ผ่านมาเเล้วก็กัาลังจะผ่านไป
ผ่านเข้ามาเเล้วก็กําลังจะผ่านออกไป เเต่มีเหตุให้สงสัย บางประการขอเรียนสอบถาม คุณพี่หลบภัยบางประการ
พระสัมมาสัมพุธเจ้านั้น ยังคง หิว หนาวร้อน อย่าง เราๆอยู่นั้น เป็นจริงประการใด เจ้าค่ะ
เเอบสงสัย เล็กๆ ถึงปานกลาง รบกวน คุณพี่ช้วยชี้เเจงถเเลงไข เพื่อสร้างปัญญา ให้เเก่ ผู้ด่อยปัญญา ผู้นี้ด้วย มิได้ป่วน มิได้มีเจตนา อื่นใด เพียงเเค่ สงสัย ใน จริยวัตร ของ องค์ท่าน
รบกวนเพียงเท่านี้เจ้าค่ะ
He is a man in the world yet not of the world.
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 6 มีนาคม 2011.
หน้า 2 ของ 2
-
ภาคผนวก : พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร?</TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" width="100%"></TD></TR><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" width="100%">
พระมโน เมตฺตานนฺโท
วท.บ.,พบ. (จุฬาฯ),B.A.,M.A. (Oxford), Th.M. Z(Harvard), Ph.D. (Hamburg)
วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
(เรียบเรียงจาก "ความจริงในมหาปรินิพพานสูตร (กรณีพระมโน)")
อาการประชวร
มหาปรินิพพานสูตรเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นเดียวเท่านั้นที่บอกเรื่องราวเกี่ยวกับการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ข้อมูลทั้งปวงที่ได้พรรณนาในพระสูตรนี้ มีความแตกต่างและขัดแย้งกันในรายละเอียด จริงหรือที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพราะเสวย "สูกรมัททะวะ" พระองค์ทรงประชวรและปรินิพพานด้วยโรคใดกันแน่? ความจริงแล้วพระองค์ปรินิพพานเมื่อใด และที่ไหน? พระสูตรนี้ยังแสดงให้เห็นบุคลิกของพระพุทธเจ้าเป็น 2 ประการ ที่ขัดแย้งกันเอง คือ บุคลิกผู้วิเศษ และบุคลิกชายชราธรรมดาซึ่งบุคลิกแรกบดบังบุคลิกหลังเกือบสนิท เรื่องราวเหล่านี้ แสดงนัยอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่ในมหาปรินิพพานสูตร
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เก่าแก่มีอายุยาวนานกว่า 2,500 ปี เป็นศาสนาที่กำเนิดในประเทศอินเดีย ซึ่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมีความผูกพันในบุคลิกของผู้ก่อตั้งศาสนาอย่างมาก ไม่ว่าจะมีการประกอบพิธีครั้งใดก็ต้องมีการเริ่มต้นด้วยการแสดงนอบน้อมต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกครั้งไป ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขสูงสุดในศาสนา และเป็นบิดาแห่งพุทธบริษัททั้งหลาย
การจากไปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมสร้างความสะเทือนใจแก่ศิษย์ทั้งหลายอย่างมาก และการจากไปของพระบรมศาสดาในกาลครั้งนั้นได้เป็นเหตุให้ชาวพุทธเริ่มการจาริกแสวงบุญ ไปนมัสการสถานที่สำคัญในพุทธประวัติทั้งสี่แห่ง คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ นิพพาน และ แสดงปฐมเทศนา แม้เป็นยุคสมัยที่การเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลาย การถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับคำสอนในหมู่สาวกยังคงใช้วิธีการท่องจำปากต่อปาก โดยเฉพาะในเรื่องที่สำคัญ เช่น การเสียชีวิตของพระบรมศาสดาผู้เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงสุดนี้จึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดตั้งแต่ในยุคแรกของพระพุทธศาสนา
รายละเอียดที่โลกได้รับทราบเกี่ยวกับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นมาจากเอกสารในพระไตรปิฎกเพียงตอนเดียวเท่านั้นคือ มหาปรินิพพานสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่ยาวที่สุดสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎก ซึ่งนอกจากจะมีลีลาการพรรณนาแตกต่างไปจากพระสูตรอื่น ๆ ทั่วไปแล้ว ยังมีอรรถกถาเชิงพรรณนาในเรื่องสำคัญอีกหลายประการทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองและวัฒนธรรมอินเดีย ธรรมะในหมวดหมู่ที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งปาฏิหาริย์ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่าตอนใด ๆ ในพระไตรปิฎกรวมกันทั้งหมด
กระนั้นเองผู้อ่านพระไตรปิฎกตอนนี้อาจะเกิดการสับสนได้ง่าย หากพยายามที่จะแสวงหาความจริง ว่าสาเหตุที่ทำให้พระพุทธเจ้าประชวรจนต้องถึงกับปรินิพพานนั้นคืออะไรแน่
นักการศาสนาส่วนหนึ่งมักมุ่งไปที่ประเด็นว่า พระพุทธเจ้าทรงบริโภค
"สูกรมัททะวะ" (แปลตรงตัวว่าเนื้อหมูอ่อน) ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ทรงประชวรหนักจนต้องปรินิพพานในคืนวันที่ทรงขบฉันอาหารชนิดพิเศษนี้นี่เอง การศึกษาในเชิงค้นคว้ามักจะสะดุดอยู่เพียงข้อความเท่านี้ แม้การศึกษาทางวิชาการทางวิทยาศาสตร์ได้เกิดขึ้นแพร่หลาย นักวิชาการทั้งโลกตะวันตกและตะวันออกยังมิได้มีการนำข้อมูลทั้งหมดในพระสูตรนี้มาวิเคราะห์ให้ทราบถึงแก่นว่า ความจริงคืออะไร ที่ทำให้พระพุทธเจ้าต้องปรินิพพานในครั้งนั้น
ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์แผนปัจจุบันนั้นสามารถให้ความกระจ่างนี้ได้ไม่มากก็น้อย วิทยาศาสตร์อาจเป็นเครื่องมือที่ดีประการหนึ่งในการวิเคราะห์สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในวันสุดท้ายของ สิทธัตถะ โคตมะ นักบวชแห่งศากยบุตร ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้อาจเป็นพื้นฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ในยุคแรกได้ต่อไป
ความสำคัญของมหาปรินิพพานสูตร
มหาปรินิพพานสูตรเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์นับตั้งแต่สามถึงสี่เดือนก่อนวันสุดท้ายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปจนถึงการแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั้งแปดแห่ง รวมถึงสถูปเจดีย์ทั้งหลายที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น ๆ อีกด้วย
ผู้อ่านส่วนใหญ่มักจะประหลาดใจที่พระสูตรที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรินิพพานของพระพุทธเจ้านี้ เริ่มเรื่องด้วยการดำริของ พระเจ้า
อชาตศัตรู ที่จะยึดครองแคว้นวัชชี ซึ่งเป็นรัฐเพื่อนบ้านที่เข้มแข็งอยู่ทางทิศตะวันตกและปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หรือคณาธิปไตย มีจารีตประเพณีเป็นที่ยึดเหนี่ยวที่เรียกว่า "วัชชีธรรม" และในท้องเรื่องของพระสูตรตอนนี้ พระเจ้าอชาติศัตรูพระองค์นี้ได้มอบหมายให้วัสสะการพราหมณ์ (แปลตรงตัวว่าพรหมณ์ผู้สร้างฝน) ไปปรึกษาพระพุทธเจ้าว่าตนจะทำการใหญ่คร้งนี้สำเร็จหรือไม่ และด้วยเหตุใดและก็น่าประหลาดใจว่า ทรงแนะนำวัสสะการพราหมณ์ทางอ้อมผ่านการสนทนากับพระอานนท์ ให้วัสสะการพราหมณ์ได้ยิน (เรื่องตอนนี้ต่อมาเป็นมูลเหตุให้เกิดเป็นวรรณกรรมไทยเรื่องหนึ่ง คือ สามัคคีเภทคำฉันท์)
พราหมณ์ผู้นี้เมื่อได้ยินคำสนทนาเข้าแล้วสามรถนำมาสรุปเป็นกลยุทธ์ได้เลยว่า แคว้นวัชชีจะแตกได้โดยอาศัยการยุยงให้คนในแตกกันก่อน จึงได้ลากลับไป
เมื่อทรงเสร็จกิจที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าอชาตศัตรู พระพุทธเจ้าเสด็จต่อไปทางทิศเหนือ แวะตำบลนาลันทา บ้านเกิดของ พระสารีบุตร (อัครสาวกฝ่ายขวาผู้เป็นเลิศทางปัญญา) ผู้ซึ่งออกมาต้อนรับโดยการประกาศศรัทธาอย่างไม่คลอนแคลนในพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นข้อความที่ซ้ำซ้อนกับพระสูตรอีกตอนหนึ่ง และน่าเชื่อได้ว่าเป็นส่วนที่ผู้เรียบเรียงพระสูตรนี้เกิดฟั่นเฟือน เพราะพระสูตรอีกตอนหนึ่งระบุว่า พระสารีบุตรได้นิพพานไปก่อนล่วงหน้าแล้ว
เสด็จแวะที่เมืองปาฏลีบุตร ก่อนที่จะแสดงปาฏิหาริย์ข้ามแม่น้ำคงคาที่เต็มปริ่มฝั่ง โดยการหายตัวจากฟากหนึ่งไปปรากฏตัวอีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ พร้อมหมู่พระสงฆ์สาวกหลังจากที่ทรงพยากรณ์อนาคตของเมืองใหม่ที่อำมาตย์วัสสะการพราหมณ์สร้างไว้ โดยมีประตูเมืองด้านที่เสด็จผ่านนั้นเรียกต่อไปว่า "ประตูโคตมะ"
ทางการแพทย์ เหตุการณ์ที่สำคัญระหว่างพรรษาคือ การประชวรด้วยอาการปวดอย่างรุนแรงจนเกือบสิ้นพระชนม์ แต่ทรงเอาชนะความเจ็บปวดด้วยความอดทน และระลึกว่ายังไมได้ตรัสอำลาพุทธสาวกพุทธบริษัททั้งหลาย แต่ทรงปลงอายุสังขารที่จะเสด็จปรินิพพานตามคำเชิญของพญามารจนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ภายหลังจากที่พระอานนท์ลืมที่จะทูลอาราธนาให้เจริญเจโตสมาธิในอิทธิบาท 4 แต่ทว่าพระอานนท์ไม่อาจระลึกได้ในนัยที่ทรงบอกใบ้ให้กระทำ (ข้อความที่ทรงตำหนิพระอานนท์ในตอนนี้ค่อนข้างรุนแรง)
ต่อมาทรงรับอาหารบิณฑบาตที่บ้าน นายจุนทะ กัมมาบุตร ผู้ตั้งใจถวายอาหารจานพิเศษ มีชื่อว่า "เนื้อหมูอ่อน" (สูกรมัททะวะ) ซึ่งภายหลังที่รับประเคนไปแล้ว ดำริกับนายจุนทะว่า ไม่ทรงเห็นผู้ใดเลยในโลกนี้ที่จะสามารถย่อยอาหารนี้ได้ นอกจากพระองค์เอง จึงสั่งให้นายจุนทะนำอาหารทั้งหมดที่เหลือไปฝังดินทิ้งเสีย
หลังจากที่ฉันอาหารนั้นแล้วทรงประชวรถ่ายออกมาเป็นเลือด (โลหิตปักขันทิกะ) ซึ่ง จากคำศัพท์หมายถึงการพรั่งพรูของเลือดออกมาจากทวารหนัก จนรับสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาให้เสวย แต่พระอานนท์รีรอ เนื่องจากเห็นน้ำในลำธารขุ่นมาก เนื่องด้วยเกวียนจำนวนมากเพิ่งข้ามลำธารนี้ไป แต่พระพุทธเจ้าคะยั้นคะยอถึง 3 ครั้ง และยังสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ 4 ชั้นถวายเพื่อประทับ
ต่อจากนั้นเป็นเรื่องราวของปาฏิหาริย์ ของการถวาย ผ้าสิงคิวรรณ อันเป็นผ้าสีเหมือนทองของนายกองเกวียนสองคนเมื่อทรงห่มผ้านี้แล้วพระฉวีวรรณเกิดผุดผ่องขึ้นเอง ซึ่งทรงอธิบายว่า เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะมีผิวพรรณสว่างไสวหลังจากการตรัสรู้ใหม่ ๆ และก่อนที่จะเสด็จเข้ามหาปรินิพพาน
วันเวลาที่ปรินิพาน
เป็นประเพณีที่ชาวพุทธฝ่ายเถรวาทเชื่อกันสืบ ๆ มาว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานในวันเดียวกัน คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ประมาณวันเพ็ญกลางเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน) แต่ความในมหาปรินิพพานสูตรระบุไว้ชัดเจนว่า พระพุทธองค์ปรินิพพานหลังออกพรรษาใหม่ ๆ คือประมาณเดือน 11-12 หรืออาจล่วงเลยได้ถึงเดือน 1 ของปีจันทรคติต่อมา ซึ่งเป็นฤดูหนาว หรือฤดูใบไม้ร่วงตอนปลายความตอนหนึ่งยืนยันว่าเป็นฤดูดังกล่าว คือ ปาฏิหาริย์ของต้นสาละ เมื่อทรงเอนพระองค์ลงนอนระหว่างต้นสาละทั้งคู่ว่า ต้นสาละทั้งสอง (ซึ่งเป็นใบไม้ผลัดใบ) ผลิใบและดอกซึ่งเป็น "อกาล" คือ "นอกฤดูกาล" ออกมา
ความทั้งหมดของปาฏิหาริย์ที่ต้นสาละคู่นี้อาจเป็นเรื่องราวที่ต่อเติมในภายหลัง แต่อาจยืนยันได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ ๆ นั้น ชาวพุทธยังจดจำได้ดีว่าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูใบไม้ร่วงตอนปลาย ซึ่งต้นสาละในป่าสลัดใบร่วงหล่นไปหมดแล้ว
สมมติฐานการเจ็บป่วยของพระพุทธเจ้า
นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มักมุ่งไปที่อาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสาเหตุทั้งหมดของการประชวรที่นำไปสู่การปรินิพพาน จนทำให้นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าอาหารนั้นน่าจะเป็นพิษ การที่มีสมมติฐานว่า "สูกรมัททะวะ" เป็นเห็ดชนิดหนึ่งก็เนื่องจากรากศัพท์ว่า "สุกรได้แก่หมู" และ "มัททะวะแปลว่าอ่อนหรือนิ่ม" เมื่อนำมาสมาสกันทำให้ได้อีกความว่า "นิ่มสำหรับหมู" คือเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่หมูชอบ เพราะความนิ่มของมัน การตีความในลักษณะนี้เข้ากันได้กับทิฐิของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานสายจีนซึ่งเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นมังสวิรัติ
ทางการแพทย์นั้นการจะสรุปว่าพยาธิสภาพที่ทำให้พระพุทธองค์ปรินิพพานนั้น มาจากลำพังอาหารที่เสวยอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ และอาหารจารสุดท้ายนี้อาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยซึ่งสุกงอมมาเต็มที่แล้วเกิดปะทุขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีประวัติการเจ็บป่วยอย่างหนักครั้งหนึ่งมาก่อนล่วงหน้านี้แล้ว ข้อมูลที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งคืออายุของพระองค์ท่านในขณะนั้นคือ 80 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สังขารร่วงโรยเพราะความเสื่อมของอวัยวะภายในหลายอย่าง
เราทราบจากข้อมูลหลายแห่งในพระไตรปิฎกว่า ทรงมีโรคประจำตัว เช่น โรคปวดหลังจนถึงกับไม่อาจเทศน์ต่อไปได้ และตรัสเปรียบกายสังขารของพระองค์เหมือนเกวียนที่เก่าคร่ำคร่า การใช้ชีวิตของพระองค์ตระเวนในแว่นแคว้นต่าง ๆ ของอินเดียเทศนาโปรดสัตว์โลกตลอด 45 ปีหลังตรัสรู้ ดำรงพระชนม์ด้วยอาหารบิณฑบาตหลากชนิดที่ไม่อาจเลือกได้ ก็สามารถเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สังขารของพระองค์เสื่อมลงได้เร็ว
อาการเจ็บป่วยระหว่างพรรษาสุดท้ายนั้น มหาปรินิพพานสูตรกล่าวไว้เพียงสั้น ๆ ว่า ทรงมีอาการปวดอย่างรุนแรงจนเกือบต้องมรณภาพ แต่ไม่ได้ให้อาการร่วมอย่างอื่นที่ระบุว่าเป็นการปวดที่เกิดที่อวัยวะใด
อาจเป็นการปวดที่หน้าอกอันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง อันมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดตีบตันซึ่งเป็นโรคแห่งความชราที่พบกันบ่อยอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดได้มาก และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
อาการป่วยในครั้งนี้ไม่ว่าสาเหตุที่แท้จริงจะเป็นอะไรก็ตาม แต่อาการทั้งหมดนั้นหายไป จนทำให้เสด็จจาริกต่อไปได้หลังออกพรรษาเหมือนปกติ หากอาการไม่ปกตินายจุนทะเองคงไม่กล้าที่จะนิมนต์ให้ไปรับบิณฑบาตเป็นแน่ กระนั้นเองพยาธิสภาพดั้งเดิมก็คงเหลืออยู่ แต่อาการที่ระบุในการประชวรครั้งสุดท้ายที่ว่ามี อาการลงพระโลหิต หรือถ่ายเป็นเลือดนั้นเป็นอาการที่เนื่องด้วยระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความยาวมาก ตั้งแต่หลอดคอไปจนถึงทวารหนัก
โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคหนึ่งที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้สิ้นพระชนม์ได้ เนื่องจากทำให้เกิดการปวดได้มาก โดยเฉพาะหลังอาหารใหม่ ๆ และแผลในกระเพาะอาหารนั้นอาจมีขนาดใหญ่และลึกมาก จนทำให้ทะลุไปถึงเส้นเลือด ทำให้เกิดการลงพระโลหิตได้
การที่เป็นภิกษุฉันอาหารเพียงวันละมื้อเท่านั้น ก็ทำให้น่าจะคิดต่อไปได้ว่าเป็นโรคที่ทำให้ประชวรครั้งสุดท้าย
แต่โรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนต้นนั้นมักไม่ทำให้ผู้ป่วยถ่ายออกมาเป็นเลือดสด แต่เป็นอุจจาระเหลวสีดำ (melena) ซึ่งมักจะหยุดเองเป็นส่วนใหญ่ และผู้ป่วยมักไม่เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ยกเว้นในกรณีที่แผลนั้นลึกมากจนกระเพาะอาหารหรือลำไส้นั้นทะลุ กรดในกระเพาะอาหารรั่วออกมาสู่ช่องท้อง ทำให้เกิดอาการอักเสบในช่องท้องที่รุนแรงจนถึงกับเสียชีวิตได้ในที่สุด
แต่ในพระสูตรนี้หรือในพระไตรปิฎกมีข้อมูลประกอบเกี่ยวกับอาการปวดท้องเรื้อรัง การถ่ายอุจจาระสีดำของพระพุทธเจ้า รวมทั้งการปวดท้อง หลังหรือก่อนมื้ออาหารเป็นต้น
ลักษณะที่ระบุว่าเป็นโลหิตออกมานั้นพระสูตรนี้มิได้อธิบายว่าออกมามากน้อยเพียงใด มีมูกเจือปนหรือไม่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่แพทย์ต้องการทราบเสมอเมื่อซักประวัติผู้ป่วยที่ตกเลือดทางทวารหนัก แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นทำให้เราสามารถอนุมานได้ว่า เลือดที่ออกมาต้องมีจำนวนมากอย่างแน่นอน และมากจนทำให้พระพุทธองค์รู้สึกกระหายน้ำอย่างมาก จนกระทั่งต้องสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาให้เสวยถึง 3 ครั้ง แม้พระอานนท์ปฏิเสธว่าน้ำในลำธารขุ่นมาก การเสียเลือดในครั้งนี้พระองค์คงอยู่ในอาการที่ทางการแพทย์เรียกว่า ช็อก (shock) และไม่มีปริมาณโลหิตที่หมุนเวียนในพระสรีระเพียงพอ ความดันโลหิตน่าจะต่ำมากจนไม่อาจเสด็จไปด้วยพระองค์เองได้
ข้อที่สนับสนุนอีกประการหนึ่งว่าทรงเสียพระโลหิตไปมาก คืออาการหนาว ซึ่งเป็นผลพวงจากการเสียโลหิตไปมาก โดยดูได้จากการที่สั่งให้พระอานนท์ปูผ้าสังฆาฏิหนาถึง 4 ชั้น
ผ้าสังฆาฏิ นี้ในภาษาไทยแปลว่า ผ้าซ้อนนอน อันเป็นผ้าที่พุทธานุญาตให้พระภิกษุห่มเป็นเสื้อคลุมในฤดูหนาว ในภาษาอังกฤษแปลว่า cloak
ในทางการแพทย์มีโรคไม่กี่โรคที่ทำให้เกิดอาการตกเลือดเป็นเลือดสดปริมาณมาก ๆ จนทำให้เสียชีวิตได้ และมีโรคอยู่ 2 โรคที่พบบ่อย คือ
Divericulosis (เยื่อบุผนังส่วนในของลำไส้ใหญ่งอกออกมาเป็นกระเปาะใหญ่ ซึ่งต่อมาผนังของกระเปาะนี้แตกออกทำให้เลือดสดไหลออกมาได้จำนวนมากเข้าสู่ลำไส้ใหญ่และพบในสังคมที่ประชาชนบริโภคอาหารที่มีเส้นใยน้อยโดยเฉพาะในประเทศทางตะวันตก)
และอีกโรคหนึ่งคือ Angiodysplasia (เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดใต้เยื่อบุผนังส่วนในของลำไส้ใหญ่ และต่อมาเยื่อบุผนังลำไส้เกิดเป็นแผลฉีกขาด ทำให้เลือดจำนวนมากไหลออกมาสู่ลำไส้ใหญ่)
แต่ทั้งสองโรคนี้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการปวดนำที่รุนแรง
ริดสีดวงทวารหัวใหญ่ ๆ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ตกเลือดได้มาก แต่มักไม่มีอาการปวดมาก และเลือดมักหยุดได้เอง แต่อาการก็ไม่สอดคล้องกับที่ระบุไว้ในพระสูตรนี้
การแตกของกระเปาะโลหิตของเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องเข้าสู่ลำไส้ส่วนปลาย (aoria-intestinal fistula) ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดท้องที่รุนแรง และการตกเลือดจำนวนมากจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการกินอาหาร จึงเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่เป็นไปได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ และเป็นโรคที่พบน้อยมาก
โรคที่มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงเป็นอาการนำ โดยเฉพาะโรคที่เกิดอาการหลังอาหารมื้อใหญ่ และมักเกิดกับผู้สูงอายุ โรคดังกล่าวนี้คือ โรคการตายของสายรัดไส้อันเนื่องมาจากการขาดโลหิต(mesenteric infarction) ซึ่งพยาธิสภาพเริ่มต้นคือ การอุดตันของหลอดเลือดแดงที่ออกมาจากเส้นโลหิตใหญ่ในช่องท้อง (superior mesenteric artery) เหตุพื้นฐานของการอุดตันมักเนื่องมาจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือด (arteriosclerosis) โรคนี้มักเริ่มต้นด้วยการปวดท้องรุนแรง เช่นเดียวกับการปวดเมื่อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง ต่างกันที่ตำแหน่ง คือ เกิดในช่องท้อง (abdominal angina) อาการปวดนี้อาจหายไปเองได้ เมื่อโลหิตจากเส้นเลือดส่วนอื่นไหลมาทดแทนได้เพียงพอ แต่พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นยังคงอยู่ ซึ่งเข้าได้กับประวัติอาการป่วยของพระพุทธเจ้า อาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นมักจะปวดรุนแรงมาก และลำไส้ที่ขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงก็จะตาย ทำให้ผนังลำไส้ตาย เป็นเหตุให้โลหิตจำนวนมากไหลเข้าสู่ลำไส้พร้อมกับของเสียในลำไส้ (อาหารที่ยังไม่ถูกดูดซึม กากอาหาร และเชื้อโรคทั้งหลาย) ถูกดูดซึมเช้ากระแสโลหิต
เชื้อโรคต่าง ๆ ที่ถูกดูดซึมเข้ามาสู่กระแสเลือดเหล่านี้ทำให้โลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นได้มาก และในที่สุดทำให้เกิดการช็อกขึ้นได้อีก เป็นพยาธิแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้อย่างรวดเร็วในระยะต่อมา
การบริโภคอาหารมื้อใหญ่ ๆ มักเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการลำไส้ขาดเลือดได้ โดยเฉพาะเมื่อเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงลำไส้นั้นมีอาการตีบตันอยู่แล้ว ลำไส้ที่ต้องการเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมากหลังอาหารไม่ได้รับเลือดเพียงพอทำให้ลำไส้นั้นตายลงกะทันหัน อาหารทีบริโภคเข้าไปจึงไม่ใช่เหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นอาหารชนิดใดก็ทำให้เกิดอาการนี้ได้
ข้อสันนิษฐานที่ว่าสูกรมัททะวะนั้นเป็นเนื้อหมูที่มีพยาธิภายในนั้น ไม่เข้ากับอาการส่วนใหญ่ที่ปรากฏในพระสูตรนี้ และไม่น่าเชื่อว่าเจ้าภาพจะถวายเนื้อดิบ ซึ่งมีตัวพยาธิติดเข้ามาด้วย และพระวินัยนั้นห้ามพระภิกษุบริโภคเนื้อดิบอยู่แล้ว และยังไม่เคยปรากฏว่ามีพยาธิใดที่อยู่ในเนื้อที่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการตกเลือดได้มากอย่างเฉียบพลัน
ไม่ว่าสูกรมัททะวะนี้จะเป็นอะไรก็ตาม ก็คงไม่ใช่สาเหตุของการป่วยโดยตรง แต่เป็นปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกที่ทำให้โรคที่สะสมกันมานาน และเคยกำเริบมาครั้งหนึ่งแล้วปะทุขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้สภาพการณ์นั้นเลวร้ายกว่าครั้งก่อน
ลำดับเหตุการณ์ในพระสูตร : ประชวรสู่ปรินิพพาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์ประมาณ 80 ปี เมื่อจำพรรษาสุดท้าย ณ กรุงเวสาลี พระวรกายของพระองค์ได้เสื่อมโทรมไปตามสังขารเช่นเดียวกับผู้สูงอายุวัยเดียวกับพระองค์ ทรงประชวรหนักในระหว่างพรรษานั้น ด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรงจนเกือบสิ้นพระชนม์สาเหตุของการปวดนั้นมีสาเหตุจากการอุดตันบางส่วนของเส้นเลือดใหญ่ของลำไส้เล็กส่วนกลาง (superior mesenteric artery)
อาการนั้นทุเลาลงจนหายไป จนทำให้เหมือนปกติ
อาการปวดท้องนั้นกำเริบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเริ่มเสวยอาหารจานพิเศษชื่อ
สูกรมัททะวะ
ระหว่างที่เสวยอยู่นั้นน่าจะทรงรู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติบางประการกับอาหารนี้ เพราะความสงสัยและความปรารถนาดีต่อผู้อื่นจึงทรงสั่งให้เจ้าภาพคือ นายจุนทะ กัมมาบุตร นำสูกรมัททะวะที่เหลือทั้งหมดไปฝังเสีย
อาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงขึ้นหลังเสวยอาหารเสร็จ
ขณะเดียวกันนั้นลำไส้ของพระองค์ตายไปเพราะขาดโลหิต ยังผลให้เลือดจำนวนมากไหลซึมเข้าไปในลำไส้ ทำให้ตกเลือดสด ๆ ออกมา โลหิตที่ออกมานั้นมากจนทำให้พระองค์เกิดอาการช็อก และหนาวสั่น เนื่องจากเชื้อโรคที่ค้างอยู่ในลำไส้เริ่มถูกดูดซึมเข้าสู่ช่องท้อง ทำให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง และเชื้อโรคส่วนหนึ่งเริ่มซึมเข้ากระแสโลหิต
การช็อกทำให้ทรงกระหายน้ำมาก จนทำให้ต้องสั่งให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาให้เสวย แต่เนื่องจากพระอานนท์ไม่เห็นแหล่งน้ำสะอาดจึงปฏิเสธ เพราะว่าโลหิตที่ไหลเวียนในพระวรกายนั้นไม่เพียงพอ ไม่อาจลุกนั่งได้เอง และทรงรู้สึกหนาวมากจึงสั่งให้ปูลาดที่ประทับด้วยสังฆาฏิหนา 4 ชั้น
เรื่องปาฏิหาริย์ที่ปรากฏต่อจากความตอนนี้ น่าจะเป็นสิ่งที่ต่อเติมขึ้นภายหลัง หลังจากปาฏิหาริย์ตอนนี้แล้วพระสูตรไม่ได้ระบุว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จนกระทั่งเสด็จลงสรงน้ำ และประทับลงระหว่างไม้สาละสองต้น หากพิจารณาด้วยสามัญสำนึก ความตอนนี้ทั้งหมดน่าจะเกี่ยวข้องกับตอนที่เป็นปาฏิหาริย์ทั้งหมด ในขณะที่ทรงประชวรหนักขนาดนี้ คงไม่มีอุปัฏฐากใดที่จะนำพระองค์ไปนอนลงกลางแจ้งระหว่างที่ทรงหนาวจัดอ่อนเพลียและกระหายน้ำมาก ความเป็นจริงทีน่าจะเกิดขึ้นก็คือ ทรงประคองพระองค์ไม่ไหว พระภิกษุผู้ติดตามต้องนำพระองค์ไปรักษาอาการประชวรซึ่งเกิดขึ้นแบบกะทันหัน โดยช่วยกันทำแคร่หามพระองค์ไปหาแพทย์ ให้รักษาในเมืองที่ใกล้ที่สุด
แม้ว่าพระสูตรจะกล่าวถึงการปลงอายุสังขารล่วงหน้านั้นแล้วก็ตาม ข้อความในพระสูตรนี้ระบุชัดเจนว่าการป่วยภายหลังการเสวยสูกรมัททะวะนี้ มิได้ทรงคาดคะเนมาก่อน การที่รับนิมนต์ไปฉันก็ดี ที่บ้านนายจุนทะก็ดี การตรัสบอกกับนายจุนทะว่าไม่ทรงเห็นผู้ใดที่สามารถย่อยอาหารนี้ได้นอกจากพระองค์เท่านั้น ยืนยันว่าไม่ได้ทรงคาดว่าจะปรินิพพานในวันนั้น
สถานที่ปรินิพพานที่แท้จริง
ความในมหาปรินิพพานสูตรเล่าเรื่องปาฏิหาริย์มากมายเมื่อทรงทอดพระองค์ลงระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในป่าใกล้กรุงกุสินารา แต่สิ่งที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ไม่น่าจะเป็นบริเวณแท้จริงที่ปรินิพพาน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ
1. เมื่อทรงประชวรหนักนั้น ภิกษุติดตามน่าจะขวนขวายพาพระองค์ไปหาแพทย์ที่อยู่ในเมืองมากกว่าที่จะพาไปประทับในป่า โดยเฉพาะเมื่อทรงมีอาการหนาวสั่น ปวดท้อง และกระหายน้ำมาก เนื่องจากสภาพความต้องการของร่างกายของผู้ป่วย จะเป็นปัจจัยที่บังคับให้ผู้ใกล้ชิดทั้งหายขวนขวาย ให้พระองค์ทรงพระชนม์ให้นานที่สุด การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมให้อบอุ่นเป็นความจำเป็นที่ต้องการในการดูแลผู้ป่วยที่หนาวจัด จึงน่าจะเป็นไปได้มากกว่าที่ว่าสาวกทั้งหลายพาพระองค์เข้ารับการรักษาภายในที่มุงบังที่ให้ความอบอุ่น ซึ่งอาจมีแพทย์ดูแลใกล้ชิด ผู้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้พระองค์สบายที่สุด ในสภาวะเช่นนี้ผู้ที่ดูแลน่าจะพยายามให้น้ำ (ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นน้ำสมุนไพรบางอย่าง) ให้พระองค์จิบทีละน้อยเพื่อประทังความกระหาย ในสภาพนี้พระองค์เองไม่น่าจะทรงดื่มน้ำได้ทีละมาก ๆ
2. เมื่อพระอานนท์ทราบว่าพระพุทธองค์จะปรินิพพานแน่แล้ว ได้เกิดความเสียใจจนกระทั่งจะเป็นลม ไม่อาจประคองตนไว้ได้ ต้องยืนเหนี่ยวกลอนประตูรูปหัวสิงห์อยู่ กลอนประตูนี้อยู่ในป่าตามลำพังไม่ได้แน่นอน นอกจากเสียว่าพระพุทธองค์กำลังประทับอยู่ในห้องของอาการที่อยู่ในเมืองกุสินารานั้นเอง
3. หลังจากปรินิพพานแล้วมัลลกษัตริย์ทั้งหลายมีมติที่จะเคลื่อนพระศพออกจากเมืองไปประตูทางทิศใต้ แต่ไม่อาจเคลื่อนพระศพได้ มิได้ระบุว่าต้องนำพระศพเข้าเมืองก่อน แสดงว่าสถานที่ปรินิพพานนั้นอยู่ในเมืองกุสินารานั่นเอง
บุคลิกพระพุทธเจ้าในมหาปรินิพพานสูตร
พระพุทธเจ้ามี 2 บุคลิกในมหาปรินิพพานสูตร
บุคลิกแรกนั้นเป็นบุคลิกของผู้วิเศษซึ่งแสดงปาฏิหาริย์ จำนวนมากนับตั้งแต่การหายตัวข้ามแม่น้ำคงคาพร้อมด้วยหมู่สงฆ์ที่ติดตาม จากฟากหนึ่งไปสู่อีกฟากหนึ่งในพริบตา เป็นบุคลิกที่เห็นเหล่าเทพยดาทั้งหลายที่ลงมาตั้งถิ่นฐานในเมืองปาฏลีบุตรเป็นบุคลิกที่พยากรณ์เรื่องราวอนาคตของเมืองนี้ในอนาคต เป็นบุคลิกที่สามารถมีอายุยืนได้ตลอดกัปป์หรือกว่านั้นหากมีผู้ใดผู้หนึ่งอาราณนา แต่จำต้องปลงอายุสังขารของพระองค์เอง เพราะความผิดพลาดลืมสติของพระอานนท์ และเป็นบุคลิกที่ปรินิพพานในป่าระหว่างไม้สาละสองต้น ในขณะที่มีดอกไม้และผงจันทน์ร่วงหล่นจากสรวงสวรรค์ท่ามกลางหมู่เทพยดานับไม่ถ้วนมาให้ความเคารพ แม้ใกล้ปรินิพพานก็ยังสามารถโปรด สุภัททะปริพาชก จนมีศรัทธาขอบวชและตรัสรู้ธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ในคืนเดียวกับที่ปรินิพพานและบุคลิกแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นั้นมิได้ลดลงหลังปรินิพพานแล้วยังให้เกียรติแก่พระมหากัสสปะ ทำให้ไฟที่นำมาจุดถวายพระเพลิงนั้นไม่ยอมติดต้องรอจน พระมหากัสสปะ ได้ถวายบังคมเสียก่อน ไฟจึงติดขึ้นได้เอง และดับเองเมื่อน้ำพุจากใต้ดินฉีดขึ้นมาเมื่อเผาพระศพแล้วเสร็จ
บุคลิกที่สอง นั้นเป็น บุคลิกของชายชราธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งปรินิพพานด้วยสาเหตุการเจ็บป่วยทางธรรมชาติอันเกิดจากความเสื่อมของเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงลำไส้เล็กเส้นสำคัญอุดตัน จนทำให้เกิดการปวดท้องอย่างรุนแรง จนเกือบสิ้นพระชนม์ในระหว่างที่ทรงจำพรรษาสุดท้าย และในขณะที่ทรงจาริกหลังออกพรรษาใหม่ ๆ โรคเก่านี้กำเริบขึ้นอีกครั้งหนึ่งอย่างไม่คาดฝันหลังอาหารมื้อใหญ่ที่เสวยเข้าไป และปรินิพพานไปในห้องพักเล็ก ๆ ในอาคารแห่งหนึ่งในเมืองกุสินารา ภายหลังจากที่หมู่สงฆ์ผู้ติดตามได้ให้การดูแลอย่างสุดความสามารถแล้ว
หากถามว่าความจริงที่เกิดขึ้นคืออะไร?
คำตอบคือ บุคลิกที่สอง ซึ่งถูกบุคลิกแรกนั้นบดบังด้วยอิทธิปาฏิหาริย์เกือบทั้งหมด โดยผุดขึ้นมาเป็นปริศนาทำให้เกิดความฉงนของชนรุ่นหลัง
แต่ทำไมจึงเกิดบุคลิกและความขัดแย้งของพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวได้ภายในพระสูตรเดียวกัน สิ่งนี้ยังเป็นปริศนาสำหรับนักค้นคว้าทั้งหลายในอนาคต
สรุป
ข้อความในมหาปรินิพพานสูตรเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นเดียวที่ให้รายละเอียดการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ข้อมูลทั้งปวงที่ได้พรรณนาในพระสูตรนี้มีความแตกต่าง และขัดแย้งในรายละเอียด สามารถแบ่งได้เป็นสองบุคลิก ซึ่งบุคลิกหนึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้ว่าตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และแสดงให้เห็นว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งถึงแก่ความตายด้วยการเจ็บป่วยทางธรรมชาติ อันเกิดจากความเสื่อมของหลอดโลหิตแดงที่ไปลำไส้ส่วนกลางเกิดการอุดตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ตกเลือดทางทวารหนักเป็นเลือดสดปริมาณมาก พร้อมกับอักเสบในช่องท้องจนทำให้ต้องเสียชีวิตในที่สุด และความหลายตอนในมหาปรินิพพานสูตรนี้สนับสนุนตรงกันว่าสถานที่ปรินิพพานจริงนั้นน่าจะเป็นห้องพักเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในเมืองกุสินารามากกว่าที่จะเป็นป่าไม้สาละนอกเมืองนั้น
แม้ว่ามหาปรินิพพานสูตรนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อน จนสามารถแยกบุคลิกของพระพุทธเจ้าออกได้เป็นสองบุคลิกก็ตาม ที่มาของบุคลิกของผู้วิเศษที่บดบังบุคลิกจริงซึ่งน่าจะเป็นบุคลิกของพระพุทธเจ้าในประวัติศาสตร์ผู้ปรินิพพานแบบเรียบง่ายและไม่แตกต่างไปจากมนุษย์เดินดินคนหนึ่ง เรื่องราวของพระสูตรนี้ยังสมควรที่จะศึกษาต่อไปอีก ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นทั้งหลายอันเนื่องด้วยการปรินิพพานนี้มีทิศทางที่สอดคล้องกันและเรียบเรียงไว้อย่างดี หลายตอนเกิดจากการคัดลอกจากพระไตรปิฎกตอนอื่น แต่ยากที่จะเชือ่ได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
นอกจากที่พระสูตรนี้เป็นเรื่องที่เล่าถึงการจากไปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระสูตรนี้ยังมีอิทธิพลต่อการเกิดขึ้นของการทำสังคายนาครั้งที่หนึ่ง และให้อำนาจแก่พระมหากัสสป พระเถระผู้หนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในที่ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า แต่ให้กลับมามีอำนาจในคณะสงฆ์สมัยนั้นอีกด้วย
เป็นไปได้หรือไม่ว่าบุคลิกที่ขัดแย้งกันของพระพุทธเจ้าในพระสูตรนี้เกิดจากความขัดแย้งของคณะสงฆ์ในยุคแรก ภายหลังจากที่พระบรมศาสดาได้จากไปแล้ว
อ้างอิง
มหาปรินิพพานสูตร พระสุตตันตปิฎก สยามรัฐ เล่มที่ 9
</TD></TR></TBODY></TABLE> -
ถามมา อ่านให้เข้าใจ โยนิโสมนสิการ นะคะ
อนุโมทนา -
Who Am I ......................
-
ขอบคุณพี่ หลบภัย มากมายเจ้าค่ะ
ขอบคุณ พี่ หลบภัยเป็น อย่างสูง เจ้า ค่ะ:cool::cool::cool: -
ตั้งขึ้นมาทำไม
ตั้งขึ้นมาเพื่อด่าคนนั้นคนนี้เหรอ
ตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่พุทธศาสนิกชนเหรอ
สกปรกนะพวกนี้
มันคันนักหรือไงถ้าไม่ได้ด่าคนนั้นคนนี้
ยัดเยียดความผิดให้คนนั้นคนนี้
แม้แต่อาจารย์ของตัวเอง
ยังเนรคุณได้
แล้วหนังสือที่ว่า มันจะมีการต่อเติมตกแต่งอะไร
หนังสือมันคนละเล่มกัน
จะให้มาเหมือนกันได้ยังไง
โง่หรือฉลาดนี่
หนังสือ ชื่อ ก็คนละชื่อ
แล้วจะให้เหมือนกันได้ยังไง
หนังสือเล่มนึงคือ "ชาติสุดท้าย"
อีกเล่มคือ"ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย"
หนังสือก็คนละเล่ม
สำนักพิมพ์ก็คนละสำนัก
ผู้จัดทำก็คนละคนกัน
แล้วจะมาว่าตัดแต่งต่อเดิมได้ยังไง -
เรื่องความวุ่นวายในเว็บ antiwimutti นั้น ผมฝากคนที่เข้าถึงไปบอกด้วยว่า
การที่เราเอาใจที่ไม่สงบของเรา ไปรับรู้เรื่องราวต่างๆ แล้วเกิดเวทนาว่า อย่างนั้นไม่ดี อย่างนี้ไม่ใช่ จนเคยชิน
มันจะทำให้จิตใจของเรา ที่ยังมัวเมากับกิเลส ไม่เท่าทันว่า แท้จริงแล้วมาจากอะไรผลักดัน ผมเคยเตือนตั้งแต่แรกแล้ว
จากเรื่อง หลวงพ่อปราโมทย์ กลายมาเป็นหนังสือ ทั้งๆที่หนังสือนั่น ก็พวกเดียวกันเองแท้ๆ คนพิมพ์เขาก็ส่งเสริมให้คนได้รู้จักพระป่าสายพระอาจารย์มั่น เป็นเรื่องประเสริฐอยู่แล้ว พระองค์ใดจะใช่พระอรหันต์หรือไม่ใช่ ท่านเป็นลูกศิษย์สายตรงของหลวงตา เราก็ควรจะกราบไหว้ได้สนิทใจ ส่วนหนังสือนั้นจะพิมพ์อย่างไรนั้น ก็ไม่ได้ทำให้ประโยชน์ลบเลือนไป
ทำไมคนพูดไม่ตั้งสติพิจารณาตนว่า นี่เรามีกิเลสหรือเปล่า เราเอาใจไปจับสิ่งต่างๆ จนเกิด ผัสสะ เวทนา ที่ร้อน อีกหน่อย พระธรรมใดไม่ดี เราเอาเวทนาไปผูก เราก็ตำหนิพระธรรม สุดท้ายแล้วจะต้องตรงใจเราเท่านั้น กิเลสก็จะค่อยๆกลืนพระธรรมที่ตรงใจเรานั้นเป็นสัทธรรมปฏิรูปไปหมด
อย่าประมาท เอาใจของเราไปรับรู้เรื่องต่างๆ จนอะไรก็ไม่ดีไปหมด
แท้ที่จริงแล้ว เราต่างหากที่อารมณ์ไม่ดี อะไรๆก็ไม่ดี ขวางหู ขวางตาไปหมด นี่มันเริ่มจะกลายเป็นคนพาล แทนที่จะเป็นนักปราชญ์ -
ขอเห็นด้วย กับทุกคน ที่ไม่ไปร่วม วิจารณ์ พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์
ทำตัวเราให้ดีที่สุด ก็พอ
กรรมไม่เลือกข้าง มองที่จะแก้ไข นิสัยชั่วๆ ของเราดีกว่า คนอื่นปล่อยเขาไปเถอะ
เราเลือกที่จะเป็นได้ แต่เลือกให้คนอื่นเป็นเหมือนเราไม่ได้ -
-
-
สติปัญญาที่จะแสดงเหตุผลแก้ไม่มีน่ะสิ
ผิดถูกยังไงก็แก้มาตามเนื้อหาโพสต์สิ
นี่มันโพสต์ด่าโพสต์เหน็บแนมอย่างเดียวนี่น่ะ
แล้วที่คุณว่า"ริษยาสูงเป็นผู้หญิงรึปล่า"
มันแสดงความไร้สติปัญญาของคุณอย่างชัดเจนเหลือเกิน
ริษยานี่มันกิเลสนะ
แล้วกิเลสตัวริษยามันมีเฉพาะผู้หญิงเหรอ
มันฉลาดน้อยขนาดนั้นเลยเหรอตัวคุณน่ะ่
ส่วนผมจะไป อิจฉา ริษยา ใครทำไม
มันมีเหตุผลอะไรต้องไปอิจฉา ริษยา ใคร
ธรรมในใจที่ผมมีนี่พอตัวแล้ว
ใครจะว่ายังไงผมเฉย ๆ นะ
ที่ว่าผมไม่มีหลักมีเกณฑ์ ไม่มีเหตุผล ไปกล่าวหาคนในเวป
แล้วในเวปนั้นมันมีแต่ด่าพระเจ้าพระสงฆ์จริงหรือเปล่าล่ะ
ก็มีจริง ๆ ไม่ใช่เหรอ
แล้วที่ผมตำหนินี่มันจะผิดไปไหนล่ะ
แล้วไม่ใช่ตัวคุณหรอกเหรอ
ที่เป็น ตัวอิจฉาริษยา ตัวจริง -
เอ้าผมอิจฉาคุณ ก็แล้วกัน...คุณทำถูกต้อง.. ผมขอโทษโทสะมันทะลุเป้าเป็นบางวัน กราบขออภัยครับ พี่เตช..อย่าโกรธ
เดี๋ยวผมไปลบข้อความทิ้ง ก็แล้วกันครับ -
-
คนเห็น จะมาบอกว่าเด็กเล่นไฟ เด็กเล่นไฟ
ใครจะไปตื่นเนื้อตื่นตัวใช่มั้ย
มันก็ต้องตะโกนว่า ไฟไหม้บ้าน ไฟไหม้บ้าน ใช่มั้ย
คนจะได้ตื่นเนื้อตื่นตัวกัน
เกิดบอกว่าเด็กเล่นไฟ เด็กเล่นไฟ
แล้วผู้ใหญ่ไม่อยู่ มีแต่เด็กทั้งนั้น
แต่เด็กคนอื่นเห็นแล้วไปเล่นด้วยกัน
โดยไ่ม่รู้ถึงอันตราย
บ้านจะไม่โดนไฟไหม้ไปทั้งหลังเหรอ
ไฟกิเลสมันลุกลามไปถึงพระอรหันต์ องค์เป็นเป็นแล้ว
ยังไม่รู้ตัวอีกเหรอ
เกิดมันมีใครหลงตามเด็กเล่นไฟคนนั้นไป
เด็กมันไม่ลงนรกกันหมดเหรอ -
หน้า 2 ของ 2