ถ้าไม่อธิบายก็ไม่เข้าใจครับ บอกแล้วไม่ว่าใคร โพสต์เป็นกลาง ไม่สนใจจริยาผู้อื่น ขนาดอธิบายยังไม่ค่อยเข้าใจกันเลยครับ ถ้าผิดพลั้งขออโหสิกรรมมเจตนา ล่วงเกิน หรือ ให้ร้ายใครไม่มีจริง ๆ แต่ต้องอธิบายจริงๆ ครับ ผมใช้สำนวนสั้นไม่เป็น เรียนมาน้อย
^ ^"
สาเหตุที่ทำจิตเป็นสมาธิยาก ของคฤหัสถ์
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผู้พันจุ่น, 8 สิงหาคม 2009.
หน้า 2 ของ 3
-
มิมิตต่างๆ มากเกินไป ให้ปฏิบัติทางสายกลาง -
พอจะเข้าใจในความหมายของคุณแล้ว...................ที่ไม่ให้ทิ้งลมหายใจนั้น คือ การเดิน การนั่งสมาธิ อาบน้ำ กิน ถ่าย หรือแม้กระทั่งขับรถยนต์ ก็ต้องดูลมหายใจไปด้วย ใช่ไหมครับ ....ตามที่คุณยืนยันมานั้น ผมต้องขอเวลาไปลองทำดูก่อน แล้วผลเป็นอย่างไรค่อยว่ากันอีกที....เอ มันจะไหวไหมหนอ พี่น้อง ครับ ......ดูแล้ว ไม่เอาการเคลื่อนไหวที่กำลัง เป็นปัจจุบันเลย จับลมอย่างเดียว แม้เดินจงกรม ก็ไม่ทิ้งลม....ใช่ตามนี้นะครับ ท่าน Worathepj
ก็ไม่เคยใช้วิธีของท่านสักที ถ้าให้ลองก็จะลองดู เพราะที่ผ่านมาเราก็ยังไม่ได้เรื่อง ได้ราว ของมันลองกันได้ จิ้งจกทักเขายังเชื่อกัน........จะลองดู
ก็ขอบคุณครับ. -
อุ้ย.....โดนเข้าแล้ว คนมีองค์ทำนายแม่นซะด้วย ถ้ามีคำแนะนำที่ดี ขอปวารณาตัวเลยครับ แนะนำด้วย เผื่อเลือดที่ไม่ดีจะได้เปลี่ยนสีบ้าง......
อย่างน้อยก็ยังมีคนแนะนำทางสวรรค์ให้ ไม่ชวนกันไปที่รก ๆ ละนะ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ รอฟังคำชี้แนะครับ. -
[ ฟุ๊ป !!]
ดูกะระ มหาบุรุษ ผู้ครองอานปานสติเป็นวิหาร
อันกองลมนั้น ท่านสร้างมันขึ้นมาหรือ
ตอนท่านขับรถ ท่านต้องหันไปสร้างมันขึ้นมาหรือ
ตอนท่านอาบน้ำ ท่านต้องหันไปกำหนดมันขึ้นมาหรือ
ตอนท่าน กิน เดิน นั่ง นอน ท่านต้องไปครองมันไว้อยู่หรือ
.....
ดูกะระ มหาบุรุษ เราผู้เป็นเทวบุตรมาร จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ก็ลมหายใจนั้นมันมีอยู่ ท่านเพียงแต่หมั่นชำเลืองดู ไม่ดีกว่าหรือ
ท่านจะกิน เดิน นั่ง นอน ท่านแบ่งจิตไประลึกรู้ ว่าวิหารธรรมท่านยังมีอยู่
ท่านจะอาบน้ำอย่างมีปิติ สุข จิตท่านแบ่งไประลึกรู้ลมได้หรือไม่ได้ หรือ
จมอยู่กับแต่สุขทางกาย
ท่านขับรถ ลมหายใจของท่านหยาบลงเป็นครั้งไป ท่านระลึกเห็นหรือไม่
หรือแปรเปลี่ยนเป็นอกุศลกรรมไปแล้ว
อันกองลมนั้น ไม่ต้องสร้างขึ้นมาเลย
วิหารธรรมของท่านมีอยู่ ด้วยการหมั่นระลึกชอบ เป็นไปเพื่อสติ สัมปชัญญะ
หาไม่แล้ว......ท่านจะวูบเข้าสู่การทำฌาณนอกศาสนา ขณะขับรถ อันจะเป็นเหตุให้เจอกัน... -
ผมพอจะเข้าใจท่านผู้พันแล้วล่ะแต่ไม่รู้ว่าตรงไหม จะยกตัวอย่างละกัน มีพระธุดงค์องค์หนึ่งครับ เข้าป่าธุดงค์แบบอุกกฤต คือ ไม่มีบ้านคนให้บิณฑบาต คือถ้าไม่ดีให้มันอดตายไปเลยถ้าเทวดาไม่ใส่บาตรให้ ทีนี้ ท่านก็คล่องในฌาน แต่ยังไม่เป็นพระอริยะเจ้า คือยังละสังโยชน์ไม่ได้ ท่านบอกว่า อาจารย์ท่านสั่งให้ทรงอารมณ์จิตแค่อุปจารสมาธิ หรือ ปฐมฌานก็พอ นิวรณ์กินใจเมื่อไร เลวเมื่อนั้น เสือกินเมื่อนั้น อดข้าวแน่วันนั้น ทีนี้ลองพิจารณาดูว่า การธุดงค์อ่ะท่านต้องเดินทางไปเรื่อย ๆ แล้วยังต้องทรงปฐมฌานอีก (อารมณ์ปฐมฌานนี่ไม่อธิบาย แต่ผู้ปฏิบัติถึงจะรู้ว่า ไม่รำคาญในเสียง หรือหยุดปรุงแต่งเพราะ เอกัคตารมณ์ คุมอยู่ ไม่มีอารมณ์คิด จิตแยกจากประสาททางกายนิดหน่อย )ยังรู้ลมหายใจอยู่แต่ต้องเดินทางไปด้วยปีนก้อนหินไปมั่ง ลุยน้ำมั่ง ท่านผู้พันคิดว่ายังไง
ผมบอกได้แค่ว่าฌาณ 2-4 เท่านั้นที่จะไม่ค่อยอยากจะขยับไปไหน ลมหายใจแผ่วเบาทุกที ยิ่งฌาน 4 นี่ไม่รู้ลมหายใจเลย แต่ความจริง ร่างกายยังหายใจ แต่จิตเรามันแยกออกจากประสาททางกายสิ้นเชิงมีแค่อารมณ์เดียวคือ เอกัคคตารมร์ ไม่มีวิตกวิจารณ์ ปิติ สุข นี่เป็นโพสต์สุดท้ายที่ผมจะโพสต์ในหัวข้อนี้ผมกลัวจะเฟ้ออ่ะครับ แนะนำได้แค่นี้จริง ๆ -
ถ้าขับรถจริงคงวูบลงข้างทางอย่างแน่นอน เห็นด้วยทุกประการ แต่การประกอบกิจแต่ละวัน เขาให้มีสติรู้เนืองๆ เท่านั้น ไม่ใช่ไปเพ่งมัน แล้วจะทำงานสำเร็จได้ไง ต่อเมื่อถึงเวลากรรมฐานเขาก็เอาสติเหล่านั้นมาต่อยอดให้สูงขึ้นไป ด้วยกรรมฐานที่ถนัดนั้นแหละ ถึงจะโอเค หรือ เวอร์ค แน่นอนไม่แปรผัน ตามที่ท่านนิวรณ์กล่าว เห็นด้วยครับ สำหรับฆราวาสนะ อันนี้
-
ยอดจริงๆแต่ละกระทู้ เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ปฏิบัติอย่างผม เน้นปฏิบัติเหมือนกัน
โอเค อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านด้วยกุศลยิ่งครับ -
เคยได้ยินเรื่องฌาน 4 แบบใช้งานมั้ยครับ ผมเคยได้ยินมาเหมือนกัน ถ้าจิตปกติเข้าถึงฐานเดิมแบบนี้ เขาเรียกว่าจิตทรงฌานมั้ยครับ เรื่องจิตปกติกับเรื่องจิตทรงฌาน ผมว่ามันคนละเรื่องเดียวกัน ถ้านิวรณ์ไม่มากวน มันก็มีได้สองอย่างในเวลานี้ที่เข้าใจได้คือ เพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งจนเป็นฌานไป กับอีกอย่างหนึ่งคือ มีสติ รู้เท่าทัน และทำความเข้าใจกับมัน รู้ว่าเวลามันจะหลงตามนิวรณ์ธรรมมันหลงไปอย่างไร แล้วเราไม่ปล่อยให้มันหลงตามง่าย ๆ ถ้าทำได้อย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ แม้นิวรณ์แทรกก็ดับด้วยปัญญาได้ จิตมันก็ว่าง ก็เป็นปกติ เข้าถึงความเป็นปกติอยู่ด้วยปัญญา และมีฌานขึ้นมาโดยไม่ต้องเสียเวลาเข้า ไม่ต้องเน้นฌาน เน้นการละกิเลส
ดูให้ดี ๆ มันต่างกันนิดเดียว แต่ไกลกันมากโขอยู่ คือ
อันหนึ่งทรงอารมณ์ด้วยการเพ่งการบังคับ ใช้สมถะเข้าข่มอย่างเดียว บางคนสัมผัสแค่นี้นึกว่าใช่แล้ว หลงติดอยู่ ครูบาอาจารย์ผู้รู้ย่อมไม่สรรเสริญ
อีกอันหนึ่ง มันเข้าถึงด้วยปัญญา สงบด้วยปัญญา แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าสมถะไม่ต้องใช้ ก็ใช้มันพอเป็นเครื่องมือเหมือนกัน ใช้แล้วก็วาง ไม่ติดกับ (ดัก) มัน ทีนี้ฌานก็ไว้เป็นที่พักผ่อน เป็นเครื่องเล่นตามแต่จริต แต่ไม่ติด แล้วมันก็ไม่รู้จะไปเสื่อมอะไร เพราะไม่ได้วัดความเสื่อมที่ตัวฌาน แต่วัดตรงที่การรักษาความปกติของใจว่า ได้ระดับไหน เพิ่มหรือลด ก็เท่านั้นเอง
ที่ต่างไปกว่านั้นคือ ผู้เข้าถึงความปกติ เข้าถึงฐานเดิมของจิตได้แล้ว ความไม่ปกติ นิวรณ์ธรรมทั้งหลาย จะกลายเป็นของจร ของแปลกปลอมมา ไม่ใช่ของประจำเหมือนก่อน กิเลสทั้งหลายเป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ อ่านเขาให้ออก และไม่หลงตามเขาอีก จึงมีคำกล่าวว่า "จิตนี้ประภัสสร แต่เพราะกิเลสจรมาจิตจึงเศร้าหมองไปบางครา" ดังนี้
แต่ผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ย่อมเชื่อว่า จิตเดิมแท้คือการดำเนินจิต เจริญสมาธิ เพื่อให้เข้าไปถึง ณ จุดใด ๆ ที่มันว่าง ๆ โล่ง ๆ หรือ สงบ ตามที่ตัวเองเคยเข้าไปสัมผัสนั้นเอง เป็นสิ่งที่เราต้องเข้าไปให้ถึงบ่อย ๆ เพียงแค่นี้มุมมองมันก็ต่างกันแล้วโดยสิ้นเชิงแล้ว ลองโยนิโสฯ ดูดี ๆ นะครับ...
โชคดี ๆ -
จับลมหายใจเหมือนกัน ดูแต่ท้องพองยุบ มันไม่ค่อยนิ่ง ดูมันทั้งสองเลย
เลยไม่ค่อยดิ้น ฮี่..ฮี่..^^ -
ผมก็ดูลม พอสักพักก็มาดูท้อง ดูร่างกายที่มันทำงานของมันเองได้โดยไม่ต้องกำหนด บังคับ ก็ทำตามอาจารย์แว๊ด
รู้สึกว่า สงบ สมาธิเกิด เร็วดี ที่นี้ถ้ากำลังพอก็สามารถดูสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ ถ้าไม่พอ ก็พักหาความสุข สะสมไป ^-^ -
เรียนท่าน WORATHEPJ.......
ที่ท่านเปรียบเทียบมาผมอับปัญญา สู้ท่านไม่ได้จริง ไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่กลับเห็นข้อความที่ ท่าน TBOON เขียนแล้ว มันเข้าใจเนื้อความ ระหว่างที่เร -
ท่าน TBOON มีปัญญาแหลมคมจริง ๆ เปรียบเทียบได้เนื้อหาใจความตรงประเด็น เป็นเป้าหมายที่อีกกี่ชาติจะบรรลุก็ไม่รู้ เพิ่งได้ยินนี่แหละครับ ฌานแบบใช้งาน
ท่าน WORATHEPJ...............
มีคนกลางช่วยขยายเนื้อหาใจความแล้ว ลำพังเราสองคนคุยกัน ขนาดภาษาไทยนะเนี่ย แปลแล้วแปลอีก เฮ้อ........อย่าว่าอย่างโน้น อย่างนี้เลย ผมจนปัญญาในข้อความที่ท่านเปรียบเทียบ แต่ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการตามดูลมนะครับ เพียงแต่แนะว่า ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้ที่แล้ว จิตจะไม่กระโดดไปมา ระหว่าง คำภาวนา - ตามลมหายใจ (อ่านใหม่ก็ได้นะครับ)
แต่ในชีวิตประจำวัน ผมแนะว่า การทำงานที่จะสนับสนุนให้สมาธิเกิดเร็วขึ้น ควรทำอย่างเดียว เช่น ขับรถไม่โทร ,ขับรถไม่ฟังเพลง ...ฯลฯ เพราะสติจะกระโดด ไป-มา ระหว่าง การขับรถ-การฟังเพลง เพื่อฝึกความเป็นหนึ่งเดียวให้แก่จิต แล้วจิตก็จะเป็นอัตโนมัติ เหมาะแก่การงานต่อไป ตามที่ ท่าน KENG และ ท่านนิวรณ์ ได้เสริมให้นั้นแหละครับ
เอาละ......ก็ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาชี้แนะ ขยายความจนเกิดความรู้เพิ่มขึ้น บุญกุศลที่ให้ธรรมเป็นทาน จงสัมฤทธิ์ผลแก่ทุกท่าน เทอญ -
เราแค่ตามรู้ รู้ทุกอย่างที่เห็น เห็นทุกอย่างที่รู้ แล้วแต่เขาพาเรารู้
รู้เร็วเห็นเร็ว รู้ช้าเห็นช้า ไม่รู้ก็ไม่เห็น ก็แค่นั้นเอง... -
อศุลจิต คงเข้าแทรกแซงได้ยาก ไม่ว่าเป็นกิจกรรมอะไร
หากยังไม่เริ่ม คงยังไม่เข้าใจ ทำให้ถูกกาลนะ -
อ่านแล้วมันปิ๊ง.. อะไรก็ไม่รู้ ไม่เกี่ยวกับข้อความที่ท่านๆ โพสท์ซักเท่าไร
แต่ขอโพส์ทไว้ทวนตัวเองก็แล้วกันนะ --"
เวลาที่เราอ่านและฟังธรรมแล้วน้อมมาปฏิบัติ ถ้าถูกตั้งแต่ครั้งแรกเลยนี่
ให้สงสัยตัวเองให้เยอะๆ แปลว่าไม่เคยรู้ว่าผิดมันเป็นยังไง แล้วจะรู้ได้ไงว่าที่ได้คือถูก
และถ้ายังไม่เคยเห็นตัวเองผิด ก็คงไม่เคยเห็นคนอื่นถูก
มีแต่เห็นถูกในแบบที่ตนคิดไว้
ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย มีธรรมที่เราท่านล้วนสรรเสริญด้วยใจไม่ใช่ด้วยคำพูด
ครูบาอาจารย์ท่านคงไม่นิยมคำสรรเสริญเท่ากับเราท่านเข้าใจคำสอนของท่านตามจริง -
อันนี้บัวหลวง
อันนี้บัวขาว
อีนี้..ใครกัน..นะ..นายจ๋า..เราเคยรู้จักกันไหม..มันไม่คุ้น... -
..........
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
สูตรเข้าฌาน ๔
ละองค์ภาวนา ละลมหายใจ และ ละปีติได้
จะทรงอารมณ์สุขกับเอกัคคตารมณ์ พักจิตอยู่อย่างนี้จนกว่า
จิตเค้าจะอิ่มตัวถอนออกมาเอง อยู่ในถานะสามารถคิดนึกได้ จับเอากรรมฐาน ๕ มาพิจารณาเป็นไตรลักษณ์ เมื่อท่านเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งซึ่งอนัตตาธรรมแล้วไชร์ การตรัสรู้ธรรมเห็นธรรมจะตามมาเองท่านผู้พันจุ่น -
ขอบพระคุณครับ ท่าน SRIARAYA 5........
ใช้ในชีวิตประจำวันไปเท่านั้นเอง ปรับอารมณ์พอสบาย ๆ ไม่ให้เครียด นาน ๆ จะเจอกับ ท่านปิติ สักครั้งหนึ่ง ก็ไม่ได้คุยกันสักที ยังจำหน้าและเค้าโครงได้ เขาไม่อยู่นาน ๆ ส่วนท่านสุข นั้น ยังไม่เคยเห็นหน้าครับ รวมทั้งท่านเอก ด้วย
คงต้องให้มีเวลาว่างมาก ๆ จะไปหาเขาที่บ้านเลย ตอนนี้ขอฟิตร่างกายให้พร้อมตรงนี้ก่อน พี่วิจาร ท่านกำลังเป็นพี่เลี้ยงให้ ...เตรียมพร้อมเมื่อไร ก็จะลองดูครับผม.
หน้า 2 ของ 3