ความเพลิดเพลิน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 1 กันยายน 2010.

  1. รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    คำว่า ผลกับอานิสงส์ ในบางแห่ง มีความหมายอย่างเดียวกัน

    แต่ในบางแห่ง คำว่าอานิสงส์ มีความหมายละเอียดกล่าว เช่น คำที่ว่า ทานบาง

    ประเภท ผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก ทานบางประเภทมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

    อานิสงส์มีความหมายยิ่งกว่าผล(โลกียะ)

    ศีลมีหลายนัย เช่น เจตนาเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล การสำรวม
    ระวังก็เป็นศีล ความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจก็
    เป็นศีล ขณะที่สติปัฏฐานเกิดเป็นอินทริยสังวรศีล และเมื่อเป็นมรรคจิต
    มรรคทั้งแปดองค์เกิดขึ้นพร้อมกัน ทำกิจประหารกิเลส มีพระนิพพานเป็น
    อารมณ์ ขณะนั้นก็เป็นโลกุตตรศีล ฯลฯ
    สิเลนะ นิพพุติง ยันติ = ศีลเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน
    ศีลในที่นี้ต้องเป็นอธิศีล ศีลในองค์มรรค โลกุตตรศีล ไม่ใช่ศีลทั่วไปครับ

    เวลาแต่ละวันอย่าปล่อยให้ล่วงไปเปล่า ได้อะไรบ้างก็ยังดี

    ผู้ใดพูดไม่เป็นธรรมไม่ใช่คนดี


    ถ้ามีโลภะมากๆ ความทุกข์ก็ต้องมาก
    เพราะฉะนั้นทางเดียวที่ความทุกข์จะน้อยลง
    ก็คือว่ามีความติดข้อง มีความผูกพัน ลดน้อยลงด้วย

    ขณะใดก็ตามที่ปรมัตถธรรมไม่เป็นอารมณ์ ขณะนั้นคิดนึกเรื่องบัญญัติแล้ว
    เป็นสี่งซึ่งไม่มีจริง ในสี่งซึ่งปรมัตถธรรมก็ได้ดับไปแล้ว หมดไปแล้ว
    แต่อัตตสัญญา จำผิด จำเป็นเรื่องเป็นราวต่างๆไว้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>กฏัตตากรรม หรือ กฏัตตาวาปนกรรม

    กัตตตา( ความกระทำแล้ว ) + กัมมะ( การกระทำ คือ เจตนาเจตสิก, ความตั้งใจ, ความ

    จงใจ )

    กรรมที่สักว่ากระทำแล้ว หมายถึง กรรมเล็กน้อยที่ไม่ใช่ครุกรรม ไม่ใช่อาสันนกรรม

    และไม่ใช่อาจิณณกรรม เพียงสักว่ากระทำโดยที่เจตนาไม่มีกำลังมาก ทางฝ่ายกุศล

    เช่น ไม่เต็มใจที่จะให้เงินแก่ผู้ยากไร้ที่กำลังรบเร้าขออยู่ แต่ก็เสียไม่ได้ที่จะต้องให้

    กุศลเจตนาที่ให้มีเพียงเล็กน้อย เป็นกฏัตตากรรม ( กฏัตตาวาปณกรรม ) ทางฝ่าย

    อกุศล เช่น ไม่ต้องการที่จะฆ่ามด ซึ่งเกาะอยู่ที่ถ้วยชามที่กำลังจะล้าง แต่ด้วยความ

    เกียจคร้านที่จะต้องจับมดออกทีละตัว จึงเทน้ำหรือฉีดน้ำเพื่อไล่มด โดยที่รู้ว่ามดนั้น

    อาจจะตายได้ ถ้ามดตาย อกุศลกรรมนี้เป็นกฏัตตากรรม ซึ่งแม้จะเล็กน้อยก็ให้ผลนำ

    ปฏิสนธิได้ ฉะนั้น สภาพธรรมของกฏัตตากรรม หรือกฏัตตาวาปนกรรม จึงได้แก่

    เจตนาเจตสิกที่เกิดกับมหากุศลจิต ๘ ดวง และอกุศลจิต ๑๒ ดวง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 121



    ก็ในสูตรนี้ คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีอาทิว่า ทิฏเฐ วาธมฺเม

    เพื่อไม่ให้ฟั่นเฟือนในคำนั้น ในที่นี้ ควรกล่าวจำแนกกรรม (ออกไป).

    อธิบายว่า โดยปริยายแห่งพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกกรรม

    ไว้ ๑๑ อย่าง. คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อุปปัชชเวทนียกรรม ๑

    อปรปริยายเวทนียกรรม ๑ ครุกกรรม ๑ พหุลกรรม ๑ ยทาสันนกรรม ๑

    กฏัตตวาปนกรรม ๑ ชนกกรรม ๑ อุปัตถัมภกกรรม ๑ อุปปีฬก-

    กรรม ๑ อุปฆาตกกรรม ๑. ฯลฯ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=600><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=8 width=580 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 129
    อธิบายกฏัตตาวาปนกรรม
    ส่วนกรรมนอกเหนือจากกรรม ๓ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ทำไปโดยไม่รู้

    ชื่อว่า กฏัตตาวาปนกรรม. กฏัตตาวาปนกรรมนั้น อำนวยวิบากได้ใน

    กาลบางครั้ง เพราะไม่มีกรรม ๓ อย่างเหล่านั้น เหมือนท่อนไม้ ที่

    คนบ้าขว้างไป จะตกไปในที่ ๆ ไม่มีจุดหมายฉะนั้น.

    ๑. ปาฐะว่า ขิตฺตํ กณฺฑํ ฉบับพม่าเป็น ขิตตทณฺฑํ แปลตามฉบับพม่า.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>กฏัตตาวาปนกรรม ให้ผลทั้งปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล คือ ให้ผลนำเกิดในภูมิ

    ต่างๆ ตามสมควรแก่กรรม เช่น ถ้าเป็นฝ่ายกุศลให้ผลเกิดในสุคติภูมิ ถ้าเป็นกรรม

    ฝ่ายอกุศลนำเกิดในอบายภูมิ ส่วนในปวัตติกาล ให้ผลทางตา ทางหู ทางจมูก

    ทางลิ้น ทางกาย ตามควรแก่กรรม เช่น การเห็นสิ่งที่ดี การได้ยินเสียงที่ดี เป็นต้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE> กฏัตตาวาปนกรรม เป็นกรรมที่สักว่ากระทำ เป็นกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นทั้งฝ่าย

    กุศลและฝ่ายอกุศล
    กฏัตตาวาปนกรรมนั้น จะให้ผลได้ก็ต่อเมื่อไม่มีครุกรรม (กรรม

    หนัก) พหุลกรรมหรืออาจิณณกรรม (กรรมที่มีกำลัง หรือ กระทำบ่อย ๆ เสพจนคุ้น)

    และ อาสันนกรรม (กรรมที่กระทำเมื่อใกล้ตาย) ดังนั้น เมื่อไม่มีกรรม ๓ อย่างนี้แล้ว

    กฏัตตาวาปนกรรม ก็สามารถที่จะให้ผลได้
    ท่านอุปมาไว้เหมือนกับเหมือนท่อนไม้

    ที่คนบ้าขว้างไป จะตกไปในที่ ๆ ไม่มีจุดหมาย
    ครับ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ตามเนื้อเรื่องพระพุทธองค์ทรงแสดงว่าเป็นผลของอดีตกรรม
    การกระทำนั้นต้องเป็นกรรม จึงมีผลของกรรม ตามพยัญชนะที่ว่า..
    ... จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอกออก ...
    ขอเชิญอ่านรายละเอียดจากอรรถกถา

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

    การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ชื่อว่า อติสาระ โรคบิด. ได้ยินว่า

    ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม

    พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำ

    จึงปรุงยาแล้วเยียวยา อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตร

    เศรษฐีนั้น จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอก

    ออก เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระ-

    โพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้ว ๆ ใน

    อัตภาพหลังสุดแม้นี้ ในปรินิพพานสมัย จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระ-

    โลหิต ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย พร้อม

    กับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้. กำลัง

    ช้างแสนโกฏิเชือก ได้ถึงความสิ้นไป. ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระผู้มี-

    พระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา ประ-

    ทับนั่งในที่หลายแห่ง ระหายน้ำ ทรงดื่มน้ำ ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วย

    ความลำบากอย่างมหันต์ แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง.

    แม้พระผู้เป็นเจ้าของไตรโลกเห็นปานนี้ กรรมเก่าก็ไม่ละเว้น. ด้วยเหตุ

    นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

    เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี ด้วย

    วิบากของกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>เอาบุญมาฝากวันนี้ได้ถวายสังฆทาน
    กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติธรรม ถวายข้าวพระพุทธรูป ศึกษาธรรม
    ให้อาหารสัตว์เป็นทาน
    ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค
    ได้ร่วมบุญหล่อพระประดับด้วยเพชรต่างๆกับชมรรักษ์พระธาตุ
    ฟังธรรมะเรื่องกฏแห่งกรรมเป็นประจำ
    และทำบุญที่พระธาตุเจดีย์
    และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


    งานบุญแรกร่วมกันถวายพระพุทธรูปแก้วคริสตัลตัน ๆ องค์สุดท้าย
    --------------------------------------------------------------------------------
    ร่วมบุญได้ที่บัญชี
    ธ. ไทยพาณิชย์ สาขาเทสโก้ โลตัส วังหิน
    ชื่อบัญชี " นายสมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล "
    เลขบัญชี 401-868290-5

    งานบุญต่อไปเชิญร่วมงานเททองหล่อพระพุทธรูปปรางค์อู่ทอง ปรางค์เชียงแสน
    ปรางค์สุโขทัย และปรางค์ประทานพร เนื้อทอง เนื้อเงิน เนื้อนาก
    เนื้อนวะ มงกุฏเจดีย์นครปฐม (จำลอง) และฉัตรเจดีย์นครพนม (จำลอง)"
    ณ วัดราษฎร์ประคองธรรม ต.เสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี
    โทร. ๐๒-๕๙๕-๑๔๕๖, ๐๘๑-๘๔๓-๑๙๙๔
    ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓


    </TD></TR><TR><TD bgColor=#fefbe7> </TD><TD width=1 bgColor=#999999></TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. คนวิเชียร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +1,298
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ ครับ
    ศีลมีหลายนัย เช่น เจตนาเป็นศีล การไม่ก้าวล่วงเป็นศีล การสำรวมระวังก็เป็นศีล ความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจก็เป็นศีล

    ฝ่ายอกุศลนำเกิดในอบายภูมิ ส่วนในปวัตติกาล ให้ผลทางตา ทางหู ทางจมูก
    ทางลิ้น ทางกาย ตามควรแก่กรรม เช่น การเห็นสิ่งที่ดี การได้ยินเสียงที่ดี

    หมั่นภาวนา เจริญสติ ประกอบแต่กรรมดี ปิดอบาย สาธุ
     

แชร์หน้านี้