<TABLE style="WIDTH: 608px; HEIGHT: 157px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=608><TBODY><TR><TD>...เวลานี้พระนเรศวรมหาราชเกิดเป็นคนแล้ว และอยู่ในประเทศด้านทิศตะวันออกของประเทศไทย จึงถามว่าท่านบอกว่า พระนเรศวรมหาราชเป็นคนไทย หรือเป็นคนแขก หรือเป็นคนลาว หรือเป็นฝรั่ง ท่านบอกว่า เป็นคนไทยที่เกิดในเมืองฝรั่ง และในกาลต่อไปข้างหน้าวาระเข้ามาถึง พระนเรศวรมหาราชจะเข้ามาครองประเทศไทยในฐานะเป็น พระมหากษัตริย์....
...ทีนี้สำหรับ พระนเรศวรมหาราชเป็นนักรบ เป็นนิสัย เกิดชาติไหน ก็ต้องรบชาตินั้น ในเมื่อเกิดชาติตอนหลังขึ้นมา โอกาสที่จะรบอย่างนั้นมันไม่มี เพราะว่า มีแม่ทัพ มีนายกอง มีรัฐบาลควบคุมงานการบริหาร รัฐบาลควบคุม พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ก็ต้องวางแผนรบกับความยากจนของบรรดาประชาชนชาวไทย ถามท่านว่า อีกกี่ปี จะถึงวาระที่พระนเรศวรมหาราชมาครองประเทศไทย ท่านบอกว่า หากว่าท่านอยู่ไปไม่ตาย ไม่นานนักท่านก็มาครองประเทศไทยแน่ เวลาที่ถาม เป็นสมัยของรัชกาลที่ ๘
</TD></TR></TBODY></TABLE>
...ท่านอีกองค์หนึ่ง ท่านลิงเล็กก็บอกว่า เป็นความจริง เรื่องอย่างนี้ไม่น่าจะกวนก็คิดว่าอย่างน้อยที่สุด ท่านเจ้าของที่ คือ ภุมเทวดาท่านต้องรู้ ภุมเทวดาไม่ใช่ว่าจะมีขอบเขต และมีร่างกายเป็นทิพย์ มีใจเป็นทิพย์ มีอารมณ์เป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์ มีหูเป็นทิพย์ ทิพย์ทั้งหมด ถ้าหากว่าภุมเทวดาท่านบอกว่า ความรู้ท่านแคบไป เราเอาแค่ท่านรู้ หลังจากนั้นก็ถามรุกขเทวดา รุกขนางฟ้า ถ้ารุกขเทวดา รุกขานางฟ้า ท่านบอกเราแคบเกินไป เราก็ถามอากาสเทวดา ต่อไปดีไหม ทุกองค์ก็เห็นพร้อมใจกันบอก ดี
ทีนี้เราจะรู้อะไรก่อน เพื่อนก็บอกว่า เวลานี้เรามาอยู่ใกล้ดอนเจดีย์ ดอนเจดีย์เป็นสถานที่ไม่ทราบว่าประวัติศาสตร์เขาเขียนกันว่าอย่างไร จริง ๆ แล้วมีความเข้าใจว่า ฝังศพพระมหาอุปราช เขาว่าอย่างนั้น ทีนี้เราก็ไม่แน่ใจว่า คนเขียนเขาจะเขียนถูก หรือเขียนผิดหรือเราจะรู้ถูกรู้ผิด เราก็ไม่ทราบ เราจะถามใคร ทั้ง ๒ องค์ก็นิ่ง
เมื่อนิ่งแล้วก็เสียงดังคล้าย ๆ หินโยนตึ๊กข้างหลัง เหลียวไปดู เห็นชายหนุ่มคนหนึ่งแต่งตัวสวย เขาใช้ชุดทรงสีขาวนุ่งผ้าพื้น ใส่รองเท้าเชิงงอน ใส่เสื้อเรียบ ๆ มีเครื่องผูกหัวน่ะ ผูกผมนิดหน่อย เป็นผู้ชาย เดินมาแล้วก็ยกมือไหว้ถามว่า ท่านคุยกันเรื่องอะไรครับ ก็ถามว่าคุณมาจากไหน ท่านก็ตอบตรงไปตรงมาว่าผมเป็นภุมเทวดาที่นี่ครับ ท่านวิ (ลุงวิ) สั่งผมไว้ว่าท่านมีธุระอะไร ถ้าไม่เกินวิสัยของผม ให้ผมบอก ถ้าเกินวิสัยของผม ให้ถามรุกขเทวดาต่อ ถ้ารุกขเทวดาตอบไม่ได้ ถามอากาสเทวดาชั้นจาตุมหาราช ถ้าเกินวิสัยจากท่านนั้นก็ให้ถามตรงท่านวิเลย สำหรับท่านวิอะไร ๆ ก็รู้หมด
เลยถามว่า ท่านเป็นภุมเทวดาอยู่ที่นี่นานไหม ท่านงบอกว่า ถ้าจะนับอายุมนุษย์ก็ประมาณ ๓๐๐ ปีเศษแล้ว ก็ถามว่า ถ้านับอายุเทวดาจะเท่าไร
ท่านบอกว่าใช้ ๕๐ หารสิครับ ๕๐ ปีของมนุษย์เป็น ๑ วันของผม ๓๐๐ ปีนี่มันกี่วัน ๖ วันเท่านั้นเอง ก็ถาม ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีเวลาหลับเวลานอน ท่านบอก เทวดาไม่มีความจำเป็นต้องนอน เทวดาไม่มีความจำเป็นต้องหลับ คำว่า เหนื่อยของเทวดา ไม่มี เพราะเทวดาไม่มีขันธ์ ๕
เลยถามท่านว่า ถ้าอย่างนั้นที่ดอนเจดีย์นี่อยากจะทราบว่า เขาฝังศพพระมหาอุปราชใช่ไหม ท่านบอกว่า ไม่มีใครเขาเอาข้าศึกมาบูชาหรอกครับ (แหม..ท่านตอบน่ารัก) พระมหาอุปราชกษัตริย์ของพม่าเวลานั้นเป็นศัตรูกับคนไทย ยกทัพมาย่ำยี่ ไทยอาศัย พระนเรศวร กับพระเอกาทศรถ ท่านเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบุญญาธิการมาก จึงเข้าชนช้างกัน ในที่สุด ก็ฟันพระมหาอุปราชตาย และพระเอกาทศรถก็ฆ่านายทหารของเขาตายพร้อมกัน ทีนี้ ศพคนเลว ๆ แบบนี้ ไม่มีใครบูชา ก็เลยถามว่า ถ้าอย่างนั้นเขาฝังอะไรไว้ล่ะ ท่านบอก เขาฝังเครื่องสาตราวุธที่มีอยู่บนหลังช้างทั้งหมด ก็ถามว่า ช้างไม่วิ่งหนีหรือ ท่านตอบ ช้างมันวิ่งหนีไม่ได้เพราะควาญช้างก็ถูกฆ่าตายเช่นเดียวกัน จับช้างได้จึงเอากูบช้างลงมา อาวุธทั้งหมดในนั้นมีครบ ถอดเครื่องกษัตริย์วางไว้ แล้วก็นำมาขุดหลุมฝังที่ตรงนี้ แล้วทำเจดีย์ครอบ ก่อนที่จะฝัง เขาทำพิธีกรรมเหยียบย่ำกันอย่างหนัก เรียกว่า สาปให้พม่าฉิบหายขายตนไปเลย เมื่อถามท่านต่อมาว่า การเหยียบย่ำใครเหยียบ ก็บอกว่า พราหมณ์หรือเจ้าพิธีกรรมเป็นคนเหยียบ ไม่ใช่พระนเรศวรเป็นคนเหยียบ และตอนทำพิธีกรรมเหยียบย่ำแล้ว เขาทำอ่างเก็บไว้ เวลานี้ของทั้งหลายเหล่านั้นยังอยู่ดี เขาทำเป็นอ่างเก็บดีเรียบร้อย ไม่มีสนิม และก็ปิดสนิท
หลังจากนั้นก็ทำเจดีย์ เมื่อทำเจดีย์เสร็จ ก็นิมนต์พระมาสวด พระมาทำพิธีกรรมพระแก่ที่เป็นหัวหน้าที่สุดเป็น อรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ เวลานั้นมีพระอรหันต์มาร่วมจริง ๆ ๖ องค์ นอกจากนั้นก็เป็นพระอันดับต่ำลงมา พระทรงฌานโลกีย์ แล้วก็ถามท่านต่อไปแล้วอย่างไรต่อไป ท่านก็บอกว่า ถามเท่านี้ ตอบเท่านี้ แล้วจะเอาอย่างไรอีกล่ะ
ก็ถามต่อไปว่า ถ้าอย่างนั้นคำสาปของพระอรหันต์จะมีผลขนาดไหน ท่านตอบว่าคำสาปของพระอรหันต์ ท่านลุงวิบอกแล้ว บอกว่า ประเทศไทย ก็เป็นประเทศไทย ไม่เป็นประเทศราช ไม่เป็นขี้ข้าของพม่าต่อไป แต่พม่ายังจะมีการรุกรานประเทศไทยต่อไปอีก ตามกฎของกรรมของคนไทย และก็เป็นกรรมของทหารพม่า ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าทหารพม่า เจ้านายยกทัพมา มันก็ต้องตายกัน พลัดลูกพลัดเมีย พลัดพ่อพลัดแม่ ผู้หญิงเป็นหม้ายไปตาม ๆ กัน ก็รวมความว่า สงครามไม่มีอะไรดี สงครามมีแต่ความโหดร้าย แล้วต่อไปประเทศไทยก็ต้องย้ายไปที่ บางกอก คือฝั่งธนบุรี หลังจากนั้นจะต้องอยู่ฝั่ง กรุงเทพ คือ ฝั่งบางกอกใหญ่
แล้วก็ถามท่านบอกว่า เวลานี้ก็อยู่ที่กรุงเทพแล้ว ก็อยากจะทราบจริง ๆ เอากันจริง ๆ นะว่า พระนเรศวรมหาราชทรงสวรรคตขณะที่จะยกทัพไปตีพม่า กำลังใจของท่านเวลานั้นมีกำลังใจอย่างเดียว คือ ฆ่า หรือจับ ยึดประเทศชาติให้ได้ ทำลายพม่าให้ได้ กำลังใจเต็มอารมณ์ของความบาป อยากจะทราบว่า พระนเรศวรตกนรกหรือเปล่า ท่านภุมเทวดาท่านก็บอกว่าไม่ตกนรกครับ เลยถามท่านบอกว่า ขนาดที่บาปยกทัพจะไปรบกันน่ะ มีแต่อาวุธ ทั้งกำลังใจตั้งใจจะห้ำหั่นกัน ท่านภุมเทวดาท่านก็บอกว่า ความจริงการยกทัพไปรบก็มีอารมณ์ ๒ อย่าง
๑. อยากจะห้ำหั่นข้าศึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องการมากอย่างยิ่ง คือ ยึดพื้นที่
และประการที่ ๒ มีความต้องการ ให้บุคคลภายหลังในประเทศของเรา อยู่ร่มเย็นเป็นสุขด้วยความเมตตาปรานี จะได้ไม่ถูกบรรดาพม่าทั้งหลายรบกวนต่อไป กำลังใจเป็นทั้งบุญ และบาป
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักรบทุกคนที่ไปรบนั้นหรือเวลาอื่นก็ตาม ทุกคนตื่นขึ้นเช้าเป็นนักบุญหมด พอเทวดาบอกอย่างนั้น ก็ตกใจว่า นักรบเป็นนักบุญหมด ถาม นักรบเป็นนักบุญอย่างไร ท่านก็ตอบว่า นักรบทุกคน ตื่นขึ้นมาแล้ว นึกถึงพระอันดับแรก พระที่ห้อยอยู่ที่คอ ความจริงนะ พระจริง ๆ ไปรบมากกว่าคนไปรบ คน ๓๐ คน มีพระเกิน ๑๐๐ องค์ที่ร่วมรบ
เป็นอันว่า นักรบทุกคนเวลาตื่นขึ้นเช้าไม่อยากตาย ปลุกพระ อาราธนาบารมีพระให้ช่วย คำว่า พระที่ห้อยคอ นี่หมายถึง พระพุทธเจ้า และก็หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำพระ เขานึกถึงพระที่ห้อยคอแล้ว เขาก็ปลุกด้วยคาถาตามที่เขาเรียนมา เป็นการอาราธนาบารมีของความปลอดภัยของตัว เขาเป็นนักบุญทุกวัน ในเมื่อเขาเป็นนักบุญอย่างนี้ ถ้าถูกฆ่าตายในขณะที่จิตใจนึกถึงพระ แทนที่เขาจะไปนรก เขาไปสวรรค์ทันที เพราะใจนึกถึงพระ (เอาเข้านั่น) และพระนเรศวรมหาราชก็เช่นเดียวกัน พระองค์ไม่ได้นึกถึงพระเฉพาะป้องกันพระองค์เอง นึกถึงพระให้ป้องกันทหารในกองทัพทั้งหมด นึกว่าขอให้ชนะข้าศึก เพื่อให้คนไทยทั้งหมดมีความสุข เมตตาสูงมาก ฉะนั้น พระนเรศวรมหาราชท่านจึงไม่ลงนรก
เมื่อฟังไปแล้วก็คิดว่า เอ๊ะ…นี่เราได้ความรู้จากเทวดา เราคิดกันมานานแล้วว่า ถ้านักรบต้องตกนรก นี่ไม่ใช่เสียแล้ว เทวดาพูด เราต้องเชื่อ ถ้าใครจะไม่เชื่อ ก็เชิญไปซักเทวดาที่ศรีประจันต์ก็แล้วกัน ข้าง ๆ กับดอนเจดีย์ เลยถามไปนิดว่า ขอต่ออีกหน่อยได้ไหม ท่านถามว่า ต่ออะไร อยากจะถามว่า พระนเรศวรมหาราชทรงสวรรคตแล้ว ไปอยู่สวรรค์ชั้นไหน ท่านตอบทันทีเลยว่า นักรบไปอยู่ชั้นจาตุมหาราชเป็นนายของพวกผม ถามว่า เวลานี้พระนเรศวรมหาราชอยู่ทิศไหน ท่านบอกว่า เวลานี้พระนเรศวรมหาราชอยู่ทิศตะวันออกของประเทศไทย คำว่า ตะวันออก นี่หมายถึง ประเทศไหน หรือแหล่งไหน ท่านบอก ไม่ใช่
เวลานี้พระนเรศวรมหาราชเกิดเป็นคนแล้ว และอยู่ในประเทศด้านทิศตะวันออกของประเทศไทย จึงถามว่าท่านบอกว่า พระนเรศวรมหาราชเป็นคนไทย หรือเป็นคนแขก หรือเป็นคนลาว หรือเป็นฝรั่ง ท่านบอกว่า เป็นคนไทยที่เกิดในเมืองฝรั่ง และในกาลต่อไปข้างหน้าวาระเข้ามาถึง พระนเรศวรมหาราชจะเข้ามาครองประเทศไทยในฐานะเป็น พระมหากษัตริย์
บรรดาท่านพุทธบริษัทอ่านเรื่องนี้แล้ว ทิ้งไว้ก่อนนะอย่าเชื่อนะอย่างไปเชื่อ ถ้าจะเชื่อก็ถามท่านผู้รู้จริง ๆ อันนี้เป็นการฟังจากภุมเทวดา ถามว่า เป็นกษัตริย์จะเป็นกษัตริย์นักรบไหม ท่านบอกว่า ขึ้นชื่อว่า พระนเรศวร เกิดชาติไหน รบชาตินั้น แต่การรบตอนหลังพระนเรศวรจะไม่มีเวลาพักผ่อน ตั้งแต่เริ่มต้นเป็นกษัตริย์ก็จะรบเรื่อยไป จนกระทั่งยันวันตายเลยบอกว่า ถ้าอย่างนั้น คนไทยทั้งชาติไม่ต้องทำมาหากินกันละ ก็รบกันอย่างเดียว ภุมเทวดาท่านบอกว่า ไม่ใช่ คนไทยทั้งชาติตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน แต่พระนเรศวรมหาราชจะตั้งหน้าตั้งตารบ ถามว่า รบองค์เดียวหรือ ท่านบอกว่า มีคู่หูรบ ถามว่า รบกับอะไร รบกับใคร รบอย่างไร ท่านบอกว่า รบกับความยากจนของคนทั้งชาติ นั่นคือ พระนเรศวรมหาราชมีพระเมตตากรุณากับคนไทยมามาก
ในกาลก่อนที่ต้องการรบ ก็เพราะว่า ต้องการให้บรรดาประชาชนมีความสุข ถ้าพม่ารบกวนอย่างนั้น คนไทยจะมีความสุขไม่ได้ จะตั้งตัวไม่ได้ ก็มีความจำเป็นต้องรบ เสี่ยงชีวิตแม้ต้องปีนค่าย เอาปากคาบดาบ เอามือยึดค่าย เท้าปีนค่ายก็เอาขึ้นไปฟันกับข้าศึก ถ้าพลาดพลั้งมันก็ต้องตาย เสียสละชีวิตของพระองค์ เพื่อคนไทยทั้งชาติขนาดนี้ และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นนิสัย ขึ้นชื่อว่า นิสัย นี่ละไม่ได้ ดู พระสารีบุตร เคยเป็นลิงเหมือนกัน นิสัยลิงต้องโดด เมื่อถึงลำคลอง ลำรางพอจะข้ามได้ก็ไม่ข้าม กระโดด จนกระทั่งพระบวชใหม่สงสัย องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงบอกว่า กิเลส ละได้ แต่นิสัย ละไม่ได้ ขนาดเป็น อัครสาวก
ทีนี้สำหรับ พระนเรศวรมหาราชเป็นนักรบ เป็นนิสัย เกิดชาติไหน ก็ต้องรบชาตินั้น ในเมื่อเกิดชาติตอนหลังขึ้นมา โอกาสที่จะรบอย่างนั้นมันไม่มี เพราะว่า มีแม่ทัพ มีนายกอง มีรัฐบาลควบคุมงานการบริหาร รัฐบาลควบคุม พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ก็ต้องวางแผนรบกับความยากจนของบรรดาประชาชนชาวไทย ถามท่านว่า อีกกี่ปี จะถึงวาระที่พระนเรศวรมหาราชมาครองประเทศไทย ท่านบอกว่า หากว่าท่านอยู่ไปไม่ตาย ไม่นานนักท่านก็มาครองประเทศไทยแน่ เวลาที่ถาม เป็นสมัยของรัชกาลที่ ๘
(คัดบางตอนจากหนังสือหลวงพ่อธุดงค์ เรื่องฝึกอตีตังสญาณ ที่ป่าศรีประจันต์ ตอน ๑)
ศ.ธรรมทัสสี
ทำไมพระนเรศวรและทหารไม่ตกนรก และท่านเกิดแล้ว
ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 30 เมษายน 2011.
หน้า 1 ของ 2
-
-
อ่านแล้วเหมือนๆ ว่าจะเป็นในหลวงของเรานี่เองใช่รึปล่าว
-
คิดว่าใช่ครับ เฮอะๆๆดูหนังพระนเรศวรทีไร มันตื้นตันอย่างบอกไม่ถูก
-
<TABLE id=AutoNumber13 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=760 border=0><TBODY><TR><TD width="79%" colSpan=3>รู้เรื่องในหลวงของเรา
</TD><TD width="10%"></TD></TR><TR><TD width="11%" height=133>
</TD><TD width="79%" colSpan=3 height=133>• วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ตรงกับวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เหตุที่ประสูติที่อเมริกา เพราะขณะนั้น พระบรมราชชนก เสด็จทรงศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศ ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
</TD><TD width="10%" height=133>
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• พระนาม “ ภูมิพลอดุลยเดช ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีความหมายว่า “ ผู้ทรงกำลังอำนาจไม่มีอะไรเทียบในแผ่นดิน ”
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กราบทูลเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งเป็นพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชจักรีวงศ์ จากนั้นในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงได้รับเฉลิมพระนามเป็น “ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ” ในครั้งนั้นทั้งสองพระองค์ยังประทับอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในปี ๒๔๘๐ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สายพระเนตรสั้นลง เป็นเหตุให้ต้องทรงฉลองพระเนตรนับตั้งแต่นั้นมา
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในปี ๒๔๘๘ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นทรงพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา เสด็จกลับมาประทับเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทย ในการเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จกลับมาด้วย โดยได้เสด็จถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ อันตรงกับวันพระราชสมภพ ขณะมีพระชนมายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ใน วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ประชาชนชาวไทยต้องประสบกับความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต อย่างกระทันหันด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และในวันเดียวกันนี้เอง พระบรมวงศานุวงศ์และคณะรัฐมนตรีก็ได้กราบบังคมทูล อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และได้มีการประกาศเฉลิมพระนามว่า “ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ” แต่เนื่องจากในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา ยังไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้ อีกทั้งยังมีพระราชภารกิจเรื่องการศึกษา จึงได้มีการแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวรราชเสวี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ ได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์พร้อมสมเด็จพระราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธออีกครั้ง โดยก่อนจากประเทศไทยในครั้งนั้น ได้ทรงเสด็จไปถวายบังคมลาพระบรมศพพระบรมเชษฐาธิราชที่พระบรมมหาราชวัง ขณะที่ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังสนามบินดอนเมือง ได้มีประชาชนคนหนึ่งตะโกนว่า “ อย่าละทิ้งประชาชน ” ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่อง “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ” ว่าทรงอยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า “ ถ้าประชาชนไม่ “ ทิ้ง ” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ ละทิ้ง ” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว ..”
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• เมื่อเสด็จกลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาต่อ ก็ได้ทรงเปลี่ยนจากสาขาวิทยาศาสตร์ มาทรงศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์ในการเป็นพระประมุขของประเทศ
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในปี ๒๔๙๓ เมื่อเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยแล้ว ได้ทรงกำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม จนถึงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๓ อันเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• หลังจากนั้นใน วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯก็ได้ทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งนี้ นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกสำหรับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคประชาธิปไตย ที่ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับปวงชนชาวไทย
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ได้ทรงจัด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ โดยมีพระปรมาภิไธยว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ” ซึ่งในครั้งนั้นได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” พร้อมกันนี้ได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ขึ้นเป็น “ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ”
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปชฌาย์ และสมเด็จพระสังฆราชได้ถวายพระสมณฉายานามว่า “ ภูมิพโล ภิกขุ ” ทรงประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตอยู่ ๑๕ วันจึงลาผนวชเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ในระหว่างทรงผนวช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นาถ ในปีเดียวกันนี้เอง
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในปี ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล โดยเริ่มจากประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม อินโดนีเซีย และสหภาพพม่า และในปี ๒๕๐๓ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป รวม ๑๔ ประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๐๓-วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๔ ซึ่งในการเสด็จฯเยือนต่างประเทศครั้งนั้น นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศแล้ว ทั้งสองพระองค์ยังได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจจนบังเกิดผลสำเร็จ นำผลประโยชน์มาสู่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมากมาย ทรงเป็นที่กล่าวขานถึงพระบารมีเลืองลือขจรไกล
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในปี ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงทรงโปรดเกล้าฯให้มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในวโรกาสมหามงคลข้างต้นตามโบราณราชประเพณี ที่นิยมเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระเจ้าอยู่หัวฯทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชบุรพการี
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงกระทำ “ พระราชพิธีรัชดาภิเษก ” อันเป็นพิธีเฉลิม ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี และในปี ๒๕๒๐ คณะบุคคลอันประกอบด้วยประชาชนทุกสาขาอาชีพ ได้พร้อมกันแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการน้อมเกล้าฯถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” พร้อมจัดงานถวายพระพรและเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยใช้ชื่อว่า “ ๕ ธันวามหาราช ” ต่อมาเพื่อความพร้อมเพรียงในหมู่พสกนิกรชาวไทยในอันที่จะถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” จึงได้มีการสำรวจประชามติทั่วประเทศ ปรากฎว่าประชาชนมีความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “ อัครศิลปิน ” แด่พระองค์ ด้วยทรงเป็นเลิศในศิลปะหลายสาขา อาทิ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และนฤมิตศิลป์ เป็นต้น คำว่า “ อัครศิลปิน ” หมายถึง ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือผู้เป็นใหญ่ในศิลปินก็ได้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งปวงแล้ว ยังทรงมีคุณูปการได้ทรงอุปถัมภ์แก่ศิลปินทั้งหลายด้วย
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ได้มีการจัด “ ราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ” อันเป็นพระราชพิธีเฉลิมฉลองเนื่องใน อภิลักษขิตสมัยที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานกว่าสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งราชอาณาจักรไทยทุกพระองค์ในอดีต ซึ่งเป็นมหามงคลวโรกาสที่หาได้ยากยิ่ง คือ ทรงครองราชย์สมบัติเป็นเวลา ๔๒ ปี ๒๒ วัน ซึ่งเป็นเวลาจำนวนปีและวันเท่ากับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอัยยิกาธิราช
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ เป็นวันที่ ทรงครองราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เพื่อถวายเป็นราชสักการะและถวายพระพรชัยมงคล พระองค์ได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ” นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษอีกวาระหนึ่งที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ได้มีงาน “ พระราชพิธีสมมงคล พระชนมายุ ๗๓พรรษา เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ” ( สมมงคล อ่านว่า สะ-มะ-มง-คล)คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุได้ ๒๖,๔๖๙ วัน เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ปีนี้ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ” ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งพสกนิกรชาวไทยต่างร่วมใจกันจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อถวายเป็นราชสักการะ และร่วมเฉลิมฉลองวโรกาสมหามงคลครั้งนี้ทั่วประเทศ ที่สำคัญคือจะมีประมุขและพระบรมวงศานุวงศ์จากมิตรประเทศมาร่วมถวายพระพรด้วย
</TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%">
</TD><TD width="79%" colSpan=3>• และใน วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ซึ่งได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมาแล้วว่า “ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ” ซึ่งตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ นับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตราบจนปัจจุบัน เป็นเวลา ๖๐ ปีเต็ม จนกล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวงเพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาลตลอดมา จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใด หรือประมุขของประเทศใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้น ในโอกาสมหามงคลสมัยนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทั้งในและนอกประเทศได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการตั้งใจ “ ทำความดี ” และ “ รู้รักสามัคคี ” ถวายเป็นพระราชสักการะ ให้สมกับที่พวกเราได้มีบุญเกิดบนผืนแผ่นดินไทย ที่มี “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ” เป็นพระประมุขของชาติ </TD><TD width="10%">
</TD></TR><TR><TD width="11%"></TD><TD width="79%" colSpan=3></TD><TD width="10%"></TD></TR><TR><TD width="11%"></TD><TD width="79%" colSpan=3>ขอขอบคุณ คุณอมรรัตน์ เทพกำปนาท</TD><TD width="10%"></TD></TR><TR><TD width="11%"></TD><TD width="79%" colSpan=3>กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นที่มาของบทความ</TD></TR></TBODY></TABLE> -
เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ
ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ด้วยครับ ...
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต
*
เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่ เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่าน
<IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 600px; HEIGHT: 300px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fpages%2FBuddhaSattha%2F158726110822792&width=600&connections=20&stream=true&header=false&height=300" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME>
*<!-- google_ad_section_end -->
เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p
ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
www.tangnipparn.com
<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา
</O:p> -
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
-
ประโยคบอกเกิดเมืองฝรั่งนี่รู้ทันทีเลย ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
-
พ่อแม่คือพระที่ยิ่งใหญ่ของลุกห้อยละไรเล่าจะสู้ห้อยพ่อกับแม่ไว้ในใจนั่นคือสิ่งที่เรียกว่าเจริญแก่ตัวเองที่สุดแร้วคะ
-
เรา รัก ในหลวง:cool:
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
(ขอให้คนที่คิดไม่ดี รีบกลับตัวกลับใจ ผมว่ายังมีโอกาส) -
รักพระองค์ท่านมากๆ
-
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
-
********* ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน *********
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ. -
_/|\_ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ หายจากพระประชวร เป็นพระมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ
-
ขัตติยะ ราชานัง วันทามิ
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน -
ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
ขอขอบคุณท่านเจ้าของกะทู้ครับ สาธุ -
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานค่ะ
-
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ^----^
-
รักในหลวงค่ะ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน _/\_
หน้า 1 ของ 2