ครั้งที่ ๑๔๔
บรรยายวันจันทร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๖
เรื่อง
มหาสติปัฏฐาน
(ข้อว่า ป่าช้า ๙ ข้อสุดท้าย)
วันนี้ จะได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อสุดท้าย สืบต่อไป
ถ. ป่าช้า ๙ ข้อสุดท้าย ได้แก่อะไร?
ต. ได้แก่ การพิจารณาซากศพ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกผุ ละเอียดแล้ว ผู้ปฏิบัติก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้แลว่า ถึงร่ายกายนี้ ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้เลย
ถ. ตามที่บรรยายมานี้ มีอะไรเป็นหลักอ้าง?
ต. มีมหาสติปัฏฐานสูตร ซึ่งปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ เป็นหลักอ้างว่า
"ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เสยฺยถาปิ ปสฺเสยฺย สรีรํ สีวถิกาย ฉฑฺฑิตํ อฏฺฐิกานิ ปีตีนิ จุณฺณกชาตานิ" เป็นต้น
ใจความว่า ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ป่าช้าที่ ๙ ยังมีอยู่แล คือท่านผู้เห็นภัยในวัฏกสงสารย่อมพิจารณาเห็นซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเป็นกระดูกผุละเอียด เธอก็น้อมเข้าสู่กายนี้ว่า ถึงกายนี้ก็จะต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้เป็นอันขาดถ. ในป่าช้าข้อนี้ จะมีวิธีปฏิบัติเป็นประการใดบ้าง?
ต. มีวิธีปฏิบัติเป็น ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ก. สมถะ แปลว่า อุบายสำหรับทำใจให้สงบ มีวิธีปฏิบัติถึง ๔๐ อย่าง กระดูกที่ผุที่ละเอียดนี้ ก็เป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานได้ ผู้ประสงค์จะเจริญกรรมฐานข้อนี้ ต้องไปป่าช้าที่มีกระดูกหาได้ง่าย หรือจะหากระดูกอย่างนี้มาไว้ที่บ้านก็ได้ เวลาจะเจริญต้องอาบน้ำชำระกายให้สบายดีเสียก่อนแล้ว ไหว้พระ สวดมนต์ แผ่เมตตาพอสมควรแก่เวลาแล้ว นั่งขัดสมาธิ เพ่งดูกกระดูกนั้น ภาวนาว่า อฏฺฐิกํ ปฏิกูลํ ประมาณ ๒๐-๓๐ นาที ต่อจากนั้นให้เอาสติกำหนดที่ท้อง ภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปประมาณ ๓๐ นาทีหรือ ๑ ชั่วโมง ให้ปฏิบัติอย่างนี้ทุกๆ วัน ถ้ามีเวลามาก วันหนึ่งๆ จะปฏิบัติสักกี่ครั้งก็ได้ ถ้ามีเวลาน้อย ปฏิบัติเพียงวันละ ๑ ครั้งก็ยังดีอยู่ วิธีนี้เรียกว่าเอาสมถะมาเป็นบาทต่อวิปัสสนาถ. การภาวนาอย่างนี้จะถูกต้องตามป่าช้าข้อที่ ๙ หรือไม่ เพราะเหตุไร?
ข. วิปัสสนา แปลว่า เห็ฯแจ้ง เป็นชื่อของปัญญา มีวิธีปฏิบัติอย่างนี้คือ
๑. เดินจงกรม ภาวนาว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ประมาณ ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง
๒. นั่งลง ขัดสมาธิ แล้วหลับตา ภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ ประมาณ ๓๐ นาทีหรือ ๑ ชั่วโมง
๓. ถ้าเจ็บ ปวด เมื่อย คัน เป็นเหน็บ เกิดขึ้นมาในขณะที่เรานั่งหลับตาอยู่นั้น ให้ภาวนาว่า เจ็บหนอ ปวดหนอ เมื่อยหนอ คันหนอ เป็นเหน็บหนอ จนกว่าจะหายเจ็บ หรือหายปวด เมื่อหายแล้ว ให้กลับไปภาวนา พองหนอ ยุบหนอ ต่อไปอีก
๔. เวลาใจคิด ดีใจ เสียใจ ใจโกรธ ให้ภาวนา ว่า คิดหนอๆ ดีใจหนอๆ เสียใจหนอๆ โกรธหนอๆ เป็นต้น
๕. เวลานอน ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" จนหลับไปด้วยกัน
ต. ไม่ใช่ถูกเฉพาะข้อที่ ๙ อย่างเดียวเท่านั้น ถูกป่าช้าหมดทั้ง ๙ ข้อนั้นแหละ เพราะป่าช้า ๙ จะมิได้ก็ต้องอาศัยสกลกาย คือรูปร่างของแต่ละบุคคลนี้เอง
ถ. การภาวนาอย่างนี้ จะถือว่า เป็นการทำถูกศีลธรรมได้หรือไม่ เพราะเหตุไร?
ต. ถือว่าเป็นการทำถูกศีลธรรมเต็ม ๑๐๐% เพราะในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ หน้า ๗๘ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
กมฺมํ วิชฺชา จ ธมฺโม จ สีสํ ชีวิตมุตฺตมํคนทั้งหลายจะบริสุทธิ์ได้ เพราะเหตุ ๕ อย่าง คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล อดุมชีวิต ไม่ใช่ว่าจะบริสุทธิได้เพราะโคตรหรือเพราะทรัพย์
เอเตน มจฺจา สุชฺฌนฺติ น โคตฺเตน ธเนน วา
คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ มรรคเจตนา คือความตั้งใจเจริญมรรค ๘ มรรค เจตนาอย่างนี้ ย่อมนำมาแต่ความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย โดยส่วนเดียวเพราะไม่มีการสั่งสมกิเลส
คำว่า วิชชา ในที่นี้ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
คำว่า ธรรม ในที่นี้ ได้แก่สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ สัมมาวายามะ เพียรชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
คำว่า ศีล ในที่นี้ ได้แก่ สัมมาวาจา วาจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
คำว่า ชีวิตอันสูงสุด ในที่นี้ ได้แก่สัมมาอาชีีวะ เป็นอยู่ชอบ ท่านสรุปใจความไว้เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ว่า
เอวเมตฺถ อฏฺฐงฺคิโก อริยมคฺโค วุตฺโตติ เวทิตพฺโพในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระพุทธองค์ตรัสหมายเอาอริยมรรคมี องค์ ๘
อริยมรรคทั้ง ๘ นั้น เมื่อย่อลงมาก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงเป็น ๒ คือ ศีล ธรรม เพราะสมาธิกับปัญญาเป็นธรรม ผู้ใดเจริญวิปัสสนาผู้นั้นชื่อว่า ทำถูก ศีล ธรรม โดยแท้
ถ. ศีลธรรม เป็นพุทธศาสนาหรือไม่?
ต. ศีลธรรม เป็นพุทธศาสนาแท้ เพราะพุทธศาสนา นั้นมีความงามเป็น ๓ ประการคือ๑. อาทิกลฺยาณํ งามในเบื้องต้นด้วยศีลพระทุกๆ รูปต้องรักษาศีล ๒๒๗ ถ้าใครบวชเข้ามาไม่รักษาศีล ๒๒๗ ผู้นั้นก็ไม่ใช่พระ เป็นคนนอกพุทธศาสนา เพราะไม่ปฏิับัติตามพุทธบัญญัติ ไม่ปฏิับัติตามสิกขาบทวินัยและเครื่องวัดให้รู้ว่าเป็นพระหรือไม่เป็น ก็อยู่ที่ศีลนี้เอง เพราะฉะนั้น ศีลจึงเป็นรากเง่าของพระศาสนา เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ ศีลปราบกิเลสอย่างหยาบ ส่วนธรรมนั้น หมายเอาทั้งปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม ได้แก่ สมาธิกับปัญญา ปราบกิเลสอย่างละเอียด คืออนุสัย ศีลธรรม หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ต้องบำเพ็ญไปพร้อมๆ กัน
๒. มชฺเฌกลฺยาณํ งามในท่ามกลางด้วยสมาธิ
๓. ปริโยสานกลฺยาณํ งามในที่สุดด้วยปัญญา
ถ. ศีลธรรม ได้อะไรเป็นอารมณ์?
ต. ได้บัญญัติกับปรมัตถ์เป็นอารมณ์
ถ. ทั้ง ๒ ข้อนี้แตกต่างกันอย่างไร?
ต. แตกต่างกันอย่างนี้ คือก. ศีลธรรม ตามปกติธรรมดาสามัญ ได้บัญญัติ คือสัตว์และสิ่งของเป็นอารมณ์ เช่นไม่ฆ่าสัตว์ ก็มีสัตว์เป็นอารมณ์ ไม่ลักทรัพย์ ก็มีสิ่งของเป็นอารมณ์ เป็นต้นถ. สัจจธรรม กับศีลธรรมต่างกันหรือเหมือนกัน?
ข. ศีลธรรม เกี่ยวกับมรรค ๘ ต้องได้ปรมัตถ์เป็นอารมณ์ คือ มีขันธ์อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ เป็นอารมณ์
ถึงแม้ศีลธรรมนั้น จะได้สมมติบัญญัติเป็นอารมณ์ก็จัดเป็นพุทธศาสนาอยู่
ต. ต่างกันโดยพยัญชนะ คือตัวหนังสือ แต่ความหมายเหมือนกัน ดังนี้ คือก. ศีลธรรม ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญาถ. คำว่า สัจจะนั้น หมายความได้กี่อย่าง อะไรบ้าง?
ข. สัจจธรรม ได้แก่ ธรรมที่จริง แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือจริงหลอกๆ ไม่ใช่จริงแท้ ได้แก่ คน สัตว์ รถ เรือ เป็นต้น
๒.. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือจริง จริงๆ ไม่ใช่จริงหลอกๆ ได้แก่จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ต. หมายความได้ ๓ อย่าง คือ อย่างต่ำ อย่างกลาง อย่างสูง๑. สัจจะอย่างต่ำ ได้แก่ สัจจะธรรมดา เช่นรักษาศีลข้อที่ ๔ ไม่พูดปดก็เป็นสัจจะ แม้สมาทานศีล ๕ แล้วไม่ประพฤติล่วง ก็เป็นสัจจะ
๒. สัจจะอย่างกลาง ได้แก่ สัจจะของผู้บำเพ็ญตบะ คือตั้งใจเจริญสมถกรรมฐาน จนเผาิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สงบระงับลงไปได้ก็เป็นสัจจะ
๓. สัจจะอย่างสูง ได้แก่อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังหลักพุทธภาษิตว่า
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา อญฺญโม ทโม
เอตทริยา เสวนฺติ เอตํ โลเก อนามตํ
คุณพระธรรม ๕ ประการนี้ คือสัจจะ ธรรม อหิงสา สัญญมะ ทมะ มีอยู่ในบุคคลใด พระอริยเจ้าทั้งหลายคบบุคคลนั้น บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ตายในโลก ดังนี้
คำว่า สัจจะ ในที่นี้ได้แก่ อริยสัจ ๔
คำว่า ธรรม ในที่นี้ได้แก่ โลกุตตรธรรม ๙
คำว่า อหิงสา ได้แก่ ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่น
คำว่า สัญญมะ แปลว่ ความสำรวม ได้แก่ ศีล ๕- ๘ - ๑๐ -๒๒๗
คำว่า ทมะ ได้แก่ การฝึกอินทรีย์ มีจักขุ เป็นต้น ด้วยบุพพภาคมรรค และอริยมรรค
เมื่อรวมความแล้วก็ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญาและโลกุตตรธรรมนั่นเอง
ถ. จะถือว่า ผู้ที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยสมบูรณ์แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้ได้บำเพ็ญทั้งศีลธรรม ทั้งสัจจธรรม ถูกหรือไม่?
ต. ถูก ชื่อว่าได้บำเพ็ญครบบริบูรณ์ดีทั้งศีลธรรม ทั้งสัจจธรรมโดยแท้
ถ. ข้อว่า มีปกติพิจารณาเห็นกายในกาย ในภายในอยู่เนืองๆ เป็นต้นนั้นหมายความว่าอย่างไร?
ต. หมายความว่า บางครั้งพิจารณาเห็นรูปนามของตน บางครั้งพิจารณาเห็นรูปนามของคนอื่น บางครั้งก็พิจารณาเห็นทั้งรูปนามของตนและของคนอื่น
ถ. ข้อว่า กายมีอยู่ เป็นต้นนั้น หมายความว่าอย่างไร?
ต. หมายความว่า สกลกายของบุคคลทั่วทั้งโลกมีอยู่เพียงรูปกับนามเท่านั้น และรูปกับนามนั้นเป็นของมีจริง
ถ. ข้อว่า อยู่อย่างไม่มีอะไรๆ อาศัยนั้น หมายความว่าอย่างไร?
ต. หมายความว่า ไม่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ อาศัยอยู่เลย เพราะผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนา ละกิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิได้แล้ว
ถ. ข้อว่า ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกนั้น หมายความว่าอย่างไร?
ต. หมายความว่า ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูปนาม เพราะละสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัว ตน เรา เขา ละวิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บุญ บาป สวรรค์ มรรค ผล นิพพาน ละสีลัพพตปรามาส คือการปฏิบัติผิดนอกไปจากมรรค ๘ เสียได้แล้ว
ถ. ปฏิบัติอย่างที่บรรยายมานี้ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ได้เต็มที่แล้วหรือยัง มีอะไรเป็นหลักอ้าง?
ต. ชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ได้เต็มที่แล้ว มีพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นหลักอ้างว่า
เอวมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปาสฺสี วิหรติ
ดูกร ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารมีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ โดยวิธีปฏิบัติดังที่ได้บรรยายมาแล้วนั้น
ถ. การพิจารณาป่าช้าข้อสุดท้าย คือข้อที่ ๙ จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างไร?
ต. จัดเป็นอริยสัจ ๔ ได้อย่างนี้คือ๑. นวมสีวฏฺฐิกปริคฺคาหิกา สติ ทุกฺขสจฺจํ สติที่กำหนดป่าช้าข้อที่ ๙ จัดเป็นทุกขสัจมหาสติปัฏฐาน ข้อที่ ๑ คือ กายานุปัสสนา แบ่งออกเป็น ๖ หมวด คือ
๒. ตสฺสาา สมุฏฺฐาปิกา ปุริมตณฺ์หา สมุทยสจฺจํ ตัณหาก่อนๆ ที่ยังสตินั้นได้เกิดขึ้นจัดเป็นสมุทยสัจ
๓. อุภินฺนํ อปฺปวตฺติ นิโรธสจฺจํ ทุกข์กับสมุทัยดับลงไป จัดเป็นนิโรธสัจ
๔. ทุกฺขปริชานโน สมุทยปชหโน นิโรธารมฺมโณ อริยมคฺโค มคฺคสจฺจํ อริยมรรคมีองค์ ๘ กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิพพานเป็นอารมณ์ จัดเป็นมรรคสัจ
ทั้ง ๖ หมวดนี้ได้บรรยายติดต่อกันมาโดยลำดับๆ จึงนับว่าจบลงในวันนี้ และวันนี้ก็ได้บรรยายมานานพอสมควรแล้ว จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้.
หมวดที่ ๑ ว่าด้วยอานาปานะ คือลมเข้า ลมออก ทำให้ท้องพอง ท้องยุบ
หมวดที่ ๒ ว่าด้วย อิริยาบถ มียืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น
หมวดที่ ๓ ว่าด้วย สัมปชัญญะ เช่น ก้าวไป ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้ เหยียด ก้ม เงยเป็นต้น
หมวดที่ ๔ ว่าด้วย ความเป็นปฏิกูล คือ อาการ ๓๒
หมดวที่ ๕ ว่าด้วย ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
หมวดที่ ๖ ว่าด้วย ป่าช้า ๙ มีซากศพที่ตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน เป้นต้น จนกระทั่งถึงซากศพที่เป็นกระดูกผุ ละเอียด เป็นที่สุด
(๓๖) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 5 กรกฎาคม 2010.