เห็นเจ้าแม่กวนอิมทั้งในสมาธิ และในฝัน2ครั้ง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ปมณฑ์, 2 มีนาคม 2008.

  1. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 25
    摩(mó) 囉(luo) 摩(mó) 囉(luo),
    มา.รา.มา.รา
    มอ ลา มอ ลา
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏกายเป็นพระปัณฑรวาสินีโพธิสัตว์ มือขวาถือแก้วมณี มือซ้ายอุ้มชูเด็ก แสดงให้เห็นว่าสัตว์โลกจะได้รับพรให้มีอายุอันยืนยาว
    ความหมาย
    คำว่า มอลา หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะได้มีมโนรถแก้วมณี
    คำว่า มอลา (คำที่สอง) หมายถึง แก้วมณีอันเป็นมโนรถนี้ รัศมีของแก้วแจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง
    อรรถาธิบาย
    ผู้ปฏิบัติถ้าต้องการแก้วมณีนี้ จะต้องสวดท่องคาถานี้ ความคิดคำนึงเกิดมาจากจิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป ผู้ปฏิบัติจะต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม ชำระล้างอายตนะภายในให้มีความสะอาด ละความความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

    ปางที่ 26
    摩(mó) 醯(xī) 摩(mó) 醯(xī)、唎(li) 馱(duò) 孕(yùn).
    มา.ศิ.มา.ศิ.ริ.ดา.ยุ
    มอ ซี มอ ซี ลี ถ่อ ยิน
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏกายเป็นพระอมิตาภพุทธเจ้า (เมื่อสิ้นสมโภคกายนี้แล้ว ต่างไปเกิดในสุขขาวดีภูมิ)
    ความหมาย
    คำว่า มอซี หมายถึง ความมีอิสระทันที หมายความว่า ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระ
    คำว่า ลีถ่อยิน หมายถึง การปฏิบัติ จนกระทั่งสำเร็จวิชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์หวังให้ทุกคน เร่งรีบในการปฏิบัติธรรมทุกสิ่งให้กระทำไปตามมหามรรค คนเราปกติแล้วถ้ามีจิตว่างก็จะมีความสะอาด ทั้งกายและจิต เมื่อลงมือปฎิบัติแล้วย่อมสามารถบรรลุมรรคผลได้ และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย แต่คนเรามักจมอยู่ในชื่อเสียง ลาภยศ สรรเสริญ ติดอยู่ในกามคุณ จึงขาดโอกาสที่จะสำเร็จเป็นพุทธะ

    ปางที่ 27
    俱(jù) 盧(lú) 俱(jù) 盧(lú)、羯(jié) 蒙(mēng).
    คู.รู.คู.รู.คา.มัม
    กี ลู กี ลู กิต มง
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏกายเป็นอากาศกายโพธิสัตว์ (นำทัพเหล่าทวยเทพจำนวนหมื่นโกฏิ เพื่อโปรดสัตว์)
    ความหมาย
    คำว่า กีลู หมายถึง การเกิดความคิดปฏิบัติธรรม สามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักษ์รักษา
    คำว่า กิตมง หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมี เพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผลนิพาน)
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ ตักเตือนให้ผู้ปฏิบัติธรรมเพียงแต่มีจิตอันเป็นกุศลเ กิดขึ้น เทพเจ้าอันเป็นมงคลก็จะติดตามมา อำนวยให้การกระทำได้ผลสำเร็จ ถ้าเราสามารถสะสมบุญวาสนาปฏิบัติ โดยมั่นคงแน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลง ก็จะได้ พระธรรมกายอันประกอบด้วยบุญกุศล

    ปางที่ 28
    度(dù) 盧(lú) 度(dù) 盧(lú)、罰(fá) 闍(dū) 耶(yé) 帝(dì).
    ตู.รู.ตู.รู.บา.ศี.ยา.ติ
    ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎกายเป็นพระอุครโพธิสัตว์ (คุมทหารของมยุรราช ไปปราบปรามเหล่ามาร)
    ความหมาย
    คำว่า ตูลู หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่น ตั้งใจปฏิบัติ ไม่ลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถีร์
    คำว่า ตูลู หมายถึง มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
    คำว่า ฟาเซเยตี หมายถึง ความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่ สามารถข้ามพ้นสังสารวัฎได้
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์มุ่งสั่งสอนผู้ปฏิบัติ ให้เห็นแจ้งในแนวทางที่เข้าถึงพระธรรมอันบริสุทธิ์อย ่างแท้จริง ก้าวไปอย่างเร่งด่วนด้วยจิตใจอันมั่นคง ไม่เบื่อหน่ายท้อแท้ละเลิกเสียกลางคัน
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]
     
  2. pechklang

    pechklang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2005
    โพสต์:
    400
    ค่าพลัง:
    +829
    ขอร่วมแสดงความยินดีและอนุโมทนา กับคุณปมณฑ์ เป็นอย่างยิ่ง ที่องค์เจ้าแม่กวนอิมได้มาโปรด โดยปรากฏในสมาธิและความฝัน นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีอย่างยิ่ง จงมั่นสร้างคุณความดียิ่ง ๆ ขึ้นไปนะครับ
    ผมและครอบครัว ได้เคยรับประสบการณ์ดังกล่าวเช่นกันในหลาย ๆ ครั้งที่องค์ท่านได้แสดงปฏิหารและช่วยเหลือครอบครัวมาโดยตลอด ว่าง ๆ จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในโอกาสต่อไป
     
  3. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    [music]http://palungjit.org/attachments/a.6051/[/music]
     
  4. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 29
    摩(mó) 訶(hē)、罰(fá) 闍(dū) 耶(yé) 帝(dì).
    ม.หา.บา.ศี.ยา.ติ
    หม่อ ฮอ ฟา เซ เย ตี
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎกายเป็นแม่ทัพมหาพละ ถือคทามาคุ้มครองสรรพสัตว์ (ซึ่งเพียรปฏิบัติธรรมอยู่)
    ความหมาย
    คำว่า หม่อฮอฟาซเยตี หมายถึง พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับกิเลสได้ ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนกัน
    อรรถาธิบาย
    พระคาถานี้ มุ่งกำจัดความหลงผิด กำจัดความเห็นแก่ตัวเอง เพื่อปล่อยวางปัจจัยทางโลก เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว เหล่ามารทั้งหลายก็ไม่กล้ามารบกวน และต้องระงับความโกรธ ความโลภ ความหลง ราคะ ซึ่งเป็นความคิดชั่วร้ายไปทันที ควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติ อย่าปล่อยให้วิสัยภายนอกมากระทบหรือหวั่นไหวไปตามภาว ะนั้นๆ ปฎิบัติได้เช่นนี้ มรรคผลจะสำเร็จแก่ตน พุทธะจะประทับอยู่ที่จิตตามที่เราปรารถนา

    ปางที่ 30
    陀(tuó) 囉(luo) 陀(tuó) 囉(luo),
    ดา.รา.ดา.รา
    ทอ ลา ทอ ลา
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎกายเป็นพระมหาบุรุษ บำเพ็ญทุกขกิริยา (การกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก)
    ความหมาย
    คำว่า ทอลา ทอลา หมายถึง เป็นธารณี เมื่อปฎิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไม่มีละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้
    อรรถาธิบาย
    กิเลสอันเปรียบดุจฝุ่นละออง ธุลี สามารถปกปิดความสว่างของภาวะตน ความนึกคิดอันมิชอบ แลความหลงก็จะเข้ามา ไม่เพียงแต่จะมารบกวนสภาวะดั้งเดิมของเรา แม้กายและจิตก็ไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ถ้าในใจมีเศษเสี้ยวแห่งกิเลสเกาะเกี่ยวอยู่ ก็ยากที่จะเห็นธรรม

    ปางที่ 31
    地(dì) 唎(li) 尼(ní),
    ดิ.ริ .ณี.
    ตี ลี นี
    ภาคนิรมาณกาย พระโพธิสัตว์ ประทับบน พญาราชสิงห์ เพื่อลงมาทดสอบการศึกษาพระธรรมของเหล่ามนุษย์
    ความหมาย
    คำว่า ตี หมายความว่า โลก
    คำว่า ลี หมายความว่า สัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้
    คำว่า นี หมายความว่า พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่
    อรรถาธิบาย
    ถ้าผู้บำเพ็ญเพียรมีจิตมุ่งปฎิบัติแล้ว พระพุทธเจ้า เหล่าทวยเทพ พญานาคราช จะคุ้มครอง พระโพธิสัตว์จะนิรมิตกายเป็น 40 กร ปราบพวกมารร้ายให้หญิงสาวได้ก้าวข้ามห้วงโอฆะ นักปฎิบัติธรรมในฝ่ายสตรีจึงควรรีบเร่งปฏิบัติ เพื่อมิให้เสียความตั้งใจดีของพระโพธิสัตว์ ในอันที่จะโปรดให้บรรลุสู่แดนสุขาวดี

    ปางที่ 32
    室(shì) 佛(fó) 囉(luo) 耶(yé).
    โซว์.รา.ยา
    สิด ฟู ลา เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระคำรามโพธิสัตว์ หัตถ์ถือคทาทองเป็นศาสตราวุธ
    ความหมาย
    คำว่า สิดฟูลาเย หมายความว่า เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ ว จะมีความสว่างปรากฎในกายของตน
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ได้ประกาศความยอดเยี่ยมของพระธรรม หวังให้ทุกคนได้เข้าถึงองศ์มรรค ผู้ที่สามารถปล่อยวางสภาวะทางโลก ไม่ก่อเรื่องยุ่งยากวุ่นวายขึ้น จิตใจย่อมสะอาด สามารถสำเร็จเป็นพุทธะอันพิสุทธิ์เปล่งปลั่งไปด้วยแส งรัศมี อีกทั้งยังสามารถปรากฎกายไปแสดงธรรมได้ทุกแห่งหน เพื่อทำการโปรดสัตว์สืบต่อไป
     
  5. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 33
    遮(zhē) 囉(luo) 遮(zhē) 囉(luo),
    จา.ลา.จา.ลา
    เจ ลา เจ ลา
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎกายเป็นพระหักหาญโพธิสัตว์ มือถือสุวรรณจักร (เพื่อโปรดเหล่ามารให้มานอบน้อมต่อพระศาสนา)
    ความหมาย
    คำว่า เจลาเจลา หมายถึง ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้ากระหึ่มไปท ั่วทุกสารทิศ
    อรรถาธิบาย
    เป็นคาถาของพระโพธิสัตว์ที่เล็งเห็นว่าสรรพสัตว์ถูกจ ูงไปตามเหล่ามาร ไม่สามารถหลุดพ้นได้ จึงแสดงความเกรี้ยวกราด เพื่อโปรดสัตว์เหล่านั้นให้หลุดพ้น เป็นการห้ามปรามผู้ปฏิบัติ ให้ปฏิบัติด้วยความสัจจริง มารในที่นี้คือ ความโลภ โกรธ หลงของตนเอง ฉะนั้น จึงต้องฟังพระสัทธรรมเพื่อทำลายความหลงผิด ธรรมะเหมือนกับฟ้าร้องคำรามไปทั่วสารทิศ เป็นเสียงแห่งพรหม เมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสดุ้งกลัว

    ปางที่ 34
    摩(mó) 麼(me) 罰(fá) 摩(mó) 囉(luo),
    มา.มา.บา.มา.รา
    มอ มอ ฟา มอ ลา
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นรูปพระอภิจารกมารวชิร มือถือสุวรรณจักร (คุ้มครองสัตว์โลกให้มีความเป็นสิริมงคล)
    ความหมาย
    คำว่า มอมอ หมายถึง การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
    คำว่า ฟามอลา หมายถึง ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถประมาณหรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดจะเท่าเทียม
    อรรถาธิบาย
    เป็นคาถาของพระโพธิสัตว์ที่ตั้งใจจะโปรดสัตว์ จึงปรากฎเป็นเมตตาจิต คอยคุ้มกัน และให้ผู้ปฏิบัติได้รับสิ่งอันเป็นมหามงคล ได้ไปเกิดในพุทธภูมิทุก ๆ ชาติ ไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสงสารวัฎ ซึ่งต้องรับทุกข์ทรมาน

    ปางที่ 35
    穆(mù) 帝(dì) 隸(dài).
    มุ.ดิ.ลิ.
    หมก ตี ลี
    ภาคนิรมาณกาย รูปพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ พนมมือ
    ความหมาย
    คำว่า หมกตีลี หมายถึง หลุดพ้น
    อรรถาธิบาย
    การทำจิตให้สะอาดผ่องใส สาธยายมนตร์แห่งพระธารณีเงียบๆเป็นประโยคหนึ่งที่พระ โพธิสัตว์สอนให้ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเริ่มด้วยการเลิกละ ปล่อยวางภาวะทางโลก มีจิตเป็นหนึ่ง สำรวมตลอดเช้าและเย็น ปลดความโลภความเห็นแก่ตัวออกไป เจริญเมตตากรุณาจิตอันไพศาล ทั้งนี้เพื่อเป็นอุบายในการกำจัดกิเลส เข้าถึงโมกขธรรม ผู้ที่เจริญพระคาถานี้เป็นนิจ พระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ทางทิศตะวันตก จะยกย่องอนุโมทนา
    พระคาถาบทนี้จึงเป็นพระคาถาที่มีคุณค่าประมาณมิได้

    ปางที่ 36
    伊(yī) 醯(xī) 伊(yī) 醯(xī),
    เอ.ฮา.ยา.เฮ.
    อี ซี อี ซี
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นรูปพระมเหศวรเทพเจ้า
    ความหมาย
    คำว่า อีซีอีซี หมายถึง การชักชวน ตามพระศาสนา ทุกสิ่งให้เป็นไปตามธรรมชาติ
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ต้องการสอนให้คนเรา ทำจิตใจให้สบายตามบัญชาของสวรรค์ รู้จักโชคชะตาของตน ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย อย่าฝืนทำตามใจชอบ คนเราถ้าไม่เกิดความหลงผิด สภาวะเดิมก็จะแจ่มใส นานเข้าก็จะได้รับการหลุดพ้น สิ่งนี่ไม่เพียงแต่ทำให้ตนได้เข้าถึงธรรม ยังมีโอกาสสามารถโปรดสัตว์ได้อย่างทั่วถึง อำนวยประโยชน์ให้แก่ทวยเทพและภูตผี
     
  6. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 37
    室(shì) 那(nà) 室(shì) 那(nà),
    ศิ.นา.ศิ.นา
    สิด นอ สิด นอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎกายเป็นกาณะมารเทพราช (สั่งสอนให้ทวยเทพ อย่าให้ร้ายแก่มนุษย์)
    ความหมาย
    คำว่า สิดนอสิดนอ หมายถึง เป็นมหาสติ หมายถึง มีจิตใจที่มั่นคง สามารถเข้าสู่มหาปัญญา
    อรรถาธิบาย
    สังคมย่อมมีทั้งฝ่ายดีและชั่วปะปนกันอยู่ เหล่าเทพก็เช่นกัน ที่ตั้งตนอยู่ในธรรมก็มี แต่ที่ถูกอธรรมครอบงำก็มีปะปนอยู่เช่นกัน ผู้ปฏิบัติธรรมมีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่ ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐาน ใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น แต่หากไม่มีจิตมั่นคง กำจัดกิเลสในตนไม่หมดอาทิ ความโลภ โกรธ หลง ก็ไม่มีทางที่จะให้ความสว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั ้งเดิมปรากฏออกมาได้เห็น

    ปางที่ 38
    阿(ā) 囉(luo) 參(cān)、佛(fó) 囉(luo) 舍(shě) 利(lì).
    อา.ลา.ศิน.บา.ลา.ศา.รี.
    ออ ลา เซียง ฟู ลา เซ ลี
    ภาคนิรมาณกาย รูปพระอวโลกิเตศวรพระโพธิสัตว์ ทรงธนูและคันศร พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือโล่กำบัง
    ความหมาย
    คำว่า ออลาเซียง หมายถึง ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
    คำว่า ฟูลาเซลี หมายถึง การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ
    อรรถาธิบาย
    เป็นคาถาที่พระโพธิสัตว์สอนให้การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ ควรให้ติดขัดอยู่ในธรรม ขณะเดียวกันก็จะห่างจากธรรมไม่ได้ เวลาปฏิบัติต้องเข้าถึงจุดสูงสุดแห่งความสงบ ไร้ความสงบแต่มีความสงบเรียกว่า ความสงบที่เป็นยอดมีความไหว แต่ไม่มีความเคลื่อนไหว ลืมความเคลื่อนไหว เรียกว่าสุดยอดแห่งความเคลื่อนไหว
    ปฎิบัติได้ดังนี้ จึงได้เชื่อว่าผู้บรรลุธรรมอันยอดเยี่ยม มีความอิสระในธรรม จึงสามารถที่จะบรรลุพุทธะได้

    ปางที่ 39
    罰(fá) 沙(shā) 罰(fá) 參(cān).
    บา.ศา.บา.ศิน.
    ฟา ซอ ฟา เซียง
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏกายเป็นจอมทัพสุวรรณมงกุฎภูมิ ถือกระดิ่งทอง (ประกาศธรรมตามกาลที่เหมาะสมเพื่อ โปรดสัตว์โลกทั่วไป)
    ความหมาย
    คำว่า ฟาซอฟาเซียง หมายถึง เป็นการอนุโมทนาตามด้วยเหตุปัจจัย
    คำว่า ฟาซอ หมายถึง ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
    คำว่า ฟาเซียง หมายถึง ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริง
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ กล่าวออกมาด้วยความเมตตากรุณาว่า ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก ถ้าสามารถอดทนต่อความยากลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันย ิ่งใหญ่ การอดทนของสรรพสัตว์ ไม่เพียงแต่ทนต่อการอดอยากหิวโหย แม้แต่ปัจจัยที่ทำให้จิตหวั่นไหวก็ต้องอดทน จะเกิดความโกรธไม่ได้ ต้องตั้งสติว่า รูปกายนี้เป็นของนอก เราอยูในฐานะที่ไม่มีตัวตน

    ปางที่ 40
    佛(fó) 囉(luo) 舍(shě) 耶(yé).
    บา.รา.ศา.ยา.
    ฟู ลา เซ เย
    ภาคนิรมาณกาย พระอมิตภพุทธเจ้า
    ความหมาย
    คำว่า ฟูลาเซเย หมายถึง จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรม หากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ทรงตักเตือนให้สรรพสัตว์เร่งรีบในการบรร ลุโพธิธรรมด้วย การปฏิบัติธรรมอันชอบ ให้ถือรูปเป็นสูญ ถือพระธรรมเป็นจิต
     
  7. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 41
    呼(hū) 嚧(lú) 呼(hū) 嚧(lú) 摩(mó) 囉(luo),
    ฮู.ลู.ฮู.ลู.มา.รา
    ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นร่างเทพเจ้าแปดคติ พนมมือ ตั้งเมตตาจิต
    ความหมาย
    คำว่า ฮูลูฮูลูมอลา หมายถึง การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรม ไม่ละจากตัวตน
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์สอนให้เราทราบว่า เมื่อบรรลุธรรมแล้วก็จะมีอภินิหาร มีญาณอภิญญาที่นอกเหนือไปจากความคาดคิด บางคราปรากฎกายเป็นมงคลกายโปรดสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งล้วนกระทำไปด้วยความเป็นอิสระ ฉะนั้น ผู้ที่บรรลุพระธรรมชั้นสูง จะมีกุศลมูลยาวนาน ไม่อยู่ในการบังคับใด ๆ ของบุคคลอื่นหรือปัจจัยอื่นๆ

    ปางที่ 42
    呼(hū) 嚧(lú) 呼(hū) 嚧(lú) 醯(xī) 利(lì).
    ฮู. รู. ฮู. รู. ศรี
    ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นรูปเทพเจ้า 4 กร หัตถ์ถือดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ส่องแสงสุกสว่าง (เพื่อโปรดทวยเทพและมนุษย์)
    ความหมาย
    คำว่า ฮูลูฮูลูซีลี หมายถึง การประกอบธรรมโดยปราศจากความคิดคำนึง มีความเป็นอิสระสูง
    อรรถาธิบาย
    ผู้ที่สำเร็จในมหามรรค การกระทำนั้นจะเป็นไปโดยอิสระ ไม่ต้องฝืนใจ สามารถปรากฏกายได้ทุกแห่ง ตามที่จิตปรารถนา หากต้องการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย จะปรากฏธรรมกายเป็นแพทย์ เพื่อปลดเปลื้องสรรพโรค พระโพธิสัตว์ผู้บรรลุพระธรรมกายอันเป็นอิสระนี้ด้วยค วามมีเมตตากรุณาเป็นกุศลมูล

    ปางที่ 43
    娑(suō) 囉(luo) 娑(suō) 囉(luo),
    สา.รา.สา.รา.
    ซอ ลา ซอ ลา
    ภาคนิรมาณกาย เป็นภาพของถ้ำพรหมโฆษ ที่ภูเขาพูถอ มณฑลจีเจียง (ผู้ที่ตั้งใจนมัสการขอเห็นพระรูปแห่งพระโพธิสัตว์ ท่านก็มักจะปรากฎกายให้เห็น นับว่าเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง
    ความหมาย
    คำว่า ซอลาซอลา หมายถึง ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น และมีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองศ์พระโพธิสัตว์
    อรรถาธิบาย
    ผู้ปฏิบัติถ้าหากต้องการเห็นสิ่งใด จะต้องถือว่าตัวตนของเรานี้เป็นภาพลวง ตั้งใจปฏิบัติธรรม มุ่งตรงไปทางมหามรรคไม่เปลี่ยนแปลง จึงจะสามารถหลุดพ้นจากความเกิดตาย และได้บรรลุมรรคผลอันเป็นวิสุทธิผลในที่สุด

    ปางที่ 44
    悉(xī) 唎(li) 悉(xī) 唎(li),
    สิ. รี. สิ. รี
    สิด ลี สิด ลี
    ภาคนิรมาณกาย พระโพธิสัตว์ที่เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม ปรากฎให้เห็นใบหน้าอันเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา พระหัตถ์ถืออมฤตกุณฑี (หม้อน้ำมนต์) มืออีกข้างหนึ่งถือกิ่งทับทิม
    ความหมาย
    คำว่า สิดลีสิดลี หมายถึง ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์และคุ้มครองสรรพสัตว์ โดยไม่ละทิ้ง
    อรรถาธิบาย
    ถ้าผู้ใดตั้งใจมั่นประกอบแต่กุศลกรรม ปล่อยวางทางโลก ประกอบกิจที่เป็นประโยชน์แก่ปวงชน ก็จะมีความสมบูรณ์ในบุญกุศล และเป็นที่อนุโมทนาสาธุการของเหล่าเทพยดา ผู้ที่เจริญพระคาถานี้ ไม่เพียงแต่เป็นที่คุ้มครองของผู้มีบุญ ยังเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ในคติทั้ง 6 กระทั่งเข้าสุ่การสำเร็จมรรคผล
     
  8. champkung

    champkung สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    เห๊นเจ้าแม่กวนอิม

    [MUSIC]ผมคนหนึ่งที่เป็นคนนับถือเจ้าแม่มากผมเคยขออะไรหลายอย่างๆในทางที่ดีก็สำเร็จผลผมขอยกตัวอย่างน่ะครับ ผมอายุ16เรียนม.4ครับเทอมแรกผมได้คะแนน3.51พอเทอมสองผมได้เกรด3.66โดยผมขอบนบานจากเจ้าแม่โดยการกินเจสัปดาฆ์ละ1วันจนถึงเปิดเทอมและสิ่งที่ผมต้องการหลายๆอย่างก็สำเร็จผลดีมากครับ และผมเคยอ่านว่าคนที่นับถือเจ้าแม่กวนอิมต้องงดทานเนื้อวัวและกินเจปีละครั้งเช่นในวันเกิดของเราหรือกินเจตลอดเลยก็ยิ่งดีและพระแม่จะนำความสำเร็จมาให้ครับ
     
  9. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 45
    蘇(sū) 嚧(lú) 蘇(sū) 嚧(lú).
    สุ. รู. สุ. รู.
    ซู ลู ซู ลู
    ภาคนิรมาณกาย นี่คือพระอมฤตกรเนตรพระโพธิสัตว์ เสียงใบไม้ร่วง แปลเป็นน้ำอมฤต (เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้ได้รับความชุ่มชื่น อิ่มเอิบ อันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ในทางธรรม)
    ความหมาย
    คำว่า ซูลูซูลู หมายถึงน้ำอมฤต ซึ่งสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง
    อรรถาธิบาย
    น้ำทิพย์อันมีคุณอนันต์มาชำระร่างกายและจิต ความกังวลเดือดร้อนต่างๆก็จะมลายไปจากผู้บำเพ็ญ

    ปางที่ 46
    菩(pú) 提(dī) 夜(yè)、菩(pú) 提(dī) 夜(yè)
    บุด.ดา.ยะ.บุด.ดา.ยะ
    ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
    ภาคนิรมาณกาย เป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มีเด็กติดตาม (แสดงความเมตตากรุณาเพื่อโปรดสรรพสัตว์)
    ความหมาย
    คำว่า ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย หมายถึง การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต
    อรรถาธิบาย
    ผู้ปฏิบัติจะต้องแสวงหาโพธิจิต วิริยจิต ไม่ข้องแวะด้วยรูปธรรม ไม่ตกไปในกองเพลิงแห่งกิเลส ไม่หวั่นลมฝน ไม่หลีกหนีความยากลำบาก ขณะเดียวกันก็พากเพียรพยายามอย่ากล้าหาญไม่ย่อท้อ ถ้าผู้ปฎิบัติตั้งใจรวบรวมให้เป็นหนึ่ง ธรรมะก็จะเจริญงอกงาม โอกาสที่จะไปจุติในแดนสุขาวดีภูมิก็มีอยู่สูงยิ่ง

    ปางที่ 47
    菩(pú) 馱(duò) 夜(yè)、菩(pú) 馱(duò) 夜(yè).
    โบ.ดา.ยะ.โบ.ดา.ยะ
    ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระอานนท์มหาเถระ หัตถ์อุ้มบาตรออกจาริกเพื่อโปรดสรรพสัตว์
    ความหมาย
    คำว่า ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย หมายถึงการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฎิบัติจะต้องถือ ตัวเขา – ตัวเรา เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา
    อรรถาธิบาย
    ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ ที่จะให้คนดีและ คนชั่ว พร้อมพรักกันไปสู่สุขาวดีภูมิ แม้สัตว์ที่ต้องตกไปอยู่ในทุคติ พระโพธิสัตว์ก็หาอุบายต่างๆ ช่วยเหลือให้ออกมา ผู้ปฏิบัติธรรม จะต้องถือความเมตตากรุณาเป็นมูลฐาน

    ปางที่ 48
    彌(mí) 帝(dì) 唎(li) 夜(yè),
    ไม.ตรี.เย
    มี ตี หลี่ เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏเป็นรูปพระเมตไตรยโพธิสัตว์
    ความหมาย
    คำว่า มีตีหลี่เย ความหมายว่า มหากรุณา
    อรรถาธิบาย
    ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรครักตนเองเท่าใด ต้องรักผู้อื่นเท่านั้น เมื่อปฎิบัติได้ดังนี้ ก็จะได้รับความหลุดพ้น นี่คือความประสงค์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]

    <!-- / sig -->
     
  10. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 49
    那(nà) 囉(luo) 謹(jǐn) 墀(chí).
    นี.ลา.เกน.ถา
    นอ ลา กิน ซี
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏเป็นพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (โปรดสัตว์ให้บรรลุธรรม ปลุกพวกที่หลง หลับไหลให้ตื่นขึ้น พ้นจากทุคติ)
    ความหมาย
    คำว่า นอลากินชี ความหมายว่า นักปราชญ์ ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต
    อรรถาธิบาย
    ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพรักนักปราชญ์ เห็นผู้ที่กระทำดีต้องช่วยกันรักษา นับเป็นความเมตตากรุณา เพียงแต่มีคุณธรรม ก็จะทำความสนิทสนมกับเขาได้ ผู้ที่เกิดความท้อถอยต้องส่งเสริมให้กำลังใจเพื่อจะไ ด้กลับตัว และบรรลุสู่พระพุทธภูมิ

    ปางที่ 50
    地(dì) 利(lì) 瑟(sè) 尼(ní) 那(nà),
    ตริ.ศา.รา.นา
    ตี ลี สิด นี นอ
    ภาคนิรมาณกาย เป็นพระรัตนธวัชโพธิสัตว์ ถือโตมร (หอกสามง่าม)
    ความหมาย
    คำว่า ตีลีสิดนีนอ หมายถึง ความคมของวชิระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ตักเตือน ให้เร่งรีบปฏิบัติธรรม หากเราตั้งใจปฏิบัติจริง พระรัตนวัชระโพธิสัตว์ ซึ่งถือโตมร เป็นศาสตราวุธอยู่จะมาคุ้มครองเรา ให้สามารถปราบเหล่ามาร ปีศาจได้ บ้างยังปฏิบัติไม่ซึ้ง มีความคิดสับสน เพียงพระโพธิสัตว์เงื้อศาสตราวุธ เหล่ามารก็จะหายหนีไปโดยพลัน

    ปางที่ 51
    波(bō) 夜(yè) 摩(mó) 那(nà),
    บา.ยา.มา.นา
    ผ่อ เย มอ นอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระสุวรรณาภาธวัชโพธิสัตว์ มือถือวชิรคทา
    ความหมาย
    คำว่า ผ่อเยหม่อนอ หมายถึง สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ ต้องการจะคัดเลือกผู้ที่ดีงามให้ได้ฟังอนุตรธรรม ฉะนั้นพระโพธิสัตว์จึงพยายามมาปรากฏธรรมกาย โปรดสรรพสัตว์ตามปณิธาน เพื่อให้สัตว์โลกหลุดพ้นจากความทุกข์เข็ญ ในการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นความประสงค์ของพระพุทธองศ์

    ปางที่ 52
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระอริยะสามเศียร นั่งขัดสมาธิโปรดสัตว์ด้วยพระนิพพานธรรม
    ความหมาย
    คำว่า ซอผ่อฮอ หมายถึง ความสำเร็จผลมงคล นิพพานระงับภัย (เพิ่มพูนประโยชน์) อีกนัยหนึ่งหมายถึงพระสัทธรรม ไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่ดั้งเดิม (สภาวะแห่งตนเป็นนิพพานอยู่แล้ว)
    อรรถาธิบาย
    เมื่อสติสมบูรณ์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่แรก นับเนื่องเรื่อยมาไม่ขาดตอน จึงจะมีความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ถ้าสรรพสิ่งเข้าถึง อนุปาทิเสนิพพาน โลกนี้ก็จะกลับกลายเป็นสุขาวดีภูมิ
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]
     
  11. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    <TABLE class=tborder id=post117 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_117 style="BORDER-RIGHT: #ffd785 1px solid">ปางที่ 53
    悉(xī) 陀(tuó) 夜(yè),
    สิ.ตา.ยา
    สิด ถ่อ เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระสารีบุตร อัครสาวกผู้รู้ธรรมทั้งหลาย
    ความหมาย
    คำว่า สิดถ่อเย หมายถึง ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรค ปราศจากขอบเขตจำกัด สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะสำเร็จได้
    อรรถาธิบาย
    พระพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมลักษณะอันกอปรด้วยความดีงาม โปรดเหล่าสัตว์ด้วยพระทัยเมตตา กรุณาเสมอภาค
    พระโพธิสัตว์ จึงตักเตือนให้คนเรา เร่งรีบกลับตัวกลับใจ และสั่งสมบารมี ปฏิบัติธรรมด้วยความตั้งใจ เพื่อบรรลุมรรคผลอันสูงสุด

    ปางที่ 54
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏเป็นพระธรรมกาย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เท่าจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา ตั้งตนอยู่ในธรรมสาคร โปรดเหล่าสัตว์ด้วยมงคลจิต
    ความหมาย
    คำว่า ซอผ่อฮอ หมายถึง ผู้ปฏิบัติ ถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง (ไม่แท้) ก็จะสำเร็จได้ง่าย
    อรรถาธิบาย
    บัดนี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสให้เห็นแล้ว เพียงแต่ต่อไปจงเพียงน้อมนำไปปฏิบัติ ไม่มัวเมาอยู่ในโลกียวิสัย เพิ่มความวิริยะในการปฎิบัติธรรมก็จะได้ชื่อว่าไม่เส ียความเมตตากรุณาของพระพุทธองค์

    ปางที่ 55
    摩(mó) 訶(hē) 悉(xī) 陀(tuó) 夜(yè),
    ม.หา.สิ.ตา.ยา
    หม่อ ฮอ สิด ทอ เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏเป็นพระโพธิสัตว์เปล่งรัศมี พระหัตถ์ถือรัตนธวัช เสด็จโปรดสรรพสัตว์ในทุกหนแห่ง
    ความหมาย
    คำว่า หม่อฮอสิดทอเย หมายถึง ความไพศาลของพระพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติ จะสำเร็จในพระพุทธผล
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ทรงส่องพระรัศมี ด้วยพระเมตตากรุณาแห่งพระอมิตภะ เพื่อให้สัตว์โลกในทุกโลกธาตุได้รับการโปรดนี้โดยเสม อเหมือนกัน สรรพสัตว์ทั้งชั่วและดี จะได้รับการโปรดจากพระองศ์ทั้งสิ้นไม่มียกเว้น พระองศ์จะนำพาเหล่าสัตว์เข้าสู่สุขาวดีภูมิ พ้นภาวะแห่งการเกิดดับ ด้วยเหตุนี้ สรรพสัตว์ทั้งหลายพึงละกิเลส และปฏิบัติธรรม ผู้ไม่เกิดความศรัทธาในพระธรรมติดอยู่กับความสุขทางโ ลก ไม่ต่างอะไรกับไม้อันผุกร่อน เวลาที่ผ่านมาอย่างเปล่าประโยชน์ เพียงได้ชื่อว่าเกิดมาเป็นคนเท่านั้น

    ปางที่ 56
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระโมคคัลลาน์ ถือไม้เท้าขักขระ และอุ้มบาตร
    ความหมาย
    คำว่า ซอผ่อฮอ หมายถึง ธารณีที่เน้นย้ำประโยชน์ในการปฎิบัติธรรม
    อรรถาธิบาย
    สัตว์ทั้ง ๓ โลกจำเป็นต้องตื่นตัวโดยเร็ว ปฎิบัติธรรมด้วยความขันแข็ง ชำระล้างจิตใจให้สะอาด สว่างสงบ ตามความจำนงของพระโพธิสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการหลุดพ้นพร้อมกัน
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]

    <!-- / sig --></TD></TR><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffd785 1px solid; BORDER-TOP: #ffd785 0px solid; BORDER-LEFT: #ffd785 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffd785 1px solid">[​IMG] </TD><TD class=alt1 style="BORDER-RIGHT: #ffd785 1px solid; BORDER-TOP: #ffd785 0px solid; BORDER-LEFT: #ffd785 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffd785 1px solid" align=right><!-- controls --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 57
    悉(xī) 陀(tuó) 喻(yù) 藝(yì),
    สิ.ตา.ยา.เย
    สิด ทอ ยี อี
    ภาคนิรมาณกาย บรรดาพระโพธิสัตว์ และทวยเทพต่างมาชุมนุมพร้อมพรั่งกัน ณ แดนสุขาวดี
    ความหมาย
    คำว่า สิดทอ หมายถึง ความสำเร็จ
    คำว่า ยีอี หมายถึง ความว่างเปล่า
    อรรถาธิบาย
    ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม) พระธรรมแห่งพระบรมศาสดา กว้างใหญ่ไพศาล สามารถยังประโยชน์มหาศาลทั้งแก่ทวยเทพและสรรพสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงปรากฏพระองศ์เพื่อโปรดเหล่าเทพให้บรร ลุอนุตรธรรมร่วมกัน

    ปางที่ 58
    室(shì) 皤(pó) 囉(luo) 耶(yé),
    โซว์.รา.ยา
    สิด พัน ลา เย
    ภาคนิรมาณกาย พระอมิตภพุทธเจ้ากับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นรูปเทพี
    ความหมาย
    คำว่า สิดพันลาเย หมายถึง ความอิสระสมบูรณ์ บรรดาเทพีที่ต่างสำเร็จในอิสรธรรม
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ในธารณีนี้ ทรงปรากฎกายเป็นเทพี เพื่อโปรดเหล่าเทพี
    เทพี ก็คือ เทพสตรีที่ทรงคุณความดีในมนุษย์โลก เมื่อละสังขารแล้วจึงไปจุติเป็นเทพี เป็นที่น่าเสียดาย ว่าเมื่อยังดำรงชีพเป็นมนุษย์อยู่ไม่มีโอกาสล่วงรู้ หรือสำเร็จธรรมชั้นสูง จึงไม่สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ฉะนั้น ด้วยพระมหากรุณาแห่งพระโพธิสัตว์ จึงตรัสธรรมแก่เหล่าเทพีเพื่อให้ปฏิบัติตนเข้าสู่มรร คผลอันพิสุทธิ์ไพศาล

    ปางที่ 59
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระเถระ ใบหน้าอิมเอิ่บยิ้มแย้ม มือชูบาตรขึ้นสูงเสมอศีรษะ
    ความหมาย
    คำว่า ซอผ่อฮอ หมายถึง สภาวธรรมที่สมบูรณ์โดยอิสระ เป็นการประกาศมหามรรคที่ยิ่งใหญ่มีผลที่ลึกซึ้ง
    อรรถาธิบาย
    พระธรรมกายปางนี้ถือเอาคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ชี้ให้เห็นถึงธรรมอันไม่มีขอบเขตจำกัด พระโพธิสัตว์โปรดสรรพสัตว์ด้วยความเมตตากรุณา เพื่อให้สรรพสัตว์ทั้งสามโลกได้บรรลุพระพุทธผล ผู้ที่ปฏิบัติความเพียรจงตั้งจิตเอาสรรพสิ่งในโลกเป็ นจิตของตน และความประสงค์ของพระพุทธเจ้าและบรรดาพระอริยเจ้า เป็นความประสงค์ของตนเองเช่นกัน หมั่นทำบุญให้ทาน ตามความสามารถของตนที่พึงจะกระทำได้ พระพุทธผลอันไพศาลก็จะบรรลุแก่ตนโดยไม่ยาก

    ปางที่ 60
    那(nà) 囉(luo) 謹(jǐn) 墀(chí),
    นี.ลา.เกน.ถา
    นอ ลา กิน ซี
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระคิรีสาครปัญญาโพธิสัตว์ หัตถ์ถือดาบทองคำ (โปรดพระอริยะเถระทางฝ่ายหินยาน)
    ความหมาย
    คำว่า นอลากินชี หมายถึง ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา
    อรรถาธิบาย
    "นอลากินชี" คล้ายคลึงกันกับประโยค ในพระธรรมกายปางที่ ๔๙
    เป็นพระธรรมที่สอนมหายานธรรม เพื่อให้ออกห่างจากหินยาน ในขณะที่พระโพธิสัตว์แสดงพระคาถาบทนี้ ได้ปรากฎพระธรรมกายเป็นรูปของพระโพธิสัตว์เพื่อโปรดพ ระเถระฝ่ายหินยานโดยเฉพาะ เพื่อน้อมนำให้มาศึกษาพระธรรมของฝ่ายมหายานเพื่อผลแห ่งการบรรลุพระโพธิญาณโดยเร็ว
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]

    <!-- / sig -->
     
  13. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 61
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระจัณฑาลเถระ (หาบงอบฟางนำอสังสกฤตธรรมเพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย)
    ความหมาย
    คำว่า ซอผ่อฮอ หมายถึง ธารณีที่แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ตักเตื อนผู้ที่มุ่งมั่นในหินยานธรรมให้รีบกลับตัว
    อรรถาธิบาย
    คติของพระธรรมกายปางนี้คือ พระพุทธเจ้านั้นประสูติมาด้วยเหตุปัจจัยอันยิ่งใหญ่ พระองศ์ไม่ถือเอาหินยานมาโปรดสัตว์ โลก
    ดังนั้น สรรพสัตว์ควรตื่นตัวมาแสวงหาการบรรลุธรรมอันพิสุทธิ์ ทางผ่านมหายานอันมีจุดมุ่งหมายที่พระโพธิธรรม

    ปางที่ 62
    摩(mó) 囉(luo) 那(nà) 囉(luo),
    มา.ลา.นา.ลา
    มอ ลา นอ ลา
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระรัตนมุทรราชโพธิสัตว์ หัตถ์ถือขวานทองคำ (ทดสอบจิตและการกระทำของสัตว์โลก)
    ความหมาย
    คำว่า มอลา หมายถึง มโนรถ – ความหวัง ความประสงค์
    คำว่า นอลา หมายถึง อนุตตรธรรม
    มอลานอลา จึงหมายถึง การปฎิบัติ อนุตตรธรรมสมดังประสงค์
    อรรถาธิบาย
    ไม่ว่าเทพยดาเบื้องบนสวรรค์และผืนพิภพ สรรพสัตว์ที่ปฏิบัติธรรมอันใหญ่ยิ่งนี้ ล้วนสำเร็จพุทธธรรมอันวิเศษสมดั่งความมุ่งหวัง

    ปางที่ 63
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระเกาซีลาเถระ (สวมรองเท้าหญ้าเดินอยู่บนผิวน้ำ เปล่งสุรเสียงดังคลื่นทะเล)
    ความหมาย
    พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้
    อรรถาธิบาย
    เนื้อแท้ของมหามรรคนั้นไม่มีอะไรมากมาย เพียงแต่รู้เอาเอง ไม่ต้องไปแสวงหาจากที่อื่น วิธีปฏิบัติเพียงแต่ทบทวนย้อนกลับ เพื่อมุ่งเข้าสู่สภาวะเดิมของตนเท่านั้น ผู้ปฏิบัติเพียงแต่ศึกษาธรรมอย่างจริงใจ มีความมานะ ทำอย่างจริงจัง ก้าวไปข้างหน้าอย่างอาจหาญ
    ในส่วนของการกระทำประโยชน์ต่อผู้อื่นอันนับเป็นกุศลก รรมอันใหญ่ ก็ยิ่งต้องเร่งกระทำโดยความพยายามอย่างเต็มกำลัง

    ปางที่ 64
    悉(xī) 囉(luo) 僧(sēng)、阿(ā) 穆(mù) 佉(qū) 耶(yé),
    ลี.ศัง.กะ.รา.ยะ
    สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระเภสัชราชโพธิสัตว์ (ถือสมุนไพรรักษาโรคให้สัตว์โลก)
    ความหมาย
    พระคาถาบทนี้ เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน พระองศ์สงสารสัตว์โลกทั้งหลาย ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ฉะนั้น จึงปรากฏพระธรรมกายเป็นเภสัชราชโพธิสัตว์ เพื่อรักษาโรคร้ายต่าง ๆ เพื่อให้สรรพสัตว์ได้มีความสุขสบาย
    อรรถาธิบาย
    คนเราที่มีโรคเพราะความหลงผิด คิดผิด เมื่อความคิดเกิดขึ้น โรคก็เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แพทย์ที่ดีที่สุด คือผู้ที่รักษาโรคทางกายให้หายได้ ดุจเดียวกันกับพระอริยะที่เพียงรักษาโรคทางจิตให้มลา ยหายสิ้น พระอริยะเจ้าสอนให้สรรพสัตว์ลดเลิกละซึ่งกิเลสทั้งปว ง พระพุทธเจ้าสอนให้เราเพ่งจิต เมื่อรู้ว่าจิตของเรานี้เป็นสิ่งที่หาพบไม่ได้ โรคทางจิตก็จะมลายหายไป
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]

    <!-- / sig -->
     
  14. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 65
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย พระโพธิสัตว์ปรากฎเป็นสมบูรณ์โพธิสัตว์ หัตถ์ประณมดุจดอกบัว สวมเสื้อแดง (ด้วยจิตอันสมบูรณ์แจ่มใสคอยอำนวยความสุขแก่สัตว์โลก )
    ความหมาย
    พระคาถานี้ติดต่อกับ สิดลาเซง ออหมกเคเย คนเรานั้นมีโรคทางจิตเป็นภัยคุกคาม พระธรรมโอสถเท่านั้นที่สามารถรักษาให้หายได้
    อรรถาธิบาย
    มนุษย์มีโรคมากนั้น เมื่อกระทบกับภายนอกย่อมมีความเจ็บปวด ที่สุดก็กลายเป็นโรคร้ายที่รักษาเยียวยาไม่ได้ฉะนั้น พระโพธิสัตว์จึงนำมหาธรรมโอสถ มาโปรดสัตว์โลกด้วยความเมตตากรุณา เน้นย้ำให้ชาวโลกทั้งหลาย ปล่อยวางจากรูปกายภายนอก และรีบเร่งหันมาบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรม

    ปางที่ 66
    娑(suō) 婆(pó) 摩(mó) 訶(hē)、阿(ā) 悉(xī) 陀(tuó) 夜(yè),
    โซ.ฮา.สิ.ตา.ยา
    ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ทอ เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระอุตรเภสัชโพธิสัตว์ (หัตถ์ถือกุณโท รักษาโรคร้ายให้กับมนุษย์)
    ความหมาย
    คำว่า ซอผ่อหม่อฮอ หมายถึง สัตว์ทุกประเภท มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
    คำว่า ออสิดทอเย หมายถึง สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน
    อรรถาธิบาย
    บุคคลมีขันติธรรม จะเข้าถึงธรรมของฝ่ายมหายานได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด พระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาเป็นล้นพ ้น มีความสงสารเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวง จึงปรากฎกายเป็นรูปต่างๆ เพื่อสั่งสอน สงเคราะห์ในธรรม แต่สรรพสัตว์ทั้งมวล

    ปางที่ 67
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระสารีบุตรเถระ หัตถ์ถือพระสูตร (เผยแผ่พระสัทธรรมโปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ)
    ความหมาย
    ประโยคนี้ต่อเนื่องจากประโยคก่อน เพื่อความสำเร็จเป็นมหายานในพุทธภูมิ เป็นพระคาถาที่กอปรด้วยความเมตตา กรุณาอันสูงสุด
    อรรถาธิบาย
    พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ดำรงปณิธานที่จะโปรดสัตว์อย่างทั่วถึง เน้นความสำคัญไม่เบียดเบียนบีฑาชีวิตผู้อื่น เป็นการเอาจิตของสวรรค์มาเป็นจิตของตน เพราะสวรรค์ชื่นชมการมีชีวิตของสัตว์โลก

    ปางที่ 68
    者(zhě) 吉(jí) 囉(luo)、阿(ā) 悉(xī) 陀(tuó) 夜(yè),
    จา.ลา.สิ.ตา.ยา
    เจ กิด ลา ออ สิด ทอ เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏเป็นพระวชิรธรรมจักรโพธิสัตว์
    ความหมาย
    คำว่า เจกิดลา หมายถึง การใช้วชิรจักรปราบเหล่ามาร
    คำว่า ออสิดทอเย หมายถึง ความสำเร็จอันไม่มีสิ่งใดเทียบได้
    เจกิดลา ออสิดทอเย จึงหมายถึง การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรู เพื่อความสำเร็จ
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ แผ่ความเมตตากรุณาโดยทั่วไป จึงปรากฎสมาธิกายรวมทั้งสรรพสัตว์ ต่างได้รับความกรุณานี้อย่างทั่วถึงกัน ผู้ปฏิบัติต่างได้รับความสว่างไสว อิสระ บรรดามารและสิ่งต่างๆ อันขัดข้องจะหมดสิ้นไป เพราะมารและสิ่งอันขัดข้องเกิดจากจิตใจ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ถึงความบริสุทธิ์นั้น คือความไม่ยึดมั่นในธรรมใดๆ มุ่งตรงเข้าสู่พระนฤพาน
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]
     
  15. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    [​IMG]

    ขอเชิญทุกๆท่านที่ศรัทธา องค์พระแม่กวนอิม ปีนี้วันเกิด ของท่านตรงกับวันที่ 26 มีนาคม ตามปฎิทิน จีน ขอเชิญทุกๆท่าน ร่วมกินเจ 1 วัน ร่วมกันน่ะค่ะ

    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  16. kwlrmc

    kwlrmc สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    วันนี้มีงานสมโภชน์เจ้าแม่กวนอิมไม่ทราบว่าที่ไหน ใครรู้ช่วยบอกด้วยค่ะ
     
  17. @^น้ำใส^@

    @^น้ำใส^@ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    2,330
    ค่าพลัง:
    +4,673
    คาถา พระโพธฺสัตว์กวนอิม "นโม บุญบารมีสูงส่ง"
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    คาถา พระโพธฺสัตว์กวนอิม

    [​IMG]

    น โม บุญบารมีสูงส่ง ปกป้องคุ้มครอง มนุษย์ปวงชนด้วยบารมีองค์พระโพธิ์สัตว์

    บุญบารมีอันศักดิ์สิทธิ์ ขอจงได้ประทานบารมี ขอจงได้ประทานบารมี

    บุญบารมีจงเวียนมา บุญบารมีจงเวียนมา ขอทูลเพิ่มบารมี

    ให้บุญบันดาล ฟ้าคุ้มครอง ดินปกป้อง จงปลอดภัย

    ปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง หากมีเคราะห์ร้ายสิ่งใด

    ขอบุญนี้จงช่วยคุ้มครอง ให้หลีกพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงเถิด


    ปล . จาก เหล่าอี้ของผมเอง ท่านไปจำมาจากที่แห่งหนึ่งครับ

    ---------
    ที่มาค่ะ http://www.palungjit.org/board/showt...546#post356546
     
  18. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    [music]http://palungjit.org/attachments/a.6051/[/music]
     
  19. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    OM NAMO BHAGAVATYAI ARYA-PRAJNAPARAMITAYAI

    ARYA VALOKITESHVARO BODHISATTVO GAMBHIRAM
    PRAJNAPARAMITA CHARYAM CHARAMANO
    VYAVALOKAYATI SMA PANCHA SKANDHAS TAMSH CHA
    SVABHAVA SHUNYAN PASHYATI SMA

    IHA SHARIPUTRA RUPAM SHUNYATA SHUNYATA EVA RUPAM
    RUPAN NA PRITHAK SHUNYATA
    SHUNYATAYA NA PRITHAK RUPAM
    YAD RUPAM SA SHUNYATA
    YA SHUNYATA TAD RUPAM
    EVAM EVA VEDANA SAMJNA SAMSKARA VIJNANAM

    IHA SHARIPUTRA SARVA DHARMA SHUNYATA LAKSHANA
    ANUTPANNA ANIRUDDHA AMALA AVIMALA ANUNA APARIPURNAH
    TASMAT SHARIPUTRA SHUNYATAYAM NA RUPAM
    NA VEDANA NA SAMJNA NA SAMSKARA NA VIJNANAM
    NA CHAKSHU SHROTRA GHRANA JIHVA KAYA MANAMSI
    NA RUPA SHABDA GANDHA RASA SPRASHTAVYA DHARMAH
    NA CHAKSHUR DHATUR YAVAN NA MANO VIJNANAM DHATUH
    NA AVIDYA NA AVIDYA KSHAYO YAVAN JARA MARANAM
    NA JARA MARANA KSHAYO NA DUHKHA SAMUDAYA NIRODHA MARGA
    NA JNANAM NA PRAPTIR NA BHISMAYA TASMAI NA APRAPTIH

    TASMAT SHARIPUTRA APRAPTIVAD BODHISATTVO
    PRAJNAPARAMITAM ASHRITYA
    VIHARATYA CHITTA VARANAH
    CHITTA AVARANA NASTITVAD ATRASTO

    VIPARYASA ATIKRANTO NISHTHA NIRVANA PRAPTAH

    TRYADHVA VYAVASTHITAH SARVA BUDDHAH
    PRAJNAPARAMITAM ASHRITYA ANUTTARAM
    SAMYAK SAMBODHIM ABDHISAMBUDDHAH

    TASMAT JNATAVYAM PRAJNAPARAMITA MAHA MANTRO
    MAHA VIDYA MANTRO 'NUTTARA MANTRO SAMASAMA MANTRAH
    SARVA DUHKHA PRASHAMANAH SATYAM AMITHYATVAT
    PRAJNAPARAMITAYAM UKTO MANTRAH TADYATHA
    GATE GATE PARAGATE PARASAMGATE BODHI SVAHA

    ITY ARYA PRAJNAPARAMITA HRIDAYAM SAMAPTAM

    อริยาวโลกิเตศวาโร โพธิสัตตโว คัมภีรํ ปรัชญาปารมิตา จารยํ จารมโน วยาวโลกยาติ สมา ปัญจะ สกันธัส (ขันธะ) ตัมส จะ สว ภว ศุนยํ

    -พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ เมื่อปฏิบัติซึ้งในปรัชญาปารามิตาเพ่งเห็นขันธ์ 5 เป็นความว่างเปล่า จึงข้ามพ้นทุกข์

    ปัศยาติ สมา อิหา ศารีปุตระ รูปํ ศุนยตา วะ รูปํ รูปํ นะ ปฤถัก
    ศุนยตา ศุนยตายะ นะ ปฤทัก รูปํ ยัท รูปํ สะ ศุนยตา ยะ ศูนยตายะ สะ รูปํ
    เอวัม เอวะ เวทนท สังชญา (สัญญา) สังสการา (สังขาร) วิชญานัม (วิญญาณ)

    -รูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูป รูปไม่อื่นไปจากความว่างเปล่า ความว่างเปล่าไม่อื่นไปจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ว่างเปล่า

    อิหา ศารีปุตระ สารวะ ธารมะ ศุนยตา ลักษณะ อนุตปัณณะ อนิรุทธะ อวิมาละ อนูนะ อปาฤปูฤณะ ตัสมา ศารีปุตร ศุนยตายํ

    -โอ สารีบุตร ธรรมทั้งปวงว่างเปล่า ไม่มีรูป ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เพิ่ม ไม่ลด ในความว่างเปล่าไม่มีรูป

    นะ รูปํ นะ เวทานา นะ สังชญา นะ สังสการ นะ วิญญาณ
    นะ จักษุ โสรตัม นะ ฆราน ชิว กาย มน
    นะ รูป ศัพท คันธ รส ศปิสตาวยา ธารมา
    นะ จักษุ ธาตุ ยะ วัน นะ มโน วิชญาณัม ธาตุ

    -ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ไม่มีจักษุธาตุ ไม่มีมโนธาตุ

    นะ วิทยา นะ วิทยา กศโย
    ยะ วัน ชรามรณัม นะ ชรามรณัม กศโย
    นะ ทุกข สมุทย นิโรธ มฤคาชณ
    นะ ชญานัม นะ ปราปติ นะ ภิศมายะ ตัสมา นะ ปราปติ

    -ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่มีฌาน ไม่มีการบรรลุ เพราะไม่มีอะไรให้บรรลุ

    ตวัท โพธิสัตตวะ ปรัชญาปารมิตา อศฤตยา วิหาระ ตยา จิตตา วรโน
    นะ สิทธิตวัท อตรัสโต วิปา ฤยส ติ กรานโต
    นิ สถา นิรวานะ ตยา ธยา วยาว สถิตา
    สาระ พุทธา ปรัชญาปารมิตัม อศฤตยา
    อนุตตรํ สัมยักสัมโพธิง อภิสัมพุทธา

    -พระโพธิสัตว์ ด้วยเหตุดำเนินตาม ปรัชญาปารามิตา จิตย่อมไม่สับสนมืดมัว เพราะจิตไม่สับสนมืดมัว จึงไม่มีความกลัว อยู่เหนือความ หลอกลวง มีพระนิพพานเป็นที่สุด
    พระพุทธเจ้าทั้ง 3 กาลด้วยเหตุดำเนินตาม ปรัชญาปารามิตา จึงได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาน

    ตา สมา ชญตา วยัม ปรัชญาปารมิตา มหามันตรัม มหาวิทยามันตรัม
    อนุตตรมันตรัม อสมสมา มันตรัม
    สารว ทุกขา ปรสามานัม สัตยํ อมิตยัทวัท
    ปรัชญาปารมิตายัม อุทโท มันตรา ตัทยาถา

    -จึงทราบว่า ปรัชญาปารามิตาเป็นมหาศักดาธารณี เป็นมหาวิทยาธารณี เป็นอนุตรธารณี เป็นอสมธารณี สามารถดับสรรพทุกข์ สัจจะธรรมไม่ผิดพลาด ฉะนั้นจึงประกาศ ปรัชญาปารามิตาธารณีดังนี้

    คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
    -ไป ไป ไปสู่ฝั่งโน้น ฝั่งแห่งพุทธะ สวาหา<!-- / message --><!-- attachments -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG]

    </FIELDSET>พระสารีบุตร ทูลถามพระพุทธองค์ ว่าความว่างคืออะไร พระพุทธองค์ทรงเมตตารับสั่งให้ มหาโพธิสัตว์กวนอิม เป็นผู้ตอบ จึงเกิดเป็น มหาปรัชญาปรมิตาหฤทัยสูตร


    จางเมี่ยวฮุย (ผู้ตอบกระทู้)


    พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (ผู้การุณย์)
    ผู้ (ประกอบ) อยู่ด้วยโลกุตรปัญญาอันลึกซึ้ง
    ได้มองเห็นว่า โดยธรรมชาติแท้แล้ว
    ขันธ์ทั้งห้านั้นว่างเปล่า,
    (และด้วยเหตุที่เห็นเช่นนั้น จึง)
    ได้ก้าวล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้


    สารีบุตร!


    รูปไม่ต่างไปจากความว่าง,
    ความว่างก็ไม่ต่างไปจากรูป.
    รูปคือความว่างนั่นเอง,
    (และ) ความว่างก็คือรูปนั่นเอง.



    เวทนา, สัญญา, ก็เป็นดังนี้ด้วย
    สังขาร, และวิญญาณ
    ก็เป็นดังนี้ด้วย.


    สารีบุตร!

    ธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลายทั้งปวง)
    มีธรรมชาติแห่งความว่าง (กล่าวคือ):
    พวกมันไม่ได้เกิดขึ้นและไม่ได้ดับลง,
    พวกมันไม่ได้สะอาดและไม่ได้สกปรก,


    ดังนั้น, ในความว่างจึงไม่มีรูป,
    ไม่มีเวทนาหรือสัญญา,
    ไม่มีสังขารหรือวิญญาณ;
    ไม่มีตาหรือหู, ไม่มีจมูกหรือลิ้น,
    ไม่มีกายหรือจิต (ใจ);
    ไม่มีรูปหรือเสียง, ไม่มีกลิ่นหรือรส,
    ไม่มีโผฎฐัพพะ (สิ่งที่มาถูกต้องกาย)
    หรือธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ).
    ไม่มีโลกแห่ง (ผัสสะ คือ) อายตนะ (ภายใน)
    (อายตนะภายนอก) หรือวิญญาณ.
    ไม่มีอวิชชา,
    และไม่มีความดับลงแห่งอวิชชา;
    ไม่มี (กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่นำไปสู่)
    ความแก่และความตาย,
    และไม่มีความดับลงซึ่งความแก่และความตาย.
    ไม่มีความทุกข์
    และไม่มีต้นเหตุ (แห่งควาทุกข์);
    ไม่มีความดับลง (แห่งความทุกข์)
    และไม่มีมรรค (ทางให้ถึงซึ่งความดับลงแห่งความทุกข์).
    ไม่มีการประจักษ์แจ้งและไม่มีการลุถึง,
    เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องถูกลุถึง.


    พระโพธิสัตว์
    ผู้วางใจในโลกุตรปัญญา,
    จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นนานา
    (และ) เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้นนานา,
    พระองค์จึงไม่มีความกลัวใด ๆ;
    (สามารถ) ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตาทั้งมวลได้,
    (และ) ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด.


    พระพุทธะในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งหมด
    ผู้ทรงวางใจในโลกุตรปัญญา
    ได้ประจักษ์แจ้งแล้วซึ่งภาวะอันตื่นขึ้นนั้น,
    (อันเป็นภาวะ) ที่สมบูรณ์และไม่มีใดอื่นยิ่งกว่า.


    ดังนั้น, จงรู้ไว้เถิดว่า โลกุตรปัญญา
    เป็นมหามนตร์อันศักดิ์สิทธิ์,
    เป็นมนตร์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่,
    เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อื่นยิ่งกว่า,
    เป็นมนตร์อันไม่มีมนตร์อ่นใดมาเทียบได้,
    ซึ่งจะตัดเสียซึ่งความทุกข์ทั้งปวง.
    นี่เป็นสัจจะ(ความจริง),
    (และ) เป็นอิสระจากความเท็จ (ทั้งมวล).


    แปลโดย : คุณละเอียด ศิลาน้อย
    พิมพ์โดย : มหาเทพ เทวาพิทักษ์

    <!-- / message --><!-- sig -->




    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->
    http://audio.palungjit.org//attachment.php?attachmentid=2785



    กดโหลดเพลงสวดเลยครับ


    ขอให้ทุกท่านเข้าถึงธรรม และช่วยกันแผ่ธรรมอันดี ต่อไปไม่สิ้นสุด สาธุ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  20. ปมณฑ์

    ปมณฑ์ บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ปางที่ 69
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นมารเทพราช ถือหอกยาว จาริกไปแนะนำสั่งสอนสัตว์โลกระงับความเกลียดชังซึ่งก ันและกัน
    ความหมาย
    พระคาถาบทนี้ต่อเนื่องจากบทก่อน หมายความว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ ได้จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย
    อรรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ผู้ประกาศมหามรรคนี้ ถ้าปฏิบัติตามแล้วไม่เพียงแต่ลบล้างบาปกรรมและกำจัดม ารได้เท่านั้นยังสามารถบรรลุสู่พุทธภูมิได้ด้วย

    ปางที่ 70
    波(bō) 陀(tuó) 摩(mó)、羯(jié) 悉(xī) 陀(tuó) 夜(yè),
    บา.ตา.มา.สิ.ตา.ยา
    ปอ ทอ มอ กิด สิด ทอ เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระสัทคนธ์เทพโพธิสัตว์ (ยกกระถางธูปมโนรถ เพื่อคุ้มครองสัตว์โลก)
    ความหมาย
    คำว่า ปอทอ หมายถึง ดอกบัวแดง
    คำว่า มอกิด หมายถึง ชนะ
    คำว่า สิดทอเย หมายถึง มีผลสำเร็จทั้งสิ้น
    ฉะนั้น ปอทอมอกิด หมายถึง พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อรับความสุขร่วมกัน
    ส่วน สิดทอเย เป็นการย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญ ญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส
    รรถาธิบาย
    พระโพธิสัตว์ นั่งอยู่บนรัตนปทุมอาสน์ ส่องแสงสว่าง แล้วมีทำนายไว้ว่า แสงนี้จะเกิดประโยชน์มหาศาลหาสิ่งใดเทียบได้ยาก

    ปางที่ 71
    娑(suō) 婆(pó) 訶(hē).
    โซ. ฮา
    ซอ ผ่อ ฮอ
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฏเป็นเทพเจ้าโปรยดอกปทุมจำนวน ๑,๐๐๐ กลีบ (เพื่อผลแห่งความบรรลุสิ่งปรารถนาที่จะให้สัตว์โลกปร ะสพแต่ความสุข
    ความหมาย
    ประโยคนี้ เมื่อนำไปต่อกันกับประโยคก่อน จะมีหมายถึงว่าผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง ปฏิบัติโดยการพิจารณาพร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ
    อรรถาธิบาย
    มรรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณา ในทุกขณะ จะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุก
    เหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้ เมื่อปฎิบัติได้ดังนี้ความสำเร็จย่อมบังเกิดตามปรารถ นา

    ปางที่ 72
    那(nà) 囉(luo) 謹(jǐn) 墀(chí)、 皤(pó) 伽(qié) 囉(luo) 耶(yé),
    นี.ลา.กัน.เถ.ปัน.ตะ.ลา.ยะ
    นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
    ภาคนิรมาณกาย ปรากฎเป็นพระปูรณเถระ (นั่งอุ้มบาตร ช่วยเหล่าสัตว์ให้พ้นจากภยันตราย)
    ความหมาย
    คำว่า นอลากินซี หมายถึง รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร
    คำว่า พันเคลาเย หมายถึง เถระเพ่งโดยอิสระ
    นอลากินซีพันเคลาเย รวมหมายความว่า เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักษาของพระอริยะ พระโพธิสัตว์จะยื่นหัตถ์มากำจัดความน่าหวั่นกลัวทั้ง ปวง ยังผลให้เกิดความสงบสุข
    อรรถาธิบาย
    ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ จึงปรากฎเป็นพระธรรมกายทั่วทั้งสามโลก เพื่อโปรดสัตว์ทั้งหลาย ให้เร่งรีบปฏิบัติธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย ด้วยเหตุที่สามัญชนมักตกอยู่ในความหวั่นกลัว ถือสิ่งหลอกลวงว่าเป็นของเที่ยงแท้ พระพุทธองศ์ทรงสั่งสอนให้เราละลักษณาการต่าง ๆ อันเป็นความปลอมแปลง เมื่อตัวเราไม่มี กายใจก็จะสบาย ไม่สร้างอุปสรรคที่เดินทางเข้าสู่มหามรรคอันพิสุทธิ์
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    [​IMG] 活到老 學到老
    Live and Learn
    ตราบใดชีวิตยังดำรง ตราบนั้นยังคงมุ่งศึกษา
    [​IMG]

    <!-- / sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...