พระเครื่องในคอผู้เฒ่าประจำบ้าน.. น.๔๘๙ สุดยอดแห่งแดนใต้..

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย บุพนิมิต, 9 สิงหาคม 2010.

  1. armchi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,631
    ค่าพลัง:
    +2,031
    ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ พี่บุพนิมิต
     
  2. kanchit_a เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    240
    ค่าพลัง:
    +317
    ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ พี่บุพนิมิต
     
  3. อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    ช่วยๆกันครับพวกเรา จะได้ไม่เป็นเหยื่อ (ผมอ่ะ เหยื่อตัวใหญ่ ) โดนมาจนเข็ด 555+
     
  4. สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    เสียใจด้วยน่ะครับพี่เกรียง
     
  5. อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,795
    สวัสดียามสายๆ
    วันนี้นำรูปขนาดห้อยคอหลวงพ่อเดิมภาพแววนกยูงหลังยันต์
    มาชมกันครับ



    ได้รับไก่แล้วครับคุณเกรียง ขอบคุณมากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    ขอบพระคุณพี่หน่อง และพี่ๆน้องๆทุกคนครับ.....

    ท่านเป็นพี่ชายคนโต...แต่ตายเป็นคนสุดท้ายของท้องแม่แรก....
    คุณปู่ผมท่านมีภรรยา 2 คน ฮ่าๆๆๆๆ....

    คุณลุงผม...ถือว่าอายุยืนมากท่านหนึ่ง...น่าจะเกือบๆ 85 ปี นะครับ...ผมจำไม่ได้ เพราะหากคุณพ่อผมยังอยู่...ก็ จะอายุ 80 ปีพอดี...

    อาชีพนักเดินเรือ...คู่กับคุณพ่อผม...มีเรือบรรทุก และเรือลากจูงเป็นของตัวเอง...สมัยปี 2500-2510 ถือเป็นยุคทองของการขนส่งทางน้ำ...ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นรถบรรทุกครับ....

    วันอาทิตย์นี้ผมคงต้องขึ้นไปสลกบาตรครับ....ขากลับหากไม่ติดขัดอะไร...จะแวะเข้าไปคารวะพี่หน่องที่ส้มเสี้ยวครับ....

    พี่โหนกกับลุงออด...คงไปเจอกันที่งานครับ...กำลังลังคิดอยู่ว่า...ทำไงจะได้ตระกรุดหลวงพ่อแกร จากพี่โหนก ฮ่าๆๆๆๆๆ....
     
  7. akkhawee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,908
    ค่าพลัง:
    +5,260
    เกาะติดทู้นี้+อดใจรอหน่อย ก็จะได้ชมของสวยๆงามๆ...
     
  8. บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    ฮ่าๆๆๆ...ยินดีด้วยครับที่ได้รับโดยมิมีเหตุขัดข้อง.....

    พระคาถาบูชาไก่นี้...เป็นพระคาถาของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน...พระอาจารย์ของหลวงปู่โต พรหมรังษี นะครับ....
    หลวงปู่สุกท่านใช้พระคาถานี้ในการทำให้ไก่ป่าเชื่องครับ....ดังนั้น...พุทธคุณด้านเสน่ห์ เมตตา มหานิยม...คงไม่ต้องบรรยายอ่ะครับ....

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    กทม.ได้รับแล้ว...
    อยุธยา ได้รับแล้ว....
    นครสวรรค์ ได้รับแล้ว....

    เหลือตรัง...ยังไม่ confirmed...คงกำลังบินอยู่เหนือฟ้าอ่ะครับ...ฮ่าๆๆๆๆๆ

    สำหรับ นครปฐม...อดใจรออีกนิดนะครับ...ยังมิได้ไปต้อนมาจากวัดอ่ะครับ...

    ขอให้เงินไหลมาเทมา...ตามแรงปรารถนาของพี่ๆน้องๆทุกๆคนครับ....
    สาธุ สาธุ สาธุ...
     
  9. บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    เห็นล๊อกเก็ตแบบนี้...แล้วนึกถึงตอนเด็กครับพี่หน่อง....
    ผมคล้องล๊อกเก็ตของหลวงพ่อทวี วัดโบถส์ฯ...แต่ทำหลุดหายตอนเล่นน้ำที่แสนตอ ...หายแบบไม่รู้ตัวอ่ะครับ...เสียดายมากกกก....

    ---------------------------------------------------------------------
    แต่โทรไปขอพี่ชายที่บางแก้วไว้แล้วครับ....หากมีวาสนา...คงได้เห็นล็อกเก็ตหลวงพ่อทวีอีกครั้ง....
    ของเก่า...ต้องรอขอฟรีจากคนแก่ครับ...ฮ่าๆๆๆ (อายใจครับ...แต่อยากได้ อิอิอิ)
     
  10. กำธร นครปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    2,756
    ค่าพลัง:
    +7,203
    ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ
     
  11. บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    ขอบพระคุณอย่างสูงครับพี่โจ๊ะ......
     
  12. บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    สืบเนื่องจากพระคาถาบูชาไก่ฟ้า-ไก่เถื่อนครับ....

    พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
    พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงพระเกียรติคุณเป็นที่เลื่องลือพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ ทรงพระคุณพิเศษในด้านวิปัสสนาธุระจนมีพระฉายานามอันเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่ประชาชนว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” เพราะทรงสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมให้ไก่ป่าเชื่องเป็นไก่บ้านได้
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ<SUP> </SUP>เดือนยี่ ปีฉลู จุลศักราช ๑๐๙๕ พ.ศ. ๒๒๗๖ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ, สันนิษฐานกันว่าคงเป็นชาวกรุงเก่า, ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อครั้งกรุงธนบุรีเป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม (ในพระราชพงศาวดาร เรียกว่าคลองตะเคียน) ในแขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา ผู้คนนับถือมาก.

    ครั้น พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นปฐมรัชกาลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์, เมื่อได้ทรงจัดการข้างฝ่ายอาณาจักรเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ทรงพระราชดำริจัดการข้างฝ่ายพุทธจักรเพื่อทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา ซึ่งเสื่อมโทรมเศร้าหมองเพราะการจลาจลวุ่นวายในบ้านเมืองจึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระราชาคณะในตำแหน่งต่างๆตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงแสวงหาพระเถระผู้ทรงคุณพิเศษจากที่ต่างๆมาตั้งไว้ในตำแหน่งที่สมควร เพื่อช่วยรับภาระ ธุระทางพระพุทธศาสนาสืบไป และก็ในคราวนี้เองที่ได้ทรง “โปรดให้นิมนต์พระอาจารย์วัดท่าหอยคลองตะเคียน แขวงกรุงเก่า มาอยู่วัดพลับ ให้เป็นพระญาณสังวรเถร” พระอาจารย์วัดท่าหอยดังกล่าวนี้ก็คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้นเอง.
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ครั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย กรุงเก่า, ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงได้โปรดให้นิมนต์มาอยู่ในกรุงเทพฯ และทรงตั้งเป็นราชาคณะที่ พระญาณสังวรเถร ดังกล่าวแล้ว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระฝ่ายอรัญวาสีนิยมความสงบวิเวก จึงได้โปรดให้มาอยู่วัดพลับ อันเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของธนบุรีครั้งนั้น คู่กับวัดรัชฎาธิษฐาน และอยู่ไม่ไกลจากพระนคร, และเพื่อให้สมพระเกียรติที่เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน จึงได้โปรดฯให้สร้างวัดพระราชทานใหม่ในที่ติดกับวัดพลับนั่นเอง, เมื่อสร้างพระอารามใหม่เสร็จแล้ว ก็ได้โปรดฯ ให้รวมวัดพลับเข้าไว้ในเขตของพระอารามใหม่นั้นด้วย แต่ยังคงใช่ชื่อว่าวัดพลับดังเดิม, ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม ดังที่ปรากฏสืบมาจนบัดนี้, บริเวณอันเป็นวัดพลับเดิมนั้นอยู่ด้านตะวันตกของวัดราชสิทธารามปัจจุบันนี้.
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นอันมากของพระบรมราชวงศ์มาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ปรากฏนามพระญาณสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทบทุกพระองค์ นับแต่คราวทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เป็นศิษย์ของสมเด็จพระญาณสังวรมาแต่ก่อน ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ เป็นคู่กันอยู่ที่ลานหน้าวัดราชสิทธาราม (อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระญาณสังวร), องค์หนึ่งขนานนามว่า “พระศิราศนเจดีย์” ทรงอุทิศในพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, อีกองค์หนึ่งมีนาม ว่า “พระศิรจุมภฏเจดีย์” เป็นพระบรมราชูทิศในพระนามของพระองค์เองยังปรากฏอยู่, ตรัสว่าเพราะได้เคยเป็นศิษย์สมเด็จพระญาณสังวรมาด้วยกันทั้ง ๒ พระองค์.”<SUP></SUP>
    ในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ในปีเดียวกันกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชและนั่งหน้าสมเด็จพระสังฆราช “ด้วยได้เห็นบัญชีนิมนต์พระสวดมนต์ในสวนขวา<SUP> </SUP>มีนามสมเด็จพระญาณสังวรอยู่หน้าสมเด็จพระสังฆราช เห็นจะเป็นด้วยมีพรรษาอายุมากกว่า” สมเด็จพระญาณสังวรได้รับพระราชทานพัดงาสาน ซึ่งโปรดให้ทำวิจิตรกว่าพัดสำหรับพระราชาคณะสมถะสามัญ (คือ สวนที่โปรดให้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นการเติมแต่งของเดิมที่สร้างขึ้นแล้ว ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสในเวลาว่างพระราชกิจ และเสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเวลาเทศกาลนักขัตฤกษ์บ้าง, ที่เรียกว่า สวนขวา เพราะอยู่ฝ่ายขวาพระราชมนเทียร, ทุกวันนี้รื้อหมดแล้ว)
    สำหรับวัดพลับ หรือวัดราชสิทธารามนั้น นับแต่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้มาอยู่ครองแต่ครั้งยังทรงเป็นที่ พระญาณสังวรเถรแล้ว ก็ได้กลายเป็นสำนักปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระที่สำคัญดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ใน เรื่องประวัติวัดมหาธาตุ ว่า “ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ วัดอรัญวาสีที่สำคัญ ก็คือวัดสมอราย ๑ กับวัดราชสิทธาราม ๑” และพระเกียรติคุณในทางวิปัสสนาธุระของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น คงเป็นที่เคารพนับถือทั้งในฝ่ายเจ้านายในพระบรมราชวงศ์และในหมู่ประชาชนทั่วไป จึงได้ทรงเป็นพระราช อุปัธยาจารย์และเป็นพระอาจารย์ของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นสูงในพระบรมราชวงศ์หลายพระองศ์ ดังได้กล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระเจ้าหลานเธอใน รัชกาลที่ ๑ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ก็ได้เสด็จมาประทับทรงบำเพ็ญเนกขัมมปฏิบัติ และทรงศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณสังวรเถร ณ วัดราชสิทธารามนี้เป็นเวลา ๑ พรรษา โดยมีพระตำหนักสำหรับทรงบำเพ็ญสมาธิกรรมฐานโดยเฉพาะเรียกว่า พระตำหนักจันทน์ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชนกนาถ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงสร้างถวาย ยังคงมีอยู่สืบมาจนบัดนี้. เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า มงกุฎฯ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในรัชกาลที่ ๒ ก็ได้เสด็จไปประทับศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณสังวรเถร ณ วัดราชสิทธารามเช่นกัน ดังที่พระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ใน เรื่องวัดสมอรายอันมีนามว่า ราชาธิวาส ว่า “ได้ทรงประทับศึกษาอาจาริยสมัยในสำนักวัดราชาธิวาส ทรงทราบเสร็จสิ้นจนสุดทางที่จะศึกษาต่อไปอีกได้ จึงได้เสด็จย้ายไปประทับอยู่ ณ วัดราชสิทธาราม คือวัดพลับ ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญเชี่ยวชาญในการวิปัสสนาอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชในที่นั้น แต่หาได้ประทับประจำอยู่เสมอ ไม่เสด็จไปอยู่วัดพลับบ้าง กลับมาอยู่สมอรายบ้าง เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงทรงสร้างพระศิรจุมภฏเจดีย์ไว้เป็นคู่กันกับพระศิราศนเจดีย์ ที่ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญว่าเคยเสด็จ ประทับศึกษา ณ สำนักอาจารย์เดียวกัน.” เกี่ยวกับราชประเพณีนิยมทรงศึกษาวิปัสสนาธุระของเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ที่ทรงผนวชนั้น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอธิบายไว้ว่า “อนุโลมตามราชประเพณีครั้งกรุงเก่า ดังเช่นสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดประดู่นั้นเป็นตัวอย่างด้วยเป็นวัดอรัญวาสี อยู่ที่สงัดนอกพระนครเพราะการศึกษาธุระในพระศาสนามีเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายคันถธุระต้องเล่าเรียนพระปริยัติธรรมโดยมคธภาษา อันต้องใช้เวลาช้านานหลายปี ไม่ใช่วิสัยผู้ที่บวชอยู่ชั่วพรรษาเดียวจะเรียนให้ตลอดได้แต่วิปัสสนาธุระอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นการฝึกหัดใจในทางสมถภาวนา อาจเรียนได้ในเวลาไม่ช้านัก และถือกันอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าชำนิชำนาญในทางสมถภาวนาแล้ว อาจจะนำคุณวิเศษอันนั้นมาใช้ในการปลุกเศกเพื่อประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนในวิชา พิไชยสงครามได้ในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ เจ้านายที่ทรงผนวชมาแต่ก่อนจึงมักเสด็จไปประทับอยู่ ณ วัดอรัญวาสี เพื่อทรงศึกษาภาวนาวิธี.”
    นัยว่าการศึกษาวิปัสสนาธุระของสำนักวัดราชสิทธารามในสมัยที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงครองวัดอยู่นั้นเจริญรุ่งเรืองมาก เพราะผู้ครองวัดทรงเชี่ยวชาญและมีกิตติคุณในด้านนี้เป็นที่เลื่องลือ. ครั้นสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชและเสด็จมาสถิต ณ วัดมหาธาตุแล้ว การศึกษาวิปัสสนาธุระแม้จะยังมีอยู่ก็ไม่รุ่งเรืองเท่ากับสมัยที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ยังทรงครองวัดนั้นอยู่.
    พ.ศ. ๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สิ้นพระชนม์, พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) เป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วโปรดให้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เดิมทรงพระราชดำริที่จะตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) วัดสระเกศ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ถึงได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ เดือน ๔ ปีเถาะ เอกศกนั้นแล้วแต่เมื่อปีมะโรง โทศก ข้างต้นปีเกิดอหิวาตกโรคมาก ยังไม่ทันจะได้ทรงตั้งสมเด็จพระพนรัตน (อาจ) เป็นสมเด็จพระสังฆราช, ถึงเดือน ๑๑ มีโจทก์ฟ้องกล่าวอธิกรณ์สมเด็จพระพนรัตน (อาจ) ว่าชอบหยอกเอินศิษย์หนุ่มด้วยกิริยาที่ไม่สมควรแก่สมณะ ชำระได้ความเป็นสัตย์ อธิกรณ์ไม่ถึงเป็นปาราชิก จึงเป็นแต่ให้ถอดเสียจากตำแหน่งพระราชาคณะ และเนรเทศไปจากพระอารามหลวง. ตำแหน่งพระสังฆราชนั้น ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่และได้เป็นพระอาจารย์ เป็นที่เคารพในพระราชวงศ์ จึงโปรดให้แห่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ครั้งถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ จึงทรงตั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น พระชนมายุได้ ๘๘ พรรษาแล้ว ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ไม่ถึง ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์ เหตุที่ไม่ได้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน เพราะทรงเป็นพระราชาคณะฝ่ายสมถะ, แต่ประเพณีการเลือกสมเด็จพระสังฆราช คงถือเอาคันถธุระเป็นสำคัญ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระจึงไม่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชมาแต่ก่อน มาในครั้งนี้เห็นจะทรงพระราชดำริว่า พรรษาอายุท่านมากอยู่แล้ว มีพระราชประสงค์จะสถาปนาให้ถึงเกียรติยศที่สูงสุดให้สมกับที่ทรงเคารพนับถือ เข้าใจว่าเห็นจะถึงทรงวิงวอน ท่านจึงรับเป็นสมเด็จพระสังฆราช.
    อนึ่ง ธรรมเนียมแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุนั้นได้มีขึ้นในรัชกาลที่ ๒ โดยได้โปรดให้แห่สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดราชบุรณะ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์มาสถิต ณ วัดมหาธาตุเป็นพระองค์แรก พระองค์ที่ ๒ คือสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่จากวัดราชสิทธารามมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ พระองค์ที่ ๓ คือสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่จากวัดสระเกศมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ พระองค์สุดท้ายคือ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ ๓), ในประกาศสถาปนาว่าสถิต ณ วัดมหาธาตุ แต่ไม่ได้แห่มาสถิต ณ วัดมหาธาตุตามประกาศ เพราะขณะนั้นวัดมหาธาตุกำลังปฏิสังขรณ์ทั่วพระอาราม สมเด็จพระสังฆราช (นาค) จึงสถิต ณ วัดราชบุรณะอันเป็นพระอารามเดิมจนสิ้นพระชนม์ แต่นั้นมาธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุก็เป็นอันเลิกไป.
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๑ ปีกับ ๑๐ เดือน ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ มีพระชนม์มายุได้ ๘๙ โดยปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ เมื่อตั้งที่พระเมรุท้องสนามหลวง พระโกศองค์นี้ นอกจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระเกียรติยศสูงบางพระองค์ มีปรากฏว่าได้ทรงแต่พระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้พระองค์เดียว นับเป็นการถวายพระเกียรติอย่างสูงด้วยเหตุที่ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือ อย่างยิ่งนั้นเอง ส่วนการพระเมรุนั้นโปรดให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๖๕ นั้น ครั้นพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่งบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการะบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้.
    ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ช่างหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขนาดย่อมขึ้นอีก ประดิษฐานไว้ในหอพระนาก พร้อมกันกับรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ซึ่งเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์ ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ ได้โปรดให้หล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) อีกองค์หนึ่งขนาดเท่าพระองค์จริง, พระราชดำริเดิม เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างขึ้นสำหรับประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ อันเป็นที่สถิตของพระองค์เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช, แต่ยังไม่ทันได้เชิญไปประดิษฐาน เพราะการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดมหาธาตุยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน, พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) องค์ดังกล่าวนี้ จึงค้างอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้แห่ไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ ปรากฏตามหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๔ ว่า โปรดให้เชิญไปเมื่อวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕ และโปรดให้สร้างแท่นจำหลักมีลวดลายเป็นรูปไก่เถื่อนเป็นที่รองรับพระรูปเพิ่มเติมขึ้น และยังคงสถิตอยู่ในพระวิหารวัดมหาธาตุมาจนบัดนี้.
    ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวรนั้น นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงตั้งพระอาจารย์สุก วัดท่าหอย ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณพิเศษในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่พระราชาคณะนั้น ก็ทรงตั้งในราชทินนามว่า พระญาณสังวรเถร อันเป็นราชทินนามที่แสดงถึงความเป็นผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ ครั้นมาในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดให้สถาปนาพระญาณสังวรเถร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ก็โปรดให้สถาปนาในราชทินนามว่า สมเด็จพระญาณสังวร ตามราชทินนามเดิมที่ได้รับพระราชทานแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในเวลาต่อมา, ราชทินนามที่ สมเด็จญาณสังวร ก็ไม่ได้โปรดพระราชทานสถาปนาพระเถระรูปใดอีกเลยนับแต่รัชกาลที่ ๒ เป็นต้นมา กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดให้สถาปนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน เจริญ คชวัตร) วัดบวรนิเวศวิหารในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ นับเป็นสมเด็จพระญาณสังวร รูปที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับแต่ปีที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๕ ในรัชกาลที่ ๒ มาจนถึงปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดให้สถาปนา พระสาสนโสภณ (สุวฑฺฒโน) ขึ้นเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ นั้น เป็นเวลา ๑๕๐ ปีพอดี ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง ๖ รัชกาลที่ว่างเว้นมิได้ทรงพระกรุณาโปรดให้สถาปนาพระเถระรูปใดในราชทินนามตำแหน่งนี้ เพราะฉะนั้นตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวรนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีความหมายสำคัญในประวัติการณ์ของ คณะสงฆ์ไทยตำแหน่งหนึ่ง.

    ย่อความจาก "ธรรมจักษุ"
    นิตยสารทางพระพุทธศาสนารายเดือน
    จัดทำโดย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
     
  13. บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    พระประวัติในเยาว์วัยครับ....

    ไม่เกี่ยวกับพระเครื่องนะครับ....แต่น่าสนใจมากๆครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. ครรชิต วิมลจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +2,865
    ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ
     
  15. armchi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    1,631
    ค่าพลัง:
    +2,031
    สวัสดีครับพี่บุพนิมิต ตรังได้รับแล้วครับผม พอกลับมาบ้านผมจะตรงไปที่กล่องไปรษณีย์เป็นอันดับแรกครับผม ขอบพระคุณมากครับผม
     
  16. สวนพลู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    6,596
    ค่าพลัง:
    +18,651
    สัตว์เลี้ยงสุดฮิตช่วงนี้ ของกระทู้นี้ ต้องยกให้ไก่ครับ ไม่ใช่ไก่ธรรมดา แต่เป็นพญาไก่ฟ้า คนเลี้ยงก็ไม่ใช่ธรรมดาน่ะครับ เป็นถึงพระยาเลยทีเดียว เลยให้ชื่อว่า ไก่ฟ้าพระยาเลี้ยง รวยเป็นพระยากันทุกท่านน่ะครับ กราบหลวงปู่สรวงครับ
     
  17. ธรรมภณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2009
    โพสต์:
    238
    ค่าพลัง:
    +583
    ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ.... พี่
     
  18. MooDam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,604
    ค่าพลัง:
    +4,845
    ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ พี่บุพนิมิต

    ผมเป็นน้องใหม่ในกระทู้ครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ...
     
  19. supparerk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2011
    โพสต์:
    526
    ค่าพลัง:
    +388
    รูปถ่ายกระจกหลวงพ่อเดิมครับ ถ่ายเมื่อ 2482 ด้านหลังเขียนยันต์ด้วยดินสอเกือบจางหมดแล้วเหลือแต่รอยดินสอกดลึกอยู่ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a 001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      598.8 KB
      เปิดดู:
      128
    • a 002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      595.6 KB
      เปิดดู:
      136
  20. akkhawee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,908
    ค่าพลัง:
    +5,260
    โอ้วๆๆสวยทั้งภาพและตลับหุุๆๆ ว่าแต่ภาพแทนตัวหลวงพ่อท่านใดครับ
     

แชร์หน้านี้