ตอบตามตรงผมยังไม่ชอบขอบเหรียญทั้งสองครับ
ไม่ชัดเจนสักเท่าไหร
@ขอบเลี่อย-ขอบกระบอก-ขอบปั้มตัด-ฐานกลึง@
ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย stoes, 22 กรกฎาคม 2011.
หน้า 8 ของ 10
-
วัตถุมงคล
เหรียญ
1.เหรียญรุ่นแรก เป็นรูปไข่ ผิววรรณะของเหรียญออกไปทางทองผสมมีกะไหล่ทองให้เห็นบ้างบางเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อห่มคลุมครึ่งองค์กำลังเคี้ยวหมากซึ่งเป็นมูลเหตุให้บางคนเรียกท่านว่า “หลวงพ่อปากเบี้ยว” มีคำเขียนล้อมครึ่งบนหลวงพ่อไว้ว่า “ พระครูโอภาสสารภูมิเจ้าคณะอำเภอคอนสาร ” ด้านหลังเป็นอักษรขอมเขียนเรียงเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่าง ถอดเป็นภาษาไทยใจความว่า “ อุ มะอะ อิสวา สุ นะโมพุท ธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” แถวที่ 6 เป็นภาษาไทย อ่านว่า “ วัดสวนหมาก” มูลเหตุในการสร้างเหรียญ เนื่องด้วยกุฏิไม้ที่ท่านอาศัยอยู่นทรุดโทรมมาก พระ 3 รูปที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อคือ 1.พระอาจารย์บิน 2.พระ อาจารย์ตื้อ 3.พระมหาบุญเกิด( พ่อมหาบุญเกิด แพงจันทร์ ผู้ให้ข้อมูล)จึงปรึกษากันว่าจะทำเหรียญ แล้วนำรูปถ่ายไปเป็นต้นแบบโดยไปว่าจ้างช่างที่กรุงเทพ แถวเสาชิงช้า จำนวนที่สร้างราว 5,000 เหรียญ ปี ที่สร้างประมาณพ.ศ. 2505 แล้วนำมาให้หลวงพ่อแจกญาติโยม หลวงพ่อก็แจกอย่างเดียวโดยไม่สนใจปัจจัยสิ่งตอบแทนใดๆเลยทำให้เหรียญหมดลง โดยไม่มีปัจจัยที่จะมาบูรณะกุฏิเลย เมื่อหลวงพ่อเจอกับครูบุญเกิด ( พ่อมหาบุญเกิดลาสิกขาบทแล้ว มารับราชการครู)อีกครั้งก็บอกว่า “ เหมิดล่ะ ! ’’ หมายถึงเหรียญหมดแล้ว แล้วหลวงพ่อก็หัวเราะด้วยความเมตตาซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ยึดติดในวัตถุใดๆของท่าน
2. เหรียญรุ่นสอง เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงชุบนิเกิ้ลคล้ายๆกะไหล่เงิน ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ล้อมรอบครึ่งบนหลวงพ่อด้วยคำที่เขียนว่า “ วัดสวนหมาก อ. คอนสาร จ.ชัยภูมิ ” ด้านล่างใต้องค์หลวงพ่อนั่งเขียนคำว่า “พระครูโอภาสสารภูมิ” ถัดลงไปอีก 1 แถวใต้สุดเป็นรูปลายกนกหัวชนกัน 1 คู่ในแนวนอน ด้านหลัง เป็นอักษรขอมเขียนเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่างถอดความเป็นภาษาไทยว่า “ มะอะอุ อิสวาสุ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” เหรียญรุ่นสองนี้หลวงพ่อเป็นคนบอกให้สร้างเองเนื่องจากเหรียญรุ่นแรกหมดไม่พอแจกกัน วัตถุประสงค์เพื่อเอาไว้แจกอีกนั่นแหละ จำนวนที่สร้างนั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูลอ้างอิง สำหรับปีที่สร้างราวๆปี พ.ศ. 2510
ส่วนเหรียญรุ่นสร้างศาลารูปแบบคล้ายกับเหรียญรุ่นแรกแต่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเพราะเป็นคน ละพิมพ์ อีกทั้งยังระบุไว้ในเหรียญด้านหน้าว่า “ รุ่นสร้างศาลา ” สร้างในสมัยพระอาจารย์ลื่นเป็นเจ้าอาวาสปลายปี 2538 ไม่ทันหลวงพ่อ ขอย้ำไม่ทันหลวงพ่อครับ ตอนสร้างเหรียญนี้ผู้เขียนยังรับราชการอยู่ที่คอนสาร
เครื่องรางของขลัง
หลวงพ่อได้สร้างเอาไว้มากมายเช่นตระกรุด ของทนสิทธิ์ต่างๆตามธรรมชาติเช่นงาแกะ เขากวางหด เขี้ยวหมูตัน ที่ชาวบ้านหามาให้ท่านปลุกเสกเนื่องจากคอนสารนั้นเป็นดินแดนป่าเขาลำเนาไพร ไกลปืนเที่ยงผู้คนหวังพึ่งพุทธคุณจากวัตถุมงคลเพื่อใช้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต และที่เด็ดสุดคือ คำหมาก หรือชานหมาก ของท่านใครมีไว้ ต่างหวงแหนยิ่งนัก เก็บไว้บูชาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งทีเดียว
เรื่องเล่าด้วยศรัทธาในตัวหลวงพ่อ
เรื่องเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมาสมัยที่ยังทำงานในพื้นที่ คอนสารโปรดใช้วิจารณญานในการอ่าน หวังว่าหากเกิดศรัทธาคงประกอบกรรมดี คิดดี ทำดี ตามอย่างแนวทางของหลวงพ่อ หาได้มอมเมาเรื่องวัตถุมงคลอันนำไปสู่อวิชชาความไม่รู้แก่นแท้แห่งธรรมจนกลายเป็นหลง งม งาย จนลืมกฎแห่งกรรม “ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ไม่
ฝนตกไม่เปียก
ครั้งนั้นมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งของอำเภอได้รับคำสั่งโยกย้ายตามวิถีราชการ ชาวบ้าน ข้าราชการ
และหลวงพ่อก็ถูกนิมนต์ให้ร่วมขบวนไปส่งดัวย ระหว่างทางฝนตกหนัก รถติดหล่ม ทุกคนลงจากรถมาช่วยเข็น หลวงพ่อลงมายืนดูเพื่อเป็นกำลังใจ ท่ามกลางสายฝน สักพักพอรถขึ้นจากหล่มได้แล้ว ในขณะที่ทุกคนกลับไปขึ้นรถด้วยความเปียกปอนจากสายฝนถ้วนทั่วกันทุกคน มีสี่งหนึ่งที่ผิดปกติคือ ในขณะที่หลวงพ่อเดินผ่านหน้าทุกคนไปขึ้นรถนั้น จีวรของหลวงพ่อรวมทั้งตัวของหลวงพ่อเอง หาได้เปียกฝนแม้แต่น้อยไม่ แต่กระนั้นท่านยังได้สลัดจีวรของท่านเพื่อไม่ให้เป็นจุดสนใจพร้อมกับพูดอย่างยิ้มๆเป็นภาษาคอนสารว่า “ เปี๊ยกคือกันน๊ะ !”ทั้งที่ตัวท่านไม่เปียกเลยแม้แต่น้อย
ย่นระยะทาง
หลวงพ่อกับพระลูกวัดได้รับกิจนิมนต์ที่อำเภอภูเขียว หนทางในสมัยนั้นเป็นป่าเป็นดงใช้เวลาเดินทางเป็นวันต่างจากปัจจุบันประมาณ 30 นาทีโดยรถยนต์ ท่านได้ให้พระเณรเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ส่วนตัวท่านนั้นยังนั่งคุยอยู่กับญาติโยมที่วัด เมื่อคณะเดินทางไปถึงที่หมายก็พบว่า หลวงพ่อมาถึงและนั่งรออยู่ก่อนแล้ว จากเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความแปลกใจให้กับคณะเป็นยิ่งนัก เมื่อกลับมาถึงวัดบรรดาพระเณรได้เพียรถามหลวงพ่ออยู่หลายครั้งแต่หลวงพ่อก็ไม่ตอบว่ากระไร
ล่องหน
มีอยู่ครั้งหนึ่งมีการพิสูจน์อะไรซักอย่าง คล้ายๆจะเป็นการลองวิชา ท่านกับพระเกจิอีกอีก 1รูปอยู่ในโบสถ์แล้วปิดประตูหน้าต่างลงกลอนลั่นดารทั้งหมด ก่อนเข้าไปท่านได้สั่งให้คนเฝ้าประตูหน้าต่างอยู่นอกโบสถ์ทั้งสี่ด้าน พอเวลาผ่านซักไประยะหนึ่ง ปรากฏว่าเห็นท่านพร้อมเกจิรูปนั้นออกมาอยู่ด้านนอกโบสถ์แล้ว โดยทุกคนที่เฝ้าอยู่ก็ไม่รู้ว่าท่านออกมาได้อย่างไร ทางไหน เมื่อไหร่ ทั้งที่ประตู หน้าต่างของโบสถ์ก็ยังปิดสนิทอยู่ดังเดิม
สหธรรมิก
หลวงพ่อมีสหธรรมิกอยู่หลายรูปและที่สำคัญมีอยู่รูปหนึ่งคือ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เนื่องจากคอนสารติดกับเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ทางด้านอำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาวซึ่งไม่ไกลจากอำเภอชนแดนมากนัก ประสบการณ์จากวัตถุมงคล
หลายคนที่มีวัตถุมงคลของหลวงพ่อบูชาติดตัวต่างประสบพบเห็น มีประสบการณ์ต่างๆนานา มากมายไม่ว่าจะเป็นแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณงามความดี ศิลธรรม กรรมเวร กรรมหนักกรรมเบา ของแต่ละบุคคลประกอบกันไป บางรายก็ผ่อนหนักเป็นเบา เช่นหลายๆรายมีเหรียญรุ่น 1 ถูกยิงแล้วไม่เข้า ถูกฟันไม่เข้าบ้าง ห้อยเหรียญรุ่น 2 แล้วโดนฟ้าผ่าแล้วไม่เป็นไร บูชาพระของหลวงพ่อแล้ว ค้าขายดีมีกำไร บ้าง เรื่องราวเล่านี้ถูกถ่ายทอดปากต่อปากทำให้ของของท่านเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้คนจำนวนมากและโด่งดังเงียบๆมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งๆที่ผ่านมาเรื่องราวของท่านไม่ได้ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ใดๆเลยนอกจากหนังสืออนุสรณ์วันพระราชทานเพลิงศพเพียงเท่านั้นเอง
สำหรับที่มาของวิชาอาคมของหลวงพ่อนั้น คุณพ่อมหาบุญเกิด แพงจันทร์ ได้กรุณาให้ข้อสังเกตไว้ว่า นอกจาก ตำรับตำราจากสมุดข่อยโบราณ หนังสือใบลานเก่าของชาวคอนสารแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนวิชาจากสหธรรมิก และสายวิชาจากโคราชเมื่อครั้งเดินธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสีคิ้วเมื่อครั้งปี พ.ศ .2468- พ.ศ.2470 -
-
2. เหรียญรุ่นสอง เป็นเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงชุบนิเกิ้ลคล้ายๆกะไหล่เงิน ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ล้อมรอบครึ่งบนหลวงพ่อด้วยคำที่เขียนว่า “ วัดสวนหมาก อ. คอนสาร จ.ชัยภูมิ ” ด้านล่างใต้องค์หลวงพ่อนั่งเขียนคำว่า “พระครูโอภาสสารภูมิ” ถัดลงไปอีก 1 แถวใต้สุดเป็นรูปลายกนกหัวชนกัน 1 คู่ในแนวนอน ด้านหลัง เป็นอักษรขอมเขียนเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่างถอดความเป็นภาษาไทยว่า “ มะอะอุ อิสวาสุ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” เหรียญรุ่นสองนี้หลวงพ่อเป็นคนบอกให้สร้างเองเนื่องจากเหรียญรุ่นแรกหมดไม่พอแจกกัน วัตถุประสงค์เพื่อเอาไว้แจกอีกนั่นแหละ จำนวนที่สร้างนั้นผู้เขียนไม่มีข้อมูลอ้างอิง สำหรับปีที่สร้างราวๆปี พ.ศ. 2510
-
1.เหรียญรุ่นแรก เป็นรูปไข่ ผิววรรณะของเหรียญออกไปทางทองผสมมีกะไหล่ทองให้เห็นบ้างบางเหรียญ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อห่มคลุมครึ่งองค์กำลังเคี้ยวหมากซึ่งเป็นมูลเหตุให้บางคนเรียกท่านว่า “หลวงพ่อปากเบี้ยว” มีคำเขียนล้อมครึ่งบนหลวงพ่อไว้ว่า “ พระครูโอภาสสารภูมิเจ้าคณะอำเภอคอนสาร ” ด้านหลังเป็นอักษรขอมเขียนเรียงเป็น 5 แถว เรียงจากบนลงล่าง ถอดเป็นภาษาไทยใจความว่า “ อุ มะอะ อิสวา สุ นะโมพุท ธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ ” แถวที่ 6 เป็นภาษาไทย อ่านว่า “ วัดสวนหมาก” มูลเหตุในการสร้างเหรียญ เนื่องด้วยกุฏิไม้ที่ท่านอาศัยอยู่นทรุดโทรมมาก พระ 3 รูปที่เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อคือ 1.พระอาจารย์บิน 2.พระ อาจารย์ตื้อ 3.พระมหาบุญเกิด( พ่อมหาบุญเกิด แพงจันทร์ ผู้ให้ข้อมูล)จึงปรึกษากันว่าจะทำเหรียญ แล้วนำรูปถ่ายไปเป็นต้นแบบโดยไปว่าจ้างช่างที่กรุงเทพ แถวเสาชิงช้า จำนวนที่สร้างราว 5,000 เหรียญ ปี ที่สร้างประมาณพ.ศ. 2505 แล้วนำมาให้หลวงพ่อแจกญาติโยม หลวงพ่อก็แจกอย่างเดียวโดยไม่สนใจปัจจัยสิ่งตอบแทนใดๆเลยทำให้เหรียญหมดลง โดยไม่มีปัจจัยที่จะมาบูรณะกุฏิเลย เมื่อหลวงพ่อเจอกับครูบุญเกิด ( พ่อมหาบุญเกิดลาสิกขาบทแล้ว มารับราชการครู)อีกครั้งก็บอกว่า “ เหมิดล่ะ ! ’’ หมายถึงเหรียญหมดแล้ว แล้วหลวงพ่อก็หัวเราะด้วยความเมตตาซึ่งบ่งบอกถึงความไม่ยึดติดในวัตถุใดๆของท่าน
-
กระทู้อมตะ
-
-
รบกวนหน่อยครับ มีท่านใด จำภาพที่ผมได้ลงไว้ไหมครับ หน้า 1 # 8
ที่ผมได้นำเสนอไว้ ช่วยกรุณาด้วยครับ
ผมจำไม่ได้ว่าได้ลงตัวอย่างเหรียญอะไรไว้
เนื่องจากทางเว็บมีปัญหาจาก . com เป็น .org
จึงทำให้ไฟล์ภาพเก่าในหลายกระทู้หายไป รบกวนด้วยครับ -
เรื่องขอบเหรียญ อัพเดทให้อ่านกันเล่น ๆ ครับ หน้า 2
ตามหัวข้อ.....3 ขอบ เลื่อย กระบอก ปั้มตัดยุคปัจจุบัน -
-
เหรียญนี้ ขอบแบบนี้ ผมเรียก ขอบกระบอก
ดั่งปรากฏตามสายตาที่เห็น จะมีริ้วเส้นบาง ๆเท่านั้น
นอกนั้นเรียบเนียนเหมือนขอบเหรียญขอกองกษาปณ์
แต่ถ้าบอกว่าสร้าง ปี 2485 เหรียญนี้เก็บรักษาดีมาก
---------
เรามาศึกษาพร้อมกันสำหรับเหรียญหลวงพ่อจงเหรียญนีง
ซึ่งเป็นสมบัติของคุณjaturong แน่นอนต้องรัก
แต่ว่าถ้าเราไม่ทราบประวัติการสร้างเหรียญเลย
ว่าเหรียญนี้สร้างเอาไว้ในลักษณะใด
ข้อแรกเป็นธรรมดาสามัญคือ ดูตำหนิก่อน ซึ่งเป็นธรรมดา
ใช่ไหมครับ แล้วคุณjaturong เคยเปรียญกับเหรียญที่อยู่
ในหนังสือแล้ว เหมือนไหมครับ
ติ้งต่าง.. เมื่อเทียบแล้วเหมือนกันทุกอย่างทั้งหน้าและหลัง
เราก็ต้องดูความเป็นธรรม ต้องให้ความเป็นธรรมก่อน+ชาติ
ข้อนี้ศึกษากันนานหน่อย เพราะต้องเข้าลักษณะกับอายุการสร้าง
ยกเว้นว่า เก็บดี ลักษณะก็จะงามหน่อย เก็บไม่ดี ลักษณะที่ดีก็ไม่อยู่ให้เราเห็น
เหรียญนี้ ปี 2485 ถ้าเป็นของจริงถือว่าเก็บดีมาก ๆ
แต่ในทางกลับกัน ถ้าถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อเรียนแบบ ข้ออ้างว่าเก็บดี
ก็เป็นโมฆะ ถูกต้องหรือไม่ครับ
-
ขอบคุณภาพจากเว็บต่าง ๆ
เหรียญเสมา พิมพ์หน้าเล็ก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ปี 2485
ของคุณjaturong
เทียบตำหนิ + ธรรม + ชาติ
ธรรมชาติที่ว่า ต้องมี ตำหนิเป็นธรรมชาติ ของความเป็นเหรียญปั้มเก่าไหม
ธรรมชาติที่ว่า ต้องมี เนื้อพระเป็นธรรมชาติ ของความเป็นเนื้อทองแดงเก่าไหม
ตัวอย่างจากเว็บพระ และเว็บอื่น
http://www.web-pra.com/upload/amulet/15324-78f6.jpg
http://www.web-pra.com/upload/amulet/15325-f58f.jpg
http://www.web-pra.com/upload/amulet/21994-06b0.jpg
http://www.web-pra.com/upload/amulet/21995-88e2.jpg web pra
http://img-95.uamulet.com/uauctions/AU300/2012/3/21/6346791447881100001.jpg
http://img-95.uamulet.com/uauctions/AU300/2012/3/21/6346791447887300002.jpg
<img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-out;" src="http://palungjit.org/attachment.php?attachmentid=3145446&stc=1&d=1399252066" width="625" height="718">ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เราก็ได้รับการบอกเล่าการสร้าง จุดตำหนิ แค่พอสังเขป
ก็ขอขอบคุณจากเว็บเพื่อนบ้าน....คุณjaturong กระจ่างแจ้งหรือยัง
ตอบแทนคงยังไม่กระจ่าง -
เสนอ พิมพ์หน้าใหญ่ก่อน หลัง พ.ศ. 2485 ตรง
เหรียญหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พิมพ์หน้าใหญ่ เนื้อทองแดง ปี 2485 อยุธยา
ด้านหลังมีสองพิมพ์คือพิมพ์ พ.ศ.โค้งและ พิมพ์ พ.ศ.ตรง เป็นเหรียญได้รับความนิยมสูง
จึงมีของปลอมออกมามากมาย แต่ยังขาดความคมชัดแบบ ๆ ปี 2485 (เก่า)
ถ้าคมชัดก็คมชัดกว่า แต่แบบแบบ ปีปัจจุบัน หรือเรียกอีกในหนึ่งว่าเก๊ครับ
ส่วนขอบทุกท่านคงจำกันได้ถ้าได้อ่านตัวอย่าง ของเรื่อง ขอบเลื่อย ขอบกระบอก แต่ต้น
เพราะถือว่าเป็นตัวเองของเรื่องการยกตัวอย่างเลยทีเดียว เรามาพบกับเหรียญที่ว่าจะดีกว่า
ข้างล่างนี้เลยครับ หน้าและหลัง ส่วนขอบเก็บเอาไว้ก่อน....
ขอบคุณเจ้าของภาพตัวอย่างครับ เพื่อเป็นวิทยาทาน...
<img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-out;" src="http://palungjit.org/attachment.php?attachmentid=3145618&stc=1&d=1399262542" width="1200" height="900">ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ตามติดด้วยเหรียญหลวงพ่อจง หน้าใหญ่ 2485 หลัง พ.ศ.โค้ง
ติดตามด้วยเหรียญหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่ 2485
ด้านหลังเป็น พ.ศ. โค้ง ขอบคุณภาพจากเว็บต่าง ๆ เพื่อเป็นวิทยาทาน
เขาหาเหรียญกันเก่งจัง พิมพ์ดีเนื้อดีไฟล์ที่แนบมา:
-
-
คงไม่ต้องบอกนะครับ
ว่าเหรียญหลวงพ่อจง พิมพ์หน้าใหญ่ เนื้อทองแดง
วัดหน้าต่างนอก ที่ถูกสร้างขึ้นในปี 2485 เป็นขอบอะไร
เนื่องด้วยเป็นปี แห่ง สงคราม อินโดจีนคราบเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามอินโดจีน 2483-2484 ต่อด้วยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2485
เหรียญหลวงพ่อจงสร้างแล้วไม่พอแจก จึงเกิด
การสร้างเหรียญหลวงพ่อจงหน้าเล็กขึ้นมาเพื่อแจกต่อ..
แล้วพิมพ์หน้าเล็กเป็นขอบอะไร ขอบกระบอกหรือไม่
อ้างอิง... จากหนังสือ บอย ท่าพระจันทร์ มีที่เดียว ที่ขอบครบ
<img style="-webkit-user-select: none; cursor: -webkit-zoom-out;" src="http://palungjit.org/attachment.php?attachmentid=3145673&stc=1&d=1399265178" width="1250" height="1113">ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
คุณjaturong คิดอย่างไรครับ ทราบคำตอบหรือยัง
แต่ก็ยังไม่ตรงประเด็นของคูณนะครับ ของคุณเป็นพิมพ์หน้าเล็กนี่ -
-
ขอทราบความคิดเห็น หน่อยครับ -
หน้า 8 ของ 10