"เฮลท์ ยูโธเปีย" ต้นแบบที่ไต้หวัน
เมธาวี มัชฌันติกะ
<TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>
มหาวิทยาลัยพุทธฉือจี
</TD></TR></TBODY></TABLE>
สังคมในฝัน ที่ผู้คนในสังคมมีน้ำใจให้กัน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ดูจะเป็นสิ่งที่นับวันยิ่งไกลเกินหวัง ปรากฏ การณ์ที่เห็นประจำ ก็คือการไขว่คว้าหาโอกาสที่จะทำให้ตนเองและพวกพ้องได้รับประโยชน์ให้มากที่สุด โดยไม่สนว่าจะอยู่บนความเดือดร้อนของผู้อื่นหรือไม่
เมื่อเร็วๆ นี้ น.พ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้นำคณะกรรมการบริหาร สปสช.เดินทางไปยังไต้หวัน เพื่อ ศึกษาดูงานการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพของไต้หวัน ที่มีประสบการณ์มากว่า 13 ปี
ถือเป็น "เฮลท์ ยูโธเปีย" อันดับต้นๆ ของโลก
ดูได้จากคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เกิดจากการบริหารกองทุน ซึ่งไต้หวันแบ่งเขตบริการทางการแพทย์เป็น 17 เขต แต่ละเขตดูแลประชากรราว 4 แสน ถึง 1 ล้านคน มีโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนเป็นสมาชิก 508 แห่ง เป็นเอกชนและมูลนิธิ 85% คลินิกอีก 9,040 แห่ง คลินิกทันตกรรม 5,860 แห่ง มีเตียง 131,000 เตียง มีแพทย์ให้บริการ 50,000 คน
ขณะที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพของไทย มีโรงพยา บาลลูกข่ายเกือบ 1 พันแห่ง เป็นของรัฐ 95% และคลินิกเพียง 170 แห่ง ไม่มีคลินิกทันตกรรม มีเตียง 1 แสนเตียง มีแพทย์เพียง 26,000 คนเท่านั้น
แต่ต้องให้บริการประชาชนราว 47 ล้านคน มากกว่าไต้หวันถึง 2 เท่า
ที่สำคัญคือ โรงพยาบาลเอกชนของที่นี่ไม่ได้มุ่งเน้นการหากำไร เพราะมีมูลนิธิและประชาชนที่มีกำลังทรัพย์ให้การบริจาคอย่างสม่ำเสมอทำให้ดูแลประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โอกาสเดียวกันนี้ ยังได้สัมผัสกับ มูลนิธิพุทธฉือจี้ ซึ่งเปรียบเสมือนโลกอีกใบ ที่คล้ายๆ สังคมในฝันของใครหลายคน
ความเด่นของมูลนิธิพุทธฉือจี้ คือ การให้โดยไม่หวังอะไรตอบแทน ซึ่งคนในสังคมเอารัดเอาเปรียบคงจะเห็นเป็นเรื่องแปลก และตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบอย่างหนัก ว่า เป็นไปได้อย่างไร!!
<TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>
2.ปรัชญาฉือจี้
3.-4.กิจกรรมผ่อนคลาย
5.ของที่นำไปบริจาค
6.-7.อาสาสมัครในโรงงานรีไซเคิล
8.นางอู๋ฉี หนึ่งในอาสาสมัคร
</TD></TR></TBODY></TABLE>
ไต้หวัน มีประชากรนับถือศาสนาที่หลากหลาย แต่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งเน้นสอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น องค์กรศาสนา มูลนิธิในไต้หวันมีเป็นจำนวนมาก ฉือจี้นั้นอยู่ในอันดับต้นๆ มีสมาชิกทั่วโลก 5 ล้านกว่าคน มีเงินบริจาคแต่ละปีมหาศาล
ท่านเจิ้งเหยียน ผู้ก่อตั้งฉือจี้ เคยเป็นเพียงแค่ผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่สูญเสียบิดาจากความเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน จึงออกบวช ย้ายไปอยู่ในเขตทุรกันดารมีแต่คนยากจนในเมืองฮวาเหลียน โดยอาศัยอยู่ในอาศรมเล็กๆ ไม่บิณฑบาต แต่ทำงานเพื่อหาเลี้ยงตัวเองและศึกษาธรรมะ
วันหนึ่ง มีหญิงที่เดินทางไกลมาโรงพยาบาลถึง 7-8 ชั่วโมง เพราะแท้งลูก และเสียชีวิตในกองเลือด เพราะไม่มีเงินจ่ายมัดจำในการรักษา เป็นจุดเริ่มต้นให้ท่านเจิ้งเหยียนตั้งปณิธานว่า ต้องทำเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้
จากนั้นท่านเจิ้งเหยียนก็ลงมือทำงานโดยเริ่มจากการเย็บรองเท้าเพื่อหารายได้ ก่อนที่จะรวบรวมแม่บ้านทำงานเล็กๆ น้อยๆ ออมเงินจากการจ่ายตลาดวันละ 50 เซ็นต์ ในกระปุกไม้ไผ่เพื่อช่วยเหลือคนอื่น
"ทำไมจึงมีคนยากจน อาตมาเคยพยายามหาสาเหตุ พบว่าสาเหตุของความยากจนคือความเจ็บไข้ได้ป่วย หากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ก็ย่อมทำงานได้ สามารถที่จะดำรงชีวิตตามอัตภาพหากต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย บางครั้งถึงแม้จะเป็นครอบครัวฐานะปานกลางก็จะย่ำแย่ นี่แหละที่เราพูดกันว่าการให้การรักษาพยาบาลเป็นบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่" หนึ่งในคำสอนของอาจารย์เจิ้งเหยียน
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ กลายเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย 5 แห่งในไต้หวัน ธนาคารไขกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งยากมากที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ เพราะผู้บริจาคต้องเสียสละอย่างมาก ด้วยเหตุที่การเจาะไขกระดูกต้องเจาะเข้าไปที่สันหลัง แน่นอนว่าเจ็บ และไม่ค่อยมีใครอยากบริจาค
<TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
รวมไปถึงการบริจาคร่างกาย ซึ่งทำได้ยากในกลุ่มคนจีน ก็สามารถทำได้ เพราะมีแนวคิดในการตอบแทนกลับคืน ชีวิตสิ้นแล้วไม่ได้สิ้นไป ยอมให้หมอกรีดบนศพผิดร้อยครั้ง ดีกว่าลงมีดผิดกับคนไข้เพียงครั้งเดียว
นอกจากนี้ ยังมีงานด้านการศึกษา ด้านบรรเทาสาธารณภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกงานที่เกิดขึ้น เต็มไปด้วยผู้คนที่ตั้งใจเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครแบบไม่หวังอะไร กระทั่งค่ารถ ค่าข้าว ไม่ต้องพูดถึงค่าตอบแทน เพราะไม่มีใครได้ มีแต่จะให้เพียงอย่างเดียว
จุดเด่นของฉือจี้ ในเรื่องการแพทย์ ถือเป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพราะหลักการของโรงเรียนแพทย์ คือ สอนแพทย์ให้เป็นมนุษย์ ไม่ใช่แค่แพทย์ คณะแพทย์ของฉือจี้ ใช้พรหมวิหาร 4 ยึดเป็นคำขวัญของคณะ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สอนหลักมนุษยธรรมควบคู่ไปกับวิทยาการล้ำสมัย
ในการเยี่ยมชมโรงพยาบาลแห่งนี้ แค่แวบแรกที่เห็นโรงพยา บาลขนาดใหญ่ ซึ่งทำจากหินท่าทางมั่นคงแข็งแรง ก็อดเทียบกับโรงพยาบาลเอกชนหรูๆ ไม่ได้ บริเวณหน้าประตูทางเข้า ยังได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งแต่งตัวเหมือนๆ กัน ยืนตั้งแถวรับคนที่มายังโรงพยาบาล และมีการช่วยเหลือเรื่องต่างๆ ตั้งแต่ทางกาย ไปถึงทางใจ เพราะทุกคนดูท่าทางเป็นมิตร พร้อมให้กำลังใจ และความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาสาสมัครเหล่านี้มีทั้งผู้ที่ทำเต็มเวลาและเท่าที่มีเวลา โดยไม่มีค่าตอบแทน
รวมไปถึงกิจกรรมอีกหลายๆ อย่างของมูลนิธิก็ล้วนแล้วแต่มีอาสาสมัครเข้ามาทำงานอีกมากมาย ทั้งงานบรรเทาสาธารณภัย ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ส่วนไหนของโลกชาวฉือจี้ก็พร้อมจะไปที่นั้นทันที
รวมทั้งงานด้านอื่นๆ ที่มูลนิธิส่งเสริมอยู่ เช่น สถานีรีไซเคิล ที่เป็นวิธีการหารายได้อย่างหนึ่งเพื่อนำเงินไปทำประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อไป เงินจากขยะสามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสถานีโทรทัศน์ต้าอ๋าย ซึ่งแปลว่า อันเป็นที่รัก และขยะยังแปรเป็นของบริจาคได้อีก โดยนำขวดพลาสติกไปปั่นเป็นเม็ดพลาสติกก่อนแปรรูปเป็นเส้นใย ทำเป็นผ้าห่ม เสื้อ ให้ผู้ประสบภัยในที่ต่างๆ
จากการพูดคุยกับอาสาสมัคร ได้พบว่า ไต้หวันต้องประสบกับภัยพิบัติบ่อยครั้ง และต้องเผชิญกับความกดดันระหว่างประเทศจากจีน ทำให้คนในชาติต้องอดทน ขยัน จนปัจจุบันเศรษฐกิจของไต้หวันล้ำหน้าประเทศไทยไปมากมาย ทำให้ประชากรมีเวลาและโอกาส ที่จะออกมาทำงานเสียสละเพื่อคนอื่นจำนวนมาก
"เคยประสบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว เพื่อนพี่น้องต้องเสียชีวิตไปจำนวนไม่น้อย ความยากลำบากในการใช้ชีวิตในภาวะเช่นนั้น ทำให้ไม่สามารถลืมได้ และตั้งใจว่าหากมีโอกาสก็อยากช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง การให้เงินก็ไม่เหมือนกับอุทิศตัวให้ ยอมรับว่าการทำงานก็ต้องมีเหนื่อยกายบ้างแต่ไม่เคยเหนื่อยใจเลย" นางอู๋ ฉี เช หนึ่งในอาสาสมัครฉือจี้ ซึ่งอุทิศตัวมาทำงานช่วยเหลือแบบเต็มเวลาที่โรงพยาบาลพุทธจี้ บอกถึงที่มาในการอุทิศตัว
แบบอย่างที่ได้ในครั้งนี้แม้ว่า จะไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ทั้งหมด เพราะมีลักษณะความแตกต่างกันมาก น.พ.พีรพล อธิบายเพิ่มว่า คนที่จะมาเป็นอาสาสมัครในเมืองไทย ยังไม่ต่อเนื่อง ไม่มีการส่งเสริมให้เกิดขึ้นจริง
ที่มีอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เอดส์ มะเร็ง ส่วนในโรงพยาบาลต่างๆ ก็มีปัญหาเรื่องระบบการบริหาร อบรม และใส่ใจในเรื่องนี้
ที่สำคัญคืออาสาสมัคร เป็นสร้างการมีส่วนร่วมซึ่งสำหรับสังคมไทย จะต้องหาทางส่งเสริมให้มาก
---------
http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB3TXc9PQ==
◤"เฮลท์ ยูโธเปีย"。.ต้นแบบที่ไต้หวัน◥
ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 3 ธันวาคม 2008.
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ที่บ้านเราก็มีนะ วันก่อนดูทางรายการเจาะใจ น้าเค้าเปิดคลีนิค(น้องๆโรงพยาบาลสำหรับขนาดของอาคารแต่ประสิทธิ์ภาพและจรรยาบรรณสูงกว่ามากๆๆๆๆๆ)รักษาฟรีอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ใครมีรายระเอียดมากกว่านี้ช่วยเอามาโพสไว้หน่อยก็ดีครับ
-
กราบโมทนาบุญกับผู้เกี่ยวข้อง ทุกท่าน ทุกประการด้วยค่ะ
การเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมของทุกท่านที่เกี่ยวข้อง มาจากการตั้งกำลังใจที่ดีแล้วในเบื้องต้น ผลคือความดีงามที่ตามมา -
เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ
. -
อนุโมทนาในสิ่งดีๆทั้งหลายที่พวกเราชาวพุทธได้ทำให้แก่พระพุทธศาสนาของเราและเหล่าเพื่อนมนุษย์ผู้ทุกข์ยากทั้งหลาย สมกับมหาปณิธานของโพธิสัตว์จริงๆครับ
-
ชื่นชมในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพของไต้หวัน
การที่ไทยได้ไปดูงาน คงนำมาปรับใช้หรือพัฒนางานให้ดีขึ้นได้ -
แล้วบ้านเราล่ะพุทธบาทน้ำพุรัฐยังไม่ช่วยหนุนเลย
-
สาธุ... มูลนิธินี้ดีมากเลยค่ะ ได้ยินมานานแล้ว ท่านภิกษุณีท่านนี้เทศน์ได้อย่างน่าฟังมาก น้ำเสียงสงบ ราบเรียบ เยือกเย็น ฟังแล้วเกิดสมาธิดี