<!--emo&:09:--><!--endemo--> หลวงพ่อปราโมทย์
"นาทีทองของสังสารวัฎ"
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช
ไหน ๆ ก็ได้เกิดมาเป็น "มนุษย์" ที่เต็มศักยภาพ
ได้เจอพุทธศาสนา ได้มีความสนใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ได้เจอแผนที่ชี้ทางที่ถูกตรง ได้พบครูบาอาจารย์ และกัลยาณมิตรอย่างนี้แล้ว
ไม่ฉกฉวยโอกาสและกำลังจากชาตินี้แล้ว จะไปรอเอาชาติไหน....
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> เอามาจากคุณbenyapa ครับ <!--emo&:09:-->
เรื่องเล่าของข้าพเจ้าความศักดิ์สิทธิ์พระคาถาชินบัญชร
ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย ชัชวาล เพ่งวรรธนะ, 1 ตุลาคม 2008.
หน้า 45 ของ 65
-
-
จิตอยู่ภายใน
พิจารณาสิ่งใด จิตมันแน่วแน่ปลอดโปร่ง เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลงสู่สภาวะตามความจริงแล้ว
จิตก็สงบนิ่ง ไม่ส่งออกไปภายนอก นี่เรียกว่า จิตอยู่ภายใน จิตอยู่กับใจแท้ สิ่งนี้คือแก่น
ส่วนที่ส่งออกไปกับรูปนามภายนอกคือเปลือก <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo-->
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
ศีลเมื่อเข้าถึงจิตถึงใจแล้ว ไม่ต้องรักษาศีล ศีลจะมารักษาตัวเราเองแล้ว
คนใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นเริ่มฉลาดขึ้นมาบ้าง
ความจริงพระพุทธรูปไม่ใช่ของขลัง เป็นแต่เพียงพยานให้ระลึกถึงพระคุณอันบริสุทธิ์ทั้งสามต่างหาก
พระพุทธศาสนาทั้งหมด นอกจากธาตุ4 ขันธ์5 อายตนะแล้ว ไม่มีที่ พิจารณา
การพิจารณาอย่าให้จิตหนีออกไปจากกาย
การปลุกเสกเป็นเรื่องไสยศาสตร์ พุทธศาสนาไม่มี <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo-->
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
เหตุที่ผู้บรรลุธรรมมีจำนวนน้อยลง
ความจริงแห่งพระศาสดาเป็นผู้ดีเลิศ แม้คำสอนของพระองค์ก็เป็นนิยยานิกธรรม นำนิกธรรมผู้รู้
และปฎิบัติตาม ให้บรรลุผลได้จริง เพียงแต่ปัจจุบันผู้บรรลุธรรมมีจำนวนน้อยลงนั่นเป็นเพราะ
ความเห็นของผู้นับถือผิดเพี๊ยนไป ปฏิบัติไม่ตรงกับคำสอน
การเผยแพร่สัจธรรมให้เข้าถึงจิตถึงใจ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาทุกสมัย เนื่องก็มาจาก สัมปทา3ไม่พร้อมมูล
1. ผู้สอนไม่เข้าถึงแก่น และไม่มีอุบายสอนให้คนอื่นเข้าใจในธรรม
2. ผู้รับฟังไม่ตั้งจิตแน่วแน่ ให้เข้าถึงภูมิธรรมพอที่จะรับคำสอนนั้นได้ ทั้งยังมีความเห็นผิดเพี๊ยนเป็นทุนเดิม
3. คำสอนที่เค้ามาสอนนั้น เป็นของ ปลอม
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
<!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
"ผู้ไปยึดครั้งแรกคือจิต สิ่งที่เราไปยึดนั่นคือ อารมณ์ ผู้ที่ไปรู้จักว่า เราไปยึดนั้นคือ ปัญญา" -
กิเลส
ผู้ที่ต้องการกำจัดกิเลส ให้พ้นออกไปจากจิตของตน พึงหัดสมาธิให้ชำนาญเสียก่อน จึงแยกจิตแลกิเลส
ออกจากกันได้
จิตเป็นเหตุให้เกิดกิเลส ถ้าไม่มีจิตกิเลสมันจะมาจากไหน ทั้งเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ถ้าหาจิตไม่ได้แล้ว
จะไปคิดปรุงแต่งจะไปหาปัญญามาจากไหนกัน
ถ้ายังมีสัญญา สังขาร อยู่ในจิตเสียแล้ว ภาวนาจะไม่เกิดเลย
ถ้าเราพิจารณาและไม่หลงตามอายตนะทั้ง6 กิเลสก็จะไม่เกิดขึ้นในตัวของเรา
ตรงกันข้ามมันจะเกิดปัญญา ก็เพราะมีอายตนะทั้ง6
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ขั้นอบรมสติยังไม่ถึงปัญญาวิปัสสนา สติที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว
พระไตรลักษณญาณจะเกิดขึ้นเอง รวมเรียกว่าขันธ์5
ลงสู่พระไตรลักษณ์โดยอัตโนมัติ
ยามที่พิจารณาไม่ชัด อย่าได้ท้อแท้ ท้อถอย
แต่ให้เข้าใจว่าที่ไม่ชัด เพราะสติ สมาธิเราอ่อนไป ให้ปล่อยวางการพิจารณานั้นเสีย
แล้วให้มาอบรม สติ สมาธิให้มีกำลังมากขึ้น อย่าอยากให้รู้ชัดโดยลืมนึกไปถึงสติ-สมาธิของตน
ทางเดียวที่จะถอนอุปทานเสียได้มีแต่พิจารณาในขันธ์5 เมื่ออำนาจสติมีกำลังเพียงพอ อุปทานก็ปล่อยวางแล้วทุกข์จะมาจากไหน
วิปัสสนา ต้องพิจารณาลงที่ขันธ์5 เมื่อเกิดก็เกิดจากธาตุ4 แตกสลายก็ลงที่ธาตุ4 กลับไปกลับมาตามสภาพของมันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีตัวตนเค้าเรา หาแก่นสาระอันใดไม่ได้
ที่คิดว่ามีเพราะไปยึดสมมุติ แท้ที่จริงมันหาได้มีความรู้สึกต่อการไปยึดถือของเราก็หาไม่
อนัตตา มิใช่ของไม่มีตัวไม่มีตน มีอยู่
แต่เป็นของไม่มีสาระต่างหาก เมื่อผู้พิจารณาเห็นจนไม่มีสาระ
แล้วปล่อยอัตตา ให้มันเป็นอัตตาไปตามสภาพของมัน เราจึงเรียกว่า วิปัสสนา
(อนัตตาไม่ใช่ตัวตน บางท่านใช้คำว่าไม่มีตัวตน ขอให้พิจารณาด้วย ไม่มี กับ ไม่ใช่ ต่างกันมาก)
สติ ที่เกิดขึ้น ที่กลัวต่ออารมณ์ต่างๆนั้น จะต้องเห็นเป็นโทษเป็นทุกข์ เมื่อฝึกมากเข้า สติจะไม่แข็ง ไม่หย่อนจนส่งออกไปข้างนอก สติ สมาธิ ปัญญา สมดุลย์กันโดยอัตโนมัติ ปัญญาย่อมเกิด คือ
ไม่ว่าจะเห็น จะรู้ อะไรทางอายตนะทั้ง6 พระไตรลักษณ์จะเกิดขึ้นพร้อมทั้ง3
คำว่าสติสมบูรณ์
สติที่สมบูรณ์จะไม่ต้องควบคุม รักษา แต่มันจะมีสติพอดีกับอารมณ์ ที่จะมาปรากฏขึ้นที่จิต
แล้วรู้เท่าทันเพราะเหตุมาจาการที่เราได้อบรมมาดีแล้ว ไม่มีส่งจิตออกนอกไปจากอารมณ์ที่ปรากฏขึ้น
จิตนั้นรู้แล้วก็วางเฉย บางทีก็เกิดสังเวชในเรื่องนั้นๆ เราไม่ต้องเอาสติไปควบคุมจิต
สติกับจิตมันได้สัดส่วนกันมันคุมกันเอง นี่เรียกว่า สติสมบูรณ์
กิเลสที่แท้จริงคือ อารมณ์ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บ่อเกิดกิเลสคือ อายตนะ6
คำ ว่าผู้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายนั้น คือใจไม่เข้าไปยึดเอาอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นเครื่องเศร้าหมองมาห่อหุ้มจิตใจ ของผู้นั้น
ความหมายนั้นชัดเจนอยู่
ท่านไม่ได้พูดว่ากิเลสมันหมดสิ้นไป ไม่มีเหลือเหมือนไฟไหม้ฟาง
กิเลสมันก็เป็นกิเลสตามสภาพของมันอยู่อย่างนั้น
คำว่าผู้ไกลจากกิเลสทั้งปวง นั้นเป็นโวหาร สำนวน เพราะกิเลสมันเกิดมาจากอายตนะ
อายตนะก็มีอยู่ที่ตัวเรา
แท้จริงแล้ว คือ ไม่ยึดเอากิเลสมาไว้ให้เศร้าหมองแก่ใจด้วยอำนาจของสติ-สมาธิ-ปัญญา
ที่ได้อบรมมาไว้ด้วยดีนั่นเอง
ขันธ์5เป็นที่ตั้งของความยึดถือ อุปาทานที่เกิดทุกข์ก็เพราะยึดในตัวขันธ์5
ส่วนที่ไม่ทุกข์ก็เพราะไม่ไปยึดขันธ์5จึงไม่ทุกข์
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
ธรรมคำสอน
ของ หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
ใจ
ใจเป็นมรดกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ศาสนาใด ๆ ก็มีใจเป็นหัวหน้า
กายวาจาเป็นผุ้รับใช้ของใจเท่าที่ควร เว้นไว้แต่ในสมัยธาตุสี่ดิน น้ำ ไฟ ลม
ลมวิกลวิกาลจนเกินเหตุเคลื่อนไหวไม่ได้ ใจก็ใช้ไม่ได้ตามประสงค์
สำหรับกายวาจามิได้รับเหตุรับผลในทางดีทางชั่วกับใจใด ๆ ทั้งสิ้น
เพราะมิได้เป็นนายทุนออกความเห็นเป็นเจ้ากี้เจ้าการมิได้เป็นเจ้างานเจ้าปรุงเจ้าแต่ง
มิได้เป็นเจ้าเหตุเจ้าผล ไม่รับไม่ปฏิเสธด้วยซ้ำ ส่วนผลรายรับเล่าก็ไม่หนีจากเหตุ
ตามธรรมชาติไม่ลำเอียง ก็คืนหาเจ้าเหตุนายทุนคือนายทุนใจนั้น
ใจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็มิได้เป็นปัญหา
ย่อมได้รับผลตามส่วนควรค่าของเหตุ ที่สร้างขึ้นดีและชั่วนั้น -
ศาสนาใด ๆ มีใจเป็นหัวหน้าก็จริง แต่ก็สร้างและอ้างหลักเหตุผลไปต่าง ๆ กัน
ตามความเห็นของใจ พร้อมทั้งยืนยันด้วย ใจต่าง ๆ
ศาสนาต่าง ๆ กลายเป็นการประชันขันแข่งกันไปในตัวด้วย แม้เป็นศาสนาเดียวกันก็ตาม
ก็แตกแยกนิกายกันไปเป็นกลุ่ม ๆ เป็นพวก ๆ ตามความเห็นของตน ๆ
ต่างก็กล่าวตู่กันว่าหย่อนบ้าง ตึงบ้าง ตีความหมายของธรรมวินัยในศาสนานั้น ๆ ต่างกันบ้าง
ผู้มีกิเลสเป็นเจ้าหัวใจน้อยก็ตีความหมายในธรรมวินัยแผกเพื้ยนไปน้อย
ผู้มีกิเลสมากก็แผกเพื้ยนไปมาก
หลวงปูหล้า เขมปตฺโต -
<!--emo&:09:--><!--endemo--> อนุโมทนาค่ะจากคุณ : วิไล
ธรรมะ
โดย
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ
.....สิ่งที่ขัดใจเรา (คำพูด การกระทำที่กระทบกระเทือนเรา) ใจจะเกาะเกี่ยวไว้ไม่ปล่อย
ใจจะวกเอามาคิด มานึกอยู่บ่อยๆ
เปรียบเหมือนเรารับเอาหมาเน่ามาไว้ ทั้งๆที่เกลียดและเหม็น
แต่ก็ไม่ยอมทิ้งมัน แล้วจะโทษใครที่ต้องเหม็นตลอดวันตลอดคืน
คนที่ไม่ยอมให้อภัย
คือ คนที่กอดหมาเน่าไว้ แล้วคร่ำครวญว่าเหม็นเหลือเกินๆๆๆ
น่าสมเพช น่าสมน้ำหน้า
การให้อภัย จึงเป็นการล้างใจขั้นสูงที่น่าปฎิบัติอย่างยิ่ง...
<!--emo&:71:--><!--endemo-->
ดิฉันเองกอดหมาเน่าไว้บ่อยๆ ค่ะ <!--emo&:31:--><!--endemo--> <!--emo&:31:--><!--endemo--> <!--emo&:31:--><!--endemo-->
-
โอวาทธรรม ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตต เถระจากคุณ : วรรณ
การดูกิเลสและแสวงธรรม
ท่านทั้งหลายอย่ามองข้ามใจ
ซึ่งเป็นที่อยู่ของกิเลส
และเป็นที่สถิตอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย
กิเลสก็ดี ธรรมก็ดี
ไม่ได้อยู่กับกาลสถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่อยู่ที่ใจ คือเกิดขึ้นที่ใจ เจริญขึ้นที่ใจ
และดับลงที่ใจดวงรู้ ๆ นี้เท่านั้น
<!--emo&:74:--><!--endemo-->
-
โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ถ้าสติมันกลายเป็นมหาสติ จะสามารถประคับประคองจิตให้ดำรงอยู่ในสภาพปกติไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ได้ง่าย
เมื่อสติตัวนี้เป็นมหาสติแล้ว เพิ่มพลังขึ้นด้วยการฝึกฝนอบรม กลายเป็น สตินนทรีย์
เมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์แล้ว พอกระทบอะไรขึ้นมา จิตจะค้นคว้าพิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ
เมื่อ สติตัวนี้กลายเป็นสตินนทรีย์ เป็นใหญ่ในอารมณ์ทั้งปวง ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆกับว่า จิตของเราสามารถเหนี่ยวเอาอารมณ์มาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ หรือ เอากิเลสมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เพราะ สติตัวนี้เป็นใหญ่ย่อมมีอำนาจเหนืออารมณ์ และสามารถใช้อารมณ์ให้เกิดประโยชน์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สติตัวนี้จะกลายเป็น สติวินโย
ในเมื่อสติตัวนี้กลายเป็นสติวินโย..... สมาธิ สติ ปัญญา ของผู้ปฏิบัติมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น
โดยคุณหมอ ตรงประเด็น
-
<table width="100%" bgcolor="#e4f3f3" border="0"><tbody><tr><td>(ตรงประเด็น)</td><td></td></tr><tr><td colspan="2">
</td></tr></tbody></table>
โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo-->
สมถะหรือวิปัสสนาต่างก็เป็นวิธีการปฏิบัติ
เพื่อจุดหมายเดียวกัน
อีกปัญหาหนึ่งมีท่านกล่าวไว้ว่า ให้ฝึกหัดทำสมาธิให้มันได้เสียก่อน
แล้วจึงค่อยเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เฮ้อ… อันนี่ถ้าสมมติว่าใครไม่สามารถทำสมาธิขั้นสมถะได้เนี่ย
จะไปรอจนกระทั่งจิตมันสงบเป็น สมาธิขั้นสมถะ เป็นอัปปนาสมาธิ
เผื่อมันทำไม่ได้ล่ะ มันจะไม่ตายก่อนหรือ?
เพราะฉะนั้น จึงขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติทั้งหลายก่อนว่า
คำว่าสมถกรรมฐาน ก็ดี คำว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี
ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจก่อนว่า เป็นชื่อของวิธีการ
การภาวนาพุทโธ ๆ ๆ หรือการภาวนาอย่างอื่น
หรือการภาวนาแบบเพ่งกสิณ อันนั้นปฏิบัติตามวิธีของสมถะ
แต่ถ้าเราปฏิบัติด้วยการใช้ความคิดหรือกำหนดจิตรู้ตาม
ความคิดของตัวเอง หรือจะหาเรื่องราวอันใด เช่น
เรื่องของธาตุขันธ์ อายตนะมาพิจารณา
เช่น พิจารณาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อะไรทำนองนี้
อันนี้การน้อมจิตน้อมใจน้อมภูมิความรู้ความเข้าไปสู่
กฎพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ท่านเรียกว่าปฏิบัติตามวิธีการแห่งวิปัสสนา
แต่ทั้ง 2 อย่างนี้เราจะปฏิบัติด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ
ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ
พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา
คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด
จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา
ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้
มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ
พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ
ตลอดคืนยันรุ่ง เพราะฉะนั้นอย่าไปติดวิธีการ
ถ้าใครไม่เหมาะกับการบริกรรมภาวนา ก็ไม่ต้องไปบริกรรมภาวนา
ถ้าจิตของท่านผู้ใดไปเหมาะสมกับการกำหนดรู้จิตเฉยอยู่
โดยไม่ต้องนึกคิดอะไร เป็นแต่เพียงตั้งหน้าตั้งตาคอย
จ้องดูความคิดว่าอะไรมันจะเกิดขึ้นแค่นั้น
อะไรเกิดขึ้นรู้ อะไรเกิดขึ้นรู้ รู้ ๆ ๆ เอาตัวรู้อย่างเดียว
หรือบางทีบางท่านอาจจะใช้ความคิดอยู่ไม่หยุด
หรือบางท่านอาจจะฝึกหัดสมาธิ โดยวิธีการทำสติตามรู้
การยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต
ทุกลมหายใจ ก็สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเป็นนักปฏิบัติ
เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงกันจริง ๆ แล้ว อย่าไปติดวิธีการ
ให้กำหนดหมายว่าสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี เป็นวิธีการปฏิบัติ
-
หลวงปูเสาร์ กันตสีโล : <!--emo&:09:--><!--endemo-->จากคุณ : วรรณ
อนึ่งยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์
คือศีล 5 และกุศลกรรมบท จึงได้เกิดและเป็นมนุษย์
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตโต : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นรากแก้วของมนุษย์
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ถ้ามีเวลาสำหรับหายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา
พระธรรมทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น ออกไปจากจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจิตใจอยากรู้อะไรค้นได้ที่จิต
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
คนใดคิดว่าตนดี คนนั้นยังไม่ดี
ใครว่าตนนั้นวิเศษวิโสหรือแลดเฉียบแหลม คนนั้นคือ คนโง่
หลวงปู่หลุย จันทสาโร : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ความสันโดษเป็นทรัพย์ของบรรพชิต
หลวงปู่ขาว อนาลโย: <!--emo&:09:--><!--endemo-->
นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่น ให้ค้นที่สกลกายของตน
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ที่กายที่ใจของเรา เมื่อเราปฏิบัติอยู่ ศาสนามันก็เจริญอยู่
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ภาวนาพุทโธเป็นมรรค เอาภาวนาเป็นอารมณ์ของใจ เอาพุทโธเอาให้มั่นแน่วแน่ไป
คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง
หลวงปู่คำดี ปภาโส : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
คำว่าหลง ก็ใจนี่แหละพาหลง คำว่ารู้ก็ใจนั้นแหละพารู้
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ทำใจให้เป็นกลาง วางใจให้เป็นหนึ่ง
สติเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การทำความดีทุกอย่าง
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
อย่าประมาทเรื่องความตาย ให้เร่งภาวนาทำจิตให้หมดกิเลส หมดทุกข์ หมดร้อนให้ได้ก่อนความตายจะมาถึง
เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมมวิตกโก ภิกขุ) : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ธรรม ทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ความสงบระงับของสังขารเป็นสุข ความไม่กังวล ความไม่ห่วงใย ความไม่เสียดาย ความไม่อาลัย ความไม่ยึดถือ ความสงบ ระงับอาสวะกิเลสเป็นบุญอย่างยอดยิ่ง
หลวงพ่อชา สุภัทโท : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ผู้ไปยึดอารมณ์จะเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์มันไม่เที่ยง
พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ถ้าเราฉลาด เราจะได้รับความสงบในท่ามกลางที่วุ่นวายนี่แหละ
พระอาจารย์วัน อุตตโม : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
คนกตัญญูกตเวที จึงเป็นบุคคลที่หาได้ยากและมีน้อย
พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
กิเลสตัณหา นำมาซึ่งความทุกข์ของใจ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
ขอ ให้ถือคติว่า สมาธิหรือการปฏิบัติธรรมอันใด ถ้าหากมันไปเพื่อความอยากใหญ่ เป็นไปเพื่อการพอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์ พึงเข้าใจเถิดว่ามันเป็นมิจฉาสมาธิ จึงออกนอกหลักพระพุทธศาสนา
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต : <!--emo&:09:--><!--endemo-->
มุ่งดีในโลกีย์เป็นทางวงเวียน มุ่งดีในทางโลกุตตระเป็นทางพ้นทุกข์
-
<!--endemo--> ดักไซบนอากาศ
ผู้ที่จะรักษาศีลให้ครบ สมบูรณ์บริบูรณ์ได้นั้นต้องเป็นผู้ทีู่้มีปัญญาเสียก่อน
ปัญญาที่ว่าก็คือ ปัญญาพื้นฐานนี่หละที่เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วไ้ด้ชั่ว จึงมารักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์
เมื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ไม่ขาดวิ่น จิตใจก็สงบเยือกเย็นเป็นเอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
เรียกว่า สมาธิ
เมื่ออบรมสมาธิให้แก่กล้า จึงเกิดปัญญาวิปัสสนา พิจารณารูปนามเห็นเป็นพระไตรลักษณ์แจ่มแจ้งได้
ผู้ไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน สมาธิจะไม่เกิดหรือตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อปรารถนา วิปัสสนา จึงเหมือนดักไซบนอากาศ ฉะนั้น
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
<!--endemo--> ผู้เกลียดในทุกข์ มิใช่ผู้เห็นแจ้ง เห็นจริงในทุกข์
ทุกข์เป็นของที่มีค่ามหาศาล แก่บุคคลผู้ไม่พึงประมาท
พร้อมกันนั้น ก็เป็นเครื่องชี้วัดแห่งความสุข และขอบเขตของท่านผู้มีปัญญาที่
รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมอีกด้วย ดังนั้น
ผู้ที่เกลียดในทุกข์จึงมิใช่ผู้เห็นแจ้ง เห็นจริงในทุกข์
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
<!--emo&:09:--><!--endemo--> จิตลวง
ปัญญาเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยความสงบ อาศัยการฟังธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจ
แล้วก็มาทำการสงบจิตให้เข้าถึงสมาธิ จึงจะเห็นเรื่องราวการลวงของจิตด้วยตนเองอย่างชัดเจนทีเดียว
จิตที่เป็นสมาธิแล้วจะไม่หลอกลวง เป็นจิตที่ตรงไปตรงมา
เข้าถึงสัจธรรมเห็นทุกข์เป็นทุกข์จริงๆ เห็นความสงบเป็นสุขจริงๆ
และเห็นความทะเยอทะยานดิ้นรน เป็นความเดือดร้อนแท้ทีเดียว
<!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo--> <!--emo&:09:--><!--endemo-->
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
กรรมะฐานทั้งหลายก็ดีจากคุณ : วรรณ
สมาธิก็ดี ฌานก็ดี สมาบัติใด ๆ ก็ดี
อยู่ใต้อนิจจังอันละเอียดทั้งนั้นแหละ
เพราะว่า หมดกำลังก็ถอนออกมา
จะอยู่ยั้งยืนยงคงที่ยอมเป็นไปไม่ได้เลย ๆ
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต <!--emo&:09:--><!--endemo-->
-
ถึงน้องๆและเพื่อนๆ
การอ่านข้อความกระชับสั้นกรุณาทบทวยด้วยความละเอียด
เพราะความหมายของครูอาจารย์ละเอียดลึกซึ้งกินใจ
เป็นความหมายโดยตรง พุ่งโจมตีไปยังจุด ตำแหน่งที่ควรกระทำอย่าง
แท้จริง
อนุโมทนาครับ
ถ้าเพื่อนๆ น้องๆมีข้อความที่ลึกซึ้งกินใจของครูอาจารย์จะเอามาแทรกด้วยก็ขออนุโมทนามาที่นี้ด้วยครับ
อ้องครับ -
ขอบคุณมากค่ะ
ชอบท่องคำว่า
พิจารณา มหาพิจารณา ของหลวงพ่อโต
เพื่อเรียกขวัญกับสติของตัวเองคืนมาค่ะ
หน้า 45 ของ 65