-
เรื่องพระโปฐิลเถระ
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
นามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยคา เว " เป็นต้น.
รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด
ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของ
พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดา
ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า ' เราจักทำการสลัดออก
จากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช."
จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระ-
เถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า " มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณ
ใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า, แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็
ตรัสว่า " คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว." พระโปฐิละนั้นคิดว่า " เราย่อม
ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป
ถึง ๑๘ คณะใหญ่, ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนือง ๆ
ว่า ' คุณใบลานเปล่า ' พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มี
คุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า
" บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเอง
ทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุ
ทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนด
ท่านว่า " อาจารย์." พระเถระไปสิ้นสองพันโยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ
๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า
" ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."
พระสังฆเถระ. " ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก, สิ่งอะไรชื่อว่า
อันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉนท่านจึงพูดอย่างนี้ ?
พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้, ขอท่านจง
เป็นที่พึ่งของกระผม.
วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ
ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น
พระมหาเถระ ส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า
" ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าว
กะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่ง
ท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ ผู้ใหม่
กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.
พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ ด้วยอุบายอย่างนี้.
พระโปฐิละหมดมานะ
พระโปฐิละนั้น มีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึง
ประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ ขอท่าน
จงเป็นที่พึ่งของผม."
สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น, ท่านเป็น
คนแก่ เป็นพหูสูต, เหตุอะไร ๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน
พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้, ขอท่านจงเป็น
ที่พึ่งของผมให้ได้.
สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้,
ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.
พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้า
ไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.
พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร
ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะ
ท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."
จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระ
นั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้
หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.
ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิด
ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน
ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ย
เข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕
นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดา
ทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑ นี้ไว้
ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้
เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น
กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง
ในกรชกาย ๒
ปรารภสมณะธรรม.
๑. คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ บริกรรม หรือกัมมัฏฐาน.
๒. แปลว่า ในกายบังเกิดด้วยธุลีมีในสรีระ.
ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา
พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอด
พระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า " ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)
ดุจแผ่นดิน ด้วยประการใดแล; การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล
ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
"ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความ
สิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้
ทาง ๒ แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น
แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้น
ได้."
บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและ
ความไม่เจริญ.
บทว่า ตถตฺตานํ ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ โดยประการที่
ปัญญากล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้.
ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้. .
เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับน้องคนหนึ่งและเพื่อนๆของน้องที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ให้ยานพาหนะเป็นทาน ให้ที่อยู่อาศัยเป็นทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของมารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ
ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด
ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะครับ