เส้นทางสายเดียวที่พระอรหันต์ได้เดินผ่าน...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 24 เมษายน 2015.

  1. Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    วิปัสสนากรรมฐาน คือ อะไร ?

    วิ
    แปลว่า แจ่มแจ้ง แตกต่างจากและวิเศษกว่าการหยั่งรู้โดยโลกวิธี
    ปัสสนา แปลว่า การเห็น คือ การหยั่งรู้ด้วยปัญญา ซึ่งเกิดจาก วิปัสสนาวิธี
    กรรม แปลว่า การกระทำ คือ การกระทำด้วยใจอัน ประกอบด้วยความเพียร สติ สัมปชัญญะ ตามวิธี การ
    ฐาน แปลว่า การงาน คือ สิ่งที่ตัวกระทำ ได้แก่ ใจเข้าไปกำหนดเพื่อความรู้แจ้ง

    วิปัสสนากรรมฐาน คือ การเพียรใช้สติ สัมปชัญญะ เข้าไปกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและ ใจเพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้อย่าง แจ่มแจ้งซึ่งมิใช่จากสุตวิธี ( คือการฟังผู้อื่นบอกเล่า) หรือ ตรรกวิธี (การคิดตามด้วยเหตุผล) และแม้สมถวิธี ( การทำให้ใจความเกิดสงบ)

    “ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ นี้ที่บุคคลลงมือปฏิบัติเต็มที่แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพานโดยส่วนเดียว” ไม่มีอย่างอื่น

    ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องพยายามทำจิตของตนให้สงบอยู่กับอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีสติเป็นตัวกำกับการกำหนด “รู้” ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและ ใจตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ การตั้งสติเข้าไปตามกำหนดรู้โดย ๔ ทาง คือ
    ๑. กายานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูกาย คือ อาการของร่างกาย เช่น ยืน นอน นั่ง ดื่ม กิน ขับถ่าย เป็นต้น
    ๒. เวทนานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูเวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางใจ เช่น ดีใจ เสียใจ เฉย ๆ
    ๓.
    จิตตานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูจิต คือ ความนึกคิดต่าง ๆ
    ๔. ธัมมานุปัสสนา ได้แก่ การใช้สติติดตามดูหมวดธรรมต่าง ๆ เช่น การกำหนดในสัมผัสทั้ง ๖ คือ เมื่อตาเห็นรูปก็กำหนด การเห็น หูฟังเสียงก็กำหนดการได้ยิน เป็นต้น
    เมื่อผู้ปฏิบัติทำจิตของตนให้ติดตามดูอารมณ์เหล่านี้ด้วยสติ จิตก็จะมีสมาธิ คือ มีความสงบและตั้งมั่นอยู่เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ปัญญาคือความรู้เห็นก็จะเกิดขึ้น ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

    มหาสติปัฏฐาน ๔ หรือ ทางสายเอก ได้กล่าวกันว่า เส้นทางนี้เท่านั้น ที่พระอรหันต์ทุกองค์ต้องเดินผ่านเส้นทางสายนี้ เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น อันเป็นบรมสุขตลอดกาล คือ พระนิพพาน
     
  2. Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ทางไปนิพพานเป็นทางสายเดียว
    ไม่มีทางเลี้ยว ไม่มีทางคด ไม่มีหย่นย่อได้ ไม่มีทางลัด
    ต้องลาดลึกไปตามลำดับ จิตพ้นจากอำนาจกิเลส เป็นอันว่าเข้าถึงนิพพานนี้เรียกว่าโลกุตตระ

    โลกุตตระเป็นภูมิที่ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ใช่ไปเกิดแล้วก็ตั้งโด่เด่อยู่อย่างนั้น
    คือไม่ตายอีกเป็นการตายจากชาติที่เป็นพระอรหันต์ เป็นอันว่าสิ้นสุดการเกิดอีกต่อไป

    เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ ในการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงได็นำมาบอกต่อ
    เส้นทางสู่นิพพาน ได้แก่ เอกายมรรค ทางสายเดียวทางสายเอก การเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือ
    การเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง อย่างไม่ต้องสงสัย
     
  3. Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ทางพ้นทุกข์มีทางอันเดียว เป็นทางบังคับ เป็นทางเอก ทางของพระพุทธเจ้า
    พระองค์ทรงค้นพบแล้วก็บอกเอาไว้ เรียกตามชื่อภาษาบาลีว่าเอกายนมรรค หรือสติปัฏฐาน ๔
    นี้เป็นโคจรของพระอริยเจ้า ถ้าเราทั้งหลายอยากจะหมดกิเลส อยากจะมีจิตใจที่สะอาดหมดจดจากกิเลส
    อยากจะเป็นผู้ที่หมดทุกข์ หมดโศก หมดโรค หมดภัย จนกระทั่งมีอริยมรรคเกิดขึ้น
    กระทำให้แจ้งพระนิพพาน ก็มีอยู่ทางนี้ทางเดียวเท่านั้นเอง

    จากข้อความที่กล่าวมานี้ ถ้ามองด้วยความเป็นธรรม ซึ่งไม่ให้เอนเอียงหรือคอยแต่จะตะแบงจนเกินไปนัก
    สมาธิ ฌาน อภิญญา ต่างๆ นั้นที่เราท่านกล่าวฝันกันนักหนา ไปซ่อนอยู่ตรงไหน ของในสติปัฏฐาน ๔
    พูดกันตามความเป็นจริงแล้ว สติปัฏฐาน ๔ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยปัญญาล้วนๆ เพื่อให้เห็นแจ้ง
    ในธรรมทั้งหลายว่า เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เห็นโทษเห็นภัยของขันธ์ ๕

    ในโพธิปักขิยธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ท่านก็กล่าวไว้ชัดเจน ขมวดลงก็อยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ได้อย่างไม่ต้องสงสัย
    และอีกอย่างหนึ่งวิปัสสนาก็ไม่เห็นความจำเป็นจะต้องพึ่งสมถะให้เป็นไปพร้อม ลำพังวิปัสสนาตัวเดียว
    ก็ทำให้การเข้าถึงการบรรลุธรรมได้อย่างเอกเทศ ถ้าไม่เข้าใจก็ย้อนไปอ่านด้านบนทำความเข้าใจอีกครั้ง
    การที่ทำสมาธิ ทำฌาน อภิญญา ก็ไม่ได้ปฏิเสธอะไรว่าไม่ดี แต่จะชี้ให้เห็นว่ามันไม่หนทาง มันเป็นของเล่นสนุกๆ ของธรรมดา
    แค่ทำบุญทำทานรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ ตายแล้วก็ย่อมไปเกิดในสวรรค์ เป็นเทวดา หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น มีพร้อมอยู่แล้ว

    ฉะนั้นการอยากได้ อภิญญา มี หูทิพย์ ตาทิพย์ อดใจรออีกแป๊บมีได้แน่ๆ เพียงแต่ตั้งใจหมั่นให้ทานรักษาศีล ๕ ไว้อย่าได้ขาด
    แล้วเราจะได้อย่างที่ประสงค์ มาเตรียมตัวเตรียมใจไว้พบกันในสวรรค์ชั้นฟ้านะครับ.....
     
  4. VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ลุงหมาน นี่ห้องอภิญญา-สมาธิ นะครับ ไม่ใช่ห้องสติปัฏฐาน ลุงไปบอกว่าอภิญญาเป็นของเด็กเล่น ลุงก็ดูเด็กเค้าเล่นซิครับ เห็นใหม ดีกันบ้าง
    ทะเลาะกันบ้าง เถียงกันบ้าง ลุงจะเอาอะไรกับเด็กๆละครับ ถ้าไม่เล่นแรงเกินไป ก็ดูแล้ววางอุเบกขา เป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว แต่ถ้าแรงเกินก็เข้าไปห้ามปรามบ้างก็แค่นั้น จริงไหมครับ สาธุ
     
  5. Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    สุดยอด เป็นทางเดินของพระพุทธะ ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
     
  6. สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    :boo: นี่ วิปัสสนา ไม่จำเป็นต้องทำสมถะ..มีปัญญาแต่ไม่เคยปฏิบัติก็คิดได้แบบนี้ จิตใจหากเปรียบเป็นกระจก หากไม่สงบระงับหรือเปอะเปื้อน ถ้าไม่เช็ดฝุ่นผงออกจากกระจก มันจะวิปัสสนาเห็นได้ง่ายไหม..หาก นิวรณ์5 เต็มหัวจิตหัวใจ จะทำวิปัสสนาได้ไหม..
    :'( แล้วหากทำสมถะ จนจิตสงบระงับแล้ว มาทำวิปัสสนาล่ะ มันเกิดได้ดีกว่าไม่ทำไหม..พวกปริยัติติดตำรา ที่เอาแต่ท่องตำรา ไม่เคยลงมือปฏิบัติ ไม่มีผลการพิสูจน์เลย "สัณทิฏฐิโก-เอหิปัสสิโก"..ไม่เคยสัมผัสและรู้จัก จึงไม่เห็นธรรมในส่วนนี้ แล้วนำมาเทียบเคียงกันเพื่อดูผล ให้เหมาะสมกับเป็นนักฏิบัติธรรม ก็เป็นอย่างนี้ ..
    ..อย่างลุงหมานนี่ ตายปล่าวเลย เอาเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ.. มาพูดว่าไม่เป็นสาระ..สมถะไม่ต้องทำวิปัสสนา..แล้วยังมาชี้นำผิดๆอีก ตัวอย่างครั้งพุทธกาลก็มากมายหลายองค์ ไม่ได้ใช้ปัญญาคิดเลยลุง..เถรใบลานเปล่าจริงๆอิอิ
     
  7. บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,048
    แค่ชื่อหัวข้อ''เส้นทางสายเดียวที่พระอรหันต์ได้เดินผ่าน''
    แค่นี้ก็รู้ว่าหนอนหนังสือจริงๆครับ

    หนอนหนังสือแบบปลวกรับประทาน
    หนังสือไปเยอะแล้วด้วยครับ..
    บอกว่าสายเดียว นี่มันเป็นการชี้ชัด ตัดสินไปแล้วครับ.

    หาความเป็นกลางของจิตยังไม่ได้..ไม่ต้องไปพูดถึงวิปัสสนา
    อะไรหรอกครับ มันวิปัสสนึก แบบนึกเข้าข้างตัวเองล้วนๆ..



    ข้อความข้างบนนี้หละครับ ที่เค้าเรียกว่าวิปัสสนึกครับ คิดเอง ตีความเองเข้าข้าง
    ความคิดตัวเอง..แล้วยังกล้ามาพูดว่า เส้นทางนิพพาน เป็นเจริญสติปัฏฐาน ๔
    เป็นวิปัสสนากรรมฐาน...ไปชี้ชัด ตัดสินไปแล้ว นิพพานบ้านลุงมันเข้าได้
    ด้วยวิธีการหรือครับ..มันชี้ชัดว่าวิธีอย่างนั้นอย่างนี้
    แล้วจะมีกรรมฐาน ๔๐ กองทำมะเขืออะไรครับ..
    แล้วจะแยกจริตของคนเป็นระดับโน้นระดับนี้ทำไมครับ..
    เกิดมามันต้องมาฝึกแบบนี้อย่างเดียวหรือครับ.
    ต้องอย่างเดียวหรือครับที่สายเอก..
    อย่างนี้เท่านั้นหรือครับ มันถึงจะเข้าได้
    ตัวจิตหาคามเป็นกลางไม่ได้อย่างนี้ มันจะเข้าได้ไหม...
    ไอ้ที่ต้องๆนี่หละครับ มันพาจิตให้ยึดมั่นวิธีการ
    แล้วมันจะคลายตัวชี้ชัดให้ไปยึดมั่นและไปเข้านิพพานได้ไหมครับ..
    จิตคุณเองเกาะตำรามากมีแต่ปัญญาทางโลก ปัญญาจากการอ่าน
    การจำ..จนมันหนาแน่นวิ่งวนอยู่แต่ในหัวสมอง..
    จนมันตกผลึกคลอบคลุมจิตจนหาความเป็นกลางไม่ได้แล้ว...
    แถมยังไม่รู้ตัวเองอีกซ้ำเข้าไปอีก..
    ..จะมามุขพร้อมความสามารถก็ทำไม่ได้ซักอย่างมีแต่ขี้โม้
    เด่วก็หาว่านอกแนวไม่ใช่ทางอีก เพราะจริงๆตนเองทำไม่ได้..
    เดี่ยวก็เถียงแถโม้เหมือนเหมือนเด็กๆต่ออีก.
    .ถ้ายังหาความเป็นกลางไม่ได้ ไม่ต้องมาพูดเรื่อง
    วิปัสสนากรรมฐานอะไรให้เมื่อยหรอกครับ ไปปฏิบัติดูให้มันเข้าถึง
    ให้ได้ซักเรื่องก่อนจะดีกว่าไหมครับ...
    และถ้าจะมาเชิงวิธีการหัดอ้างอิงที่มาที่ไปบ้าง
    และก็ถ้าจะเสริมวิปัสสนึกเข้าไป ก็เสริมแบบการที่ได้ปฏิบัติจริงๆบ้าง
    ไม่เสริมจากการตีความเอาเอง คิดเอง อ่านตำรามาเสริมเน้อ
    ปล ห้องอภิญญา-สมาธิ นะครับเน้นขั้นตอนแนะนำขั้นตอน
    การปฏิบัติ อ่านกฏกติกา ระเบียบห้องบ้าง
    อย่าลืมว่า ห้องนี้ไม่ใช่ ตำราสญานไร้การอ้างอิง.
    หรือ ห้องวิปัสสนึกสญาน หรือ คิดสญาน นะครับ..
     
  8. สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    โดนซ้ำอีกดอก..ๆฟันปลอมกระเด็นลงกะโถนเลย อิอิ
    :cool: ทนหน่อยนะลุงอยากเอาแต่ติดพุทธวจน พระไตรปิฏก ไม่ลงมือทำมันก็ได้แค่นี้ ท่านโปฏฐิละ..อิอิ
     
  9. Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นี่ท่านกำลังด่าตัวเองนะ สมถะกับวิปัสสนาก็ยังไม่รู้เรื่องเลย
    ไม่อยากจะอธิบายต่อเพราะพูดไปก็ไม่รู้เรื่อง แค่กรรมฐาน ๔๐ ก็ยังไม่รู้เลยว่าสมถะหรือวิปัสสนา

    ไหนผิดกฎระเบียบของห้องตรงไหน ก็พูดกันเยอะแยะสติปัฏฐาน ๔ ทำไมไม่แหกตามั่ง
    พอพูดว่าวิปัสสนาเท่านั้นแหละดิ้นพลาดๆ จะเป็นจะตายขึ้นมาที่เดียว
     
  10. สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    :'( สามวาสองศอก ..สติปัฏฐานสี่-วิปัสสนา พื้นฐานจิตทั้งคู่ ภาคปฏิบัติต้องใช้จิตที่ สงบเป็นสมาธิมันเกี่ยวอะไรที่ยกมาอ้างนี่..
    :mad:..เมาใบลานรึลุง..อย่ามาถ่ายทอดความรู้..ผิดๆตกนรกไม่ผุดไม่เกิดเลยนะ หากผมว่าอย่างนี้บ้างล่ะจะเป็นไง อิอิ แต่อย่ากลัวเลยค่ธรรมสากัจขานะ..ไม่บาปกรรม ไม่ตกนรก เปลี่ยนความเข้าใจซะให้ถูกก็พอ ครับ:boo:
     
  11. hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ตัวผมเป็นคนที่ช่างสงสัย เมื่อก่อนจะชอบคิดหา เหตุและ ผล ว่าทำไมจึงเป็นแบบนี้ แบบนั้น

    บางทีก็คิดจากเหตุไปหาผล บางทีก็คิดจากผลไปหาเหตุ ว่าอาจจะมีอะไรบ้าง อาจเป็นไปได้กี่แบบ

    คล้ายกับวิธี นึก แบบท่านสับสนโพสไว้ ปัญหาที่เกิดคือ ตัวผมจะเหมือนคนที่อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น

    เพราะใช้สมองมาก ประมาณว่าสงสัยเกือบทุกเรื่อง

    พอมานั่งสมาธิ ตอนนั้นไม่ได้ฝึกสติเลย ก็ไม่มีความก้าวหน้า วนเวียนอยู่แต่ ปิติ

    แต่ร่างกายมีความสดชื่นขึ้น เหมือนมีพลังความคิดเพิ่มขึ้น

    พอเรียนรุ้มากขึ้น จึงเริ่มฝึกสติปัฎฐาน พอนั่งสมาธิ มีความก้าวหน้า ผ่านปิติมาได้

    แต่ชอบมาตกภวังค์ในฌาน บางทีก็นั่งหลับไปเลย เลยมาเพิ่มฝึกสติให้มากขึ้นอีก

    พอสติมาก สมาธิก็มากตาม ไม่ค่อยหลับ ไม่ค่อยตกภวังค์ เริ่มหัดวิปัสสนา

    สังเกตว่า ถ้านั่งสมาธิน้อย พิจารณาได้นิดเดียวแล้วจะหยุดคิดไปเฉยๆ ไปต่อไม่ได้ ตื้อไปเลย

    พอลองนั่งสมาธินานขึ้น ก็รู้สึกว่าพิจารณาได้นานขึ้น ได้ผลมากขึ้นบ้าง และรู้สึกว่า สติ ก็มีมากขึ้น

    คล้ายกับว่า สติมากขึ้น สมาธิมากขึ้น พิจารณาได้มากขึ้น ปัญญาก็มากขึ้น

    และสมาธิมากขึ้น ก็เหมือนทำให้มีสติมากขึ้นด้วย เหมือนเกื้อกูลกันและกัน

    แล้วก็ไม่ค่อยอ่อนเพลีย เมื่อใช้ความคิดมากๆ

    สำหรับผมคิดว่า สติ สมาธิ วิปัสสนา ควรค่อยๆเพิ่มไปด้วยกัน
     
  12. chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    เดินตามมรรค8 สติปัฎฐานสี่ ชำระกิเลสนิวรณ์ต่างๆ กระทั่งเกิด ฌาณ โดยมีจิตผู้รู้
    เป็นผู้สังเกตุแยกต่างหากกับ ฌาณ แต่ไม่จมแช่เข้าไปในฌาณเหมือนแนวกสิณที่
    จิตจมแช่ไปในฌาณ เช่นหูดับ เป็นต้น...

    ฌาณ สมถะ หรือ สัมมาสมาธิ ในตำราจะบัญญัติคำเหมือนกับมีที่มาเดียวกัน แต่ที่จริง
    แล้วที่มาแตกต่างกัน คือ แนวกสินณเพ่งมีนิมิต เป็นฌาน สมถะ กับแนวมรรค ที่เน้นการ
    เจริญสติปัฎฐานสี่ กระทั่งเกิดฌาน สมถะ หรือ สัมมาสมาธิ จะเห็นได้ว่าแนวทางนี้
    ก็มีฌาณ และเมื่อมีกำลังฌานพอ ก็จะเกิดจิตตั้งมั่น ที่เป็นตัวทำงานและไม่จมแช่เข้า
    ไปในฌาณ เหมือนพวกแนวเพ่งกสิณ จิตตั้งมั่นนี่แหละจะมาพิจารณาไตรลักษณ์ลง
    ที่ขันธ์5อีกที เรียกว่าเดินวิปัสสนา...

    วิปัสสนา เป็นชื่อของ ฌาณปัญญา จะเริ่มวิปัสสนาได้ ก็ต้องเกิดกำลังคือฌาณพร้อม
    ทั้งจิตผู้รู้ตั้งมั่น เมื่อจิตมีกำลังที่เรียก สมถะ ฌาณ หรือสัมมาสมาธิ(มีมรรคทั้งหมดเป็น
    ฐาน) แบบนี้แหละจึงพร้อมเดินปัญญา คือวิปัสสนา...ถ้าเจริญสติ ก็เป็นแนวทางวิปัสสนา
    โดยตรง แต่ยังไม่ใช่การขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนาเท่านั้นเอง...
     
  13. chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    การเจริญมรรค8 นั้นสำคัญทุกๆข้อ เน้นวิธีปฎิบัติให้เกิดสติ คือฝึกสติปัฎฐานสี่ เจริญอินทรีย์สังวรณ์ คือหมั่นเจริญสติ สัมปชัญญะ
    เพื่อนำความยินดี ยินร้าย(ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ออกไปเรื่อยๆ กำจัดกิเลสนิวรณ์ต่างๆให้ออกไป ต้องดูมรรคแต่ล๊ะข้อว่า
    มีอะไร เริ่มจากสัมมาทิฎฐิ ความรู้อริยสัจสี่หรือไม่ เข้าใจเรื่องกรรมผลของกรรมหรือไม่ และศิลข้อต่างๆตามมรรคแต่ล๊ะข้อรักษา
    ได้ครบมั๊ย เพียรล๊ะอกุศลต่างๆมั๊ยเช่น ยังมีโลภะ มีโทสะ มีความพยาบาทเบียดเบียนมั๊ย ยังมีโมหะมั๊ย สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มีวิธีทำทาน
    แผ่เมตตา เจริญอสุภะต่างๆ เราต้องหมั่นทำกุศลต่างๆให้ถึงพร้อม และเมื่อสติ สัมปชัญญะแนบแน่นไปเรื่อยๆ กิเลสนิวรณ์ต่างๆสงบลง
    กำลังของฌาณจึงปรากฎ กำลังสมถะหรือฌาณนี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ(มีมรรคทุกข้อรวมกัน) โดยเกิดจิตตั้งมั่นผู้รู้(เกิดจากกำลัง
    ของฌาณ) และเมื่อเกิดจิตตั้งมั่น ก็พร้อมที่จะออกมาพิจารณาไตรลักษณ์ของ"ขันธ์5" เรียกว่าเดินสู่วิปัสสนา(รู้แจ้งเห็นจริง)

    จะสังเกตุได้ว่าการเจริญมรรค8ทุกๆข้อ ฝึกสติปัฎฐานสี่ เราต้องหมั่นสร้างเหตุคือเจริญสติ สัมปชัญญะ และนำกิเลสต่างๆออกไปเรื่อยๆ
    เมื่อเราเดินทางสายนี้จะรู้สึกเบากาย เบาใจ ไปเรื่อยๆ เพราะเราไม่สนองตอบตัณหา เราคอยแต่ชำรความยินดี ยินร้าย และหมั่นทำให้ใจ
    เป็นกลางตั้งมั่น(เป็นสมาธิ แต่ยังไม่ถึงฌาณ)ไปเรื่อยๆ

    การเดินมรรควิธี คือการหมั่นทำเหตุคือเจริญสติ สัมปชัญญะ เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์ต่างๆ(มรรคข้อ1-7)เปรียบเหมือนกับเราหว่านเมล็ดพันธ์
    แล้วคอยให้น้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย คอยดูแลไม่ให้แมลงมากัดแทะ นี้เราต้องหมั่นทำเหตุไปเรื่อยๆ แล้วซักวันต้นไม้ก็จะออกผล คือ สัมมาสมาธิ
    มาให้เราได้เชยชม เมื่อเกิดสัมมาสมาธิ(มรรคทุกข้อรวมกัน) ก็พร้อมสู่การเจริญวิปัสสนา....

    จะเห็นได้ว่าวิธี เพ่งให้เกิดนิมิตต่างๆนั้นคือ ผู้เพ่งไปหวังเอาผลคือฌาณก่อน เหมือนนั่งทับกิเลสเอาไว้ เมื่อเลิกนั่ง จึงมีโละ โทสะ โมหะ
    ก็จะฟุ้งหนักกว่าเดิมเพราะกิเลสต่างๆโดนกดทับเอาไว้ เปรียบเหมือนหินทับหญ้า เป็นทางโลกิยะ...
     
  14. Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ซวยชะมัด มีคนกดไม่เห็นด้วย
     
  15. Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228

    "แนวกสินณเพ่งมีนิมิต เป็นฌาน สมถะ กับแนวมรรค ที่เน้นการ
    เจริญสติปัฎฐานสี่ กระทั่งเกิดฌาน สมถะ หรือ สัมมาสมาธิ จะเห็นได้ว่าแนวทางนี้
    ก็มีฌาณ และเมื่อมีกำลังฌานพอ ก็จะเกิดจิตตั้งมั่น ที่เป็นตัวทำงานและไม่จมแช่เข้า
    ไปในฌาณ เหมือนพวกแนวเพ่งกสิณ"

    - ตรงนี้ผมเห็นด้วยกับท่านนะครับ
    - ผมไม่เก่งเหมือนพวกท่านนะครับ แต่ผมเห็นด้วยที่ว่า การเพ่งกสิณ ผมได้ทดลองทำละ ก็คือเน้น สติ จับดูแต่ภาพนิมิตที่ปรากฏ แต่ทำรุ้เลยว่าสมาธิเราคงทนนานแค่ใหน ตราบไดที่เรายังมีสติเห็นภาพอยู่
    - ถ้าทำแต่สติอย่างเดียวไม่มีสัมปชัญญะเช่นการเพ่งกสิณ ก็เหมือนการเข้าถ้ำไม่มี ไฟส่อง เจอสิ่งต่างๆ ก็จะงงไปหมด เช่นการเกิดนิมิต ต่างๆเป็นต้น
    - การทำสติที่ถูกต้อง ต้องตามด้วยสัมปชัญญะเสมอ เช่นการทำ อานาปานสติ รุ้ลมเข้าออก เป็นสติ รู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้ลมเข้ายาว เข้าสั้น ก็ล้วนเป็นกาฝึกมีสัมปชัญญะให้ต่อเนื่องควบคู่กันไป ท่านเปรียบกับการเข้าถ้ำ แต่มีไฟส่องด้วย พบอะไรก็เห็นหมด ดึงกลับได้ง่าย เพราะมีสัมปชัญญะ

    - เท่าที่ผมทดลอง การเพ่งกสิณจะเกิดสมาธิได้ง่ายกว่า การทำอานาปานสติ แต่มีผุ้แนะนำว่าทำควบคู่กันได้ เพียงแต่พอได้ที่ก็มาทำอานาปานสติอย่างเดียว แต่ที่แน่ๆ เป้าหมายการทำสติ ก็เพื่อให้เกิด สัมปชัญญะ อันนี้สำคัญมากๆ สัมปชัญญะ ที่ต่อเนื่องจะพัฒนา ไปเป็นตัวดูการทำงานของการของใจ

    - วิปัสสนา คือการเห็น ขันธ์ว่าเป็นไตรลักษณ์ โดยที่ตัวจิต เป็นตัวป้อนข้อมูลโดยตรงให้เห็นกันจะๆ เช่นการเห็นความเป็นอนัตตาของจิต เฝ้าดูจิต เห็นจิตมันคิดได้เองเป็นต้น หรือไม่ก็ป้อนสิ่งไดสิ่งหนึ่ง เช่นการเจริญอนิจจสัญญา เป็นต้น ตัวเห็นก็คือตัวผู้เห็นตัวหนึ่งไม่ใช่จิตนะครับ เมื่อเจริญสัมปชัญญะจนต่อเนื่อง ก็จะพัฒนาไปเป็นตัวผู้ดูตัวนี้เอง การเห็นของตัวผุ้รู้ตัวนี้เรียกว่า วิปัสสนาญาณ นั้นเอง

    - ตัวผู้รู้มีสองตัว คือตัวจิต และตัวสัมปชัญญะ การทำสติให้ต่อเนื่อง ก็คือจิตเป็นสมาธิ การทำให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็กลายเป็นตัวญาณ การเห็นด้วยญาณก็คือวิปัสสนาญาณ เมื่อเกิดวิปัสสนาญาณ ก็ทำให้เกิดการหลุดพ้นของกิเลสสังโยชน์ เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าหลุดพ้น รุ้ได้ด้วยญาณ นั้นเอง เมื่อหลุดพ้น ตัวญาณก็คือนิพพานธาตุนั้นเอง

    - ผมคงอยู่ในกลุ่ม พวกใบลานเปล่า รุ้ตัวว่าไม่่เคยได้ฌาน ได้ญาณ แต่คิดว่าสักวันถ้าเรารู้และเข้าใจถูก ตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน การเดินทางก็คงไม่ลำบาก และเสียเวลาเปล่าๆ นะผมว่า
     
  16. Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อนุโมทนาครับ .. ตรงกับสภาวะเป๊ะ
     
  17. jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    เท่าที่รู้และเห็นมา จะมีการรู้อยู่ 2 อย่าง นะคะ ใครเจอแบบนี้บ้างคะ

    มีการรู้แต่ไม่มีความรู้สึกตัว เรียกว่าไม่มีสัมปชัญญะ แต่เข้าไปอยู่ในรู้ ไปเป็นผู้รู้
    เป็นการรู้ภายใน รู้อย่างนี้ไปเป็นตัวตนอย่างเต็มตัว ไปดึงกิเลสภายในออกมา
    จากนิสัยของตน แสดงไปกิเลสออกเป็นอารมณ์อย่างเต็มที่

    มีการรู้อยู่ แต่ไม่มีความรู้สึกตัว เรียกว่า ไม่มีสัมปชัญญะ แต่ไปรู้จากข้างนอก
    รู้จากอายตนะ แล้วเกิดกิเลสจากปัจจัยภายนอก ควบคุมไม่ได้ วิ่งไปตามกระแสอารมณ์ของผู้อื่น

    รู้ทั้งสองอย่าง รู้ทั้งภายนอกและภายใน หากไม่มีสัมปชัญญะร่วมด้วยทุกครั้ง
    คือ การไม่ไช่รู้อย่างมรรคแปด ที่เรียกว่า ทางสายกลาง นะคะ
     
  18. ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ลุงอยากจะมั่วอะไร ก็เกรงใจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์บ้าง

    ตรงไหนในพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
    "วิปัสสนากรรมฐาน คือ การเพียรใช้สติ สัมปชัญญะ"
    อย่ามั่วสิครับ ไม่งามเลย

    การพิจารณากายในกาย ที่เรียกว่า อานาปานสติบรรพะ
    นี่สิครับ คือการเพียรใช้สติ และสัมปชัญญะ

    นี่ก็เรื่องที่ลุงมั่วอีกเรื่องหนึ่ง
    "การกำหนดในสัมผัสทั้ง ๖ คือ
    เมื่อตาเห็นรูปก็กำหนด การเห็น หูฟังเสียงก็กำหนดการได้ยิน เป็นต้น"

    กำหนดทำเฮ็ดหยังหละ เมื่อตาเห็นรูป ควรกำหนดรู้รูปที่เห็นนั้นมากกว่า
    กลับไปกำหนดการเห็น การเห็นไม่ต้องกำหนด ตามีหน้าที่เห็นอยู่แล้ว เฮ้อ!!!

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  19. kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ผมก็เห็นด้วยกับคุณนพกาญจน์นะ เพราะพูดมากๆ ก็อาจทำให้ขาดสติได้ เลอะเลือนจนถึงขั้นฟั่นเฟือน กลายเป็นหลงธรรม น่าจะยังปฏิบัติพอเริ่มต้นก็เกิดอาการเงิบแต่เงิบแบบตื่นเต้นจนต้องระบายออก อุปกิเลสล้วนๆ ขอให้ถึงซึ่งธรรมพิจารณาธรรมตรงหน้าที่เกิดขึ้นทุกขณะจิต อย่าไปกังวลต่อ โทสะ โมหะ โลภะ ที่เกิด
     
  20. jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    บังเอิญได้พูดเรื่องสติและสัมปชัญญะนะคะ ก็เลยไปหาคำสอนของ
    พุทธองค์ตรัสไว่าอย่างไร ทรงกล่าวว่า

    สติเป็นการระลึกรู้ สัมปชัญญะเป็นการเห็นอย่าแจ่มแจ้ง

    ก็คือ คงให้หมายถึง

    สติก็หมายถึง ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วและสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
    สำหรับการทำหน้าที่ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของสัมปชัญญะ

    เพื่อพิจารณาดูคะ ที่ทรงตรัสไว้

    ลักษณะแห่งความมีสติสัมปชัญญะของภิกษุ

    มหาราช ! ภิกษุเป็ นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็ นอย่างไรเล่า ?
    มหาราช ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เป็นผู้ กระทำความรู้ตัวรอบคอบ ในการก้าวไปข้างหน้า
    การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้การเหยียด,
    การทรงสังฆาฏิบาตรจีวร, การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ,
    เป็นผู้กระทำความรู้ตัวรอบคอบในการไปการหยุด, การนั่งการนอน, การหลับ การตื่นการพูด การนิ่ง.
    มหาราช ! อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
    .- สี.ที.๙/๙๔/๑๒๓.

    ลักษณะสัมปชัญญะระดับสูงสุดภิกษุ

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็ นผู้มีสัมปชัญญะ เป็ นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ (อาการที่ ) เวทนา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้ง (วิทิตา) แก่ภิกษุ,
    (อาการที่) เวทนาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) เวทนาดับลงก็แจ่มแจ้ง.
    (อาการที่) วิตก เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ, (อาการที่) วิตกเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง,
    (อาการที่) วิตกดับลงก็แจ่มแจ้ง(อาการที่) สัญญา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ,
    (อาการที่)สัญญาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) สัญญาดับลงก็แจ่มแจ้ง
    ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.
    - มหาวาร.สํ. ๑๙/๒๔๒/๘๐๔.

     
     

แชร์หน้านี้