โพธิธรรม+โพธิจิต ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ(ภควา=ภาคส่วน=แบ่งภาค)เกิด ได้หรือไม่
ก่อนอ่านบทความด้านล่างนี้ ควรไปศึกษาอภิธรรมปิฏก ปรมัตถ์::: จิต เจตสิก รูป นิพพาน ฝ่ายเถรวาท มาให้ดี แล้วค่อยลงความเห็น
จิตคนเรา มี ๘๙ ถึง ๑๒๑ ดวง แต่ละดวงจุติเป็นคน...ได้หนึ่งคนเรียกว่าแบ่งภาค
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
คลิ๊ก ::: อ่านจิตในอภิธรรมที่นี้ >>>กด<<<
อันนี้อ้าง อิงตามตำราพระไตรปิฎกฉบับ “เถรวาท” ไม่ใช่มหายานแต่อย่างใด
อนึ่ง ยังมีอีกว่าจิตที่ขณะจะจุตินั้นจะมีหนึ่งดวงเสมอ จึงเรียกจิตดวงนั้นว่า “จุติจิต” เมื่อจิตจุติไปแล้วเพียงหนึ่งขณะ ซึ่งสั้นมากกว่าเสี้ยววินาทีนั้น จะเกิด “ปฏิสนธิจิต” คือ จิตที่จุติแล้วจะเกิดใหม่ทันที เช่น เกิดในภพภูมิใหม่ เป็นเทวดาเป็นต้น
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าจุติจิตมีดวงเดียว
จากนั้น ดวงนั้นแหละที่ดับลงแล้วเกิดเป็น “ปฏิสนธิ จิต” และปฏิสนธิจิตนี่เอง นับได้ว่ามีวิญญาณขันธ์มาปรุงด้วย นับเป็นจิตวิญญาณสมบูรณ์ มีกายทิพย์สมบูรณ์ เรียกว่าเกิดใหม่เป็นเทวดาได้หนึ่งองค์ หรือหนึ่ง ชีวิต...
ดังนั้น “หนึ่งดวงจิต ก่อเกิดได้หนึ่งชีวิต” แล้วคนเรามีจิตตั้ง ๘๙ ดวง หากฝึก จิตได้พิสดารก็มีได้ถึง ๑๒๑ ดวง
ขอถามชัดๆ... ที่ตรงตามหลักพระไตรปิฎกเถรวาทว่า “จิตในกายนั้น มี ถึง ๘๙ ดวง เมื่อชีวิตินทรีย์ตายลง จะเกิดเป็นจิต วิญญาณกี่ดวง” ก็ต้อง ๘๙ จิตวิญญาณ หรือ ถ้าเป็นเทวดาทุกดวงทั้งหมด ก็ต้องเป็นเทวดา ๘๙ องค์ ใช่หรือไม่...
อันนี้ ไม่ต้องคำนวณยุ่งยากเลย ตรงไปตรงมาชัดๆ นี่คือ ธรรมดาของคนทุกๆคน คือ ตอนเกิดมาใช้จิตดวงเดียวเกิดเป็นคนได้หนึ่งคน เรียกว่า"จุติ จิต" จิตที่มาจุตินั้นมีดวงเดียว จากนั้น จำนวนดวงจิตไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไป(อนิจจัง=เปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ไม่อยู่รูปแบบเดียว)
สรุปตามไตรปิฎกจะได้จำนวนดวงจิตทั้งสิ้นในกาย ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง ตามแต่เหตุปัจจัย
ดังนั้น จิตจะเพิ่มขึ้นหลังมาเกิดแล้วใช่ไหม... แต่ เมื่อมนุษย์คนหนึ่งตายลง หนึ่งสังขาร(รูป)นั้น จะปลดปล่อยดวงจิตให้ออกมาจากร่างได้ ๘๙ ดวงหรือ ๑๒๑ ดวง เหมือนกันทุกๆคน ตามหลักไตรปิฎก ส่วนหน่อพระโพธิสัตว์นั้น หากเหลือจิตดวงเดียวในกายจะแบ่งภาคจิตได้อีก คนธรรมดาทำไม่ได้
*** โพธิจิต ถูกแบ่งเป็นส่วน(ภาค)เกิด ได้หรือไม่ ***
ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ปะฐะพี, 3 มีนาคม 2010.
หน้า 1 ของ 2
-
สมมุติ...พระอวโลติเกศวรจุติ จะมีจิตดวงเดียวที่มาจุติ แต่เมื่อเติบโตขึ้น ก็จะมีจิตในกายสังขารทั้งสิ้น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงตามตำราไตรปิฎก แต่เมื่อกายสังขารของพระอวโลติเกศวรแตกสลายไป ก็จะปลดปล่อยดวงจิตออกมาทั้งสิ้น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงใช่ไหม อันนี้ไม่ต้องคำนวณมาก... จากจิตแต่ละดวงก็จุติต่อไปได้อีก... หนึ่งดวงก็จุติเป็นเทวดาได้หนึ่งองค์ เทวดาหนึ่งองค์มีจิตดวงเดียว แต่คนเราหนึ่งกายสังขารมีจิต ๘๙ ดวงหรือ ๑๒๑ ดวง อันนี้ขอให้ทราบด้วยอาการที่ต่างกันอย่างนี้
ไปเปิดตำราอภิธรรมของฝ่ายเถรวาทดูเอา....
กายสังขารของเราเหมือนภาชนะบรรจุดวงจิตได้มากมาย เช่นนี้ทุกคน ไม่ได้แบ่งแยกว่าจะต้องเป็นพระโพธิสัตว์ใช่หรือไม่ ใช่หน่อพระโพธิสัตว์หรือเปล่า นี่ว่ากันตรงๆ ตามตำราเปะๆ เลย ทุกคนเป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด เป็นธรรมชาติของจิต ระหว่างการเติบโตของมนุษย์ จากจิตดวงเดียวที่เรียกว่าจุติจิตนั้น ได้จุติลงมาเกิดเป็นมนุษย์ครบถ้วนแล้ว ก็มีจำนวนดวงจิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
อ้าว.... แล้วมาจากไหนตั้งมากมายละนั่น ง่ายๆ ครับ
ทางมหายานเขามีศัพท์เรียกว่า “แบ่งภาคจิต” คือ จากจิตหนึ่งดวงที่จุติมา พอจิตมีกำลัง+พลังจิตมากขึ้น เหมือนเชื้อเห็ด พอเอามาเพาะเข้าก็แยกหน่อ..แยกกอ...ออกมา ธรรมชาติของจิตก็ไม่ต่างจากธรรมชาติของเห็ด, ไผ่, ต้นไม้มีเหล่ากอ ฯลฯ ธรรมชาติเหมือนกัน เหมือนกันโดยธรรมชาติ ไม่ต่างกันตรงไหน ทุกคนเหมือนกันอย่างนี้หมด ยุติธรรม เท่าเทียม เพราะเป็นธรรมชาติ แต่จะเรียกพระโพธิสัตว์ว่า หนอพุทธางค์กูล
อันนี้ ขอให้เข้าใจตรงกันเสียทีนะครับว่า จิต และจำนวนดวงจิตในกายเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร จะได้ไม่เกิดการเถียงกันอีกกับคำว่า “แบ่งภาคและอวตาร”
ถึงตอนนี้ผู้เขียนไม่ได้จับวัวชนควาย ทั้งสองนิกายมาบดรวมกันหรอกนะครับ ถ้าศึกษาอภิธรรมมาดีก็จะพอคลำทางไปได้ด้วยดี
เช่นนั้น คิดต่อสิครับ สมมุติว่าพระอชิตะผู้ได้รับคำทำนายว่าเป็นพระศรีอาริยเมตตรัยละสังขารลง จะปลดปล่อยดวงจิตออกมากี่ดวง อย่างน้อย ๘๙ ดวง อย่างมาก ๑๒๑ ดวง ใช่ไหมครับ -
ไม่ยากใช่ไม่... อย่า งง นะครับ ตรงไปตรงมาตามตำรา พลิกบทบาทกันครับวันนี้
เอ้างั้น... ย้อนเวลากลับไปใหม่ สมมุติ ก่อนที่พระพุทธเจ้าสมณโคดมจะมาเกิด พระศรีอาริยเมตตรัยก็ได้รับคำทำนายแล้ว (ในไตรปิฏกก็บันทึกไว้ว่าท่านได้รับคำทำนายมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม แล้ว) งั้น ในยุคนั้น ถ้าท่านตายลงจะมีดวงจิตกี่ดวงปลดปล่อยออกมาจากกายสังขารของท่าน ตอบ ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงใช่ไหมครับ
คิดไม่ยากเลย คิดต่อนะ ถ้างั้นในยุคนั้น จิตดวงหนึ่งก็จุติเป็นคนได้หนึ่งคนใช่ไหม เช่นนั้น ก่อนยุคที่พระพุทธเจ้าสมณโคดมจะมาตรัสรู้ พระศรีอาริยเมตตรัยก็ได้รับคำทำนายแล้ว ตายแล้ว จิตออกจากร่างมาแล้วไม่น้อยกว่า ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงใช่ไหมครับ
เมื่อเป็นอย่างนี้ ดวงจิตมากมายนั้น มาเกิดเป็นคนมากกว่าหนึ่งคน เพราะจิตเพียงดวงเดียวก็เป็นคนได้หนึ่งคนแล้วนี่ครับ นี่ตั้ง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงนั่น อาจไปจุติเป็นเทวดาบ้าง คนบ้าง ก็ว่าไป สรุปตรงนี้ ไม่จำเป็นว่าพระศรีอาริยเมตตรัยจะต้องมีคนเดียวในสมัยพุทธกาล เพราะดวงจิตของท่านมากกว่า ๑ ดวง อาจมาเกิดเป็นคนมากกว่าหนึ่งคน นั่นคือ พระมหากัจจายนะไงละครับ ที่พระสาวกสายมหายานนับถือกันว่าคือตัวตนที่แท้จริงของพระศรีอาริยเมตตรัย
ในขณะที่เถรวาทนับถือว่าพระอชิตะต่างหากที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของพระศรีอาริยเมตตรัย แต่เป็นไปได้นี่ใช่ไหมครับว่าใช่ทั้งสองท่านเลย ทว่า แม้ดวงจิตจะมีมากขนาดนั้น เป็นคนได้มากขนาดนั้น แต่เวลาจุติลงไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี่สิ ใช้แค่ดวงจิตเดียวนะครับอย่าลืม แปลว่าอะไรหรือ แปลว่าแม้แต่จิตแต่ละดวงของพระศรีอาริยเมตตรัยเองก็ต้องแข่งกันละครับว่า...ดวงไหนจะได้เป็นจุติจิตที่จะลงไปตรัสรู้ แปลอีกหน่อยคือ พระมหากัจจายนะ และพระอชิตะก็ต้องแข่งกันในฐานะที่เป็นจิตหนึ่งในกายสังขารเก่าของพระศรีอาริยเมตตรัยทั้งคู่ไงละครับ OK?...
พอพูดถึง พระศรีอาริยเมตตรัยกับพระมหาสังกัจจายนะ ต่างมีตำนานที่มาที่ไปต่างกัน ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์ทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน ข้อนี้ก็ควรจะฟังหูไว้หู -
วันหนึ่งผมได้ ขอให้ท่านผู้ฝึกจิตท่านหนึ่งถอดกายทิพย์ไปถามพระสาวกของพระพุทธองค์ว่าตกลง ใครกันแน่ที่เป็นพระศรีอาริยเมตตรัยระหว่างพระอชิตะและพระมหากัจจายนะ
ผลปรากฏว่า...พระสาวกองค์หนึ่งกล่าวว่าพระอชิตะ
อีกองค์หนึ่งกล่าวว่า...พระมหากัจจายนะ
ผู้ถอดกายทิพย์ท่าจะเกรงใจพระพุทธองค์ที่ทรงประทับเป็นประธานอยู่เลยแอบกลับ มาบอกก่อน จะถามพระพุทธเจ้าก็ไม่กล้า (ท่านเหล่านี้นิพพานหมดแล้วครับ แต่ที่เห็นและสื่อสารได้ใช้สัญญาขันธ์ของเราปรุงเอาครับ ภาวะจิตของเราไม่อาจเห็นสภาวธรรมระดับนิพพาน) สรุปไม่ได้ว่าเป็นท่านใด แปลว่า ต้องบำเพ็ญแข่งกันไปเองละครับท่าน ยังไม่รู้ผลแพ้ชนะ ต้องดูกันต่อไป อันนี้เล่าให้ฟังเล่นๆ ไม่น่าเชื่อเท่าไร ถือว่าไม่ได้พูดก็แล้วกัน
-
คนเราทุกคน นั้นมีจำนวนดวงจิตเปลี่ยนแปลงไปได้เพราะเหตุปัจจัยต่างๆ เช่น บางท่านประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ ทำให้สภาพจิตใจเปลี่ยนไป เอ๋อๆ เด๋อๆ เหมือนคนไม่เต็มบาตร เพราะดวงจิตไม่ครบครับ ขณะประสบอุบัติเหตุ ดวงจิตบางดวงได้จุติออกจากร่างไปและหาทางกลับร่างไม่ได้
คนไทยโบราณบรรพบุรุษของเรา เขาเรียกกันว่า “ขวัญหาย” ต้องมาทำพิธีรับขวัญ, สู่ขวัญอย่างที่นิยมมากๆ ในภาคเหนือและภาคอีสานนั่นไงละครับ ขึ้นบายศรีสู่ขวัญก็ดี ผูกข้อมือสู่ขวัญก็ดี มีหมอร้องเพลงเรียกขวัญ ทำขวัญก็ดี จะทำกันในพิธีสำคัญๆ ครับ เพื่อเรียกดวงจิตทั้งหมดกลับเข้าร่าง เพื่อจะได้บุญทุกดวงจิตไงครับ เช่น ก่อนบวชก็ต้องเรียกขวัญ ดึงดวงจิตทุกดวงกลับเข้าร่างก่อน บวชแล้วจะได้บุญครบทุกดวงจิต อันนี้บรรพบุรุษเราทำกันมา คิดว่าท่านคงไม่ดูถูกว่าเป็นความงมงายนะครับ
ออ...ลืมบอกว่า จุติ แปลว่า เคลื่อน
-
จำนวนดวงจิตนั้น ถ้าน้อย แต่มีปัญญาแจ้ง ก็ไม่มีปัญหา เป็นพระอรหันต์ได้เต็มตัว ถ้ามีหลายดวงจิตก็ต้องบริสุทธิ์ทุกดวงจิตจึงนับว่าอรหันต์สมบูรณ์ แต่ถ้าบริสุทธิ์บางดวงจิต บางดวงยังเหลือไว้เวียนว่ายตายเกิดใหม่ อันนั้นเป็นสูตรปฏิบัติธรรมของมหายานครับ เรียกว่า “อรหันตโพธิสัตว์” ถ้าจะให้ได้อรหันต์ตามสูตรเถรวาทต้องบริสุทธิ์ทุกดวงจิตครับ
มีเรื่องเล่าจากหลวงพ่อโตทิ้งไว้ว่าพระอรหันต์ชินปัญจระ จุติไปเป็นท้าวมหาพรหมชินปัญจระ อันนี้แปลกไหมครับ พระอรหันต์ทำไมไม่นิพพาน ทำไมยังจุติเป็นพรหม
อ่า... ท่านผู้มีปัญญาและมีบุญได้อ่านบทความของข้าพเจ้ามาถึงจุดนี้น่าจะตาแจ้งได้ แล้วใช่ไหมครับว่าหลวงพ่อโตไม่ได้เพี้ยน ที่กล่าวว่าพระอรหันต์ชินปัญจระไปจุติเป็นท้าวมหาพรหมได้ เพราะอะไร ก็ง่ายๆ
พระอรหันต์ชินปัญจระมีจิตอย่างน้อยในกายสังขารนั้น คือ ๘๙ ดวง หรืออย่างมาก ๑๒๑ ดวง หนึ่งในจำนวนดวงจิตทั้งหมดนั้นได้จุติเป็นท้าวมหาพรหมนั่นเอง ของกล้วยๆ ส่วนดวงจิตบางดวงก็นิพพานไปเช่นนั้นเองไม่แปลกเลย
นั่นแปลว่า อะไร คิดต่อสิ ก็แปลว่าพระอรหันตโพธิสัตว์นั้นมีมาแต่ยาวนานมาก แต่ครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่นะสิครับ ปนๆ กันอยู่มานานแล้ว ทั้งส่วนที่เป็นอรหันตสาวก และส่วนที่เป็นอรหันตโพธิสัตว์ แปลว่าตอนที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ แม้ไม่ได้แบ่งแยกนิกาย เป็นเถรวาทและมหายาน แต่ในทางปฏิบัติก็เกิดความแตกต่างกันมีสองแบบมาตั้งแต่นั้นแล้วนั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ พอจะหายคลุมเครือจากข้อมูลเก่าๆ บ้างหรือยังครับ ถ้าไม่งง ขอต่อยอดความคิดต่อไปนะครับว่าด้วยเรื่องของจิตนะ
V
V
V -
จำนวนดวงจิต ในกายสังขารของมนุษย์มีมากไม่ใช่ดวงเดียวแบบเทวดาที่ไม่มีกายสังขาร และสามารถเพิ่มหรือลดลงได้ดังที่กล่าวแล้วในกรณีรถพลิกคว่ำจนต้องมี “การทำขวัญ” ดังกล่าวข้างต้น ที่นี้มาดูกันต่อว่าเมื่อมีดวงจิตมากหรือน้อยนั้น ดีหรือไม่ดีอย่างไร
ถ้ามีดวงจิตเดียว ดวงจิตนั้นไม่ได้บรรลุธรรม จะเป็นเอ๋อ ไม่เต็มบาตร มีกิเลสน้อย (จิตมีจำนวนมาก กิเลสก็เพิ่มมาก พอดวงจิตน้อย กิเลสเลยดูเหมือนน้อย) เช่น ในคนที่เป็นโรคเอ๋อจริงๆ ก็ตกในสภาพเช่นนั้น บางคนที่แรกๆ เป็นเอ๋อ แต่พอต่อสู้ชีวิต มีพละกำลังจิต กำลังใจ ทำให้ดวงจิตที่น้อยนั้น กลับเข้ามาสู่ตัว ดวงจิตที่เคยจุติออกไปอยู่ภพภูมิอื่นนั้นก็เข้ามาช่วยการทำงานของร่างกาย และควบคุมกายสังขารได้ดีขึ้น ทีนี้ ไม่ต้องไปหาหมอที่ไหนละ เห็นวิธีแก้โรคเอ๋อแล้วใช่ไหมครับ โรคนี้ไม่ใช่ของแปลกเป็นได้ทุกคนครับ
คนที่มีดวงจิตในกายน้อย เสี่ยงที่จะละสังขารได้เร็ว พูดง่ายๆ “ชะตากำลังขาดครับ” ในคนที่มีจิตดวงเดียวหรือเหลือดวงจิตในกายน้อยมาก มักถูกทักให้ไปรับขันธ์บ้าง รับขวัญบ้าง อันนี้ ชาวบ้านที่ปฏิบัติตามบรรพบุรุษของไทยมาคงไม่โง่งมงายเกินไปใช่ไหมครับ
คนบางคนชีวิตย่ำแย่จริงๆ เมื่อดวงจิตจุติออกจากร่างไปมาก เหลือดวงจิตในกายน้อย ทั้งเรื่องการดำเนินชีวิตและความคิดจิตใจ บางคนถูกทักว่า “บ้า” บ้าง, “ประสาท” บ้าง, “เพี้ยน” บ้าง, “เอ๋อ” บ้าง, และเด็ดสุด “ติงต๊อง” ทีนี้เข้าใจหรือยังครับว่าทำไมบางคนถูกทักว่าติงต๊อง นี่เป็นเรื่องธรรมดาครับ ธรรมชาติเป็นกันได้ทุกคนไม่แปลกไม่ได้บ้านะครับ
คนที่มีดวง จิตในกายสังขารมาก ก็น่าจะสันนิฐานได้ว่าอายุยืนนะครับ เพราะตรงข้ามกับคนที่ชะตาขาดนี่นา ทว่า มันทำให้มีกิเลสมากขึ้นด้วยไหมเอ่ย ก็น่าจะใช่นะครับ แต่ถ้าชำระซักฟอกดวงจิตทุกวัน ทุกดวงให้มันรู้กันไปสิ ทำไมไม่ใช้สูตรแบบพระสังฆราชองค์ที่หกแห่งนิกายเซน เว่ยหลาง (ใช่ไหมครับ ถ้าจำชื่อผิดขอโทษครับ) ที่ท่านกล่าวว่ากระจกใสแล้วไม่ต้องเช็ด แปลว่าดวงจิตดวงหนึ่งบริสุทธิ์ก็พอแล้ว นั่นสูตรของมหายานแท้ๆ เลย แต่ถ้าสูตรของเถรวาทละก็ ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ ครับ ตรวจแล้วตรวจอีก จนแน่ใจว่าไม่มีเหลือจิตดวงไหนที่มีกิเลสแปดเปื้อนอีก ทว่า ก็ไม่เสมอไป
ในแนวของข้าพเจ้านี้เอาแบบเถรวาทมาก่อน คือ ชำระให้หมดทุกดวงจิต จากนั้น ก็ดึงดวงจิตเก่าๆ ที่เคยอยู่ในกายสังขารเดียวกับเรามาก่อนมาโปรดต่อไงครับ หรือดวงจิตที่กระจัดกระจายออกจากกายสังขารของเราในอดีตชาติ ยังไม่หลุดพ้น เอามานั่งเช็ดถูครับ
-
การแบ่งภาคจิตทำให้เกิดชีวิตใหม่ ไปเรื่อยๆ ไม่ได้นิพพาน
ดังที่เคยกล่าวในบทความอื่นไว้ว่า จิตคนเรามีถึง ๘๙ ดวง แต่ละดวงสามารถจุติไปเกิดเป็นคนได้หนึ่งคน แม้กระทั่งยามที่เรายังมีชีวิตอยู่นี้ หากจิตจุติออกจากร่างไปบางดวง เหลือไว้บางดวง เรายังไม่ทันตายเลย แต่จิตที่จุติออกไปก็กลายเป็นสิ่งมีชีวิตได้หนึ่งชีวิตแล้ว ดังนั้น การเกิดของสรรพสัตว์จึงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สามภพนี้แออัด ไม่รู้จะอยู่กันอย่างไรดี หากไม่มีนิพพานแล้ว การเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่สิ้นสุดนี้ รังแต่จะนำหายนะมาให้แก่ทุกดวงจิตในสามภพนี้ ดังนั้น นิพพานจึงเป็นทางออกของตัวเอง และผู้อื่นด้วย แม้คนผู้นั้นจะนิพพานไปคนเดียวไม่ได้ช่วยใครเลยก็ถือว่าช่วยสามภพด้วยการ นิพพาน หยุดเกิด หยุดรบกวนสามภพนี้ด้วยเหมือนกัน ดังจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป -
การแบ่งภาคจิตเป็นอย่างไร
จิตจะแบ่งภาคได้ ต้องมีกำลังมากพอ หากแบ่งออกแล้วได้เหมือนเดิมทั้งคู่นั้น ต้องมีบารมีมาก เช่น จิตเดิมเป็นโพธิสัตว์ หากมีความเป็นโพธิสัตว์มากมายล้นหลามสองเท่า ก็อาจแบ่งได้เป็นโพธิสัตว์สององค์ แบบนี้เกิดได้เหมือนกัน แต่น้อยมากๆ เฉพาะท่านที่มีบารมีมากจริงๆ
ส่วนใหญ่ ถ้าแบ่งภาคจิตแล้ว จิตเดิมจะมีบารมีเท่าเดิม แต่จิตดวงใหม่จะได้บารมีลดลง เช่น แบ่งแล้วได้พรหม, ได้อสูร เป็นต้น ก่อนที่จะแบ่งออกได้อะไรนั้น จะต้องมีเชื้อเกิดมารอก่อน คือ ขันธ์ห้า เช่นไปถือเอาหรือรับเอาขันธ์เข้ามา ขันธ์ห้านี้คือ “วิญญาณขันธ์” หรือ “กายทิพย์” ที่ครอบกายสังขารเรารอเวลาไว้ เมื่อจิตเราเกิดพอใจ หรือ พึงใจ ก็เกิดการร่วมประสานกับวิญญาณขันธ์นั้น จิตกับวิญญาณประสานกันเรียกว่า “ปฏิสนธิ” ก็จะเกิดเป็น “จิตวิญญาณ” ได้หนึ่งดวงสมบูรณ์ สมมุติเราไปรับขันธ์พรหมมา กายทิพย์พรหมก็ครอบกายสังขารเราอยู่ เราไปพอใจกับพรหมเข้า อยากได้ อยากมี อยากเป็น จิตของเราจะแบ่งออกมาปฏิสนธิเข้ากับกายทิพย์หรือวิญญาณขันธ์นั้นกลายเป็นจิต วิญญาณพรหมโดยสมบูรณ์ เกิดใหม่อีกหนึ่งชีวิต ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีก ไม่ได้นิพพาน
หากท่านทั้งหลาย อยากกระจ่างแจ้งชัดในสิ่งเหล่านี้ ไปเจริญปัจจัยการ12 จะแจ้งชัด
-
การแบ่งภาคจิตดีหรือไม่
ไม่ดีนัก เพราะยิ่งทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตมากขึ้น ถ้าในยุคแรกเริ่มสร้างโลก ดวงจิตมีน้อยการแบ่งภาคจิตก็ดีอยู่ เพราะต้องการดวงจิตมาเกิดมากพอดู แต่ถ้ายุคนี้ คนจะล้นโลกอยู่แล้ว ควรหยุดกระบวนการแบ่งภาคจิต ยกเว้นว่าเมื่อแบ่งภาคจิตแล้ว จิตหลักบริสุทธิ์มาก ได้โปรดจิตที่แบ่งออกมาของตนเอง คือ ก่อนโปรดสัตว์อื่น ให้โปรดตนเองให้ดีเสียก่อนนั่นเอง
อันนี้ พระพุทธเจ้าสอนไว้ ให้สอนตัวเองก่อนสอนคนอื่น เพราะมีมากเหมือนกันที่พระโพธิสัตว์ใจร้อนรีบสอนคนแต่ยังโปรดตนเองไม่ได้ เต็มที่ การแบ่งภาคจิตจึงไม่ดีนัก
-
ถ้าต้องการจิตหลายดวงควรทำอย่างไร
ไม่ควรแบ่งภาคจิตออกจากจิตหลักของตนเอง บางท่านแบ่งภาคจิตมาก จนจิตหลักที่เหลืออยู่บริสุทธิ์มาก จนไม่อาจอยู่ได้อีกต่อไป และนิพพานไป เมื่อนิพพานไปแล้ว จิตดวงที่เหลืออยู่ไม่ทันได้โปรดก่อน ปล่อยทิ้งให้จิตดวงที่เหลืออยู่ตกต่ำ เพราะแบ่งออกมาแล้วแย่กว่าเก่า อย่างนี้เท่ากับที่ได้ปฏิบัติมาสูญไปเลย ต้องเริ่มปฏิบัติกันใหม่ ได้แต่บารมี...แต่มรรคผลเสียไปอย่างนั้นเอง เหมือนคนปลูกมะม่วง ตัดยอดออกเสีย ต้องรอไปปีหน้า ดูแลกันใหม่ กว่าจะมีผลให้กิน
ฉะนั้น ถ้าต้องการจิตหลายดวงให้ใช้การ “เรียกขวัญ” ดีกว่า คือ การเรียกดวงจิตเก่าๆ (โพธิสัตว์บางองค์เรียกว่า การรวมภาค) ที่เคยเวียนว่ายตายเกิดในกายสังขารเดียวกันกับเรามาสู่กายสังขารของเรา โปรดดวงจิตของเราเองที่เคยแบ่งภาคไปก่อน แต่ยังไม่พ้นทุกข์ ไม่พ้นอบายภูมิทั้งหลาย เก็บกวาดเอามาโปรดเปิดกายสังขารให้เขาได้ใช้ปฏิบัติให้พ้นทุกข์ อย่างนี้ จะทำให้จำนวนดวงจิตมวลรวมของทั้งสามภพลดลงไปเรื่อยๆ นิพพานมากขึ้น ก็จะช่วยสามภพนี้ให้เข้าสู่สมดุลได้มากขึ้น ไม่เช่นนั้น ดวงจิตจะมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าจะเวียนว่ายตายเกิดกันอย่างไรไหว เพราะไม่ยอมนิพพานกันเสียบ้างนั่นเอง
ทิ้งท้ายอีกหน่อย
พระโพธิสัตว์ไม่ควรแบ่งภาคจิตมาก
เพราะไม่ทำให้หลุดพ้นนิพพาน แล้ว
ภาค แบ่งนั้น ยังมักตกภพอสูรก่อน
ก่อกรรมต่อผู้คนมากมายกว่าจะพ้นได้
ควร เลือกเอาจิตในกายเก่าๆ มาโปรดดีกว่า
ยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆ เช่น เหลือจิตดวงเดียว
ในกาย แต่กำลังจะนิพพาน อย่างนี้จะแบ่งภาค
จิตออก มาดวงหนึ่งนิพพานไป ดวงหนึ่งครองกาย
สังขารต่ออายุทำกิจโปรดสัตว์ต่อไป ได้....
เครดิตจาก physigmund_foid
-
ต่อเติมเรื่อง ดวงจิต ๘๙ อีกเล็กน้อย
จิต ๘๙ ดวงดำเนินไปอย่างไร
จิตทั้ง ๘๙ ดวงไม่ได้อยู่ในกายสังขารเราพร้อมกันเสมอไป ในคนที่ปัญญาอ่อน เป็นออทิสติกก็ดี มักมีจิตในกายสังขารน้อย เกินกว่าที่จะมีความเป็นคนได้เต็มสมบูรณ์ คือ มองดูออกได้ว่าไม่เต็มบาตร ในคนบ้า จะมีจิตวิญญาณบางดวงคอยทำให้บ้าอยู่ ไม่ได้มีจิตแค่ดวงเดียว เหมือนคุยกับใครคนหนึ่งอยู่ตลอดก็มี จิตดวงนี้จะคอยอาฆาตรังควานคนบ้านั้นอยู่ตลอด ทำให้เขาถูกตัดขาดจากโลกแห่ง ความเป็นจริง จิตวิญญาณดวงนั้นๆ จะคอยบดบังไม่ให้คนบ้านั้นได้สื่อสารหรือทำตัวเหมือนคนปกติได้ แต่แท้แล้วคนบ้าก็มีจิตปกติ แต่เพราะเหตุที่มีจิตวิญญาณทำอย่างนี้ เขาจึงเหมือนคนบ้าอย่างที่เราเห็นนั่นเอง
คนบ้าก็มีความคิด มีความรู้สึก มีอารมณ์ ได้เหมือนคนปกติ แต่ถูกบางอย่างกั้นไว้ (ผี) ครอบงำไว้ตลอดเวลาทำให้เขาตกอยู่ในสภาพเป็นคนบ้า จิตที่บ้านั้นไม่มีเลย ไม่มีมนุษย์คนไหนมีจิตที่บ้าเลย ดังนั้น คนบ้าทุกคน แท้แล้วไม่ได้มีจิตบ้า แต่เพราะจิตวิญญาณบางดวงรังควานอยู่ตลอดเวลาทำให้เป็นเช่นนั้นนั่นเอง ในคนที่ “ขวัญ หาย” เช่น รถคว่ำ ทำให้เป็นคนเหม่อลอยนั้น จิตของเขาบางส่วนหลุดออกไป ทำให้เหลือดวงจิตบางส่วนในกายก็ดี หรือไม่เหลือจิตก็ดี มีแต่ปราณ(ลมหายใจ)รักษาชีวิต หล่อเลี้ยงชีวิตอยู่ก็ดี (คนที่นอนไม่ตาย แต่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย จะไม่มีจิต มีแต่ปราณรักษาชีวิตไว้) แบบนี้ ต้องดึงจิตวิญญาณกลับเข้าร่างจึงจะหายจากการเสียขวัญ หรืออาการขวัญหาย คนทางเหนือเรียกว่า “การสู่ขวัญ”
-
ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าจิตไม่ได้อยู่แบบเที่ยงแท้แน่นอนในกายสังขารตลอดเวลา บางคนไม่มีจิตก็มี ที่เรียกว่า “คนขวัญหาย” ก็ดี มีจิตดวงเดียวที่เรียกว่า “คนชะตาขาด” ก็ดี หรือมีดวงจิตบางดวงรังควาญจิตหลักอยู่ตลอดที่เรียกว่า “คนบ้า” ก็ดี เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าจิตไม่เที่ยง จิตไม่จีรัง มีความเปลี่ยนแปลงไปตลอด จำนวนก็ไม่คงที่ ไม่ใช่คนทุกคนจะมีดวงจิต ๘๙ ดวงในกายสังขารอยู่ตลอดก็หาไม่ (เช่น คนบ้า และคนเอ๋อ มีจิตน้อยมาก ความคิดก็ไม่ซับซ้อน)
ในบางคนมีจิตในร่างกายเยอะมาก ทำให้สับสนในชีวิต เช่น ในวัยรุ่น ก็มีความคิดซับซ้อนขึ้น หลากหลายขึ้น หลายจิตหลายใจมากขึ้น เลือกอะไรได้ยาก เลือกไม่ถูกมากขึ้น นี่เพราะดวงจิตมีมากหลายดวง แต่ละดวงชอบไม่ชอบแตกต่างกัน อนึ่ง จิตนี้จะอยู่อย่างโดดๆ โดยบริสุทธิ์ไม่ได้ จิตจะไม่อยู่นิ่ง จะวิ่งไปมา เรียกว่าจุติ หรือเคลื่อนไปมา จะอยู่นิ่งได้ ต้องประสานกับวิญญาณขันธ์ กลายเป็น “ปฏิสนธิจิต” เกิด “จิตวิญญาณ” ขึ้นร่วมกัน จิตวิญญาณนั้นมีสภาพเหมือนเทพเทวดาก็มี ผีก็มี คนก็มี สัตว์ก็มี เปรตก็มี อสูรก็มี ตามแต่การปรุงแต่งของวิญญาณขันธ์ เมื่อเพ่งด้วยตาทิพย์ก็เห็นเป็นกายทิพย์ซ้อนกันในกายสังขารของคนเป็นชั้นๆ คนเราจึงมี “ตัวตน” หลายชั้นมองเปลือกนอกเหมือนคนแบบหนึ่ง มองเนื้อในเหมือนคนอีกแบบหนึ่ง แต่มองถึงแก่นแท้แล้วอาจกลายเป็นอีกคนหนึ่งก็ได้ นี่ด้วยเพราะมีจิตวิญญาณหลายดวงซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ในกายจากเปลือกนอกไปยังชั้นเนื้อในและแก่นแท้ในท้ายที่สุด เราจะเข้าใจคนได้จริง ต้องไม่ยึดชั้นใดชั้นหนึ่ง
แต่ต้องเข้าใจว่า “คนคือระคนปนเป ผสมผสาน ทั้งดีและชั่วทุกส่วน” ดังนั้น จะยึดว่าคนนั้นมีแต่ดีหรือเลวไม่ได้ ธรรมชาติมักสร้างสรรค์ให้คนมีดวงจิตที่ตรงกันข้ามกันอย่างน้อยสองดวงในกาย ถ้ามีจิตเหลือดวงเดียวก็ชะตาขาดเตรียมตัวตายได้ในเจ็ดวัน (คือ เจ้ากรรมนายเวรมีสิทธิ์ชอบธรรมในการเด็ดชีพคู่กรรมของตนภายในเจ็ดวันตามกฎ ของนรกภูมิ ทำให้คนที่มีจิตดวงเดียวชะตาขาดต้องตายในเจ็ดวัน)
ดังนั้น คนปกติที่ยังชะตาไม่ขาด และยังอยู่ร่วมโลกกับเราแล้ว ล้วนมีทั้งส่วนดีและไม่ดีทั้งสิ้น อย่างน้อย ก็สองดวงจิตที่ตรงกันข้ามกัน คอยคานอำนาจกันอยู่ในกายสังขารนั้นๆ เรียกว่า “คน นั้น ชั่วเจ็ดที ก็ต้องมีดีเจ็ดหน”
-
จิตทั้ง ๘๙ ดวง ดำเนินไปโดยไม่เที่ยง คือ แรกเกิดมีจุติจิตเพียงดวงเดียว ลงมาประสานในกายสังขาร กลายเป็น “จิตสังขาร” รอไว้ เพื่อรอให้จิตดวงอื่นๆ ตามมาสู่กายสังขารนั้นในภายหลัง จิตที่ตามมาในภายหลังจะเกิดโดยไม่อาศัยท้องพ่อท้องแม่ เป็นการเกิดแบบโอปปาติกะคือเกิดด้วยการจุติในกายสังขารนั้นๆ เลย และมีหน้าที่เป็นเทพประจำตัวคอยดูแลปกป้องกายสังขารนั้นๆ จากเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ในเด็กบางคน เริ่มจากจิตดวงเดียว ไม่มีเทพประจำกายสังขารปกป้องจะมีเจ้ากรรมนายเวรรบกวนมาก มักป่วยง่ายและอัตราการตายจะสูง นี่เพราะเจ้ากรรมนายเวรเขามาก (และอาจเป็นผู้มีบุญบารมีมากด้วย)
เมื่อเด็กทารกเติบโตขึ้น จิตดวงอื่นๆ จะจรเข้ามาจุติในกายสังขารนั้นเพิ่มขึ้น ในวัยรุ่นจะมีจิตมากมาย ทำให้สับสนในชีวิตมาก แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จิตจะเริ่มลดลง และคงที่ในแบบใดแบบหนึ่ง มักเหลือดวงจิตในกายเพียงสองดวงหลัก คือ จิตหลักหรือจิตสังขาร และจิตรองหรือเทพประจำตัวคอยดูแลกันจนกว่าจะใกล้วาระตาย จิตที่เป็นเทพประจำตัวจะจุติออกไปก่อน เปิดช่องให้เจ้ากรรมนายเวรเล่นงานจิตหลักจนตายในที่สุด ไปตามกฎแห่งกรรม นับจำนวนโดยรวมๆ แล้ว ทั้งชีวิตของมนุษย์หนึ่งคนโดยเฉลี่ย มีจิต ๘๙ ดวง
แต่ถ้าฝึกจิตก็จะมีจิตมากขึ้นหรือลดลงได้ ไม่เที่ยงไม่แน่นอน อนึ่ง จิตดวงหนึ่งๆ มักจะมีกิเลสหลักหนึ่งตัวแล้วมีกิเลสตัวอื่นๆ มาปรุงแต่งเสริมในภายหลังเช่น จิตที่เป็นพญานาค จะมีกามราคะเป็นกิเลสหลัก แต่ผลจากการมีกามราคะอาจนำไปสู่กิเลสตัวอื่นๆ ต่อ เช่น ความโลภ ด้วยต้องการเงินมาใช้ในการแสวงหากามเป็นต้น จึงนำไปสู่ความโลภได้อีก แต่จะไม่มาก เมื่อมากเกินพอดีจิตจะคงสภาพเดิมไม่ได้ จะเสื่อมสภาพลงเรียกว่าสลาย เสื่อมลง กลายเป็นอย่างอื่น จิตวิญญาณจะสลายคือตายแล้วเกิดใหม่ในกายสังขารเดิมนั้นเองเช่น กลายเป็นเปรตไปก็มี กลายเป็นสัตว์นรกไปก็มี เช่นในคนที่มีจิตเป็นพญานาคที่แรกๆ มีกามราคะเป็นกิเลสหลัก แต่พอละโมบในเงิน เพื่อเอาเงินมาสนองกาม ทำให้ตระหนี่มากขึ้น ผลจากตระหนี่ทำให้สูญสภาพความเป็นพญานาค (พญานาคชอบทำบุญ ไม่ถึงขั้นตระหนี่) คือ จิตวิญญาณที่เป็นพญานาคตายลงเกิดใหม่เป็นเปรตก็มี นี่คือการเสื่อมจากคุณธรรมของตน หรือจิตวิญญาณตายแล้วเกิดใหม่ในกายสังขารเดิมไปในทางที่ดีขึ้นก็มี เช่น จากพญานาค กลายเป็น “ภิกษุ” (เทวดาชั้นยามา) เพราะปรารถนาตรงต่อธรรมอย่างแน่วแน่ นี่ก็เป็นไปได้ การ “ตายก่อนตาย” นี้เกิดขึ้นได้เสมอ ท่านลองสังเกตดู บางคน พบเจอเหตุการณ์หนักๆ เข้ามาในชีวิต กลายเป็นคนใหม่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่น่าเชื่อก็มี จนท่านรู้สึกได้เลยว่าเขาไม่เหมือนคนเดิม เหมือนเป็นคนใหม่ไปเลย เช่นนี้ ก็มีได้ เกิดขึ้นได้ นี่เพราะจิตวิญญาณตายแล้วเกิดใหม่ในสังขารนั้นนั่นเอง
เครดิตจาก physigmund_foid -
ตีความพระอภิธรรมผิดตั้งแต่ต้น....
จิตถึงแม่จะมีหลายดวงที่ว่านั้นคือมี ๘๐ กว่าดวง....แต่จิตนั้นมีสภาพที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา....จิตดวงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจิตดวงหนึ่งดับไปสืบทอดกันเป็นสันตติ.....
ที่แบบแปดสิบกว่าดวงนั้น....คือแบ่งตามลักษณะของจิตที่มีเจตสิกเข้าประกอบ....จิตมีสภาพรู้อารมณ์.....คือไปรู้ไอ่ตัวเจตสิกที่มาประกอบกับจิตนั้น....
ไม่ใช่คนเราตายแล้วจิตแบ่งเป็น ๘๐ กว่าดวงอะไรนั่นไม่มี....ดวงเดียวนั่นหละ...แต่ผลเกิดจากจิตเก่าที่ดับไป.....จิตเก่าก็จะเป็นข้อมูลของจิตใหม่ต่อไป....
การแบ่งภาคมาเกิดไม่มีในศาสนาพุทธ เป็นศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนามีจิตดวงเดียว(และมันก็เกิดดับไปของมัน)....เท่านั้น....เกิดตาย...ใช้กรรม จิตดวงเดียวหมด....
อย่าเอามาผสมกัน....แต่งละครได้น่าเชื่อถือมากๆ...
พระโพธิสัตว์อะไร....มันก็คนนี่หละ....แต่ความปรารถนาเขาช่วยสัตว์....ไม่ได้มีสิทธิพิเศษอะไรเหนือคน..อาจจะมีสิทธิพิเศษที่ตกนรกได้บ่อยกว่าคนปกติ..เพราะชั่วเอามันทุกอย่างดีก็เอามันทุกอย่าง....จริงๆขี้ก็เหม็นๆนี่หละ..ยังตกนรกได้...ขึ้นสวรรค์ได้....ได้หมด....ใครจะไปรู้แมวที่บ้านอาจเป็นโพธิสัตว์ก็ได้....
กลับไปเรียนพระอภิธรรมใหม่ได้เลย....ไปเอาที่ใหนมา....มั่วมากๆ....ตอนนี้เขาสมัครเรียนฟรีอยู่ อภิธรรมมัถสังคหะ ทางไปรษณีย์หนะของ มจร ดีมาก....ถ้าอยากรู้จริงๆว่าเป็นอย่างไรตรวจสอบได้ในพระไตรปิฏก..... -
เห็นด้วยกับคุณPhanudet ครับ
จิตมีดวงเดียวหรือหลายดวง
ตามสภาวลักษณะ จิตมีดวงเดียว ดังพระพุทธภาษิตว่า
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา๑
ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไป ดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำ (คือกาย) เป็นที่อยู่อาศัย ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกของมารได้
เอกจรํ= ดวงเดียวเที่ยวไป
+++++++++++
ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อย
ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล
เป็นธรรมประกอบกันเสมอด้วย"จิตดวงเดียว"
ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปดหมื่นสี่พันกัป
แม้เทวดาเหล่านั้นย่อม "ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง"ดำรงอยู่เลย
ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายหรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลกนี้ดับแล้ว
ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว
-
ไม่มีการแบ่งจิตเลย " มีจิตอยู่ดวงเดียว ของคนๆหนึ่ง "
แต่สามารถอธิฐานจิตลงมาเกิดรึเร็วกว่าปกติได้ ครับ ( พระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมี ) -
http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%88-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%82%E0%B8%8D.86481/ -
ตอนนี้มีบางคนกำลังจะหาข้อโต้แย้งกับเจ้าของกระทู้อยู่ เพราะว่าเข้าจะดำรงอยู่ในบอร์ดพุทธภูมินี้ประจำ อาศัยตำหรับตำราที่ศึกษามาไว้ขวนขวายมาตอบ ไม่เคยคิดจะวางความรู้เดิมหรือเปิดรับอะไรใหม่ๆ แล้วลองพิสูจน์เอาว่าจริง จิตดวงเดียวในตำราบอกว่าดวงเดียวหรือกี่ดวง ต่อให้เจ้าของกระทู้ไปเอาพระปฏิบัติทางจิตมาตอบเก่งๆเข้าก็ไม่เชื่อหรอกครับ
แต่ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่เอาความรู้อะไรใหม่ๆมาแนะแนว แนะนำและวิเคราะห์กัน
สำหรับผม จิต 1 ดวง กายมนุษย์ปัจจุบันนี่ล่ะ ขับรถ พร้อมกับ คุยโทรศัพท์ และสามารถ ฟังเพลงไปได้ด้วย แต่ทุกอย่างนี้รวมกันอยู่ที่จิตเดียวใช่ไหมครับ แต่โพธิจิตที่แก้วกล้า
ก็ไม่แน่ตอนที่เป็นกายทิพย์อาจะแบ่ง ออกแล้วเอาจิตไปเป็นกายเนื้อซะก็ไม่สามารถที่จะกลับมาได้จนกว่ากายเนื้อจะตาย เคยไหมที่คิดอะไรพร้อมกันเคยไหมที่จะทำอะไรในเวลาเดียวกันโดยใช้จิตดวงเดียวนี้ล่ะแต่มันไม่สามารถที่จะแยกออกได้เพราะกายเนื้อของเรามันบังคับเคยได้ยินไหม มีหลวงพ่อองค์หนึ่งบิฑบาตรตอนเช้า มีลูกศิษย์อยู่หลายจังหวัดทั่วประเทศ ลูกศิษย์ จังหวัด ที่1ก็เห็น จังหวัดที่ 2 ก็ เห็น จังหวัดที่3 ก็เห็น ผมฟังมาก็งงๆนะครับ ก็ลองเอาไปช่วยกันคิดแล้วกัน สำหรับผมไม่รู้ว่าจะจริงหรือไม่จริงเพราะว่าเมื่อทำถึงที่สุดแล้วก็หมดกิเลสไปให้ปัญญามันค้นเอาเอง ที่พูดมานี้ไม่ได้ว่าไครแต่ก็อยากให้ลองวิเคราะห์กันดูไม่ใช่เขาเปิดกระทู้มาก็โดนอัดก่อนเลย แล้วแบบนี้ไครค้นพบอะไรใหม่ๆไม่ตรงกับความคิดของบางคนก็ไม่ได้เกิดแน่ๆ ออกตัวก่อนนะครับผมปัญญาเท่าหางอึ่งจริงๆ
คิดอย่างไรก็พูดไปตามนั้นคนในบอร์ดพุทธภูมินี้เก่งๆเยอะครับเยอะจนคนที่เข้ามาอ่านไม่กล้าตอบ กลัวตอบไปอาจจะโดนอัดกลับมา มองว่าบอร์ดเอาไว้สนทนาธรรมหรือเอาไว้อวดความรู้ในตำรากันแน่ ถ้าคำพูดใดพาดพิงไปถึงไครกราบขอขมาไว้ ณ ที่นี้นะครับ -
พอเวลาดำเนินจิตจริงๆ ความคิดการกระทำคำพูดเป็น จิตเที่ยงอยู่เสมอ เลยไม่เฉลียวพิจารณา จึงกล่าวปฏิเสธไป
จิตไม่เที่ยงหมายความว่า เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนถ่าย เคลื่อนที่ ไม่อยู่ในสภาพเดิม ไม่อยู่ในกฏรูปแบบตายตัวคือเที่ยง เหมือนทอง ถูกหล่อหลอมเป็นน้ำ น้ำติดไฟ ไฟกลายเป็นลม เมื่อเวลาผ่านไป ดินหาย น้ำหาย ไฟดับ ลมดับ หายไปเป็นอากาศธาตุ ดินน้ำไฟลมเเปลงตัวเองไปอยู่ในรูปของธาตุอื่นๆ พอนานเข้าก็กลับคืนสภาพเดิมได้อีก หรือ ไปเป็นอย่างอื่นได้อีก
จิตก็มีภาวะเหมือนกัน
หน้า 1 ของ 2