะหลบหลู่ดูหมิ่น จะเป็นบาปเป็นกรรมแก่พวกเขา
    หลวงปู่มั่นท่านจะหลบหลีกหมู่(เพื่อน) ไปธุดงค์องค์เดียวหรือสองสามองค์เป็นอย่างมาก

    บรรดาหมู่คณะหรือผู้ปฎิบัติเกิดความรู้ต่างๆหรือมีปัญหาที่จะต้องกราบเรียนถาม ก็จะต้องออกตามหาท่านเอง
    ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตามท่านพบเสียด้วย

    บุคคลที่มีปัญญาแก่กล้า ไตรลักษณ์จะเกิดในปฐมฌานหรือทุติยฌาน
    ส่วนบุคคลที่มีปัญญาขนาดกลาง ไตรลักษณ์จะเกิดเมื่อสำเร็จฌาน 4 แล้ว
    บุคคลใดที่สามารถสำเร็จฌาน 4 ก็มักจะไม่เกิดความกำหนัดหรือที่เรียกว่า จิตตกกระแสธรรม

    มันจะเป็นของมันเอง เรียกว่าเป็นผลของฌานสมาธิก็ได้
    ไตรลักษณ์ นี้จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด จะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
    ถึงแม้ว่าบุคคลใดจะทำสมาธิได้ดี จะได้รับความสุขขนาดไหนก็ตามหรือจะได้อภิญญาเพียงใดก็ตาม

    ถ้าไตรลักษณญาณยังไม่เกิดแล้ว ก็ยังนับว่าเป็นมิจฉาสมาธิ ยังอยู่ในวงเขตที่ผิด

    เมื่อพิจารณาขันธ์ 5 ธาตุ 4 เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว
    จนเกิดญาณ ความรู้พิเศษ เมื่อเกิดความรู้พิเศษแล้ว วิปัสสนูกิเลสหรือวิปลาส ก็เกิดขึ้นไม่ได้

    เมื่อสิ่งใดหรือความรู้ใดเกิดขึ้นก็จะเอาไตรลักษณ์เป็นเครื่องตัดสิน

    การพิจารณาให้ถือเอารู้รูปกายตามความเป็นจริง รู้เวทนาตามความเป็นจริง รู้จิตตามความเป็นจริง
    ให้ยึดถือความรู้นี้เป็นหลัก ความรู้อย่างอื่นไม่สำคัญ

    ถึงจะเกิดอภิญญารู้ในเหตุผลต่างๆ ครั้งแรก ๆ ก็อาจเป็นจริง
    แต่ถ้าเรายึดถือในสิ่งเหล่านั้นต่อไป ก็จะกลายเป็นเรื่องหลอกลวงเรา ท่านจึงห้ามไม่ให้ถือเอานิมิตเป็นสิ่งสำคัญ

    ท่านจึงว่า ถ้าไตรลักษณญาณยังไม่เกิด ก็ยังเป็นมิจฉาสมาธิต้องทำการศึกษาและเร่งความเพียรยิ่งขึ้นไป

    พระภิกษุรูปใดเด็ดเดี่ยว ชอบไปบำเพ็ญภาวนารูปเดียว มักจะได้อภิญญารู้เหตุผลต่างๆแม้แต่ในครั้งพุทธกาล

    พระภิกษุที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ยังมีคุณสมบัติไม่เสมอเหมือนกัน
    ตัวอย่างเช่นพระอรหันต์ที่สำเร็จอย่างแห้งแล้ง แสดงธรรมสอนผู้อื่นไม่ได้ไม่มีปฎิภาณโวหาร

    แต่ก็สามารถสิ้นอาสวะกิเลส เรียกพระอรหันต์จำพวกนี้ว่า “สุกขวิปัสสโก”
    ถ้าพูดถึงความสุขของผู้ที่สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ก็เหมือนกันหมด มีความสุขความสบายเท่าเทียมกัน

    เป็นพระนิพพานเหมือนกันหมด
    การที่ท่านผู้ใดจะได้วิชชา 3 อภิญญา 6 ปฏิสัมภิทา 4 นั้นก็จะต้องขึ้นอยู่กับบุญวาสนาของแต่ละท่านด้วย

    ผู้ที่ปฎิบัติเพียง2-3 ครั้ง ก็สามารถที่ทำจิตให้สงบได้ มีความรู้บาป บุญคุณโทษ

    ทำให้เพิ่มความเชื่อความเลื่อมใส จิตใจเยือกเย็นได้รับความสุข นี่ก็เป็นเพราะอำนาจบารมีเก่าที่ได้สะสมมา
    สิ่งที่ควรตั้งความปรารถนาให้เป็นอุปนิสัย คือ ทาน ศีล ภาวนา
    ถ้าบุคคลใดมีอุปนิสัยครบทั้ง 3 ประการนี้แล้ว หากเกิดภพชาติใดๆได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

    หรือสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแล้ว เมื่อได้ยินได้ฟังธรรมพระเทศนาก็มักจะได้บรรลุผลในการฟัง
    ในครั้งพุทธกาล มีท่านที่สำเร็จจากการฟังเป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง

    แสดงว่าท่านเหล่านี้เคยบำเพ็ญสร้างสมอบรมมา ตั้งแต่หนึ่งชาติขึ้นไป
    ส่วนผู้ที่ปรารถนาใหญ่ เช่นปรารถนาเป็นอัครสาวก ต้องเกิดเป็นมนุษย์เพื่อที่จะสร้างสมบารมีถึงแสนชาติ
    อย่างพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น

    ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ถ้าได้บำเพ็ญติดต่อกัน 1-3 ชาติ ก็จะเป็นอุปนิสัย
    ถ้าได้มีโอกาสพบครูบาอาจารย์ ก็จะทำสมาธิได้ง่าย หรือเจริญฌานได้ง่าย
    ขอให้พวกท่านจงทำกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถปฎิบัติได้เหมือนกัน เมื่อตั้งใจทำแล้ว

    จะไร้ผลเสียเลยก็ไม่มี อย่างต่ำก็เป็นการเพิ่มบุญวาสนาบารมีของเราให้แก่กล้าขึ้น

    พูดมาก็สมควรแก่เวลา........

    <HR>
     
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    จากหลวงปู่คำดี อีกชุดนึง

    หลวงปู่คำดีท่านก็ทรงอภิญญาครับ แต่ท่านไม่ติดในอภิญญา

    ท่านผู้ทรงอภิญญาได้แล้ว เจริญวิปัสสนาญาณจนเป็นพระอรหันต์จึงสอนไม่ให้ติดในอภิญญา ดังเช่นหลวงปู่คำดี

    หลวงปู่คำดี ท่านดีจริงๆครับ

    ถ้าในขณะทำสมาธิแล้วจิตรวมวูบลงไป เกิดเห็นร่างกายเป็นซากศพที่มีสภาพที่เหมือนกับว่าเพิ่งขุดขึ้นมาจากหลุมศพ แต่จริงๆ แล้วร่างกายเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเราถอนจิตออกมาก็จะเห็นเป็นตัวตนธรรมดา อาการที่เราเห็นเป็นซากศพเช่นนี้ ท่านเรียกว่า “อสุภนิมิต” ถ้าเราเคยได้ยินครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนในเรื่องของอสุภนิมิตแล้ว เราก็ทำความรู้เท่าทัน
    อสุภนิมิตนี้ถ้าเกิดบ่อยๆ จะเป็นการดีมาก ท่านอาจารย์ใหญ่ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) ท่านนิยมมาก ถ้าพระเณรองค์ใดได้อสุภนิมิต เห็นร่างกายเน่าเปื่อยเป็นซากศพแล้ว ท่านว่าผู้นั้นจะสามารถที่จะบรรลุธรรมได้ง่าย
    อสุภนิมิตนี้ไม่ใช่เป็นของร้าย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเราอดกลัวไม่ได้ ก็ให้เราลืมตาเสียตั้งสติให้มั่น ขออย่างเดียวอย่าลุกขึ้นวิ่งหนี ถ้าเราเคยได้ยินได้ฟังคำแนะนำอย่างนี้แล้ว เมื่อเวลาที่เกิดอสุภนิมิตก็จะระลึกได้อยู่หรอก แต่ถ้าเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เมื่อเวลาที่เกิดอสุภนิมิตขึ้นก็จะเกิดความกลัว ถ้าเราลุกวิ่งหนีก็จะทำให้เราเสียสติได้ การลุกขึ้นวิ่งหนีนี้ขอห้ามโดยเด็ดขาด
    การที่เกิดอสุภนิมิตนี้เรียกว่า “มีพระธรรมมาแสดงให้เราได้รู้ได้เห็น ว่าร่างกายของเราเป็นอย่างนี้ ย่อมมีความเจริญในเบื้องต้น มีความชราในเบื้องกลาง และมีการแตกสลายไปในที่สุด”
    เมื่อเวลาเกิดอสุภนิมิตขึ้น ถ้าเราสามารถทนได้นับว่าเป็นการดีมาก เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณามาก สิ่งเหล่านี้เรียกว่าเป็นนิมิตในตัวเรา แต่บางครั้งก็เป็นนิมิตภายนอก เช่น บางครั้งเกิดเห็นพระพุทธเจ้าหรือบรรดาครูบาอาจารย์มาปรากฏให้เห็น หรือเห็นพวกวัตถุเช่นโบสถ์ วิหาร หรือสิ่งต่างๆ นิมิตภายนอกนี้เรียกว่า “อุคคหนิมิต”
    เรื่องของนิมิตเป็นเรื่องที่สำคัญ ในบางครั้งก็มาทำท่าแลบลิ้นปลิ้นตา ก็อย่าไปเข้าใจว่าเป็นเปรตเป็นผี ที่จริงแล้วเป็นเพราะว่าสังขารภายในมันฉายออกไปเพื่อหลอกใจของเราเอง มันฉายออกไปจากใจนี่แหละ อันนี้พูดเตือนสติไว้
    การทำสมาธิภาวนานี้ ถ้าบุคคลใดเกิดนิมิตมาก ก็อย่าได้ไปเกิดความกลัวจนกระทั่งเลิกปฏิบัติ ขอให้ปฏิบัติต่อไปโดยให้สติตั้งมั่นกำหนดรู้ อย่างที่แนะนำมาแล้ว เมื่อเราทำต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดอานิสงส์ คือถ้าเป็นคนนิสัยดุร้ายก็จะเป็นคนใจดี ถ้าเป็นคนโกรธง่ายก็จะค่อยๆ เบาบางลง ถ้าเป็นคนปัญญาทึบเมื่อทำจิตสงบได้แล้วก็จะเป็นคนที่ฟังอะไรรู้เรื่องเข้าใจในเหตุผล ถ้าเป็นคนที่ฉลาดอยู่แล้วก็จะเพิ่มพูนปัญญาให้มากขึ้นไปอีก ท่านจึงว่ามีอานิสงส์มาก
    ขณะที่เราเกิดเห็นนิมิตขึ้นมา ถ้าเราแก้ความกลัวในนิมิตได้ต่อไปก็จะสบาย เมื่อเราเกิดความกลัวขึ้น เราอย่าไปยึดถือสิ่งที่เราเห็นในนิมิตเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา ให้กำหนดรู้ว่าเป็นมาร ซึ่งพระพุทธเจ้าเรียกว่า “ขันธมาร” หรือ “กิเลสมาร”
    เรื่องของนิมิตนี้จะเกิดหรือไม่เกิดไม่สำคัญ เพราะว่าที่เราทำสมาธิภาวนาก็เพื่อมุ่งให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถทำจิตใจของตนให้สงบเป็นอารมณ์เดียวได้พอเท่านั้น ไม่มีนิมิตเกิดขึ้นไม่เป็นไร
     
  7. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    การทำสมถะก็คือ การประคองสติไว้จนได้สมาธิ เหมือนการยืนเหยียบและกดหญ้าไว้ จนกว่า
    หญ้าจะตายตรงจุดที่เรายืน
    ถามว่าการทำสมถะเป็นการเพ่ง 100 % ตอบว่า ไม่รู้เหมือนกัน ?
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สุดท้ายมันก็เพ่งไม่ได้ตลอดหรอก เดี๋ยวมันก็จะเห็นอาการของการเพ่ง เดี๋ยวมันก็เห็นรูปนามที่เคลื่อนไหวเอง ^-^
     
  9. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    นี่ละ..สัมมาสมาธิ
    ไม่ใช่..สัมมาสมาธิ ที่บัญญัติคิดขึ้นเองแบบคาดคะเนเดา
    สัมมาสมาธิ คือ จิตและสติรวมเป็นหนึ่ง สงบ ตั้งมั่น สว่าง ไม่มีนิวรณ์ 5
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไตรลักษณ์ นี้จะเป็นเครื่องตัดสินถูกหรือผิด จะเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
     
  11. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ก็นะ สมถะเราต้องเพ่ง จนเข้าสู่ขั้นวิปัสสนากัมมัฐฐาน นั้นแหล่ะ เราถึงจะเลิกเพ่ง
    เลยไม่รู้ว่าเอาถ้าเอาเทียบเป็น % ได้ไหม เทียบไม่ถูกเหมือนกันแฮะ
    แต่ก็นะ หากเราปฏิบัติจริงไม่มัวสงสัย เราก็จะทราบการเปลี่ยนแปลงเอง
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,649
    โมทนากับหลายๆท่านครับ....ที่ยกพระไตร....ยกครูบาอาจารย์.....ดีแล้วครับ......

    การศึกษานั้น....ศึกษามากเป็นสิ่งที่ดีนะครับ...........แต่ที่ดีไปกว่านั้นคือการนำความรู้ที่ได้นำมาปฏิบัติ.......

    ครูบาอาจารย์แต่ล่ะท่านล้วนแต่ดีทั้งหมดครับ.....แต่ละท่าน....กุศโลบาย....และวิธีก็แตกต่างกัน......เพราะแต่ละท่านก็ฝึกมาไม่เหมือนกัน.......ถามว่ามีเหตุจำเป็นไมที่เราจะไปรู้ว่าครูบาอาจารย์ท่านคุณธรรมด้านใหน.......ผมว่าทางที่ดีเราน่าจะรู้ว่าตอนนี้เราอยู่ขั้นใหนมากกว่านะครับ.....

    เอาเป็นว่าคุณยึดครูบาอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง....ที่คุณชอบ.....ในแนวทางของท่าน......แล้วคุณก็ปฏิบัติไปเลยครับ......เมื่อคุณปฏิบัติคุณก็จะเห็นจริง.....ถ้าคุณไม่ปฏิบัติ....มัวแต่เทียบกันอยู่นั้น....ก็คือคุณยังไม่ก้าวเท้าแม่แต่หนึ่งก้าว......

    ปฏิบัตินะครับ.....แล้วจะรู้ชัด....
     
  13. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ระวังเพ่งจนลูกกะตาถลนออกมานอกเบ้านะครับ (^^)

    เพ่งในลักษณะใช้จิตเพ่ง กับ เพ่งในลักษณะใช้ตาเนื้อปรับโฟกัสในความมืด โอวๆๆ...จงมาๆๆ เนี่ย..
    คนละอย่างกันนะ อย่างจิตเพ่งจับที่ใดที่นึงแบบที่เป็นสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เนี่ยเข้าสมาธิไวหรือจะว่าเข้าฌานก็ถูก มันจะวืดๆๆ..วิ้งๆๆๆๆ..(_ _) อันนี้แล้วแต่ตัวบุคคล

    ส่วนเรื่องเหตุการณ์ล่วงหน้าจะมาถึงนี้มันก็แล้วแต่เหตุกระตุ้นในขณะนั้นๆ
    หากไม่มีเรื่องเด่นๆหรือเรื่องร้ายแรงจริงๆ สำหรับตัวข้าพเจ้าจะไม่เกิด
    หรือหากอยากจะให้มันเกิดหรือ อยากจะเข้าไปรู้อะไรๆเนี่ย จะไม่เห็น
    คือลักษณะจะเข้ามาบอกก็เข้ามาเอง ไปเอง หายไปเอง..
    ยกตัวอย่างกรณีนั่งสมาธิตอนกลางวันช่วงเวลาก่อนมืดวันนึง
    จู่ๆ จิตมันไปของมันเองทั้งๆที่นั่งสมาธิอยู่ดีๆ ไล่ไปตั้งแต่เขาผู้นั่นเริ่มขึ้นรถ ขับมาตามทาง
    เปิดประตูรั้วใหญ่ มาจอดที่หน้าห้องพัก พอดีกับเวลาที่เรารู้ด้วยจิตเลย แปลกจริงๆ..
    อันนี้เล่าให้ฟังเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติธรรมเหมือนกันนะ
    แต่ถามว่าเราได้ฝึกอภิญญาไม๊ ?
    ขอให้กลับไปอ่านกระทู้เก่าๆได้เลย ไม่ใช่ไม่ฝึกเพียงอย่างเดียว แถมจะออกแนวต่อต้านซะด้วยซ้ำไป (หัวเราะ)

    ถึงได้บอกว่าเรื่องเหล่านี้มันเป็นของมันเอง มันจะมาก็มามันจะไปก็ไปเอง
    บังคับให้มา บังคับให้ไปก็ไม่ได้ อาจจะเพราะยิ่งไม่อยากยิ่งมากระมัง..
    แต่ก็เฉยๆไว้อยู่ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย จะมาก็รู้ ไม่มาก็รู้..
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แต่ก็เฉยๆไว้อยู่ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย จะมาก็รู้ ไม่มาก็รู้

    อนุโมทนา คุณบอยด้วยค่ะ

    [​IMG][​IMG][​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...