ถามเรื่องจิตตื่นก่อนกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Chabob, 17 มิถุนายน 2018.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Chabob

    Chabob Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +59
    ผมขอเล่าก่อนนะครับ คือ ช่วงหลังๆผมมีอาการจิตตื่นก่อนกายค่อนข้างบ่อย ไม่รู้ว่าเรียกแบบนี้กันรึป่าว อาการคือ ผมนอนหลับแล้วได้ยินเสียงกรนตัวเอง รับรู้หมดว่าลมหายใจผ่านไปทางไหนบ้างถึงเกิดเสียงกรน แต่ตอนกรนผมก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันจะอึดอัด ก็เหมือนหายใจปกติแต่แค่มีเสียง ถ้าวันไหนไม่กรน ก็รู้สึกว่าจิตมาดูลมหายใจแบบเราไม่ได้บังคับ มันหายใจเองอัติโนมัติ ประมานว่าเราไม่ได้เป็นคนหายใจแต่ร่างกายหายใจเอง พอมีอาการแบบนี้ ผมเลยพิจารณาลม พอไปดูมันก็เขิล มันก้หายไปกลายเป็นเราที่หายใจเองไม่ใช่ร่างกาย พอมีอาการอีก ผมเลยมาดูร่างกาย พอดูมันก็มารวมกันอีก ผมเลยช่างมัน ไม่ดูไม่สนใจ ก็หลับไปพร้อมกับเสียงกรน เหมือนคนเปิดเพลงแล้วเคลิ้มหลับไป หลังๆผมใช้สติรู้ตัว แต่ยอมรับไม่ได้ทำทั้งวัน ผมไม่ค่อยถนัดแบบนี้เท่าไร นิสัยผมเป็นคนซนมาก นั่งสมาธิผมทำได้40นาทีไม่ถึง1ชม. เมื่อก่อนผมนั่งได้นานกว่านี้เยอะมาก ไม่รู้เพราะอะไร ผมถนัดนอนมากกว่า ถ้านอนสมาธิผมจะรวมเร็วมาก ก่อนนอนผมดูลมหายใจแล้วหลับไป

    คำถาม
    1. ถ้ามีอาการได้ยินเสียงกรนตัวเองหรือรู้ว่าร่างกายหายใจเอง ต้องพิจารณาแบบไหนครับ

    2.นอกจากเดินปัญญาวิปัสสนา เมื่อจิตกับกายแยกออกกันแล้วสามารถ ใช้เป็นอะไรได้อีก ด้านฤทธิ์ก็ได้ครับ

    3.อาการนี้ วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร

    4.การฝึกสติไม่รู้ผมทำถูกไหม คือ เวลา ผมเล่นเกม ขับรถ ถูบ้าน ล้างชาม ผมจะมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ไม่คิดถึงอดีต อนาคต ถ้าคิดก็จะดึงกับมาสนใจในสิ่งที่ทำ เวลาที่ว่างๆไม่ได้ใช้สมองมากมายจะนับลมหายใจ แต่ผมไม่ได้ทำทั้งวันนะ ผมไม่ค่อยถนัด จำเป็นไหมครับว่า ต้องทำตั้งแต่ตื่นยันนอน เพราะผมจะมีช่วงเวลานึงของทุกวันคือ ตอนอยู่กับแฟนกับเพื่อน ผมจะชอบแหย่ชอบแกล้ง เหมือนผมกลับไปเป็นเด็กอีกรอบ ผมเลยคิดว่า ปล่อยจิตของเราให้มันเพ้อเจ้อบ้าง ปล่อยให้มันเด็กๆบ้าง คิดแบบนี้ถูกรึป่าวครับ

    5.ที่ตอนนี้ผมนั่งสมาธิไม่ได้นานเหมือนเมื่อก่อนเพราะอะไรครับ ผมคิดว่า จะนอนจะนั่งก็ไม่ต่าง ผมเลือกนอนดีกว่าไม่ปวดหลัง

    สุดท้ายครับ การนอนสมาธิมันคือจริตความถนัดของแต่ล่ะคนรึป่าวครับ ทำไมถึงไม่นิยมกันครับ ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางนั่งกับเดินจงกลมมากกว่า

    เพิ่มๆ ก่อนนอนบางคืนถ้านอนไม่หลับ ผมจะใช้มรณานุสติ ถ้าง่วงๆก็นับเลขเอาไม่ถึง10ก็หลับแล้ว

    ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2018
  2. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    1.จุดนี้สำคัญ เป็นช่วงรอยต่อก่อนเข้าฌาน ให้ยก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ มรณานุสติ มาพิจารณาเลย ได้ประโยชน์มาก เพราะอยู่ที่ฐานเลย
    2.ถึงอยากไปด้านฤทธ ซึ่งใช้กำลังของสมาธิสูง ก็ยังพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนเดิม
    เพียงแต่ทำให้มากกว่าเดิมมาก เพื่อให้จิตคลายกิเลสออกไป แล้วฝึก พรหมวิหาร 4 กำลังก็จะสูงขึ้น แล้วฝึก กสิณ เพิ่ม
    3.-
    4.ลองดูเรื่อง กายคตาสติครับ มีคำตอบเรื่องนี้อยู่
    5.สะดวกแบบไหน ปฎิบัติแบบนั้นครับ ขอให้พิจารณา อริยสัจ 4 ไปด้วยล่ะกัน
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ก็ สังเกตได้หลายตัวอยู่ ...ใน สภาวะธรรม ...แต่ที่ขาดไป คือ " รู้ลงไตรลักษณ์ "

    รู้ลงไตรลักษณ์ ตะ ไว้ก่อน มาที่ จังหวะการภาวนา

    ตอนมารู้ว่า "กรน" ไม่ต้องไป ค้นคว้าอะไร อย่าให้มัน พยายามค้นคว้าอะไร
    ให้ รับรู้เข้ามาตรงๆ ถึง สภาวะ "รู้ว่ากำลังกรน" ตรงนี้ให้ชัดๆ ยังไม่ต้องรีบ
    ร้อนหาทางภาวนา

    นะ

    พอจิตตั้งมั่นดี แล้ว มันมีจิตกระซิบให้หาหนทางการภาวนา ให้ ย้อนเห็น
    สภาวะชักชวนให้ภาวนา แล้วอย่าไปเชื่อมัน อย่าให้มัน คว้าโน้น ยื่นนี่
    มาเป็น ข้อเสนอ เห็นหนทางการภาวนา ให้จับตัวกระซิบตัวนี้ เห็นเป็น
    "อุปกิเลส" เข้ามาตรงๆ แล้ว อยู่ที่รู้ว่ากรน ซื่อๆ ไปเรื่อยๆ

    ถ้า จิตไม่แส่ส่าย ไม่ค้นคว้าหาอะไรมา ปิดบังการภาวนา สังเกตดีๆ
    กายหายใจของมันมีอยู่ การรู้การกรนมีอยู่ นอกเหนือจากนั้น จะต้อง
    มี ปิติปรากฏตั้งแต่หัว จรดเท้า ไม่มีส่วนใด ไม่ปรากฏปิติ ( แต่อย่า
    หานะว่า ปิติอะไร ยังไง ...อย่าให้ เสียงกระซิบ หาหนทางการภาวนา
    มันยังหลอกหลอน )

    ทั้งนี้เพราะ การนอน ก็คือการนอน นอนอย่างมีสติ แค่นี้พอแล้ว จะนอน
    ได้แบบนี้จนกระทั่งถึงเวลาควรตื่น ก็ ตื่นทำงานปรกติ

    ส่วนการทำ กรรมฐาน การภาวนา ....ไม่ใช่เรื่อง การนอนเอาจิตมีสติ

    คุณจะต้อง ภาวนาได้ในทุกอริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ( ไม่ใช่ นอนอย่างมีสติ แล้วนะ
    นอนภาวนานี่ จะมี กิจอย่างอื่น )

    ตรงไหนหละ การภาวนา

    แปลกแต่จริง ตรงที่ปรารภเห็นว่า "ชอบแกล้ง" นั่นแหละ ตอนนั้น กำลังภาวนา

    ทั้งนี้เพราะ ชอบแกล้ง เป็น ลักษณะการปรากฏของ กิเลส

    ชอบแกล้ง จะเกิด "ปัญญามันทำงานล้ำหน้า" ทำให้เกิด ความสนใจรสชาติ "ปฏิฆะ"
    ซึ่งจะหาได้จาก ภายใน(ตนคิดมุข) ภายนอก(คนที่ติดกับดักไม่เท่าทันปัญญา)
    และ ภายในเป็นภายนอก(เขาสยบต่อเราไม่ทำเรากลับ หรือ ทำกลับพอขำๆ กลาย
    เป็นมุขไม่เหินห่าง--แต่โดยกรรม ชาติหน้าจะไม่ได้เจอกันอีก) ภายนอกเป็นภายใน
    (เขาเราเบียดเบียนกันด้วยความไม่รู้ ติดในภพ ชาติ)

    นะ

    ลองสังเกต ไม่ห้าม ....พอจะแกล้งปั๊ป ให้กำหนดรู้ ปัญญาที่ล้ำหน้า มน(อ่าน มะนะ เกิด)
    ปฏิฆสังโยชน์ปรากฏ(สัมผัปปลาปะ) .....

    พอสังเกต ปัญญาล้ำหน้า จิตจะตั้งมั่นได้หน่อยๆ ยังไม่ต้องรีบตั้งมั่น อย่ากระฉอก
    ให้การกระซิบหามรรคผล มันมาหลอก แม้นตอนตื่น .....จิตยังมี บริกรรม(เน้นเห็น
    ปัญญาลำหน้าอีกหน่อย เหมือน ดูกายนอนกรน ต่ออีกสัก ขณะสอง ขณะ)

    พอสังเกต ปัญญาล้ำหน้า จิตจะตั้งมั่น ....แล้วเห็นการ ตั้งมั่นหายไป เพราะเหตุ
    การอาลัยอาวรณ์อารมณ์ รักสนุก(แบบโลกๆ) มันชักชวนกลับ เกิด กุปธรรม การกำเริบ
    กลับไปยังโลก ละ งานการภาวนา ...หรือ เห็น อกุปธรรม การโน้มไป อกุปธรรม
    มีจิตตั้งมั่น เลิกแกล้ง อยู่กับ บุคคล อย่างคนที่หย่าขาดจากโลกแล้ว แค่ไหน
    อย่างไร ก็พิจารณาไป

    กุปธรรม กับ อกุปธรรม

    จลสัทธา กับ อจลสัธทา

    จิตตั้งมั่น กับ จิตไหลไป

    เอาเท่านี้ก่อน ถ้า ยังไม่ ท้อถอย ยังอยากเห็น สัจจธรรม ก็ค่อยว่า
    กันเรือง รู้ลงไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ใช่เที่ยวไปถามหาจากใคร
    ว่าต้องเห็นอย่างไร
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    1..ให้บริกรรม ภาวนาในกรรมฐานที่จะปฏิบัติ ครับ แต่ส่วนใหญ่ เวลาเจออาการแบบนี้จริงๆ จะฟุ้งซ่านมากกว่า และหาคำบริกรรมไม่เจอ ลืมบริกรรม หรือ บริกรรมไปได้แปบๆ ก็ฟุ้งซ่านไปเรื่องทางโลกๆ ซะหมด เพราะ กำลังจิตไม่พอ สติไม่พอที่จะอยู่ในคำบริกรรมได้

    2.ใช้ด้านฤทธิ์ อะไรไม่ได้ครับ เพราะไม่ได้สำเร็จกรรมฐานกสิณกองไหน ครับ แต่อาจจะใช้ฤทธิ์ทางใจได้ กำหนดนิมิต หรือ อะไรก็ตามที่เราสงสัยให้แสดงภาพขึ้นมาได้
    วิธีก็คือ 1.รำพึงในจิตว่าเราต้องการอะไร หรือ กำหนดในจิตว่าเราต้องการเห็นภาพอะไร 2.ถ้าจิตเรามีกำลัง เราก็จะสามารถรู้ เห็น ได้ครับ

    3.อาการนี้ เรียกว่า อาการ ร่างกายหลับ แต่ จิตตื่นอยู่ครับ บางคน ถ้าสติกำลังตีกว่าทั่วๆไป อาการแบบนี้จะเป็นเรื่องปรกติ ครับ ถ้าเคยดูหนังญี่ปุ่น พวก ซามูไร หรือ การ์ตูน ก็จะเหมือนพวกที่ เวลาหลับอยู่ แต่สามารถรู้สึกสิ่งรอบๆ ร่างกายที่หลับอยู่ได้ สามารถที่จะระวังภัยไม่ให้ใครเข้ามาทำร้ายได้ เรียกว่ารู้ตัวก่อน แม้จะหลับ

    4.ทำอะไรก็ทำได้หมดละครับ ถ้าตั้งใจ เป็นการฝึกในประจำวัน จะฝึกแบบไหน ไม่ให้ฟุ้งซ่านในประจำวันตลอดเวลา

    5.เพราะกำลังใจไม่เข้มแข็ง ครับ กำลังใจอ่อนแอ

    6.การทำสมาธิ ยืน เดิน นั่ง นอน ครับ จะกริยาไหนก็ทำได้หมดครับ ถ้ามีความสามารถ ไม่ใช่เรื่องแปลก ครับ

    เพีงแค่การนอน ทำสมาธิ ง่ายสุด และ พัง ก็คือ สมาธิตก ได้ง่ายสุด เหมือนกัน เพราะ พอมีการกระทบทางร่างกาย สมาธิก็หลุดออกมา ไม่เหมือนทำสมาธิเวลาเดิน ที่จิตเราจะนิ่ง เจออะไรกระทบก็ไม่หลุดจากสมาธิง่ายๆ ครับ
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ทั้งหมดตรงนี้ "ถูกต้อง ตามความเป็นจริง" อยู่ในตัวของมันเอง

    +++ ตรงนี้เรียกว่า "หลับอยู่ส่วนหลับ และ ตื่นอยู่ส่วนตื่น"

    +++ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มักจะ "เน้น" ให้ลูกศิษย์ของท่าน ผ่านตรงนี้ให้ได้
    +++ ตรงนี้จริง ๆ แล้ว คือ "อาการ รู้ ลมหายใจ" โดย "ลมหายใจ ถูกรู้"

    +++ ลมหายใจ สั้น/ยาว/หยาบ/ละเอียด ก็ "รู้" อยู่ทั้งหมด ตลอดกองลม

    +++ ตรงนี้เท่านั้นที่เป็น "อานาปานสติ" ที่เรียกว่า "รู้" ลมหายใจ

    +++ ตรงนี้เป็นอาการ ก่อนที่จะเกิดอาการ "แยกขันธ์ ออกเป็น ส่วน ๆ"

    +++ ลมอยู่ส่วนลม กายอยู่ส่วนกาย ความคิดอยู่ส่วนความคิด ความรู้สึกอยู่ส่วนความรู้สึก

    +++ หากละเอียดไปเรื่อย ๆ สัพสิ่งจะ "แยกตัวออกจากกันทั้งหมด"

    +++ โดยที่ "รู้อยู่" เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไรเลย มันเป็นไป "ของมันเอง"
    +++ คำว่า "พิจารณาลม" ของคุณ คือ เปลี่ยนจาก "รู้ มาเป็น ดู" ลม มันก็เลย "พลาดโอกาสสำคัญ" ไป

    +++ ณ ขณะที่ "มันหายใจ ไม่ใช่ เราหายใจ" ณ ขณะนั้น "ตัวกู/ของกู ไม่ได้หายใจ"

    +++ ณ ขณะนั้น ๆ "กูไม่ต้องใช้ ลมหายใจ กูก็อยู่ได้" และที่สำคัญ คือ "ลมหายใจ ไม่ใช่ ตัวกูของกู"

    +++ ตรงนี้เป็น "ปฐมบท" ของการ "แยกขันธ์ (หมวดหมู่)" เบื้องต้น ที่สำคัญที่สุดของ "อานาปานสติ"


    +++ พอไป "ดู" มันปั๊บ "ตัวกู" ก็เกิดขึ้นมาทันที แล้ว "กูก็เริ่มหายใจ" ใช่ป่าว...

    +++ อาการ "แยกขันธ์" ที่เป็นผลลัพธ์ของ "อานาปานสติ" ก็ ขาดลงทันทีที่ "ดู" ตรงนั้นแล...

    +++ ดังนั้น คำว่า "พิจารณา" ตามที่เข้าใจกันนั้น ส่งผลออกมา "ถูก/ผิด" อย่างไร ตรงนี้ "คุณรู้แล้วนะ"
    +++ นั่นแหละ คือ "มันก็ รู้ อยู่ดี" ไม่มีอะไรที่จะต้องไป "ดู หรือ เพ่ง" อะไรกับมันอีก

    +++ ตรงนี้ คงพอเข้าใจคำว่า "อยู่กับรู้ ของหลวงปู่ดูลย์" ในชั้น "เริ่มต้น" ได้แล้วนะ
    +++ ทำตาม "โอกาสที่อำนวยให้" เพียงแต่ "ทำให้ได้นิสัย" ก็ถือว่า ดีแล้ว ไม่ต้องไป "เล็งผลเลิศ" อะไรนะ
    +++ ไม่ต้องไปพิจารณาอะไร ได้ "บทเรียน" มาแล้วกับตนเอง ไม่ใช่เหรอ...
    +++ ณ ขณะที่ "ลมอยู่ส่วนลม เราอยู่ส่วนเรา เรากับลมแยกออกจากกัน" ตรงนี้เป็น "วิปัสสนาญาณทัศนะ" อยู่แล้ว

    +++ ขืนเอา "การเดินปัญญาวิปัสสนา" ตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป มันก็ "เละ" ทันที "บทเรียน" เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่เหรอ...

    +++ เมื่อฝึกถึงขั้น "ใช้ขันธ์" ได้ก็จะค่อย ๆ เข้าใจเรื่อง "ริด" ไปเองแหละ ไม่ต้องรีบ ;)
    +++ น้ำกับน้ำมัน แยกตัวออกจากกัน "วิทยาศาสตร์" หมายถึงอะไร มันก็แบบเดียวกันนั่นแหละ

    +++ อาการตรงนี้ ในภาษาบาลี น่าจะตรงกับ "วิปปะยุตตาธัมมา" นะ ลองค้น ๆ ดูเอาก็แล้วกัน
    +++ การ "ฝึกสติ" ก็คือ ณ ขณะที่ "แยกลมหายใจ ออกจาก ความเป็น ตน" นั่นแหละ นอกนั้น "ไม่เรียก" ว่าฝึกสติ

    +++ การ "จดจ่อ" กับงานที่ทำ ก็คือ "การดู การเพ่ง" เฉพาะเรื่อง ภาษาเรียกว่า "มีสมาธิ อยู่ในเรื่องที่ทำ"

    +++ ค่อย ๆ จำแนกอาการ ตามการใช้ภาษา ก็จะเป็น "ประโยชน์ต่อตนเอง" ในภายภาคหน้า
    +++ ไม่จำเป็น แต่สิ่งที่จำเป็นจริง ๆ คือ "ทำให้ได้นิสัย ในสภาวะธรรม" ไม่นาน จิต มันจะเลือก "ทางเดิน" ได้เอง
    +++ หาก "สติ" ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ "ร่าง" แล้ว มันก็จะ "ไม่จำกัด อิริยาบท" ไปเอง

    +++ แต่ ต่อไปมันก็จะ "เริ่มเรียนรู้ไปเอง" ว่า อิริยาบทใด "เหมาะ" กับสภาวะใด ไปเอง ตามความเหมาะสม "ส่วนบุคคล"
    +++ หากยังไม่ถึงขั้น "แยก" หลับอยู่ส่วนหลับ และ ตื่นอยู่ส่วนตื่น แล้ว

    +++ มันก็มักจะ "หลับ" ในทุก ๆ จริต นั่นแหละ ดังนั้นจึง "ไม่นิยม"

    +++ นักปฏิบัติ "ส่วนใหญ่" ยังไม่สามารถ "แยก หลับ/ตื่น ออกจากกันได้"

    +++ ดังนั้น พอ "นั่งง่วง" ก็จะเปลี่ยนมาเป็น "เดินจงกรม" เพื่อ "แก้ง่วง"

    +++ ตรงนี้เป็น "มาตรฐานแพร่หลาย" เพราะมันใช้ "ได้ผล" กับคนส่วนใหญ่
    +++ เพิ่มๆ ก่อนนอนบางคืนถ้านอนไม่หลับ ควรใช้ "อาการแกล้งหลับ" จากนั้น ฝึกแยก หลับ/ตื่น ต่อไปจะดีกว่า นะครับ
     
  6. Chabob

    Chabob Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +59
    แกล้งหลับมันทำยังไงครับ
     
  7. แนน จันทบุรี

    แนน จันทบุรี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +82
    .....ให้มีสติรู้ที่จิตของตนเอง ๑. กำหนดสติรู้เฉยอยู่ (เคยใช้การปฏิบัติตามแนวทางของพระอริยสงฆ์ก็งาม) ตื่นมาจำความได้ก็พิจารณาเป็นวิปัสนาว่ารู้เห็นอะไร อย่างไร .... .. ๒.....กำหนดสติรู้เฉยอยู่...ช่วงนี้ถ้าระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยธรรมชาติ จิตตะรวมเร็ว สว่าง เป็น อัปปนาสมาธิ ..นั่นแหละ ฤทธิ์ ... .....๓.อาการนี้ทางวิทยาศาสตร์คือ สติ.... .......๔.อันนี้ถ้าถึงขั้นที่จิตสามารถเข้าญาณได้ไว จะรู้อะไรแปลกๆ ใหม่ เป็นเรื่องยากสำหรับบางท่านที่กำหนดสติให้รู้เท่าทัน(ใช้วิธีนี้นำธรรมมาจากหลวงพ่อพุธ ฐานิโย .)..หากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รึอะไรก็แล้วแต่ ให้ กำหนด เป็น สิ่งที่รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ เช่น เดิน การเดินเป็นสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึกว่าเราเดิน อันนี้ง่าย........... ......๕.....อันนี้ไม่ขอตอบ....
     
  8. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ผมไม่แน่ใจว่าความรู้สึกที่ทราบเป็นความรู้สึกจริง...คือ..สติ..หรือความรู้สึกเทียม..คือ...ฝัน..ไหลไปตามความคิดที่ตั้งไว้...แต่ถ่าเป็นความรู้สึกจริงหรือสติจริงนับว่าเป็นสุดยอดแล้วเหมือนกัน...ทำบ่อยๆน่าจะแยกแยะอะไรต่อมิอะไรได้...ถ้าเป็นแบบเทียมเราจะไม่เห็นผลลัพธ์เลย...เปรียบเทียบกับเงาหรือภาพมายาได้คับ
     
  9. Chabob

    Chabob Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +59
    ไม่ได้ฝัน ที่รู้ว่าไม่ได้ฝันเพราะ นอนฟังเสียงกรน นอนดูร่างกายพองยุบ จนหลับหลับคือจิตหลับนะ จิตดับ เพราะเคยคิดว่าฝันเหมือนกัน พอคิดปุ๊บมันมารวมร่างกันทันที พอไม่คิดว่าฝัน ก็ดูไปเพลินๆ
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ๑.การได้ที่นอนอยู่แล้วได้ยินเสียงกรนตัวเอง
    มันฟ้องว่า เรามีกำลังสติทางธรรมเป็นเรื่องปกติ
    แต่หลักในการพิจารณาตรงนี้ ให้พิจารณา
    สิ่งที่เราได้ทำมาในระหว่างวันก่อนหน้านี้
    ว่าเราทำอะไรมาบ้าง พลาดอะไรบ้าง
    และให้ให้พิจารณาซ้ำอีกทีก่อนลืมตาตื่นนอน
    ในตอนเช้าครับ...ซึ่งจะง่ายกว่าการพิจารณาลม
    ส่วนการพิจารณาลมนั้นหยุดที่ปลายจมูกนั้น(ย้ำว่าหยุดที่ปลายจมูก)
    ถ้ายังใช้คำภาวนาจะยังเป็นความคิดอยู่ แต่ถ้ามารู้ได้ว่า
    ลมที่เข้าเริ่มเย็นและลมที่ออกเริ่มร้อน ก็จะถึงจะเกิดสภาวะ
    ที่ว่าลมที่เข้าเป็นออกซิเจน ที่ออกเป็นคาร์บอนไดซ์ออกไซด์
    ตรงนี้ถึงจะสามารถเข้าถึงความละเอียดไปได้มากกว่านี้
    ตรงนี้ถ้าทำได้ สามารถรักษาโรคตนเองได้...

    ๒.กำลังระดับนี้ ไม่เพียงพอที่จะสร้างให้จิตเกิดคุณวิเศษใดๆครับ
    ยิ่งถ้าไปยึดในสิ่งที่เห็น มีแต่จะทำให้หลงตัวเองเล่นไปวันๆครับ
    ยกเว้นว่า ถ้าพิจารณาตามข้อที่ ๑ ได้ประจำ และในระหว่างวัน
    มีสติอยู่กับ กิริยาทั้ง ๔ คือ นั่ง เดิน ยืน นอน ซึ่งจะต้องทำพร้อมกับอาปาฯ
    ที่จดจ่ออยู่กับการเกิดของอารมย์ ที่ อายตนะเราไปกระทบ ไม่ว่าจะ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น ผัสสะ ตรงนี้ ถึงจะเรียกว่า สติสัมปะชัญญะ คือ เห็นได้เดี่ยวนี้ก่อน

    ส่วนพิจารณา ข้อที่หนึ่งที่เป็นการพิจารณา ร่วมว่า ชอบไม่ชอบ ถูกใจไม่ถูกใจนั้น หลังจากเสร็จภาระกิจของเราแล้ว จะกลายเป็นสติสัมโภชน์ชงค์
    ซึ่งมันอาศัย อธิบาท ๔ เป็นตัวขับเคลื่อนหลังจากเราเสร็จกิจในแต่ละวันครับ

    ส่วนถ้าทำได้ ความสามารถที่จะเกิดมี จะขึ้นมาเองตามลำดับ
    ไม่ใช่กำลังระดับที่ว่านี้ เป็นเหตุให้เกิดความสามารถได้
    พอเข้าใจเนาะ...


    ๓. อยู่ในช่วงคลื่นสมอง ความถี่ประมาณ ๔ ถึง ๘ Hz ซึ่งเป็นช่วง
    ที่เรียกว่า Theta Brainwave รายละเอียดสามารถค้นเพิ่มเติมได้จากเนท
    พูดง่ายๆมันเป็นช่วงคลื่นที่มีการเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่สมองค่อนข้างห่างเป็นช่วงที่ใช้เรียกความจำในระยะยาวได้ดี จึงเหมาะในการพิจารณาเรื่องราวต่างๆที่ผ่านมาในระหว่างวันนั่นเอง ถ้าสมาธิระดับเลยปฐมฌานไป
    คลื่นสมองจะต่ำลงมา จาก ๑ Hz จนถึง ๐ Hz ในระดับฌาน ๔
    ระดับสมาธิยิ่งสูง คลื่นความถี่สมองยิ่งต่ำ เข้าใจเนาะ...

    ๔.ไปอ่านในข้อ ๒ ครับ

    ๕. สมาธิเน้นที่การเข้าถึงอารมย์ครับ ไม่ใช่เรื่องเวลา เช่นเมื่อก่อนเข้าปฐมฌานได้ภายใน๑ ชั่วโมง ปัจจุบัน ๑ นาที มันคือจบ แต่ถ้าจะไปต่อ
    ต้องมาสร้างกำลังสมาธิสะสมด้วยการเจริญสติให้ต่อเนื่องจริงๆ ไม่งั้นมันจะไปต่อไม่ได้....และมันจะคุ้นเคยกับคลื่นระดับนี้ ทำให้หลับง่าย
    มันอยู่ใน ช่วงคลื่น ประมาณ ๑ ถึง ๓ Hz ครับ มันคือคลื่นสมอง
    ในการหลับดีๆนี่เอง

    ปล.การนับเลข ไม่ถึง ๑๐ แล้วหลับ เป็นเรื่องธรรมดา ถือว่ามีการพัฒนา
    แต่ที่ขาดคือ การพิจาณาสิ่งที่่ผ่านมาในระหว่างวัน
    ถึงจะไปต่อได้.......
     
  11. Chabob

    Chabob Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +59
    ขอบคุณครับ จะลองทำดู เคยพิจารณาลม กาย มันก็มารวมร่างกันเลยทำได้แค่ดูเฉยๆ หรือผมทำไม่เป็นรึป่าว

    ผมนั่งสมาธิใช่เวลาสั้นลงเหมือนที่พี่บอกแหละครับ แต่ก่อนกว่าจะรวมได้เป็นชม. ตกภวัง นิมิตรแทรก อีก ตอนนี้ ตกภวังก็รู้ มันดับไปตอนพองหรือยุบก็รู้ นิมิตรไม่มีเลย ได้แต่กายหาย ไม่สุขไม่ทุกข์มันเฉย เหมือนคนหลับแต่มีสติ แล้วมันก็ตื่นมันตื่นเองเลย ผมก็ไม่รู้ว่ามันเกิดอะไร บางวัน15นาที บางวัน40นาที พอมันตื่นแล้วก็ไม่อยากนั่งต่อ จิตเราบอกพอล่ะ แต่ก็หยุดสงสัยไม่ได้ทำไมถึงพอ
     
  12. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    เป็นเรื่องธรรมดาของนักภาวนาครับ
    เรื่องจิตทำงานในขณะกายหลับ

    เพราะทวารใจยังทำงานอยู่
    ในขณะที่กายหลับหรือตกภวงค์

    ส่วนนั้งได้ไม่นานเหมือนแต่ก่อน
    แล้วลดเวลาลง
    ตรงนี้อัตราย โดนกิเลสเจ้าของหลอกเอา
    มันบอกว่าพอแล้วสุดท้ายเชื่อมัน
    ต่อไปมันจะเหลือแค่ห้านาทีแล้วหลับ

    ควรนั้งต่อไป เดินปัญาญาพิจารณาโดยใช้ความคิด
    จะนั้งได้นานขึ้นเพราะมีงานให้ทำเช่นพิจารณากาย
    ให้เห็นอนิจังทุกขังอนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2018
  13. แนน จันทบุรี

    แนน จันทบุรี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +82
    ........ลองแบบนี้นะครับ กำหนดรู้จิตของตนเอง ทั้งก่อนนอนและตื่นนอน (..เพราะมีบางรายบริกรรมภาวนาพุธโธถึงจุดนึงเนี่ยจิตเค้าจะหาทางของเค้าซึ่งต้องใช้สติ)...กำหนดยังไง กำหนดให้เป็นสิ่งรู้ของจิตสิ่งระลึกของสติ เช่น เมื้อบริกรรมภาวนา พุธโธๆๆ คำบริกรรมภาวนาเป็นสิ่งรู้ของจิตสิ่งระลึกของสติ ต่อเมื่อคำบริกรรมภาวนาหายไป จิตรู้สิ่งใดๆ เช่น เสียงกรน รึว่ากาย รึว่ากระแสจิตออกไปนอก รึเข้ามาในกาย เราก็เพียงรู้เฉยอยู่ ให้เป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ จนกระทั่ง ออกจากสมาธิ หรือตื่นนอน หรือตื่นจากฝัน ก็กำหนดสติ รู้ ความคิด การ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ให้เป็นเพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ จะอัศจรรย์ รึไม่ แปลก อย่างไร ก็กำหนด ให้เป็นเพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2018
  14. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ เคย "นั่งง่วง" มั้ย การนั่งแล้วให้เกิด "ความง่วง" แทรกเข้ามาหนะ

    +++ หรือ "นั่งหลับ" คือ นั่งแล้ว "ปล่อยให้ ความง่วง แทรกเข้ามา" หนะ

    +++ เคยทำ หรือ เคยเกิดขึ้นมาก่อนมั้ย คือ "รู้ว่าง่วง แต่ ง่วงอยู่ส่วนง่วง"

    +++ ส่วนหนึ่ง "หลับจริง" แต่อีกส่วนหนึ่งก็ "ตื่นจริง" อยู่เหมือนกัน "ทั้งคู่"

    +++ หากทำตรงนี้ได้จนเหมือน "เรื่องปกติ" แล้ว ก็ยังมีการ "แยกสภาวะ" อื่น ๆ ได้อีก

    +++ เช่น ขณะที่กำลัง "แยก" หลับ/ตื่น ตรงนี้ หากมีใครพูดมาที่เรา "ส่วนพูด" ก็พูดได้อีก

    +++ หลับ/ตื่น/กรน/พูด มันทำงานในส่วน "ของใครของมัน"

    +++ คุณ Chabob มีโอกาสที่จะ "ผ่านประสพการณ์ตรงนี้ได้"

    +++ มีโอกาสที่จะเป็น พยานธรรม ในเรื่อง "ขันธ์" มันแยกกันทำงาน

    +++ คงพอเข้าใจในคำว่า "แกล้งหลับ" ได้พอสมควรแล้วนะ


    +++ ก็ให้ "ทำ" ต่อไปตามเดิม "ไม่ต้องไปพิจารณาอะไร"

    +++ ขืนมัวไป "พิจารณาเมื่อไร มันจะกลายเป็น "ฟุ้งซ่าน (อุทธัจจกุกกุจจะ)" ได้ง่าย ๆ

    +++ และ อาการ "รู้ ธรรม เฉพาะหน้า" จะหายสาปสูญ ทันที

    +++ ตอนนี้กำลังผ่านด่าน "ถีนมิทธะ" อยู่ ให้ผ่านให้ได้ก่อน

    +++ เรื่องอื่น ๆ ค่อยว่ากันทีหลัง นะครับ
     
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ของคุณ Chabob อยู่ในขั้นตอนของ "รู้สึก ถูกรู้"

    +++ อาการ "หลับ/ง่วง/ซึม" ที่เรียกว่า ถีนมิทธะ กำลูงถูก "รู้สึก รู้" อยู่ในระยะนี้

    +++ ถีนมิทธะ เป็น "นามธรรม ที่ ไร้รูป" หากผ่านตรงนี้ได้ จะเป็นกำลังสำคัญที่จะผ่านเรื่อง "รูป/นาม" ได้ในภายหลัง
    +++ ตรงนี้ พิสูจน์ได้ง่าย ๆ ให้ลอง "ตั้งความคิด แบบที่เข้าใจไว้" แล้วลองใหัมัน "ฝัน" อย่างที่คุณ Chabob กล่าวไว้ดู

    +++ ถ้ามัน "ทำได้ หรือ เกิดขึ้นได้ จริง" ก็อาจใช้คำพูดว่า "ฝัน" ได้ แต่ถ้า ทำยังงัยก็ตาม มันก็ "เกิดขึ้นไม่ได้"

    +++ ตรงนี้จะใช้คำว่า "ฝัน/มโน/เพ้อเจ้อ/ ฯลฯ" เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ได้
    +++ ตรงนี้เป็น "เบื้องต้น" ของคำว่า "ดำรงค์สติมั่น" ยังไม่ใช่ "สุดยอด" แต่เป็น "เริ่มเข้าทาง" เฉย ๆ

    +++ ส่วน "รู้ ธรรม เฉพาะหน้า" นั่นคือ "หลับ ถูกแยกออกจาก ตื่น"

    +++ นี่คือ "ดำรงค์สติมั่น รู้ ธรรมเฉพาะหน้า" ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

    +++ คุณ kenny2 เริ่ม สังเกตุออกหรือไม่ล่ะ ว่า "เพียงแค่ ต้นทาง" เท่านั้น มันก็เริ่มที่จะเป็น "อจินไตย" ไปซะแล้ว
    +++ ตรงนี้ "เป็นความจริง"
    +++ ตรงนี้ก็ใช่ เพียงแต่ว่า "ทดลองทำเลียนแบบดู" มันไม่มีทางที่จะ ทำเลียนแบบได้ เท่านั้นเอง นะครับ
     
  16. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    นั่นหละเรื่องปกติ ที่รู้สึกว่าพอนั้นหละดี นิมิตไม่มียิ่งดี
    แสดงว่ามันจะเน้นทางวิปัสสนา
    เพราะนั่งไปมันก็ไม่มีประโยชน์ไง
    เพราะจิตมันไม่ได้ ต้องการที่จะยกระดับสมาธิต่อ
    เพราะถ้าต้องการ มันจะหาวิธีที่จะสร้างสมาธิสะสมเพื่อไปต่อเอง
    และถึงแม้ว่าไปต่อได้ มันก็จะได้ทางกำลังสมาธิ
    แต่ก็ต้องเอามาหนุนวิปัสสนาเหมือนเดิมอีกนั้นหละ
    พูดง่ายๆพัฒนาต่อไป เสียเวลาเฉยๆนั้นหละ..

    แต่ว่าตัวจิตตอนนี้ ดูจากกิริยาและอื่นๆ มันฟ้องและ
    มันเลยดึงมาทางด้านวิปัสสนาแทน...
    ซึ่งมันเป็นไปตามเนื้อหาของจิตเราเองนั่นหละ...
    ซึ่งมันพอบอกได้ว่า ดวงจิตที่มาแนวๆนี้
    ความสามารถต่างๆมันจะค่อยๆขึ้นมาเองได้เอง(ย้ำว่าค่อยๆขึ้นมา)
    ตามผลของการวิปัสสนา เก๊ทเนาะ..
    เพียงแต่เราต้องมาใช้หลักการทางด้านวิปัสสนาแทน
    อย่างที่แนะไปก่อนหน้านั้นหละ...

    สไตด์น้อง มันจะคล้ายๆ พระที่ใกล้ชิด พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง...
    ที่ได้ฟังเพียง ไม่กี่คำ ก็บรรลุ พอบรรลุ แล้ว
    ได้วิชาสาม และปฏิสัมภิทาญาน ๔....
    แต่ของเรา ความสามารถจะขึ้นมาตาม ระดับการวิปัสสนา
    ถ้ามันลด ละ คลาย กิเลสได้มาก
    ความสามารถก็ขึ้นมาตามที่ลดละได้ พูดให้พอเข้าใจง่ายๆ

    ไม่ใช่แนว ต้องมาเกร๊ง กล้ามตะรูด เพื่อสร้างกำลังจิต
    อฐิษฐานจิต หรือไปอรูปฌานอะไรหรอก.
    ถึงอยากทำอยากฝึกไป ก็เสียเวลาเล่นๆ
    ..พอนึกภาพรวมๆออกเนาะ

     
  17. Chabob

    Chabob Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +59
    ใช่เลยอย่างที่พี่บอกเลยครับ แล้วมันมีไหมครับ ที่ยกวิปัสสนาเอง โดยตัวเราไม่ได้บังคับให้เข้า แบบเข้าเองอัตโนมัติ
     
  18. Chabob

    Chabob Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +59
    พอคิดภาพออกอยู่ครับ เหมือนเคยผ่านมาไม่นาน แต่ตอนนั้นไม่ได้บังคับ อยู่ดีๆก็เป็น ง่วงมากแต่ไม่เพลีย พอจะหลับกลับนอนไม่หลับ พอทำสมาธิฟุ้งซ่านกว่าเดิม ผมเลยช่างแง่งมัน แกล้งหลับคล้ายแบบนี้ไหม แต่ถ้าบังคับให้เป็นก็ต้องลองดูหน่อย เพิ่มเติมครับ ผมพึ่งไปค้นหา ถีนมิทธะมา มันตรงกับผม ผมแก้ปัญหาด้วยการดูเฉยๆ มันจะซึมเศร้าไร้สาเหตุ สิ่งที่ทำให้มีความสุขกลับไม่มี ออกไปเที่ยว เล่นเกม ดูหนัง ก็เบื่อ เบื่อแม้กระทั่งหน้าแม่หน้าเมีย พยายามนั่งนานๆให้เหมือนเมื่อก่อนก็ไม่ได้ ยิ่งพยายามยิ่งหนักขึ้น ผมเลยปล่อย นั่งแค่ไหนแค่นั้นแต่เน้นทุกวัน เลยดูมันอารมณ์มันเบื่อ หงุดหงิด ก็ทน ตอนนี้เริ่มดีขึ้นแต่ก็ไม่ได้เบิกบาน ปลงกว่าช่วงแรกๆ อันนี้ผมขอเล่านิดนึง ไม่นานมานี้ผมมีอารถีนมิธธะอย่างที่พี่บอกเลย ก็นั่งสมาธิ แต่ร้องไห้ ร้องไห้หนักมาก จิตมันผุดขึ้นเองแต่ไม่ใช่สมองคิดได้นะครับ มันผุด สุดท้ายเราก็กินแค่อิ่ม รองเท้าซื้อมาก็แค่ให้เดินแล้วไม่เจ็บเท้า ความอยากมันทรมาน แล้วจะกินเยอะๆ หาของหรูๆใส่ตัวทำไม หลังจากวันนั้นถึงวันนี้ อยากได้อยากมี ผมลดไปเยอะแต่ไม่ใช่ทั้งหมด อันนี้ผมเลยสงสัยถ้ามันลด มันแค่ข่มไว้ในระยะนึง หรือมันตัดไปเลย เพราะพึ่งผ่านมาไม่ถึงเดือน ขอคำแนะนำด้วยครับ ถ้าจะผ่านตัวเบื่อเซง ต้องทำวิธีไหนครับ ตอนนี้ผมแค่ดู เบื่อก็ไม่บังคับ พอทำสมาธิ มันดันเกิดอาการวนลูป นั่งมันตกภวังไปปกติตอนตกรู้ตัว กายหายลมหายใจหาย แล้วมันก็ตื่น จะนั่งต่อก็วนแบบเดิม วนจนมันรู้สึกว่ามันพอ อยากนั่งต่อนะครับ แต่จิตมันไปไม่ได้ก็ไม่อยากฝืน ก็เลยสงสัยทำไมนั่งไม่ได้เหมือนก่อน เกิดอะไรขึ้น บางคนบอกมาร ผมลองนั่งชนะมาร ดันฟุ้งซ่านหนักขึ้น พอมานอนเปลี่ยนเวลา ก็เป็นอาการที่ตั้งกระทู้มา เคยเช็คอาการตัวเองไปตรงกับนิพิพาญานกับนิวรณ์ แต่นิพิเนี่ย ผมเข้าวิปัสสนาตอนไหนผมยังไม่รู้เลย เห็นหลายคนบอกต้องยกขึ้นวิปัสสนา ผมก็ไม่เคยยก จนมาอาการเบื่อ ก็เลยจัดการมันไม่ถูก ก่อนหน้าจะเจอเบื่อ ไปเจออาการกลัวตาย คิดถึงแม่ แฟน เพื่อน ไม่อยากเกิด เกิดมาก็ผูกพัน จะตายก็คิดถึง แต่พอยอมรับว่า ของธรรมดาเกิดก็ต้องตาย อาการนี้ก็หาย แต่เบื่อ มันยากกว่ากลัวตายอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2018
  19. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    มีแต่เป็นอีกระดับหนึ่ง กรณีที่
    กำลังสติทางทางธรรมพัฒนาเป็นมหาสติ
    ทางปฎิบัติ คือพวกที่สังเกตุช่วงระยะเวลาที่สติจับและ
    ปัญญาทางธรรม
    มันตัดปั๊บได้ทันบ่อยๆ
    พอนึกภาพออกไหม(คือมีเหตุตัดเลย) ที่มันประมานวินาที
    ถ้าสังเกตุตรงนี้ได้เรื่อยๆ กำลังสติมันจะตามค้นทำความเข้าใจ
    ทุกๆเรื่องของมันเองได้อัตโนมัติจนวางไปเองนั้นหละ

    ส่วนมากที่ไม่พัฒนา เพราะพอมีกำลังสติทางธรรม
    และเดินปัญญาจนมีปัญญาทางธรรมได้
    พอตัดแล้ว(บางคนเร็วกว่าวินาที) จิตนิ่งๆ เฉยๆ
    แล้วมักลืมและขาดการสังเกตุระยะเวลาที่ตัดให้ทัน
    อย่างที่บอก. ในอนาคต เรื่องที่ปัญญาทางทำ
    ตัดไปแล้วนั้นๆ
    จิตเลย ระลึก นึกขึ้นได้ คิดขึ้นได้
    ให้เราได้งงเล่นๆอีกนั่นหละ


    การสังเกตุตรงนี้
    ตัวใครตัวมัน
    ปล วิธีนี้ตอบตามที่ถามนะ
     
  20. Chabob

    Chabob Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +59
    ขอถามอีกข้อ1 ถ้าเบื่อการนั่ง เบื่อทุกอย่าง ไม่รู้จะทำอะไรให้เป็นสุข นี่มารเข้าแทรกหรือปัญญาทางธรรม ตอนนี้ผมติดอยู่ตรงนี้ มันคิดออกแค่ ทนและดูเฉยๆ มันนั่งไม่ดีเลยเปลี่ยนมานอน นอนสมาธิตอนกลางคืน เลยกลายเป็นที่ตั้งกระทู้ ผมเลยสงสัย นั่งไม่ดีเพราะมารหรืออะไร ผมก็ไม่ได้ขี้เกียจนะ แต่มันดันเบื่อไม่หมด ถ้ามารวิธีฆ่าที่ได้ผลคืออะไร แล้วถ้าปัญญาต้องใช้วิธีไหนคิดตามครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...