ตำนานพญานาค:เมืองล่มจมบาดาลที่หนองหาน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย กัณฑกะ, 20 เมษายน 2012.

  1. กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427





    ตำนานรักพญานาค:เมืองล่มจมบาดาลที่หนองหาน

    ติดตาม ธรรมะในมือคุณ ได้ที่
    Dhamma Kuntraka (@Dhamma_kuntraka) on Twitter


    มีหมู่บ้านที่อยู่ติดริมหนองหานและอยู่ในอาณาบริเวณรวมแล้วประมาณ ๖๐ หมู่บ้านจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าหนองหานมีความกว้างใหญ่เพียงใดและมีตำนานเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคที่มีชื่อเสียงว่า ตำนานผาแดงนางไอ่ ซึ่งคนในชุมชนยังมีความเชื่อในตำนานเรื่องนี้สืบต่อกันมายาวนาน

    ตำนานโบราณเกี่ยวกับหนองหานที่เล่าขานกันมาตั้งแต่โบราณ กล่าวไว้ว่า นางไอ่เป็นธิดาของพระราชาเมืองขอม ซึ่งมีสิริโฉมงดงาม เป็นที่หมายปองของเจ้าชายเมืองต่าง ๆ มีอยู่ปีหนึ่ง เมืองขอมประสบปัญหาฝนแล้ง เจ้าเมืองขอมจัดการแข่งขันบั้งไฟ และมีการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายขอฝน และหากบั้งไฟของใครขึ้นสูงที่สุด จะยอมยกธิดา คือนางไอ่คำ ให้เป็นภรรยา มีเจ้าชายจากนครต่าง ๆ เข้าแข่งขัน รวมทั้งท้าวผาแดงแห่งเมืองผาโพง
    ฝ่ายท้าวภังคี โอรสของพญานาค ในนครบาลดาล ทราบข่าว ก็ยกพลพญานาคปลอมตัวเป็นคนเข้ามาเข้าแข่งขันด้วย บั้งไฟของพญานาคภังคีไม่ชนะ

    แต่เมื่อภังคีได้ยลโฉมนางไอ่คำก็ไม่สามารถจะถอนใจรักได้ จึงปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาในสวนดอกไม้ของนางไอ่คำ ด้วยเคราะห์แต่ชาติปางก่อน นางไอ่คำเกิดคิดวิปริต ต้องการบริโภคเนื้อกระรอกเผือก จึงสั่งให้นายพรานตามล่ามาปรุงอาหาร และนายพรานก็ยิงกระรอกเผือกได้ ก่อนตายได้อธิษฐานว่า ใครก็ตามที่ได้บริโภคเนื้อของตนจงจมน้ำตายในบาดาล นางไอ่คำได้นำเนื้อกระรอกมาปรุงอาหาร และแจกจ่ายเนื้อกระรอกไปทั้งเมือง ในคืนนั้นเองเกิดพายุฝนแผ่นดินไหว น้ำท่วมพัดพาผู้คนลงสู่หนองหานและท้องบาดาล ท้าวนาคราชบิดาของภังคี โกรธที่โอรสถูกฆ่า จึงพานาคจากเมืองบาดาลมาอาละวาดถล่มเมืองขอมจนสิ้น ส่วนท้าวผาแดง เมื่อเห็นเมืองขอมถล่มได้พานางไอ่คำขึ้นม้าควบหนีไปทางทิศเหนือ หนีน้ำและบรรดาพญานาคที่ตามพ่นไฟไล่หลังมา วิญญาณแค้นของภังคีได้วนเวียนมาทวงความแค้นกับผาแดงนางไอ่ตลอดมาทุกชาติ ๆ

    บริเวณที่พวกนาคถล่มจมพื้นบาดาล ได้กลายเป็นหนองหาน ณ ปัจจุบัน อยู่ในจังหวัดอุดรธานี
    เป็นต้นลำน้ำปาว มีเกาะต่าง ๆ ที่เหลือจากการล่ม คือ เกาะเกษ ดอนสวน ดอนเตา ดอนดินจี่ ดอนแอ่น และดอนหลวง มีสถานที่เป็นทางผ่านของผาแดง นางไอ่ เช่น ห้วยพ่นไฟ ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องห้วยกองสี ฯลฯ
    ประชาชนรอบ ๆ หนองหาน ได้สร้างเจดีย์ วัด และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณ
    ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมจมน้ำตายในครั้งนี้ ได้แก่ พระธาตุเชียงแก้ว พระธาตุดอยหลวง พระธาตุบ้านเดียมพระธาตุจอมศรี พระมหาธาตุเจดีย์(พระธาตุดอนแก้ว) ศาลท้าวผาแดง เป็นต้น


    ศูนย์เผยแผ่ธรรมะออนไลน์กัณฑกะ
    www.facebook.com/ศูนย์เผยแผ่ธรรมะออนไลน์กัณฑกะ
    witsanutripprasert - YouTube
    Dhamma Kuntraka (@Dhamma_kuntraka) on Twitter
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ลมสุริยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    365
    ค่าพลัง:
    +215
    มันเป็นความเชื่อท้องถิ่น
    สงสัยนักก็ลองไปทำดูซิ
     
  3. bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ลองดูสิ ผมก็อยากรู้ แต่ไม่กล้า แต่คิดว่าคุณเจ๋งพอ ยังไงถ่ายรูปมาให้เราดูด้วย
     
  4. น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ดิฉันว่า ที่เล่าไม่ได้ คงไม่อยากให้เราไปพูดในทำนองไม่เชื่อ ลบหลู่ เพราะมีคนเจอเหตุการณ์ แล้ว ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก ปรารถนาดี ว่างั้นเถอะ
    แต่ยังมีบางคน ชอบลองของ นะ

    โดยส่วนตัวดิฉันเคยไปหนองหารนี้เหมือนกัน ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเค้าห้ามกล่าวถึงตำนานในอดีต ก็พูดคุยกันไปเรื่องผาแดง-นางไอ่-พญานาค-พังคี-พังพอน ก็เห็นเหตุการณ์ปกติดี นะคะ

    ส่วนที่เกิดเหตุการณ์ไม่ดี อันนี้ไม่รู้เหมือนกัน ยังไม่เคยเจอ .. (*)(*)(*)
     
  5. คุณอัด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2011
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +31
    [SIZE=+3]หนองหารสกลนคร กับหนองหานอุดร ทำไมเรื่องเหมือนกันจัง [/SIZE]​
     
  6. ล้างใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    7,268
    ค่าพลัง:
    +24,819
    สวยจริงๆ:cool:
     
  7. โคราชา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +66
    สวยนะ...อยากไปเที่ยวจัง...
     
  8. nuanhadyai@hotmail เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    8,545
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +25,204


    โมทนาบุญค่ะที่นำ....เรื่องราวมาเล่าให้ฟัง
    *ที่เขาไม่ให้เล่า....คิดว่าเพราะเนื้อเรื่องที่อ่านเหมือนข้ามภพข้ามชาติ

    ชอบ 2 ภาพนี้ค่ะ....
     
  9. กัณฑกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    595
    ค่าพลัง:
    +1,427
    มีหมู่บ้านที่อยู่ติดริมหนองหานและอยู่ในอาณาบริเวณรวมแล้วประมาณ ๖๐ หมู่บ้าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • hot33.jpg
      ขนาดไฟล์:
      176.7 KB
      เปิดดู:
      268
  10. โสภณเจตสิก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +31
    ที่เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ก็มีตำนานเมืองโยนกนาคนคร และที่ำลำพูน มีหนองสะเลียม เมืองล่มเพราะคนไปจับปลาไหลเผือกมากิน ยกเว้นแม่ม่ายชื่ออุ้ยเขียวไม่ได้กิน บ้านแม่ม่ายกลายเป็นเกาะเป็นดอนอยู่กลางหนองน้ำ
    ตำนานหนองสะเลียม ตู่ ดารณี - YouTube
     
  11. ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ที่เวียงหนองล่มอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายเป็นกรณีเรื่องภัยพิบัติแผ่นดินไหวและการผิดทำนองครองธรรมมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพญานาคด้วยเช่นกันครับ

    จาก Chiangrai focus.com

    เวียงหนองหล่ม ตั้งอยู่ที่เขตติดต่อระหว่างตำบลโยนก อำเภอเชียงแสนกับตำบลจันจว้าอำเภอแม่จัน จากหลักฐานที่ได้จากการสำรวจสันนิษฐานว่าอยู่ระหว่างยุคหินใหม่ ถึงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ ๑๙ตำนานและพงศาวดารหลายเล่มกล่าวตรงกันว่า เจ้าชายสิงหนวัติ พาผู้คนมาหาที่ตั้งเมืองพอมาถึงแม่น้ำโขง ก็พบพญานาคจำแลงเป็นชายมาบอกสถานที่สร้างเมืองจึงตั้งเมืองโยนกนาคพันสิงหนวัติ โดยเอาชื่อองค์ผู้สร้างเมืองรวมกับชื่อพญานาคหรือโยนกนครหลวง

    มีกษัตริย์ปกครองสืบจนถึงสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะผู้คนจับปลาไหลเผือกได้ที่แม่น้ำกก จึงนำมาแบ่งกันกินทั่วเมืองเว้นแต่หญิงม่ายนางหนึ่งไม่มีลูกหลานไม่มีใครให้กิน ตกกลางคืนเกิดแผ่นดินไหวเมืองถล่มลงเหลือแต่บริเวณบ้านของหญิงม่ายจึงเรียกน้ำนั้นว่าเกาะแม่ม่ายและเรียกเมืองนั้นว่าเวียงหนองล่ม จากโครงการอนุรักษ์เมืองโบราณและประวัติศาสตร์เชียงแสนได้มีการสำรวจพื้นที่ของเวียงหนองล่มหลายครั้ง

    <O:p</O:p
    ภาพ 1 ภาพเวียงหนองล่มจากมุมสูง

    ภาพ 2 ภาพที่ตั้งเวียงหนองล่มและพื้นที่โดยรอบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. a5g1aeka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    728
    ค่าพลัง:
    +1,578
    :cool:ภาพพยานาคงามแต้ๆเหมือนมีชีวิต(k) น่าไปลองของดูหากมีโอกาสอิอิ...:cool:({)(k):boo::cool:
     
  13. ชัยธนันท์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    859
    ค่าพลัง:
    +1,488
    เทียบกับสมัยนี้ก็เริ่มแล้ว หลุมยุบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    ดีจริง เพิ่งทราบค่ะ ว่าทางเหนือก็มีตำนานคล้ายๆ กัน
     
  15. น้ำใสไหลเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +4,452
    น้านๆๆๆ เจอแระ คนชอบลองของ อิอิ (one-eye)
     
  16. แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    อ้าวสรุปมีกี่หนองหารเนี่ย งงเยย({)
     
  17. Pukku เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2012
    โพสต์:
    327
    ค่าพลัง:
    +899
    สองค่ะ แต่ก็สรุปไม่ได้ว่าอันไหนจริงหรือเท็จเพราะมันนานมาแล้วแต่ที่สกลนครมีภูน้ำลอดซึ่งเชื่อมต่อกับสระพังทองในอดีตมีชาวบ้านไปตักน้ำแล้วทำครุตกลงไปในบ่อน้ำนี้แล้วครุดันไปโผล่ที่สระพังทองเฉยเลย
    และหนองน้ำในสระพังทองก็มีหนองจอกซึ่งมีที่มาจากตำนานในขณะที่ผาแดงและนางไอ่หลบหนีการไล่ล่าพญานาคก็ได้ทำตอกกินน้ำหล่นลงไปเลยกลายเป็นที่มาของสระแห่งนี้
    ถ้าจะให้ดีก็อยากให้มีการพิสูจน์จริงๆลองส่งนักประดาน้ำดำลงดูทั้งสองที่เลยอันไหนของจริงก็น่าจะเหลือหลักฐานอยู่บ้างนะคะ
     
  18. ลำวังชู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +35
    อ่า..???คือสงสัยครับ.??..ที่ฟังประวัติที่เล่ามาแล้ว ผมเห็นแต่พยานาคที่ถูกฆ่าเอาเนื้อมากิน(น่าเห็นใจ) แล้วมาแก้แค้น ... ทำไมผมรู้สึกว่า ฝ่ายทาง ท้าว ผาแดง กับ นางไอ่ อยู่ ฝั่งพระเอก (ถ้าพูดถึงละคร เราจะรู้สึกว่าเราคิดแบบนั้น)ส่วน พระยานาค เป็นตัวโกง.?
     
  19. ianattan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +11
    ผาแดงนางไอ่เป็นตำนานของหนองหานอุดรธานีเข้าใจกันถูกแล้วครับ
    แต่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดและสับสน
    สกลนครจะเกี่ยวกับพญาขอมและเหล่าพญานาคเช่นกันแต่เป็นรุ่นพ่อของท้าวผาแดงและพี่ชายคือพระยาสุวรรณพิงคาระและมเหสีพระนางนารายเจงเวง
    ยาวครับไว้มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟัง มีเป็นประวัติเมืองสกลนครในแผ่นจาลึกเก็บไว้ที่ราชภัฏสกลนครอยู่ครับ แค่คล้ายกันแต่ไม่เหมือนกันครับ
     
  20. ianattan สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +11
    ลำน้ำก่ำ หรือ ลำน้ำกรรม (ตำนานฟานด่อน-หนองหานสกลนคร)

    ..............



    ลำน้ำก่ำ หรือในตำนานอุรังคนิทานเรียกว่าลำน้ำกรรม เป็นลำน้ำขนาดเล็กที่ไหลจากหนองหานสกลนคร ไปออกแม่น้ำโขงที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จุดเริ่มต้นของน้ำก่ำก็อยู่แถวบ้านท่าวัด อำเภอเมืองสกลนคร ซึ่งเป็นชุมชนเก่าสมัยทวาราวดีก่อนที่อาณาจักรขอมจะเรืองอำนาจเสียอีก แม้มาถึงยุคขอมชุมชนบ้านท่าวัดก็ยังสามารถรักษาความเป็นชุมชนเอาไว้ และมีการปรับเปลี่ยนแนวความเชื่อแบบพุทธศาสนามาเป็นความเชื่อตามแบบขอม (อาจเป็นมูลเหตุที่โบราณสถาน-วัตถุโบราณ สมัยทวาราวดีสูญหายไปจำนวนมาก ทั้งๆที่จุดนี้น่าจะเป็นชุมชนที่มีความสำคัญและมีความเจริญพอสมควร)

    มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งเดียวในโลกนี้ที่เป็นผู้มีจินตนาการ และมนุษย์มีระบบความเชื่อที่ผูกกับศาสนา ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดการผูกโยงเรื่องราวเกิดเป็นตำนาน นิทาน เพื่อนำมาเล่าสู่กันฟัง ทั้งเพื่อความสนุกสนานและเพื่อกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคมนั้นๆ

    ลำน้ำก่ำ หรือ ลำน้ำกรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนานฟานด่อน หนึ่งในสองตำนาน(ผาแดง-นางไอ่)ที่เกิดมาควบกับเมืองหนองหานหลวง





    ความในตำนาน..
    ขุนขอม ราชบุตรเจ้าเมืองอินทปัฐนคร ได้มาสร้างเมืองหนองหานหลวงขึ้นบริเวณท่านางอาบ(บ้านน้ำพุ-บ้านท่าศาลา) ริมหนองหาน ขุนขอมมีบุตรคนหนึ่งชื่อสุรอุทก ในวันประสูติกุมารน้อยสุรอุทกมีอัศจารรย์บังเกิดน้ำพุขึ้นริมหนองหานใกล้ๆกับเมือง ขุนขอมจึงตั้งชื่อบริเวณนั้นว่า”ซ่งน้ำพุ” (ที่ตั้งบ้านน้ำพุ อ.โพนนาแก้ว) ต่อมาเจ้าสุรอุทกมีพระชนม์๑๕พรรษา ขุนขอมบิดาก็ถึงแก่กรรม

    พระยาสุรอุทกได้ขึ้นครองเมืองปกครองไพร่ฟ้าสืบมา พระองค์มีบุตร๒องค์ คือ เจ้าสุวรรณภิงคาร และ เจ้าคำแดง วันหนึ่งพระยาสุรอุทกก็เกณฑ์ไพ่พลเพื่อออกตรวจตราแนวเขตบ้านเมือง ครั้นเดินทางไปถึงปากน้ำมูนนที ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเมืองหนองหานหลวงกับเมืองอินทปัฐนคร เสนาอำมาตย์จึงเข้ารายงานว่า..”เส้นแบ่งเขตระหว่างเมืองหนองหานหลวง กับ เมืองอินทปัฐนคร ที่ยึดถือเอาลำน้ำมูนนที ไปจรดดงพระยาไฟ นั้น ขุนขอมซึ่งเป็นพระบิดาของพระองค์ได้ตกลงกับเจ้าเมืองอินทปัฐนคร โดยมอบหมายให้ “ธนมูนนาค” พญานาคผู้มิอิทธิฤทธิ์ให้ดูแลแนวเขตนี้ต่อไป



    ฝ่ายพระยาสุรอุทกได้ฟังก็ทรงพิโรธ หาว่า..ทำไมปู่กับบิดาถึงมอบให้สัตว์เดรัจฉานเยี่ยงธนมูนนาคเป็นผู้ดูแลบ้านเมืองเช่นนี้ ซึ่งเป็นการไม่บังควร เป็นการลบหลู่พระเกียรติยศ ว่าแล้วพระยาสุรอุทกก็ชักพระขันธ์ออกมาแสดงอิทธิฤทธิ์ไต่ขึ้นเหนือน้ำธนมูนนทีเพื่อเป็นการข่มขู่ธนมูนนาค
    ฝ่ายธนมูนนาค ก็ไม่พอใจเช่นกันที่ถูกลบหลู่เช่นนั้น ต่างฝ่ายจึงต่างแสดงอิทธิฤทธิ์ออกมาข่มกันแบบไม่มีใครยอมใคร

    จนเมื่อพระยาสุรอุทกเดินทางกลับเมืองหนองหานหลวง ธนมูนนาคก็ยังไม่หายเจ็บแค้น จึงเกณฑ์ไพร่พลนาคตามมา โดยสำแดงเดชให้ไพร่พลทั้งหลายกลายร่างเป็น “ฟานด่อน” สีขาวบริสุทธิ์สวยงามแก่ผู้พบเห็น ไพร่พลของธนมูนนาคได้เดินทางมาถึงบ้านโพธิ์สามต้น(ปัจจุบันคือ ต.โพธิไพศาล อ.เมืองสกลนคร) ชาวเมืองได้พบเห็นความอัศจรรย์ฟานด่อนจำนวนมาก ก็นำความกราบบังคมทูลพระยาสุรอุทกให้ทรงทราบ





    พระยาสุรอุทกเมื่อทรงทราบ ก็ไม่ได้เฉลียวใจในความอัศจรรย์นั้น สั่งให้นายพรานไปจับตัวมาถวาย ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตาย เมื่อนายพรานพร้อมพวกเดินทางไปถึงบ้านโพธิ์สามต้น ก็เห็นฝูงฟานด่อนแทะเล็มหญ้าอยู่ ครั้นจะเข้าไปจับฝูงฟานด่อนนั้นกลับเร้นกายหายไปราวกับอยู่ในความฝัน ยังคงเหลือแต่ฟานด่อนที่ชื่อธนมูนนาคตัวเดียวที่ยังคงแทะเล็มหญ้าอยู่โดยไม่แสดงท่าทีตกใจหนีไป แต่ก็ใช่ว่าจะจับได้โดยง่าย ธนมูนนาคหลอกล่อจนนายพรานเหนื่อยก็ยังจับไม่ได้ จนมาถึงบ้านหนองบัวสร้าง(บ้านหนองบัวสร้าง ต.โพธิไพศาล ตั้งอยู่ติดกับถนนสายนาหว้า-สกลนคร) นายพรานจึงตัดสินใจใช้ปืนอาบยาพิษยิงฟานด่อนตัวนั้น

    ฝ่ายธนมูนนาค เมื่อถูกยิงครั้นจะต่อสู้กับนายพรานซึ่งไม่มีฤทธิ์เดชอะไรก็กลัวจะเสื่อมเสียเกียรติยศ จึงสูบเอาวิญญาณของตนออกจากร่างฟานด่อน จากนั้นฟานด่อนก็ถึงแก่ความตาย

    เมื่อฟานด่อนตายแล้ว ธนมูนนาคก็ทำอิทธิฤทธิ์ให้ฟานด่อนตัวนั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนนายพรานไม่สามารถนำร่างฟานด่อนกลับไปเมืองหนองหานหลวงได้ จึงลากศพฟานด่อนตัวนั้นมาไว้ที่ริมหนองหานแล้วกราบบังคมทูลพระยาสุรอุทกให้ทรงทราบ





    ฝ่ายพระยาสุรอุทกก็สั่งให้แล่เอาเนื้อไปถวาย ที่เหลือก็แบ่งกันไป นายพรานและชาวบ้านแถวนั้นพากันแล่เนื้อฟานด่อนตัวนั้นถึง๓วัน๓คืนก็ยังไม่หมด ยิ่งแล่ก็ยิ่งมากขึ้นจนคนในเมืองหนองหานหลวงได้กินกันทุกคน พระยาสุรอุทกเมื่อได้เสวยเนื้อฟานด่อนตัวนั้นแล้วก็รู้สึกมีความสุขยิ่งนัก

    ฝ่ายธนมูนนาค ซึ่งยิ่งเพิ่มไฟแห่งความโกรธมากขึ้น ก็เตรียมไพร่พลนาคเข้าทำการขุดดินใต้เมืองหนองหานหลวง หวังให้ล่มเป็นหนองน้ำ การต่อสู้ระหว่างกองทัพพระยาสุรอุทก กับ ธนมูนนาค จบลงที่พระยาสุรอุทกถูกจับตัวได้ ธนมูนนาคใช้บ่วงบาศก์ที่เสกเวทย์มนต์พันธนาการพระยาสุรอุทกไว้ แล้วก็ชักลากพระยาสุรอุทกไปตามทุ่งนาป่าเขา วกไปวนมาหวังให้ได้รับความทุกขเวทนา ความลำบาก พอถึงแม่น้ำโขงพระยาสุรอุทกก็ขาดใจตาย ธนมูนนาคจึงส่งศพพระยาสุรอุทกไปยังเมืองอินทปัฐนครซึ่งเป็นเชื้อสายเดิม





    หนทางที่ธนมูนนาค ชักลากพระยาสุรอุทกไปยังแม่น้ำโขงนั้นได้กลายเป็นล่องลึกและกลายมาเป็นลำน้ำ ชาวบ้านจึงเรียกลำน้ำนี้ว่าลำน้ำกรรม(ลำน้ำก่ำ ในปัจจุบัน) เพราะธนมูนนาคทรมานพระยาสุรอุทกให้ได้รับกรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์สั่งให้คนลากร่างฟานด่อนมายังริมหนองหาน

    ส่วนหนทางที่นายพรานลากฟานด่อนมาถึงริมฝั่งหนองหาน ก็เกิดเป็นร่องลึกจนกลายมาเป็น”คลองน้ำลาก” ไหลจากตำบลโพธิไพศาลมาตกยังหนองหานในปัจจุบัน



    เมื่อสิ้นสมัยพระยาสุรอุทก พระยาสุวรรณภิงคารผู้เป็นโอรสองค์โตก็ครองเมืองแทน และอภิเษกสมรสกับพระนางนารายณ์เจงเวง ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์จากเมืองอินทปัฐนคร(เชื้อสายเดียวกัน) ส่วนพระยาคำแดงพระอนุชา เมืองหนองหานน้อยห้วงเวลานั้นเว้นว่างผู้ครองเมือง เสนาอำมาตย์จึงเสี่ยงทายหาเจ้าผู้ครองนคร ปรากกว่าราชรถเสี่ยงทายมาเกยที่วังของเจ้าคำแดง ณ เมืองหนองหานหลวง พระยาคำแดงจึงได้ไปครองเมืองหนองหานน้อยนับแต่นั้นมา.
     

แชร์หน้านี้